ความทุกข์ของพระติสสเถระ

 
ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฏมภีชื่อติสสะ ละทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้ไปฆ่าท่านเสีย . พวกโจรไปล้อมท่านไว้ . ท่านจึงถามว่า “ ท่านอุบาสกมาทำไมกัน ” พวกโจรตอบว่า “ มาฆ่าท่านนะซิ ” ท่านจึงได้พูดขอร้องว่า ท่านอุบาสกทั้งหลาย โปรดรับประกันมาตมา ให้ชีวิตอาตมาสักคินหนึ่งเถิด .

พวกโจรกล่าวว่าสมณะ “ ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้ ” พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขาทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่าประกันพอใหม เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาศีล อาศัยศีลที่บริสุทธิ์ ก็เกิดปีติและปราโมช ลับดับต่อจากนั้น ก็เจริญวิปัสสนา ทำสมณธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสามพออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัตผลจึงเปล่งอุทานว่า

อุโภ ปาทานิ ภินฺทิตฺวา สญฺญมิสฺสามิ โว อหํ
อฏฏิยามิ หรายามิ สราคมรเณ อหํ

เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน ยถาภูตํ วิปัสฺสิสํ

สมฺปตฺต อรุณุคฺคมหิ อรหตฺตํ อปาปุณึ.

เราทุบเท้าทั้งสองข้าง ป้องกันท่านทั้งหลาย
เราเอือมระอาในความตายทั้งที่ยังมีราคะ เราคิดอย่างนี้แล้ว

ก็เห็นแจ้งตามความเป็นจริง พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุพระอรหัต ดังนี้..

*-*ทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป *-*

ภิกษุ ๓๐ รูป อีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจำพรรษาในวัดป่า ทำกติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทำสมณธรรม ตลอดคืนฝนยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสำนักของกันและกัน แล้วต่างคนต่างอยู่

เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับเสือตัวหนึ่งก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูป ๆ ภิกษุไร ๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่าเสือคาบผมแล้ว ๆ ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงวันอุโบสถภิกษุที่เหลือก็ถามว่า ท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วกล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้เสือคาบไป ๆ แล้วอยู่กันต่อไป

ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง โดยนัยก่อน ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบเพลิงติดตามหมายว่าจะให้ทันปล่อย เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลายไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า ภิกษุทั้งหลายนอกนั้น ก็ได้แต่กล่าวว่าสัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลายย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้

ภิกษุหนุ่มนั้น นอนในปากเสือ ข่มเวทนา เจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนาตอนเสือกินข้อเท้า เป็นพระโสดาบัน ตอนกินไปถึงหัวเขาเป็นพระสกทาคามี ตอนเสือกินถึงท้อง เป็นพระอนาคามี ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่งอุทาน ดังนี้

สีลวา วตฺตสมฺโน บญฺญวา สุสมาหิโต
มุหุตฺตํ ปมาทมนฺวาย พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส ปญฺชรสฺมึ โส

คเหตฺวา สิลาย อุปรี กโต กามํ ขาทตุ มํ พฺยคฺโฆ

อฏฺฐิยา จ นฺหารุสฺส จ กิเลเส เขปยิสฺสามิ ผุสิมฺสามิ วิมุตฺติยํ

เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา
มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความไม่ประมาท ครู่หนึ่ง

ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับไว้ในกงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน

เสือจงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจักทำกิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้…

 
 
เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ

ก็ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงเห็นบุพพนิมิต ๕ ประการ ของพระองค์ถูกมรณะภัยคุกคาม เกิดโทมนัส เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา ท้าวเธอก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ด้วยอำนาจการวิปัสสนาอุเบกขาปัญหา เรื่องการอุบัติของเธอจึงกลับเป็นปกติอีก

เรื่องโทมนัสของสพรหมเทพบุตร

แม้สุพรหมเทพบุตร อันนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ห้อมล้อม ก็เสวยสรรค์วมบัติ ในจำพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้น นางเทพอัปสรห้าร้อยมัวเก็บดอกไม้จากต้น ก็จุติไปเกิดในนรก สุพรหมเทพบุตรรำพึงว่าทำไมเทพอัปสรเหล่านี้ชักช้าอยู่ ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรก จึงหันหน้ามาพิจารณาดูตัวเอง อายุเท่าไรแล้วหนอ ก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ จะไปเกิดในนรกนั้นด้วยก็หวาดกลัว เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง เห็นว่า พระบรมศาสดาเท่านั้น จะยังความโทมนัสของเรานี้ให้พินาศไป ไม่มีผู้อื่น แล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือเข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า

นิจฺจุตฺรมิทํ จตฺตํ นิจฺจุพฺพิคฺคมิทํ
มโน อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ อโถ อุปฺปตฺติเตสุ จ

สเจ อตฺถิ อนุตฺรสฺตํ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต

จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ จิดใจนี้หวาด
อยู่เป็นนิตย์ ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด ทั้งในกิจที่เกิดแล้ว

ถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้งมีอยู่ ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้ว

โปรดบอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบอก สุพรหมเทพบุตร

(ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ) ว่า
นาญญฺญตฺร โพชฺฌา นาญฺญตร อินฺทฺริยสํวรา

นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาฌินํ

นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตปะเครื่องเผาความชั่ว
นอกจากความสำรวมอินทรีย์นอกจากความสละคืน

ทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็มองไม่เห็นความ สวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้..

ในที่สุดเทศนา สุพรหมเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนางเทพอัปสรห้าร้อยทำสมบัตินั้น ให้ถาวรแล้วกลับไปยังเทวโลก

มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปเพื่อดับโทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังกล่าวมานี้

มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ เรีบกว่า ญายธรรม ในข้อที่ว่า ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายธรรม ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อถึงญายธรรมนั้น จริงอยู่ มรรค คือสติปัฏฐานที่เป็นโลกียะเบื้องต้นนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคที่เป็นโลกุตตร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อบรรลุญายธรรม…

ข้อว่า เพื่อทำให้เเจ้งพระนิพพาน ท่านได้อธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้ง คือเพื่อประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้ชื่อว่านิพพาน เพราะเว้นจากตัญหาเครื่องร้อยรัด จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังการทำให้แจ้งพระนิพพานให้สำเร็จไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน ดังนี้….

ใส่ความเห็น

พฤศจิกายน 2009
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  

คลังเก็บ