การละอาสวะ

ต้องเป็นผู้รู้ ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=238&Z=384

 

 

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part5.html

 

 

 

พระอภิธรรม

ธรรมะจัดสรร

สภาวะสัญญา เกิดต่อเนื่อง ส่วนมาก ค้นหาข้อมุลในกูเกิ้ล เป็นเหตุให้ ได้พบเจอ เกี่ยวกับ คำเรียกต่างๆ ที่วลัยพร ยังติดค้างอยู่ รู้แบบหยาบๆ ยังไม่สาารถ แจกแจงรายละเอียด เกี่ยวกับคำเรียก ของสภาวะ ที่เกิดขึ้นได้

จิต เจตสิก รูป นิพพาน เคยเขียนทิ้งไว้นานแล้ว แต่ไม่ได้ใส่ใจหาความรู้เพิ่ม เพราะรู้ดีกว่า ถ้าอยาก จะไม่เจอ

ถ้าไม่ใส่ใจ รอเวลา เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวเจอแหล่งข้อมูลนั้นๆเอง คือ อย่าทำตามความอยาก แต่ให้ทำตามเหตุ

วันนี้ ขณะทำงานบ้านอยู่ จิตระลึกถึงเรื่อง การสอบอารมณ์ ที่ในแต่ละสำนัก ที่เรียกตนเองว่า สำนักวิปัสสนา

ตำราของพม่า ถ้านำมาใช้ไม่ถูกจุด เป็นเหตุของ การก่อให้เกิดความหลงสภาวะได้ หลงว่า สภาวะนั้น นี้ คืออะไร โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความอยาก ไม่ใช่การดูตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น

พื้นฐานการสอบอารมณ์ เกี่ยวกับ การรู้รูปนาม คือ การรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่นั้น สติ ที่มีอยู่ กับ สมาธิที่เกิดขึ้น ไม่เหลื่อมล้ำมากกว่ากัน เป็นเหตุให้ สภาวะสัมปชัญญะ เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย ของความสมดุลย์ ระหว่าง สติและสมาธิ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

เหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการสอบอารมณ์ เพื่อดูสภาวะของผู้ปฏิบัติว่า จิตเป็นสมาธิ รู้ไหมว่า มีลักษณะอาการ ก่อนเกิด ขณะที่กำลังเกิด ขณะที่เริ่มคลายตัว ขณะที่ไม่มีสมาธิ คือ รู้ชัดในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

หากยังไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านั้น รู้บ้าง เป็นบางขณะ จะดูเรื่อง สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะทำความเพียรเป็นหลัก

เช่น ขณะเดินอยู่ เป็นยังไงบ้าง แต่สภาวะใดๆ ไม่สำคัญเท่ากับ ขณะนั่งอยู่ ไม่รู้ชัดเรื่อง สมาธิที่เกิดขึ้น ไม่เป็นไร แต่นั่งแล้ว รู้ชัดอยู่ภายในกาย และจิต ได้แค่ไหน รู้แค่ไหน จะดูตรงนี้เป็นหลัก

หากนั่งแล้ว ขาดความรู้สึกตัว หรือมีแต่แสงสว่าง หรือหลับตลอดฯลฯ คือ ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนจะนานแค่ไหน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แค่รู้ว่า เหมือนเวลาดับหายไป ไม่รู้อะไร

ถ้าเป็นกรณีแบบนี้ ต้องปรับอินทรีย์ เพิ่มเดิน ให้มากกว่านั่ง ค่อยๆปรับตามสภาวะของตน ไม่ต้องเร่งสภาวะ หมั่นสังเกตุสภาวะตนเอง ขณะนั่ง มีรู้สึกตัวบ้างไหม

หากปรับอินทรีย์แล้ว เพิ่มเดินมากกว่านั่งแล้ว เวลานั่ง ยังคงมีอาการเหล่านั้นอยู่ คือ ดับหายไปหมด หรือมีแต่แสงสว่าง ไม่รู้กาย

ให้เพิ่มเรื่อง การหยุดสร้างเหตุนอกตัว แนะนำเรื่อง อุบายในการดับผัสสะที่เกิดขึ้น อธิบายว่า ทำไมต้องทำแบบนั้น

เพราะ สิ่งที่กระทำลงไปทุกขณะๆ ที่เกิดจาก ความรู้สึกนึกคิด ล้วนส่งผลกระทบต่อ สภาวะขณะที่ทำความเพียรอยู่

หากทำทั้งสองอย่าง ควบคู่กัน จะรู้ชัดในสภาวะต่างๆมากขึ้น เหตุจาก สภาวะสัมปชัญญะ ที่มีกำลังมากขึ้น เหตุปัจจัยจาก การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

ส่วนคำเรียกอื่นๆ หากผู้ปฏิบัติ ยังไม่รู้ชัดสภาวะต่างๆด้วยตนเอง ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ เพราะ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เป็นเหตุให้ หลงสภาวะได้ มีผลกระทบต่อการปฏิบัติและในการดำเนินชีวิต

ช่วงที่วลัยพรมีความคิดเหล่านี้ ทำให้คิดถึงเรื่อง รูปนาม ก็เข้ากูเกิ้ล ค้นเกี่ยวกับเรื่อง

ตอนนี้ กำลังศึกษา รายละเอียดของคำเรียกต่างๆ

มีนาคม 2014
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

คลังเก็บ