ทุกข์,เหตุแห่งทุกข์,วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

๑๖ มิย.๕๗

ทุกข์

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า

“ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง” ดังนี้ :

นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิ ที่ถือว่าเที่ยง).

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบ ให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า

“ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้” ดังนี้:

นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).

 

กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า

 

“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;

….ฯลฯ….ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,

ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

 

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

 

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,

จึงมีความดับแห่งสังขาร;

 

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;

…. ฯลฯ…. ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล,

ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

 

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐.

 

 

 

 

 

 เหตุแห่งทุกข์

 

อุปวาณะ! เรากล่าวว่า

ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น(ปฏิจจสมุปปันนธรรม).

 

ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ?

อุปวาณะ ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ….

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ ก็หามิได้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๔๙/๘๗.

 

 

 

หมายเหตุ:

 

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ)

และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(สักแต่ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น/ผัสสะ)

 

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

เป็นเหตุให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

 

 

เป็นเหตุปัจจัยให้ เกิดการสร้างเหตุออกไป/ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป(ชาติ/วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ภพ/มโนกรรม)

 

ชรามรณะ(โลกธรรม ๘)

โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส  จึงมีบังเกิดขึ้น

 

 

เมื่อยังมีการเกิด ได้แก่ นามรูป สาฬยตนะ ย่อมมี ผัสสะ ย่อมมี

ตราบใด ที่ยังมีชีวิต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผัสสะต่างๆได้

 

 

 

วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

 

จึงควรศึกษาผัสสะให้ถ่องแท้ ว่าทำไม

เมื่อผัสสะเกิด จึงมีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้น แม้กระทั่ง ไม่รู้สึกอะไรเลย(เฉยๆ)

ใส่ความเห็น

มิถุนายน 2014
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  

คลังเก็บ