เริ่มต้นที่แตกต่าง

เริ่มต้นที่แตกต่าง เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ สัมมาสมาธิ

 

 

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร

คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา

สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ ศิล
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

 

 

สุดท้าย ลงรอยเดียวกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
อันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในจักษุ
กำหนัดในรูป
กำหนัดในจักษุวิญญาณ
กำหนัดในจักษุสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในมโน
กำหนัดในธรรมารมณ์
กำหนัดในมโนวิญญาณ
กำหนัดในมโนสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป
ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ
ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้

จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่า
มีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญ
อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้
คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในมโน
ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ
ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ
สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗

 

จะอ่านพระธรรมคำสอนนี้ ให้เข้าถึงลักษณะอาการ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของคำเรียกต่างๆนี้ได้

ต้องรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะเหล่านี้ด้วยตนเองก่อน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท และ อริสัจ ๔
ผัสสะ และ อริยสัจ ๔

พฤศจิกายน 2017
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930  

คลังเก็บ