ต้องได้ฌานงั้นรึ?

ต้องได้ฌานงั้นรึ?
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า เป็นผู้ได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน

เขียนอะไรก็ไม่รู้ มีแต่คำศัพท์ อ่านไม่รู้เรื่อง
แล้วจะเข้าใจได้ยังไง

.

บางคน อ่านสิ่งที่วลัยพรเขียน อ่านแล้ว อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม ที่อ่านแล้ว ไม่เข้าใจ นี่เป็นเรื่องปกติ อ่านแล้วคิดว่าเข้าใจ ก็เป็นเรื่องปกติ

.

ตกลงต้องทำให้ได้ฌานรึเปล่า?
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน

สิ่งที่เขียนนั้น เขียนตามสภาวะ
และต้องการดำรงพระธรรมคำสอนไว้ให้ดังเดิม
ไม่เพิ่มเติม ไม่ตัดทอน จึงเขียนออกมาแบบนั้น

สำหรับผู้ปฏิบัติ ที่ไม่รู้ปริยัติ หรือรู้ปริยัติ
แต่ไม่เข้าถึง ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดสภาวะนั้นๆด้วยตนเอง

เรื่องจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ได้ฌาน หรือไม่ได้ฌาน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ตัดทิ้งไปได้

.

เอาเป็นแค่ว่า เวลาทำกรรมฐาน จะอิริยาบทใดก็ตาม
เวลาที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิมั๊ย
เอาแค่รู้ชัดตรงนี้ก่อน เป็นสิ่งแรก

.
ยกตย. บางคนอาจจะรู้สึกถึงความสงบบ้าง
จู่ๆรู้ชัดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายบ้าง
หรือ กำลังมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
แล้วมีแสงสว่าง(โอภาส) เกิดขึ้น
หรือปรากฏเหมือนมองกระจกใสๆ
ทั้งที่ตรงนั้นไม่มีกระจกฯลฯ

สภาวะที่เกิดขึ้นตรงนี้ เป็นเรื่องของ ขณิกสมาธิ
คือ เกิดในระยะๆสั้นๆ

.

ส่วนโอภาส หรือแสงสว่าง เป็นเรื่องของ กำลังสมาธิ
ที่เรียกว่า อัปนาสมาธิ ที่มีเกิดขึ้น
ถึงแม้จะเป็นระยะสั้นๆ ก็สามารถมีเกิดขึ้นได้

.

เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น อย่านำชื่อแซ่หรือคำเรียกต่างๆ ใส่ลงไป
เพราะอาจเป็นปัจจัยให้ อุปกิเลส ทำงานโดยอัตโนมัติ

.

.

ข้อต่อมา ตรงนี้เป็นเรื่องของการทำกรรมฐาน
ในอิริบท ยืน เดิน นั่ง นอน

รู้แค่ว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ รู้ตรงนี้ก่อน
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่น วิตก วิจารณ์ฯลฯ
คำเรียกต่างๆ อย่านำไปใส่ในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เพราะเป็นปัจจัยให้ สภาวะที่มีเกิดขึ้น ผิดเพี้ยน
และอุปกิเลส มีเกิดขึ้นอัตโนมัติ

.

.

ข้อต่อมา เมื่อจิตเป็นสมาธิ รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ
ตรงนี้สำคัญมาก ต้องรู้จักสังเกตุ ไม่ใช่จ้องดู

แต่หมายถึง หลังเลิกทำกรรมฐานแล้ว
ให้ทบทวนสภาวะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น
แล้วจดบันทึกเก็บไว้

วันนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า สภาวะที่มีเกิดขึ้น คืออะไร
เรียกว่าอะไร ให้กำหนดรู้เท่านั้นพอ

หากสงสัยแล้วนำไปค้นหา
จะกลายเป็นนิวรณ์ เป็นอุปสรรคต่อการทำความเพียร

.

ข้อสุดท้าย เมื่อรู้ชัดว่าจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เวลาเป็นสมาธิ รู้กายที่นั่งอยู่มั๊ย
รู้ท้องพองขึ้นยุบลงมั๊ย
หรือรู้ว่ามีกายปรากฏอยู่มั๊ย
รู้อะไรแบบนี้ ประมาณนี้

ส่วนภายนอกอาจจะดับหมด หรือยังได้ยินเสียงอยู่
ตรงนั้นไม่ต้องไปสนใจ แค่รู้ที่กายเท่านั้นพอ

เวทนาต่างๆ สามารถมีเกิดขึ้นได้ ขณะจิตเป็นสมาธิ

จิตคิดพิจรณา ได้แก่ สัญญาต่างๆ สามารถมีเกิดขึ้นได้ ขณะจิตเป็นสมาธิ

กล่าวโดยย่อ รู้ชัดในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เป็นลักษณะเด่นเฉพาะ “สัมมาสมาธิ”

.

.

จริงๆแล้ว รายละเอียดมีมากกว่านี้
ตอนนี้รู้แค่นี้พอ อ่านมากๆ เดี่ยวจะมึน
บางคนอาจถอนใจไปเลยก็ได้

ใส่ความเห็น

ธันวาคม 2017
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

คลังเก็บ