การละตัณหา ๓

สำหรับผู้ที่เห็นทุกข์  เบื่อหน่ายภพชาติการเกิด 

พระสูตรนี้เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา โดยเน้นปฏิบัติ   คือ เน้นการทำความเพียร ทำให้แจ้งนิพพานก่อน 

ส่วนวิธีการกระทำเพื่อแจ้งนิพพาน  ตรงนี้ต้องอาศัยกัลยาณมิตร

ส่วนจะได้บุคคลที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง เพราะมีเรื่องวิบากของกรรมมาเกี่ยวข้อง

.
นิคัณฐสูตร
[๕๑๔] ๗๕. สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล เจ้าอภัยลิจฉวีกับเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวี ได้พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วเจ้าอภัยลิจฉวีได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐนาฏบุตร เป็นคนรู้เห็นธรรมทุกอย่าง ย่อมปฏิญญาญาณทัสสนะไว้อย่างไม่มีส่วนเหลือว่า สำหรับเราจะเดิน จะยืน จะหลับและตื่นก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร
เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไป เพราะความเพียรเผากิเลส ฆ่าเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันว่า เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงหมดไป เพราะทุกข์หมดไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
การล่วงทุกข์ย่อมมีได้ด้วยความหมดจด ที่ให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งบุคคลจะพึงเห็นเองนี้ ด้วยประการฉะนี้
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้อย่างไร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
ความหมดจด ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ
๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วยฯ
๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วยสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ
.
ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมโดยไม่เหลือ ๓ อย่างนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
เมื่อท่านพระอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้พูดกะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า ดูกรอภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า
เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า เพื่อนรัก ไฉนเราจักไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า ผู้ใดไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิต ความคิดของผู้นั้นพึงเสื่อม ฯ
.
หมายเหตุ;
คำว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ
 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อละกามตัณหา ความอยากทางโลก
.
คำว่า ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ
เป็นข้อปฏิบัติเพื่อละภวตัณหา ความอยากทางธรรม เช่น อยากเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์
.
คำว่า ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วยสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่าความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ
เป็นข้อปฏิบัติเพื่อละวิภวตัณหา ความไม่อยากเกิด
เพราะไม่ว่าเกิดเป็นอะไร ล้วนเป็นทุกข์  คือ ไม่พ้นชาติ ชรา มรณะ

 

ใส่ความเห็น

กุมภาพันธ์ 2020
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829  

คลังเก็บ