เสียหายหมด หลุดพ้นโดยส่วนสอง

ว่าด้วยหลุดพ้นโดยส่วนสอง และที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.

คำว่า อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

.

คำว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง
ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง มีการใช้คำบริกรรม
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การนับเป็นจังหวะ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า มีบัญญัติเป็นอารมณ์

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสัมมาสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า กายสักขี
คือ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกายเป็นสักขี
ซึ่งเกิดจากสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนจะทำให้รู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ขึ้นอยู่กับกำลังสติ
ต้องอาศัยการเดินจงกรม แล้วต่อด้วยนั่ง
กำลังสติที่เกิดจากการเดินจงกรม เป็นการสะสม
ซึ่งเคยเขียนไว้ว่า การเดิน ๖ ระยะ กำลังสติที่มีเกิดขึ้น จะมีกำลังมากขึ้นมากว่าสักแต่เดิน เพียงแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน
เป็นที่มาของคำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
เห็นความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
.

“เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด”

คำว่า ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
หมายถึง ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องสังโยชน์สูตร

คำว่า อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ได้แก่ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คืออินทรีย์ ๕ พร้อม สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) จึงมีเกิดขึ้น โดยไม่ต้องตั้งใจว่าจะให้มีเกิดขึ้น

ละตัณหา คือ ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
จะรู้ชัดด้วยตนเอง ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้น

สภาวะตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิปาทา
จะเกิดขึ้นเร็วหรือจะเกิดช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
คือมีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
มาในรูปแบบของนิมิตที่เสมือนจริง คือเหมือนมีเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งที่นั่งอยู่
เรียกว่า สังขารนิมิต

เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดสภาวะโคตรภู(ถูกดูด)
จะมีเกิดขึ้นครั้งแรกในก่อนจะได้โสดาปัตติผล ครั้งเดียวเท่านั้น

ถ้าจะให้รู้ชัดความเกิด ความดับในวิโมกข์ ๘
ต้องเดินจงกรม ต่อนั่ง จะสามารถทำให้วิโมกข์ ๘ สามารถมีเกิดขึ้นได้
แต่จะรู้ได้ว่าเข้าถึงวิโมกข์ ๘
ต้องดูความเกิด ความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเป็นหลัก

ถ้าจะให้รู้ชัดความเกิด ความดับในวิโมกข์ ๘
ต้องเดินจงกรม ต่อนั่ง จะสามารถทำให้วิโมกข์ ๘ สามารถมีเกิดขึ้นได้
แต่จะรู้ได้ว่าเข้าถึงวิโมกข์ ๘
ต้องดูความเกิด ความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเป็นหลัก

มีหลายๆคนเข้าใจความผิด คิดว่าต้องตั้งอธิษฐานว่า จะขอให้ความดับกี่เท่าไหร่ ก็อธิษฐาน แล้วนั่งอย่างเดียว
มันไม่ใช่แบบนั้นนะ ต้องเดินจงกรมก่อน แล้วนั่ง มันเกี่ยวกับอินทรีย์ ๕
การเดินจงกรม ๖ ระยะ จะทำให้กำลังสติมีมากขึ้นกว่าสักแต่ว่าเดิน ประมาณว่าเดินให้ครบเวลาแล้วนั่ง

บางคนสงสัยว่า หากเดินจงกรม ๖ ระยะ จิตก็ติดคำบัญญัติ นี้เกิดจากความคิดผิด
ต้องแยกสภาวะให้ออกจากกัน

การเดินจงกรม ก็ตัวสภาวะของเดินจงกรม
การเดิน ๖ ระยะ ทำให้รู้ชัดความเกิด ความดับ ทุกย่างก้าวขณะกำลังเดิน
หากทำได้ กำลังสติมีมากกว่าสักแต่ว่าเดิน
พอมานั่ง จิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย

ส่วนการนั่ง สภาวะที่มีเกิดขึ้นก็ตัวสภาวะขณะกำลังนั่งอยู่

คนละตัวสภาวะกัน อย่าเอาไปรวมกัน


ก่อนที่จะรู้ชัดความหลุดพ้นสองส่วน
ต้องรู้ชัดสภาวะนี้ก่อน คือ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ


๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

คำว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)

ญาณ ๑๖ ได้แก่ ภังคญาณ

ตัวสภาวะ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติถูกเพิกถอนจนหายไปหมด
คือ จิตละทิ้งคำบริกรรม(บัญญัติ) มีรูปนามเป็นอารมณ์

จากนั้นเห็นความเกิด ความดับรูปนามในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังสติที่มีอยู่ และขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่มีอยู่
เช่น บางคนได้รูปฌาน จะรู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน
จะไม่สามารถความเกิด ความดับในอรูปฌาน
ขึ้นอยู่วิริยะ(การทำความเพียร) ให้เดินจงกรม ต่อนั่ง อย่านั่งเพียงอย่างเดียว


ส่วนตรงนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่รู้ว่ามีเกิดขึ้นในสมัยไหน

มันยิ่งกว่า วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค ญาณ ๑๖
คือมาเปลี่ยนตัวสภาวะให้เป็นตามความรู้ความเห็นของตน(คนแปล) ดูจากการตีความตัวสภาวะ(@เชิงอรรถ)

ซึ่งไม่ใช่สภาวะหลุดพ้นโดยส่วนสอง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต
[๔๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า‘อุภโตภาควิมุต อุภโตภาควิมุต’
“ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘อุภโตภาควิมุต”๑-

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า‘อุภโตภาควิมุต’ โดยปริยายแล้ว ฯลฯ๒-

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะ

@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
@๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๘}

คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ
เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘อุภโตภาควิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”

เสียหายหมด หลุดพ้นด้วยปัญญา

ว่าด้วย การหลุดพ้นด้วยปัญญา และที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

คำว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง
ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง ไม่มีการใช้คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ
มีรูปนามเป็นอารมณ์
ตัวสภาวะได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
เช่น รู้ลมหายใจเข้า หายใจออก รู้ตามความเป็นจริง ไม่มีการนับ 1 2 3 ฯลฯ
รู้ท้องพอง ขณะลมหายใจ รู้ท้องยุบ ขณะลมหายใจออก รู้ตามความเป็นจริง

จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สมถะ(สัมมาสมาธิ) เกิดที่หลัง ชื่อว่า อนิมิตตเจโตสมาธิ

คำว่า หลุดพ้นด้วยปัญญา
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่น กายแตก กายระเบิด ไตรลักษณ์ปรากฏ

สภาวะเขียนคร่าวๆ รายละเอียดไว้เขียนที่หลัง


ส่วนตรงนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่รู้ว่ามีเกิดขึ้นในสมัยไหน

มันยิ่งกว่า วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค ญาณ ๑๖
คือมาเปลี่ยนตัวสภาวะให้เป็นตามความรู้ความเห็นของตน(คนแปล) ดูจากการตีความตัวสภาวะ(@เชิงอรรถ)

ซึ่งไม่ใช่สภาวะหลุดพ้นด้วยปัญญา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๓. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[๔๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”๑-

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒-

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมรู้ชัดสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”

เสียหายหมด กายสักขี

อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว

สภาวะที่เรียกว่า กายสักขี
ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)

กายสักขี(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ)
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นคนละตัวกันกับโสดาบันประเภทกายสักขี(โสดาปัตติผล)

———-

ว่าด้วยคำว่า กายสักขี และสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น หรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ได้แก่

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

คำว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง
ขณะทำกรรมฐาน ตัวสภาวะหมายถึง มีการใช้คำบริกรรม
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การนับเป็นจังหวะ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า มีบัญญัติเป็นอารมณ์

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสัมมาสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า กายสักขี
คือ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกายเป็นสักขี
ซึ่งเกิดจากสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนจะทำให้รู้ชัดความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ขึ้นอยู่กับกำลังสติ
ต้องอาศัยการเดินจงกรม แล้วต่อด้วยนั่ง
กำลังสติที่เกิดจากการเดินจงกรม เป็นการสะสม
ซึ่งเคยเขียนไว้ว่า การเดิน ๖ ระยะ กำลังสติที่มีเกิดขึ้น จะมีกำลังมากขึ้นมากว่าสักแต่เดิน เพียงแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน
เป็นที่มาของคำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
เห็นความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
.

“เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด”

คำว่า ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
หมายถึง ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องสังโยชน์สูตร

คำว่า อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ได้แก่ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คืออินทรีย์ ๕ พร้อม สภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) จึงมีเกิดขึ้น โดยไม่ต้องตั้งใจว่าจะให้มีเกิดขึ้น

ละตัณหา คือ ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
จะรู้ชัดด้วยตนเอง ขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้น

สภาวะตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิปาทา
จะเกิดขึ้นเร็วหรือจะเกิดช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
คือมีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
มาในรูปแบบของนิมิตที่เสมือนจริง คือเหมือนมีเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งที่นั่งอยู่
เรียกว่า สังขารนิมิต

เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดสภาวะโคตรภู(ถูกดูด)
จะมีเกิดขึ้นครั้งแรกในก่อนจะได้โสดาปัตติผล ครั้งเดียวเท่านั้น

การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ความรู้ ความเห็นที่มีเกิดขึ้นในข้อปฏิบัติแบบนี้ เรียกว่า กายสักขี


ส่วนตรงนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็ไม่รู้ว่ามีเกิดขึ้นในสมัยไหน

มันยิ่งกว่า วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค ญาณ ๑๖
คือมาเปลี่ยนตัวสภาวะให้เป็นตามความรู้ความเห็นของตน(คนแปล) ดูจากการตีความตัวสภาวะ(@เชิงอรรถ)

ซึ่งไม่ใช่สภาวะกายสักขีตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี

[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี กายสักขี’
ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า กายสักขี”๒-

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓- โดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว(๑)

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔)

@เชิงอรรถ :
@๑ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง
@สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
@๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
@๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๖}

ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคืออากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว”

สมถะ วิปัสสนา กับ รถ ๗ ผลัด

ความแตกต่างระหว่าง สมถะ วิปัสสนา กับ รถ ๗ ผลัด

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับ สมถะ วิปัสสนา

สมถะและวิปัสสนา
จาก ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ตัวสภาวะที่สำคัญ คือ

บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

  • ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
  • อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
    สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
    เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้
โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

๘. อินทรียสังวรสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์
แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์
แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


รถ ๗ ผลัด จาก

๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร

ตัวสภาวะที่สำคัญ คือ

สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

วัตถุกถาสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สันโดษ
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สันโดษ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สงัด
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้แล ฯ

ปุณณมันตานีปุตตเถราปทานที่ ๗ (๕)
ว่าด้วยผลแห่งการแสดงธรรม
[๗] เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พวกศิษย์ห้อมล้อมแล้ว
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้อุดมบุคคล พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราโดยย่อ
เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ได้บังคมพระศาสดาประคองอัญชลี มุ่งหน้าเฉพาะทิศทักษิณกลับไป
ครั้นได้ฟังโดยย่อแล้ว แสดงได้โดยพิสดาร ศิษย์ทุกท่านดีใจ ฟังคำเราผู้กล่าวอยู่ บรรเทาทิฏฐิของตนแล้ว
ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนเราแม้ฟังโดยย่อ ก็แสดงได้โดยพิสดาร ฉะนั้น

เราเป็นผู้ฉลาดในนัยแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดในความหมดจดแห่งกถาวัตถุ
ยังปวงชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัลปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัลปนี้
มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ใน ๔ ทวีป
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปุณณมันตานีปุตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

อัตตาวาทุปาทาน

๗. เขมสุมนสูตร

ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
คนที่ดีกว่าเราไม่มี
คนที่เสมอเราไม่มี
หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย
ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัยเรา
จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว หลีกไป

ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป

ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
เขาเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ

พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ
ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

.

คำว่า โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
ได้แก่ อวิชชาที่มีอยู่

.

คำว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
ได้แก่ ละมานะ เกิดจากละวาทะเราเป็น ตนเป็น เขาเป็น

เมื่อละอัตตาวาทุปาทานได้
ย่อมไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
เพราะรู้ชัดประจักษ์แจ้งว่า ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น มีแต่เรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕

สัทธรรมปฏิรูป

คำว่า สัทธรรมปฏิรูป คือคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือนไว้
เหตุการณ์ที่จะมีเกิดขึ้นหลังพระองค์ทรงปรินิพพาน

.

.
๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว
เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่
จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา

แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้
มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่
จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่

พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

.

ผลของการเชื่อพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้
เช่น วิมุตติมรรค วิสุทธมรรค ฯลฯ อะไรๆที่เกี่ยวข้องว่าด้วยวิปัสสนาญาณ ๑๖ แล้วน้อมใจเชื่อ


ซึ่งมีเหตุการณ์เหล่านี้มีเกิดขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
คือ บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้ว
จึงเชื่อมั่นในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้


นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้ อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน
เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ

.
หมายเหตุ;

คำว่า ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
ได้แก่ ตายไปแล้ว จึงจะเชื่อที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือนไว้

“เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่
พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ”

คำว่าเลือนไปหรือเสื่อมไป หมายถึง ไม่สามารถเข้าถึงอรหัตผลตามความเป็นจริง(วิมุตติ)ได้
เหตุนี้การอธิบายสมถะและวิปัสสนาในหลายๆสำนัก จึงมีเกิดขึ้นในปัจจุบัน(คำอธิบาย)
เมื่อไม่แทงตลอดตัวสภาวะสมถะและวิปัสสนา จึงเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ในพระสูตร นิฏฐาสูตร

หากเข้าถึงอรหัตผล ต้องแทงตลอดในสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ “โลกุตระ”

อังคสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑
ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่าผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ฯ
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว

ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ

ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์ล้วด้วยองค์ ๕ ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ


.

การเปรียบเทียบคัมภีร์วิสุทธิมรรคและคัมภีร์วิมุตติมรรคเชิงวรรณกรรม

คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์แต่งโดยพระพุทธโฆสาจารย์ แห่งสำนักมหาวิหาร
ส่วนคัมภีร์วิมุตติมรรค แต่งโดยพระอุปติสสะเถระแห่งสำนักอภัยคีรีวิหาร
ทั้งสองคัมภีร์เป็นประเภทปกรณ์วิเสสที่ได้การยอมรับว่าอธิบายพระไตรปิฎกดีที่สุด
ผลการศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์ทั้งสองเชิงวรรณกรรมวิจารณ์
พบว่ามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันคือ

(1) ด้านโครงสร้างคัมภีร์ ทั้งสองคัมภีร์วางลำดับเนื้อหาเป็นไปตามหลักไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญา รวบรวมเนื้อหาไตรสิกขาไว้เป็นหมวดหมู่
(2) ด้านลักษณะการแต่งเป็นแบบวิมิสสะคือผสมผสานร้อยแก้วกับร้อยกรอง
(3) ด้านวิธีการอธิบายเนื้อหา ทั้งสองคัมภีร์มีความคล้ายคลึงกันคือ
เป็นลักษณะการตั้งคำถามคำตอบ ยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบประกอบการอธิบาย
ในประเด็นที่แตกต่างกันคัมภีร์ทั้งสองใช้บทอุทเทสหรือบทตั้งต่างกัน
คัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายเนื้อความมาก อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
มีการวินิจฉัยความ ดำเนินการอธิบายตามแนววิสุทธิ 7 และญาณ 16
ในขณะที่คัมภีร์วิมุตติมรรคอธิบายเนื้อหาแบบกระชับไม่อ้างอิงข้อมูลมากนัก ไม่มีการวินิจฉัยความ

(4) ด้านคุณค่าทางวรรณกรรมบาลี คัมภีร์ทั้งสองให้คุณค่าด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสำนวนภาษาทางศาสนา
(5) ด้านอิทธิพลต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งสองคัมภีร์เป็นต้นแบบการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดเป็นตำราอีกเล่มหนึ่งที่สำคัญในหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

.

คำนี้ วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น(ภาคปัญญา) โดย พระอรหันต์ อุปติสสะ

หากเป็นพระอรหันต์ จะไม่เขียนหนังสือแบบนี้


สังฆโสภณสูตร[๗]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า
เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม
๔ จำพวกเป็นไฉน

  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ อุบาสก ๑ อุบาสิกา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำดีแล้ว
เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม ฯ

บุคคลใด เป็นผู้ฉลาด แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
บุคคลเช่นนั้น เราเรียกว่า ผู้ยังหมู่ให้งาม ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูตเหล่านี้แล ย่อมยังหมู่ให้งาม แท้จริง
บุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ยังหมู่ให้งาม ฯ

.

อรรถกถาสังฆโสภณสูตรที่ ๗พึงทราบวินิจฉัยในสังฆโสภณสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาสามารถ.บทว่า วินีตา ความว่า ผู้เข้าถึงวินัยอันท่านแนะนำดี.
บทว่า วิสารทา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความกล้าหาญ คือญาณสหรคตด้วยโสมนัส.
บทว่า ธมฺมธรา คือ ทรงจำธรรมที่ฟังมาแล้วไว้ได้.
บทว่า ภิกฺขุ จ สีลสมฺปนฺโน ความว่า ในคาถาตรัสคุณแต่ละอย่าง แต่ละบุคคลไว้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น คุณธรรมทั้งปวงก็ย่อมควรแก่ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด..

.

ทั้งหมดนี้ มีเกิดขึ้นปัจจุบัน
ส่วนมากมีแต่สัทธรรมปฏิรูปมากกว่าศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
พระองค์ทรงรู้ทรงเห็นอนาคต จึงทรงตรัสไว้เกี่ยวกับพยัญชนะปฏิรูป.

—————

สมจิตตวรรคที่ ๔

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก
คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว
ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จก็ได้ เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก
คือคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ ฯ

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า สัทธรรมปฏิรูป กับ พยัญชนะปฏิรูป คนละตัวสภาวะกัน

สัทธรรมปฏิรูป
ได้แก่ ตำราหรือคัมภีร์ ที่แต่งขึ้นใหม่ หลังพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน

พยัญชนะปฏิรูป
ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเขียนอธิบายตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ใช้คำเรียกเฉพาะเท่าที่ตนต้องการสื่อสาร

แก้ไข 9 กันยายน 64

ศิลที่เกิดจากการฟังธรรมของบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

ศิลที่เกิดจากการฟังธรรมของบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

ชักชวนเข้าวัด รักษาอุโบสถ ทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ส่วนจะเป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
ผลที่ได้รับย่อมแตกต่างกัน


ส่วนภพชาติของการเกิดของโสดาบันประเภทนี้
หากทำกาละ ไม่ต้องไปอบายต่อไปอีก แม้จะเกิดทุกครั้งต่อไปจะภพชาติของเทวดาและมนุษย์ จนตรัสรู้ในชาติใดชาติหนึ่ง คือยังต้องเกิดอีกนาน

.

ปุญญาภิสันทสูตร
[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้
นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑
นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ทาน ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผลเป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ


๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๘๐] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับกองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่หนึ่งแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมขจรไป อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สอง แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจไม่เก้อเขิน
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สาม แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สี่ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ห้า แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้แล ฯ


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน

ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

.
หมายเหตุ;

คำว่า โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร
เมื่อใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิ มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เฟื่องฟู ผ่องใส
เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้น แลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ

[๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ มีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง
บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้
ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
.
ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต

ลำดับนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก เพราะธรรมเป็นเหตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

.
หมายเหตุ;

คำว่า ธุลี
ได้แก่ นิวรณ์
.
คำว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิ
ได้แก่ สิ้นสงสัย

ความเกิด ความดับ เป็นอริยะ

คำว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ได้แก่ รู้ชัดความเกิด ความดับในผัสสะ

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
    เห็นความเกิด ความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ(กายสักขี)

  • ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอนิมิตตเจโตสมาธิ(วิปัสสนา)
    เห็นความเกิดและความดับในรูปนาม เช่น กายแตกกายระเบิด ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกข์ อัตตา) ปรากฏ
    (หลุดพ้นด้วยปัญญา/อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

.

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้
มรรค ๔ เป็นไฉน

  • ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

  • อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
    สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
  • ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
    ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

สภาวะเจ้านาย

เช้านี้ เราพูดเรื่องสภาวะให้เจ้านายฟังว่า ผู้ปฏิบัติหากสภาวะยังเป็นแบบนี้ คือไตรลักษณ์ไม่ปรากฏ ต้องตายและเกิด ๗ ชาติ ซึ่งเกิดมาแล้ว จนหรือรวยเลือกไม่ได้ ชีวิตจะเป็นยังไงก็ไม่รู้ เพราะไม่รู้ว่าผลกรรมตัวไหนส่งผลให้ได้รับ


เขาบอกว่า อย่างน้อยก็ยังรู้จุดจบ
เรา ……

เขาบอกว่า ไปไม่ถูกล่ะสิ แต่เขาคิดแบบนั้นจริงๆ
เราบอกว่า ถ้าพอใจแค่นั้น แล้วแต่นะ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณหัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่าง ๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก”
.
สภาวะที่เราพูดให้เขาฟังหมายถึงผู้ปฏิบัติตามลำดับ คือ ศิล การละกิเลสให้เบาบางและการกระทำเพื่อดับภพชาติของเกิด
รักษาศิล ๕
เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
รู้ชัดเรื่องกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง (ผัสสะ เวทนา ตัณหา ภพ)
คือการดู การรู้สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ตามความเป็นจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ(ชอบใจ ไม่ชอบใจ) เป็นเรื่องของวิบากรรม ที่ส่งผลมาให้รับผลในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
ให้ควรกำหนดรู้(ความรู้สึกนึกคิด) กระทำไว้ในใจ ไม่ปล่อยออกไปทางกาย วจี ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

เมื่อไม่สานต่อ กรรมย่อมจบลงแค่นั้น เป็นการดับเฉพาะตน

บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง


โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง


โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทา
ซึ่งพยาบาทวิตก …
วิหิงสาวิตก …
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
.
คำว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ได้แก่ สัมมาสมาธิ


คำว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)


.
ที่เขียนมานี่ เป็นสภาวะของเจ้านายในปัจจุบัน เป็นแบบนี้แหละ

ธันวาคม 2020
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

คลังเก็บ