สภาวะปรมัตถ์ หมายถึง สภาวะที่ไม่ต้องใช้อารมณ์บัญญัติ เข้ามากำหนด
เช่น พองหนอ ยุบหนอ พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะทะฯลฯ ใช้ภาวนา เพื่อให้จิตตั้งมั่นหรือ เป็นสมาธิ
สภาวะปรมัตถ์ เพียงแค่รู้ รู้กาย จิตสามารถตั้งมั่นหรือเป็นสมาธิ ได้ทันที
เวลาเดินจงกรม ไม่ต้องใช้อารมณ์บัญญัติมากำหนด เช่น ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มากำหนด เพียงแค่เดิน เดินก็รู้ว่าเดิน รู้เท้าที่กำลังก้าวย่าง จิตเป็นสมาธิทันที
เมื่อมีสภาวะดังนี้แล้ว สภาวะต่างๆ จะรู้ชัดรายละเอียดภายในกาย ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย รู้ชัดตามชีพจรต่างๆ ที่กำลังเต้นอยู่ เช่น ที่ก้นเวลานั่ง ที่หลังเวลานอน ได้ยินเสียงหัวใจเต้น เหมือนหัวใจแนบอยู่ที่หู ได้ยินเนืองๆ แม้ว่าไม่ได้ทำสมาธิอยู่ ที่แขน ที่ขา
เวทนา รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้น กำลังเกิด ขณะที่เกิด และดับหายไป บางครั้งอาจจะรู้สึกซ่าๆ ที่ปลายเท้า
จิต รู้ชัดในกิเลสที่เกิดขึ้น ถึงแม้ไม่มีผัสสะจากภายนอก เป็นเหตุปัจจัย
ธรรมหรือธรรมารมณ์ รู้ชัดในความคิดที่เกิดขึ้น ถึงจะเกิดมากก็ตาม ไม่มีความรำคาญหรือทำให้เกิดความฟุ้งซ่านแต่อย่างใด
คำว่า ฟุ้งซ่าน หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นมากมาย และทำให้รู้สึกรำคาญ
ผู้ที่มีสภาวะปรมัตถ์หรือสภาวะสัมมาสมาธิหรือสภาวะวิปัสสนา เกิดขึ้นแล้ว จะพบเจอสภาวะเหล่านี้ทั้งหมด เหมือนๆกัน
ส่วนจะรู้ชัดในสภาวะต่างๆนั้น ได้มากน้อยแค่ไหน แล้วแต่เหตุปัจจัย