ทุกขังกับกายคตาสติ

การทำความเพียรเพื่อดับเหตุทุกข์ การรู้ชัดจิต
ทำให้สามารถประคบประคองจิตให้ผ่านจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(อวิชชา)ไปได้

เมื่อก่อน ก็ไม่รู้ว่าที่เราตั้งชื่อเรียกเองว่า เจริญสติ โดยใช้การรู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นโดยการกำหนดอารมณ์ต่างๆที่มีเกิดขึ้น
ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ความรู้สึกต่างๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิตมีชื่อเรียกว่า กิเลส เมื่อไม่รู้ก็ย่อมกระทำต่างๆตามความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น(โลภะ โทสะ โมหะ)
ชีวิตย่อมดำเนินไปตามกรรม(การกระทำ) และผลของกรรม

จนกระทั่งเจอหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านรู้หนอ ไม่ว่าเราจะคิดอะไร หลวงพ่อจะพูดทันที
อาจด้วยเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมาร่วมกับหลวงพ่อ จึงทำให้เชื่อในสิ่งที่ท่านสอนเนืองๆเรื่องกฏแห่งกรรม

หลวงพ่อพูดเนืองๆว่า ท่านไม่ได้พาใครไปนิพพาน ท่านสอนเรื่องกฏแห่งกรรม เพื่อให้ทุกคนช่วยตนเอง
ที่เราปฏิบัติได้ผลมากนี้เกิดจากเรื่องกรรมและผลของกรรม พยายามอดทน อดกลั้น หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ
สมัยพุทธกาล ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
สมัยปัจจุบัน ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
พยายามอดทน อดกลั้น เหมือนที่หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ

เมื่อไตรลักษณ์แจ้งจากจิต คือ รู้ว่าทุกข์ แต่ไม่มีชื่อว่ารู้ไตรลักษณ์หรือคำเรียกต่างๆ
จะรู้อย่างเดียวว่า มันทุกข์(อาการ) แบบนั้น ไม่ใช่รู้ว่าไตรลักษ์ปรากฏจากจิต(คำเรียก)
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
เมื่อเห็นว่าผู้นั้นมีความศรัทธาหยั่งลงแล้ว ย่อมต้องใจฟังคำสอน และปฏิบัติตาม ดังที่มีให้เห็นเป็นตัวอย่างดังนี้
นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท
[๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้น ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม … ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.

ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง มีลักษณ์ที่เกิดชัด นิวรณ์มาก กรรมฐานที่เหมาะสมได้แก่ การเจริญกาคตาสติ
สำหรับบุคคลที่เป็นฆราวาส “พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน”

กล่าวคือ พยายามอดทน อดกลั้นในเรื่องการสร้างเหตุนอกตัว โดยใช้มนสิการว่า

มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

หมายเหตุ;
“ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง”
หมายถึง ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู … ดมกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น …ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก … วิหิงสาวิตก …
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

และเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน ได้แก่ การเจริญกายคตาสติ

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph … 182&Z=4496

และขณะทำกรรมฐาน ใช้มนสิการโดยแยบคาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้น
แล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
นี่ย่อที่สุด สำหรับผู้ที่รู้ชัด”ทุกขัง”
เป็นที่มาของคำที่ว่า “เห็นทุกข์ เห็นธรรม”
ต่อจากนั้น

“พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน

เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท”
บอกก่อนว่า ผลจะได้มากหรือน้อย ขึ้นชื่อว่าพยายาม ผลย่อมได้
ยังดีกว่าไม่ทำ(หยุดสร้างเหตุนอกตัวและทำกรรมฐาน)อะไรเลย

บางครั้งท้อถอย แต่ยังพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว และยังทำกรรมฐาน
เดินจงกรม บางคนรู้กายขณะกำลังเดินจงกรม(กำหนดย่อย)
ต่อด้วยนั่ง รู้ตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
หรือขณะนั่ง รู้กายที่ท้องพองยุบ(ลมหายใจเข้า) ท้องยุบ(หายใจออก) ทำต่อเนือง

เน้นมากๆ ต้องเดินก่อนนั่ง เพื่อปรับให้อินทรีย์สมดุลย์(สมาธิกับสติ)
ผลที่ได้คือ
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป

แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์

แก่นของสภาวะวิปัสสนา
ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง

สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ(สัมมาสมาธิ)

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ

เมษายน 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

คลังเก็บ