ธรรมะจาเกเปลือกถั่ว

23 เม.ย. ’51
 
  
 การที่จิตรวมเป็นหนึ่งในทุกขณะอริยาบทได้ นี่ดีจริงๆ  ( พักนี้เกิดถี่มาก )
ช่วยตัดความวุ่นวายภายนอกตัวไปได้มาก ๆ รู้สึกถึงความสว่างโล่งไปหมด
 
วันนี้ก็ปฏิบัติเหมือนเดิม เดินจงกรม กับรู้ลงไปในอริยาบทย่อยเวลาทำงาน
พอพักเที่ยงก็นั่งสมาธิต่อ  เดี่ยวนี้อย่างที่บอกไว้ จิตจะรวมเป็นหนึ่งเข้าสู่สมาธิเร็วมากๆ
เมื่อเข้าสู่สมาธิแล้ว โอภาสจะเกิด เกิดบ่อยมาก ( ซึ่งเมื่อก่อน น้อยครั้งที่จะเกิดสว่างมากๆแบบนี้ ) 
 
วันนี้สติดี จับตรงช่วงที่สว่างมากๆได้ 6 ครั้ง ในเวลานั่ง 1 ช.ม. นอกนั้นสว่างปกติ สว่างตลอด
แต่ก็มีสติรู้ตัวตลอด เวทนาจับได้ตั้งแต่เกิดแล้วก็ทรงๆอาการอยู่อย่างนั้น 
( ผ่านหนักๆมาจนรู้ละว่า ให้ปวดยังไง ถ้ามีสติเดี๋ยวมันก็หายไปเอง เวทนานี่เป็นครูนะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนี่ เป็นครูมาสอน )
 
ตอนนี้ไม่กลัวเวทนาแล้วไม่ถอยด้วย เพราะรู้ว่า ถ้าสติดี เราเอาเวทนาอยู่ เป็นการฝึกสติ
ถึงแม้ว่าจะยังแยกกายออกจากจิตยังไม่ได้เด็ดขาดได้ตลอดก็ตาม
 
จำได้มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่เกิดเวทนา เห็นตั้งแต่เกิดจนดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น
ขณะนั้นจิตมีสติรู้ตัวอยุ่ตลอดเวลา ไม่เข้าไปรับรู้กับเวทนาที่เกิด มีหน้าที่ดูอย่างเดียว
      โอภาสนี่ก็แปลกดีนะ บางทีก็สว่างโล่งไปหมด สว่างมากๆ  บางทีก็สว่างเหมือนไฟนีออนนธรรมดา
บางทีก็สว่างแค่ตา เราก็คิดเอาเองว่า อันไหนสว่างมากก้คือสมาธิแรงกว่าระดับอื่นๆ
แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร แค่ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิด
 
24 เม.ย. ’51
 
ธรรมะจากเปลือกถั่ว
  
วันนี้ได้ธรรมะจากเปลือกถั่ว  พอดีจะทำน้ำเต้าหู้กินเอง ก็เลยต้องแช่ถั่วเหลืองกับถั่วลิสงไว้ 2 ช.ม.
ปกติก็เคยแกะเปลือกนะ เคยทำ แต่ไม่เคยได้ธรรมะจากการแกะเปลือกถั่ว  ช่วงนั้นสติคงยังด้อยเกินไปเลยไม่เห็นธรรม
ได้แค่ว่าทำน้ำเต้าหู้กินเอง เพราะเสียดายสตางค์ 
  
พอแช่ถั่วครบเวลา ทีแรกจะนั่งบนเก้าอี้ กะว่าจะนั่งแกะบนเก้าอี้แหละ จิตมันแว่บขึ้นมา
นึกถึงเวลาที่เรานั่งสมาธิแล้วเกิดทุกขเวทนา และนึกถึงคนอีกหลายๆคนที่ชอบบอกว่า นั่งสมาธิไม่ได้
บางทีก็อย่างมาก 5 หรือ 10 นาที พอนึกขึ้นมาได้แบบนี้ เราก็เลยเอาของวางลงกับพื้น แล้วนั่งในท่าขัดสมาธิ
เริ่มแกะถั่วที่เตรียมไว้ทีละเม็ด วันนี้ใช้ถั่ว 1 ขีด เราจับเวลาว่าใช้เวลาในการแกะเปลือกถั่วออกนั้น ใช้เวลาเท่าไหร่
และถั่ว 1 ขีด มีทั้งหมดกี่เม็ด ใช้ถั่วลิสง ผสมกับถั่วเหลือง 
 
ถ้านำมาเทียบกับการทำสมาธิ ปกติเราจะเดินจงกรมก่อน 1 ช.ม. แล้วนั่งต่ออีก 1 ช.ม.
แต่ถ้าไม่เดินก่อน มานั่งเลยนี่ เวทนามากๆ
  
มาที่แกะเปลือกถั่ว ระหว่างนั่งแกะ เราก็ดูเวทนาที่เกิดไปด้วย
 อ้อ … มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะจิตจดจ่อกับการแกะเปลือกถั่ว ไม่สนใจเวทนา
จะเกิดก็ช่างมัน ก็สักแต่ว่ารู้ว่ามันเกิด เราก็เลยทนกับเวทนาได้ เพราะไม่มี " เรา " เข้าไปเกี่ยวข้อง ( จิตมันไม่นสนใจ )
แต่ถ้านั่งสมาธิ ชอบมี " เรา " ไปเกี่ยวข้องจะมีเวทนามาก
 
 ถั่ว 1 ขีด มีจำนวน 377 เม็ด ใช้เวลา ครึ่งช.ม.
ถ้าใครที่ยังนั่งสมาธิไม่ค่อยได้  จะลองอุบายใช้วิธีแกะเปลือกถั่วดูก็ได้
หรือเวลาทำงานที่ต้องนั่งกับพื้น ควรนั่งในท่าขัดสมาธิ เป็นการฝึกสติ เอาจิตจดจ่อกับงานที่ทำ
และเป็นการฝึกเวทนาไปในตัว  ลองดูนะ เอาใจช่วย
   
หลังจากแกะเปลือกถั่วแล้ว ได้เดินจงกรมต่อ และเห็นเวลายังพอเหลืออยู่เลยนั่งสมาธิต่ออีก 40 นาที
ก็เหมือนทุกๆครั้ง พอนั่งปั๊บจิตก็รวมเข้าสู่สมาธิทันที
 
ปกติเวลาเป็นสมาธิ สาธิจะตั้งอยู่ได้นาน ดูจากตา ตาจะมีแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา
ทั้งๆที่ห้องปิดไฟมืด ( นั่งหลับตา ไม่ได้ลืมตา ) ถ้ามืดลง คือสมาธิคลายตัว
 
แต่วันนี้โอภาสเกิดบ่อยๆมากๆ มันจะรู้สึกวาบปั๊บ จะเกิดแสงสว่างมากๆ ไม่ใช่สว่างแบบทุกครั้ง
 เราก็เลยลองนับดูว่า จะมีแสงสว่างแบบนี้อีกไหม แล้วมีกี่ครั้ง เรานับได้ 26 ครั้ง เกิดดับอยู่อย่างนั้น
ไม่ได้พิจรณาอะไร อยากเกิดก็เกิดไป ( พิจรณาไม่เป็น ได้แต่ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แบบที่ครูบาฯบอกมา )
 
เราก็คิด ก็คงเหมือนเวทนาน่ะแหละ เพียงแต่เราไม่เคยเจอหรือเห็นบ่อยขนาดนี้
ส่วนมากจะเห็นแค่ครั้ง 2 ครั้ง และแสงสว่างเท่าที่เราเจอบ่อยก็คือสว่างอยู่ที่ตาอย่างเดียว 
เวลาที่สว่างมากๆ เรารู้สึกเหมือนกับว่าบริเวณช่วงแถบตา ( ไม่นับหน้าผาก และบริเวณใบหน้าที่ต่ำมาจากดวงตา )
เราจะรู้สึกมันวูบๆเหมือนมีเปลวไฟอ่อนๆมาอังอยู่บริเวณตา มันจะรู้สึกร้อนวาบๆอยู่อย่างนั้น
( ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า แต่มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ )
 
ไม่ได้โทรฯถามครูบาฯ เพราะรู้คำตอบอยู่แล้วว่าท่านจะต้องบอกว่า " ทำไป ไม่ต้องไปสนใจ
หรือไปให้ค่าให้ความหมายใดๆทั้งสิ้น ให้รู้ไปตามความเป็นจริงอย่างเดียว  เดี๋ยวก็รู้เอง " 
แต่มันก็จริงอย่างที่ท่านพูด พอถึงเวลาแล้วจะรู้เอง ไอ้สิ่งที่เห็นแล้วเอ๊ะ
     
เพราะเมื่อก่อนเราก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ได้แต่ปฏิบัติอย่างเดียว
เพราะรู้ว่าถามไปแล้วก็จะได้คำตอบแบบนี้ เลยเลิกหาคำตอบ
พอมันแจ้งออกมาจากจิต สิ่งที่รู้ตรงกับตำราทุกอย่าง ถึงจะไม่ได้เรียนปริยัติมาก็เถอะ เหมือนที่ครูบาฯท่านกล่าวไว้ว่า …
 
    " ตู้พระไตรปิฎกก็อยู่ในตัวเราน่ะแหละ ไม่ต้องไปหาที่ไหนหรอก "
 

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

ขณะที่เกิดเวทนา พิจรณาเห็นเวทนาตั้งแต่เกิด ขณะที่เกิด และดับลงไป
เวียนวนอยู่อย่างนั้น ดูไปดูมา เหมือนมันวูบหายไป
สักพักเราก็คิดว่าน่าจะพอละ เลยหยิบนาฬิกามาดู วางไว้ข้างตัว
ไม่ได้ตั้งจับเวลา ทุกทีจะตั้งเวลา ที่ไหนได้ ตี 3
ทำไมมันไวอย่างนี้ สรุปก็คือ จิตมันไว มันไปเข้าอยู่ในสมาธิ เพราะเรารู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่หายไป
นี่ขนาดพิจรณาเวทนาที่เกิดนะ ว่ามีสติรู้ตัวดีแล้วนา สุดท้ายก็เสียท่าสมาธิอีก มันช่างไม่เที่ยงจริงๆเลย

เมื่อคืน คิดว่าจะลงโทษตัวเองซะให้เข็ดที่สติยังไม่มากพอ เพราะไปวุ่นวายเรื่องนอกตัว ก็คิดว่า ให้ลงโทษตัวเองโดยเวทนานี่แหละดีที่สุด
เป็นการเจริญสติ  สติจะได้รู้เท่าทันจิตในขณะที่เกิดเวทนา ถ้ายังรู้ไม่ทันก็ให้มันปวดซะ  ที่ไหนได้ เลยกลายเป็นว่า  ขณะที่เกิดเวทนาจริงๆมันกลับพิจรณาเห็นเวทนาตั้งแต่เกิด ขณะที่เกิด และดับลงไป เวียนวนอยู่อย่างนั้น ดูไปดูมา เหมือนมันวูบหายไป
สักพักเราก็คิดว่าน่าจะพอละ เลยหยิบนาฬิกามาดู วางไว้ข้างตัว ไม่ได้ตั้งจับเวลา ทุกทีจะตั้งเวลา ที่ไหนได้ ตี 3 ในใจก็ร้องโอ้โห ….. ทำไมมันไวอย่างนี้ สรุปก็คือ จิตมันไว เพราะเรารู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่หายไป  นี่ขนาดพิจรณาเวทนาที่เกิดนะว่า
มีสติรู้ตัวดีแล้วนา สุดท้ายก็เสียท่าสมาธิอีก  มันช่างไม่เที่ยงจริงๆเลย
เช้านี้ได้สร้างกุศลแต่เช้า ข้าวที่บ้านแมงช้าง (ตัวมอด) มันขึ้นข้าว ถ้าเป็นเมื่อก่อน เราจะซาวน้ำทิ้งไปเลย
เคยอ่านเจอ มีคนที่เขาเจอแมงช้าง เขาจะทิ้งข้าวนั้นไปเลย เราทำไม่ได้หรอก เราเสียดาย กว่าชาวนาจะปลูกข้าวแต่ละเม็ดได้ ลำบากยากเย็นแสนเข็ญ
เช้านี้ เราก็เลย นั่งเลือกเอาแมงช้างออกทีละตัว แยกข้าวใส่ถ้วย แล้วมันจะคลานขึ้นมาที่ขอบถ้วย เราก็จับมันออก ไม่ฆ่ามันโดยการซาวน้ำทิ้ง
อาหารที่นำเนื้อสัตว์มาทำ เราก็มีกรรมร่วมกับคนที่ฆ่าด้วย ถึงแม้เราจะไม่ได้ฆ่าด้วยตัวเอง ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการฆ่า
เราก็มีกรรมร่วมตรงนั้นกับเขา เพราะเรานำเนื้อทีผ่านการฆ่าแล้วมาบริโภค
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้อาศัยเนื้อหนังมังสาของท่านทั้งหลายที่นำมาประกอบอาหารในการหล่อเลี้ยงชีวิต
ขอผลบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้สร้างสั่งสมมาทุกภพทุกชาติจงสำเร็จแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

หากแม้นสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มาเสวยชาติเป็นคน ขอให้กุศลนี้เป็นผลปัจจัยแด่ท่านทั้งหลาย
ขอให้ท่านทั้งหลายมีดวงตาเห็นธรรม ได้ปฏิบัติธรรม ได้เกิดปัญญาญาณ ได้บรรลุมรรคผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งในพระนิพพานด้วยเทอญ
สาธุ        สาธุ       สาธุ

ศิล

 
ตั้งแต่รู้ทางการปฏิบัติมากขึ้นว่าศิลนั้นต้องหมั่นสำรวม สังวร ระวังตลอดเวลา อย่าให้ศิลนั้นพร่องเพราะจะมีผลต่อการปฏิบัติ  เราพยายาม ต้องขอใช้คำว่าพยายามเพราะเราทำแบบนั้นจริงๆ  เมื่อก่อนว่าจิตเราละเอียดแล้ว ยิ่งมีสติมากขึ้นเท่าไร จิตยิ่งละเอียดมากขึ้น อะไรที่มากระทบมันจะรู้ทันเรียกว่า เกือบจะทุกเวลา  ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันมีเหตุมาก่อน ถึงได้มีผลให้ได้รับเช่นนี้  เมื่อก่อนต้องระวังเรื่องการรักษาศิล พยายามทำเท่าที่ทำได้ แต่เดี่ยวนี้ไม่ต้องทำอย่างนั้นเลย  ศิลเขารักษาเรา รักษาอย่างไร เวลาอะไรมากระทบ ศิลมันจะผุดขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก อกุศลกรรมนี่ไม่แตะเลย มันมองเห็นผลที่จะตามมาอย่างชัดเจน ว่า … ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ผลจะต้องออกมาเป็นแบบนี้ มันมองทะลุไปเลย จากที่เคยอาจจะมีบ้าง พูดจาเรื่อยเปื่อย อาจมีร่วมพูดกับบุคคลอื่นถึงบุคคลที่สามในแง่ที่ไม่ดี ไปสนับสนุนคำพูดเขา เดี๋ยวนี้ไม่ว่าใครจะมาพูดอะไร ไม่เอาเลยนะ ถ้าพูดแล้วทำให้เกิดอกุศลจิต หรือเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้เกิดนี่ไม่เอาเลย มันนิ่งมากๆ  จิตมันสว่างแบบบอกไม่ถูก  มันเสวยปีติตลอดเวลา ผลของจิตเกิดกุศล 
 

การเดิน

 
      การเดินจงกรม  การเดินจงกรม จะเดินแบบมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ได้ เดินแบบไหนก็ได้ ( การที่บางสำนักสอนแบบมีรูปแบบในการเดิน เป็นเพียงอุบายในการสอนการเดินจงกรม จริงๆแล้วก็คือท่านจะให้มีสติรู้ตัวตลอดขณะที่เดินหรือที่กายเคลื่อนไหวนั่นเอง )เพียงแต่ต้องเดินอย่างมีสติ มีสติมีอย่างไร มีจิตจดจ่ออยุ่กับการเดิน เดินก็ให้รู้ว่าเดิน จะยก จะย่าง จะถูก จะเหยียบ จะกด เมื่อเท้าลงสัมผัสพื้นก็ควรู้ลงไปทุกอาการ พื้นอ่อน นุ่ม แข็ง ร้อน เย็น โดยเอาจิตเข้าไปรู้ ไม่ใช่ใช้ตาดู  เวลาเกิดอะไรมากระทบขณะที่เดินหรือนั่งสมาธิ ก็ต้องกำหนดรู้ลงไปในสิ่งที่เกิด  ใหม่ๆอาจจะทำไม่ทัน อาจจะใช้รู้หนอๆ หายใจยาวๆ เพื่อรั่งจิตให้ช้าลง สติจะได้เกิดทัน  หรือจะให้ละเอียดมากกว่านี้ก็ดี ยิ่งรู้ลงไปให้ละเอียดมากเท่าไรได้ก็ยิ่งดี  การกำหนดสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้จิตมีที่เกาะ มีที่ยึด สติจะได้เกิดทันจิต หรือรู้เท่าทันจิต หรือรู้ตามความเป็นจริงที่เกิดได้ทัน  เมื่อทำบ่อยๆจนมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ต่อไปก็ไม่ต้องไปกำหนดแล้ว เพราะจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิด ผู้ใดทำแบบไหนถนัดก็ทำไป เพียงแต่ให้มีสติ สัมชัญญะรู้ตัวขณะทุกอริยาบทเดิน 
      การนอน ไหนๆก็จะนอนอยู่แล้ว เราสามารถสร้างกุศลจากการนอนได้ โดยขณะที่นอน เราก็รู้ที่กาย ใช้จิตดูอาการที่กายเคลื่อนไหว อาการนี้คือท้องพอง ท้องยุบ ( แฟ่บ ) หรือจะใช้ดูลมหายใจ จะมีภาวนาหรือไม่มีภาวนาก็ได้ คือให้รู้ตามอาการของความจริงที่เกิดขึ้น  ดูไปเรื่อยๆ  เป็นการสร้างสติขณะที่นอน หรือถ้าเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา ก็ให้รู้ว่าเกิดไม่ต้องไปสงสัย
       อริยาบทย่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็ให้กำหนดรู้ลงไปทุกๆครั้ง เป็นการสร้างสติ สัมปชัญญะให้เกิดเหมือนกัน ทำเท่าที่ทำได้ ไม่ต้องไปเครียด ตรงไหนผ่านไปแล้วไม่ทัน ก็ให้รู้ว่าไม่ทัน แต่ไม่ต้องไปวิตกกังวล   

รู้ตามความเป็นจริง

07 เม.ย. 2008

ตั้งแต่ผ่านเวทนาครั้งหลังสุดมานี่ สติชัดเจนมากกว่าเดิม จะทำอะไร หรือจะเกิดอะไร มันจะรู้เท่าทันอารมณ์ที่จะเกิดเสมอ  จิตนิ่งลงมากกว่าเดิมมากๆ  สิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนที่ดี ในเรื่องของความอยากรู้ อยากเห็นในสภาวะต่อๆไป
(เพราะไปอ่านตำรา เลยทำให้อยากรู้ อยากเห็น)  ทั้งๆที่สภาวะเกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า  ตัวเองก็ยังไม่รู้ เพราะไปมองนอกตัว ไปค้นหาคำตอบนอกตัว

ตั้งแต่กลับมาจากวัดมหาธาตุเที่ยวหลังสุด ที่พระอาจารย์ท่านบอกว่าให้หยุดความคิด ก็ยังไปหาวิธีการอีกว่าหยุดความคิดนี่ทำยังไง

เมื่อหาคำตอบที่ต้องการไม่ได้ ก็เลยหยุดค้นหา หยุดคิดในสิ่งที่ค้นหาว่าจะเป็นอย่างไร  ยังโชคดีที่มีกัลยาณมิตรที่ดี คุณนุ บอกว่า ไปอ่านซะที่หลวงพ่อภัททันตะท่านเขียนไว้ สภาวะทั้งหมดที่เราผ่านมานั้น มีเขียนไว้หมดแล้ว  (เล่าซ้ำอีกครั้ง)
แต่ตอนที่ยังไม่ผ่านเวทนาครั้งหลังสุดนี่  เราก็แปลกใจนะ ทำไมตอนนั้นอ่าน ทำไมถึงไม่เข้าใจ  แต่ทำไมตอนนี้อ่านแล้วเข้าใจหมดเลย

จริงๆแล้วการปฏิบัตินี่ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก มีหน้าที่ทำก็ทำอย่างเดียว ไม่ต้องไปสนใจในสิ่งที่พบหรือเห็น  ให้ดูไปตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว
เมื่อผ่านมาถึงขั้นนี้แล้ว  ก็มีหน้าที่ทำอย่างเดียว มันไม่สงสัยอะไรอีกแล้ว  ธรรมมาแสดงให้เห็นอยู่ตรงหน้า แต่ไม่เห็น เพราะมัวไปส่งจิตออกนอก

พอกลับมาดูที่กาย ตามความเป็นจริงที่เกิด ไม่ต้องไปพิจรณาอะไรให้มันมากมายเลย  เพียงมีสติรู้ตัวตลอดเวลา ขณะที่สภาวะต่างๆมาแสดงให้เห็น
เพราะเราไม่เคยพิจรณาอะไรเลยจริงๆ  เมื่อถึงเวลาสภาวะนั้นเกิดเต็มที่แล้ว เดี๋ยวรู้เอง  พิจรณามากไป เดี๋ยวจะกลายเป็นวิปัสสนึก  ก็จะกลายเป็นมานะกิเลสเกิดโดยไม่รู้ตัว (พูดแบบคนรู้ปริยัติน้อยมาก แทบไม่รู้ปริยัติเลย)

ช่วงนี้จิตมันนิ่งมากๆ  เข้าออกสมาธิได้คล่อง มีสติรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง  วันนี้ไปทำงาน จะทำสมาธิช่วงพักเที่ยงประจำ ไม่ได้ทำมาหลายวันละ ทำแบบเต็มที่
เดินจงกรมชั่วงเวลางาน แล้วนั่งสมาธิตอนเที่ยงจนถึงบ่ายโมง ได้แต่เก็บหน่วยกิตเอา

เพราะช่วงนี้มีน.ศ.จากม.จุฬา มาฝึกงานที่โรงงานที่เราทำอยู่ เขามาขอพักรับแอร์ที่ห้อง
เพราะตรงที่ทำงานเขาไม่มีแอร์กัน เราก็เลยทำแบบที่เคยทำไม่ได้

แล้ววันนี้ก็แปลก เราอ่านหนังสือหลวงปู่เทสก์
อ่านก็ตั้งจิตอ่านลงไปด้วย  ไม่ได้สักแต่ว่าอ่านเหมือนอ่านหนังสือทั่วไป มันเหมือนว่าเราง่วง ง่วงแบบบอกไม่ถูก เราก็คิดว่า เราคงง่วงนอนธรรมดา
เราก็เลยนั่งหลังพิงเก้าอี้ ตอนแรกนั่งตัวตรงๆธรรมดา แต่ตอนอ่านหนังสือ ท้องพองขึ้น ยุบลง เรารู้อาการของกายตลอดถึงแม้จะอ่านหนังสือก็ตาม

พอเอาหลังพิง แล้วหลับตาลง กะว่าจะนั่งพักสายตาเฉยๆ ที่ไหนได้ มันเกิดแสงสว่างขึ้นมามากๆ สว่างแบบบอกไม่ถูก เราก็รู้หนอๆๆๆ แล้วก็รู้ลงไปตามสิ่งที่เกิดขึ้น  สักพักหนึ่งแสงสว่างนั้นก็หายไป
เราก็ร้องอ้าวในใจว่า ไหงเป็นแบบนี้ไปได้  เราคิดว่าเราง่วง ที่แท้สมาธิมันเกิดมากไป ลืมตามา หายง่วงเป็นปริดทิ้ง ก็เลยลุกขึ้นเดินจงกรม

พระอาจารย์ยิ่งบอกว่า ให้เราเดินให้มาก นั่งให้น้อย นี่แค่นั่งอ่านหนังสือเองนะ  จิตมันไวกว่าเมื่อก่อนมาก
เดี่ยวนี้ ถ้าเรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วเรารู้สึกเหมือนว่าเราง่วง เราจะลุกเดินจงกรมทันที เพราะเท่าที่สังเกตุมาพักหลังนี่  ถ้ามีอาการง่วง แล้วนั่งหลับตาทีไร มันเป็นสมาธิทุกที บางทีสติไม่ทันก็ดิ่งนิ่งไปเลย

เวลาเดินจงกรมก็เหมือนกัน พอถึงตอนยืนทีไร จะเป็นสมาธิทันทีเหมือนกัน ก็เอาสติเป็นตัวรู้ตลอด  เคยมีหลายครั้ง เกิดสมาธิขณะที่เดินจงกรม หัวทิ่มเลย สติมันไม่ทัน  เราก็ขำๆตัวเอง  เผลอไม่ได้เลย ต้องให้ทันตลอด
นั่งเฉยๆไม่ได้ทำอะไร ก็รู้ที่กายตลอด ดูอาการท้องพองยุบตลอด ถ้าเผลอจะเป็นสมาธิทันที  อะไรที่มันมากเกินไปมันก็ไม่ดี

 

   

ความอยาก

 
  05 เมษายน
ความอยาก

เพราะความอยากรู้ตัวเดียวแท้ๆ จึงเที่ยวหาหนทางด้วยความอยากรู้ จริงๆแล้ว ปรมัตถสภาวะล้วนๆนี่
เราเกิดมาตั้งนานแล้ว เราได้แต่รู้หนอๆมาตลอด ขนาดมีหนังสือเรื่องสภาวะต่างๆอยู่ในมือแท้ๆ
ก็เคยเปิดอ่านอยู่ แต่ทำไมตอนนั้นถึงอ่านแล้วยังไม่รู้เรื่อง หรือไม่ได้สนใจที่จะอ่าน จนคุณนุ บอกว่า
ที่คุณพูดมาทั้งหมดนั้น หลวงพ่อภัททันตระ ท่านเขียนไว้ในหนังสือ ให้ไปอ่านดีๆ

ที่แท้การปฏิบัติเราก้าวหน้า แต่เราไม่รู้ว่าก้าวหน้า มันผ่านแต่ละสภาวะผ่านไปไวมากๆ
เคยท้อเหมือนกัน มันน่าเบื่อ แต่ถึงจะเบื่อยังไงให้เราเลิกปฏิบัติ เราก็เลิกไม่ได้ มีเวลาเมื่อไหร่
ต้องเก็บเล็กผสมน้อยตลอดเวลา ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

เพิ่งมาถึงบางอ้อ ว่าที่แท้ อาการที่เกิดนั้นมันเป็นเพียงสภาวะเมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่จะต้องเจอ
เรื่องเกี่ยวกับสภาวะญาณต่างๆที่เกิด เมื่อก่อนเคยรู้สึกนะ รู้สึกปลื้มปีติกับผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ
แต่เดี่ยวนี้ มันแปลกๆ เราเองยังแปลกใจตัวเองเหมือนกัน ว่าทำไม เดี๋ยวนี้ถึงไม่ใส่ใจในคำเรียก
หรือสมมุติบัญญัติที่มีไว้ให้รู้ เพียรหาวิธีแก้สิ่งที่ติดอยู่ตั้งนาน

ที่แท้ติดอยู่ที่คิดแค่นั้นเอง แต่ดีอย่างที่เรายังมีวาสนามีครูบาอาจารย์ที่เมตตาต่อเรามากๆ
เดี๋ยวนี้อยู่ต่อหน้าท่าน คิดอะไรไม่ได้เลย ( ใช้คิดหนอๆ อย่างเดียว เวลาอยุ่ต่อหน้าท่าน ) กลัวผิดศิล

เดี๋ยวนี้ก็แปลกอีกอย่างเรื่องศิลนี่ ทั้งๆที่เราไม่ได้สมาทานอะไร แต่ทำไมต้องระวังไม่ให้ตัวเองผิดศิล
ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้าศิลเราพร่องการปฏิบัติเราจะไม่ก้าวหน้า

เราไม่อยากเกิดอีกแล้ว ตั้งแต่ผ่านเวทนาหนที่สองนี่ เรามองเห็นความกลัวที่เรามีอยู่
ไม่เคยกลัวเท่าครั้งไหนๆเลย ครั้งนี้กลัวมากๆ เหมือนความกลัวอันนี้ที่แท้มันมีอยู่แล้ว
เพียงแต่มันถูกซ่อนเอาไว้ แล้วถ้าเกิดต้องตายจริงๆมิขาดสติไปหรือนี่ รู้แต่ว่า ประมาทไม่ได้แล้ว
ความสงสัยต่างๆที่เคยมีมากมาย เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีเลย มันสงบมากๆจนตัวเราเองก็ยังแปลกใจเลย

เรื่องพิเศษแห่งบัญญัติและปรมัตถ์

 ท่านมหาธัมมาปาลเถระอาจารย์ชาวลังกา กล่าวไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฏีกาว่า :-

นนุ จ ตชฺชา ปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คณฺหายตีติ สจฺจํ คณฺหายตีติ
ปุพฺพภาเค ภานาย ปน วฒฺฑมานาย ปญฺญตฺตี สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐตีติ

ถามว่า ท่านเอาปรมัตถธรรมโดยอำนาจบัญญัติที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆมิใช่หรือ
ตอบว่า ใช่ ถือเอาแต่ตอนต้นๆเท่านั้น แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนานานเข้าๆ
จิตจะก้าวล่วงบัญญัติเสีย ตั้งอยู่ในปรมัตถสภาวะล้วนๆดังนี้

อธิบายว่า ในการเจริญวิปัสสนานั้น ขั้นต้นๆเมื่อตั้งสติกำหนดพองหนอ,ยุบหนอ เดินจงกรมก็ให้กำหนด
ซ้ายย่างหนอ,ขวาย่างหนอ,ยกหนอ,เหยียบหนอเป็นต้น คนทั้งหลายก็อาจสงสัยในวิธีการว่า การกำหนด
อย่างนี้เป็นการกำหนดบัญญัติ เมื่อกำหนดบัญญัติอยู่จะจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร
ความจริง ความสงสัยอันนี้ก็ถูกต้องอยู่ แต่ว่าถูกไม่หมดทีเดียว คือว่าในชั้นแรกนั้นจะต้องให้โยคีผู้ปฏิบัติ
ทำการกำหนดอารมณ์บัญญัติไปก่อน มิฉะนั้นจิตจะไม่มีที่กำหนด
เพราะปรมัตถสภาวะเป็นสิ่งที่จะเห็นได้โดยยาก ต่อเมื่อปัญญาภาวนาแก่กล้าขึ้น อารมณ์บัญญัติเหล่านี้
จะหายไป เหลือแต่ปรมัตถสภาวะล้วนๆ
ในที่นี้จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๔ อย่างอ่อน โยคีบุคคลต้องกำหนดอารมณ์บัญญัติทั้งสิ้น
ยังไม่เข้าถึงปรมัตถสภาวะ แต่พอเจริญวิปัสสนามาเรื่อยๆ ปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า จนถึง
อุทยัพพยญาณอย่างแก่ อารมณ์บัญญัติก็จะหายไปตามลำดับ อารมณ์ปรมัตถ์จะปรากฏขึ้นแทน
และเมื่อถึงญาณที่ ๕ คือภังคญาณแล้ว ก็จะมีแต่อารมณ์ปรมัตถ์ล้วนๆ
ในเรื่องนี้เปรียบเหมือนกับบุคคลที่กำลังต้องการข้าวสารบริสุทธิ์เพื่อเอามาหุงต้ม เมื่อตักข้าวสารสกปรก
ออกจากที่เก็บ ก็จะต้องเอามาใส่กระด้ง,ตะแกรง ค่อยๆร่อน ค่อยๆฝัดอยู่หลายๆครั้ง เพื่อเลือกเก็บ
เอาสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในข้าวสาร เช่น ขี้หนูหรือยากเยื่อออกให้หมดแล้ว จึงจะได้ข้าวสารบริสุทธิ์
ที่ตนต้องการ
โยคีผู้ปฏิบัติก็เหมือนกัน ในครั้งแรกๆก็ต้องอาศัยอารมณ์บัญญัติไปก่อน เมื่อค่อยร่อนค่อยฝัด
โดยการพยายามปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า ก็จะได้ปรมัตถสภาวะล้วนๆ
อาจมีการสงสัยต่อไปอีกว่า ที่ว่าพอผ่านบัญญัติก็เห็นปรมัตถ์นั้น เห็นได้ตอนไหน?

จะเห็นได้ในขณะที่กำหนดพอง,ยุบ,นั่ง,ถูกไม่มีคือหายไปหมด และการกำหนดอยู่ว่ารู้หนอๆนั้นแหละ
เป็นปรมัตถสภาวะล้วนๆที่เดียว เพราะไม่มีอะไร คือหายไปหมด อันเป็นลักษณะของ ภังคญาณ

สรุปได้ความว่า ในขั้นต้นๆการกำหนดอารมณ์ยังเป็นบัญญัติอยู่ อัตตาก็ปรากฏ อนัตตาก็หายไป
ต่อมาปัญญาภาวนาแก่กล้าเข้า อารมณ์บัญญัติก็หายไป อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นแทน
ระยะอารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นนี้แหละ อนัตตาก็ปรากฏอัตตาก็หายไปฉะนี้

จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหกัมมัฏฐาน ธัมมาจริยะ

หมายเหตุ
“จะเห็นได้ในขณะที่กำหนดพอง,ยุบ,นั่ง,ถูกไม่มีคือหายไปหมด และการกำหนดอยู่ว่ารู้หนอๆนั้นแหละ
เป็นปรมัตถสภาวะล้วนๆที่เดียว เพราะไม่มีอะไร คือหายไปหมด”
หมายถึง ไม่ว่าจะกำหนดอะไร
จะรู้สึกเหมือนกำหนดลงไปในความว่าง

เวทนา ครั้งที่ 2

 
31 มีนาคม ’51
 
วันนี้ ระหว่างเดินจงกรม เกิดเวทนาสุดๆ อยู่ๆมีอาการเหมือนกล้ามเนื้อหลังจะเป็นตะคริว มันเป็นกลุ่มเป็นก้อนๆขึ้นมา แต่ยังไม่ถึงขั้นตะคริว แว่บแรก … ความคิดอันดับแรกที่เกิดก็คือ กลัวสุดๆ กลัวเป็นอัมพาต เพราะหลังนี่สำคัญมากๆ  หายใจยาวๆ กำหนดรู้หนอๆๆแล้วหยุดเดิน เปลี่ยนอารมณ์มาจับตรงเวทนาแทน ค่อยๆเอามือออกจากการที่จับไว้ตรงกระเบนเหน็บ  หายใจยาวๆ กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ เปลี่ยนเอามือมากุมไว้ข้างหน้า  แต่ยกมือขึ้นไม่ได้ หลังมันจะเป็นตะคริว ความรู้สึกยังกลัวอยู่แบบบอกไม่ถูก แต่ใจก็คิด ถ้าจะเป็นอะไรไปเพราะการปฏิบัติ ก็ให้มันเป็นไป  ยังกำหนดรู้อยู่อย่างนั้น  หายใจยาวๆ ค่อยๆลองยกแขนมากุมไว้ข้างหน้า  ยังหายใจยาวๆ ใช้สติจับอยู่ที่อาการทุกขณะ  พอยกมือมากุมไว้ข้างหน้าได้แล้ว ก็เริ่มยกมือไปกุมไว้ข้างหลัง  พอกุมมือได้ สักพัก มีอาการเหมือน แผ่นหลังมันแตกออกเป็นส่วนๆ เหมือนกายมันแยกออกจากกัน มันดังเปรี๊ยะในความรู้สึก แล้วมันก็รู้สึกว่าในหัวสมองมันโล่งไปหมดเลย มันโล่งแบบบอกไม่ถูก  ทั้งตัวนี่เบาไปหมด แล้วพอมานั่งสมาธิต่อ แค่หย่อนตัวนั่งลง ยังไม่ทันจะหายใจเข้าเลย มันเข้าสู่สมาธิทันที  ไม่ได้คิดว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นมันคืออะไร เพียงแต่มองว่า เวทนาแต่ละครั้งนี่ มันช่างสุดๆจริงๆ 
 
ครั้งที่ 1 ที่จำได้คือ เวทนาที่เกิดตอนนั่งสมาธิ อันนี้เกิดที่ขา  แต่ที่เหมือนกันคือมันหฤโหดสุดๆเหมือนๆกัน  เหมือนกายมันระเบิดแยกออกจากกันเหมือนกัน  แต่ตรงนี้พอมันแตกออกมา มันกลับมีตัวรู้เกิดขึ้น  
 
ผลที่ตามมาจากการเดินจงกรมแล้วเกิดเกิดเวทนาเวทนาครั้งนี้ โห … จากที่เราเคยเดินหลังค่อมๆ  คือจะเป็นคนไหล่งุ้ม  เดี๋ยวนี้เลยกลายเป็นว่า เดินได้หลังตรงแหนวเลย อาการที่ชอบปวดหลังบ่อยๆ มันหายไปเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  โรคปวดหลังนี่ เป็นมาตั้งแต่สมัยทำงาน พยาบาลส่วนมากจะเป็นกัน ยกคนไข้ประจำ  มันก็เลยเป็นเรื้อรังมาตลอด ( หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท )
 
ความที่ว่าเจอเวทนาบ่อยๆ แบบโหดๆ  เดี๋ยวนี้เลยกลายเป้นว่า สามารถมีสติพิจรณาเวทนาที่เกิดได้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน  วันนั้นเจอเวทนาสองชั่วโมงเต็มๆ ( วันไปปฏิบัติที่วัดมหาธาตุ ) พระอาจารย์ท่านบอกว่า ขณะที่เดินจงกรม สมาธิเราเกิดมากเกินไป ให้เรารู้ไปในอริยบทย่อยให้บ่อยๆ เพื่อจะได้มีสติให้มากขึ้นกว่านี้   มิน่า …  สังเกตุเห็นหลายครั้งละ ว่าหลังจากเดินจงกรม พอมานั่งสมาธิต่อ ทำไมเราถึงเข้าสู่สมาธิได้เร็ว  เพราะอย่างนี้นี่เอง 
 
ถ้าเป็นเมื่อก่อน  ต้องถามพระอาจารย์ละ  เดี๋ยวนี้เลิกถาม เพราะท่านบอกไว้แล้วว่า ไม่ต้องไปให้ค่าความหมายในสิ่งที่เกิดหรือเห็น ให้ตัดความสงสัยออกไป
 
 

เมษายน 2008
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

คลังเก็บ