โสดาบัน

ชีวิตมีเเค่นี้ มีเเต่โลกสมมุติ

อาทร สาลี 9 วันที่ผ่านมา
เสียดาย ที่ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ ไปแก้คำสอน ของ /// พระพุทธเจ้า ///
ตามความหลงผิดของตน จากศีลมี ๒๒๗ ข้อ เป็น ศีลมี ๑๕๐ ข้อ
ทำให้ศาสนา เปลี่ยนไป อย่างไม่มีทางหวนกลับมาเป็นอย่างเดิม

  • ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ คือ ผู้ทำลาย ศาสนา หรือไม่ ???!!!
    /// ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัต และ บรรดา พระอรหันต์ลูกศิษย์ ของท่าน
    ก็ถือ ศีล ๒๒๗ ข้อ สืบสอดข้อวัตรปฏิบัติ มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
    /// รับ พระโอวาทโดยตรง จากพระพุทธเจ้า
    จึงสามารถ สำเร็จ พระอรหันต์ได้
    +++ การบรรลุเป็น พระอรหันต์นั้น จะต้อง ถ่ายทอดจากพระพุทธเจ้า
    สืบทอด ต่อ ๆ มา โดยไม่ขาดสาย เท่านั้น จึงจะสามารถบรรลุเป็น พระอรหันต์ ได้
    /// เหมือน การต่อ สายไฟ ถ้า สายไม่เชื่อมกัน ไฟไม่มีทาง มาได้ ไฟจะต้องได้จากแหล่งกำเนิดไฟเท่านั้น /// คนรอบข้าง ตักเตือน ก็ไม่ฟัง ยึดแต่ความคิด ของตัวเอง
    ทั้ง ๆ ที่ แนวทางปฏิบัติของตัวเอง ที่คัดค้าน คำสอนของ /// พระพุทธเจ้า ///
    ปฏิบัติ เท่าไร ๆๆๆๆๆๆ ก็ไม่มีทาง สำเร็จได้
  • ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ คงคิดว่า ชาตินี้ เราคงบรรลุธรรมไม่ได้
    เราก็ไม่ควรอยู่เฉย ๆ เราควรสร้างประโยชน์อะไรสักอย่าง ที่ช่วยดำรงศาสนา
    อานิสงส์แห่งการช่วยศาสนา จะเป็นบุญติดตัวให้เรา บรรลุในชาติต่อ ๆ ไป
    — แต่มันไม่ใช่นะสิ ท่านหลงผิด คิดว่า ตัวเองทำถูก ไปแก้ คำสอน ของ /// พระพุทธเจ้า ///
    ผลก็คือ ศาสนา เปลี่ยนไปตลอดกาล แบบไม่สามารถ กลับมาเป็นแบบเดิมได้อีก /// ขอให้ท่านจงคิดได้ และกลับใจเสียใหม่ ///
    ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ เอง ก็เคยถูกขับออกจากสำนักของ พระอรหันต์ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ไม่ใช่ หรือ ครับ

P J 3 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
ตามข่าวให้ดีก่อนดีไหม ท่านไม่ได้เเก้ศีล ศีลของภิกษุจริงๆมี 3,000 กว่าข้อ
แต่ถ้าศึกษาในพุทธวจนพระพุทธเจ้าให้สวดเพียง 150 ข้อ
พระอาจารย์ไม่ได้ตัดศีลข้อไหนออกก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์ท่านไปตามข่าวดีๆก่อน
แล้วคุณรู้ได้ยังไงว่าใครเป็นพระอรหันต์
ขนาดพระพุทธเจ้ายังตรัสเลยว่าไม่มีผู้ใดสามารถดูได้ว่าใครเป็นพระอรหันต์
ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์ท่านควรศึกษามาให้ดีก่อนไม่ใช่เพียงเพราะว่าฟังแต่เขาเล่ามา

BooKiE Music 1 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
ผู้ที่ฟ้องเขาแพ้คดีหมดแล้ว และถอนฟ้องไปแล้วไม่รู้จะเอาผิดยังไง
เพราะพระไตรปิฎกระบุไว้ชัดเจน แต่ไม่ทราบกันเอง !!
งงมั้ย ?? ชาวพุทธแต่ไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร
อย่างไร มีแต่เขาว่า อาจารย์นั้นอาจารย์นี้ พระเองก็ไม่รู้เรื่องเยอะแยะ
ถ้าคุณไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร สอนอะไร เวลาคุณไปฟังคนอื่นอ้างพระพุทธเจ้า คุณก็เชื่อหมด
ถ้าคุณเข้าใจพุทธวจน คุณจะมองออกเลยว่าพระองค์ไหน อริยะ องค์ไหนปุถุชน เป็นประโยชน์แก่คุณเอง
เพราะสิ่งนี้ นำศรัทธาคุณให้ถึงนิพพานได้ ถ้าคุณไปศรัทธาผิด ไม่มีทางบรรลุธรรมได้แน่นอน พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง

อาทร สาลี 1 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@BooKiE Music ผมเป็นผู้เคยได้มโนมยิทธิปาฏิหาริย์ ครับ
วิชานี้ ผมเรียนมาจาก พระพุทธเจ้า โดยตรง เมื่อสมัยอดีตชาติ
การทำสมาธิ คือ ให้ปลงใจถวายชีวิต ให้กับ พระพุทธเจ้า และ เชื่อในคำสอน ของ พระพุทธเจ้า ทุกอย่าง
ให้มองทุกอย่าง รอบตัวเรา และตัวเรา ว่าเป็นความทุกข์ ทั้งหมด
ทิ้งร่างกาย ไม่สนใจร่างกาย ว่าจะเป็นหรือ จะตาย คิดแค่ว่าเราจะไปนิพพาน ไม่กลัวอะไรทั้งสิ้น
เมื่อไม่สนใจร่างกายแล้ว จะเหลือ ลมหายใจ
ให้เราสนใจลมหายใจ ปล่อยให้หายใจเข้าออกตามปกติ
อย่าดันลม อย่าบังคับลมเข้าออก จะสามารถเข้า สมาธิ ขั้นที่ ๑ ได้
คือ ไม่สนใจร่างกายแล้ว และ รักษาสมดุล การหายใจเข้าออกได้ เรียกว่า ฌานที่ ๑
เมื่อไม่สนใจ ร่างกายแล้ว ก็ทิ้งร่ายกายไปเสียเลย
ผมเป็นผู้ทำสมาธิ มานับหลายชาติแล้ว เริ่มตั้งแต่ สมัย/// พระมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
นับเรื่อยมา จนถึงสมัย /// พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า /// คือ สมัยนี้
เมื่อทิ้งร่ายกาย ไม่ใยดีแล้ว ก็เข้าถึง ฌานที่ ๔ ได้เลย
เพราะความชำนาญที่เคยทำ มาได้หลายชาติแล้ว
เมื่อเข้าฌาน ๔ ได้แล้ว ก็เข้า ต่อ ๆ ไปอีก จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ
จากจุด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไป สัญญาเวยิทตนิโรธ
ผมอาศัย /// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
เนรมิต ให้ เกิดขึ้น เป็น พระนิพพาน
ทดลองงาน ที่/// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
ทรงเมตตา เนรมิตให้ สำหรับผู้ที่สามารถ บรรลุ พระอรหันต์ ได้
แต่ ท่าน ยังไม่อนุญาต ให้ถึงนิพพาน ในตอนนี้ เพราะมีภารกิจที่ยังต้องทำอยู่
เมื่อ ถึง พระนิพพาน แล้ว ก็รักษาอารมณ์ ให้ทรงตัว และ สนทนาธรรม กับ/// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
เมื่อถึงเวลาอันสมควร ท่านจะให้ ถอนสมาธิออก และกลับมาสู่กายหยาบอย่างเดิม
โดยให้ ค่อย ๆ ถอนออกทีละชั้น ๆ ตั้งแต่ ปลาย ไปหา ต้น สังเกตอารมณ์ จดจำให้เจ้าใจชัดเจน จนจิด เข้าร่างกายตามเดิม
ตอนอายุ 18 ผมก็ ใช้มโนมยิทธิปาฏิหาริย์ นำจิตยกสู่ พระนิพพาน สามารถ สนทนาธรรม กับ/// พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
ผมเข้าใจ ทั้งหมด !!!!! นะแหละครับ
ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ไปจนถึง พระนิพพาน และ การถอนสมาธิ จาก พระนิพพาน เข้าสู่ ปุถุชนจิต ผู้มากด้วยกิเลส
ทำไมผมจะทำไม่ได้ คิดผิดให้คิดใหม่ ได้เลยนะ
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ นะหลงผิด
ความอ่อนโยนในธรรม ไม่มี ความเอื้อเฟื้อในความละเอียดอ่อนของใจ ไม่มี
ไม่ใช่ผู้จะสามารถเข้าถึงพระนิพพานได้ ถ้ายังไม่แก้ความหลงผิด
พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ทุกท่าน ก็ต่างปฏิบัติ ศีล ๒๒๗ สิกขาบท
แม้กระทั่งจีวรก็ต้องไปหาผ้าจากป่าช้า จริง ๆ เอามาย้อมน้ำฝาดเอง ไม่ซื้อ จึงสามารถบรรลุธรรมได้
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ไม่ทำตามท่านที่ บรรลุธรรมได้ แต่คิดเองทำเอง ทำไมทำแบบนั้น ใครเตือนก็ไม่ฟัง .
/// ตกนรก หมกไหม้แล้ว ///
ที่บอกว่า อาตมาได้ตำรามา ตำรานี้ไม่ผิดแน่ ศีลมี แค่ ๑๕๐ สิกขาบท
อยากถามว่ารู้ได้อย่างไร ตำราปลวก ไม่กัดหรือ .
แล้วได้มาครบทุกเล่ม หรือไม่ แล้วเวลาผ่านมานาน การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ผิดเพี้ยน หรือ ?
คิดเอง เออเอง ดื้อด้านศาสนาพัง เพราะพระอาจารย์คึกฤทธิ์
/// จงเลิกทำแบบนี้เสีย ///
ศีลมี ๒๒๗ สิกขาบท ไม่ใช่ ๑๕๐ สิกขาบท
ตัดส่วนที่เหลือทิ้งทำไม หรือ คิดว่า ผมปฏิบัติ แค่ ๑๕๐ สิกขาบท ก็บรรลุธรรมได้
ไม่ทำตามคำสอน ของ/// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///

คนที่ไม่ทำตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า และ ไม่มีจิตอ่อนโยน เอื้อเฟื้อใจในความละเอียดอ่อน ของ พระธรรม
/// ดื้อรั้น ดิ้อด้าน ไม่มีทางบรรลุธรรมได้หรอก คือ อาบัติสังฆาทิเสส เท่า พระฉันนะ ///

วลัยพร walailoo2010 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@อาทร สาลี ตรงนี้”สัญญาเวยิทตนิโรธ” จะมีมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

หากเป็นสัญญาเวยิทตนิโรธที่เป็นสัมมาสมาธิ หากได้มรรคผลครั้งแรกคือโสดาปัตติผล
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ สามารถพิสูจนได้

คือต้องทำกรรมฐาน จะสมถะหรือวิปัสสนา ใช้ได้หมด
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ

เมื่ออินทรีย์ ๕ กล้า โคตรภูญาณหรือมุดรูจะมีเกิดขึ้น จะมีเกิดขึ้นเอง
วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นต่อ

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ

หลังจากนั้น สภาวะมีเกิดขึ้นต่อ
สภาวะสัญญาก็ไม่ใช่ ปัญญาก็ไม่ใช่ จะผุดขึ้นมา นิพพานดับภพ หรือภพดับเป็นนิพพาน
ความเกิดและความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ

ความรู้ความเห็นที่มีเกิดขึ้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
นี่เป็นสภาวะของโสดาบันประเภท กายสักขี
ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง
ผู้ที่ปฏิบัติมีกำลังสมาธิต่ำกว่านี้ ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่สามารถรู้ว่าตนเข้าถึงโสดาปัตติผลตามจริง
ให้ดูสภาวะโคตรภูญาณหรือมุดรู้เป็นหลักของการเข้าถึงโสดาปัตติผลตามจริง

อาทร สาลี 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@วลัยพร walailoo2010 จิตเข้าถึงโคตรภูญาน ผมก็เคยถึงจุดนี้ ครับ ทำถึงแล้วครับ !!!!
แต่ไม่ได้ข้ามไป เพื่อเข้าถึง พระโสดาบัน
การระลึกชาติ ผมก็ทำได้ ครับ .
ผมทำได้ ในขณะใช้วิชา มโนมยิทธิปาฏิหาริย์ ครับ
ในขณะนั้น/// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
ประทับนั่งสมาธิ ลอยบนอากาศ อยู่ด้านหน้าผม
ท่านทรงทราบว่า แรงผมมีไม่พอ จึงทรงเปล่งบารมี รัศมี ๖ ประการ ให้ผมนำจิตของผม แนบลงไป
เมื่อจิตแนบลงไปแล้ว ตึงสามารถระลึกชาติได้ ครับ

+++ ถ้าระลึกชาติไม่ได้ จะเข้าถึงโคตรภูญาน ไม่ได้ ครับ …
เมื่อระลึกชาติได้ และจิตเข้าถึงโคตรภูญานได้ จะเกิดความสลดใจ ในชาติกำเนิด แต่หนหลัง …
ความรู้สึกที่อยากเกิดต่อไป เรื่อย ๆ มันไม่มี
แต่ก็ไม่ได้ข้าม ไปเพื่อ บรรลุ พระโสดาบัน เพราะ แรงไม่พอ
/// องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ///
ทรงเนรมิตภาพ คนทั้ง ๗๐๐,๐๐๐ ที่ผมเคยอบรมสั่งสอน และชวนทำบุญ พาไปพระนิพพาน
ทั้งหมดนี้ ผมเท่านั้นที่สามารถพูดกับเขารู้เรื่อง เพราะผมเป็นคนสอนเขามาตลอด
ท่านได้พูดกับผมว่า “ป๋อ เธอยังไปตอนนี้ไม่ได้ ถ้าพวกเขาไม่ได้เธอ เขาจะไม่สามารถ บรรลุเป็น พระอรหันต์ได้”
“เดี๋ยวเราจักช่วยเธอเอง ไม่ต้องห่วง”

ผมนะไม่ใช่ของปลอม บอกไว้เลยตรงนี้ !!!

อาทร สาลี 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 ผมไม่มีคำว่า มิจฉาสมาธิ หรอกครับ
ผมข้ามคำว่า มิจฉาสมาธิ มาได้หลายชาติแล้วครับ
มิจฉาสมาธิ ทุกชนิด เกิดจาก การหลงในกาย และ หลงในอารมณ์
สัมมาสมาธิ คือ ให้แยกเป็น ๒ ส่วน คือ ลมหายใจ และกาย .
เอาจิตจับเฉพาะลมหายใจเท่านั้น ส่วนร่างกาย ทิ้งไปเลย ทิ้งเลย
ให้หมดความเยื่อใยในกายทั้งหมด
เมื่อไม่ติดในกาย อารมณ์ จึงไม่เกิด …
เพราะอารมณ์เกิดจากร่างกาย เพราะเส้นประสาทอยู่ในกาย
แต่ลมหายใจ เป็นแค่ลม ไม่ใช่เส้นประสาท

อาทร สาลี 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@วลัยพร walailoo2010 เหมือนคุณ กำลังจะบอกว่า ผมเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างนั้นแหละ
แต่ไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะคุณ ก็ทำยังไม่ถึง ครับ

วลัยพร walailoo2010 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@อาทร สาลี ตรงนี้ คุณพูดเองค่ะ “ผมนะไม่ใช่ของปลอม”

สภาวะตรงนี้
“จิตเข้าถึงโคตรภูญาน ผมก็เคยถึงจุดนี้ ครับ ทำถึงแล้วครับ”

หากคุณไม่อธิบาย ดิฉันจะไม่รู้หรอกตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับทุกคนด้วยเหรือเปล่า
ให้คุณอธิบายลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น ซึ่งโคตรภูญาณจะมีเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
หากสภาวะโคตรภูญาณมี่เกิดขึ้นจริง มีสภาวะนี้มีเกิดขึ้นกับตนแล้ว จะอธิบายได้ค่ะ

ที่สำคัญ โคตรภูญาณ มีเกิดขึ้นจากอินทรีย์ ๕ แก่กล้า
ไม่มีใครจะสามารถบังคับให้มีเกิดขึ้นหรือไม่ให้มีเกิดขึ้น

วลัยพร walailoo2010 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@อาทร สาลี ตรงนี้ คุณพูดเอง “เหมือนคุณ กำลังจะบอกว่า ผมเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างนั้นแหละ”

อีกอย่างหนึ่ง หากคุณปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ เวลาได้โสดาปัตติผลตามจริง
โคตรภูญาณมีเกิดขึ้นก่อน
วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นต่อ และสภาวะอื่นๆที่ดิฉันเขียนไว้

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เป๊ะๆ ไม่มีเคลื่อนไปทางอื่น
ซึ่งเป็นความรู้เห็นเฉพาะผู้ที่ได้เนวสัญญาฯสัมมาสมาธิเท่านั้น

หากมีกำลังต่ำกว่านี้ คือ รูปฌาน อรูปฌาน
จะรู้สภาวะโคตรภูญาณมีเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว
ความรู้เห็นอื่นๆตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่มีเกิดขึ้น

ยกตย.ให้ดู หลวงปู่ดุลย์ ท่านเยื้อน ได้ผ่านโคตรภูญาณตามจริง
เพียงแต่ท่านเยื้อนมาตั้งฉายาเฉพาะตนว่า มุดรู ซึ่งก็เป็นสภาวะเดียวกับโคตรภูญาณ
เวลาท่านไปไหน ท่านจะเทศนาเรื่องมุดรู
ที่ท่านไม่มีความรู้เห็นอื่นๆมีเกิดขึ้น เกิดจากท่านปฏิบัติได้อากิญจัญญายตนะ

หากทุกคนที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯสัมมาสมาธิ หลังโคตรภูญาณมีเกิดขึ้นแล้ว
จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม จะรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นด้วยตน แจ่มแจ้ง ความรู้เห็นต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ดิฉันพูดจากผลของการปฏิบัติ ไม่มีคำว่าของปลอมและของแท้
เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติของแต่ละคน

น้ํา ชนนิภา 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา
มิจฉาทิฏฐิ

น้ํา ชนนิภา 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา
คุณไม่ฟังคำสอนพระพุทธเจ้า ลาเดินตามฝูงโค คิดว่าตนเป็นโค..
อยากรู้รายละเอียดไปหาอ่านเองเด้อ

วลัยพร walailoo2010 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@น้ํา ชนนิภา คุณพูดกับใคร หากพูดกับดิฉัน
ตรงนี้ “มิจฉาทิฏฐิ”
และตรงนี้ “คุณไม่ฟังคำสอนพระพุทธเจ้า ลาเดินตามฝูงโค คิดว่าตนเป็นโค”
สิ่งที่คุณโพสมา เกิดจากความเชื่อของคุณ

ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา
บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน
ฟ่อนข้าวเหนียวนั้น
ถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล
ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้น
ถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แลแม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล
ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ
ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป
ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว
เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ

ใครเล่าเป็นผู้รู้ ไครเล่าเป็นผู้เสวย ก็ผู้เพ่งนั้นแล
เพ่งโลภะเสวยโลภะ เพ่งโทสะเสวยโทสะ เพ่งโมหะเสวยโมหะ
ทางนี้เป็นทางเสื่อม นำไปสู่นรก
ปุถุชนพากันเดินไปทางนี้
เพราะเห็นเป็นของเอร็ดอร่อย
เพราะปัญญาทราม
ไม่ทันกิเลสในใจตน

วลัยพร walailoo2010 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@น้ํา ชนนิภา คุณพูดกับใคร หากพูดกับดิฉัน
บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ เกิดจากไม่เคยสดับพระธรรมที่พระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ดิฉันเชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
ความเชื่อเกิดจากผลของการปฏิบัติ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ส่วนคุณ การรกระทำของคุณที่กระทำลงไปแล้ว กรรมนั้นๆสำเร็จแล้ว
คนที่ได้รับผลก็คือคุณ ที่กระทำออกมา
เมื่อกรรมจัดสรร คุณจะเจอบุคคลที่มากระทำกับคุณ เหมือนที่คุณได้กระทำกับดิฉัน
ทีนี้คุณจะรับมือในผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้น นั่นก็เรื่องของคุณ ภพชาติของการเกิดอยู่ตรงนี้

อาทร สาลี
11 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@น้ํา ชนนิภา ผมนะ ระลึกชาติได้ซะด้วยซ้ำ ครับ
ไม่ได้โกหกหรอกครับ คนอย่างผมนะ ถ้าโกหก ขอให้ตกนรกขุมสุดท้ายเลย
ฌาน ๑ – ๔ และเข้าลึกไปมากกว่านั้น
จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผมก็เข้าถึงได้
แต่ก่อน ผมก็เคยได้ มโนมยิทธิปาฏิหาริย์ สามารถ ถอดอทิสมานกาย
ลงไปนรกขุมล่างสุด และไต่ขึ้นมาจนถึง พระนิพพานและสามารถ
สนทนาธรรมกับ” พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ” ผมก็ทำได้ครับ …
จิตเข้าถึงโคตรภูญาน ผมก็เคยเข้าถึงมาแล้ว แต่ไม่ได้ก้าวข้ามไป เพื่อเป็นพระโสดาบัน
วิชามโนมยิทธิปาฏิหาริย์ มีฝึกที่ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ครับ .
แต่ผมไม่เคยไปฝึกที่นั่นหรอกครับ ผมทำได้ตั้งแต่เด็ก

ผมนะ ไม่มี /// มิจฉาสมาธิ /// หรอกครับ …
ที่ผมบอกว่า เหมือน……..ผมเป็นมิจฉาสมาธิอย่างนั้นแหละ หมายถึง
คุณคิดว่า ผม เป็นมิจฉาสมาธิ หรือ อย่างไร
ถึงได้ ฟัวผมไม่เข้าใจสักที ไม่ใช่ ………… ผมเป็นมิจฉาสมาธิ !!!!
คนเป็นมิจฉาสมาธิ คือ คนหลงในอารมณ์ แล้ว ออกจากอารมณ์ นั้นไม่ได้ เกิดจาก /// ติดในกาย ///
เมื่อติดในกาย แสดงว่า หลงในความสุข ความทุกข์ ของอารมณ์
แสดงว่า ตัดสินใจไม่ชัดเจนว่าจะไปนิพพาน แน่มั้ย
เอาจริงมั้ย ถ้าไปแล้วจะต้องตายละ จะทำมั้ย .
ถ้าตัดสินใจเด็ดขาดว่า เอาจริง เอาแน่
ไม่กลัว ใจจะเด็ดขาด ตายเป็นตาย ถึงจะสามารถ ทิ้งกายได้เด็ดขาด
จึงจะสามารถ เข้า ฌาน ที่ ๑ ได้ และ สนใจลมหายใจ

อาทร สาลี 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา
@น้ํา ชนนิภา ผมไม่ฟังคำสอน ” พระพุทธเจ้า ” อย่างไร
ผมใช้มโนมยิทธิปาฏิหาริย์ ไปถึง พระนิพพาน
สนทนาธรรม กับ” พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า “ได้ซะด้วยซ้ำ
คนที่ทำแบบนี้ไม่ได้ จะเถียงข้าง ๆ คู ๆ เถียงแต่ว่า ไม่เคยทำได้
ผมเข้าใจอยู่นะ ว่าพวกคุณ ศรัทธา ในหนังสือ ที่ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ อ่านมา
/// แต่ มันผิดตั้งแต่ ที่ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สอนว่า ศีล มีแค่ ๑๕๐ สิกขาบท แล้วแหละ
ไม่จำเป็นต้องทำตามทุกคำ ทั้ง ๆ ที่ ศีล มี ๒๒๗ สิกขาบท ///
/// พาสเวิร์ดโทรศัพท์ มี 10 ตัว กดถูก 9 ตัว อีกตัว กดมั่ว ๆ จะเข้าโทรศัพท์ ได้มั้ย
// แล้วถ้า ทุกคนในโลกนี้ทั้งหมด ปฏิบัติศีล แค่ ๑๕๐ สิกขาบท แล้วที่เหลือ ๗๗ สิกขาบทละ //
_ คนเขาก็เห็นว่าไม่สำคัญ เขาก็ ตัดทิ้ง นะสิ ศาสนา ก็สูญหายนะสิ _
// หนังสือที่ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้มา คือ หนังสือที่
พระรุ่น ปู่ รุ่นทวด บางท่าน ไม่เห็นความสำคัญ ทุกแผ่นใบลาน
ก็เลย โยนทิ้งบางส่วน หนังสือ ก็เลย ไม่สมบูรณ์ //
แต่มาสมัยนี้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กลับไปเจริญรอยตาม พระพวกนั้น
ตัด พระธรรมวินัยทิ้ง อีก /// เวรกรรม บาปกรรมแท้ ๆ

วันเวลามีค่าเสมอ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
คนที่ปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้า.
ไม่จำเป็นต้องมาบอกมาว่ากันว่าปฏิบัตินามตำรา ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า.
แต่ก่อนไม่มีใครมาอ้างมาตำหนิกันกันโดยอาศัยเอาพระพุทธเจ้ามาอ้าง. และเอามาเป็นโลโก้ของตน.
แล้วคำว่ารู้เองเห็นเอง. รู้ได้เฉพาะตนจะมาจากใหน

วลัยพร walailoo2010 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@วันเวลามีค่าเสมอ คุณพูดกับใคร หรือว่าพูดกับดิฉัน

หากพูดกับดิฉัน
ตรงนี้ “ไม่จำเป็นต้องมาบอกมาว่ากันว่าปฏิบัตินามตำรา ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า”

สิ่งที่คุณนำมาแสดงความคิดเห็น ถือว่าคุณไม่ได้พูดกับดิฉัน
เพราะกว่าดิฉันรู้เห็น ล้วนเกิดจากปฏิบัติตามลำดับ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ผลที่ได้รับ ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมหรือพระสูตร แบบเป๊ะๆ
โดยไม่ต้องมีความอยากอะไรทั้งสิ้น
แค่ปฏิบัติตาม ทำต่อเนื่อง เมื่อเห็นความเกิดและความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ตัวสภาวะอื่นๆจะดำเนินโดยตัวสภาวะเอง ไม่ต้องทำอะไร
อาศัยความเพียรหนัก ไม่นอน หลังไม่แตะพื้น ไม่คลุกคลี
แรกปฏิบัติจะเป็นแบบนั้น ไม่ยุ่งกับใครๆ ปฏิบัติอย่างเดียว
ถ้าไม่เชื่อ ไปอ่านพระสูตรที่พระสารีบุตรบอกกับพระภิกษุ ๕. อนุตัปปิยสูตร

ตรงนี้” แล้วคำว่ารู้เองเห็นเอง. รู้ได้เฉพาะตนจะมาจากใหน”
มารู้จากผลของการปฏิบัติ
เช่น เห็นความเกิดและดับผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
เห็นความเกิดและความดับของรูปนาม ที่มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม
เห็นความเกิดและความดับ ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ผู้ที่เห็น ประจักษ์ด้วยสภาวะมีเกิดขึ้นตน จะเรียกว่า ปัจจัตตัง
เวลาอธิบายให้คนที่ปฏิบัติ หากสภาวะนั้นๆยังไม่มีเกิดขึ้นกับคนนั้น เขาฟังแล้ว ย่อมไม่เข้าใจ
หากบุคคลนั้นปฏิบัติ ได้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยตน
พออธิบายให้ฟัง เขาจะร้องอ๋อ อ้อ มีคำเรียกด้วย

รวมทั้งการได้มรรคผลตามจริง การที่ผู้ฟังจะเข้าใจ ต้องเจอสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับตน
จะรู้ว่าสภาวะนี้ปราศจากตัวตนมาเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่มีการเข้า การออก บังคับไม่ได้
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า สภาวะนั้นๆจะปรากฏขึ้นเอง
การที่จะรู้ว่าสิ่งที่ตนรู้เห็นนั้น ในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
ซึ่งต้องมีอย่างแน่นอน ไม่งั้นจะสามารถพูดได้เต็มปากล่ะ

ส่วนตรงนี้
“แต่ก่อนไม่มีใครมาอ้างมาตำหนิกันกันโดยอาศัยเอาพระพุทธเจ้ามาอ้าง”

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติเหมือนๆกัน จะพูดเรื่องสภาวะที่มีเกิดขึ้น ไม่ได้นำมาตำหนิติเตียน
เพราะผู้ปฏิบัติ รุ้แค่ไหน ย่อมพูดได้แค่นั้น
เช่น การเห็นความเกิดและความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
คนที่มีสภาวะมีเกิดขึ้นในตนแล้ว จะสามารถอธิบายได้

สำหรับบางคนที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
อย่าไปตำหนิเขา ทุกคนเริ่มจากความไม่รู้มีเกิดขึ้นก่อน
เมื่อได้มรรคผลตามจริง ความศรัทธาจึงจะมีเกิดขึ้น เชื่อพระพุทธเจ้าไม่ต้องมีใครมาบอกให้เชื่อ
เพราะพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ สามารถพิสูจน์ได้
ทุกๆพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้ จะเหมือนแผนที่
หากดำเนินนอกเส้นทาง ล้วนเกิดจากการกระทำของตน

วลัยพร walailoo2010 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
@อาทร สาลี นิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้คือ ดับตัณหา ๓

อุทยปัญหาที่ ๑๓
[๔๓๗] อุทยมาณพทูลถามปัญหาว่าข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา
จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้เพ่งฌานปราศจากธุลี
ทรงนั่งโดยปรกติ ทรงทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมอันเป็นเครื่องพ้น
ที่ควรรู้ทั่วถึง สำหรับทำลายอวิชชาเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุทยะ
เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกาม และโทมนัสทั้งสองอย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความง่วงเหงา
เป็นเครื่องห้ามความรำคาญ
บริสุทธิ์ดีเพราะอุเบกขาและสติ
มีความตรึกถึงธรรมแล่นไปในเบื้องหน้า
ว่าเป็นธรรมเครื่องพ้นที่ควรรู้ทั่วถึงสำหรับทำลายอวิชชา ฯ

อุ.โลกมีธรรมอะไรประกอบไว้
ธรรมชาติอะไรเป็นเครื่องพิจารณา (เป็นเครื่องสัญจร) ของโลกนั้น
เพราะละธรรมอะไรได้เด็ดขาด ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน ฯ

พ. โลกมีความเพลิดเพลินประกอบไว้
ความตรึกไปต่างๆ เป็นเครื่องพิจารณา (เป็นเครื่องสัญจร) ของโลกนั้น
เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน ฯ

อุ. เมื่อบุคคลระลึกอย่างไรเที่ยวไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ
ข้าพระองค์ทั้งหลายมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์
ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอฟังพระดำรัสของพระองค์ ฯ

พ. เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในและภายนอก
ระลึกอย่างนี้เที่ยวไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ ฯ

โสดาปัตติผลตามจริง

บุคคลที่ปฏิบัติทำกรรมฐาน
ได้รูปฌานและอรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
เวลาได้โสดาปัตติผล สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะมีลักษณะนี้
ไม่มีวิชชา ๑ ไม่ปรากฏ
เกิดจากกำลังสมาธินทรีย์ไม่มีมากพอที่จะไปรู้เห็นได้

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด ๑
ละความสงสัย ๑
ละสีลัพพัตตปรามาส ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง

ส่วนบุคคลที่ปฏิบัติทำกรรมฐาน
ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
เวลาได้โสดาปัตติผล
โคตรภูญาณ(มุดรู)เกิดก่อน
วิชชา ๑ เกิดขึ้นต่อทันที
ลักษณะสภาวะมีเกิดขึ้นแบบนี้

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด ๑
ละความสงสัย ๑
ละสีลัพพัตตปรามาส ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง

จึงมาเป็นพระสูตรนี้
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของโสดาบันประเภทกายสักขี
ของผู้ปฏิบัติที่ได้วิโมกข์ ๘ เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

.

ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
นี่เป็นสภาวะของโสดาบันประเภท กายสักขี
ที่ปฏิบัติกรรมฐานได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุเร็ว)

กำลังต่อจิ๊กซอ ที่ละขั้นตอน
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุเร็ว)

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายแบบย่อ

นิวรณ์มาก

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทุกขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

อธิบาย

แม้จะมีไตรลักษณ์ปรากฏ
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง

แม้จะมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏกับตนก็ตาม
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง


นิวรณ์น้อย

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทุกขาปฏิปทา
โคตรภูญาณปรากฏตามจริง
วิชชา ๑
โสดาปัตติผลตามจริง (บรรลุเร็ว)
ได้แก่
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด
ละความสงสัย
ละสีลัพพัตตปรามาส
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

อธิบาย

แม้จะมีไตรลักษณ์ปรากฏ
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง

แม้จะมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏกับตนก็ตาม
หากโคตรภูญาณ ไม่มีเกิดขึ้น
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง


ตรงนี้เป็นความรู้ความเห็นเฉพาะบุคคลกายสักขี
ที่ปฏิบัติได้เนวสญญาฯเท่านั้น จะมีความรู้ความเห็น
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

ส่วนบุคคลอื่น
กายสักขี(อรูปฌาน)
ทิฏฐิปัตตะ(รูปฌาน)
สัทธาวิมุต(รูปฌาน)

ที่มีกำลังสมาธิต่ำกว่าเนวสัญญาฯ
วิชชา ๑ จะไม่มีเกิดขึ้น
และไม่มีความรู้ความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …
บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)

กำลังต่อจิ๊กซอ ที่ละขั้นตอน
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (บรรลุช้า)

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อธิบายแบบย่อ

นิวรณ์น้อย

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
สุขาปฏิปทา
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

นิวรณ์มาก

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

อธิบาย

สัทธานุสารี เชื่อพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสารี เชื่อครู อาจารย์ ผู้สอน
ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทุกขาปฏิปทา
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

อัตตทีปวรรคที่ ๕
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย
จะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่
จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป

ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑
วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
เพราะวิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.

[๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยงแปรปรวนไป คลายไป ดับไป
เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
รูปในกาลก่อน และรูปทั้งมวลในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้
ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้
เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข
ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยงฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป
เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
วิญญาณในกาลก่อน และวิญญาณทั้งมวลในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้
ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้
เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ ย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข
ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่าผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น


โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน?
คือ
การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.


“ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
จะแจ่มแจ้งตอนที่ได้มรรคผลปรากฏตามจริง
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด ๑
ละความสงสัย ๑
ละสีลัพพตปรามาส ๑
ปัจจุบันเป็นสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า สัมมาทิฏฐิ
ได้แก่ บุคคลผู้ที่ได้สดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรุษ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯรเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)

คำว่า อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ รักษาศิล เช่น รักษาศิล ๕

คำว่า อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การฟัง การศึกษาในสิกขา ๓

คำว่า อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
ได้แก่ การทำกรรมฐาน
สมถะ ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
เห็นความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

หรือวิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
เห็นความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

หรือสมถะ วิปัสสนา
สมถะ ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ละ(ทิ้ง)คำบริกรรม กำหนดรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เห็นความเกิดและความดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ
ได้แก่ วิมุตติปาริสุทธิ ปรากฏตามจริง
โสดาปัตติผล
อนาคามิผล
อรหัตผล


สำหรับบุคคลที่มีนิวรณ์มาก
บรรลุช้าและบรรลุเร็ว

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

= อธิบาย =

แบ่งออกเป็นสองส่วน

ส่วนแรก เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค
เป็นสภาวะของบุคคลที่มีนิวรณ์มาก

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ส่วนที่สอง เป็นสภาวะของโสดาปัตติผล
ซึ่งบรรลุช้า

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นผู้มีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้มีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้มีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

= อธิบาย =

แบ่งออกเป็นสองส่วน

ส่วนแรก เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค
เป็นสภาวะของบุคคลที่มีนิวรณ์มาก
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

ส่วนที่สอง เป็นสภาวะของโสดาปัตติผล
ซึ่งบรรลุเร็ว
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า

สำหรับบุคคลที่มีนิวรณ์น้อย
บรรลุช้าและบรรลุเร็ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

= อธิบาย =

แบ่งออกเป็นสองส่วน

ส่วนแรก เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค
เป็นสภาวะของบุคคลที่มีนิวรณ์น้อย

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ส่วนที่สอง เป็นสภาวะของโสดาปัตติผล
ซึ่งบรรลุช้า

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นผู้มีราคะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโทสะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

= อธิบาย =

แบ่งออกเป็นสองส่วน

ส่วนแรก เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค
เป็นสภาวะของบุคคลที่มีนิวรณ์น้อย

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

ส่วนที่สอง เป็นสภาวะของโสดาปัตติผล
ซึ่งบรรลุเร็ว

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้แก่กล้า


การได้มรรคผลตามจริง
จะเป็นโสดาบัน สกทาคา อนาคามี อรหันต์
จะมีเกิดขึ้น ๒ แบบ
๑. มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
๒. มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

พอเขียนตรงนี้เสร็จ
จึงจะมาเขียนเรื่องปัญญืณทรีย์
ทีนี้ปัญญาของแต่ละคนจะรู้เห็นแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับสมาธินทรีย์

หากปฏิบัติได้รูปฌาน
เวลาได้มรรคผลตามจริง
จะไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ด้วยตน
ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

หากปฏิบัติได้อรูปฌาน
เวลาได้มรรคผลตามจริง
จะไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ด้วยตน
ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

หากปฏิบัติได้นิโรธ
นิโรธที่เกิดจากเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
เวลาได้มรรคผลตามจริง
วิชชา ๑ ปรากฏตามจริง

ซึ่งผู้ปฏิบัติได้รูปฌานและอรูปฌาน จะไม่รู้ไม่เห็นในสภาวะนี้
เนื่องจากกำลังสมาธิที่มีอยู่
ไม่สามารถจะไปรู้เห็นตรงนี้ได้

ติกรรณสูตร
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้ชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
วิชชาข้อแรกเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ

วิชชาข้อแรก เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

สภาวะมีเกิดขึ้นขณะโคตรภูญาณมีเกิดขึ้นตามจริง

จะประจักษ์แจ่มแจ้งด้วยตน


หลังได้มรรคผลตามจริง
จะรู้ชัดสภาวะสุญญตามีเกิดขึ้นตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
รู้จากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
สิ่งที่มองเห็น จะเป็นคน ภูเขา ของสิ่งอื่นๆที่มองเห็น สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
ผัสสะที่กระทบ ไม่มีคำเรียก สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
เกิดและดับ เกิดและดับ อยู่อย่างนั้น
แม้กระทั่งร่างกายไม่สามารถบังคับได้
ต้องรอกำลังสมาธิคลายลง
จึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

สภาวะตรงนี้จำได้แม่น ไม่ลืม
มีเกิดขึ้นขณะทำมอไซค์ไปทำงาน
จู่ๆจิตเป็นสมาธิ ต้องหยุดรถ ไม่สามารถขับรถได้
มือที่กำแฮนอยู่ ค่อยๆอ่อนลง
หากไม่หยุดรถ รถคว่ำแน่นอน
พอหยุดรถ ตั้งขาตั้ง
เท้าที่กระทบพื้น ทั้งที่ใส่รองเท้าจะรู้สึกเหมือนยืนเท้าเปล่า
ยืนนิ่งๆขยับตัวไม่ได้ เหมือนร่างกายไม่ใช่ของเรา
สิ่งที่มองเห็นจะเป็นภูเขา คนที่ผ่านไป
จะไม่มีคำเรียก มันว่างเปล่า ไม่มีคำเรียก
เห็นตอนเกิดและตอนดับ จะรู้อยู่ในใจ
สักแต่ว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้น
จำได้ชัด ปกติต้องถึงที่ทำงานก่อนแปดโมงครึ่ง
แต่ไปถึงที่ทำงานสิบโมงเช้า
เกิดจากจิตเป็นสมาธิ กว่าจะคลาย นานเหมือนกัน
ดีนะตอนนั้น แทบจะไม่มีรถวิ่งหรือคนผ่านเยอะเหมือนทุกวัน

ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
จะนำมาส่วนเฉพาะสภาวะที่เกี่ยวข้องตัวสภาวะที่ตนรู้เห็นเท่านั้น

สุญญตวรรค
๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
[๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้
ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา มีอยู่
แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา
สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง
จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.

= อธิบาย =

คำว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
ได้แก่ อนิมิตตเจโตสมาธิ
คือกำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ปราศจากตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้องในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ยังไม่จบ

ศิลที่เกิดจากการฟังธรรมของบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

ศิลที่เกิดจากการฟังธรรมของบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

ชักชวนเข้าวัด รักษาอุโบสถ ทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ส่วนจะเป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
ผลที่ได้รับย่อมแตกต่างกัน


ส่วนภพชาติของการเกิดของโสดาบันประเภทนี้
หากทำกาละ ไม่ต้องไปอบายต่อไปอีก แม้จะเกิดทุกครั้งต่อไปจะภพชาติของเทวดาและมนุษย์ จนตรัสรู้ในชาติใดชาติหนึ่ง คือยังต้องเกิดอีกนาน

.

ปุญญาภิสันทสูตร
[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้
นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑
นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ทาน ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้
ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผลเป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ


๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
[๘๐] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมได้รับกองโภคะใหญ่ อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่หนึ่งแห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมขจรไป อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สอง แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจไม่เก้อเขิน
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สาม แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่สี่ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อันนี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ห้า แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ฯ
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้แล ฯ


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน

ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

.
หมายเหตุ;

คำว่า โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร
เมื่อใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิ มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เฟื่องฟู ผ่องใส
เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้น แลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ

[๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ มีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง
บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้
ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
.
ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต

ลำดับนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก เพราะธรรมเป็นเหตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

.
หมายเหตุ;

คำว่า ธุลี
ได้แก่ นิวรณ์
.
คำว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิ
ได้แก่ สิ้นสงสัย

โสดาบัน 24 ประเภท

28 กันยายน เวลา 07:35 น.

โสดาบัน 24 ประเภท แยกตามอินทรีย์ ๕

สัทธานุสารี
ศิลและสีลวิสุทธิ
รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ +รักษาศิล ๕
๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม
๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม + การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ)

รวม ๓ ประเภท


ธัมมานุสารี
รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ) ๓ ประเเภท
๑. กายสักขี(สมถะ/เจโตวิมุตติ)
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติอารมณ์(พุทโธ พองหนอ ยุบหนอฯลฯ ทุกรูปแบบทำกรรมฐาน) จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ผู้สำเร็จล่วงส่วน

๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา(วิปัสสนา/อนิมิตตเจโตสมาธิ/ปัญญาวิมุตติ)
ไม่ใช้คำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์ คือ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(อนิมิตตเจโตสมาธิ) จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ผู้สำเร็จล่วงส่วน

๓. กายสักขีและหลุดพ้นด้วยปัญญา(สมถะและวิปัสสนา) หลุดพ้นสองส่วน
กายสักขี (ความเกิด) รู้ชัดผัสสะ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ แล้วดับ(ความดับ)
หลุดพ้นด้วยปัญญา (ความเกิด) รู้ชัดผัสสะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ แล้วดับ(ความดับ)

รวม ๓ ประเภท


โสดาปัตติมรรค


๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกเป็น ๓ ประเภท

๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกมาเป็น ๓ ประเภท

๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม +การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ) + จิตตวิสุทธิ ๓ แยกออกมาเป็น ๓ ประเภท

รวม ๙ ประเภท


โสดาปัตติผล

๑. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต
.
๒. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ เชื่อกรรมและผลของกรรม + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต
.
๓. เชื่อ/เลื่อมใส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ + รักษาศิล ๕ + เชื่อกรรมและผลของกรรม +การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว/รู้จักกิเลส(สีลวิสุทธิ) + จิตตวิสุทธิ ๓ + ผล ๓ ประเภท
๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุต

รวม ๙ ประเภท


สภาวะจิตดวงสุดท้าย
โสดาปัตติผล ๓ ประเภท

๑. กายสักขี
๒. ทิฏฐิปปัตตะ
๓. สัทธาวิมุติ

สรุป

ศิล ๓ ประเภท
จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ) ๓ ประเภท
มรรค ๙ ประเภท
ผล ๙ ประเภท
เท่ากับ ๒๔ ประเภท

โสดาบันเส้นด้าย

โสดาบัน(สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี) จะอธิบายให้คร่าวๆ
๑. ขณิกะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต รู้ชัดไตรลักษณ์ แต่ไม่ทำกรรมฐาน
๒. ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน รูปฌานและอรูปฌาน (สัมมาสมาธิ)
๓. การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
.
๔. ขณิกะ รู้ชัดไตรลักษณ์ และทำกรรมฐาน แต่มิจฉาสมาธิ
๕. ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน รูปฌานและอรูปฌาน(สัมมาสมาธิ)  และหยุดสร้างเหตุนอกตัว
๖. การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน และทำกรรมฐาน แต่มิจฉาสมาธิ
.
๗. ขณิกะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต รู้ชัดไตรลักษณ์และทำกรรมฐาน (สัมมาสมาธิ)
๘.  การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน และทำกรรมฐาน (สัมมาสมาธิ)
.
โสดาบัน(สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี) และโสดาปัตติผล ทั้งหมดรวม ๒๔ ประเภท
ที่เสี่ยงมากที่สุดได้แก่ ประเภทที่ ๑ มีตัวแปรเรื่องกรรมและผลของกรรม มากกว่าโสดาบันประเภทอื่นๆ เราตั้งชื่อเองว่า โสดาบันเส้นด้าย คือ เหมือนยืนอยู่ปากเหว ยกตัวอย่าง พระมหาเทวะ ความเสื่อมสุดๆ(มรรค) และประกอบกับทำภิกษุแตกแยก  เวลาปลงศพของพระมหาเทวะจุดไฟไม่ติด ต้องไปเอาอุจจาระสุนัขมาผสมเป็นเชื้อเพลิงจึงจุดไหม้ลมได้พัดพากระดูกและเถ้าถ่านไปจนหมดสิ้น
.
๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

 

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1(มรรค ผล)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1
หรือที่เรียกตามปริยัติชื่อว่า  มรรคญาณ ผลญาณ

ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้
เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึกที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน รู้ชัดเหมือนๆกัน
ก่อนที่จะเกิด จะรู้ชัดว่าจะเหมือนหายใจไม่ออก
เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น
คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาล ของถูกดูดเข้าไปในหลุมหรือรู

จากสภาวะทั้งหมด สรุปได้ว่า การเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่แรก(1) ทุกคนต้องยอมตาย บ้างคนอาจจะมีสติดี กรณีของคนที่ 1 ที่ปล่อยเลย

ทั้งสภาวะทุกหมด สรุปได้ว่า ทุกคนที่ก่อนถูกแรงดูดมหาศาลดูดเข้าไป ต้องเจอสภาวะหายใจไม่ออกหรือทำให้รู้สึกเหมือนจะตาย เป็นการรู้ชัดในสภาวะทุกข์

ขณะเกิดสภาวะ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง

ขณะที่เกิด จะเหมือนเรื่องเกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ

.

คนที่ 1

ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม

.

คนที่ 2

“สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่ ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)”

.

คนที่ 3

“เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น

พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย ผ่านไปสักพักก็โล่ง มีแต่สว่างขาวโพลงอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรอยู่อย่่างนั้น แต่ไม่กลัวอะไรเลย มันโล่งไปหมด สบายสุดๆ ก็จับอารมณ์ตรงหน้ามาพิจารณาต่อ สักพักก็ไม่คิดอะไรอีก อาการอิ่มใจหายไปอารมณ์แน่นกว่าเดิม พอเย็นอิ่มใจนานๆไปก็สงบสุดๆอารมณ์แน่นขึ้นอีก สักพักเหลือแต่นิ่งอยู่อารมณ์แน่นขึ้นแล้ว ถึงขั้นนี้ไปไม่เป็นแล้ว ลมหายใจก็ไม่มี มันดับหมด

.

คนที่ 4

“พี่น้ำ…
เหมือนเคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตายค่ะ เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย)

เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป นึกไปถึงที่ีพี่น้ำบอกว่า เหมือนตอนคลอดแล้วโดนดูดออกมา มันเหมือนเป็นความรู้สึกนั้นเลย หลังจากดูดเสร็จแล้ว สภาวะก็จะเหมือนเราแหวกออกมาจากอะไรไม่รู้ซักอย่างนึงค่ะ มันอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะเปรียบกับอะไร หลังจากนั้น ก็เข้าไปเห็นสภาวะอะไรก็ไม่รู้ที่มันว่างๆ โปร่งๆเบาๆ สบายๆ แต่ยังมีสิ่งที่เข้าไปรู้อยู่ค่ะ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร หลังจากนั้น(ไม่นานในความรู้สึก) สภาวะทั้งหมดก็คลายตัว แล้วระลึกได้ถึงการกลับมามีตัวตนที่นั่งอยู่ในวิหารค่ะ แต่กายมันสั่น ฟันกระทบกัน กึกๆ เหมือนไปผ่านจุดเยือกเเข็งมาค่ะ

.

คนที่ 5 วลัยพร
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว

เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ความรู้สึกดับลงไป

ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล สองข้างทางที่ผ่านเข้าไป มีภาพในอดีตชาติแต่ละชาติ ผ่านไปไวมาก ดูไม่ทัน จึงไม่รู้ว่าเป็นชาติไหนบ้าง เป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ชีวิตแรกเกิด ตอนที่ออกจากท้องแม่ คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยดูดออก ที่รู้ชัด เพราะเคยทำงานอยู่ตึกสูติ รู้โดยอาชีพ เมื่อมาเจอกับตนเอง จึงรู้ชัด

ตอนที่เราเจอ ช่วงถูกดูดเข้าไป ตอนนั้นสว่างมากๆๆๆ จะเหมือนในภาพ

10365948_749535668419489_4519154480165733809_n

กายสักขี

กายสักขี

.

[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้

โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ … และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

.

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล

.

หมายเหตุ;

“ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่”

ได้อรูปสมาบัติ

“เพราะเห็นด้วยปัญญา”
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์

.

(๓) กายสักขี ผู้ถูกต้องผัสสะแห่งฌานก่อนแล้ว
จึงทำให้แจ้งนิพพานในภายหลัง

ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย
แต่สิ่งสิ้นอาสวะเพียงบางส่วน

.

สังโยชนสูตร
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ