ผัสสะ

ผัสสะ

โลกสันนิวาส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

กามคุณ ๕
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรม ๘
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกามิส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
ให้สังเกตุคำเรียก “เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา”
ให้ย้อนกลับไปดูคำเรียก กามคุณ ๕

เมื่อยังไม่เคยสดับธรรมมาก่อน
ทำให้เข้าใจผิดตัวในหนังสือของคำว่า พอใจ ไม่พอใจ เป็นสภาวะของเวทนา

โลก
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
โลกามิส
คำเรียกทั้งหมด เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า ผัสสะ

ส่วนตรงนี้
“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่”
โลกธรรม ๘ เป็นสภาวะของผัสสะ
ไม่ได้เป็นสภาวะของเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
ทำให้เกิดการกระทำตามความรู้สึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ให้เป็นการสร้างกรรมกรรมใหม่มีเกิดขึ้นทันที
โดยการปล่อยล่วงออกไปทางกายให้เป็นกายกรรม
ทางวาจา ให้เป็นวจีกรรม
เรียกว่า ชาติ

พอตีความผิด ในอรรถ (สภาวะที่มีเกิดขึ้น) พยัญชนะ (ตัวหนังสือ)
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
การเขียนอธิบาย แทนที่จะเป็นเรื่องผัสสะ
กลายเป็นเรื่องเวทนาเพียงอย่างเดียว

“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่
มีตั้งต้นจากหนึ่ง และแปรเปลี่ยนตามกันไป ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น
อันอุปนิสัยสันดารของมนุษย์ มีตั้งอยู่ในความรู้สึกนั่นเองว่าอาการอันมีแรกเริ่ม ก่อนและตาม
ติดต่อกันมาจาก1-8โดยอาการแรกเริ่มที่1คือตั้งต้นของอาการต่อๆไป
วกวนสับกันไปมาในอาการต่างๆและวนมายังอาการแรกมีดังนี้
1.รัก อาการที่สัตว์โลกมีแรกเริ่มความรู้สึกแรก “(และจะตามติดต่อกันมาดังนี้)”
2.โลภ อยากได้ไม่รู้พออยากมีไว้ครอบครองเพียงแค่ตนเองเท่านั้น
3.โกรธ ความไม่พึงใจ ในสิ่งอื่น
4.หลง ความเข้าใจที่ไม่ถูก หักเห โลเล งมงาย
5.ลาภ. ล้วนได้มาจากไม่รู้ แต่รู้แล้วยังพึงเอามาแก่ตน
6.ยศ ถานันดรยกขึ้นมาว่าเหนือกว่าให้ผู้อื่นเกรงกลัว
ในฐานันดรสูงกว่าไห้ผู้อื่นสักการะ หยิ่งยโสยกยอตนก็มีนั่นเอง
7.สรรเสริญ การถูกยกย่องโดยร่วมตามมาจากยศ สร้างให้มี ทั้งอีกหลายๆอย่างมารวมเข้าด้วย
8.ติฉินนินทา ติ. การว่ากล่าวในสิ่งที่ตนเองผู้อื่นกระทำแล้วดูไม่เหมาะไม่ควรเกิดความไม่พึงใจ ในสิ่งนั้น ฉิน.
การดูถูกเหยียดหยาม ว่าร้าย ไม่พึงใจกับการที่ตนมีนั้นว่าน้อยกว่า ด้วยอาการต่างๆ
เช่นสายตา ปาก ใบหน้า(สบัดหันหน้าไปทางอื่น)และทางวาจาการพูด นินทา.
การพูดคุยกันหลายคนและต่อๆกันไปเรื่อยๆในทุกๆทางทุกอย่างทุกด้านของผู้อื่น
และมีเพิ่มเติมลดลงบ้างในเรื่องนั้นที่พูดกัน. ก็มีพอใหสังเขปดังนี้”

โสดาปัตติผล (ฉบับย่อ)

ลึกซึ้งมากๆ “อวิชชา”
ได้แก่ ไม่แจ้งอริยสัจ ๔

การที่จะรู้ชัดในลักษณะคำเรียกต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ไม่ได้เกิดจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว
แต่เกิดจากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
จึงมาเป็นการดำเนินของมรรคมีองค์ ๘ มีเกิดขึ้นตามจริง

สำหรับผู้ที่มีนิวรณ์น้อย
เมื่อฟังธรรม ไม่สิ้นสงสัยในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ฟังแล้วท่องจำขึ้นใจ แล้วปฏิบัติตาม

โสดาปัตติผล (ฉบับย่อ) สำหรับผู้ที่มีนิวรณ์น้อย

หน้าที่ ๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติและความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง
ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่าเราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้ แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเรา เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น
ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล
อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น
ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา
สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน
สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น
แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด
สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์ เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น
ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด
สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป เพราะความเมานั่นเอง
สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว
แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์
แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ


หน้าที่ ๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เวรสูตรที่ ๒
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว
ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ


หน้าที่ ๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย

พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.
พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.


หน้าที่ ๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน
[๑๔๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์
อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้
พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า?

[๑๔๘๖] ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๘๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๑๔๘๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ประกอบด้วยความทุศีลเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น
ส่วนอริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด … เป็นไปเพื่อสมาธิ
เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้น.

[๑๔๙๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้
เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการนี้
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


หน้าที่ ๕

เมื่อฟังธรรม จากการฟังหรือการอ่าน จดจำได้ดี ไม่ลืม
เมื่อปฏิบัติตาม อาศัยศรัทธาและไม่ลังเลหรือสงสัย

จึงมาเป็นพระสูตรนี้ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
คือเริ่มจากสัมมาทิฏฐิ
ด้วยการฟังธรรมเนืองๆ อ่านเนืองๆ ท่องจำจนขึ้นใจไม่ลืม
จะทำให้สภาวะโยนิโสมนสิการมี่เกิดขึ้นตามจริง
“เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ”

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทา
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ …
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต …
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ …อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ
สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป
แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป
แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว
ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำหรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ … อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ


หน้าที่ ๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


หน้าที่ ๗

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
สุขมี สมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์
นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ

อธิบาย

“สุขมี สมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”
คำว่า สมาธิ
หมายถึงจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”
คำว่า สมาธิ
ในที่นี้หมายเฉพาะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

คำว่า ยถาภูตญาณทัสนะ
ได้แก่ ผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัยให้การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ลักษณะสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
เห็นความเกิด ความดับที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


หน้าที่ ๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์
เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
เมื่อสุขมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


หน้าที่ ๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา
ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้ว
ได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง
แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน
แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องใช้อาวุธ
แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องนับจำนวน
เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง
สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด
เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ

[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาดได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว
ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด
ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ

[๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุมาเถิด
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ
ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว …
เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว …
เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว …
เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว …
เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ
ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด ฯ

[๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น
มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป
เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น
ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นและความเป็นไปแห่งชีวิต
ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา ฯ

[๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้
ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจ
แล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ

[๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
คือทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน
ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส
ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ

[๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด
ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง
เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
ละอภิชฌาในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้
ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้
ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย
ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น
ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบายในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

[๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ
อันพระโคดมผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ

ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ในเมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่
พระโคดมผู้เจริญผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ
อันพระโคดมผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ

[๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น
ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน
เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิดทางนี้ไปเมืองราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์
บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม
ต่อมา บุรุษคนที่สอง ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน
เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ
มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์
บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี
ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ในเมื่อเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่
ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้
คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม
คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ
ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ

[๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่
เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี
ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ

[๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
บุคคลจำพวกที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเหลวไหล
ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น
ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก
มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ
เกียจคร้าน ละเลยความเพียร หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร
มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก คนใบ้
พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น

ส่วนพวกกุลบุตรที่มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน
ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆซึ่งความเป็นผู้ตื่น
มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติมักมาก
ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช
เป็นหัวหน้าในความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม
ตั้งสติมั่น รู้สึกตัวมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้
พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ
บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ
บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ ฉันใด
โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
บัณฑิตกล่าวได้ว่าเป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิดหรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

กามสัญโญชน์และภวสังโยชน์

คำว่า กามสัญโญชน์หรือกามสังโยชน์
ได้แก่ กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า ภวสังโยชน์
ได้แก่ ภวโยคะ ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
มีบางคนตีความว่าเป็นหมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ซึ่งตัวสภาวะภวสังโยชน์นั้น เป็นสภาวะของภวตัณหา
ไม่ใช่สังโยชน์ ๑๐ ประการ

การที่ละสังโยชน์ ๑๐ ประการ ต้องหลุดพ้นจากวิภวตัณหาให้ได้ก่อน
ภวสังโยชน์ มีเกิดขึ้นในวิชชา ๒ เท่านั้น

หลุดพ้นจากกามสังโยชน์ ดับกามภพ
หลุดพ้นจากภวสังโยชน์ ดับรูปภพ อรูปภพ
แต่ยังหลุดพ้นจากวิภวตัณหาไม่ได้
เมื่อยังทำไมไม่ได้ อวิชชายังมีอยู่

ที่ดูเพี้ยนๆกันเพราะเหตุนี้แหละ
นำไปปะปนกัน
ภวสังโยชน์น่ะเป็นเรื่องของภวตัณหา
ภวโยค ภวตัณหา ภวราคะ ภวาสวะ

ส่วนคำว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ กับ ภวสังโยชน์
เขียนไม่เหมือนกันและลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้นแจ่มแจ้ง
แม้ส่วนของความรู้นั้น
บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นๆ
เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบและความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่
ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น
เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้นคือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ”

.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โอรัมภาคิยสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อุทธัมภาคิยสูตร
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯ

.
๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ
ผลแห่งการละกิเลส
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นของตื้น เปิดเผยปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.

.
มูลปริยายวรรค
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว

อธิบาย

คำว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้แก่ กามาสวะ ภวสวะ ทิฏฐิสวะ อวิชชาสวะ สิ้นแล้ว

คำว่า ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
ได้แก่ วิชชา ๒ อรหัตมรรค ดับเฉพาะตน
วิชชา ๓ อรหัตผล เพื่อตน เพื่อคนอื่น ช่วยคนอื่นได้ พระสัทธรรมไม่เสื่อม

“มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว”
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
ตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

คำว่า หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
หลุดพ้นจากตัณหา ๓
ตัณหาดับ อุปาทาน(๔)ดับ ภพ(๓)ดับ ชาติดับ

กามฉันทะกับกามราคะ

ตอนนี้พอจะเขียนได้คร่าวๆ

“กามฉันทะ” กับ “กามราคะ” นี่แตกต่างกันอย่างไร

  • กามฉันทะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของเวทนา
  • กามราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของตัณหา

กามุปาทาน
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสภาวะตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ผัสสะ เวทนา ตัณหา
ผัสสะ โลกสันนิวาส
เวทนา กามฉันทะ
ตัณหา
สามารถละให้บรรเทาได้จากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
และการเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ ทุกขลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละสักกายทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
แจ้งอริยสัจ ๔
ละสักกายทิฏฐิ ละสีลลัพพตปรามาส ละวิจิกิจฉา
ได้แก่
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)


แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกสันนิวาส มาเป็นกามคุณ ๕
เวทนา ละกามฉันทะ มาเป็นราคะ
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหกในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล
อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ


วิชชา ๒
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนัตตลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากกามคุณ ๕ มาเป็นโลกธรรม ๘
เวทนา จากราคะ มาเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ละราคะ โทสะ โมหะ เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกวิปัตติสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร
เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ … ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้
แม้ความเสื่อมลาภ …แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ … แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้
เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ …ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
แม้ความเสื่อมลาภ … แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ …
แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศกเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑
ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดาธรรมอันน่าปรารถนา
ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ


วิชชา ๓
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนิจจลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตวาทุปาทาน(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อรหัตมรรค อรหัตผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกธรรม ๘
มาเป็นสภาวะของขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในขันธ์ ๕
เวทนา จากสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
มาเป็นชอบใจ พอใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ มีเกิดขึ้นพอประมาณในใจ
ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑
มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

อวิชชา

อวิชชา
ตั้งแต่เขียนมาเรื่อยๆ เข้าใจมากขึ้นคำเรียกว่าอวิชชา
ไม่จำเป็นต้องเขียนว่าอวิชชาเกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เพราะอวิชชา แจ้งอริยสัจ ๔
แต่การที่เขียนรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จะมีประโยชน์ต่อบุคคลที่ศึกษาและปฏิบัติอยู่
เวลาเข้าถึงธรรมมรรคผลตามลำดับ เมื่อธรรมผุดขึ้นมา “นิพพานดับภพ”
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ จะยังไม่ให้ความสำคัญในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ไม่ให้ความสำคัญในสิ่งที่ผุดขึ้นมา “นิพพาน”

เพราะคำว่า “นิพพาน ดับภพ” ที่ผุดขึ้นมานั้น
มีเกิดขึ้นเฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติได้เนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

จะเป็นโสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผล ก็ตาม
จะมีคำว่านิพพานดับภพ ผุดขึ้นมาเหมือนๆกัน
หลังการเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริง
หากมีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
คำว่านิพพาน ดับภพ จะไม่มีเกิดขึ้น

คำว่า นิพพาน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นการดับตัณหา ดับแล้วไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีก
เป็นสภาวะเดียวกับคำว่า นิโรธในอริยสัจ ๔

วิชชา ๓
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็มีญาณว่าหลุดพ้น
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

คำว่าแจ้งอริยสัจ ๔
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ความรู้ความเห็นจะแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
สุดท้ายจะรู้เหมือนกัน

จะเป็นอุภโตภาควิมุติ(อรูปฌาน)หรือปัญญาวิมุติ(รูปฌาน) ก็ตาม
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
แจ้งอุปาทาน ๔ ตามจริง
พูดถึงเฉพาะผู้ที่เข้าถึงธรรมวิชชา ๓ ตามจริง

หากเป็นเพียงวิชชา ๒ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สิ่งที่รู้เห็นจะเป็นการดับเฉพาะตน

ยังไม่สามารถแจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ยิ่งอุปาทาน ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง การจะรู้เห็นได้ย่อมทำได้ยาก
เกิดจากยังไม่แทงตลอดในพยัญชนะ อรรถะ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ยังเป็นผู้ที่มีตัณหาและทิฏฐิ คือยังละวิภวตัณหายังไม่ได้
ละได้เพียงกามตัณหา ภวตัณหา คือ ละกามภพ รูปภพ อรูปภพ
จะให้พูดอธิบายเต็มปาก ทำไม่ได้ เพราะยังไม่เข้าถึงสภาวะนั้นๆ

กีฎาคิริสูตร
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่
และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

อธิบาย

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
แจ้งอุปาทาน ๔ ตามจริง

ด้วยเหตุนี้การเข้าถึงธรรมวิชชา ๓ สำคัญมาก
หากวิชชา ๓ ยังไม่มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีเกิดขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้คำว่า ปัจจเวกขณญาณ ใช้ได้เฉพาะพระเสขะ
จะนำมาใช้กับวิมุตติญาณทัสสนะ ไม่ได้

พระอเสขะจะไม่ใช้คำว่าปัจจเวกขณญาณ
จะใช้คำว่าวิมุตติญาณทัสสนะ

เหมือนคำว่าคำว่า สัมมาญาณะกับยถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นสภาวะตัวเดียวกัน

คำที่เรียกใช้คนละอย่างกัน
มีเรื่องมรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง

หากยังไม่ได้อรหัตผล
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
หลังได้อรหัตผลตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสเรียกว่า สัมมาญาณะ

คำว่า สัมมาวิมุตติ
ได้แก่ วิมุตติปาริสุทธิ
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย

คำว่า ปาริสุทธิ
ได้แก่ ปราศจากตัณหาและทิฏฐิ
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง

วิมุตติปาริสุทธิ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกที่มีเกิดขึ้นในพระเสขะ
สัมมาวิมุตติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกที่มีเกิดขึ้นในพระอรหันต์

หนังสือ พระโสดาบัน

ของขวัญปีใหม่ พศ. ๒๕๖๗
ส่วนหนึ่งส่วนของคัมภีร์พระยาธรรมิกราช

คัมภีร์พระยาธรรมิกราช

“ดูกรอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่าพระยาธรรมิกราช เพราะเป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย
ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้
คือได้ชี้นรก สวรรค์ พระนิพพาน กิเลสตัณหา โดยจะแจ้งสิ้นเชิง
เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตามความปรารถนา”


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. ทานสูตร
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้
คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม
วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ
รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ
ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
ประโยชน์อย่างยิ่งนั้นของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง๒
ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น
ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ

ผู้จัดทำ
คุณวลัยพร โลหิตคุปต์
คุณชาญชัย แก้ววิเชียร
๒๓ ตุลาคม พศ.๒๕๖๖


หนังสือพระโสดาบัน พยากรณ์จากพระพุทธเจ้า

มีคำถาม
ข้าพเจ้าเคยได้ยินมาว่า พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันก็สามารถ
ปิดอบายภูมิ และจะได้ตรัสรู้ในการข้างหน้า ไม่ตกต่ำอีกเลย
จึงขอเรียนถามว่า มีเหตุมีปัจจัยอย่างไร จึงให้ผลนั้น อกุศลจิตที่เคยสั่งสมมาไม่ให้ผลหรือ

คำตอบ
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ปิดอบายภูมิ และตรัสรู้ในเบื้องหน้า


หน้าที่ ๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สัปปัญญวรรคที่ ๖
สคาถกสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว …
ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต
มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม ดังนี้.

อธิบาย

“มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว”
เป็นบุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล และปฏิบัติตาม

“มีความเห็นตรง”
เป็นบุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิ


หน้าที่ ๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน?
คือ การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.


หน้าที่ ๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง
พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์ ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ทูลถามแล้ว
ย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้ แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์ เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป เพราะความเมานั่นเอง
สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าว อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว
แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์
แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ


หน้าที่ ๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เวรสูตรที่ ๒
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ
ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพและย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
ประกอบด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ


หน้าที่ ๕

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ธนสูตรที่ ๒
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
คือเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย
คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว
คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ


หน้าที่ ๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นฬกปานสูตรที่ ๑
[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ได้เสด็จถึงนิคมของชาวโกศล ชื่อว่านฬกปานะ ทราบมาว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปลาสวัน ใกล้นฬกปานนิคมนั้น
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคผู้อันหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งแล้วในวันอุโบสถ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ห้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นส่วนแห่งราตรีเป็นอันมาก
ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ แล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาเพื่อภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะเธอ เราเมื่อยหลัง จักเอนหลัง
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น
ทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำอุฏฐานสัญญาไว้ในพระทัย

ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์ย่อมเสื่อมจากวรรณะ ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีหิรินี้เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีปัญญาทรามนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าผู้มีมิตรชั่วนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะย่อมเจริญด้วยมณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรม ทั้งหลายมีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลยฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้มีหิรินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้มีโอตตัปปะนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ปรารภความเพียรนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้มีปัญญานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้ไม่โกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้ปรารถนาน้อยนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม คำว่าบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายไม่หวังได้ความเจริญเลย
ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมจากวรรณะ ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและกว้างฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ฯลฯ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อม ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรสารีบุตร คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลไม่มีหิริ …
ผู้ไม่มีโอตตัปปะ …
ผู้เกียจคร้าน …
ผู้มีปัญญาทราม …
ผู้มักโกรธ …
ผู้ผูกโกรธ …
ผู้มีความปรารถนาลามก …
ผู้มีมิตรชั่ว …
ผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะ ย่อมเจริญด้วยมณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและกว้าง ฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย …
ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรสารีบุตร คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีหิริ …
ผู้มีโอตตัปปะ …
ผู้ปรารภความเพียร …
ผู้มีปัญญา …
ผู้ไม่มักโกรธ …
ผู้ไม่ผูกโกรธ …
ผู้มีความปรารถนาน้อย …
ผู้มีคนดีเป็นมิตร …
ผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ


หน้าที่ ๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย

พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.
พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.


หน้าที่ ๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน
[๑๔๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า?

[๑๔๘๖] ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ
หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๘๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานนั้น
ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๑๔๘๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความทุศีลเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่พระโสดาบันนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด …
เป็นไปเพื่อสมาธิ เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่พระโสดาบันนั้น.

[๑๔๙๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้
เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการนี้ หมู่สัตว์นี้
พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


หน้าที่ ๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล
[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่า ธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสสอน โปรดทรงพร่ำสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว
อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่
ดูกรธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือน นอนกกลูกอยู่ยังทาจันทน์แคว้นกาสี
ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีทองและเงินอยู่
จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตะ
ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำได้โดยง่าย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรธรรมทินนะท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลายและข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …ในพระธรรม …ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
พ. ดูกรธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

อธิบาย

“พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้วอันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง”
คำว่า ประกอบด้วยความว่าง
ได้แก่ ปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องสภาวะที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)

“ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
วิญญูชนควรสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ”

คำว่า ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ได้แก่ บุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม

คำว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ
ได้แก่ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑
เกิดจากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้เกิดความปล่อยว่างจากความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
ไม่สร้างกรรมใหม่ทางกายกรรม วจีกรรม ให้มีเกิดขึ้นอีก
เมื่อหยุดไม่สานต่อ แม้ในใจจะคิดว่าตนไม่ผิดก็ตาม อดทนอดกลั้น กรรมนั้นๆจบด้วยตัวของมันเอง
ขณะที่จิตปล่อยวางจากความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ

คำว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ
ได้แก่ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑
เกิดจากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้เกิดการปล่อยว่างจากความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
ไม่สร้างกรรมใหม่ทางกายกรรม วจีกรรม ให้มีเกิดขึ้นอีก
เมื่อหยุดไม่สานต่อ แม้ในใจจะคิดว่าตนไม่ผิดก็ตาม อดทนอดกลั้น กรรมนั้นๆจบด้วยตัวของมันเอง
ขณะที่จิตปล่อยวางจากความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ

ขณะหยุด เห็นความทุกข์ ความบีบคั้น อดทน อดกลั้น
จิตเป็นสมาธิขณะนั้นๆ อัปปณิหิตสมาธิ จึงมีเกิดขึ้น
เกิดจากไม่กระทำตามตัณหา ความอยากตอบโต้ แต่ไม่ทำตาม

ขณะหยุด เห็นความเที่ยงมีเกิดขึ้น
จิตเป็นสมาธิขณะนั้นๆ อนิมิตตสมาธิ จึงมีเกิดขึ้น
เกิดจากไม่กระทำตามตัณหา ความอยากตอบโต้ แต่ไม่ทำตาม

ขณะหยุด เห็นไม่ใช่ตัวตน เรา เขา มีเกิดขึ้น
จิตเป็นสมาธิขณะนั้นๆ สุญญตสมาธิจึงมีเกิดขึ้น
เกิดจากไม่กระทำตามตัณหา ความอยากตอบโต้ แต่ไม่ทำตาม


เจ้านายส่งข้อความมาถามว่าหนังสือเล่มนี้ เสร็จแล้วหรือ
เราบอกว่า ยัง ลืมน่ะที่ส่งไปให้ดู
เมื่อเขากลับมา เขาถามอีกครั้งเรื่องหนังสือ พระโสดาบัน
เราบอกว่า เพิ่งนึกออกว่ายังไม่ได้เขียนคำอธิบาย เขียนเพียงพระสูตร

คำว่า ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
สภาวะหรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นเป็นแบบไหน
ตรงนี้เราลืมไปเลย นึกไม่ออก เพิ่งมานึกออกที่หลัง
.
สำหรับบุคคลที่ได้ฟัง อ่าน หรือศึกษา ศรัทธาเกิดขึ้น แล้วปฏิบัติตาม
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นผลของการปฏิบัติตาม

“พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้วอันลึกซึ้ง
มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง”
คำว่า ประกอบด้วยความว่าง
ได้แก่ ปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำให้โมหะที่มีเกิดขึ้นเบาบางลง
ทำให้สัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

“ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
วิญญูชนควรสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ”

คำว่า ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ได้แก่ บุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม

คำว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ
ได้แก่ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑
เรื่องสมาธิที่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว ขณะนั้นๆ
ไตรลักษณ์จะมีเกิดขึ้น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ทำให้จิตเกิดปล่อยวางต่อผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้น
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิ
เขียนแค่นี้ก่อน จริงๆแล้วรายละเอียดมากกว่านี้

พฤศจิกายน 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930  

คลังเก็บ