ฉันทะ กุศล

วิภังคสูตร
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่
ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด
เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลาง
คืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ … จิตตสมาธิ … วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา
ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง
หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็
ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบ
ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ
สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.
[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ
เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า
ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้อง
ล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อม
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย
เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร?
อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า
กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.
[๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน
สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมป-
*ยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต
ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร
อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว
ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมป-
*ยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต
ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย
ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ
กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน
สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป-
*ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.
[๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6907&Z=7002

ฉันทะ อกุศล

 คันธภกสูตร
[๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ นิคม
ของมัลลกษัตริย์ ในมัลลรัฐ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงเหตุเกิด
และเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี
ก็เราพึงปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาล
ได้มีแล้วอย่างนี้ ความสงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเรา
ปรารภอนาคตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาล
จักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้น ความสงสัย ความเคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่าน
อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่าน
ซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายคันธภก
คามณีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกร-
*นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์
โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน มีแก่ท่านหรือ ฯ
คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูก
จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
พ. ดูกรนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ
เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ ฯ
คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
พ. ดูกรนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความ
ร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาว
อุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็หรือว่า
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส ไม่พึงเกิดมีขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส
และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่า
ใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือเพราะถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มี
ฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น ส่วนความโศก ความร่ำไร
ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาว
อุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะ
ข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรมที่เห็นแล้ว
ทราบแล้ว บรรลุแล้วโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีตและอนาคต
ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ
เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล
อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ
เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระดำรัสนี้ว่า
ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ
เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ
เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กุมารนามว่าจิรวาสีบุตรของข้าพระองค์มีอยู่ เขาอาศัยอยู่ภายนอก
นคร ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ส่งบุรุษไปด้วย สั่งว่า แน่ะนาย เจ้าจงไป
จงทราบกุมารจิวาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นยังไม่มาเพียงใด ความกระวน-
*กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า อะไรๆ อย่าเบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย ดังนี้
เพียงนั้นๆ
[๖๒๘] พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร
ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูก
จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์
ยังมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อม
ทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรนายคามณี ข้อนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เมื่อใด ท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้น ท่านมี
ความพอใจ ความกำหนัดหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงมีความพอใจ ความกำหนัด
หรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
คา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารตาย
ถูกจำจอง เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารมีชีวิตอยู่
ข้าพระองค์พึงมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์
โทมนัสและอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมาร
ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรนายคามณี ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่าง
ใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็น
เหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=8263&Z=8344

ตัณหา-ฉันทะ

๘. รูปตัณหาสูตร
ว่าด้วยรูปตัณหา

[๓๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูป)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น

สัททตัณหา (ความทะยานอยากในเสียง) ฯลฯ

คันธตัณหา (ความทะยานอยากในกลิ่น) …

รสตัณหา (ความทะยานอยากในรส) …

โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากในโผฏฐัพพะ) …

ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากในธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้

ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’’

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๓๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ …แห่งรูปตัณหา ฯลฯ

เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมตัณหา

นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค

เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ … แห่งรูปตัณหา ฯลฯ

เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในโสตะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในฆานะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในกาย นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในมโน นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้

เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ๑

อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ฉันทราคะในสัททะ ฯลฯ

ฉันทราคะในคันธะ …

ฉันทราคะในรส …

ฉันทราคะในโผฏฐัพพะ …

ฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้

เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd17-3.htm

มรรค – อินทรีย์สังวร

https://books.google.co.th/books?id=GvtnBgAAQBAJ&pg=PT25&lpg=PT25&dq=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=ZtLWfhrKrG&sig=l2tQWG8KmBmaPix9dPx8UuhoB-g&hl=en&sa=X&ved=0CE4Q6AEwCGoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

https://books.google.co.th/books?id=uv9nBgAAQBAJ&pg=PT132&lpg=PT132&dq=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=93Kl98-6bZ&sig=tUEYD-SUNK8WZi5rc6jA4pqjrd4&hl=en&sa=X&ved=0CFIQ6AEwCWoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

พระไตรปิฎก อรรถกถา

http://www.tripitaka91.com/tripitaka91_1.php?book_code=77

8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&source=bl&ots=93Kl98-6bZ&sig=tUEYD-SUNK8WZi5rc6jA4pqjrd4&hl=en&sa=X&ved=0CFIQ6AEwCWoVChMI9PPwp6OHyAIVkAWOCh3TIwTe#v=onepage&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87&f=false

ลมหายใจเฮือกสุดท้าย

หมั่นทำทาน สร้างกุศล รักษาศิล ทำสมาธิ

คิดพิจรณาบาป-บุญ กุศล-อกุศล ก่อนลงมือทำ

เวลาใกล้ตาย ขณะลมหายใจเฮือกสุดท้าย ระลึกถึงบุญกุศลที่เคยทำ

ย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ดีอย่างแน่นอน

กรรม

กรรมเป็นเรื่องละเอียด
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
บุคคลจึงประพฤติตนอยู่ในความประมาท


ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว
มีศาสดาจารย์ชื่อมูคปักขะ ฯลฯ
มีศาสดาจารย์ชื่ออรเนมิ ฯลฯ
มีศาสดาจารย์ชื่อกุททาลกะ ฯลฯ
มีศาสดาจารย์ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ
มีศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ
ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก

ก็สาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก
ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว
ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก
ได้ยังจิตให้เลื่อมใส

สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว
ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นี้

ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก
ผู้นั้นพึงประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากหรือ ฯ

ธ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย
พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น
ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก
ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก

ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย ย่อมด่า
บริภาษบุคคลผู้มีทิฐิสมบูรณ์คนเดียว
ผู้นี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญ
มากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเราหากล่าวการขุดโค่น
คุณความดีของตนภายนอกศาสนานี้
เหมือนการด่าว่าบริภาษในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันนี้ไม่

ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักไม่ประทุษร้าย
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันของตน

ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เธอพึงศึกษา
อย่างนี้แล ฯ

ได้มีท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะ
ชื่อมูคปักขะ
ชื่ออรเนมิ
ชื่อกุททาลกะ
ชื่อหัตถิปาละ
และได้มีพราหมณ์ปุโรหิตของพระราชาถึง ๗ พระองค์
เป็นเจ้าแห่งโค

เป็นศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ
ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ ผู้มียศเป็นผู้ได้รับยกย่องว่า
เป็นเจ้าลัทธิในอดีต ท่านเหล่านั้นได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป

คือ ความโกรธ
มุ่งมั่นในกรุณา
ผ่านพ้นกามสังโยชน์
คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

สาวกของท่านเหล่านั้นแม้หลายร้อย
ได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ
ความโกรธ มุ่งมั่นในกรุณา
ผ่านพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
ก็เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

นรชนใดมีความดำริทางใจประทุษร้าย
ย่อมด่าบริภาษท่านเหล่านั้น

ผู้เป็นฤาษี ผู้เป็นนักบวชนอกศาสนา
ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น
ก็นรชนเช่นนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก

ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจประทุษร้าย
ย่อมด่า บริภาษภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้มีทิฐิสมบูรณ์รูปเดียว

นรชนผู้นี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญ
มากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์เหล่านั้น
นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฐิ

บุคคลใดเป็นผู้มีอินทรีย์ ๕ คือ
ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะและ วิปัสสนาอ่อน
บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
เราเรียกว่าเป็นบุคคลที่เจ็ด แห่งพระอริยสงฆ์

นรชนใดเบียดเบียน
ทำร้ายบุคคลเช่นนั้นผู้เป็นภิกษุ ในกาลก่อน
นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง ย่อมบั่นรอนอรหัตผลในภายหลัง
ส่วนนรชนใดย่อมรักษาตน นรชนนั้นชื่อว่า
เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วนภายนอก

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่ขุดโค่นคุณความดีของตน
ชื่อว่าพึงรักษาตนทุกเมื่อ ฯ

ผัสสะ

เวลาคิดพิจรณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

คิดแล้ว รู้สึกเศร้าใจนะ

ยังดีนะ ที่ชีวิตหักเห มาสู่เส้นทางพระธรรมคำสอน

ดูพระพุทธเจ้า เป็นตัวอย่าง

ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ที่ทรงแสดงไว้
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น ยิ่งตอกย้ำความมั่นคงในใจ
เห็นเส้นทางที่เดินอยู่ ชัดเจนมาก
ไม่มีวันหวนกลับไปหาเส้นทางที่เคยเดินผ่านมา

ช่วงนี้เจอเจ้าหนี้รุมทึ้งอีกละ
บางครั้งสุดจะทานทนกับการกระทำของผู้อื่น(ความไม่รู้ของผู้นั้น)

บางครั้งบอกตัวเองว่า เหนื่อยใจก็ต้องทน
รู้สึกนึกคิดอย่างไร ก็ต้องอดทนไว้
เพราะไม่มีใครมายืนด่าหรือเบียดเบียนเราได้ตลอดชีวิต
แค่ความรู้สึกทางใจ เดี๋ยวมันก็หายไป

แต่การกระทำนี่สิ หากกระทำไปแล้ว
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ทันที
เมื่อไม่อยากเกิด ต้องอดทน

เราคงทำกับเขาเหล่านั้นไว้เยอะ
ไม่รู้กี่กัปป์กี่กัลป์ กี่อสงไขย ที่เคยกระทำต่อกันไว้

เมื่อพญามารรู้
เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมมารุมทึ้ง เป็นเรื่องธรรมดา
แต่ใจนี่สิ ไม่ธรรมดา เหตุปัจจัยจากกิเลส ที่ยังมีอยู่

ไม่ว่าจะเจอสิ่งใด จะยากลำบากใจขนาดไหน
สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีวันทำให้เปลี่ยนใจ เปลี่ยนเส้นทางเดิน
ยังคงแน่วแน่ไปข้างหน้า ไม่มีวันจมแช่อยู่กับโลกอีกต่อไป

คนทุศิล

[๗๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้วในโลกนี้ ย่อมเข้าถึง
ความเสื่อมแห่งโภคะอย่างใหญ่อันมีความประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นโทษข้อที่หนึ่ง แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง เกียรติศัพท์อันชั่วของคนทุศีล มีศีลวิบัติแล้วย่อมกระฉ่อนไป อันนี้เป็นโทษข้อที่สองแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมครั่นคร้าม เก้อเขิน อันนี้เป็นโทษข้อที่สามแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมหลงกระทำกาละ อันนี้เป็นโทษข้อที่สี่แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ
อีกข้อหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อันนี้เป็นโทษข้อที่ห้าแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ฯ

ธรรมทาส

ดูกรอานนท์ ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์ เมื่อผู้นั้นๆ ทำกาละแล้ว พวกเธอจักเข้าไปเฝ้าพระตถาคต แล้วทูลถามเนื้อความนั้น อันนี้เป็นความลำบากแก่พระตถาคต เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว

เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้

ก็ธรรมปริยายชื่อว่า ธรรมาทาส นั้น เป็นไฉน

ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า

เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันพระอริยะใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ
ดูกรอานนท์ อันนี้แลคือธรรมปริยายชื่อว่าธรรมาทาส

สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ

๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่าน
พระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์เห็นความสำราญของพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์เห็นความอดทนของพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็แต่ว่า เพราะการประชวรของพระผู้มีพระภาค กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แต่ว่าข้าพระองค์มามีความเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคจักยังไม่เสด็จปรินิพพาน จนกว่าจะได้ทรงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราได้แสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในมีนอก กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายมิได้มีแก่ตถาคต

ผู้ใดจะพึงคิดอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์
จะเชิดชูเราดังนี้ ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่

ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์จักเชิดชูเรา ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่งในคราวหนึ่ง

ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยมาโดย
ลำดับแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ แม้ฉันใด กายของตถาคต ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฯ
ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าถึงเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เพราะ
ไม่ทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก

เพราะฉะนั้น พวกเธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด ฯ
ดูกรอานนท์ อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

คือจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก อย่างนี้แล

อานนท์ ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ดูกรอานนท์ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุของเราที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาจักปรากฏอยู่ในความเป็นยอดยิ่ง ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

Previous Older Entries

กันยายน 2015
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

คลังเก็บ