สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1(มรรค ผล)

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

สภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ 1
หรือที่เรียกตามปริยัติชื่อว่า  มรรคญาณ ผลญาณ

ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้
เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึกที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน รู้ชัดเหมือนๆกัน
ก่อนที่จะเกิด จะรู้ชัดว่าจะเหมือนหายใจไม่ออก
เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น
คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาล ของถูกดูดเข้าไปในหลุมหรือรู

จากสภาวะทั้งหมด สรุปได้ว่า การเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่แรก(1) ทุกคนต้องยอมตาย บ้างคนอาจจะมีสติดี กรณีของคนที่ 1 ที่ปล่อยเลย

ทั้งสภาวะทุกหมด สรุปได้ว่า ทุกคนที่ก่อนถูกแรงดูดมหาศาลดูดเข้าไป ต้องเจอสภาวะหายใจไม่ออกหรือทำให้รู้สึกเหมือนจะตาย เป็นการรู้ชัดในสภาวะทุกข์

ขณะเกิดสภาวะ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง

ขณะที่เกิด จะเหมือนเรื่องเกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ

.

คนที่ 1

ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม

.

คนที่ 2

“สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่ ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)”

.

คนที่ 3

“เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น

พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย ผ่านไปสักพักก็โล่ง มีแต่สว่างขาวโพลงอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรอยู่อย่่างนั้น แต่ไม่กลัวอะไรเลย มันโล่งไปหมด สบายสุดๆ ก็จับอารมณ์ตรงหน้ามาพิจารณาต่อ สักพักก็ไม่คิดอะไรอีก อาการอิ่มใจหายไปอารมณ์แน่นกว่าเดิม พอเย็นอิ่มใจนานๆไปก็สงบสุดๆอารมณ์แน่นขึ้นอีก สักพักเหลือแต่นิ่งอยู่อารมณ์แน่นขึ้นแล้ว ถึงขั้นนี้ไปไม่เป็นแล้ว ลมหายใจก็ไม่มี มันดับหมด

.

คนที่ 4

“พี่น้ำ…
เหมือนเคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตายค่ะ เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย)

เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป นึกไปถึงที่ีพี่น้ำบอกว่า เหมือนตอนคลอดแล้วโดนดูดออกมา มันเหมือนเป็นความรู้สึกนั้นเลย หลังจากดูดเสร็จแล้ว สภาวะก็จะเหมือนเราแหวกออกมาจากอะไรไม่รู้ซักอย่างนึงค่ะ มันอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะเปรียบกับอะไร หลังจากนั้น ก็เข้าไปเห็นสภาวะอะไรก็ไม่รู้ที่มันว่างๆ โปร่งๆเบาๆ สบายๆ แต่ยังมีสิ่งที่เข้าไปรู้อยู่ค่ะ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร หลังจากนั้น(ไม่นานในความรู้สึก) สภาวะทั้งหมดก็คลายตัว แล้วระลึกได้ถึงการกลับมามีตัวตนที่นั่งอยู่ในวิหารค่ะ แต่กายมันสั่น ฟันกระทบกัน กึกๆ เหมือนไปผ่านจุดเยือกเเข็งมาค่ะ

.

คนที่ 5 วลัยพร
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว

เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ความรู้สึกดับลงไป

ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล สองข้างทางที่ผ่านเข้าไป มีภาพในอดีตชาติแต่ละชาติ ผ่านไปไวมาก ดูไม่ทัน จึงไม่รู้ว่าเป็นชาติไหนบ้าง เป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ชีวิตแรกเกิด ตอนที่ออกจากท้องแม่ คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยดูดออก ที่รู้ชัด เพราะเคยทำงานอยู่ตึกสูติ รู้โดยอาชีพ เมื่อมาเจอกับตนเอง จึงรู้ชัด

ตอนที่เราเจอ ช่วงถูกดูดเข้าไป ตอนนั้นสว่างมากๆๆๆ จะเหมือนในภาพ

10365948_749535668419489_4519154480165733809_n

โสดาปัตติยังคะ

เมื่อคืนเขียนเกี่ยวกับโสดาบัน ก็นำมาจากที่เคยเขียนไว้ แต่ทำให้ชัดเรื่องหนึ่งว่า

ต่อไป ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติตามที่พระพุธเจ้าตรัสไว้ ทุกคนไม่ต้องให้ใครมาทำนายว่าคนไหนเป็นโสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ เพราะสามารถรู้ด้วยตนเอง ทำกันเองได้นะ

อศัจรรย์มาก ที่เคยคิดว่า สัทธานุสารี สัทธาวิมุตบุคคล อาจจะไม่มีปรากฏขึ้นอีก เพราะไม่มีพระพุทธเจ้า

หลังจากเขียนเมื่อคืน ตอนนั้น มีภาพผุดขึ้นมาให้เห็น เรียงตามลำดับของการปฏิบัติ

.
โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน? คือ

การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐

.

แบ่งออกเป็น 3

การคบสัตบุรุษ ๑ พระพุทธเจ้า
การฟังธรรม ๑ พระพุทธเจ้า

.

1. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ .การปฏิบัติอนุปาทาปรินิพพาน
คนที่ปฏิบัติตามชื่อว่า สัทธานุสารี

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ สมถะและวิปัสสนา
เน้นการเจริญวิปัสสนามากกว่าสมถะ

.

2. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติปฏิทาวรรค 2
คนที่ปฏิบัติตามชื่อว่า ธัมมานุสารี

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ สมถะและวิปัสสนา
เน้นการเจริญวิปัสสนาและสมถะ พอๆกัน

.

3. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การดูตามความเป็นจริง(ดับภพ)
คนที่ปฏิบัติตามชื่อว่า กายสักขี

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ สมถะและวิปัสสนา
เน้นการเจริญสมถะ-วิโมกข์ 8(สัมมาสมาธิ)มากกว่าวิปัสสนา

.

โดยเฉพาะคำว่า สมถะและวิปัสสนา ต้องตามกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงกับคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่ใช่สมถะและวิปัสสนาแบบที่ใช้นิยมใช้กันในปัจจุบัน

กายสักขี

กายสักขี

.

[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้

โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ … และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

.

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล

.

หมายเหตุ;

“ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่”

ได้อรูปสมาบัติ

“เพราะเห็นด้วยปัญญา”
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์

.

(๓) กายสักขี ผู้ถูกต้องผัสสะแห่งฌานก่อนแล้ว
จึงทำให้แจ้งนิพพานในภายหลัง

ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์อันสงบระงับด้วยนามกาย
แต่สิ่งสิ้นอาสวะเพียงบางส่วน

.

สังโยชนสูตร
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

ธัมมานุสารีและทิฏฐิปัตตบุคคล

พระสารีบุตร เป็นตัวอย่างในเรื่อง ธัมมานุสารี

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว
บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล

.
ปุคคลวรรคที่ ๓ สวิฏฐสูตร

ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ผมชอบใจบุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง

.

ข. ธัมมานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้
ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา
ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

.

หมายเหตุ;

“ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา”

ภิกษุทั้งหลาย ! ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เป็นปกติ

๑. จักขุสูตร
๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร
๔. ผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร
๖. สัญญาสูตร
๗. เจตนาสูตร
๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร
๑๐. ขันธสูตร

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว
อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล

 

หมายเหตุ;

“บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกาย”
ได้รูปสมาบัติ(รูปฌาน) แต่ไม่ได้อรูปสมาบัติ(อรูปฌาน)

.
“เพราะเห็นด้วยปัญญา”
อนิมิตตวิโมกข์(อนิจจัง)
อัปปณิหิตวิโมกข์(ทุกขัง)
สุญญตวิโมกข์(อนัตตา)

 

สังโยชนสูตร
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว;

สัทธานุสารีและสัทธาวิมุตบุคคล

พระอานนท์ เป็นตัวอย่างในเรื่องสัทธานุสารี

อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว
มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว

บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล

 

ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ท .! จักษุ….โ ส ต ะ ….ฆ า น ะ ….ชิว ห า …ก า ย ะ …ม น ะ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ
มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อ
น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5633&Z=5743

.

บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต

[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว
มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว

อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

ย่อมมีแก่ผู้นั้น
บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล

 

สังโยชนสูตร
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว;

 

หมายเหตุ;

“บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกาย”
ได้รูปสมาบัติ(รูปฌาน) แต่ไม่ได้อรูปสมาบัติ(อรูปฌาน)
“เพราะเห็นด้วยปัญญา”
อนิมิตตวิโมกข์(อนิจจัง)
อัปปณิหิตวิโมกข์(ทุกขัง)
สุญญตวิโมกข์(อนัตตา)

อภิธรรมกถา ในสมัยพุทธกาล

อภิธรรมกถา ในสมัยพุทธกาล

และผลของปฏิบัติ จงปรากฏแบบนี้
๕. สัมปสาทนียสูตร (๒๘)

.

๒. มหาโคสิงคสาลสูตร

[๓๘๐] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระมหากัสสปกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า

ดูกรท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสปพยากรณ์แล้ว เราจะขอถามท่านโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป

ดูกรท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า

ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วยและธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย

ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน
พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ
เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น
ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก

กุมภาพันธ์ 2019
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728  

คลังเก็บ