สีลปาริสุทธิและอธิศิล

ความแตกต่างระหว่างสีลปาริสุทธิและอธิศิล

คำว่า สีลปาริสุทธิและคำว่าอธิศิล
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
และความรู้ความเห็นก็แตกต่างกัน

สีลปาริสุทธิ
ได้แก่ การละลัพพตปรามาสลงไปได้

ได้แก่
๑. ละด้วยการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ย่อมพยายามละการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

๒. ละด้วยสมาธิที่เกิดจากการเจริญสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม
ทำให้ละนิวรณ์ลงไปได้ ดับด้วยสมาธิ
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เกิดจากจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าออก
จะทำอะไรก็ตาม จิตจะจดจ่อรู้ลมหายใจเนืองๆ
ทำให้ละความคิดลงไปได้
ในบางกลุ่ม หรือบางคนเรียกกันเองว่า สิ้นความคิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมรรค ยังไม่ผล

๓. เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องทั้งสองแบบ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองแบบ
ไตรลักษณ์ปรากฏตามเห็น เห็นความไม่เที่ยงของความคิดที่มีเกิดขึ้น
แล้วทำให้เห็นความเกิดดับของความคิดที่มีเกิดขึ้น
ทำให้จิตปล่อยวางจากผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้นลงไปได้
เรียกว่า ละด้วยปัญญา คือไตรลักษณ์
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมรรค ยังไม่ผล

อธิศิล ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นดังนี้
๑. มีเกิดขึ้นจากการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เกิดจากได้โสดาปัตติผลตามจริง
ละอวิชชา วิชชามีเกิดขึ้นตามจริง ครั้งที่ ๑

๒. เป็นผู้ที่มีความเป็นผู้มีหิริและโอตตัปปะ
ลักษณะที่มีเกิดขึ้นคือ

๒.๑ ที่เกิดจากการได้โสดาปัตติผลตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้หิริโอัตปปะมีเกิดขึ้นในตน
สติไประลึกถึงกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต
ทำให้รู้สึกละอายใจต่อการกระทำไว้ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ทำให้เกิดการสังวร ระวัง อัตโนมัติ
ตัวสภาวะจะมีเกิดขึ้น
ก่อนจะลงมือกระทำ จะเกิดการพิจรณาก่อนจะลงมือกระทำ
พูดง่ายๆตัดสินใจช้า ไม่กระทำตามตัณหา จะรู้ทันความอยากที่มีเกิดขึ้น
เมื่อตัดสินใจทำ สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตามมา
คือมีความรู้สึกขณะลงมือกระทำ
ทำให้ไม่พลั้งเผลอขณะกำลังทำกิจนั้นๆ

๒.๒ กำลังสมาธิที่มีอยู่(อรูปฌาน) บดบังผัสสะ เวทนา ไม่ให้เห็นที่มีอยู่
คือดับด้วยสมาธิ(อรูปฌาน)และปัญญา(การแจ้งอริยสัจ ๔)
ทำให้เห็นความไม่เที่ยง(ไตรลักษณ์)
จิตปล่อยวางจากผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้น
สภาวะที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่าสภาวะมีเกิดขึ้น
โดยไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
เมื่อไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เวทนาย่อมไม่มี สักแต่ว่าผัสสะมีเกิดขึ้น

ปฏิบัติตามลำดับ

เจ้านายส่งภาพมาให้ดู
แล้วบอกว่าต้องรอคัมภีร์ทางเดินสู่นิพพานนะ

เราจึงแคปข้อความที่เขาส่งมาให้นี้ไปให้
แล้วถามว่าตรงคำถามนี่ใช่ป่ะ

“การปฏิบัติได้รู้จักสภาวะ
รู้จักอารมณ์ที่เป็นบัญญัติปรมัตถ์
ดูรูปดูนามขันธ์ ๕ เป็น
รู้จักวางใจที่ถูกต้อง วางใจเป็นกลางเป็น
ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง
เห็นความเกิดดับของสภาวะ
ก็ถือว่าการปฏิบัตินั้นเข้าช่องทาง
เดินทางได้ถูกต้องขึ้น
ตรงทางตรงธรรม ขึ้นมาบนถนนสายนิพพานได้
ก็เหลือแต่จะเดินทางต่อไป”

เราบอกว่า อันนี้เรียกว่า สติ อยู่ในขั้นศิล
หากพยายามหยุดการสร้างเหตุนอกตัว ก็ทำให้เห็นว่าไม่เที่ยง
ทำให้จิตปล่อยวาง
ถ้าคนไม่เข้าใจคำเรียกเหล่านี้ ก็งงสิ ต้องทำแบบไหน

เขาพูดว่า ถึงบอกไงว่าต้องต้องรอคัมภีร์ทางเดินสู่นิพพานนะ

เราจึงบอกว่า พระพุทธเจ้าทางแสดงพระธรรมเรื่องการปฏิบัติ
ก่อนจะแจ้งนิพพาน เริ่มจากศิล ไม่ใช่ไตรลักษณ์

เขาก็เลยบอกว่า ถึงบอกไงว่าต้องต้องรอคัมภีร์ทางเดินสู่นิพพานนะ


หลายๆคนอ่านในคำบอกเล่านี้ แล้วงง
การปฏิบัติเริ่มจากการฟัง การอ่าน การท่องให้ขึ้นใจ
คือการสดับพระอริยะ พระสัตบุรุษ สัปปุรุษ

เมื่อไม่รู้ว่าใครเป็นพระอริยะ ให้ฟังพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
พระสูตรนี้ ถือว่าสมบูรณ์ที่สุดในการดำเนินในมรรคมีองค์ ๘
คือ รักษาศิล ๕ รักษาอุโบสถ
การรักษาอุโบสถ ทำให้ได้ฟังธรรมจากพระ
ซึ่งมองแค่เปลือกก็คือพระ แต่ไม่รู้หรอกว่ารูปไหนเป็นพระอริยะ
ก็ขึ้นอยู่กับกรรมในอดีตที่เคยสร้างสะสมไว้
แต่อย่างนอกจากได้ฟังเรื่องการปฏิบัติและได้ทำกรรมฐาน เป็นการสะสมไว้
บางคนเรียกว่า สะสมแต้มบุญ

ส่วนเรื่องความหมายนิพพานที่มีปรากฏตามจริง
ต้องทำกรรมฐาน ก็เคยเขียนบอกว่าวิธีการปฏิบัติตามอย่างไร
ทำไวที่สุด ต้องนั่งอย่างเดียว ๓ ชม. ไม่ขยับตัว
จะใช้สมถะ บัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
เช่น พุทธโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
เหมาะสำหรับผู้ที่มีนิวรณ์มาก
การใช้คำบริกรรม ทำให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่แส่ออกนอกกรรมฐาน

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เหมาะสำหรับบุคคลที่มีนิวรณ์น้อย

ทั้งสมถะและวิปัสสนา
ครั้งแรกที่ทุกคนจะเจอเหมือนๆกันคือ เวทนาจะรบกวน
โดยเฉพาะบุคคลที่มีความอดทนน้อย จะผ่านไปได้ยาก
เพราะเป็นสภาวะของสักกายทิฏฐิ
ที่เกิดจากยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
ส่วนจะเวทนากล้ามากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

เมื่อผ่านเวทนากล้าไปได้ สภาวะจะก้าวไปข้างหน้า
เริ่มเข้าสู่อรูปฌานนี่ละขั้นๆ จนถึงเนวสัญญาฯ
ส่วนจะรู้ว่าใช่เนวสัญญาฯหรือไม่
ข้อแรกดูโอภาสหรือแสงสว่าง
ความแสงสว่างจะมีเกิดขึ้นไม่เท่ากัน
แสงจะสวา่งเจิดจ้า นั่งกลางคืน จะเหมือนนั่งกลางวัน
เสพจนจิตคุ้นเคย
แน่นอน จะเป็นสัมมาสมาธิ ก็ต้องผ่านขั้นตอนนี้นี่ก่อน คือมิจฉาสมาธิ
เวลานั่งทุกครั้ง จะมีแต่แสงสว่างเจิดจ้า
จะมีสองสภาวะมีเกิดขึ้นคือ แสวงสว่างกับใจที่รู้อยู่
นี่เป็นลักษณะของสภาวะสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิ

ขั้นต่อไป อย่าพอใจในแสงสว่างหรือโอภาสหรือฤทธิ์
เช่นย่อทาง รู้ใจคนอื่น ถอดกายทิพย์ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นของเล่น อย่าออกนอกเส้นทาง

บางคนไม่รู้ ย่อมพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำให้ติดอุปกิเลส ตัวสภาวะจะจมแช่อยู่เพียงแค่นี้

จะหลุดจากมิจฉาสมาธิไปได้
ต้องมีปรับอินทรีย์ ๕ อีกครั้ง
เมื่อมีการปรับอินทรีย์ได้สมดุลย์
ทุกครั้งที่นั่ง จะมีแสงสว่างเจิดจ้า พร้อมกับรู้กายด้วย กายที่นั่งอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ปรากฏตามจริง

ตัวที่มีเกิดขึ้นจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

เมื่อสภาวะมาถึงตรงนี้
ความที่ว่าอินทรีย์ ๕ สมบูรณ์ มั่นคงดีแล้ว
จะรู้ชัดความเกิดและความดับ ขณะจิตเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ
เมื่ออินทรีย์ ๕ มีกำลังกล้า
วิมุติปาริสุทธิ จะมีเกิดขึ้นเอง
โคตรภูญาณจะมีเกิดขึ้นต่อ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นแบบนี้

“ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์”

คำว่า ยถาภูติญาณ
ได้แก่ การเจริญสติ ๔
มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน
เวทนากล้าปรากฏ
จะรู้สึกเจ็บปวดแสนสาหัส

“นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์”

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่าย

“วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕
ละสักกายทิฏฐิตามจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดต่อ แล้วดับ
โคตรภูญาณจะมีเกิดขึ้นต่อ

คำว่า วิมมุติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งสุญตา
แจ้งนิพพาน
แจ้งอริยสัจ ๔
ตามลำดับ

พระสูตรนี้ ถือว่าสมบูรณ์ที่สุดในการดำเนินในมรรคมีองค์ ๘
ตัดทิ้งไปก่อนเรื่องไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นเรื่องการท่องจำ
จะขึ้นบันได ต้องไปทีละขั้น เริ่มจากที่บอกไว้
คือการสดับพระอริยะ พระสัตบุรุษ สัปปุรุษ

เริ่มจากศิล

ศิลจะขจัดนิวรณ์ ขั้นแรก
เป็นการชำระจิต ให้ละจากมิจฉาทิฏฐิ


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก

ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

อธิบาย

“รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา”
ได้แก่ กามคุณ ๕

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ(ฉบับบย่อ)

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ(ฉบับบย่อ)

เมื่อปฏิบัติตาม
สภาวะที่มีเกิดขึ้น จะเป็นดังนี้

นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์
เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓
สีลสูตร
ว่าด้วยกุศลศีล
[๗๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า:-

[๗๖๘] ดูกรท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร?

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ
ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ
ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร?
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙] อา. ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.


ส่วนขยายรายละเอียด จะทะยอยเขียนพระสูตร
ตรงนี้เขียนไว้ก่อน เดี๋ยวลืมอีก

ศิล สีลสัมปทา สีลปาริสุทธิ อริยศิล อธิศิล ศีลขันธ์

ก่อนจะอธิบายวิสุทธิ 7
(รถวินีตสูตร เป็นพยัญชนะปฏิรูป มีเกิดขึ้นสมัยพุทธเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่)
ให้อ่านพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
ว่าด้วย สีลปาริสุทธิ ไว้ดังนี้


๕. สีลสูตร
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ
เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสนขันธ์
แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น
เรากล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง นำพวกไปบ้างละข้าศึก
คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอภาสบ้าง กระทำความรุ่งเรืองบ้าง
กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง มีจักษุบ้าง ดังนี้ ฯ

การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว
ผู้มีปรกติเป็นอยู่โดยธรรม
ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำ
ซึ่งความปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง
เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือกิเลส
ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลกให้สว่าง
แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะ ในแคว้นโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
คือ ศีล ๑ จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะ ในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…
ทุติยฌาน…
ตติยฌาน…
จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในจิตตปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิ อันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิ อันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ สีลปาริสุทธิ…จิตตปาริสุทธิ…ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ
นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ


ส่วนตรงนี้เป็นพยัญชนะปฏิรูป
ที่มีเกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

อรรกถารวบรวมไว้ดังนี้
โดยอ้างอิง วิสุทธิ 7 ในรถวินีตสูตร

https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=285


อธิบายในพระสูตร มหาวรรคที่ ๕
ศีล ๑ จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑

เริ่มจาก ศิล

สุตะ การฟัง การอ่าน การศึกษา จดจำไว้(ท่องจำจนขึ้นใจ)

๑๐. อนุตตริยสูตร
[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน
คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑
สวนานุตตริยะ ๑
ลาภานุตตริยะ ๑
สิกขานุตตริยะ ๑
ปาริจริยานุตตริยะ ๑
อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก
หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง
เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ
ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง
หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง
ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การบำรุงนี้ ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย
ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ

ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
ยินดีในสิกขานุตตริยะ
เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติ
ที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม
ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท
มีปัญญารักษาตน
สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ


๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้
ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง

แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน

แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องใช้อาวุธ

แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องนับจำนวน
เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า
หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ

[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด
ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว
ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน
ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ


๘. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องอเจลกกัสสป
สีลสัมปทา
จุลศีล
มัชฌิมศีล
มหาศีล
ดูกรกัสสป ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก
กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น

ดูกรกัสสป ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ดูกรกัสสป นี้แลสีลสัมปทานั้น.


๑๐. สุภสูตร
เรื่องสุภมาณพ
จุลศีล
มัชฌิมศีล
มหาศีล
ดูกรมาณพ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆเพราะราชศัตรูนั้น
ดูกรมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.


๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.


มหาวรรคที่ ๕
ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะ ในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ


หมวดศิล

การสดับ ตั้งใจฟัง

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


การละโมหะ ความหลง
เริ่มจากการตั้งใจฟังธรรม

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้และปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติ ทำให้ละโมหะ(ความหลง)
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิ

วิธีการปฏิบัติเพื่อละโมหะ(ความหลง) ตัวแรกก่อน

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม


ควรรู้จักคำว่า กัลยาณมิตร ตัวแรก
หมายถึง กลุ่มนี้ ผู้ได้สดับแล้ว

ถ้าใครที่มีคุณสมบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
บุคคลนั้นเป็นกัลยาณมิตร
คือผู้นั้นทำได้ก่อน แล้วจึงชักชวนให้คนอื่นกระทำตาม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้

ข้อแรกคุณสมบัติของกัลยาณมิตร เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ
บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ


ข้อที่สอง ชักชวนสร้างกุศล

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล
ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียด
เช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี
อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่
ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาค
เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน
ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่น
หรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด
ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้น

ผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก
ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

คำว่า ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน
ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด(ราคะ)

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆ
ในที่ไหนๆไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น

แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์
ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน”
ได้แก่ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

สีลปาริสุทธิ

สีลปาริสุทธิ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า สัมมาทิฐิ
ได้แก่ การสดับ การฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


คำว่า อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว

ใช้ 4 พระสูตรในการอธิบายตามลำดับ
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
กาฬิโคธาสูตร
ทานสูตร
๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)

บางบุคคลที่ได้อ่านแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่า
ทำไมจึงเขียนเรื่องกรรมและผลของกรรม แยกออกจากสีลปาริสุทธิ

เรื่องกรรมและผลของกรรม
เขียนอธิบายให้สำหรับผู้ที่ยังละวิจิกิจฉายังไม่ได้
และยังมีความสงสัยเรื่องการรักษาศิลและการทำทาน

ส่วนสีลปาริสุทธิ หมายถึงบุคคลที่ไม่มีความสงสัย
ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ตามลำดับ
และเรื่องการทำทาน ให้อยู่ในการรักษาศิล
จะทำให้เข้าใจมากขึ้นทำไมต้องรักษาศิล ทำไมต้องทำทาน
หากปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้นั้น
ทำให้วิจิกิจฉา(สงสัย) สักกาทิฏฐิ(เห็นเป็นตัวตน เรา เขา) เบาบางลง


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก


ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

.

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

.
หมายเหตุ;
“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์
แจ้งอริยสัจ ๔
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคคราใกล้จัมปานคร
ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว
ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน

อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดา มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ไม่หุง หาไม่สมควร
เขาให้ทาน คือ ข้าวฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

.
“เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”

คำว่า ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ได้แก่ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

.
“เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้”

คำว่า เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ เกิดในเทวดาชั้นพรหม และปรินิพพานที่นั่น


๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)
[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท
สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ

[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด
แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ ฯ

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด
พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก
เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรสแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี

พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต
จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท
จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงประกอบด้วย
ความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทรงประกอบด้วยศีล ที่พระอริยะมุ่งหมายได้

ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเป็นผู้หมดความสงสัยใน
ทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ

[๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์ จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว
งดเว้นจากปาณาติบาต
จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท
จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้หมดความสงสัย
ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯ

[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ

ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑

ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒

ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔

ให้ทานแก่พระอนาคามี
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖

ให้ทานแก่พระสกทาคามี
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘

ให้ทานในพระโสดาบัน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐

ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑

ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒

ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓

ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ

[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น

บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล

พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล

พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม

พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง

พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้งในพระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งในพระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ

[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒

ให้ทานในภิกษุสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓

ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖

เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ

[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล
จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก
คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ

[๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง
๔ อย่างเป็นไฉน
ดูกรอานนท์
ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ

[๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหกอย่างไร ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ

[๗๑๖] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

[๗๑๗] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
ดูกรอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ

[๗๑๘] ดูกรอานนท์
ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล
ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ

ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ

[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า

(๑) ผู้ใดมีศีล
ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

(๒) ผู้ใดทุศีล
ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม
มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนมีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ

(๓) ผู้ใดทุศีล
ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม
มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ

(๔) ผู้ใดมีศีล
ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในคนมีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ

หมวดสิกขา

สิกขา(การศึกษา)

อธิศีลสิกขา(ศิล)
อธิจิตตสิกขา(สมาธิ)
อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา)


วัชชีปุตตสูตร
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี
จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี
จักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป

ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว
ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา
เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ


พูดเรื่องมรรคผล

เสขสูตรที่ ๒
[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้
ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล
ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และเป็นผู้มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นพระโสดาบัน
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นพระสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น
แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่สิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จบางส่วน
ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ


พูดเรื่องภพชาติของการเกิด

เสขสูตรที่ ๓
[๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้
ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

สิกขา ๓ เป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล
ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
ท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
มาเกิดยังภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เธอเป็นพระสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคง
ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป
เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็น
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เ
ป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา
เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพ
เพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน
ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ


จาก ๒ พระสูตร
เสขสูตรที่ ๒
เสขสูตรที่ ๓

จึงมาเป็นพระสูตรนี้

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้
คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑

บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ


นิคัณฐสูตร
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
ความหมดจด ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ
เข้าจตุตถฌานอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ


สัปบุรุษ หมายถึง
ผู้ที่ได้มรรคผลตามจริง
และแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

ไม่ได้หมายถึงผู้ที่ได้มรรคผลตามจริง
แต่ไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
(ดับเฉพาะตน)

กรรมวรรคที่ ๔
[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔
เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
เป็นพระโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
นี้สมณะ (ที่๑)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓
และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี
มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้นแล้วกระทำที่สุดทุกข์ได้
นี้สมณะที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี)
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
นี้สมณะที่ ๓

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
นี้สมณะที่ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะ (ที่๑) มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔
เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด ฯ
.
[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการ
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
ย่อมเจริญด้วยศีลที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยสมาธิที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
ย่อมเจริญด้วยวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้ ฯ


เสขสูตรที่ ๑
[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ
ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษาอะไร
ศึกษาอธิศีลสิกขา
ศึกษาอธิจิตตสิกขา
และศึกษาอธิปัญญาสิกขา
ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษาแล ฯ

สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง
เกิดญาณในความสิ้นไปก่อน
แต่นั้น คือ แต่มรรคญาณที่ ๔ อรหัตผล จึงเกิดในลำดับต่อไป
ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วยอรหัตผล ผู้คงที่
มีญาณเกิดขึ้นในความสิ้นภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ

.
คำว่า เกิดญาณในความสิ้นไปก่อน
ได้แก่ แจ้งนิพพาน
นิพพาน ดับภพ

มีเกิดขึ้นตามลำดับ
ภพ
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ

วิชชา ๓
ดับตัณหาทั้งหมด
กามฉันทะ
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

กามฉันทะ(ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕)
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย ตามจริง
ครั้งที่ ๑
ครั้งที่ ๒
ครั้งที่ ๓

กามตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
วิชชาเกิด(๑) แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ดับกามภพ และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับกามตัณหา
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพฯลฯ

ภวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
วิชชาเกิด(๒) แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ดับรูปภพ อรูปภพ และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับรูปภพ อรูปภพ
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณฯลฯ

วิภาวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
วิชชาเกิด(๓) แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ดับนามรูปและรู้วิธีการกระทำเพื่อดับรูปนาม
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ นามรูป สฬายตะ ผัสสะ เวทนาฯลฯ


เจลสูตร
ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง
[๗๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ …
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล.

[๗๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี
ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี
จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ

ศิล มีหลายอย่าง

ทำไมศิลจึงมีหลายอย่าง


๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)
[๒๖๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว
จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน
มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน
มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน หรือหนอ ฯ

ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกันหามิได้ ฯ

ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ฯ

โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกันนั้น
สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและความยึดถือ
กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า

เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด
จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน
ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน
ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน … ฯ

[๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนหรือหนอ ฯ

ดูกรจอมเทพ
สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้ ฯ

ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน
ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ

ภิกษุเหล่าใด น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ภิกษุเหล่านั้น มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน

เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน
ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ

การศึกษา

ปฐมปัณณาสก์
ภัณฑคามวรรคที่ ๑
อนุพุทธสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งเรา ทั้งท่านทั้งหลายได้แล่นไปแล้ว
ได้ท่องเที่ยวไปแล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้
เพราะยังไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑
สมาธิที่เป็นอริยะ ๑
ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
ศีลที่เป็นอริยะ
สมาธิที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะ
และวิมุตติที่เป็นอริยะ
อันเราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว
ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว
ตัณหาอันนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ
ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตมศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดามีจักษุ
ทรงกระทำที่สุดทุกข์
ตรัสรู้พระธรรมแล้ว
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย
พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ด้วยประการฉะนี้



วัชชีปุตตสูตร
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว
เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล
มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ

ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว
ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา
เมื่อภิกษุนั้นศึกษา
อธิศีลสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว
เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล
มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ



๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ



สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓
สีลสูตร
ว่าด้วยกุศลศีล
[๗๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า:-

[๗๖๘] ดูกรท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ
ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙] อา. ดูกรท่านภัททะ
ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔
ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.



นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน
มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์
มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ
มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ
มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี
สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ
มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ



มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ
กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ



สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ



๓. อุปนิสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ


จึงมาเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับปฏิปทา ๔ ประการ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
คือการศึกษาตามลำดับ
ปฏิบัติตามลำดับ
ได้มรรคผลตามความเป็นจริง ตามลำดับ
.
วิชชา ๑
.
วิชชา ๒
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ละราคะ โทสะ โมหะ
ละกามฉันทะ
ละกามตัณหา
ละภวตัณหา
.
วิชชา ๓
วิมุตติญาณทัสสนะ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ละตัณหาทั้งหมด

ละกามฉันทะ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

ละกามตัณหา
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ละภวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ละวิภาวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ละอวิชชา ละบัญญัติทางโลกสมมตุิ(อัตตวาทุปาทาน)

แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แจ้งนิพพาน ดับตัณหาทั้งหมด

ศีลที่เป็นอริยะ
สมาธิที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะ
และวิมุตติที่เป็นอริยะ
อันเราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว
ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

หมวดศิล

หมวดศิล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑
ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม

มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน
มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์
มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ
มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ
มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี
สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ
มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๒ ฟังธรรมจากสัตบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ
กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๓ ฟังธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อศีลไม่มี
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่ม ๔ ฟังธรรมจากปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป …
ดังนี้เวทนา …
ดังนี้สัญญา …
ดังนี้สังขารทั้งหลาย …
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่
เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ควรกล่าวว่าวิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ
ควรกล่าวว่าวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ
ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา
ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ควรกล่าวว่าสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
ควรกล่าวว่าสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข
ควรกล่าวว่าปัสสัทธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ
ควรกล่าวว่าปีติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ
ควรกล่าวว่าความปราโมทย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์
ควรกล่าวว่าศรัทธา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา
ควรกล่าวว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์
ควรกล่าวว่าชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ
ควรกล่าวว่าภพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ
ควรกล่าวว่า อุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน
ควรกล่าวว่าตัณหา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา
ควรกล่าวว่าเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา
ควรกล่าวว่าผัสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ
ควรกล่าวว่าสฬายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ
ควรกล่าวว่านามรูป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป
ควรกล่าวว่าวิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ
ควรกล่าวว่าสังขารทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย
ควรกล่าวว่าอวิชชา
ด้วยเหตุดังนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ทุกข์
ได้แก่ ชาติก็เป็นทุกข์
ชราก็เป็นทุกข์
มรณะก็เป็นทุกข์
โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

คำว่า ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม

คำว่า ทุกข์
ได้แก่ ชรา มรณะ(โลกธรรม ๘)

“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่
ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

เริ่มต้นการศึกษา

สำหรับผู้ที่มีฐานเรื่องการทำกรรมฐาน บางครั้งเกิดความสงสัยว่าควรใช้วิธีการปฏิบัติแบบไหน จึงจะเหมาะกับตัวเอง
ตรงนี้ หากใครยังทำกรรมฐานอยู่ อาจจะทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ทำๆหยุดๆ ไม่สม่ำเสมอ ให้เริ่มต้นการศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ จะได้ตรวจสอบตัวเองว่า การใช้ชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน เคยใช้ชีวิตแบบไหน มีมั๊ยที่ตรงกับที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ เพราะการใช้ชีวิตมีผลกระทบต่อการทำกรรมฐาน คือสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน ทำให้ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ปฏิบัติมีแต่นิวรณ์มากกว่าการรู้ชัดในสติปัฏฐาน ๔
ส่วนคำว่า สติปัฏฐาน ๔ และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีอาการเกิดขึ้นแบบไหน ตรงนี้จะอธิบายที่หลัง ให้ศึกษาตรงนี้ก่อนเรื่องการใช้ชีวิตให้ถูกตรง


พระสูตรที่นำมาลงนี้ สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักปริยัติหรือภาษาพระเวลาเทศน์ พระสูตรนี้ไม่ต้องตีความ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสแบบง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ตีความว่า คำนี้ๆคืออะไร


อาศัยของเก่าที่เคยกระทำไว้ในอดีตสะสมไว้ มาในชาติปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดความศรัทธาในพระพุทธเจ้า แม้จะไม่เคยเจอพระองค์ตัวเป็นๆก็ตาม เมื่ออ่านสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่มีความสงสัย แล้วพร้อมปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้


เริ่มจากการฟังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง อ่านแล้วให้พิจรณาการกระทำที่ตัวเองกระทำอยู่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันว่า ตัวเองในปัจจุบันนี้ มีการใช้ชีวิตแบบไหนอยู่ มีบ้างไหมที่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้เรื่องการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง


ทีฆชาณุสูตร
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกฬิยะชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร
๔ ประการเป็นไฉน
คือ อุฏฐานสัมปทา ๑
อารักขสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑
สมชีวิตา ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัวชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูลด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงบริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น
ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญ ทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนักไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด
กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่โถง
จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น
ก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง
จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา

แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก
ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ
คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้าปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดีสหายดี เพื่อนดี ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้
เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสีลสัมปทา ฯ
ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าจาคสัมปทา ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา

ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ฯ
คนหมั่นในการทำงาน
ไม่ประมาท
จัดการงานเหมาะสม
เลี้ยงชีพพอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้
มีศรัทธา
ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ถ้อยคำ
ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางสัมปรายิกประโยชน์เป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง
คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า
บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ


ปัตตกรรมวรรคที่ ๒
ปัตตกรรมสูตร
ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการนี้ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑

ดูกรคฤหบดี ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัย ย่อมเป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ … เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา

ก็สีลสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่าสีลสัมปทา

ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน
คือ ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
นี้เรียกว่าจาคสัมปทา

ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน
บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำเสมอ คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำอยู่
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
บุคคลมีใจอันพยาบาทครอบงำ …
อันถีนมิทธะครอบงำ …
อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ …
อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสของจิต
ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสของจิตเสียได้
รู้ว่า พยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิต ย่อมละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสของจิต

ดูกรคฤหบดี เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ฯ

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ