ทำบุญ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อก่อน บ้าบุญนะ ทำบุญแบบ เชื่อตามคำบอกเล่า ที่มีกันต่อๆมา ทำบุญที่วัด ทำมาตลอด เพราะคิดว่า ตายไปแล้ว จะได้ไปสวรรค์ หากเกิดใหม่ จะได้ไม่อดอยาก ชาตินี้ลำบาก คงเพราะทำบุญมาน้อย คิดแบบนี้นะ ตอนนั้น เคยคิดแบบนี้นะ

ค่าใช้จ่าย จึงหมดไปกับ การทำบุญแบบนี้มาตลอด แต่ก็สุขใจนะ ยามที่หวนคิดถึงการทำบุญ การให้ทาน ในแต่ละครั้ง

การทำความเพียร ทำให้เกิดปัญญา

เมื่อเข้าสู่เส้นทางปฏิบัติแบบจริงจัง คือ ทำความเพียรต่อเนื่อง การทำบุญตามวัดแบบนั้น ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะ นำไปหยอด หรือทำบุญในการเลี้ยงน้ำปานะบ้าง เลี้ยงอาหารพระภิกษุสงฆ์ ทั้งผู้ปฏิบัติบ้าง ชำระหนี้สงฆ์บ้าง คือ ไม่ต้องตื่นแต่เช้า เพื่อรอใส่บาตรพระ แบบก่อนๆ และเลิกตะเวณทำบุญ ที่โน่น ที่นี่ แบบก่อนๆ

ใช้วิธีทำบุญ เฉพาะเวลาไปปฏิบัติแทน ทำตรงนั้นเลย เป็นการให้ส่วนรวม ช่วยส่วนรวมโดยตรง ไม่ไปสร้างเหตุอามิสบูชา ให้เกิดกับพระ(ถวายปัจจัย)

การทำบุญของวลัยพร ในตอนนี้ คือ การทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง มุ่งดับเหตุของ การดับเหตุการเกิดภพชาติปัจจุบัน(พยามยาม รู้ให้ทัน เพื่อหยุดสร้างเหตุนอกตัว) และ ดับเหตุของ การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร(ทำความเพียร ต่อเนื่อง)

การทำบุญ และทำทาน จะทำในที่ได้ไปปฏิบัติ ทำที่นั่นเลย ไม่เจาะจงบุคคล ให้โดยส่วนรวม ทุกคนได้เหมือนกันหมด

ไปทุกครั้ง ที่ไม่เคยขาด คือ เลี้ยงน้ำปานะ ทั้งพระและผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ใครเป็นพิเศษ เพราะเหตุนี้ ในครอบครัวเรา จึงมีกินตลอด ไม่อดอยากปากแห้ง อยากกินอะไร ก็ได้กิน

เจ้านายก็เป็นแบบนั้น เพราะ เงินที่ให้กับการทำบุญ และทำทาน เป็นเงินที่มาจากน้ำพักน้ำแรง ของเจ้านาย สิ่งที่วลัยพรได้รับ เจ้านายจึงได้รับผลด้วย เพราะเหตุนี้

ทำประจำ

สิ่งที่เจ้านายทำประจำทุกครั้ง ก่อนจ่ายเงินค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ให้กับวลัยพร และ ให้ยาย คือ จบเงิน อธิษฐานจิต ก่อนที่จะให้วลัยพร และก่อนที่จะโอนเงินเข้าบัญชี ส่งให้ยาย

ทุกเช้า ก่อนไปทำงาน วลัยพร จะพูดว่า ขอให้เจ้านาย มีความสุข เจ้านายจะยกมือ สาธุ ก่อนไปทำงานทุกวัน

ใช้เงินให้คุ้มค่า

รองเท้า เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ บ่อยครั้งที่ต้องซื้อรองเท้าใหม่ เพราะของเก่าไม่พัง ก็สภาพทนดูไม่ได้

วิธีรักษารองเท้า ซื้อรองเท้าหนังดีกว่า อาจจะราคาแพง แต่คุ้ม ถ้าจะเซฟค่าใช้จ่าย ให้ซื้อรองเท้าหนัง มือสอง

รองเท้า ซื้อมาใหม่ ให้นำไปที่ร้านรองเท้า ใส่เกือกม้า เป็นพลาสติก ที่ส้น เพื่อช่วยไม่ให้ส้นรองเท้าเสื่อมสภาพไปก่อนวัยอันควร

พื้นรองเท้าด้านหน้า ใช้ไปจนกว่าจะสึก อย่าให้ถึงหัวคิ้วด้านหน้า แล้วนำไปเสริมพื้นด้านหน้าใหม่ได้

ทำแบบนี้ ช่วยยืดอายุการใช้งานรองเท้า สภาพหนังแท้ ยิ่งใช้ยิ่งนิ่ม ใส่สบาย ควรดูแลสภาพหนัง ด้วยการ ลงย้ำยา ขัดทำความสะอาด

รองเท้า ควรมีสำรองหลายคู่ อย่าใช้รองเท้าเพียงคู่เดียว จะทำให้พังไว ไม่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป

รองเท้าของเจ้านาย ส่วนมากเป็นรองเท้าหนังมือสอง วลัยพร จัดการให้หมด วันจันทร์ ถึงวันพฤหัสบดี จะมี ๘ คู่ (ใส่สลับอาทิตย์ เว้นอาทิตย์)

คู่ไหน พื้นด้านหน้าสึก จะเปลี่ยนแค่พื้นหน้า ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งหมด ราคาประมาณ ๑๒๐ บาท ถ้าเปลี่ยนทั้งหมด ๓๕๐ บาท ประหยัดค่าใช้จ่าย ครึ่งต่อครึ่ง

เมื่อก่อนไม่รู้ ว่ามีการเปลี่ยนแบบนี้ได้ รองเท้าเจ้านาย มีน้อยคู่ ชอบนั่งยอง พื้นตรงกลางจะหัก ต้องเปลี่ยนทั้งชุด

พอมีหลายคู่ ไว้ใส่สลับเปลี่ยน การใช้งาน ก็นานมากขึ้น

กว่าจะรู้ว่า ทำยังไง การใช้งานรองเท้า ถึงจะคุ้มค่าเงินที่จ่ายไป กว่าจะรู้ ก็เสียไปหลายตังค์ อยู่เหมือนกัน

วันศุกร์(วันไปรเวท) จะมี ๖ คู่

เสาร์-อาทิตย์ จะมี ๔ คู่

กาเกงในเจ้านาย วลัยพร จัดการให้หมด ของใหม่ มีทั้งหมด ๓๐ ตัว ของเก่าไม่ทิ้ง ๓๐ ตัว สภาพยังใช้งานได้อยู่ ไม่ทิ้ง เก็บสำรองไว้ ใส่สลับกัน

คือ พอของใหม่หมด เปลี่ยนเป็นชุดเก่าขึ้นแทน ใช้จนกว่าจะหมด นำของเก่า มาสลับใช้ต่อ

ฉะนั้น กางเกงในของเจ้านาย จึงดูใหม่อยู่เสมอ ไปไหน จะได้ไม่อายเขา เพราะใส่กางเกงในหูย้วย(ของเก่า ก่อนที่วลัยพร จะม่อยู่กับเจ้านาย มีสภาพแบบนั้น วลัยพรนำไปตัดแต่ง เย็บต่อเป็นผ้าถูพื้น)

เพราะเวลาเจ้านายไปทำงานต่างจังหวัด อาจมีอยู่ค้าง ควรเตรียมตัวให้พร้อม คือ ตัวเองเคยใส่แบบนั้นเหมือนกัน ของเก่า ใส่สบายดี ก็แค่ใส่อยู่บ้านเองนิ

พอดีตากกางเกงในไว้หน้าบ้าน ของเก่า ขอบมันก็ย้วย โดนแซวว่า ดูสิ ใส่กางเกงในหูย้วย นี่ได้มาจากประสพการณ์ของตนเอง เลยไม่อยากให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก

สภาพแวดล้อม สถานที่อยู่ของแต่ละคน ล้วนแตกต่างไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำกันมา และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆๆ

แฮปปี้แลนด์ สมชื่อกับแฮปปี้แลนด์จริงๆ อยู่แบบพอเพียง ทั้งเสื้อผ้ามือสอง กางเกงยีนส์ รองเท้ามือสอง สภาพที่จะได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

วลัยพร ชอบทำทาน ทั้งอาหาร และเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ผลที่ได้รับคือ ถึงจะเป็นมือสอง แต่สภาพของที่ได้มา ใหม่กิ๊ก เป็นเหตุให้ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะมากก ไม่ต้องจ่ายแพงกว่าที่คิด

อาหารการกิน สะดวก สบายทุกอย่าง เพราะ อยู่ใกล้ตลาด

ยิ่งทำความเพียร สติยิ่งทันความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น มากขึ้น เพราะเหตุนี้ ค่าใช้จ่ายต่างๆภายในครอบครัว จึงลดลงไปเรื่อยๆ

จะหยิบ จะจับอะไร สติทันมากขึ้น จิตมีคิดพิจรณาก่อนที่จะซื้อทุกครั้งว่า จำเป็นมากไหม ในการจับจ่ายสิ่งนั้น ค่าใช้จ่าย จึงลดลงเพราะเหตุนี้

ทุกข์ เห็นทำ – เสียก่อนได้

ต้องเจอทุกข์ก่อน จึงจะรู้วิธีการกระทำ ที่จะ ดับเหตุแห่งทุกข์

ต้องเสียใจก่อน เสียใจในความประมาทพลาดพลั้ง ที่หลงกระทำลงไป เพียงอารมณ์ชั่ววูบของความหลง ที่ครอบงำอยู่

ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น ของแต่ละคน ทุกข์มาก ทุกข์น้อย นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ของใคร ของมัน เป็นปัจจัจตัง

สิ่งที่เรียกว่า สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเกิดจาก การกระทำของตัวเองทั้งนั้น ทั้งที่เคยทำไว้ในอดีต และปัจจุบัน ที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆขณะ ที่เกิดจาก ความรู้สึกนึกคิด

ข้าวของเครื่องใช้ ก็เหมือนกัน ต้องเสียก่อน คือ เสียเงินค่าโง่ไปก่อน(ความไม่รู้) ก่อนที่จะรู้วิธีการใช้งานของสิ่งนั้น ให้คุ้มค่า คุ้มราคาเงินที่จับจ่ายไป

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว

ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อย่างนี้.

[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ?
ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า

แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็ก
กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่
ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต
เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาส ครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้วชื่อว่า เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว

มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้น ย่อมละได้

อริยสาวกนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อัน
สีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็น
เครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อม
ละได้. อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ
กามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้ง
อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้. อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาท
ครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความ
เป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

             



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2814&Z=2961

รู้ให้ทัน หยุดให้ทัน

รู้ให้ทัน หยุดให้ทัน

จากการไปปฏิบัติ ที่สถานปฏิบัติธรรม พระธรรมโมลี ปากช่อง เขาใหญ่ ในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ควรกระทำให้มากขึ้นคือ รู้ให้ทัน หยุดให้ทัน

เรื่องราวของการทำความเพียร ไม่มีอะไรเลย แต่ที่มีมากที่สุด คือ ใจ นี่แหละ ถ้ารู้ไม่ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น(กิเลส) นอกจาก ความคิดที่เกิดขึ้นแล้ว ยังก้าวล่วงออกไปทางวจีกรรม กายกรรมอีก

ผลกระทบกลับมาคือ การกระทำนั้นๆ หรือ ความคิดนั้นๆ ส่งผลกลับมา ขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่ เรียกว่า ถูกนิวรณ์เล่นงาน จนอ่วมอรทัย แทบจะหอบกระเป๋ากลับบ้าน
ถือคำพูด

เกือบทำแบบนั้นจริงๆ อยากจะหอบกระเป๋ากลับบ้านในวันนั้น ทันที แต่เพราะได้บอกพระอาจารย์ ล่วงหน้าไว้แล้วว่า จะกลับวันจันทร์ กลัวถูกว่า เป็นคนโลเล เลยไม่กล้าทำตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

สภาวะมาสอน

เมื่อทำความเพียรต่อ จิตคิดพิจรณาตลอด ภาพแต่ละเหตุ แต่ละขณะ ผุดขึ้นมาต่อเนื่อง

สภาวะตามความเป็นจริง รู้ดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ถ่าย ฯลฯ

จากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน เมื่อมาพบเจอกัน ความยึดติดในรู้ ที่มีอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ใจไปคิดแทนเขา ยามที่เห็นการกระทำของเขา

เห็นเขาตักอาหารเต็มถาด หลุมที่มีอยู่ แทบจะไม่พอใส่ ใส่จนล้น อาหารเวลาจะหยิบ เลือกแล้ว เลือกอีก คนแล้วคนอีก หยิบอาหารแบบ ไม่นึกถึงคนที่เหลืออยู่ว่า คนข้างหลัง จะมีกินพอไหม

ตัวเหตุ

สิ่งที่เกิดขึ้น ถูกสะสมเชื้อ มาตั้งแต่วันแรกเจอกัน ภาพการไม่กำหนดในการหยิบ ตัก กิน ปริมาณอาหารที่ล้นถาด แต่เขาก็กินจนหมด ไม่มีเหลือ และยังไปหาของกินเพิ่มอีกที่ข้างบน ตรงที่มีน้ำปานะ จัดตั้งไว้

ขนมเป็นเหตุ

วันที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ วันที่มีขนมเปี๊ยะกุหลาบ ชิ้นเล็กๆ มีชิฟฟ่อนเค้ก มีหลายคน หยิบแบบไม่คิดถึงคนข้างหลัง หยิบใส่ล้นหลุม

พอมาถึงเรา และมีคนต่อจากเราอีกสองคน ขนมหมดเกลี้ยง เหลือแต่กล้วยน้ำว้า ตอนนั้นแหละ ปริ๊ดทันที เก็บเอาไว้ในใจ

น้ำปานะก็เหมือนกัน พฤติกรรมจากคนเดิม แม้แต่ของพระ ก็ไม่เว้น น้ำปานะ ที่โยมนำมาใส่กล่องไว้ สำหรับพระ คนนี้กลับหยิบเอามากินแบบไม่ต้องคิด

แถมน้ำปานะนั้น หลังเที่ยงไม่ควรกิน เพราะ เป็นพวกธัญญาพืชแบซอง ที่มีส่วนผสมที่ต้องเคี้ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด ถึงแม้จะบดละเอียดมาแล้วก็ตาม

ใจมีคิด เมื่อมีคิด เหตุมี ผลย่อมมี ขณะปฏิบัติ ภาพต่างๆผุดขึ้นมา เดินก็รู้เท้าไม่ค่อยชัด เพราะไปคิดเรื่องอื่นมากกว่า เวลานั่ง ก็นั่งไม่ได้ มีแต่ความคิด ทนอยู่จนหมดเวลา ใจอยากกลับบ้าน
ใจปล่อยวาง

การคิดพิจรณา ในสิ่งที่ติดอยู่ พยายามที่จะละ แค่ดับไปชั่วคราว ตราบใดที่ยังมีเชื้อ ก็เกิดขึ้นมาใหม่อีก รู้สึกฟุ้งซ่าน

ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง มุ่งดับเหตุของการเกิดมาตลอด ผลส่งกลับมา มีน้องคนหนึ่ง มาใหม่ เวลากินข้าว เขาจะกินแบบไม่สนใจใคร กินเอิ่ม ก็ลุก อยากคุยก็คุย ไม่สนใจใคร(ตามภาพที่มองเห็น)

เมื่อมาปฏิบัติ ภาพของน้องผุดขึ้นมา พร้อมกับภาพที่ติดอยู่ เรื่องการกินของอีกคน สองภาพ แตกต่างอย่างสิ้นเชิง

ภาพคนแรก กินแบบไม่คิดอะไร

ภาพคนที่สอง กินแบบไม่คิดอะไร กินในแบบของเขา เพราะเรามีเหตุปัจจัยกับเขา จึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของเขา แต่เราดันไปคิดแทนว่า จะต้องทำแบบนั้น แบบนี้ จึงจะส่งผลเร็ว ต่อการปฏิบัติ

ภาพคนแรกผุดขึ้นมาอีก เขาไม่สนใจใคร กินๆแล้วก็ไป

จิตเกิดการปล่อยวางลงทันที นี่แหละ ทุกข์เพราะคิด

วันต่อๆมา เมื่อกระทบกับบุคคลเดิม ใจว่างเปล่า ไม่มีความรู้สึกหรือความคิดใดๆกับเขาอีก มันเป็นเรื่องเหตุปัจจัยของแต่ละคน

นี่แหละ คิดให้ตาย คิดเพื่อจะหยุด กลับหยุดคิดไม่ได้

จนกว่า จิตจะเห็นความจริงแบบแจ่มแจ้ง จนเกิดการปล่อยวางโดยตัวของจิตเอง ทุกสิ่งหายวั๊บไปกับตา ไม่มีเหลือเชื้อให้เกิดขึ้นอีก ใจกลับมาปกติ

ไม่หักดิบ

การไปครั้งนี้ ทำให้เห็นความอยากที่เนียนมากขึ้น อยาก แต่ไม่รู้ว่าอยาก คิดว่ารู้ จึงทำ อยากได้สภาวะเดิมๆกลับคืน รู้ว่า ควรทำอย่างไร จึงคิดหักดิบ

ผลคือความพลั้งเผลอ ที่ยังมีอยู่ ผลกระทบส่งกลับมาที่เวลาปฏิบัติ มีแต่ความคิด จิตจึงตั้งมั่นได้ยาก เพราะโดนนิวรณ์เล่นงาน

ความเผลอ

ทุกๆการกระทำ ต้องรู้ให้ทัน เพราะยังไม่ทัน การสร้างเหตุใหม่ ให้เกิดขึ้น จึงเกิดทันที แค่คำพูด ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ควรกระทำก็ตาม

พี่ที่พักอยู่ด้วยกัน มีเหตุให้เขาอยู่ต่อไม่ได้ ขอกลับก่อนกำหนด เราก็บอกกับพี่ว่า พี่อยู่ต่อไม่ได้จริงๆหรือ น่าจะอยู่นะ ให้อภัยพี่อีกคนไปเถอะ อย่าถือโกรธขนาดนั้นเลย

พี่ตอบว่า ไม่เอา อยู่ไม่ได้จริงๆ น้องไม่มาเป็นพี่ น้องไม่รู้หรอก

เราก็บอกว่า พี่ไปห่วงพี่เขามากไป จนเอามาเป็นภาระให้กับตัวเอง ก็เลยเป็นแบบนี้ เขาจะกินยังไง ก็เรื่องของเขา

ผลกลับมา

กรรมนี่ทันตานะ หลังจากพี่เขากลับไป สองวันต่อมา วลัยพรเจอทันที ผลคือ แทบจะหอบกระเป๋ากลับบ้านเหมือนกัน ถ้าไม่ติดว่า บอกพระอาจารย์ไว้แล้วว่า จะกลับวันจันทร์ ไม่งั้น กลับจริงๆ

ทนอยู่ต่อ ปฏิบัติก็ห่วยแตกสุดๆ เห็นแต่ทุกข์ มีแต่ความคิด ฟุ้งซ่านมากๆ เห็นชัดเลย อาการอยากหอบกระเป๋ากลับบ้าน เป็นปัจจัจตังจริงๆ เหมือนที่พี่เขาพูดไว้ น้องไม่มาเป็นพี่ น้องไม่รู้หรอก

จบ

สองวันต่อมา เจอเหตุให้ ทำให้มีสติ ดับเหตุเก่าที่มีอยู่ลงไปได้ ใจกลับมาปกติ การทำความเพียร เป้นไปได้แบบสบายๆ

ใจกลับมาคิดอีก อยากอยู่ต่อ ไม่อยากกลับ แต่สติบอกว่า ไม่เที่ยงหรอก กลับดีกว่า แล้วเริ่มต้นใหม่อีก
ไม่มีอะไร

กลับมาตั้งสติใหม่ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของสิ่งๆนั้น มันไม่มีอะไร ที่มีเพราะเรามีเหตุปัจจัยร่วมกับเขา

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ผู้ที่เจอสภาวะความตาย(สมุจเฉทประหาน) เมื่อหลุดออกมาจากสภาวะนั้นแล้ว

จะมีอาการแบบนี้ เหมือนกันหมดทุกคน คือ จิตทรงฌาน ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

เพราะไม่รู้ชัดในสภาวะ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ไม่รู้ว่า หลังจากเจอสภาวะความตาย จะมีสภาวะใดเกิดขึ้นต่อ

สภาวะนี้ เหมือนตัวเอง เป็นหุ่นยนต์ อะไรที่มากระทบ กระเด้งออกหมด จิตเป็นอัตโนมัติ สิ่งที่มากระทบ เป็นความว่างเปล่าไปหมด ไม่มีอะไรเลย

จิตเป็นสมาธิตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด หรือ ทำอะไรอยู่ก็ตาม

สภาวะนี้ ถ้าขาดความรู้ชัดสภาวะ ทำให้หลงสภาวะได้ หลงคิดว่า เป็นพระอรหันต์

เหตุจาก อะไรกระทบมา ล้วนว่างเปล่า มองต้นไม้ มองคน เห็นแต่ความว่างเปล่า ไม่มีคำว่า ต้นไม้ ชาย หญิง ปรากฏ มีแต่ความว่างเปล่า ปรากฏขึ้นแทน

จนกว่า สภาวะปัจจเวกขณญาณ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง ของกิเลส ที่ยังมีอยู่

เหตุที่สภาวะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำให้เห็นทุกสิ่งว่างเปล่า อะไรกระทบมา กระเด้งออกหมด อาการเหมือน คนหมดกิเลสแล้ว

ที่เป็นแบบนี้ เกิดจาก กำลังของสมาธิ ที่เกิดจากสภาวะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

กำลังสมาธิที่มีกำลังมาก จึงบดบังสภาวะ เป็นเหตุให้ ไม่สามารถ รู้ชัดในสภาวะตามความเป็นจริง ของกิเลส ที่มีอยู่ และเป็นอยู่

จนกว่า สภาวะปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้น(สมาธิเสื่อม สมาธิหายไปหมดเกลี้ยง ไม่มีเหลือสักนิด)

เมื่อนั้น จึงจะรู้ชัดในสภาวะที่ตนยังมีอยู่ ตามความเป็นจริง

นี่เป็นตัวอย่างของของผู้ที่เจอสภาวะความตายมาแล้ว ๑ ครั้ง   จิตที่ทรงฌาน ได้แก่ สภาวะ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังคงอยู่

ปัจจเวกขณญาณยังไม่เกิด สภาวะเลยเป็นแบบที่ท่านเล่ามาทั้งหมด

ดีนะ ที่ท่านนำมาเล่าตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

เป็นเหตุให้ วลัยพร นำมาหยิบยกเป็นตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ว่า สิ่งที่วลัยพรเขียนๆมาตลอด

ยังมีผู้อื่น ที่มีสภาวะความตายเกิดขึ้น เหมือนที่เกิดขึ้นกับวลัยพร

 

ฟังไปเรื่อยๆ ฟังให้หมด ท่านพูดสภาวะ ลักาณะอาการที่เกิดขึ้น แบบเป๊ะๆ

วลัยพร เจอมาแล้ว จึงรู้ชัดในสภาวะที่ท่านนำมาอธิบาย

 

http://www.youtube.com/watch?v=YFUztvh6bPs&list=PL98F1054F04FFFAEA

การกล่าวโทษกัน

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงเกิดการพยาบาท อาฆาต จองเวรซึ่งกันและกัน

ฝ่ายที่ถูกกระทำ กับ ฝ่ายที่ลงมือกระทำ ใครผิด ใครเลวกว่ากัน

ทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด ไม่มีใครดีกว่าใคร ไม่มีใครเลวกว่าใคร แต่เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

ที่กล่าวว่า ถูก ผิด ดี ชั่ว กุศล อกุศล บาป บุญ คุณ โทษ ล้วนเกิดจาก ความนำตัวตนที่มีอยู่(ตัวกู ของกู) ให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้น

เหตุจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงมักกล่าวโทษนอกตัว เพราะ มรึงๆๆๆๆ มากกว่าที่จะกล่าวโทษตัวเองว่า เพราะกรูๆๆๆๆๆ

ถ้ารู้แล้ว จะไม่กล่าวโทษใคร มีแต่การกล่าวโทษตัวเอง เพราะเหตุอย่างนี้ๆๆๆๆ จึงมีผลเป็นเช่นนี้ แล้วกลับมาปรับเปลี่ยน แก้ไขตนเอง ในเหตุปัจจัยที่มีอยู่(อวิชชา)

จะมีแต่ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รู้จักให้อภัยและขออโหสิกรรมต่อกัน ต่อความประมาท ความพลาดพลั้ง ที่มีต่อกัน มากกว่า กล่าวโทษกัน(ใส่ร้ายป้ายสี โยนขี้ให้คนอื่น)

สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ

ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก

(ขุ.ธ. ๒๕/๔๘)

“โทษผู้อื่นเท่าภูเขา โทษของเราเท่าปลายเข็ม

ความปกติ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ทุกวัน ทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่สร้างให้เกิดขึ้นใหม่

ชีวิตสงบ เหตุจาก การสร้างเหตุนอกตัว สั้นลง อยู่กับปัจจุบันมากขึ้น

สุข ที่เกิดจากสมาธิ เกิดขึ้นเนืองๆ เหตุจาก การสร้างเหตุ หยุดนอก รู้ใน

สติ ความระลึกรู้ คือ รู้ตัวก่อน ที่จะลงมือกระทำ

สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว คือ ความรู้สึกตัว ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่

สมาธิ รู้ชัด คือ ขณะที่จิตจดจ่อ รู้อยู่กับกิจที่ทำอยู่

เป็นเหตุให้ เกิดความรู้ชัดลงในกิจที่กำลังทำอยู่

เป็นเหตุให้ สุข สงบ ที่เกิดจากสมาธิ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

สภาวะความตาย

สภาวะความตาย เวลาที่ผู้ปฏิบัติเจอ เจอเหมือนกันหมด บางคนผ่านสภาวะความตายได้ บางคนผ่านไม่ได้ คือ เจอ แต่ผ่านไม่ได้

ตัวอย่าง ผู้ที่ผ่านสภาวะความตาย เจอเหมือนที่วลัยพรเคยเจอ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น เหมือนกันทุกอย่าง   และหลังผ่านสภาวะนั้นมาแล้ว จะเหมือนกันคือ สภาวะที่วลัยพรเรียกว่า สภาวะหุ่นยนต์

สภาวะความตาย ที่ผู้ปฏิบัติ ต้องเจอเหมือนกันหมดทุกคน เกิดจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม จะรู้สึก สัมผัสได้ด้วยตนเอง บางคนมีเสียงเตือนล่วงหน้า บางคนรู้สึกล่วงหน้าว่า จะต้องตาย
หลังผ่านสภาวะนั้นมาแล้ว จะเหมือนกันคือ สภาวะที่วลัยพรเรียกว่า สภาวะหุ่นยนต์ หากไม่รู้ชัดในสภาวะหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสภาวะของ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำให้หลงสภาวะ คิดว่า เป็นสภาวะของพระอรหันต์

คือ อะไรกระทบมา มันกระเด้งออกไปหมด ความรู้สึกทุกอย่างว่างเปล่า เวลาพูดคุย เหมือนไม่ใช่ตัวเองคุย แต่เป็นสภาวะจิตเกิดการตอบโต้ โดยอัตโนมัติ เพราะแบบนี้ จึงทำให้หลง

สภาวะความตายนี้ ไม่ตายจริง แต่เป็นสภาวะที่เรียกว่า สภาวะสมุจเฉทประหาน กิเลสที่เป็นสังโยชน์ จะถูกทำลายลง บางคนเรียกว่า สภาวะนิพพาน วลัยพรเอง ก็เรียกแบบนั้น

แต่โดยเนื้อแท้ของสภาวะคือ เป็นสภาวะสมุจเฉทประหาน ทุกคนเมื่อปฏิบัติต่อเนื่อง ถึงจุดๆหนึ่ง ต้องเจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด บางคนเมื่อผ่านสภาวะความตายนี้มาแล้ว กำลังสมาธิที่มีอยู่ จึงเสื่อมหรือหายไปหมดสิ้น

บางคน เกิดครั้งเดียวและไม่เคยเกิดอีกเลย ก็คิดว่า ไม่มีแล้ว สังโยชน์มีตั้งเท่าไหร่ ต้องเกิดถึง ๓ ครั้งนะ เพียงแต่ จะผ่านไปได้ไหม เท่านั้นเอง

ในตำราของพม่า จะเขียนอธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่า เหมือนสายฟ้าฟาด ขาดสะบั้นๆ จริงๆแล้ว ไม่ขาดสะบั้นหรอก เพราะ วิจิกิจฉายังมีอยู่ แต่ไม่รู้ว่ามี เพราะ ไม่สงสัยในนิพพาน ก็เลยคิดเอาเองว่า วิจิกิจฉาไม่มี ถูกทำลายหมดแล้ว แท้จริง ยังมีอยู่ เพียงแต่ ไม่รู้ว่ามี

เพราะ อธิบายสภาวะนิพพาน ที่ปฏิบัติให้เห็น เป็นรูปธรรมไม่ได้ คือ ไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่สามารถ ปฏิบัติตามได้ มีแต่กล่าวไปตามปริยัติที่มีปรากฏอยู่

การที่ผ่านสภาวะความตายนี้มาแล้ว เหมือนกับได้เกิดใหม่ แต่เป็นการเกิดที่ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ การเกิดเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร สั้นลง

คือ อาจจะเกิดอีก แต่การเกิด สั้นลง อาจจะไปเกิดข้างบน หรือ อาจจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือ อาจจะกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ในชาตินี้(พระอรหันต์)

บางคน อาจจะมีสภาวะสัญญาเกิดขึ้น รู้แจ้งใน สภาวะนิพพาน สภาวะปฏิจจสมุปบาท สภาวะโยนิโสมนสิการ(ไม่ใช่ที่นำมาพูดๆสอน กันในทุกวันนี้ แต่มีส่วนคล้ายคลึงนิดหน่อย แต่ไม่ตรงกับสภาวะ)

แต่บางคน เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน สอนคนอื่นไม่ได้ หรือ แนะนำคนอื่น ที่มีการใช้คำบริกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างจากตนไม่ได้ จะแนะนำได้เฉพาะในแบบ ที่ตนเอง ทำได้

เช่น ใช้พุทโธ ก็จะสอนแบบพุทโธ สอนแบบพองหนอ ยุบหนอ ไม่ได้ หรือ ใช้พองหนอ ยุบหนอ จะสอนแบบ ใช้พุทโธไม่ได้ ไปเปลี่ยนรูปแบบบริกรรมคนอื่นหมด คือ ต้องตรงกับวิธีที่ ตนเอง เคยทำมา จึงจะแนะนำได้ ไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะต่างๆ แบบครอบคลุม

บางคนรู้ครอบคลุม แต่ไม่คิดสอนใคร ก็มีอยู่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคน

เรื่องการปฏิบัติ ไม่ต้องไปถึงพม่าหรอก เมืองไทยนี่แหละ ทำได้เหมือนกันหมด เห็นผล เหมือนกันหมด ทีนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำกันมา และที่ทำขึ้นมาใหม่

 

สภาวะสมุจเฉทประหาน

สภาวะความตายของผู้ปฏิบัติ จะแตกต่างกับสภาวะความตายของคนทั่วๆไป ที่ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย คนละเรื่อง คนละสภาวะกัน

สภาวะความตาย ที่ผู้ปฏิบัติ ต้องเจอเหมือนกันหมดทุกคน เกิดจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม จะรู้สึก สัมผัสได้ด้วยตนเอง บางคนมีเสียงเตือนล่วงหน้า บางคนรู้สึกล่วงหน้าว่า จะต้องตาย

บางคนผ่านสภาวะความตายแล้ว อาการเหมือน ทารกที่คลอดออกจากท้องแม่ แต่ไม่ได้คลอดแบบนั้น เกิดทางจิต เมื่อหลุดออกมาจากสภาวะความตาย บางคน สมาธิยังคงมีอยู่

บางคน สมาธิเสื่อม คือ หายไปหมดสิ้น ต้องเริ่มต้นทำใหม่ แต่ไม่ต้องใช้คำบริกรรม ที่เป็นบัญญัติต่างๆ เหตุจาก จิตละสภาวะบริกรรมที่เป็นบัญญัติ ได้อย่างเด็ดขาด จะกำหนดอย่างไร ก็ไม่ขึ้น เหมือนกำหนดลงไปในความว่าง

เวลาเดิน ก็รู้ว่าเดิน รู้เท้าชัดทุกย่างก้าวที่เดิน เวลานั่งสมาธิ รู้ลมหายใจเข้าออกปกติ รู้ท้องพองยุบปกติ จิตจะเป็นสมาธิเอง โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรม

ส่วนการกำหนด ในบางครั้ง มีใช้อยู่บ้าง หากสติหย่อน ไม่ทันกับสภาวะที่เกิดขึ้น บางครั้งไม่ใช้ จะแค่รู้ สภาวะที่เกิดขึ้นภายใน จะดับหายไปเอง โดยไม่ต้องกำหนด

สภาวะความตายนี้ ไม่ตายจริง แต่เป็นสภาวะที่เรียกว่า  สภาวะสมุจเฉทประหาน กิเลสที่เป็นสังโยชน์ จะถูกทำลายลง บางคนเรียกว่า สภาวะนิพพาน วลัยพรเอง ก็เรียกแบบนั้น แต่โดยเนื้อแท้ของสภาวะคือ เป็นสภาวะสมุจเฉทประหาน

ทุกคนเมื่อปฏิบัติต่อเนื่อง ถึงจุดๆหนึ่ง ต้องเจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด บางคนเมื่อผ่านสภาวะความตายนี้มาแล้ว กำลังสมาธิที่มีอยู่ จึงเสื่อมหรือหายไปหมดสิ้น บางคนก็ไม่เสื่อม ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคน

ในตำราของพม่า จะเขียนอธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่า เหมือนสายฟ้าฟาด ขาดสะบั้นๆ จริงๆแล้ว ไม่ขาดสะบั้นหรอก เพราะ วิจิกิจฉายังมีอยู่ แต่ไม่รู้ว่ามี เพราะ ไม่สงสัยในนิพพาน ก็เลยคิดเอาเองว่า วิจิกิจฉาไม่มี ถูกทำลายหมดแล้ว แท้จริง ยังมีอยู่ เพียงแต่ ไม่รู้ว่ามี

เพราะ อธิบายสภาวะนิพพาน ที่ปฏิบัติให้เห็น เป็นรูปธรรมไม่ได้ คือ ไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่สามารถ ปฏิบัติตามได้ มีแต่กล่าวไปตามปริยัติที่มีปรากฏอยู่

การที่ผ่านสภาวะความตายนี้มาแล้ว เหมือนกับได้เกิดใหม่ แต่เป็นการเกิดที่ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ การเกิดเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร สั้นลง คือ อาจจะเกิดอีก แต่การเกิด สั้นลง อาจจะไปเกิดข้างบน หรือ อาจจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือ อาจจะกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ในชาตินี้(พระอรหันต์)

บางคน อาจจะมีสภาวะสัญญาเกิดขึ้น  รู้แจ้งใน สภาวะนิพพาน สภาวะปฏิจจสมุปบาท สภาวะโยนิโสมนสิการ(ไม่ใช่ที่นำมาพูดๆสอน กันในทุกวันนี้ แต่มีส่วนคล้ายคลึงนิดหน่อย แต่ไม่ตรงกับสภาวะ)

แต่บางคน เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน สอนคนอื่นไม่ได้ หรือ แนะนำคนอื่น ที่มีการใช้คำบริกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างจากตนไม่ได้ จะแนะนำได้เฉพาะในแบบ ที่ตนเอง ทำได้

เช่น ใช้พุทโธ ก็จะสอนแบบพุทโธ สอนแบบพองหนอ ยุบหนอ ไม่ได้ หรือ ใช้พองหนอ ยุบหนอ จะสอนแบบ ใช้พุทโธไม่ได้ ไปเปลี่ยนรูปแบบบริกรรมคนอื่นหมด คือ ต้องตรงกับวิธีที่ ตนเอง เคยทำมา จึงจะแนะนำได้ ไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะต่างๆ แบบครอบคลุม

ที่สำคัญ ส่วนมาก เท่าที่อ่านเจอ   เมื่อผ่านสภาวะความตาย มาได้ จะติดแหงกอยู่แค่ตรงนี้ สภาวะความตายที่ยังมีเกิดขึ้นอีก บางคน เกิดครั้งเดียวและไม่เคยเกิดอีกเลย ก็คิดว่า ไม่มีแล้ว สังโยชน์มีตั้งเท่าไหร่ ต้องเกิดถึง ๓ ครั้งนะ

ครั้งแรก จะผ่านแบบ ไม่รู้ว่า คืออะไร มีหลงสภาวะกันเหมือนกันนะ วลัยพร ก็เคยหลง หลงไปไกลเลย พอเจอสภาวะกิเลส หายไปหมดสิ้น นั่แหละจึงจะรู้ว่า กิเลสที่มี ยังมีอยู่ เมื่อก่อนไม่รู้ว่ามี คือ อะไรกระทบมา มันกระเด้งออกไปหมด ความรู้สึกทุกอย่างว่างเปล่า เวลาพูดคุย เหมือนไม่ใช่ตัวเองคุย แต่เป็นสภาวะจิตเกิดการตอบโต้ โดยอัตโนมัติ เพราะแบบนี้ จึงทำให้หลง

พอเจอสภาวะความตายอีก ความที่ว่า รู้สภาวะแล้ว จะมีความยินดีเกิดขึ้น ห้ามไม่ได้เลยนะ เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก เจอกิเลสแทรกแบบนี้ ผ่านไม่ได้อีก ต้องเจอถึง ๓ ครั้งเหมือนกันหมด เขาถึงบอกไง ต้องตายก่อน(ในสภาวะ) ที่จะตายจริงๆ(ในชีวิต)

บางคนรู้ครอบคลุม แต่ไม่คิดสอนใคร ก็มีอยู่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคน

สภาวะนิพพาน วลัยพรได้เขียนแยกหัวข้อไว้แล้ว หากใครสนใจอ่าน  ดูด้านขวามือ คลิกที่หัวข้อ นิพพาน และ สภาวะนิพพาน

เรื่องการปฏิบัติ ไม่ต้องไปถึงพม่าหรอก เมืองไทยนี่แหละ ทำได้เหมือนกันหมด เห็นผล เหมือนกันหมด ทีนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำกันมา และที่ทำขึ้นมาใหม่

Previous Older Entries

พฤศจิกายน 2013
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930  

คลังเก็บ