โอภาส

24-02-18

นึกถึงน้องคนหนึ่ง ที่เคยขอคำแนะนำสภาวะต่างๆกับเรา
ในตอนนั้น เขาติดอยู่สภาวะหนึ่ง

ความที่ว่า เขามีศรัทธามาก อยากให้เราไปบ้านเขา
เขาจะส่งตั๋วเครื่องบินไป-กลับมาให้

เราบอกว่า ไม่ชอบเดินทาง คุยผ่านทางโทรฯก็พอแล้ว
เขาบอกว่า ร้านของเขาทำยาน้ำขาย เขาขอส่งยามาให้เรา
ยานั้นจะคล้ายๆยาสตรีเพ็ญภาค

เราบอกว่า ไม่เอา แต่เขาไม่ยอม ส่งมาให้หลายลัง มีรถมาส่งถึงบ้าน
เราตอบขอบคุณเขาไป และบอกเขาว่า ขอนำยานั้นไปทำทานกับคนอื่นๆ เรานำไปแจกให้กับคนในหมู่บ้าน ส่วนตัวเรา ไม่เอาไว้สักขวดเดียว ขึ้นชื่อว่ายา ไม่ชอบกิน โดยเฉพาะยาน้ำ

.
ความอยากรู้ อยากเห็น ทำให้ติดอุปกิเลสได้เหมือนกัน

ในตอนนั้น สภาวะของน้องเขา จะคล้ายๆสภาวะที่เราเป็นอยู่
คือ เข้าใจผิดเรื่องโอภาส ยังไม่รู้ว่าโอภาสเกิดจากกำลังของสมาธิ

เราพยายามปฏิบัติเพื่อละโอภาส ไม่อยากให้โอภาสเกิด
เพราะคิดว่า ถ้าโอภาสเกิด หมายถึงติดอุปกิเลส

ส่วนน้อง น้องสงสัยว่า โอภาสที่เกิดขึ้นคืออะไร
พยายามหาคำตอบทุกทาง

มีญาติของน้อง มาเจอน้อง ได้พูดคุยกันเรื่องสภาวะที่เป็นอยู่
ญาติของน้องบอกว่า เข้าถึงความเป็นอริยบุคคล
ที่สำคัญ น้องเชื่อในสิ่งที่ญาติพูด

สำหรับเราเมื่อได้ฟัง เราไม่ได้คุยกับน้องอีก
ก็คนที่ปักใจเชื่อไปแล้ว จะไปพูดหรือแนะนำอะไรได้อีก

หลังจากนั้นมา เราสองคน ต่างคนต่างเดินคนละทาง

เตโชกสิณ(ตอบคำถาม)

จากสภาวะที่นำมาถาม “การเข้าสู่ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ต้องมีสติมากพอ ที่จะไม่ดิ่งดับหายไป จนขาดความรู้ตัว”

สภาวะนี้เกิดจากการทำสมาธิจนจำสภาวะได้แม่นยำ แล้วจึงปรับอินทรีย์ ระหว่างสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์ แล้วตัวสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นเอง เป็นเหตุให้มีความรู้สึกตัวในขณะที่จิตเป็นสมาธิ

คำถามต่อมา ” การทำสมถะกรรมฐาน โดยอาศัยเตโชกสิน จนได้ฌาน พอเข้าเตโชกสิณ กระทั่งเห็นภาพกสิณแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ”

การฝึกเตโชหรือแม้กระทั่งการทำกรรมฐานในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเกิดจากสัญญาเก่าหรือเหตุที่เคยทำมา คนที่เคยมีสัญญาเก่าติดตัวมา สามารถฝึกเองได้โดยไม่ต้องมีพี่เลี้ยงกำกับ

แต่จะพบปัญหาในเรื่องสภาวะที่ไปต่อไปไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อ บางคนติดอยู่กับสิ่งที่ได้พบ ได้รู้เพราะกำลังของสมาธิเป็นเหตุ

เมื่อฝึกเตโช จนชำนาญ เรียกว่านิมิตภาพหรือแสงสว่างนั้นติดตา ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา จะสามารถเห็นภาพนั้นได้ดังใจนึก หลายๆคนจะติดอยู่ที่สภาวะนี้ ติดกับสิ่งที่ได้รู้เห็นประหลาดๆ

วิธีไปต่อ คือ ปรับอินทรีย์ค่ะ ปรับสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์ ให้เดินก่อนที่จะนั่งทุกครั้ง ครั้งแรกให้ตั้งเวลาเดินกับนั่งเท่าๆกัน แล้วสังเกตุดูเรื่องความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

เวลาเป็นสมาธิ มีโอภาส ไม่สามารถรู้ชัดในกายส่วนอื่นๆได้ คือเห็นแต่แสงสว่าง แต่ไม่อาจรู้ชัดในกายส่วนอื่นๆได้ ให้เพิ่มเวลาเดินให้มากกว่านั่ง เพิ่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความรู้สึกตัวขณะจิตเป็นสมาธิ

ส่วนโอภาสที่เกิดขึ้น เกิดความรู้สึกนึกคิดอะไรอย่างไร รู้ไปตามนั้น ไม่ต้องไปอยากให้เกิดต่อ หรืออยากทำให้หายไป โอภาสเป็นเรื่องปกติของสมาธิ แต่ผิดปกติทันที ถ้าไปยึดติดกับสิ่งที่เห็น

๑ พย.

คำถาม

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมกำลังนอนคว่ำบนเตียงเพื่อทำความเข้าใจกับบทเรียน ผมท่อง excitation ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ในใจไปเรื่อย ๆ ด้วยจิตใจมุ่งมั่นกับบทเรียน จิตคิดอยากจะไปเที่ยว ผมก็ดึงจิตไว้ไม่ให้จิตไปสนใจเรื่องอื่น ผมยื้อกับความอยากไปเที่ยวนั่นเที่ยวนี่ของจิตได้สักครู่ ก็เกิดความรู้สึกว่าจิตวูบดิ่งไป ทั้ง ๆ ที่ผมลืมตาจ้องและมีสติเต็มร้อย ผมปล่อยจิตให้ดิ่งวูบต่อไปนิดหนึ่งก็รีบถอนจิตออกมา

๑. อาการที่จิตดิ่งวูบเข้าไป ในขณะที่ผมมีสติเต็มร้อย คืออะไรครับ

ปัจจุบันนี้ผมก็มาเริ่มปฏิบัติใหม่ โดยมีความคิดว่า หากจิตดิ่งวูบอีกก็จะปล่อยให้จิตดิ่งวูบ แต่ ………. ฝึกแล้วฝึกเล่าขณะนี้ยังทำไม่ได้ครับ จิตยังไม่นิ่งเลย

๒. ผมเคยฝึก เตโชกสิณ ด้วยการจ้องมองแสงเทียน แล้วหลับตานึกเห็นเปลวเทียน ทำอยู่หลาย ๆ รอบ กระทั่งเห็นเปลวเทียนเปลี่ยนสีไปเป็นสี แดง สีแดงแบบอะไรดีละ อธิบายไม่ถูก สีแดงสดใสมากและเป็นรูปคล้ายใบตะลาปัดที่พระสงฆ์ยกมาบังขณะให้พรนะครับ

ทุกวันนี้พอมองเปลวเทียนแล้วหลับตาก็จะเห็นเป็นดวงสีแดงทันที พอมองนาน ๆ ก็หายไปต้องลืมตามองเปลวเทียนใหม่อีก ฝึกมาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ ยังไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี

ปัจจุบันผมก็อาศัยดวงสีแดงนี่แหละครับสงบจิต มองดูเบา ๆ เฉย ๆ (เคยเพ่งแล้วหลายครั้ง จิตยังไม่ดิ่งวูบ แบบยังฟุ้งซ่านนะครับ) พอดีทราบว่าอาจารย์ฝึกเตโชกสิณสำเร็จกระทั่งได้ฌาณ ก็ขออนุญาตปรึกษานะครับ

๓.ผมเคยคิดว่า จะดูเปลวเทียนกระทั่งหลับตาเห็นดวงสีแดงสดใสแล้ว เพ่ง ๆ ๆ ๆ ดวงสีแดงไม่ให้จิตวอกแวกให้จิตดิ่งวูบที่ดวงสีแดงนี้ จะเป็นการฝึกที่ถูกต้องหรือไม่ ครับ ขออนุญาตสอบถามนะครับทั้ง ๆ ที่ ขณะนี้ยังทำให้จิตมีสมาธิดิ่งวูบไม่ได้

คำตอบ

ก่อนจะตอบคำถามที่นำมาถามทั้งหมด ขอถามก่อนนะคะว่า คุณปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อจะได้แนะนำสภาวะที่คุณควรจะทำต่อไปได้น่ะค่ะ

เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ผมขอตอบอาจารย์ว่า ผมไม่ได้หวังนิพพานในขณะนี้ แต่ผมฝึกปฏิบัติเพื่อต้องการทำความดีให้ได้สมาธิเพื่อที่จะได้เพิ่มพูนปัญญาให้รู้แจ้ง ซึ่งจะรู้แจ้งหรือไม่นั้น ผมยังไปไม่ถึง รู้แต่ว่าผมต้องฝึกเพื่อให้ถึงตรงนั้นนะครับ

ถึงตรงไหนผมก็ยังไม่อาจจะรุ้ได้ในขณะนี้ครับ เพราะจิตยังปฏิบัติไม่ถึงครับ อย่างไรเสียผมก็ต้องปฏิบัตินะครับ ผมมีผลของการปฏิบัติมาบอกอาจารย์ครับ ขออนุญาตบอกนะครับ

คือ อาจารย์คงต้องเคยเกิดอาการสะอึก เวลาเกิดอาการสะอึก อาจารย์ทำอย่างไรให้หายจากอาการสะอึก ผมได้เรียนรู้จากการทำสมาธิพุทธ คือ เวลาเกิดอาการสะอึก ผมจะมองกายในกาย กล่าวคือให้สังเกตดูตรงที่สะอึกว่ามันเกิดอย่างไร

เชื่อมั๊ยครับว่า พอเราเอาจิตมองดูตรงที่สะอึก อาการสะอึกจะหายไปทันทีโดยไม่ต้องไปกินน้ำหรือแกล้งให้ตกใจใด ๆ ทุกท่านที่ผมประสบก็มักสอนวิธีปฏิบัติ แต่ผมขออนุญาตบอกอาจารย์ถึง ผล ของการปฏิบัติเบื้องต้นนะครับ

เอาละ อาจารย์พอจะช่วยอธิบายธรรมที่ผมสงสัยได้แล้วนะครับ

คำถาม อาจารย์คงต้องเคยเกิดอาการสะอึก เวลาเกิดอาการสะอึก อาจารย์ทำอย่างไรให้หายจากอาการสะอึก

ตอบ อับดับแรกแค่ดูค่ะ เกิดอะไรดูไปตามนั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย ส่วนถ้าจะหายหรือไม่หายไม่ได้ใส่ใจ แต่ถ้าทำให้รู้สึกรำคาญก็จะเปลี่ยนอิริยาบทค่ะ โดยการไปดื่มน้ำ คือ ตอบตามตรง ไม่ได้ใส่ใจจริงๆค่ะ

เพราะเมื่อเห็นทุกเรื่องเป็นแค่เพียงสภาวะ เห็นความไม่เที่ยงบ่อยๆ จะไม่ไปหาวิธีการอะไร เพราะรู้ดีว่า เดี๋ยวก็หายไปเอง เกิดเอง หายเอง มันเป็นเรื่องปกติน่ะค่ะ ยกเว้นไปจ้อง อาจะทำให้รู้สึกรำคาญได้ เพราะไปมุ่งหวังเรื่องปฏิบัติมากเกินไป

คำถามที่เคยถาม

เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมกำลังนอนคว่ำบนเตียงเพื่อทำความเข้าใจกับบทเรียน ผมท่อง excitation ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ในใจไปเรื่อย ๆ ด้วยจิตใจมุ่งมั่นกับบทเรียน จิตคิดอยากจะไปเที่ยว ผมก็ดึงจิตไว้ไม่ให้จิตไปสนใจเรื่องอื่น

ผมยื้อกับความอยากไปเที่ยวนั่นเที่ยวนี่ของจิตได้สักครู่ ก็เกิดความรู้สึกว่าจิตวูบดิ่งไป ทั้ง ๆ ที่ผมลืมตาจ้องและมีสติเต็มร้อย ผมปล่อยจิตให้ดิ่งวูบต่อไปนิดหนึ่งก็รีบถอนจิตออกมา

๑. อาการที่จิตดิ่งวูบเข้าไป ในขณะที่ผมมีสติเต็มร้อย คืออะไรครับ

ตอบ เรื่องปกติสำหรับการทำสมาธิ ไม่ว่าจะตั้งใจทำหรือไม่ตั้งใจทำ สามารถเกิดสภาวะนี้ขึ้นได้ และ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอิริยาบทนั่งอย่างเดียว ในอิริยาบทอื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ

ปัจจุบันนี้ผมก็มาเริ่มปฏิบัติใหม่ โดยมีความคิดว่า หากจิตดิ่งวูบอีกก็จะปล่อยให้จิตดิ่งวูบ แต่ ………. ฝึกแล้วฝึกเล่าขณะนี้ยังทำไม่ได้ครับ จิตยังไม่นิ่งเลย

ตอบ เพราะความอยากที่มีอยู่ ต้องการให้เกิด ย่อมไม่เกิด ถ้ารู้ไปตามธรรมชาติของจิตหรือตัวสภาวะ ถ้าจะเกิดสภาวะดิ่งอีก จะเกิดเอง

๒. ผมเคยฝึก เตโชกสิณ ด้วยการจ้องมองแสงเทียน แล้วหลับตานึกเห็นเปลวเทียน ทำอยู่หลาย ๆ รอบ กระทั่งเห็นเปลวเทียนเปลี่ยนสีไปเป็นสี แดง สีแดงแบบอะไรดีละ อธิบายไม่ถูก สีแดงสดใสมากและเป็นรูปคล้ายใบตะลาปัดที่พระสงฆ์ยกมาบังขณะให้พรนะครับ

ทุกวันนี้พอมองเปลวเทียนแล้วหลับตาก็จะเห็นเป็นดวงสีแดงทันที พอมองนาน ๆ ก็หายไปต้องลืมตามองเปลวเทียนใหม่อีก ฝึกมาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ ยังไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี

ตอบ โอภาสมีหลายสี ไม่ได้มีเฉพาะแสงสว่างสีขาวหรือสีแดง สีอื่นๆยังมีอีกมากมาย บางครั้งเห็นเป็นแบบฉัพพรรณรังสี บางครั้งเห็นแบบสายฟ้าฟาด คือมีหลายลักษณะค่ะ

ปัจจุบันผมก็อาศัยดวงสีแดงนี่แหละครับสงบจิต มองดูเบา ๆ เฉย ๆ (เคยเพ่งแล้วหลายครั้ง จิตยังไม่ดิ่งวูบ แบบยังฟุ้งซ่านนะครับ) พอดีทราบว่าอาจารย์ฝึกเตโชกสิณสำเร็จกระทั่งได้ฌาณ ก็ขออนุญาตปรึกษานะครับ

ตอบ เรื่องสภาวะดิ่ง เป็นเรื่องของกำลังสมาธิที่กำลังเกิดอยู่ จะไปเจตนาทำให้เกิดขึ้นมาไม่ได้หรอกค่ะ คุณเพียงแค่รู้ แค่ดู ไม่ต้องไปพยายามเพ่ง หรือพยายามจะทำให้เกิด ยิ่งพยายาม ยิ่งเครียดค่ะ เพราะไม่ได้ดั่งใจ ให้รู้ไปแบบปกติ มีอะไรเกิดก็รู้

๓.ผมเคยคิดว่า จะดูเปลวเทียนกระทั่งหลับตาเห็นดวงสีแดงสดใสแล้ว เพ่ง ๆ ๆ ๆ ดวงสีแดงไม่ให้จิตวอกแวกให้จิตดิ่งวูบที่ดวงสีแดงนี้ จะเป็นการฝึกที่ถูกต้องหรือไม่ ครับ ขออนุญาตสอบถามนะครับทั้ง ๆ ที่ ขณะนี้ยังทำให้จิตมีสมาธิดิ่งวูบไม่ได้

ตอบ เรื่องโภาสสีแดง ตอบไปแล้วนะคะ สำหรับเรื่องการฝึกกสิณ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เหมือนๆกับการภาวนาแบบอื่น แบบอื่นบางครั้งต้องหลับตาภาวนา เพื่อตัดสภาวะรอบนอกออก ไม่ให้จิตไปว่อกแว่กกับภาพที่ผ่านไปผ่านมา

ไม่ทราบว่าคุณเพ่งแต่แสง หรือใส่คำบริกรรมกำกับลงไปด้วยหรือเปล่าคะ ถ้าไม่ได้ใส่ ลองทำแบบนี้ดูนะคะ จิตเป็นสมาธิเร็วดี อันนี้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนด้วยนะคะ

วิธีการทำ

ยังคงใช้แสงเทียนนำทางเหมือนเดิม เพียงแต่ สถานที่ไม่มีลมจริงๆ ลมต้องนิ่ง แสงต้องไม่ซัดส่ายไปมา แสงต้องตั้งตรง มองไปที่แสง ใช้คำบริกรรมว่า เตโชๆๆๆๆพร้อมกับหายใจเข้าออก
สลับกับการหลับตา คือ จำภาพนิมิตหรือแสง แล้วหลับตาลง พร้อมๆกับยังบริกรรมภาวนาว่า เตโชๆๆไปด้วย ถ้าภาพยังไม่ติดตา ให้ลืมตามองไปที่แสงใหม่ ทำสลับไปมาแบบนี้ สภาวะคือ ดู จำ หลับตา ดูจำ หลับตา สลับไปมาแบบนี้

ขณะลืมตา หายใจเข้าภาวนาว่า เต หายใจออก ภาวนาว่า โช พร้อมๆกับมองไปที่แสง จดจำภาพของแสง

ขณะหลับตา หายใจเข้าภาวนาว่า เต หายใจ ภาวนาว่า โช ภาพจะเกิดขึ้นมาเอง หากจิตจดจำภาพของแสงได้ หากยังจำไม่ได้ เวลามอง จะมีแต่ความมืด ถ้าจำภาพได้ จะมีแสงปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ ทำไปแค่นี้ก่อนค่ะ

โอภาส

โอภาสที่เกิดขึ้นจะมีสภาวะตั้งแต่สว่างน้อยๆ จนถึงสว่างมากๆ เจิดจ้า คือหาคำเปรียบเทียบไม่ได้

โอภาสเกิดจากกำลังของสมาธิขณะนั้นๆ ยิ่งสมาธิมากเท่าไหร่ โอภาสยิ่งสว่างมาก

สัมมาสมาธิ

สภาวะสัมมาสมาธิ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

สภาวะที่เกิดขึ้นคือ ขณะที่จิตเป็นสมาธิ ถึงแม้จะมีโอภาส ต่อให้สว่างมากแค่ไหน จะมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นตลอด เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดในความรู้สึก แม้กระทั่งความคิดที่เกิดขึ้น ( จิต ) ตลอดจนรู้ชัดในอาการของกาย

หากเกิดโอภาส แต่ไม่สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้ นั่นเป็นสภาวะของมิจฉาสมาธิ เพราะขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จิตเกิดปัญญาคิดพิจรณาอะไรไม่ได้ เรียกว่ามีสมาธิมากเกินสติ วิธีแก้คือ ปรับอินทรีย์ในสมดุลย์

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ