ราคะ ปฏิฆะ

ราคะ ความกำหนัด ความยินดี พอใจ กามฉันทะ โลภ กามฉันทะ
ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางใจ ความยินร้าย ไม่พอใจ โกรธ พยาบาท
กิเลสหยาบ นิวรณ์
กิเลสกลาง สังโยชน์
กิเลสละเอียด อนุสัย
ราคะ ปฏิฆะ กิเลสแบบหยาบ นิวรณ์
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรุษ
ทำให้ช่วยเบาบางลงไปได้
ราคะ ปฏิฆะ กิเลสแบบกลาง สังโยชน์
อาศัยการทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ช่วยบดบังลงไปได้
ราคะ ปฏิฆะ อนสุัย
อาศัยจากวิมุตติปาริสุทธิที่มีเกิดขึ้นตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ประหานอนุสัยที่มีอยู่ลงไปได้
วิชชา ๑ ประหานกามตัณหา
วิชชา ๒ ประหานภวตัณหา
วิชชา ๓ ประหานวิภวตัณหา


๔ โปตลิยสูตร
เรื่องโปตลิยคฤหบดี
[๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท ในนิคม ของชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ.
ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม.
ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้วภายหลังภัต
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อทรงพักกลางวัน
เสด็จถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง
แม้โปตลิยคฤหบดี มีผ้านุ่งผ้าห่มสมบูรณ์ ถือร่มสวมรองเท้า
เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อนอยู่ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว
ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า
ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้นิ่งเสีย.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีครั้งที่ ๒ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์เชิญนั่งเถิด.
โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดีได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม
พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพเจ้าด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย.

พ. ดูกรคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน
เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น เหมือนคฤหบดีทั้งนั้น.
โป. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง
ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.

ดูกรคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่านตัดขาดแล้วอย่างไรเล่า?
ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้าที่มี เป็นทรัพย์ก็ดี
เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้ามอบให้เป็นมฤดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอน มิได้ว่าเขาในสิ่งนั้นๆ
ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่
ท่านพระโคดม การงานทั้งปวงข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง
ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่ง
ส่วนการตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ เป็นอีกอย่างหนึ่ง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะอย่างไรเล่า
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ มีอยู่ ด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ
[๓๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
๘ ประการเป็นไฉน

คือ ปาณาติบาต
พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์

อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้

มุสาวาท
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์ ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด

ความโลภ
ด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ ด้วยสามารถความกำหนัด

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะความไม่โกรธ ด้วยสามารถแห่งการนินทา

ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้น ด้วยสามารถความโกรธ

ความดูหมิ่น
ท่านพึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความกรุณา
จำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๓๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี
ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต
พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงทำปาณาติบาต
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงทำปาณาติบาต
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่กล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต
พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

อทินนาทานนี้นั้นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากอทินนาทานแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาท
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสา
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

มุสาวาทนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลเว้นจากมุสาวาทแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาพึงละได้
เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้ว
พึงติเตียนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากวาจาส่อเสียดแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
เพราะเหตุสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละเพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย

ความโลภด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
คำนี้เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่งเราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทานั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย

ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงดูหมิ่นท่าน
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงดูหมิ่นท่าน
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์
เป็นตัวนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล
ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

อุปมากาม ๗ ข้อ
[๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว
พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต
นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด
พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ
แล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สุนัขนั้นแทะร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ
เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลียเพราะความหิวได้บ้างหรือ?
ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ
เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๘] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไปแร้งทั้งหลาย
นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย
มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ?
อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไป ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้น
พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นจะถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?
อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๐] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง
เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน
บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา
บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่าอย่างนี้ๆ บ้างหรือ?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุรุษนั้นรู้ว่าเราจักตกลงยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๑] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์
ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ
คือ แก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป
เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด
คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ
ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้
พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆ พึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเจ้าของย่อมจะนำเอาของของตนคืนไปได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๓] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม
ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก
แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้
เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อยมีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก
แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้
ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง
เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้
ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้
เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้ มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก
แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียวและเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้
ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง
เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น
ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า
หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ?
เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ
แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว
อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

วิชชา ๓
[๕๔] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

โปตลิยคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก
[๕๕] ดูกรคฤหบดี ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล
ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านเห็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยประการทั้งปวง ในวินัยของอริยะเห็นปานนี้
ในตนบ้างหรือหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็กระไรๆ อยู่
การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันใด
ข้าพเจ้ายังห่างไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันนั้น

เพราะเมื่อก่อนพวกข้าพเจ้า
ได้สำคัญพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง
ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา
ได้เทิดทูนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่พวกข้าพเจ้าได้สำคัญ
ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ได้คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผล พึงคบหา
ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง
แต่บัดนี้ พวกข้าพเจ้า
จักรู้พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง
จักคบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา
จักตั้งพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง
พวกข้าพเจ้า จักรู้ภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง
จักคบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา
จักเทิดทูนภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ยังความรักสมณะในหมู่สมณะ
ได้ยังความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ
ได้ยังความเคารพสมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล

กามราคะและราคะ

กามราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า ตัณหา
ราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า เวทนา

ในพระสูตร
อนุสยวรรคที่ ๒
อนุสยสูตรที่ ๑
และอนุสยสูตรที่ ๒
ใช้คำเรียกผิด ไม่ตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ในพระสูตรได้แก้ใหม่ให้แล้ว

หากไม่เข้าใจ ให้ศึกษาในพระสุตร
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์
คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


อนุสยสูตรที่ ๑
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ อนุสัย คือ ราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัย คือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัยคือ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล ฯ

อนุสยสูตรที่ ๒
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน
คือ อนุสัย คือ ราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัยคือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัย คือ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล ภิกษุละอนุสัย คือราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ละอนุสัย คือ ปฏิฆะ …
อนุสัย คือ ทิฏฐิ …
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา …
อนุสัย คือ มานะ …
อนุสัย คือ ภวราคะ …
อนุสัย คือ อวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

อันนี้ก็ได้เขียนให้ถูกต้องตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต
ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“สอุปาทิเสส
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ”

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
ได้แก่ ละภวตัณหา(สิ้นภวสังโยชน์)

คำว่า สิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา

คำว่า อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ได้แก่ สมาธินทรีย์ ไม่เสื่อม

“อนุปาทิเสส
ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด”

คำว่า สิ้นกิเลส
ได้แก่ สิ้นตัณหา ๓
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

คำว่า มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
ได้แก่ ละกามภพ ละรูปภพ ละอรูปภพ เป็นสมุจเฉท

ผัสสะ เวทนา

ผัสสะ กามคุณ ๕
เวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

หากไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ทำให้ไม่สามารถไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้
และไม่สามารถกระทำเพื่อดับทุกข์ได้

อริยสัจ ๔ ในที่นี้หมายถึงการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เป็นตัวปัญญา ไม่ใช่สัญญา

กามคุณ ๕ และเวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้

ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

ผัสสะ เวทนา

สภาวะผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

๙. ฉันทราคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕
[๓๗๕] พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ
เธอจงสละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา …
ในสัญญา …
ในสังขาร …
ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณนั้น จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
.
๑๐. ฉันทราคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕
[๓๗๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
รูปนั้น จักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ความเข้าถึง ความยึดมั่นอันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิต
ในเวทนา …
ในสัญญา …
ในสังขาร …
ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณนั้น จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

จึงมาเป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องกามคุณ ๕


สภาวะเวทนาที่มีเกิดขึ้นตามจริง

จากบันทึกที่เขียนไว้ แล้วเลือกเฉพาะสภาวะที่สำคัญ
ฉันทราคะกับกามฉันทะ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นคนละตัวกัน

ฉันทราคะ มีเกิดขึ้นก่อน
ฉันทราคะ ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
จากอุปาทานขันธ์ ๕ มาเป็นอุปาทาน ๔

กามฉันทะ เกิดที่หลัง
ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,
ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
คือผัสสะที่มากระทบ

ผัสสะมากระทบ เวทนาจึงมี
ผัสสะมากระทบ ทำให้เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ(โมหะ)

๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนปฏิฆนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี
ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่สงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่สงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนอศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนเมตตาเจโตวิมุติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตาเจโตวิมุติโดยแยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

ราคะ ความกำหนัด

คำแปล ทำให้เข้าใจผิดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
“ราคะ ความยินดีพอใจในกาม(กามราคะ)”

ตัวสภาวะของคำว่า ราคะ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ผัสสะ เวทนา ตัณหา( กามตัณหา กามาสวะ กามโยค กามราคะ )
ได้แก่ ผัสสะที่มีกระทบ ทำให้เกิดความยินดี พอใจ
ถึงขั้นกำหนัด(ราคะ)คือความอยาก สามารถทำให้ผิดศิล(๕)ได้
โดยมีตัวตัณหา(กามตัณหา) เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำตามใจอยาก

ราคะ
ปฏิฆะ
โมหะ
เป็นเรื่องของสภาวะเวทนา ๓ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

กามคุณสูตร
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯ

๔ โปตลิยสูตร
เรื่องโปตลิยคฤหบดี
[๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท ในนิคม ของชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ.
ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม.
ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้วภายหลังภัต
เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อทรงพักกลางวัน
เสด็จถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง
แม้โปตลิยคฤหบดี มีผ้านุ่งผ้าห่มสมบูรณ์ ถือร่มสวมรองเท้า
เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อนอยู่ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว

ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม
ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้นิ่งเสีย.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีครั้งที่ ๒ ว่า ดูกรคฤหบดี
อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์เชิญนั่งเถิด.
โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม
ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดีได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ดูกรคฤหบดี
อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม
ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม
พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพเจ้าด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย.

พ. ดูกรคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น เหมือนคฤหบดีทั้งนั้น.
โป. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.

ดูกรคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่านตัดขาดแล้วอย่างไรเล่า?

ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้าที่มี
เป็นทรัพย์ก็ดี เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้ามอบให้เป็นมฤดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอน มิได้ว่าเขาในสิ่งนั้นๆ
ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่
ท่านพระโคดม การงานทั้งปวงข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว
โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่ง
ส่วนการตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะอย่างไรเล่า
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ มีอยู่ ด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ
[๓๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
๘ ประการเป็นไฉน

คือ ปาณาติบาต
พึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์

อทินนาทาน
พึงละได้เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้

มุสาวาท
พึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์ ปิสุณาวาจา
พึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด

ความโลภ
ด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้เพราะความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา

ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ

ความดูหมิ่น
ท่านพึงละได้เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ
ดีละ พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความกรุณา
จำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๓๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี
ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต
พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงทำปาณาติบาต
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงทำปาณาติบาต
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่กล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต
พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย

อทินนาทานนี้นั้นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากอทินนาทานแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน
พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาท
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสา
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

มุสาวาทนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลเว้นจากมุสาวาทแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย

ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากวาจาส่อเสียดแล้ว
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา
พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
เพราะเหตุสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละเพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย

ความโลภด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
คำนี้เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่งเราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทานั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย

ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร?
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงดูหมิ่นท่าน
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น

อนึ่ง เราพึงดูหมิ่นท่าน
แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย

ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด
พึงเกิดขึ้น เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี

คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร
ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล

ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

อุปมากาม ๗ ข้อ
[๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว
พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด
พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สุนัขนั้นแทะร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อเปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลียเพราะความหิวได้บ้างหรือ?

ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อเปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๘] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไปแร้งทั้งหลาย
นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย
มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ?

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไป ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้น
พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นจะถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๐] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง
เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน
บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา
บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่าอย่างนี้ๆ บ้างหรือ?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุรุษนั้นรู้ว่าเราจักตกลงยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.

[๕๑] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์
ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.

[๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ แก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป
เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด
คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ
ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้
พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆ พึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนจะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป?

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเจ้าของย่อมจะนำเอาของของตนคืนไปได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๓] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม
ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อยมีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ
เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้

ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้ มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียวและเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ
เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น
ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น
บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ?
เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

วิชชา ๓
[๕๔] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ
เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

โปตลิยคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก
[๕๕] ดูกรคฤหบดี ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล
ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ

ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านเห็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของอริยะเห็นปานนี้
ในตนบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็กระไรๆ อยู่
การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันใด
ข้าพเจ้ายังห่างไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันนั้น
เพราะเมื่อก่อนพวกข้าพเจ้า
ได้สำคัญพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง
ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา
ได้เทิดทูนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แต่พวกข้าพเจ้าได้สำคัญ
ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ได้คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา
ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง

แต่บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจักรู้พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง
จักคบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา
จักตั้งพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง

พวกข้าพเจ้าจักรู้ภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง
จักคบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา
จักเทิดทูนภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ยังความรักสมณะในหมู่สมณะ
ได้ยังความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ ได้ยังความเคารพสมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล

เวทนา๓ และนิวรณ์ ๕

เวลาอธิบายเรื่องเวทนา ๓
ทำไมต้องแยกนิวรณ์ ๕ ออกจากกัน
ทำไมไม่อธิบายไปเลยว่า เวทนา ๓ กับนิวรณ์ ๕ เป็นภาวะเดียวกัน

จะอธิบายแบบนั้น ก็ไม่ถูกต้องนะ
คือเหมือนจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ใช่
มองหยาบๆจึงเห็นแบบนั้น

หากมองแบบนั้น จะไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
ด้วยเหตุนี้ การอธิบายเวทนา ๓ กับนิวรณ์ ๕
เวลาอธิบายต้องแยกออกจากกัน

หากแจ่มแจ้งเรื่อง เวทนา ๓ สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
นิวรณ์ ๕ ถ้าไม่รู้ความหมายหรือภาวะที่มีเกิดตามจริง
ก็ไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
ประมาณว่า นิวรณ์แล้วไง
ทำสมาธิสิ ทำให้ละนิวรณ์ได้

ก็เหมือนเวทนา
ทำสมาธิสิ ทำให้ละเวทนาได้
คือทำให้ได้อรูปฌาน เวทนาทางกายย่อมไม่มีเกิดขึ้น
อันนี้เรียกว่าใช้สมาธิบดบังเวทนาที่มีอยู่

สำหรับเราน่ะ

นิวรณ์ เหมาะสำหรับการศึกษา เพื่อจะได้รู้ว่าคำว่านิวรณ์เนี่ยมาจากไหน
วทนา เหมาะสำหรับเพื่อดับทุกข์โดยเฉพาะ

วรรคที่ ๖
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมควรแก่การงาน ฯ

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว
ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว
สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา
จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูกฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา
จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ

[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า
ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะจิตของเขา อันโทษประทุษร้ายแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง
ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง
ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ
อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง
ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง
ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ
อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด
เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น
แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น
เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อุปกิเลส
ได้แก่ นิวรณ์ ๕

ฉันทราคะและกามฉันทะ

ฉันทราคะกับกามฉันทะ
คนละตัวกัน คนละสภาวะกัน
ความมีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

เดิมเขียนไว้แบบนี้ คือเขียนมาเรื่อยๆเรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
ตั้งแต่ปีที่แล้ว เขียนมาเรื่อยๆ

“กามฉันทนิวรณ์ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ และสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ”

เขียนผิด เพราะเข้าใจผิดว่ากามฉันทะ
เป็นการความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้นผัสสะ

พอมาได้พระสูตรใหม่มาเพิ่ม
ทำให้รู้ว่า ฉันทราคะกับกามฉันทะ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นคนละตัวกัน

ฉันทราคะ มีเกิดขึ้นก่อน
ฉันทราคะ ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
จากอุปาทานขันธ์ ๕ มาเป็นอุปาทาน ๔

กามฉันทะ เกิดที่หลัง
ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,
ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ปฏิฆะ ความไม่พอในในกามคุณ ๕

ผัสสะมากระทบ เวทนาจึงมี
ผัสสะมากระทบ ทำให้เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ

๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนปฏิฆนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี
ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่สงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่สงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนอศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนเมตตาเจโตวิมุติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตาเจโตวิมุติโดยแยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้
เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วอันบุคคลย่อมละได้ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ


พูดตามความเป็นจริง เรื่องการปฏิบัติ เมื่อรู้แล้วไม่ยากเลย
แต่การเขียนอธิบายรายละเอียดในคำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ที่ว่าทำได้ยากกว่า คือต้องเขียนออกมาเรื่อยๆ
แม้จะคิดว่าจบแล้วนะในคำเรียกนี้ๆ ที่ไหนล่ะ ยังไม่จบ
จนกว่าจะมีเหตุให้เจอพระสูตรมาขยายใจความ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
เราจึงบอกว่ามันยากนะ ปฏิบัติง่ายกว่า รู้แล้วรู้เลย จบแค่นั้น

ที่บอกว่ายาก เพราะเวลาจิตวิตกวิจารณ์
แบบจิตมันจะพิจรณาของมันเอง มาในรูปเสียงมาบอกเล่า
เราจะอยากฟังหรือไม่อยากฟัง เสียงเล่านั้นยังคงดำเนินต่อเนื่อง
จิตจะเป็นสมาธิเพียงอุปจารสมาธิ ไม่ยอมดิ่ง
ด้วยเหตุนี้ กลางดึกจะมีอุปจารสมาธิมีเกิดขึ้นสลับกับรูปฌาน
บางคืนไม่หลับไม่นอน อาการเหมือนคนฝัน
แต่เช้ามาไม่มีอาการเหมือนคนอดนอน

ด้วยเหตุนี้แรกๆจึงทำไมเรารำคาญ
ทีนี่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงฟังไปเรื่อยๆ
พอมีเกิดขึ้นบ่อยๆ ต่อมเริ่มเอ๊ะมีเกิดขึ้น
ก็นำคำที่ได้ยินไปเสริชในกูเกิ้ล คำเรียกในพระไตรปิฎก
ทำให้เจอพระสูตรมาขยายใจความของคำเรียกนั้นๆ
แบบแค่เพียงบางส่วน ไม่ใช่สภาวะเต็มๆ
เราจึงบอกว่าเหมือนจิ๊กซอ แค่เขียนออกมาเรื่อยๆ

สาเหตุนี่ทำไมสภาวะนี้จึงมีเกิดขึ้นบ่อยๆ
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่นั้น มีแค่รูปฌาน น้อยครั้งที่มีเกิดขึ้นอรูปฌาน
แต่เราไม่สนใจเรื่องสมาธิมานานแล้ว
จะมีแค่ไหนก็แล้วแต่ไม่เอามาเป็นสาระ
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า มีวิมุตติเป็นสาระ
คือการดับภพชาติของการเกิดเป็นหลัก

หากมีกำลังสมาธิในอรูปฌาน สิ่งเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้น(เสียงเล่า)

หากมีกำลังสมาธิในอรูปฌาน สิ่งเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้น(เสียงเล่า)

สรุป อุปาทานขันธ์ ๕ และอุปาทาน ๔ ต้องเขียนใหม่
ของเก่าที่เคยเขียนไว้ เรื่องกามุปาทาน ต้องแก้ใหม่ในส่วนที่เขียนไว้ผิด
หมวดอื่นๆไม่ต้องแก้ใหม่ ถูกตรงตัวสภาวะแล้ว

ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะ
ผัสสะ
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
และมีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ

กามุปาทาน
คำว่า กามุปาทาน
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕) ได้แก่

กามตัณหา (สกาทาคามิผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ภวตัณหา (อนาคามิผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสส สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

วิภวตัณหา (อรหัตผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชชา ๓(อรหัตผล)
อนุปาทิเสส อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

เฉพาะกามุปาทาน แก้ไขใหม่ 26 กย. 65


ไปค้นหาในบล็อกเรื่องเกี่ยวกับคำว่า กาม
ที่เคยเขียนไว้ เจอเรื่องกามคุณ ๕
10 ต.ค. 2021
กามคุณ ๕
คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก
เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล
๕ อย่างเป็นไฉน คือ

(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ

นึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ ในพระสูตร
๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕

มาเจอพระสูตรนี้
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

นึกถึงพระสูตรนี้
เวทนา ๓
ปฏิปทาวรรคที่ ๒

นึกถึงตอนหัวใจวาย
นึกถึงป่วยเข้ารพ.ไทรอยด์เป็นพิษ
หัวใจเต้นๆหยุดๆ
กำหนดตามความเป็นจริง
แน่นหน้าอก แล้วหมดสติ
ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าคืออะไร
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

ต่อมามีสิ่งที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ เรื่องห้องสมุด หนังสือมีเสียงได้
ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร
ต่อมากำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น อีกครั้ง
ความรู้สึกแปลกๆเกิดขึ้น

ต่อมาเจอพระสูตรนี้
๖. วิมุตติสูตร

หลังจากนั้นมีอาการหัวใจเต้นๆหยุดๆบ่อย
ไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิดตามความเป็นจริง
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
กำหนดตามความเป็นจริง
ทุกครั้งที่มีอาการหัวใจเต้นๆหยุดๆ
มักจะมีพระสูตรผุดขึ้นมา
จิตพิจรณาเนืองๆ
เหมือนได้ทบทวนสภาวะต่างๆที่เคยผ่านมา
ก็เขียนมาเรื่อยๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ที่เห็น

ต่อมาเจอพระสูตรนี้
ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าสภาวะมาบอกอะไร
ซึ่งก็รู้อยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ
เพราะรู้ว่า หากหัวจใจหยุดอีก ไม่ต้องเกิดอีกแล้ว
เกิดจากไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ฯลฯ

ตรงนี้สนใจแต่เรื่องการดับภพ
ยังไม่ได้เขียนเรื่องกามฉันทราคะ
และยังแยกเรื่องกามคุณ ๕ ออกมาจากกันยังไม่ได้
ตอนนั้นยังเข้าใจผิดว่ากามฉันทะกับฉันทราคะเป็นสภาวะเดียวกัน

สิ่งที่เขียนไว้ ตอนนั้นยังไม่เจอพระสูตรเต็มเรื่องกามคุณ ๕
วันนี้เจอละ
๓. มหาทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
เรื่องอัญญเดียรถีย์

กามคุณ ๕ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ตอนนนั้นถึงเจอพระสูตร ก็ยังคงยังไม่เข้าใจหรอก
เพราะยังเข้าใจผิดอยู่ว่ากามฉันทะกับฉันทราคะเป็นสภาวะตัวเดียวกัน
ตอนนี้สามารถแยกแยะสภาวะกามฉันทะกับฉันทราคะออกจากกันได้
ทำให้รู้ชัดว่า กามคุณ ๕ คืออะไร
และอะไรที่ทำให้เกิดกามคุณ ๕ มีเกิดขึ้น

ทุกชีวิตเมื่อมีเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ยังมีอวิชชาติดตัวมา
เมื่อมีสิ่งมากระทบ(ผัสสะ) ทำให้อุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
ทำให้กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้น

เขียนแล้ว ทำให้นึกถึงการสิกขา ๓
ศิล สมาธิ ปัญญา
ปัญญาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอริยสัจ ๔
แต่หมายถึงไตรลักษณ์ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
จึงมาเป็น
ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
คำว่าวิมุตติญาณทัสสนะ
ไม่ได้หมายถึงแจ้งอริยสัจ ๔ เพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึงการแจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

สรุปแล้ว เข้าใจมากขึ้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก

ตอนนั้นจำได้ว่า เราบอกว่ากับคนอื่นว่า หากแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ใช่เรื่องยาก
เพราะมีเรื่องการได้มรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติให้ได้วิโมกข์ ๘
เวลาได้มรรคผลตามจริง จะตรงกับพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระะรรมไว้เรื่องโสดาปัตติผลตามจริง
เป็นบันไดแรก ที่เหลือ 2 3 4
หากปฏิบัติต่อเนื่อง 2 3 4 จะมีเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องอยาก
ส่วนมากติดเรื่องโอภาสกับไตรลักษณ์ และความอยากเป็นพระอรหันต์
ความอยากมีเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าอยากเป็น เพราะตัณหาครอบงำไว้
อวิชชาที่มีอยู่ บดบังไม่ให้เห็นความอยากที่มีเกิดขึ้น

ที่ยากจริงๆที่สุดคือเรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕
กว่าจะเจอพระสูตรต่างๆ ยากกว่านะ แบบต้องรอเวลา ใช่ว่าจะเจอทันที
คือต้องรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นก่อน จึงจะเข้าใจในพระสูตรต่างๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระะรรมคำเรียกนั้นๆไว้
นี่แหละที่เราบอกว่ายาก

แล้วไปเจอก็อปบทความในอภิธรรมเรื่องกามราคะสังโยชน์
24 ต.ค. 2011

นั่งอ่านแล้ว จึงลบทิ้ง
ที่ลบทิ้งจะทำให้การตีความผิดเรื่องกามฉันทะ และพยาบาท

แก้ไขใหม่ 26 กันยายน 65

อวิชชาและโมหะ

อวิชชา
ได้แก่
ไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ไม่แจ้งเรื่องขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕

ผัสสะ
สักกายทิฏฐิ

คำว่า สักกายทิฏฐิ
ได้แก่ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา

๖. สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งสักกายทิฏฐิ
[๓๕๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.
เมื่อเวทนามีอยู่ …
เมื่อสัญญามีอยู่ …
เมื่อสังขารมีอยู่
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน
ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน
ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน
ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน
ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน
หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน
หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน
หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ
โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน
หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

= อธิบาย =

วิธีการละสักกายทิฏฐิ
๑. การฟัง
๒. การศึกษา
๓. การสนทนา
๔. ละด้วยศิล
๕. ละด้วยสมาธิ
๖. ละด้วยปัญญา
๗. มรรคผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง(สุมจเฉท)
มีเกิดขึ้นครั้งแรกในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สภาวะที่มีเกิดขึ้น(เวทนากล้า) แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
ทำให้แจ่มแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ และสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง


โมหะ

อทุกขอสุขเวทนา
โมหะ ความหลง มิจฉาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี
บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้เป็นมิจฉาทิฐิ ฯ

= อธิบาย =

วิธีการละโมหะ
๑. การฟัง
๒. การศึกษา
๓. การสนทนา
๔. ละด้วยศิล

วิธีการปฏิบัติเพื่อละโมหะ(ความหลง)

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้
ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม

ควรรู้จักคำว่า กัลยาณมิตร ตัวแรก
หมายถึง กลุ่มนี้ ผู้ได้สดับแล้ว

ถ้าใครที่มีคุณสมบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
บุคคลนั้นเป็นกัลยาณมิตร
คือผู้นั้นทำได้ก่อน แล้วจึงชักชวนให้คนอื่นกระทำตาม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้

ข้อแรกคุณสมบัติของกัลยาณมิตร เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ
บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ


ข้อที่สอง ชักชวนสร้างกุศล

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรม
อันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวง
จงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น

ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น
ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย

อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก

ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด
ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น
ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้
ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว
แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้

“จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน”
ได้แก่ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้


โยนิโสมนสิการ

“ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้ว
ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว”

นี่คือประโยชน์ของการสดับและการศึกษา
พร้อมๆกับการรักษาศิลและทำกรรมฐาน

หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายไป
เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ละโมหะ(ความหลง)

สัลลัตถสูตร
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว
ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ
และเป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐานฯลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ
ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง
คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ

  • คำว่า ความงมงาย
    ได้แก่ โมหะ ความหลง

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา
เพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ
ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง
คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ

อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมนอนตาม
เขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา
เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา
นอกจากกามสุข


และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่
ราคานุสัย เพราะสุขเวทนานั้น ย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิดความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้
เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ ฯ

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว
ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร
ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว
ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น
ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคือง
เพราะทุกขเวทนา เธอผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น
ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา
นอกจากกามสุข

เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข
ราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้
เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน
เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

[๓๗๓]อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้แล เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน

ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา
ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น

ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว
เป็นพหูสูต
เห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์

อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดีและไม่ยินร้าย
อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้
ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ


การละโมหะ ความหลง
เริ่มจากการฟังธรรม

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
และปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติ ทำให้ละโมหะ(ความหลง)
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิ

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล
ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียด
เช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี
อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่
ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาค
เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน
ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่น
หรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด
ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาทเกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก
ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆ
ในที่ไหนๆไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น

แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์
ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

.
คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

จงเปลื้องราคะและโทสะ

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในธรรม
ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม


คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
[๓๕] ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี
ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี
ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี
ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี
ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี
ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี
ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี
ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี

ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน
ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ

ภิกษุใดสำรวมปาก
มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมแสดงอรรถและธรรม
ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในธรรม
ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม

ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน
ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
เพราะภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ
ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย
ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้

เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง
และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ
ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขารเป็นสุข

ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว
เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง

ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว
เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะได้

ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท
จิตของเธอหมุนไปในกามคุณ
เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ
อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์
ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง
ผู้มีจิตสงบ
ผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ

ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์
ปีติและปราโมทย์นั้น
เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่

บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ
ความคุ้มครองอินทรีย์
ความสันโดษ
และความสำรวมในปาฏิโมกข์
เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้

ท่านจงคบกัลยาณมิตร
มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน

ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร
พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ
เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์
เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร
และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลาย จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย
เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น

ภิกษุผู้มีกายสงบ
มีวาจาสงบ
มีใจสงบ
มีใจตั้งมั่นดี
มีอามิสในโลกอันคายแล้ว
เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ
จงเตือนตนด้วยตนเอง
จงสงวนตนด้วยตนเอง

ดูกรภิกษุ
เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว
มีสติ จักอยู่เป็นสุข
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
ตนแลเป็นคติของตน
เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน
เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น

ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์
เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา
พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่
เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม
ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ