การละนิวรณ์

เห็นว่ามีหลายๆคนมีสภาวะเหมือนพระ แม่ชี ฆราวาส
สภาวะที่มีเกิดขึ้น แล้วพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จึงนำคลิปของแม่ชีมาให้เพื่อศึกษา
อาการของผู้ที่ขาดการศึกษา
ไม่รู้จักตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
น้อมใจเชื่อจากที่เคยฟัง”สิ้นคิด” ที่นำมาเล่ากัน
ทั้งที่เป็นเพียงการละนิวรณ์
สภาวะโสดาปัตติผลยังไม่มีเกิดขึ้น
เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่
ทำให้เกิดความพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำให้สภาวะของแม่ชีจึงจมแช่อยู่แค่นี้
และน้อมใจเชื่อว่าเป็นผล
คำว่า ผล
ก็แล้วแต่ว่าแม่ชีคิดว่าตนได้อะไรหรือเข้าถึงอะไร
จึงมาพูดเรื่องการละกิเลส อาสวะ อนุสัย

วลัยพร walailoo2010
1 วินาทีที่ผ่านมา
เพียงจะบอกว่าอย่าพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้นปัจจุบันที่เป็นอยู่
เพราะยังเป็นมรรค ยังไม่ใช่ผล

คำว่า สิ้นคิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นได้แก่ บุคคลที่มีนิวรณ์น้อย
จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าออก จะทำกรรมฐานหรือไม่ทำกรรมฐานก็ตาม
ทำให้ละนิวรณ์ลงไปได้ ความคิดจะไม่มีหรือมี ก็มีเกิดขึ้นน้อย

สภาวะที่แม่ชีนำมาเล่านั้น เรียกว่า นิวรณ์
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ที่มีอยู่
จึงมาเป็นอุปาทาน ๔
ละด้วยศิล การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ละด้วยสมาธิ
ละด้วยปัญญา ไตรลักษณ์

เมื่อละนิวรณ์ลงไปได้
เวลานั่ง จะสงบหรือโอภาสแสงสว่างเจดจ้ามีเกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
เสพเนืองๆ จนจิตคุ้นเคย
ยังเป็นมิจฉาสมาธิ
ต้องปรับอินทรีย์ ๕
เมื่อสัมมาสมาธิมีเกิดขึ้น ทำให้สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้เห็นความเกิดดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ทำให้รู้ว่าสภาวะของตนอยู่ตรงไหน
หากปฏิบัติตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้”โสดาปัตติผล”
ต้องปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
เวลาได้มรรคผลตามจริง
หลังได้โสดาปัตติผล จะมีความรู้ความเห้นผุดขึ้นมา
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
แม้จะไม่เคยฟังมาก่อน ไม่รู้ปริยัติก็ตาม
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
นี่เป็นสภาวะของโสดาบันประเภท กายสักขี
ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนไดมรรคผลตามจริง

สำหรับบุคลที่มีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
ความรู้ความเห็นนี้จะไม่มีเกิดขึ้น
ให้กำหนดรู้ตามจริง
ให้ดูสภาวะโคตรภูญาณหรือมุดรู
เป็นหลักฐานของการปฏิบัติได้โสดาปัตติผลตามจริง


วลัยพร walailoo2010
1 วินาทีที่ผ่านมา
หากแม่ชี ยังพอใจสภาวะที่มีเกิดขึ้น
สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นี้ ไม่ไปข้างหน้า
เกิดจากความพอใจ
ประกอบกับได้อ่าน ได้ฟัง แล้วนำสิ่งที่เคยฟัง เคยอ่าน
เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่
ทำให้เกิดความน้อมใจเชื่อในสิ่งที่เคยอ่าน เคยฟังมา


https://www.youtube.com/watch?v=S3e_aeD2u84

Thitapa Keawsod
2 เดือนที่ผ่านมา
ทำไมแม่ชีต้องพูดกูมืงอย่างนี้ด้วยคะ

การตอบกลับ 1 รายการ
แม่ชีชมพู่
2 เดือนที่ผ่านมา
กูมึงเป็นคำกลางๆที่ไร้การตกแต่งให้ไพเราะ อะไรที่ตกแต่งให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง
เรียกสิ่งนั้นความคำลวงหรือ ตอแหล

ตอบกลับ
วลัยพร walailoo2010
1 วินาทีที่ผ่านมา
@ Thitapa Keawsod
เกิดจากการเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก คนที่คบ
อยู่ในสภาพแวดล้อมของคนที่พูดกูมึง


เมื่อติดอุปกิเลส เกิดจากความพอใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เวลาจะเล่าสภาวะจะพูดเรื่องเดิมๆ

วลัยพร walailoo2010
1 วินาทีที่ผ่านมา
คำว่า ปถุชน
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
หมายถึงแม้จะเป็นพระ แม่ชี ฆราวาส
บุคคลที่ไม่เคยสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ

การละกิเลสหมายถึงตัณหา ๓
ละด้วยศิล สมาธิ ปัญญา วิมมุติ วิมมุติญาณทัสสนะ ตามลำดับ

สภาวะของแม่ชี ละนิวรณ์ด้วยศิล สมาธิ
ทำให้สอนได้แค่ศิล สมาธิ
ให้สอนมากไปกว่านี้ ทำไม่ได้
เพราะสภาวะของแม่ชียังเข้าไม่ถึง

ด้วยเหตุนี้สภาวะของแม่ชีเรียกว่าเนิ่นนาน บรรลุช้า
สอนคนอื่น แต่ตนยังเข้าไม่ถึงในโสดาปัตติผลตามจริง
เมื่อทำคนอื่นเข้าใจผิดในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แค่ละนิวรณ์ เข้าใจว่าเป็นการละกิเลส(อนุสัย)
ผลที่ได้รับ สภาวะของแม่ชีจะจมแช่อยู่แค่นี้

วิตกกับการกำหนด

สิ่งที่เคยเขียนไว้ในอดีต นับเป็นเวลา 10 ปี เวลาผ่านไปเร็วมาก

7 สิงหาคม 2012 · มโนกรรม
ไม่ว่าจะรู้สึกนึกคิดอะไร มีหน้าที่เพียง แค่รู้ ไปอย่างเดียว
เพราะตราบใด ที่ยังมีกิเลส มโนกรรม หรือความคิด ห้ามไม่ได้หรอก
เคยเห็น ดินเหนียว เหลวๆไหม เราพยายามปั้น เนื้อดินจะคอยปลิ้นแลบไปมา ระหว่างนิ้ว
จิตก็เช่นเดียวกัน ยิ่งเราไปกดข่มความคิด ไปห้ามความคิด
เพราะยึดติดแค่เพียงคำว่า กุศล-อกุศล ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ฯลฯ
ยิ่งไปพยายาม กดข่มไว้ มากเท่าไหร่ จิตยิ่งวิตก วิจารณ์ มากขึ้นเท่านั้น
ห้ามทางนี้ ทางโน้นโผล่ เหมือนมีคนอีกคน มาแลบลิ้นปลิ้นตาอยู่ตรงหน้า

นี่แหละ จิตที่ยังมีกิเลส เป็นแบบนี้
เพียงแค่รู้ว่า มีสิ่งใดเกิดขึ้นทั้งนอกและใน ยอมรับไป
เมื่อยังมี ยึดมั่นถือมั่น รู้สึกเจ็บใจ บีบคั้น ฯลฯ
ไม่ว่า จะรู้สึกอะไรๆก็ตาม ไม่นานก็จะ หายไปเอง
ความคิดใหม่ ย่อมเกิดต่อ เวียนวน ไปมาแบบนี้
เพราะความคิดนั้น ก็ไม่เที่ยง จะจับให้มั่น คั้นให้ตาย
คนที่หยิบยื่น ความทุกข์ให้ ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย ตัวเองทำให้ เกิดขึ้นมาเอง ทั้งนั้น
แต่ที่ กล่าวโทษนอกตัวกัน ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่

อ่านซะต้น เพราะฟังนอกตัวมากไป ความฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้น
ทำเพราะความอยาก จึงทุกข์เพราะความอยาก
ถ้าเธอเข้าใจเรื่องเหตุและผล เธอจะไม่สนใจในสิ่งนอกตัวเลย
ไปเอาอะไรกับคำพูดที่ว่า ความคิดเกิด/ดับ นั่นคือ การเกิดดับของภพชาติ
การเกิดดับของภพชาติปัจจุบัน ล้วนเกิดจากการกระทำ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนส่งผลหมด ไม่มีข้อยกเว้น
ว่าดี/ชั่ว ถูก/ผิด สารพัดข้ออ้าง ตามความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว มีหน้าที่ คือ ดับที่ต้นเหตุ
ได้แก่ การกระทำ ที่ก้าวล่วงออกมาทางกายกรรม วจีกรรม นี่ดับตรงนี้ให้ได้ก่อน

ความคิด จะเอาแตดี ปฏิเสธชั่ว มันใช้ไม่ได้
ดี/ชั่วมากจากไหน มาจากการให้ค่าทั้งนั้น
เอาอะไรมาวัด ว่าสิ่งที่คิดหรือทำอยู่นั้น ว่าดี
ตราบใดที่ยังสร้างเหตุนอกตัว ล้วนเป็นบ่อเกิด ของเหตุการเกิดขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น
นับประสาอะไรกับความคิด ขนาดการกระทำของตัวเอง ยังกดข่มไม่ได้เลย


7 สิงหาคม 65 เวลา 09:27 น. ·

ตอนนั้น ยังไม่รู้วิธีการกำหนด เพื่อกำจัดความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
จึงเพียงใช้กำหนดตามจริง ยอมรับสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
แบบต่อคนนั้นจะทำให้เราเสียใจ ทั้งๆที่สิ่งที่คนนั้นพูดไม่เป็นความจริง
จะไม่ต่อความ ให้กรรมนั้นๆจบเพียงแค่นี้
หากคนนั้นยังราวี ยังไม่เลิก ก็ไม่เป็นไร
ไม่มีใครจะด่ากันได้ 24 ชม.หรอก คนด่าเหมือนด่าตอไม้ ก็หยุดลงไปเอง
สภาวะตรงนี้เป็นการดับเฉพาะตน
แล้วก็ได้ผลในเรื่องการดับกรรมใหม่ ไม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
แต่ใจยังเป็นเป็นทุกข์อยู่

จะแตกต่างกับการกำหนด ด้วยการใช้รู้หนอ ๓ ครั้งมาช่วย
การกำหนดจะช่วยให้จิตสามารถอยู่กับปัจจุบันได้
และความทุกข์ที่เกิดจากความคิดจะค่อยๆเบาบางลงไป
ทำให้มีสติเดินจงกรมในแต่ก้าวย่าง มีทั้งหมด ๖ ระยะ
เช่น เวลาเดินอยู่ แล้วมีความรูสึกนึกคิดเกิดขึ้น
จะไม่กำหนดว่าคิดหนอ รุ้หนอ กำหนดแบบนี้ไม่เอา
เพราะจากความคิด จะกลายเป็นฟุ้งซ่านได้ เพราะปรุงลงไปว่าคิดหนอ
หากตั้งสติ กำหนดรู้หนอ ๓ ครั้ง รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ
จะทำให้กลับมารู้สึกกาย เท้าที่เดินค้างไว้ จึงเดินจงกรมต่อ
คือทำความรู้สึกเท้าเช่นเท้าขวาหรือเท้าซ้าย ที่เดินค้างไว้ สามารถเดินต่อได้

เมื่อเดินจงกรมตามเวลาที่ตั้งไว้
พอมานั่ง ความคิดจะไม่มารบกวนขณะกำลังนั่งอยู่
ทำให้จิตสามารถจดจ่อรู้กับลมหายใจเข้า หายใจออก ต่อเนื่องได้
จิตจะเป็นสมาธิทีละน้อยๆ
เมื่อสะสม ทำให้จิตมีพลัง จากสมาธิเล็กๆ(ขณิก)
มาเป็นสมาธิระดับกลาง(อุปจารสมาธิ) นิมิตต่างๆมีเกิดขึ้น
ให้กำหนดรู้หนอ ๓ ครั้ง
ทำให้จิตกลับมามีสติ มารู้ที่ลมหายใจเข้าออกต่อเนื่อง
จากอุปจารสมาธิ จะมาเป็นอัปนาสมาธิ(ฌาน)
เมื่อจิตมั่นคงทางใจได้ในเรื่องสมาธิ
ให้กลับมาเริ่มต้นกำหนดยืนหนออีกครั้ง จากที่ทำไว้แล้วทำไม่ได้
เกิดจากมีปัญหาเรื่องลมหายใจ

การกำหนดยืนหนด หากทำได้จะช่วยทำให้ละนิวรณ์ลงไปได้อีกส่วนหนึ่ง
พอมาเดินจงกรมต่อ นิวรณ์ต่างๆที่เคยมี จะเกิดน้อยลง

เพียงจะบอกว่าการกำหนด สามารถพลิกแพลงได้
หากกำหนดยืนหนอ ยังทำไม่ได้ ปล่อยไปก่อน
หันมาสนใจเรื่องการเดินจงกรม ให้มีสติขณะทุกย่างก้าวของเท้า
บางคนสงสัยว่าแล้วคนที่ใช้พุทโธละ ใช้มาทำแบบนี้ได้ไหม
หากนำมาใช้ขณะเดินจงกรม คือใช้บริกรรมช่วยขณะเดินจงกรม
บริกรรรมต่อเนื่องไม่มีช่องโหว่ให้ความรู้สึกนึกคิดมีเกิดขึ้นได้
สามารถทำแบบนี้ก็ได้นะ จะได้สมาธิ แต่ไม่ได้สติ
คือเน้นไปทางสมาธิมากกว่าสติ
การเริ่มต้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน

หากดำเนินถูกทาง ทุกคนจะประจบกันที่มรรคมีองค์ ๘
ปัญญาไตรลักษณ์จะปรากฏตามจริง
ในรูปแบบของเวทนากล้า
มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ
หรือมีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม
หรือมีเกิดขึ้นขณะนั่งอยู่
ไตรลักษณ์ทำให้ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕
ละความเห็นว่ากายนี้เป็นตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา ให้เบาบางลงไปได้


9 สค. 65

นึกถึงขอบคุณพระสารีบุตร
ทำให้เข้าใจคำว่า ราคะ ความกำหนัด ความโลภ
(ตอนนั้นรู้แล้ว แต่ยังไม่แน่ใจ)
คือมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ไม่ใช่ความกำหนัดไปฝักใฝ่ทางเพศ

ถ้าได้ศึกษาในพระสูตร
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนเรื่องกาม กามวิตก
ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนเลี้ยงโคมองเห็น การฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม
อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

นำมาจาก
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก

อกุศลธรรมทั้งหลาย
หมายถึงการทำผิดในศิล ๕

“กามวิตก”
เกิดจาก ราคะ(ความกำหนัด) ความโลภ

“พยาบาท”
เกิดจาก ปฏิฆะ โทสะ ผูกใจเจ็บ จองเวร

วิหิงสาวิตก
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้งสอง

ส่วนตรงนี้
“มีความเพียรเครื่องเผากิเลส”
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ขณะกำลังยืนอยู่
ขณะเดินจงกรมอยู่
ขณะนั่งอยู่
ความคิด(วิตก)มีเกิดขึ้น
.

๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก
[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว
ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง
และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ
ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ
วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก
เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก
จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก
เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่พยาบาทวิตกให้มาก
จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก
เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก
จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี
คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า
เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนเลี้ยงโคมองเห็น การฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
แลก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่านเมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้
อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า
อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก
จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก
เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก
จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก
เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก
จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน
คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน
เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง
จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.

= อธิบาย =

คำว่า เพื่อพระนิพพาน
ได้แก่ ดับตัณหา
ในที่นี้หมายถึง ดับกามตัณหา

เมื่อขณะทำกรรมฐาน
ขณะกำหนดยืนอยู่
ขณะเดินจงกรมอยู่
ขณะนั่งอยู่
ความคิด(วิตก)มีเกิดขึ้น

“กามวิตก”
เกิดจาก ราคะ(ความกำหนัด) ความโลภ

“พยาบาท”
เกิดจาก ปฏิฆะ โทสะ ผูกใจเจ็บ จองเวร

“วิหิงสาวิตก”
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ความคิดเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้งสอง

หากไม่มีการกำหนด ย่อมเพลิดเพลินในความคิด

เมื่อปล่อยไว้นาน ไม่มีการกำหนด

กามฉันทะ พยาบาท วิมังสา ที่มีเกิดขึ้น

จะทำให้เกิดเป็นความฟุ้งซ่านในที่สุด

คือซ่านภายใน จิตไม่สามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้

คำว่า ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้
ได้แก่ การกำหนด เช่น
ขณะกำลังเดินจงกรมอยู่ มีความคิดเกิดขึ้น ให้หยุดเดิน ไม่เดินต่อ
ให้กำหนดด้วยคำบริกรรมว่า รู้หนอ 3 ครั้ง(รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ กำหนดช้าๆ)
การกำหนดแบบนี้ จะทำให้กำลังสติมีเกิดขึ้น
ทำให้กลับมารู้เท้าที่ยืนอยู่
จึงค่อยเดินจงกรมต่อ
หากมีความคิดเกิดขึ้นอีก ให้หยุดเดิน ไม่เดินต่อ
หากมีความคิดเกิดขึ้นบ่อย ก็ให้ทำเหมือนเดิน จะหยุดเดินบ่อย ไม่เป็นไร

การกำหนดเดินจงกรมในแต่ระยะ(๑-๖)
การเดินจงกรมแบบนี้ ต้องการสติเป็นหลัก
เมื่อทำแบบนี้ จะรู้สึกเวลาจะผ่านไปเร็ว เกิดจากจิตจดจ่อกับการกำหนด

พอมานั่ง วิตกหรือความคิดที่เคยมีเกิดขึ้นมาก จะมีเกิดขึ้นน้อยลง
ขณะนั่งอยู่ หากกำลังสมาธิยังอ่อน วิตกหรือความคิดจะมีเกิดขึ้นได้
เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น ให้กำหนดด้วยคำบริกรรมว่า รู้หนอ ๓ ครั้ง
ทำให้มีสติ กลับมารู้กายที่นั่งอยู่
เมื่อกลับมาจดจ่อรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก
หายใจเข้า ยาวๆ หายใจออก ช้าๆ ทำได้ต่อเนื่อง
จิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ตราบใดที่วิตกยังมีเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ให้ทำเหมือนเดิม
ทำแบบนี้เนืองๆ จะทำให้มีกำลังสติมีเกิดขึ้น
เมื่อมีความเกิดขึ้น จะรู้ทัน พอรู้ทัน ความคิดจะหายไปเอง

บางคนอาจถามว่า ใช้พุทโธแทนได้ไหม
คำตอบ ทำได้น่ะ บริกรรมพุทโธถี่ๆ ไม่ให้มีช่องโหว่
เมื่อไม่มีช่อง จิตจะอยู่กับคำบริกรรมต่อเนื่อง จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ตรงนี้เคยเขียนอธิบายไว้แล้ว
การใช้บริกรรมพุทโธถี่ๆจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ ความคิดจะไม่มี
อันนี้เรียกว่าใช้สมาธิบดบังไว้

ส่วนวิธีกำหนดใช้รู้หนอ ที่เราบอกนั้น
เป็นเรื่องการสร้างกำลังสติให้มีเกิดขึ้น เป็นหลัก
เมื่อกำลังสติมีเกิดขึ้น สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตาม
เมื่อสติมี สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สติ+สัมปชัญญะ = สมาธิ
ทำให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
ทำให้เห็นเวลาเกิดขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
และเวลาดับขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
คือรู้ชัดความเกิดและความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
จะทำให้รู้ว่าสภาวะของตนนั้น อยู่ตรงไหน
ก็ทำให้สามารถปฏิบัติไปถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้
ให้ดูความเกิดและดับเป็นหลัก
เพราะความเกิดและความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
จะมีเกิดขึ้นแตกต่างกันได้ชัดเจน

ส่วนความรู้เห็นแปลกๆที่มีเกิดขึ้น กำหนดตามจริง อย่าไปพอใจ
เมื่อเกิดความพอใจ จะทำให้ติดนิมิต สภาวะไม่ไปข้างหน้าได้

นิวรณ์ ๕

นิวรณ์และการละนิวรณ์

จรวรรคที่ ๒
จารสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดินอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่เป็นอย่างนี้แล้ว
เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้ถึงความพินาศ ซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นั่งอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละบรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นั่งอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่าผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้
เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ

ถ้าภิกษุใด เดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม
ย่อมตรึกถึงวิตกอันลามกอิงอาศัยกิเลส
ภิกษุผู้เช่นนั้น เป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางผิด
หมกมุ่นแล้วในอารมณ์ อันยังความลุ่มหลงให้เกิด
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม

แต่ถ้าภิกษุใดเดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม
ยังวิตกให้สงบแล้ว ยินดีในธรรม เป็นที่สงบวิตก
ภิกษุเช่นนั้น เป็นผู้ควรเพื่อบรรลุซึ่งสัมโพธิญาณอันอุดม ฯ

= อธิบาย =

“กามวิตก”

คำว่า วิตก
ได้แก่ ความคิด ครุ่นคิด

คำว่า กามในที่นี้
ได้แก่ กามฉันทะ
ภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
และมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน อริยบทยืน อริยบทเดิน อิรยาบทนั่ง
นึกถึงสิ่งที่เคยเสพ ความชอบ ความพอใจ
นึกถึงสิ่งที่ชอบ เช่น อาหารกินแล้วรสชาติอยากให้กินอีก
เดินไปน้ำลายสอไปด้วย ด้วยความอยากกินอีก

.
๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
เหมือนศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้
เหมือนอศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า สุภนิมิต
อธิบายด้วย
๘. คัททูลสูตรที่ ๒

คำว่า ศุภนิมิต ขอใช้เป็นการสะกดคำเป็นนี้ สุภนิมิต
สุ + ภู = สุภู + กฺวิ = สุภูกฺวิ > สุภู > สุภ (นปุงสกลิงค์)
แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นโดยสภาวะที่งดงาม”
จึงจะตรงกับกับภาวะงดงาม วิจิตร เป็นเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕
สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

๙. นิพเพธิกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู …
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก …
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม
สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน
ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย
ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน
คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง
กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม

.
นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด
[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้
กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ
กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ
กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ …
ถีนมิทธนิวรณ์ …
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ
กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล
กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ
กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

คือ สติสัมโพชฌงค์
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.

.

วิธีการละนิวรณ์ ๕

  1. การสดับเรื่องศิลที่มีหลายประการ

ศีลสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์
มีปาติโมกข์สมบูรณ์
จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมในปาติโมกข์สังวร
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า

= อธิบาย =

คำว่า สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ต้องสดับตามลำดับ

พรหมจริยสูตร
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อลวงประชาชนก็หามิได้
เพื่อเกลี้ยกล่อมประชาชนก็หามิได้
เพื่ออานิสงส์ คือ ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ก็หามิได้
เพื่ออานิสงส์ คือ การอวดอ้างวาทะก็หามิได้
เพื่อความปรารถนาว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการดังนี้ ก็หามิได้
โดยที่แท้ ตถาคตอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้
เพื่อสังวร เพื่อละ เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับกิเลส ฯ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์
อันเป็นการละเว้น มีปรกติยังสัตว์ให้หยั่งลงภายในนิพพาน
เพื่อสังวร เพื่อละ
หนทางนี้อันท่านผู้ใหญ่ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ดำเนินไปแล้ว

อนึ่ง ชนเหล่าใดย่อมดำเนินไปสู่ทางนั้น
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของศาสดา
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า พรหมจรรย์
ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘

  1. การทำกรรมฐาน

อริยบทยืน
การกำหนดยืนหนอ

ต่อด้วย
อริยบทเดิน
การเดินจงกรม มีทั้งหมด ๖ ระยะ

ต่อด้วยอริยบทนั่ง
การทำสมาธิ
สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ พองหนอยุบหนอ กสิณฯลฯ
อะไรๆที่มีกายมาข้องเกี่ยวกับการทำให้จิตเป็นสมาธิ

วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง เช่น
อานาปานสติ
หายใจเข้า รู้ลมหายใจเข้าตามจริง
หายใจออก รู้ลมหายใจออกตามจริงฯลฯ
ความคิดเกิดขึ้น กำหนดตามจริง แล้วเพิกเฉย ไม่สนใจ
หันกลับมาจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าออกต่อเนื่อง
หายใจเข้า ท้องพองขึ้น กำหนดตามจริง
หายใจออก ท้องแฟ่บ กำหนดตามจริง
อย่านำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

สมถะและวิปัสสนา
ใช้ทั้งสองอย่าง เช่น
อาปานาสติ
หายใจเข้า กำหนดตามจริง
หายใจออก กำหนดตามจริง
ขณะกำหนดอยู่(จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก)
มีความคิดเกิดขึ้น ใช้คำบริกรรมมาช่วย
เช่น รู้หนอ 3 ครั้ง รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ

หากกำหนดแล้ว ความคิดไม่หาย
ให้ใช้ลมหายใจเข้าออกมาช่วย
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ บริกรรมรู้
ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ บริกรรมหนอ
ความคิดจะค่อยๆหายไปเอง

หากทำแล้ว ความคิดยังไม่หาย
ไม่ต้องไปสนใจว่าความคิดจะหายไปหรือยัง
แล้วกลับมาจดจ่อรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เมื่อมีความคิดมีเกิดขึ้น ให้กำหนดตามจริง
อย่านำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อจิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง ความคิดจะหายไปเอง ไม่ต้องทำอะไร


๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
อนึ่ง ความไม่ยินดี อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นพระสกทาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง
พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคาร.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

= อธิบาย =

สัมมาสมาธิเมื่อมีเกิดขึ้น ตัวสภาวะต่างๆจะดำเนินต่อเนื่องโดยตัวสภาวะของมันเอง
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ประกอบความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด”

ข้อที่ 1 พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ
เริ่มจากการสดับ(การฟัง) การศึกษา สุตะ(ฟัง ท่องจำจนขึ้นใจ)

ข้อที่ 2 หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
หรือ วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
เดินจงกรม ต่อด้วยการนั่ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเป็นสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ
ทำให้ไม่ต้องปรับอินทรีย์ มีแต่เพิ่มเติมให้นั่งมากขึ้น
หมายถึง เดิน 60 นั่ง 60
เมื่อนั่งครบเวลา ให้นั่งต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องเวลา
เวทนากล้าจะปรากฏ
หากเวทนากล้าไม่เกิด ถือเสียว่าได้สมาธิมีเพิ่ม คือมีแต่ได้กับได้ ไม่มีเสีย
แต่คนส่วนมากจะไม่รู้ตรงนี้ มักจะตามเวลาที่กำหนดไว้
บางคนทำตามคือหมดเวลาที่ตั้งไว้ จะนั่งต่อ
เมื่อเจอเวทนากล้าปรากฏ จึงเลิกนั่ง
เกิดจากความกลัว ไม่สามารถผ่านสภาวะนี้ไปได้
สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นี้ไม่ไปไหน

หากนั่งแล้วมีแต่แสงว่างเจิดจ้า ไม่สามารถรู้กายได้
ก็ต้องปรับอินทรีย์ ให้เดินจงกรมมากกว่านั่ง
เช่นคนที่มีสมาธิมากจะนั่ง 3 ชม. มีแต่แสงสว่าง เห็นโน้นนี่ เห็นเทวดา ไปเที่ยวนรก
ถอดกายทิพย์ได้ รู้วาระจิตของคนอื่นได้ สารพัดไปทางฤทธิ์
หลายๆคนพอใจ ติดใจ ในสิ่งที่รู้เห็น สภาวะจมแช่อยู่แค่นั้น
ต้องปรับอินทรีย์ เดินเริ่มจาก 1 ชม. ต่อนั่ง 3 ชม.ถ้ายังมีแต่แสงสว่าง ไม่สามารถรู้กายได้ ต้องเพิ่มเวลาการเดิน
ดิฉันเป็นคนที่มีสมาธิมาก ต้องเดิน 4 ชม. จึงจะรู้กายได้พร้อมๆกับแสงสว่างยังเจิดจ้าอยู่ ไม่หายไปไหน

บางคนไม่ชอบเดิน จะนั่งอย่างเดียว
จะสมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)หรือวิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องปรับอินทรีย์
หากไม่มีการปรับอินทรีย์ สมาธิที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมิจฉาสมาธิ
เวลาจิตเป็นสมาธิ จะติดนิมิต ติดเรื่องแปลกๆที่มีเกิดขึ้น ไม่ก็ดิ่ง ไม่รู้สึกตัว

ข้อ 3 ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

ข้อ 4 ประกอบด้วยวิปัสสนา
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

ข้อ 5 พอกพูนสุญญาคาร
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
คือปราศจากตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

.

ตรงนี้กรณีที่ขาดคนแนะนำทำกรรมฐาน

พูดถึงการเดินจงกรม 60 นาที ต่อนั่ง 60 นาที
บางคนกังวล มักจะเกิดผู้ปฏิบัติใหม่
ตั้งเวลาเดินจงกรม 60 นาที ต่อนั่ง 60 นาที จะทำได้ไหม
ให้เริ่มต้นตั้งเวลาที่ละน้อย เช่น
เดินจงกรม 15 นาที ต่อนั่ง 10 นาที
ตั้งเวลาเดินให้มากกว่านั่ง
ทำทุกวัน จนจิตคุ้นเคย หากวันไหนไม่ทำ จะนอนไม่หลับ

ทำครบ 7 วัน ให้เพิ่มเวลา
จากเดิน 15 นาที มาเป็น 20 นาที
นั่งจาก 10 นาที มาเป็น 15 นาที
ทำครบ 7 วัน ให้เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ
ทำแบบนี้ จะทำให้สามารถเดิน 60 นาที นั่ง 60 นาที

หากวันไหนหยุดทำไป ให้นับหนึ่งใหม่
ให้สังเกตุเรื่องจิตเป็นสมาธิ
หากหยุดทำไป แล้วพอมาทำใหม่ จิตยังคงเป็นสมาธิได้ ไม่ต้องเริ่มใหม่
หากสภาวะเป็นแบบนี้ ให้ใช้เวลาเท่าเดิมที่เคยทำไว้ก่อนหน้า ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่

หากหยุดทำไป แล้วพอมาทำใหม่ จิตไม่เป็นสมาธิ ให้เริ่มต้นใหม่
ให้ทำทีละน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มเวลาการปฏิบัติ
สภาวะที่เคยมีเกิดขึ้น จะกลับคืนมาเอง

เวทนา๓ และนิวรณ์ ๕

เวลาอธิบายเรื่องเวทนา ๓
ทำไมต้องแยกนิวรณ์ ๕ ออกจากกัน
ทำไมไม่อธิบายไปเลยว่า เวทนา ๓ กับนิวรณ์ ๕ เป็นภาวะเดียวกัน

จะอธิบายแบบนั้น ก็ไม่ถูกต้องนะ
คือเหมือนจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ใช่
มองหยาบๆจึงเห็นแบบนั้น

หากมองแบบนั้น จะไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
ด้วยเหตุนี้ การอธิบายเวทนา ๓ กับนิวรณ์ ๕
เวลาอธิบายต้องแยกออกจากกัน

หากแจ่มแจ้งเรื่อง เวทนา ๓ สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
นิวรณ์ ๕ ถ้าไม่รู้ความหมายหรือภาวะที่มีเกิดตามจริง
ก็ไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับทุกข์ได้
ประมาณว่า นิวรณ์แล้วไง
ทำสมาธิสิ ทำให้ละนิวรณ์ได้

ก็เหมือนเวทนา
ทำสมาธิสิ ทำให้ละเวทนาได้
คือทำให้ได้อรูปฌาน เวทนาทางกายย่อมไม่มีเกิดขึ้น
อันนี้เรียกว่าใช้สมาธิบดบังเวทนาที่มีอยู่

สำหรับเราน่ะ

นิวรณ์ เหมาะสำหรับการศึกษา เพื่อจะได้รู้ว่าคำว่านิวรณ์เนี่ยมาจากไหน
วทนา เหมาะสำหรับเพื่อดับทุกข์โดยเฉพาะ

วรรคที่ ๖
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมควรแก่การงาน ฯ

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว
ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่
รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว
ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว
สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา
จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด
ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว
จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อเลือด
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูกฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา
จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ

[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว
ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า
ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะจิตของเขา อันโทษประทุษร้ายแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง
ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง
ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ
อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง
ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง
ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ
อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด
เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น
แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น
เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อุปกิเลส
ได้แก่ นิวรณ์ ๕

อุทธัจจะ

ประโยชน์ของการศึกษา การอ่าน และการท่องจำ
แม้ว่าเราไม่สามารถท่องจำได้(เกิดจากอาการสมอง)
แต่ธรรมจะผุดขึ้นมา เวลาจิตเป็นสมาธิ
อาศัยที่เคยอ่านผ่านตา แบบคุ้นตาา
ทำให้กลับไปอ่านพระสูตรนั้นๆ
เท่ากับได้การทบทวนตัวสภาวะต่างๆ
ได้ทบทวนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
.
จิตพิจรณา คำว่า ราคะ โทสะ โมหะ
แบบผุดขึ้นมาเอง ทำให้นึกถึงพระสูตร
เกี่ยวกับคำว่า วิตก คือความคิด
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ มักจะเป็นคู่
ค่อยๆสังเกตุเห็น มีพระสูตรหนึ่ง จะมีอีกพระสูตรมาอธิบายตัวสภาวะ
ก่อนจะมาเป็นตัวสภาวะที่มีปรากฏเรื่องนิวรณ์ ๕
ต้องศึกษาตัวสภาวะที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้

๑.
สคารวสูตร
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
.
๒.
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
.
๓.
ปฏิปทาวรรคที่ ๒


สคารวสูตร
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
[๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า.
[๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์
สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดแล้ว ตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๔] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๕] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๖] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๗] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๘] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๙] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …
[๖๑๐] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๑๑] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
ในสมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๒] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคลวางไว้ในที่มืด
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๓] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๔] ดูกรพราหมณ์
ส่วนสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๑๕] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๖] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๗] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำที่ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่านไม่เกิดไอ
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๘] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๙] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนไม่ปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไปและย่อมรู้
ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๐] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความจริง ฯลฯ

[๖๒๑] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๒] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำอันใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
อันบุคคลวางไว้ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ย่อมแจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๔] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๕] ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้
มิใช่เป็นธรรมกั้น
มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล
มิใช่เป็นธรรมกั้น
มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุติ.

[๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ส
คารวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว
มนสิการนิมิตใดอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น
อันประกอบด้วยกุศล
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่นในภายในนั้นแล

เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา
โทษของวิตกเหล่านั้นอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก
ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

คำว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

คำว่า อุทธัจจะ
ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน
ที่เกิดจากนิวรณ์ ๕

เวทนา นิวรณ์ อวิชชา

เวทนา นิวรณ์ อวิชชา

เวทนา ๓
นิวรณ์ ๕
อวิชชา

คำเรียกเหล่านี้
จะเข้าใจได้ต้องเริ่มจากฟังก่อน
ว่าด้วยเรื่อง ผัสสะ เวทน าตัณหา อุปาทาน ภพ

โดยเฉพาะโมหะ รู้ได้ยาก


อาวรณานีวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต
[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม
เป็นอุปกิเลสของจิตทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้

๕ อย่างเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้นเป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม
พยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม.

[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้ามไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.

[๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.


อกุสลราสิสูตร
กองอกุศล ๕
[๖๙๖] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน
คือกามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาบาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน.


๔. โมหสูตร
[๑๙๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนนิวรณ์ คือ อวิชชานี้เลย

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน
เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์
คืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ

ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ(แห่งสงสาร) ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

“หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ”
คำว่า นิวรณ์
ได้แก่
กามฉันทะ(กามฉันทนิวรณ์)
พยาบาท(พยาบาทนิวรณ์)
ถีนมิทธะ(ถีนมิทธนิวรณ์)
อุทธัจจกุกกุจจะ(อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์)
วิจิกิจฉา(วิจิกิจฉานิวรณ์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.

“อวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ”
คำว่า อวิชชา
ได้แก่ ไม่แจ้งอริยสัจ ๔

“ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ(แห่งสงสาร) ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น ฯ”
คำว่า โมหะ
ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ ทำให้เกิดสักกายทิฏฐิ เกิดจากยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔(อวิชชา)


สัลลัตถสูตร
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก
เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐานฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ ฯ

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพันไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน
เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ


[๓๗๓]อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้แล เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น
ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดีและไม่ยินร้าย
อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้ ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ


ปหานสูตร
[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงละราคานุสัยในสุขเวทนา
พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา
เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา
ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด
เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

[๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนา ไม่รู้สึกตัวอยู่
มีปรกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก

ปฏิฆานุสัย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว
มีปรกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก

บุคคลเพลิดเพลิน อทุกขมสุขเวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์เลย
เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียรละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ

เธอชื่อว่าเป็นบัณฑิต ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท
เมื่อตายไป ย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลง ดังนี้ ฯ

คำว่า กำหนัด
ได้แก่ กามราคะ

คำว่า ขัดเคือง
ได้แก่ ปฏิฆะ

คำว่า หลง
ได้แก่ โมหะ


อธิบายแบบละเอียด

สังโยชนสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลพัตตปรามาส ๑
กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑
อรูปราคะ ๑
มานะ ๑
อุทธัจจะ ๑
อวิชชา ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล ฯ


อธิบายแบบย่อ

ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์
คือ ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


“กามุปาทาน”

คำว่า กามุปาทาน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่

กามตัณหา(ความอยากได้)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ภวตัณหา(ความอยากได้)
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน

วิภาวตัณหา(ความไม่อยากได้ทางโลก แต่อยากได้ทางธรรม เป็นโสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
นิมิต(ผัสสะ)และพยัญชนะ
ให้ดูตย.พระสุสิม ที่บวชเพราะอยากได้ลาภสักการะ
คิดว่าเป็นพระอรหันต์ ทำให้ลาภสักการะมีเกิดขึ้นกับตัวมากมาย

กามฉันทะ(ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕)
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ
สภาวะตรงนี้ ต้องศึกษาเรื่องขันธ์ ๕และอุปทานขันธ์ ๕ อริยสัจ ๔

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน
สักกายสมุทัยนั้นคือ
ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


๙. ตัณหาสูตร
[๒๓๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน
คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยตัณหาเครื่องประกอบสัตว์ไว้ มีจิตยินดีแล้วในภพน้อยและภพใหญ่
ชนเหล่านั้นประกอบแล้วด้วยโยคะ คือ บ่วงแห่งมาร เป็นผู้ไม่มีความเกษมจากโยคะ
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใดละตัณหาได้ขาด ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
สัตว์เหล่านั้นแล ถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

นิวรณ์มาก

อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


ตัวสภาวะ ต้องเริ่มจาก การฟังสัปบุรุษ
รู้ตามลำดับ
การรักษาศิล ๕
เชื่อกรรมและผลของกรรม
วิธีการดับชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้แก่ อริยสัจ ๔
ปัญญา(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ณ ปัจจุบัน
การละนิวรณ์ ที่มีเกิดขึ้นขณะหยุดสร้างเหตุ
ที่เกิดจากการปรุงแต่ง(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)


๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ

[๗๑] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่โลกามิส
คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนคนที่จากบ้านหรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไปใหม่ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย
บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม
ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา

ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ คบบุรุษนั้นและถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ ฯ

สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ฯ


จรวรรคที่ ๒
จารสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดินอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่เป็นอย่างนี้แล้ว เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นั่งอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้นไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่
และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะเกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละบรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดรมีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นั่งอยู่
และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่าผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่
และภิกษุไม่ยินดีละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ

ถ้าภิกษุใด เดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม ย่อมตรึกถึงวิตกอันลามกอิงอาศัยกิเลส
ภิกษุผู้เช่นนั้น เป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางผิด หมกมุ่นแล้วในอารมณ์ อันยังความลุ่มหลงให้เกิด
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม

แต่ถ้าภิกษุใดเดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม
ยังวิตกให้สงบแล้ว ยินดีในธรรม เป็นที่สงบวิตก
ภิกษุเช่นนั้นเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุซึ่งสัมโพธิญาณอันอุดม ฯ


๘. อินทรียสังวรสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์
แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์
แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


จักกวัตติวรรคที่ ๕
วิธาสูตร
ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์
[๕๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

[๕๐๔] โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว …
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ …
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

ว่าด้วยการละนิวรณ์ ๕

๙. มหาอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่อังคราชกุมาร ในอังคชนบท.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าสมณะๆก็แหละพวกเธอ
เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้นมีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่ว่า
เราทั้งหลายจักสมาทานประพฤติธรรม เป็นเครื่องทำความเป็นสมณะด้วย เป็นเครื่องทำความเป็นพราหมณ์ด้วย
เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา ก็จักเป็นความจริงแท้ใช่แต่เท่านั้น
พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด
ปัจจัยทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ในเพราะพวกเราอีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมัน จักมีผล มีความเจริญ.

[๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องทำความเป็นสมณะ และเป็นเครื่องทำความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ.
บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะ (มรรค ผล นิพพาน)
พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง
และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง
และคอยระวังจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีกายสมาจารและวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง
และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์นั้น.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ทั้งหลายถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์.

ได้ยินเสียงด้วยโสต … ดมกลิ่นด้วยฆานะ … ลิ้มรสด้วยลิ้น …ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ถึงความสำรวมในมนินทรีย์.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมเสียไปเลย.

[๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะ จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหาร
จักไม่กลืนเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนั้นตั้งอยู่ เป็นไปห่างไกลจากความเบียดเบียน
เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบำบัดเวทนาเก่าไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้มีความดำเนินไป ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย ด้วยประการฉะนี้.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า
พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะแล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำสำเร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเลย.

[๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น
ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
จักสำเร็จการนอนดังราชสีห์โดยเบื้องขวา ซ้อนเท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้นด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า
พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
และรู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้ว โดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำได้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆในความเป็นผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว
ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ซอกเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง.
เธอกลับจากบิณฑบาต ในการภายหลังแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า.
เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้.
ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้.
ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสำคัญ หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้.
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้.
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้เข้ามาวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

ว่าด้วยการละนิวรณ์ ๕
[๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานเหล่านั้นของเขาจะพึงสำเร็จผล.
เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา.
เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เรากู้หนี้ไปประกอบการงาน
บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา ดังนี้.
เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย.
สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้และมีกำลังกาย.

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย
บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้และมีกำลังกาย ดังนี้. เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ.
สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย.
เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ
บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้.
เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้.
สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ.
เขาพึงจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้
บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจดังนี้.
เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึงเดินทางไกลกันดาร.
สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย.
เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร
บัดนี้เราข้ามพ้นทางกันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้.
เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน
เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร.
และพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค
เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

ว่าด้วยฌาน ๔
[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแก่วิเวกอยู่.
เธอทำกายนี้แล ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสีตัวนั้นมียางซึมไปจับติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะนั้น.

[๔๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมดาเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.
เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล
แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.
เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด กออุบล กอปทุมหรือกอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจากน้ำ
จมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยง เอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น

[๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสในก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น.

ว่าด้วยวิชชา ๓
[๔๗๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ.
เธอระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้วกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติหน้า สองชาติบ้าน ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๗๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของของสัตว์ทั้งหลาย.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เปรียบเหมือนเรือนสองหลังมีประตูอยู่ตรงกัน บุรุษผู้มีจักษุ ยืนอยู่ตรงกลาง
บนเรือนนั้น พึงเห็นหมู่มนุษย์ กำลังเข้าสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังเดินไปบ้าง
กำลังเดินมาบ้าง กำลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๔๗๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.
เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา.
เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

เปรียบเหมือนห้วงน้ำบนยอดภูเขา มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ขอบห้วงน้ำนั้น
พึงเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง ฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง.
เขามีความดำริว่า ห้วงน้ำนี้ มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง และฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง ฉันใด
ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ว่าด้วยสมัญญาแห่งภิกษุ
[๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง นหาตกะบ้าง เวทคูบ้าง โสตติยะบ้าง อริยะบ้าง อรหันต์บ้าง.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า สมณะ?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นระงับเสียแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า สมณะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า พราหมณ์?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มี ชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นลอยเสียแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า นหาตกะ?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นอาบล้างเสียแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่านหาตกะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า เวทคู?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเวทคู.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าโสตติยะ?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นให้หลับไปหมดแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าโสตติยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอริยะ?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลภิกษุนั้น
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอริยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอรหันต์?
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอรหันต์.

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


สีลสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ
ย่อมมีนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติ กระเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดีของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


๘. อินทรียสังวรสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์
แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์
แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


จักกวัตติวรรคที่ ๕
วิธาสูตร
ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์
[๕๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

[๕๐๔] โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว …
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ …
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
เรียกว่า วิปัสสนา คือกำหนดรู้ผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กำหนดเนืองๆ(ต่อเนื่อง) จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สภาวะที่มีเกิดขึ้นคือ วิปัสสนาญาณ(อนิมิตตเจโตสมาธิ)
ได้แก่ สิ่งที่มีเกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่ ปราศจากตัวตน(คำบัญญัติ) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

“เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า”
ได้แก่ วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์) มีเกิดขึ้นก่อน
สมถะ(สัมมาสมาธิ/วิปัสสนาญาณ) มีเกิดที่หลัง

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


หลุดพ้นด้วยปัญญา

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

“ย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ รูปนาม

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


สมิทธิสูตร
[๒๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านพระสมิทธิตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ ฯ
ส. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึงความต่างกันในอะไร ฯ
ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ฯ
ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ฯ
ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ฯ
ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ฯ
ส. มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ฯ
ส. มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ฯ
ส. มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง ฯ
ส. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ ฯ
สา. ดูกรท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ดูกรท่านสมิทธิ วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ท่านตอบว่า มีนามรูปเป็นอารมณ์
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นถึงความต่างกันในอะไร
ท่านตอบว่า ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย
ท่านตอบว่า มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง
ท่านตอบว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข
ท่านตอบว่า มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่
ท่านตอบว่า มีสติเป็นใหญ่
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นยิ่ง
ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น
ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูกรท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง
ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ

ดูกรท่านพระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถามปัญหาก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตน ด้วยการแก้ปัญหานั้น ฯ

นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การเคลื่อนไหว กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ

ใช้คำบริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ในที่นี้พูดถึงเฉพาะ สัมมาสมาธิ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กายสักขี

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

“อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ”
ได้แก่ เห็นความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร
[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าชื่อ สีตะวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และพึงทำบุญเถิด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบปริวิตกแห่งใจของท่านพระโสณะด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ ที่ป่าสีตะวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้มิใช่หรือว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ มิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด
ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยังอยู่ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใดสายพิณของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ความเพียรที่ปรารภมากเกินไปย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
ท่านพระโสณะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทนี้
แล้วทรงหายจากป่าสีตวันไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ

ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะ ได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
ได้ตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น

ต่อมา ท่านพระโสณะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย
ได้ทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แลท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่าไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบในภพ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ ๖ ประการ คือ
เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสงัด ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล ๑ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภ สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปยังความสงัด แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่พรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสงัด
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ ฯลฯ
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาสกลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นในกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุแม้ดีเยี่ยมมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้
รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของท่านได้จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวและท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิมฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น ฯ

ท่านพระโสณะครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปอีกว่า
จิตของภิกษุผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน และผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหลแห่งใจ
ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายตนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำและการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบมีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด
รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมยังจิตอันตั้งมั่นหลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ฉันนั้นและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ดังนี้ ฯ

.

คำว่า ได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้นต่อมา
ได้แก่ ใช้คำบริกรรม

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ