พระอนาคามี

พระอนาคามี

หากได้อ่านตั้งแต่แรกเริ่มเรื่องอนาคามีที่เราได้เขียนรายละเอียดไว้
น่าจะเข้าใจมากขึ้นเรื่องอนาคามี
ไม่ใช่เป็นอนาคามี แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
ยกตย.เด็กในข่าวชื่อน้องไนซ์
ที่พูดทำนองว่า ตัวเองอนาคามีมาก่อน(ชาติก่อน)
แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นอนาคามีต่อ
ที่น้องพูดแบบนี้เกิดจากขาดการศึกษาในพระธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องพระอนาคามี
ไม่มีหรอกนะ ที่เด็กบอกว่าเป็นอนาคามีมาก่อน แล้วตาย
แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษ์อีก
ไม่มีหรอกนะ ไม่มีแน่นอน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจน
พระอนาคามี มีเกิดขึ้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้


ดีใจอีกเล็กน้อย
ที่สามารถสะสมพระสูตรที่ควรรู้
แม้จะค่อยๆรู้ก็ตาม
แต่ก็ทำให้รู้สึกดีใจได้เหมือนกัน
ประมาณว่า นั่นหมายถึงสิ่งที่เราทะยอยเขียนมาเรื่อยๆ
ค่อยๆเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และปฏิบัติตามได้
โดยมีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
เป็นเสมือนแผนที่ ทำให้ไม่ไปสนใจข้างนอก
ข้างนอก สิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ล้วนเกิดจากการกระทำของตน
ผลของกรรมมาในรูปแบบของเวทนา โลกธรรม ๘
ที่เกิดเป็นทุกข์ เกิดจากยังขาดปัญญา ยังไม่มีปัญญามีเกิดขึ้นในตน
เกิดจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษมาก่อน
หากเคยได้สดับธรรมมาก่อน
อย่างน้อย ทุกข์ที่มีเกิดขึ้น ย่อมเบาบางลง
เพราะมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ทำให้สามารถรับมือกับผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
ตั้งแต่ลืมตา(ตื่น) จนกระทั่งหลับลง


เรื่องพระอนาคามีและวิธีการปฏิบัติ เคยเขียนไว้แบบคร่าวๆ
เรื่องวิธีการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ

วิธีการปฏิบัติ

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
เทวตาวรรคที่ ๒
อนาคามิสูตร
[๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑
ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑
ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑
ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑
ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑
ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑
ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ

.
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4083&Z=4299

.

สมถะและวิปัสสนา

  • สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน
    ในที่นี้หมายเอาเฉพาะรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
  • สมถะล้วนๆ
    กามเหสสูตรที่ ๑
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9604&Z=9623
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ
  • วิปัสสนาล้วนๆ
    กามเหสสูตรที่ ๒
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9624&Z=9635…
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ
  • สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน
    สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
    วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง
    สมถะและวิปัสสนามีเกิดขึ้นสลับกันไปมา
    กามเหสสูตรที่ ๓
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9636&Z=9649…
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น รูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ อีกส่วน
    มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง อีกส่วน
    ยถาภูติญาณทัสสนะ

.

  • บรรลุช้า ปฏิบัติตลอดชีวิต
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ
    ฌานสูตรที่ ๑
    https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3451&Z=3504…
  • บรรลุช้า ปฏิบัติตลอดชีวิต
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิและมีไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
    ฌานสูตรที่ ๒
    https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3505&Z=3525…
  • บรรลุช้าและบรรลุเร็ว
    มีเรื่องกรรมและผลของกรรม และอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
    สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิและมีไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
    ฌานสูตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145

.

ผลของการปฏิบัติตาม บรรลุบุรรลุช้าและเร็ว

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี
คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น
ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.
[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุไม่ได้
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๖) ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.
.
พระสูตรเหล่านี้ ล้วนเป็นจิ๊กซอที่ได้สะสมเก็บไว้ในหลายปี
ค่อยๆเจอที่ละพระสูตร ไม่ได้เจอแบบเป็นกลุ่มก้อน
พระสูตรแรกที่เจอ คือ ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ซึ่งเป็นความรู้เห็นของสัปบุรุษ
บุคคลนี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
มีสภาวะเหล่านี้ตามในพระสูตรนั้น มีเกิดขึ้นในตนตามจริง


การเขียนรายละเอียดเรื่องพระอนาคามี
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น
มีเกิดขึ้นมาตั้งแต่หลังเข้ารพ. นอนรพ. มีอาการหัวใจล้มเหลว หมดสติ
ต่อจากนั้นค่อยๆเจอจิ๊กซอพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องพระอนาคามี
พอจะคร่าวๆได้ว่า พระอนาคามี แบ่งใหญ่ๆมี ๒ ประเภท
บรรลุช้าและบรรลุเร็ว
มีเกิดขึ้นตอนมีชีวิตอยู่ และหลังเสียชีวิต
แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท
เพราะมีเรื่องของอินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสัมมาสมาธิ
และมีเรื่องของกรรมเก่าที่เคยกระทำไว้(มิจฉาสมาธิ)
และกรรมใหม่ ที่กำลังกระทำอยู่( อินทรีย์ ๕ สัมมาสมาธิ)

.
การที่เราได้เขียนมาเรื่อยๆ จะมีเหตุให้เจอพระสูตรในแต่ละสูตร
ค่อยๆเจอ ไม่ได้เจอทันทีทั้งหมด
ที่สำคัญ บุคคลนั้นต้องเข้าถึงสภาวะนั้นๆตามจริงด้วยการปฏิบัติ
ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ แล้วนำมาเขียนหรือนำมาพูด
หากไม่ได้พระสูตร จะไม่สามารถอธิบายได้เลย
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะดับเฉพาะตน
ไม่สามารถย่อหรือขยาย รายละเอียดของสภาวะที่มีเกิดขึ้น

.
พูดเรื่องกรรมเก่า และกรรมใหม่
ก็ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายกับพระสารีบุตร
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

กรรมเก่า
“บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

.
กรรมใหม่
“ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้น
แล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”
คำว่า ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ปรินิพพานบนโน้น

” บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว”
หมายถึงเป็นบุคคลที่ได้สดับธรรม
จากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ประกอบด้วยได้สิกขา ๓ และปฏิบัติตาม
ตัวแปรของสภาวะคืออินทรีย์ ๕
โดยเฉพาะสัมมาสมาธิและปัญญา
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ(สีลปาริสุทธิ)
ปัญญาไตรลักษณ์
ปัญญา แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

.
การอธิบายรายละเอียด
จะอธิบายเรื่องวิธีการปฏิบัติเริ่มจาก ศิลและสีลลัพพตปรามาส
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติตาม ทำให้จากศิล มาเป็นสีลปาริสุทธิ
สภาวะสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้น แม้จะไม่รู้จักคำเรียกก็ตาม
ปาริสุทธิเกิดจากการปฏิบัติตามบุคลลเหล่านี้ คือพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ทำให้ค่อยละๆกามุปาทานที่มีอยู่ เบาบางลง
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลงโดยตัวของสภาวะ

เมื่อมาทำกรรมฐาน
อาศัยผู้ที่ผ่านเส้นทางนี้มาก่อนและปฏิบัติตาม
คือการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ส่วนจะเจอใครเป็นคนแนะนำ ขึ้นอยู่กับกรรมและผลของกรรม
คือกรรมเก่าที่เคยกระทำไว้และกรรมใหม่ที่ได้กระทำขึ้นมาใหม่
ส่วนผลของการปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕

โดยเฉพาะวิริยะ ทำมากแต่ขาดผู้แนะนำ
ทำให้ปฏิบัตินั้นกลายเป็นทุกข์ไป
เกิดจากความสงสัยในสภาวะที่มีเกิดขึ้น นิวรณ์ครอบงำ
เพราะผู้ที่มาแนะนำ มีความรู้แค่ไหน ย่อมพูดและอธิบายได้แค่นั้น
ให้พูดมากกว่านี้ ทำไม่ได้หรอก เพราะสภาวะนั้นๆ ตนยังไม่เข้าถึง
ยกตย. ผู้ปฏิบัติได้รูปฌาน จะให้พูดเรื่องอรูปฌาน ทำไม่ได้หรอก
ผู้ปฏิบัติได้อรูปฌาน จะให้พูดเรื่องนิโรธสมาบัติ ทำไม่ได้หรอก

เพราะผู้ที่อธิบายได้ ต้องมีสภาวะเกิดขึ้นในตนก่อน
คือเห็นความเกิด ขณะกำลังเกิด และดับ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ตามลำดับ

หากสภาวะนั้นๆไม่มีเกิดขึ้นในตน
จะไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นปฏิบัติตามได้หรอก
จะโทษใคร ต้องโทษตัวเอง
สิ่งที่ตนกระทำไว้ในแต่ละขณะๆ ขณะดำเนินชีวิต คือศิล
โดยเฉพาะการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ เป็นตัวแปร
การฟังธรรมจากพระอริยะ จะมีความรู้เห็นเรื่องการรักษาศิลต่างๆ
การฟังธรรมจากสัตบุรุษ
เป็นผู้ที่ปฏิบัติมีสมาบัติ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
จนกระทั่งเข้าธรรม โสดาปัตติมรรค โสดาปัติผล ตามจริง

โดยมีหลักฐานจากพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะมีความรู้เห็นเรื่องกรรมและผลของกรรม
สภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน นำมาเล่าให้คนอื่นฟัง
ผู้ที่ฟัง เคยสร้างกรรมในอดีตกับบุคคลนั้น เคยเชื่อกัน
มาในชาติปัจจุบันมาเจอกัน พอได้ฟัง ก็เชื่อกันอีกและปฏิบัติตาม
การฟังธรรมจากสัปบุรุษ เป็นผู้ที่แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน
ย่อมพูดเรื่องผัสสะ เวทนา
และวิธีการกระทำเพื่อดับภพชาติของการเกิดปัจจุบัน

ผลของการปฏิบัติตามบุคคลเหล่านี้
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลง
เมื่อมาทำกรรมฐาน นิวรณ์ ย่อมน้อยลง
จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีโอกาสที่จะเป็นสัมมาสมาธิ
เพราะบุคคลเหล่านี้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
สภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน


เมื่อวาน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาท
ของวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน๑-
และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอก๒-
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป)
มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๓-
เธอจุติจากอัตภาพนั้น เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นบรรลุเจโตวิมุตติที่สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
ภิกษุนั้นหลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง๑-
เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกามทั้งหลาย
ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพทั้งหลาย
เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอปฏิบัติเพื่อสิ้นความโลภ
หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
เธอจุติจากอัตภาพนั้นเป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้

= ตรงนี้จะนำมาอธิบายอีกที=

.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ
สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร
สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป
ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ
ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรนั่นกำลังเทศนา
ถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณา
เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอาราธนาด้วยดุษณีภาพ
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหาร
ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร
ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่
ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย
อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด
ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง
๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง
๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง
แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาส
แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง
เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน
ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้
ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ
สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต
ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย
ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ

= อธิบาย =
ข้อแรก ภายใน ผัสสะ เวทนา
“ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป
ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

ตัวแปรของสภาวะคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เรื่องเนวสัญญาฯที่ป็นมิจฉาสมาธิ

.
ข้อที่สอง
“ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

ภายนอก
ตัวแปรของสภาวะคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เรื่องเนวสัญญาฯที่ป็นสัมมาสมาธิ
คือภายนอกหรือภายใน ตัวแปรคือ โอรัมภาคิยสังโยชน์
โดยเฉพาะสัมมาสมาธิสำคัญที่สุด
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอธิบายให้พระสารีบุตรฟังแล้ว
ในพระสูตร สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

เอาจริงๆนะ หากสภาวะเหล่านี้ไม่มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน
เราก็ไม่สามารถจะเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตร
เพราะเราเคยตายในอดีตชาติ ในชาติที่เราเป็นหลวงจีน
มรณะขณะทำกรรมฐาน
มาในชาตินี้ ทำให้เราจึงสนใจเรื่องการทำกรรมฐาน
จนกระทั่งปฏิบัติได้สมาบัติ ๘
นั่นเกิดจากของเก่าที่เคยทำไว้มาในอดีตชาติก่อน
เพียงเป็นเนวสัญญาฯที่เป็นมิจฉาสมาธิ

.
ข้อที่สาม
“ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ
ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ”

คำว่า เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ได้แก่ กามคุณ ๕
เกิดจากกามุปาทาน

คำว่า เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ดับกามาสวะ ดับภวาสวะ

สรุปที่พระสารีบุตรสรุปไว้แบบนี้
ต้องเข้าใจก่อน รู้แค่ไหน ย่อมอธิบายได้แค่นั้น
นึกถึงตัวเอง สมัยนั้นก็อธิบายวกวนแบบนี้แหละ
ผู้ที่มีวิชชา ๓ เกิดขึ้นในตนแล้ว
แรกๆใช่ว่าจะมีความรู้อะไรมากมาย

ต้องอาศัยเวลา คือตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนะนำพระสารีบุตรไว้
ที่เรารอดมาได้ เพราะเราแค่เขียนออกมาเรื่อยๆ
เพราะรู้ว่าสิ่งที่รู้เห็นหรือผุดขึ้นมา ยังไม่จบ ยังมีผุดขึ้นมาเรื่อยๆ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสพระสารีบุตรแบบนั้น
พระองค์ไม่ได้ทรงตำหนิพระสารีบุตร
เพียงบอกว่าพระสารีบุตรควรทำอะไร

ส่วนตรงนี้
“ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ”
ก็บรรลัยสิ เหมือนเราในอดีตชาติที่เกิดเป็นหลวงจีนน่ะ


เมื่อวาน

เขียนมาตั้งนาน
เพิ่งจะเจอพระสูตรจนครบ
พระสูตรนี้มีเกิดขึ้นก่อน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้ ตัวสภาวะที่สำคัญมีแค่นี้

  • บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ ยังละกามุปาทานยังไม่ได้
  • และบุคคลบุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
    ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ ละกามุปาทานได้แล้ว

พระสูตรที่ ๑
พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้แค่นี้
ถึงบุคคล ๓ ประเภท

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
(แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว

ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบตนด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสอง
ชื่อว่ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ

ส่วนสัตว์เหล่าใด ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี

ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว
มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

= อธิบาย =
“บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ “

สามารถอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้น ๒ แบบ
กรรมเก่าและกรรมใหม่(ปัจจุบัน)

  • กรรมเก่า ให้อ่านในพระสูตร สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
  • กรรมใหม่ มีเกิดขึ้นปัจจุบัน
    เป็นบุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
    ยังละกามโยคะ เป็นสมุจเฉท คือยังไม่ได้มรรคผลตามจริง
    ผลของการปฏิบัติทำให้โอรัมภาคิยสังโยชน์ที่มีอยู่ เบาบางลง
    เป็นอนาคามี ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
    คำว่า ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
    ได้แก่ ผัสสะ เวทนา
    ปฏิบัติตลอดชีวิต
    .
    พระสูตรใช้นำมาขยายคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสย่อไว้
    จากการสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระสารีบุตร
    สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

.
เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังการอธิบายจากพระพุทธเจ้า
แล้วพระสารีบุตรนำไปสนทนากับพระภิกษุ
มาเป็นพระสูตรนี้
๔. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน
บุคคลผู้มีสังโยชน์ ๒ จำพวก

ในพระสูตร ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตรัสแบบนั้นกับพระสารีบุตร
“ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก
แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง
เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ
สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ
สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต
ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย
ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ”
และทรงตรัสกับพระสารีบุตรอีกครั้ง
“ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ”

ซึ่งมีเหตุนะ
ก็ให้อ่านเนื้อความเต็มในพระสูตร ๔. สมจิตตวรรค


ย่อ

๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
(แต่)ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะและภวโยคะ
ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมีปรกติถึงความเกิดและความตาย
ส่วนสัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี
ส่วนสัตว์เหล่าใด ตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

= อธิบาย =
“กามโยคะ”
ได้แก่ กามตัณหา

คำว่า ภวโยคะ
ได้แก่ ภวตัณหา

คำว่า สัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
ได้แก่ ละกามุปาทาน

วิธีการละ
๑. ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
๒. ด้วยการทำกรรมฐาน ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ในชาติปัจจุบัน

.

ขยาย

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ
หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ในภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะวจีสัญเจตนา ๒ เป็นเหตุ
หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะมโนสัญเจตนา เป็นเหตุ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น
หรือบุคคลรู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งวจีสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง
หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว
ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง
หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
หรือบุคคลไม่รู้สึกตัวย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วในธรรมเหล่านี้
แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ
กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น
ย่อมไม่มี วาจา … ใจ … เขต … วัตถุ… อายตนะ …
อธิกรณะอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นย่อมไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป
ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป
ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย
สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน
ก็มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่เป็นไปก็มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้
ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป
มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้
คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น
ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่
สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปก็มิใช่นี้
จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลายด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร
พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยอัตภาพนั้น ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้น แล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา
ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

= อธิบาย =
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน”

คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ในที่นี้หมายถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นมิจฉาสมาธิ

“นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

.
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน”

คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ในที่นี้หมายถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นสัมมาสมาธิ

“นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ”

.
การที่เข้าใจในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
แล้วการเข้าถึงสภาวะนั้นๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
การท่องจำเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถจะเข้าใจได้หรอก
เกิดจากสภาวะนั้นๆยังไม่มีเกิดขึ้นในตน

.
ส่วนตรงนี้เราได้เขียนอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้นเรื่องคำเรียกพระอนาคามี

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เรื่องอนาคามี มี ๒ ประเภท
ไม่ใช่เรื่องมรรคผล แต่เป็นเรื่องของภพชาติของการเกิด
ส่วนอนาคามี ๕ ประเภท คนละเรื่องกัน
อันนั้นเรื่องสัมมาสมาธิอยู่ในอินทรีย์ ๕ ทั้งบรรลุเร็วและบรรลุช้า

การศึกษาก็สำคัญ
นำมาบางส่วนจากพระสูตร พระพุทธเจ้าสนทนากับพระสารีบุตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

= อธิบาย =
เนวสัญญานาสัญญา มี ๒ ประเภท มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้
แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึงความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้วย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

เนื้อความที่สำคัญอยู่ตรงนี้ “ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้”
สมาธิในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่เป็นมิจฉาสมาธิ

คำว่า กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ เกิดเป็นมนุษย์ มีของเก่าเนวสัญญายตนะติดตัวมา
ชาติปัจจุบันมีเหตุให้ทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
ย่อมเป็นอนาคามี ณ ปัจจุบัน

.
“บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว
เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน
บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญานั้น น้อมใจไป
อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

เนื้อความที่สำคัญอยู่ตรงนี้ “ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว”
สมาธิในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ สภาวะมีเกิดขึ้นปัจจุบัน
คำว่า ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ได้แก่ ไม่กลับมาเกิดเป็นนมนุษย์อีก

การศึกษาก็สำคัญ การเข้าถึงด้วยการปฏิบัติ ยิ่งสำคัญมากขึ้น
มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงเนวสัญญาฯที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ยังไม่ตรัสถึงเรื่องมรรคผล
ไปหาอ่านได้พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่องสัมมาสมาธิ
เพียงปฏิบัติเข้าถึงรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่เสื่อม
จนกระทั่งเสียชีวิต ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก

.
สิ่งที่เราเขียนเพื่อให้คนที่เข้าไปอ่าน สามารถจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
ตัดทิ้งไปก่อนเรื่องพระอนาคามี
คนที่ติดพยัญชนะ จากที่เคยอ่านหรือฟังมา
จะไม่ยอมรับ เกิดจากยึดมั่นในตำราในบางส่วนที่เคยอ่าน เคยฟังมา

.

อธิบายสภาวะมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ผลที่ได้รับจะแตกต่างกัน

ผลของการทำกรรมฐาน
จะใช้สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้คำบริกรรม
หรือใช้วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์
หรือสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันก็ตาม
ทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน
จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ
ในที่นี้ตามพระสูตรที่นำมาแสดงนั้น
เป็นสภาวะของสัมมาสมาธิตามจริง
อยู่จนคุ้นด้วย สมาธิไม่เสื่อม

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับคือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.
ตัวสภาวะตามพระสูตรนี้
ในที่นี้หมายถึง หากยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง ต้องปฏิบัติตลอดชีวิต

และกำลังสมาธิที่มีอยู่ไม่เสื่อม จนสิ้นชีวิต
อย่าลืมว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
กรรมและผลของกรรม เหตุมี ยังคงให้รับผลอยู่
ผัสสะมี เวทนาย่อมมี
ปฏิบัติจนรูปฌาน ก็สามารถเสื่อมได้
จะมีเหตุทำให้ปฏิบัติต่อไม่ได้ เช่นอุบัติหรือการเจ็บป่วย
และอะไรอีกมากมาย คาดเดาไม่ได้หรอก

กามคุณ ๕กับความกำหนัด(ทางเพศ)

05-04-2567
ได้ดูข่าวเรื่องคนบวชเป็นพระ
ยังเป็นพระอยู่ ได้ช่วยตัวเอง

พระพูดทำนองว่าเป็นเรื่องปกติ พระหลายรูปย่อมผ่านเหตุการณ์นี้มาก่อน
ซึ่งเราได้เขียนคอมเมนต์ไว้ว่า สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษ
เป็นผู้ที่ขาดสิกขาและไม่ปฏิบัติตามพระวินัย

มีคนมีคำถามไว้ว่า มีฮอร์โมนอะไรที่คุมความกำหนัดได้มั่งครับ
เราได้ตอบไว้ว่า มีค่ะ ด้วยการสร้างโฮโมนเกิดขึ้นในตนก่อน
ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
.
จะอธิบายให้ฟังนะ
หลายคนไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ และคำว่าความกำหนัด(ทางเพศ)
สำหรับบุคคลที่มีโอกาสฟังธรรมจากพระอริยะ ในที่นี้หมายเอาพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงตรัสรู้ มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง

ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนตามจริง
เวลาอธิบายรายละเอียดคำเรียกที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
จะพูดหรืออธิบายเหมือนๆกัน
โดยเริ่มจากการกรักษาศิล ๕ รักษาอุโบสถ ทำทาน ทำกรรมฐาน

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัตบุรุษ
ลักษณะสัตบุรุษที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะมีสภาวะนี้มีเกิดขึ้นในตน
คือเป็นผู้ปฏิบัติทำกรรมฐาน จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
ได้แก่ กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล
ปัจจุบันจะเป็นสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ซึ่งยังคงมีพระสูตรที่เป็นหลักฐานอยู่
ตรงนี้เป็นความรู้เห็น
เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี
ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
ฯลฯ
[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

= อธิบาย =
ความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป เป็นขั้นตอน จะรู้ชัดตรงสภาวะนี้ก่อน
แจ้งนิพพาน ดับภพ คือดับตัณหา ๓
ความเกิดและดับอวิชชา สังขาร วิญญาณฯลฯ
นี่เป็นสภาวะของโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ประเภท กายสักขี
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

ที่ได้เนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ จนได้มรรคผลตามจริง
สำหรับบุคลที่มีกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
ความรู้ความเห็นนี้จะไม่มีเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ตามจริง
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ผ่านเส้นทางนี้มาก่อน
.
สัตบุรุษจะมี ๒ ประเภท
เข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ประเภทที่ ๑ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สุขาปฏิทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องสมาธิ เรื่องฤทธิ์ เรื่องทำกรรมฐาน

ประเภทที่ ๒ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่าทุกขาปฏิปทา

ส่วนจะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้า
การอธิบายจะแยกออกจากกัน
ประเภทที่บรรลุเร็ว
หลังได้มรรคผลจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
คือกว่าจะได้มรรคผลตามจริง ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

ชดใช้กรรมที่ตนเคยกระทำไว้
ด้วยเหตุนี้จึงจะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม
โดยนำเรื่องราวในชีวิตของตนนำมาเล่าให้ฟัง

ยกตย. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ไปหาอ่านได้ประวัติของท่าน
ท่านคอหักเกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับเต่า
วีรกรรมของท่านตั้งแต่ไว้เด็ก สุดยอดเลย
ท่านเคยตายนะไส้เน่า เกิดจากเคยสร้างกรรมไว้กับไก่
ทำการตอนไก่ คือเลียนแบบจนไก่ไส่เน่าแล้วตาย
ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากสัตุบุรษและปฏิบัติตาม
จะแจ่มแจ้งกรรมและผลของกรรม คือรู้ด้วยตน
.
ตอนนี้จะเริ่มอธิบายเรื่องความกำหนัด
หมายถึงผัสสะ เวทนา และความกำหนัดทางเพศ

ผู้ที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ย่อมไม่ทำผิดศิล ๕
เช่นเห็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การแต่งตัว ดูยั่วใจ หรือชอบดูหนังโป้
ทำให้เกิดความกำหนัดทางเพศ
บางคนเลือกช่วยตัวเองมากกว่าไปทำผิดศิลต่อครอบครัวของคนอื่น
ซึ่งหลายๆคนยังไม่เข้าใจเรื่องกามคุณ ๕ หรอก

ต่อมาได้สดับธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
สัปบุรุษจะอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นและความดับ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

เมื่อได้การอธิบายตรงนี้ ทำให้ค่อยๆมีปัญญาเกิดขึ้นในตน คือไตรลักษณ์
เกิดจากการอดทนอดกลั้น ไม่กระทำตามความอยากที่มีเกิดขึ้น
ไม่กระทำจนถึงขั้นทำผิดศิล

ผลของการปฏิบัติ คือพยายามหยุด ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดเรื่องกรรมและผลของกรรมด้วยตน
เมื่อเป็นแบบนี้ เรื่องกามคุณจะถูกเพิกถอนออกไปเป็นอัตโนมัติ
เกิดจากสีลปาริสุทธิมีเกิดขึ้นในตนมากขึ้น
ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ย่อมเบาบางลงโดยตัวของสภาวะ

ทีนี้มาพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ
สามารถมีเกิดขึ้นโดยไม่มีอะไรมากระทบทำให้เกิดความรู้สึกเกิดขึ้น
เกิดจากคนเหล่านั้นเคยผ่านการเสพกามมาก่อน
จากการมีคูู่หรือไม่มีคู่ด้วยการช่วยตัวเอง
นี่กำลังพูดเรื่องความกำหนัดทางเพศ ไม่ใช่เรื่องกามฉันทะนะ
ต้องแยกออกจากกัน
กามฉันทะ(เวทนา)มีเกิดขึ้นจากมีผัสสะเป็นปัจจัย
ผู้ที่ละกามฉันทะ ได้แก่ พระอนาคามี

ส่วนความกำหนัดทางเพศ
ผู้ที่มีวิชชา ๓ จึงจะสามารถละได้หมดสิ้น เหมือนตอไหม้
แรกๆความกำหนัด มาปรากฏในฝัน แค่ดูเหมือนดูหนังเรทอาร์ประมาณนี้
ความรู้สึกมีเกิดขึ้น แล้วจะคลายหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร
ต่อมามีอีก เปลี่ยนเรื่องใหม่ แต่ความรู้สึกเดิมๆ
แค่มองมากขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับไม่ให้มีเกิดขึ้นได้ เป็นเพียงนิมิต
หากให้ความสำคัญสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วมีพิจรณาทำนองว่าเอสภาวะของเรานี่เข้าถึงนี่ๆ
ทำไมยังมีฝันเรื่องพวกนี้ได้
ที่มีการนำเรื่องฝันมาพิจรณากันนี่
เกิดจากยังละความเป็นของที่ตนคิดว่าเป็น
ก็พยายามทำสมาธิให้มากขึ้น
เมื่อสมาธิมีกำลังมากขึ้น ความฝันจะไม่มีเกิดขึ้นอีก

เราปฏิบัติเพื่อการดับภพชาติของการเกิด
หากยังมีใจยังมีคิดอยู่ทำนองว่าตนเป็น
นั่นหมายถึงยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
ความรู้ความเห็นจะจมแช่อยู่แค่นี้
คำพูดมีแต่จากการท่องจำ ไม่ใช่การเข้าถึงสภาวะนั้นๆ


06-04-2567
อธิบายต่อเมื่อวาน

ที่เราเขียนไว้ว่า เราปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้
๑. กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะตัวเดียวกัน
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติคำเรียกให้แตกต่างกัน
เพราะผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน จะอธิบายรายละเอียดทั้งหมด
ตรงกับลักษณะสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
หากยังไม่สามารถอธิบายได้
นั่นหมายถึงสภาวะของผู้นั้นยังไม่เข้าถึงโดยตัวของสภาวะนั้นๆ
ให้ทำความเพียรต่อได้ จนกว่าจะแจ่มแจ้งแทงตลอด
ในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามสัญโญชน์ กามาสวะ
เป็นสภาวะมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
หากกามาสวะถูกทำลายเป็นสมุจเฉท
ทำให้ดับกามภพลงไปได้
ที่เรียกว่า ภพที่เป็นกามาวจรภูมิ

.
มีคำถามว่า เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นใดชั้นนึง
สามารถปฏิบัติเพื่อละกามได้หรือเปล่าครับ

มีเนื้อหาในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ตรงๆหรือเปล่าครับ
เช่นการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
ในเมื่อบนสวรรค์มีกามอยู่ตลอด
เป็นเทวดาจะสามารถทำสมาธิเข้าฌานจนสงัดจากกามได้ไหม
หรือต้องทำกาละ จุติจากเทวดาไปเป็นพรหมก่อน ถึงปฏิบัติเนกขัมมะได้

คำตอบ คำตอบของคำถามข้อแรก คำว่าสวรรค์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขณสูตร
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖
อันเราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิกนรกนั้น
สัตว์จะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ
จะฟังเสียงอะไรๆ ด้วยหู…
จะดมกลิ่นอะไรๆ ด้วยจมูก…
จะลิ้มรสอะไรๆ ด้วยลิ้น…
จะถูกต้องโผฏฐัพพะอะไรๆ ด้วยกาย…
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
[๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น
เราได้เห็นแล้ว ในผัสสายตนิกสวรรค์นั้น
บุคคลจะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าปรารถนา
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าใคร่
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าใคร่
ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ
ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ
จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่
ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ
ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี …
เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป
เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเสียง … กลิ่น … รส … โผฏฐัพพะ …
ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี
ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์
เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป คลายไปและดับไป
ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ฯ
[๒๑๗] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น
อันน่าปรารถนา น่าใคร่และน่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ประมาณเท่าใด
รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล
เป็นสิ่งอันชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข
ถ้าว่ารูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น
เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นสมมติว่าเป็นทุกข์
ส่วนว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข
การเห็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้
ย่อมเป็นข้าศึกกับชาวโลกทั้งปวง
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข
พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข
เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก
คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้
ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์หุ้มห่อ
เหมือนความมัวมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่เห็น
นิพพานย่อมมีแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่างย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น
ชนทั้งหลายแสวงหา ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานอันมีในที่ใกล้
ธรรมนี้อันบุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ
ผู้แล่นไปตามกระแสตัณหาในภพ
ผู้อันบ่วงแห่งมารท่วมทับไม่ตรัสรู้ได้ง่าย ใครหนอ
เว้นจากพระอริยะเจ้าทั้งหลายแล้ว
ย่อมควรเพื่อจะตรัสรู้นิพพานบท
ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้โดยชอบ
เป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ฯ
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร
[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคม
ชื่อว่าเทวทหะของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว
มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น
ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ
ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มีธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ
ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่
เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ

คำถามข้อที่ ๒ ซึ่งถามว่าการที่เทวดาลงมายังโลกมนุษย์
แล้วได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใส
ถ้าจะกลับไปปฏิบัติธรรมท่านเหล่านั้นจะปฏิบัติยังไงครับ
คำตอบ จะเข้าใจด้วยตนต้องเข้าถึงธรรม คือวิมุตติที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน
มีเกิดขึ้นขณะตอนมีชีวิต ประเภทบรรลุเร็ว

เป็นความรู้เห็นของผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตน ตามจริง
ซึ่งมีหลักฐานที่ยังคงปรากฏอยู่
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
.
หากวิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นในตนตอนมีชีวิตอยู่
จะมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ
หากขณะทำกาละ วิมุตติยังไม่มีเกิดขึ้นขณะนั้น จะมีเกิดขึ้นในอนาคต
เป็นประเภทบรรลุช้า
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม
อันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ … บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์
ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย
ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

โลกธรรม ๘

2 วัน ·
ถ้าให้พูดถึงผู้ที่เข้าถึงธรรม
แค่โสดาปัตติมรรค โสดปัตติผล ตามจริง

และประกอบได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรษ ปุริสบุคคล
คนนั้นชีวิตค่อนข้างสบายมากกว่าคนที่ได้มรรคผลตามจริง
แต่ขาดการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
เพราะอะไรเหรอ
เพราะยังขาดปัญญาการกระทำเพื่อดับทุกข์
อาศัยความเชื่อส่วนตัว ทำให้เกิดการกระทำตามตัณหาที่มี่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะความโลภ สะสมกิเลสไว้
ความโลภแม้จะไม่ได้โลภต่อนอกตัว(ของคนอื่น)ก็ตาม
แต่ยังละความโลภที่มีอยู่ข้างใน(เฉพาะตน ของตน)
เป็นการกระทำทำให้เกิดการสะสม มากกว่าสละออก
เราหมายถึงยังละกามฉันทะยังไม่ได้
ยังมีความยินดีพอใจในโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้น
เราไม่ได้พูดถึงกามคุณ ๕ แต่พูดถึงโลกธรรม ๘


2 วัน
ปัญญาแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงด้วยตน
ความเกิดและความดับมีเกิดขึ้น
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะฯ
แม้ผู้นั้นไม่รู้ว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้นเป็นสภาวะคืออะไร เรียกว่าอะไร
ปัญญาที่มีเกิดขึ้นตรงนี้
อย่างน้อยจากที่เคยทุกข์มากถึงขั้นน้ำตานองหน้าเนืองๆ
ที่เกิดจากศรัทธา เชื่อกรรมและผลของกรรม
ทำให้เกิดความอดทนอดกลั้นต่อคำพูดและการกระทำของคนอื่น
ซึ่งเป็นเรื่องของผลของกรรมในรูปแบบของเวทนา
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของโลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เพียงแต่ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษมาก่อน
ต่อให้เจอทุกข์แสนสาหัสก็ตาม ยังคงทำกรรมฐานต่อเนื่อง
เมื่อจิตเป็นสมาธิเนืองๆ
จากที่เคยทุกข์จากคำพูดของคนอื่น
ความอดทนอดกลั้นไม่ต่อปากต่อคำคนนั้น
ประกอบกับจิตเป็นสมาธิ
เชื่อกรรมและผลของกรรม
ทำให้สามารถอยู่กับสภาวะที่มีเกิดขึ้นนั้นๆได้
ไม่ถึงขั้นเป็นการป่วยเป็นคนซึมเศร้า

เมื่อเกิดการปลงตกว่าทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น บังเอิญไม่มีอยู่จริง
ล้วนเกิดจากการกระทำของตน
จะด้วยเจตนาได้ก็ตาม ทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ระลึกไม่ได้
เมื่อเป็นแบบนี้ จิตค่อยๆปล่อยความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่กระทบมา
จะค่อยๆมีปัญญาเกิดขึ้นทีละน้อย
เห็นความไม่เที่ยงที่มีเกิดขึ้น
วันนี้เขาด่า เพราะเขาไม่ถูกใจ
วันไหนเขาถูกใจ เขาจะยกยอ
ด้วยเหตุนี้ ทำให้จะมีเหตุให้เราห่างจากบุคคลนี้ ไม่คบค้าสมาคมด้วย
โดยที่อาศัยความอดทนอดกลั้นไม่สร้างกรรมใหม่ร่วมกับคนนี้
เวลาเขานินทาหรือยกย่อใคร
จะไม่เข้าร่วมสนทนาด้วย
เมื่อกรรมที่เคยกระทำต่อกันไว้จบลงแค่นี้
คนนี้จะไปเจอคนใหม่ แล้วจะห่างจากเราไปเอง

ความรู้ความเห็นไม่ต้องเข้าถึงอรหัตมรรค อรหัตผลหรอก
เพียงแต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเส้นทางเดินไว้
หากปฏิบัติเข้าถึงตรงนี้ ตัวสภาวะจะก้าวข้างหน้า
จนถึงสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
วันนี้ไมถึง อนาคตย่อมถึง
แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม
อาศัยความเพียรต่อเนื่อง ไม่คลุกคลีเป็นหมู่คณะ
เพราะการคลุกคลีก็ไม่พ้นโลกธรรม ๘
ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นล้วนเกิดจากการกระทำของตน
การมีเพื่อน มีได้ แต่ไม่ถึงขั้นต้องคลุกคลีเป็นหมู่คณะ
การที่เพื่อนมาไปสถานที่อโคจร ทั้งดื่มทั้งเที่ยว
อย่าโทษเพื่อน ต้องโทษตัวเอง ทำตามใจอยาก
ผลที่ได้รับ ต้องยอมรับได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดาธรรมอันน่าปรารถนา
ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกวิปัตติสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี
ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี
นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร
เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ … ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ …
แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ … แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้
เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ …ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
แม้ความเสื่อมลาภ … แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ …
แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

= อธิบาย =
การแจ้งอริยสัจ ๔ จะทำให้ไม่หลงในผัสสะที่มากระทบอีก
สิ่งที่มากระทบที่เรียกว่าผัสสะ
สิ่งที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
หากพูดสั้นๆ เวทนา ความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ
ตอนแรกจะรู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
และรู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนี้ด้วยตน
ไม่ต้องเชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นอีกต่อไป
จากที่ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นต่อผัสสะที่มากระทบ
จะสามารถเริ่มอยู่กับสภาวะที่มีเกิดขึ้น ทำให้ทุกข์น้อยลง
จะรู้ด้วยตนว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นนั้น
เป็นเรื่องของกรรม กรรมเก่าที่เคยกระทำไว้
ผัสสะมี เวทนาย่อมมี
เวทนาที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของผลของกรรมมาให้รับในรูปแบบของ
ผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น

ความรู้เห็นจะเปลี่ยนไปจาก
ผัสสะ เวทนา จากเป็นเรื่องกรรมและผลของกรรม
มาเป็น โลกธรรม ๘
ซึ่งเป็นลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกว่า ชรา มรณะ

คำว่า ชาติ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของกาย วาจา ใจ
ที่กระทำออกไปตามแรงผลักดันของตัณหาหรือกิเลสที่มีเกิดขึ้น
เมื่อแจ้งสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ทำให้ละกามฉันทะ ทำให้ละกามคุณ ๕ โดยตัวของสภาวะ แม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

13 มีนาคม เวลา 09:34 น. ·
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

สามารถมีเกิดขึ้นจิตเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
คนที่นำมาพูดส่วนมากไม่ใช่วิชชา ๑ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑ กับ บุพเพนิวาสานุสติญาน
ที่เคยอ่านกันมา สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะแตกต่างกัน

มีคนที่รู้เห็นตามจริงขณะเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
เป็นสมาธิสัมมาสมาธิ ต้องปฏิบัติถึงเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิ
หากกำลังสมาธิต่ำไปกว่านี้
แม้จะเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
วิชชา ๑ จะไม่มีเกิดขึ้น

มีคนทำได้นะ เวลาเห็นจะเห็นเหมือนๆกัน “บิ๊กแบง”
แล้วพระรูปนี้สำคัญผิดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน เป็นพระอรหันต์
อันนี้พูดได้เพราะเคยมีเกิดขึ้นในตนมาก่อน
สมัยก่อนพระรูปนี้ดังมาก หลายๆคนคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์
เกิดจากท่านพูดเรื่องสัมมาวิมุตติอยู่ในมหาจัตตารีสกสูตร
ตอนที่เราอ่านเจอคำพูดของท่าน เรารู้ทันที พระรูปนี้ติดอุปกิเลส
ปัญญาที่มีเกิดขึ้น ความรู้ความเห็นจะดับเฉพาะตน
ยังไม่รู้แจ่มแจ้งผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่บดบังไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนคนไม่มีกิเลส

มีคำถามว่า ถ้าปฐมฌานก็ทำให้สิ้นอาสวะได้ แล้วเราจะต้องทำต่อไปถึงระดับที่ ๙ ทำไม?
คำตอบ การตั้งคำถามเกิดจากไม่เข้าใจเรื่องสมาธิ
จิตเป็นสมาธิและกำลังสมาธิ สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
ก็เช่นเดียวกันกับมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ สภาวะที่มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

ทำไมต้องทำให้ถึงนิโรธสมาบัติ คือต้องถึงเนวสัญญาฯ
เมื่อเนวสัญญาฯมีเกิดขึ้น นิโรธสมาบัติจึงมีเกิดขึ้น
ความเกิดและความดับรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ สภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
รูปฌาน 1 2 3 4 สภาวะมีเกิดขึ้นจะแตกต่างกัน
เวลาดับจะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
คือ จิตเป็นสมาธิในรูปฌานจะเป็น 1 2 3 4 กายยังคงปรากฏอยู่
เวลาดับจะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
จะเหมือนปิดสวิชไฟ ดับทันที
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้กายที่นั่งอยู่ คือรู้กายก่อน

อรูปฌาน 5 6 7 สภาวะมีเกิดขึ้นเหมือนๆกัน
คือ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ กายไม่ปรากฏ เหมือนไม่มีกิเลส
จะมีเพียงสองสภาวะเด่นชัดเจน
เวลาดับ แสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ แล้วดับ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้จิตหรือใจก่อนเป็นอันแรก ต่อมาจะรู้กายที่นั่งอยู่

เมื่อทำถึง เนวสัญญาฯ นิโรธสมาบัติจึงมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
เนวสัญญาฯ ขณะจิตเป็นสมาธิ จะมีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่
ขณะดับมีเกิดขึ้น จะดับฐานกายก่อน จากล่างสุด
อาการเหมือนนั่งอยู่ในตุ่มเปดก็อกน้ำ
น้ำจะท่วมจากก้น ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนปิดสวิชไฟไปทีละดวง
ไล่ขึ้นไปถึงข้างบนถึงหัว คือกายหายไปหมดสิ้น
จะเหลือเพียงจิตหรือใจโดดเด่น แล้วดับ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะรู้จิตหรือใจมีเกิดขึ้นก่อน
แล้วรู้กายที่นั่งอยู่
“เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด
ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง”

ส่วนพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่เข้าถึงความเกิดและความดับจิตเป็นสมาธิ
อ่านแล้วจะไม่เข้าใจหรอก
อ่านเพียงพยัญชนะ ไม่สามารถเข้าใจหรอก ต้องปฏิบัติและเข้าถึงด้วยตน
ที่สำคัญต้องเคยอ่านหรือฟังจากผู้ที่เข้าถึงความเกิดและดับในแต่ขณะรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

.
อนุปุพพนิโรธสูตร
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้
๙ ประการเป็นไฉน
คือ อามิสสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป ๑
วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๑
ปีติของผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป ๑
ลมอัสสาสปัสสาสะของผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป ๑
รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานย่อมดับไป ๑
วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑
สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล ฯ

.
นี่คือประโยชน์ของความเกิด ขณะมีเกิดขึ้น และขณะดับ
จะทำให้รู้ว่ากำลังสมาธิที่มีอยู่ในตนนั้น อยู่ตรงไหน
เมื่อรู้แล้วจะได้พยายามทำให้มากขึ้นไปอีก
ไปให้ถึงสภาวะที่ตนยังไม่มีเกิดขึ้นในตน

อันนี้พูดเรื่องการปฏิบัติ ไม่นำเรื่องมรรคผลมาเกี่ยวข้อง
เรื่องมรรคผลเป็นเรื่องการดับทุกข์คือดับภพชาติของการเกิด
ผู้ที่ปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน คือดับทุกข์หรือดับภพชาติของการเกิด
ไม่จำเป็นปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯ แค่รูปฌานสัมมาสมาธิเท่านั้นก็พอ
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
จะได้รู้ว่าสภาวะของตนนั้นอยู่ตรงไหน

ข้อปฏิบัติเพื่อดับภพชาติของการเกิดจะมี ๒ แบบ
๑. ดับปัจจุบัน ดับไปที่ละส่วน สักกายะทิฏฐิ กามฉันทะ ปฏิฆะ
ก็อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

๒. ดับภพชาติการเวียนว่ายตายเกิด
ก็อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
และทำกรรมฐาน ขาดไม่ได้เลย จำเป็นมาก

สภาวะของเจ้านาย

2 วัน ·
ก็คืนมีการพิจรณาพระสูตรหลายเล่ม

๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
เป็นความรู้ความเห็นของผู้ที่มีปุพเพนิวาสานุสสติมีเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถมีเกิดขึ้นจิตเป็นสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

“บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต รวมทั้งเรื่องทิฏฐิ ๖๒”

.
๒. ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)
“กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ๆ”
เรื่องกามสัญโญชน์
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องของกามุปาทาน
กามโยค กามตัณหา การาคะ กามาสวะ

เกิดจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
ทำให้เกิดความสำคัญผิดเรื่องสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นในตน
เมื่อสำคัญผิด ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนนั้น
เป็นการเข้าถึงธรรมมรรคผลตามคำเรียกนั้นๆที่เคยอ่านหรือฟังมา
เกิดจากยังละวิภวตัณหายังไม่ได้

.
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส
เป็นเรื่องของอรหัตมรรค(ละภวสังโยชน์)และอรหัตผล(ละตัณหา ๓)

.
๒. สีหนาทวรรค
๑. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
เป็นเรื่องอุปาทาน ๔
เป็นความรู้ความเห็นของผู้ที่มีวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
จะแจ่มแจ้งแทงตลอด
ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทาน ๔

.
สำหรับเรานั้นไม่มีถือความมั่นในสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น
โดยอาศัยการทำความเพียรที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ที่เกิดจากได้สดับธรรมจากสัตบุรุษ
ทำให้มีศิล สังวรมากขึ้น
มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้นต่อคำพูดของคนอื่น
สัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นตามลำดับ
และทำกรรมฐาน เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้น มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้น
มีปัญญาไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้น
จนกระทั่งเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
โดยมีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติเนวสัญญาฯที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
จึงมีความรู้เห็นเหล่านี้มีเกิดขึ้น
เราพอใจในสิ่งที่เห็นชัดแจ่มแจ้งด้วยตน
รู้แต่ว่าเมื่อทำกาละ ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
หากเกิดบนสุทธวาส แล้วปรินิพพานบนโน้น
ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้
เราเป็นคนที่มีความมักน้อย ไม่ได้สนใจเรื่องคำเรียกต่างๆเรื่องความเป็น
ด้วยเหตุนี้สัญญาต่างๆจึงทำอะไรกับเราไม่ได้
เมื่อสัญญาทำกับเราไม่ได้
โลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นก็ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน
ซึ่งเป็นเรื่องของกรรมและผลของกรรม มีแค่นี้
ทำให้ไม่หลงในโลกธรรมที่มีเกิดขึ้น
ประกอบกับตอนที่สมาธิเนวสัญญาฯที่มีอยู่มีเหตุให้เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติฯที่มีเกิดขึ้นตามจริง
และรู้สภาวะหรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้สภาวะอื่นๆย่อมทำอะไรกับเราไม่ได้เลย
เราแค่เขียนออกมาตามจริง รู้สึกนึกคิดก็เขียนออกมา
ไม่ไปคิดว่าอันนี้ถูกอันนี้ไม่ถูก แค่เขียนออกมา
เมื่อทำแบบนี้เนืองๆ ธรรมต่างๆย่อมกระจ่างมากขึ้น
เกิดจากปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการเขียนออกมา

นี่คือความพอใจของเราในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
ด้วยเหตุนี้เรื่องความเป็นต่างๆนานาตามสมมุติจึงทำอะไรกับเราไม่ได้

เช้านี้เจ้าตื่นตีสามกว่าๆ ยังมีอาการง่วงอยากนอนอยู่ แต่ฝืนใจลุกขึ้น
เข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวเสร็จ กำหนดยืนหนอสักพักแล้วนั่ง ๓ ชม.
หลังเจ้านายทำกรรมฐานเสร็จ เราถามเขาถึงเรื่องเวทนา
เขาบอกว่านั่ง ๓ ชม. ย่อมมีเวทนาเกิดสั้นกว่านั่ง ๔ ชม.

เราบอกว่าให้อดทน แรกๆจะเป็นแบบนี้ ความง่วง
ลำบากไปก่อน ค่อยสบายที่หลังตามที่หลวงจรัญท่านเทศนาไว้
เมื่ออินทรีย์แก่กล้า ความง่วงทั้งหลายจะไม่มีเกิดขึ้นอีก

เขาบอกว่าน่าจะสักหนึ่งปี ตอนนี้เขาปฏิบัติเข้าเดือนที่ ๘ ยังไม่เต็ม
เราบอกเขาว่าเราทำได้ เขาย่อมทำได้เหมือนเรา
เราเองก็เริ่มจากนั่งอย่างเดียว ๓ ชม.
นี่เป็นทางลัดของการทำให้จิตเป็นสมาธิ
คือต้องผ่านเวทนากล้าให้ได้ก่อน
เมื่อผ่านได้ สภาวะอื่นๆที่ไม่เตยเห็น จะค่อยๆมีเกิดขึ้น
เขาต้องการปฏิบัติให้ถึงเนวสัญญาฯ
เวลาได้เข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงครั้งแรก
ความรู้ความเห็นจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้

เมื่อได้ปรับอินทรีย์ใหม่ให้เขาอีกครั้ง
วันหยุดเคยนั่ง ๔ ชม. มาเป็นดินจงกรมครึ่งชม.ต่อนั่ง ๓ ชม.
เขาบอกว่าเริ่มเห็นแสง บางครั้งเหมือนหมอก เหมือนลืมตามอง

เราบอกกับเขาว่า แค่รู้ไปก่อน
จนมีแสงสว่างเจิดจ้าเหมือนลืมตากลางวัน นั่นแหละจึงจะเชื่อได้

เขาถามว่าวันทำงาน เดินสิบนาที ต่อนั่ง ๓ ชม. ได้ไหม
เราบอกว่า อย่าไปทำแบบนั้น ให้นั่งอย่างเดียว ๓ ชม.
การเดินจงกรม ๑๐ นาที
แค่เขาตื่นแล้วลุกขึ้นเตียง เข้าห้องน้ำก็เกินสิบนาทีแล้ว
ต้องเดินอย่างน้อยครึ่งชม.
ทีนี้เขาต้องไปทำงาน เวลาไม่พอที่จะนั่ง ๓ ชม.

เมษายน 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

คลังเก็บ