เวทนาในสอุปาทิและอุปาทิ

4 เมษายน

“ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว”

คำว่า ความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
ได้แก่ เวทนา

๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนารู้อะไร
รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนา.

๒. วิภังคสูตร
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน
เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่าเวทนา ฯ

มีเรื่องของอินทรีย์ ๕
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มาเกี่ยวข้อง

หากสมาธิทรีย์ในอรูปฌาน
กำลังสมาธิบดบังผัสสะ เวทนา
เหมือนไม่มีกิเลส
ผัสสะที่มีกระทบ สักแต่สภาวะมีเกิดขึ้น

หากสมาธิทรีย์ในรูปฌาน
จะรู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

คำว่า มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
ได้แก่ ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
วิชชา ๓
ละตัณหา ๓ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)
ดับกามภพ รูปภพ อรูปภพ
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ดับอุปาทาน ๔

“เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น”
ได้แก่
ละกามตัณหา
ละภวตัณหา
ละวิภวตัณหา


สาวกและพระสงฆ์ ไม่มียกเว้น
จะรู้ว่าตนเข้าถึงอรหันต์
จะเป็นอรหัตมรรค หรืออรหัตผล
ต้องฟังพระพุทธเจ้าและศึกษา
ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

๑๐. สุสิมสูตร
[๒๘๙] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ในบัดนี้
อาวุโส เรื่องนี้ เป็นอย่างไรแน่ ฯ
ภิ. ท่านสุสิมะ ผมทั้งหลายหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ฯ
สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้โดยพิสดารได้
ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม
เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ
ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม
แต่ผมทั้งหลายก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ฯ

แล้วมีอีกอย่างหนึ่ง
เรื่องของอินทรีย์ ๕ โดยเฉพาะสมาธินทรีย์ ๕ มาเกี่ยวข้อง
คือสมาธินทรีย์เสื่อม
อันนี้จะยิ่งกว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นในได้รูปฌาน
จะรู้ชัดผัสสะ เวทนา ตามจริง ยิ่งกว่า
หากยังไม่ได้มรรคผลตามจริง
จะเหมือนเรื่องราวขอพระมหาเทวะ ที่เข้าใจผิดว่าตนเข้าถึงอรหัตผล

๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก
ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป
เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ
ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

อธิบาย

คำว่า ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
เกิดจากยังละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
คำว่า ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
ได้แก่ การแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ถึงแม้สมาธินทรีย์เสื่อหายไปหมดสิ้น
ความรู้ความเห็นการแจ้งอริยสัจ ๔ ที่แจ้งด้วยตน
จะไม่มีวันเสื่อมหายไปหมดสิ้น คือ รู้แล้ว รู้เลย

เวทนา

มีอีกมากมาย ที่เข้าใจว่า เวทนา มีเพียง เวทนา ๕

ซึ่งสภาวะตามความเป็นจริง ของเวทนา มีมากมาย ตามสภาวะของเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ในแต่ละขณะๆๆๆ

ภพ-ชาติ

เหตุจาก ความเข้าใจในเวทนา ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นๆ เมื่อมาศึกษาเรื่องภพ-ชาติ ย่อมไม่เข้าใจในสภาวะภพ-ชาติ จึงมีคำกล่าวทำนองนี้ว่า

“ไม่ต้องเลย ไปถึงชาติ ก็ทุกข์ ได้อยู่แล้ว …………………………………. ทำไม จะต้องเลยไปถึงชาติ แล้วค่อยทุกข์ (มันซ้ำซ้อน ซึ่งไม่ถูกไม่ควร)”

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงทำให้คิดว่า เวทนามีแค่นั้น ดูสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนา
อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางกาย, และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๓/๑๑๔.

ความหมายของคำว่า “เวทนา”

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึกได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น

ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งอะไร ?

สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

หมายเหตุ:

กิริยาที่รู้สึก หมายถึง ผลของเหตุ(อดีต) ที่ส่งมาให้รับผล คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ โดยอาศัย ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

หากมีเหตุปัจจัย ต่อสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง,

หากไม่มีเหตุปัจจัยต่อกัน สิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

เพราะไม่ชัดตรงนี้ เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในเวทนา ว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย ขณะที่ผัสสะเกิด จึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด และทั้งไม่คิด(เฉยๆ)

เมื่อไม่รู้เช่นนี้ เวทนาอื่นๆ จึงไม่รู้

การจะรู้แจ้งในสภาวะปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่เกิดการน้อมเอา คิดเอาเอง แต่เกิดจากการทำความเพียรต่อเนื่อง อยู่สูญญตาเนืองๆ แล้วสภาวะสัญญา(ความรู้ต่างๆ) จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ภพ-ชาติ

ในปฏิจจสมุปบาท ภพ(มโน)เป็นเหตุปัจจัย เพราะความไม่รู้ชัดในผัสสะ จึงปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา(ชาติ)

จึงกลายเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้มีเกิดขึ้น(วจีกรรม กายกรรม)

ชรา มรณะ(โลกธรรม ๘) โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส จึงมีเกิดขึ้น

 

ความสวยงาม

สิ่งหนึ่ง ที่วลัยพรมองเห็นในเรื่อง การสนทนาเกี่ยวกับธรรมะ ว่างดงามนั้น เพราะ ต่างฝ่ายต่างก็นำสิ่งที่ตนเองเข้าใจตามนั้น นำมาแสดง บ้างก็แสดงตามทิฏฐิของตน ไม่มีสิ่งใดนำมาแสดง

แต่ถ้านำกระทบกระเทียบเปรียบเปรยกัน มีปริ๊ดเหมือนกันนะ ช่วงหลังๆ จึงเลือกที่จะสนทนา อะไรที่เห็นเป็นเหตุ จะหยุด ไม่สานต่อ

สิ่งที่มองเห็นคือ อย่างน้อย บุคคลเหล่านี้ มีใจใฝ่ธรรม สนใจศึกษา เป็นเหตุให้ เชื่อว่า สัญญาเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เขาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไปถึงที่สุแห่งทุกข์อย่างแน่นอน

หลายวันมานี่ สภาวะเบื่อหน่ายที่เป็นอยู่ เบาบางลง เหตุจาก ช่วงนี้ จิตจดจ่อรู้กับสภาวะ ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกมากกว่า ถึงแม้ไม่อยากอ่าน ก็มีเหตุปัจจัยให้อ่านเอง

ขึ้นชื่อว่า การเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์ นั่นแหละคือ โอกาส ของการทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ มาวางตั้งอยู่ตรงหน้า

เพียงแต่จะมองเห็นภาพนั้นชัดไหม หรือ เป็นแค่เงาลางๆ หรือ มองไม่เห็น ไม่รู้อะไรเลย นั่นแหละ คือ เหตุปัจจัยที่ทำมาของแต่ละคน เป็นเหตุให้ เห็นโอกาสที่จะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แตกต่างกันไป

ขันธ์ ๕

ทำไมขันธ์ ๕ จึง เป็นอนิจจัง?

อุปฺปทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต เพราะมีแล้วกลับไม่มี คือ เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงเป็นอนิจจัง ได้แก่ แปรปรวนตลอดเวลา

ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข?

อภิณฺหปฏิปีฬนา เพราะเบียดเบียนบีบคั้นอยู่บ่อยๆ ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงเป้นทุกข์

ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นอนัตตา?

อวสตฺตนโต เพราะขันธ์ ๕ ไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ สิ้นทั้งมวล

อวสวตฺตนากาโร อนตฺตนากาโร อนตฺตลกฺขณํ อาการคือ ความไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ สิ้นทั้งมวลนั่นแหละ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า เป็นอนัตตา ได้แก่ บังคับบัญชาไม่ได้

รูป
เกิดขึ้นเพราะ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และความเกิดขึ้นของรูปอย่างเดียว

เวทนา

เกิดขึ้นเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของเวทนาอย่างเดียว

สัญญา

เกิดขึ้นเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของสัญญาอย่างเดียว

สังขาร

เกิดขึ้นเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของสังขารอย่างเดียว

วิญญาณ

เกิดขึ้นเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม นามรูป แลความเกิดขึ้นของวิญญาณอย่างเดียว

เวทนาขันธ์

ลักษณะของเวทนา

เวทนา ที่เรียกว่า เวทนาขันธ์ เพราะรวมธรรมชาติที่มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะสิ้นทุกอย่างเข้าด้วยกัน
ธรรมชาติที่มีการเสวยรสอารมณ์เป็นลักษณะคือ เวทนา

สุข มีการเสวยโผฏฐัพพะอันน่าปรารถนาเป็นลักษณะ มีอันเพิ่มสัมปยุตธรรมทั้งหลายเป็นกิจ มีความสบายทางกายเป็นผล มีกายินทรีย์เป็นเหตุใกล้

ทุกข์ มีการเสวยโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ มีลดสัมปยุตธรรมทั้งหลายเป็นกิจ มีความไม่สบายทางกายเป็นผล มีกายินทรีย์เป็นเหตุใกล้

โสมนัส มีการเสวยอิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ มีความสบายใจเป็นผล มีความระงับแห้งนามกายเป็นเหตุใกล้

โทมนัส มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ มีการเสวยทุกข์ด้วยอาการไม่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกิจ มีความไม่สบายใจเป็นผล มีหทยวัตถุเป็นเหตุใกล้โดยส่วนเดียวเท่านั้น

อุเบกขา มีการเสวยมัชฌัตตารมณ์เป็นลักษณะ มีการไม่เพิ่มและไม่ลดเป็นสัมปยุตธรรมเป็นกิจ มีความละเอียดเป็นผล มีจิตที่ปราศจากปีติเป็นเหตุใกล้

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ