อัตตวาทุปาทาน

04 /09/64

โมหะ เกิดจากอวิชชา
อวิชชา ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ ทำให้เกิด สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ
สักกายทิฏฐิ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
อัตตานุทิฏฐิ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

เวลาเขียนแผนที่ จะเขียนแบบนี้
อวิชชา โมหะ มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ

ต้องฟัง ต้องอ่าน และศึกษาตามลำดับ จึงจะเข้าใจ

คำว่า พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ได้แก่ ศึกษาในสัมมาทิฏฐิ ๑ ๒ ๓ ๔

คำว่า หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ เจริญสติปัฎฐิ ๔

“ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร”

คำว่า ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
ได้แก่ ทำกรรมฐาน


๑. มีบัญญัติเป็นอารมณ์
(สมถะ/กายสักขี สัมมาสมาธิ)

๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์
(หลุดพ้นด้วยปัญญา/วิปัสสนา)


๓. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์
(หลุดพ้นสองส่วน/สมถะและวิปัสสนา)

คำว่า พอกพูนสุญญาคาร
ได้แก่ สัมมาสมาธิ
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง


30 กค. 64

วันก่อน เราได้เขียนแผนที่ฉบับย่อ แต่ยังไม่เสร็จ
การเขียน โดยอาศัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก
ว่าด้วยข้อปฏิบัติตามลำดับ จนถึงวิชชา ๓
และมีสภาวะที่สำคัญจำเป็นต้องรู้
ตกกลางคืน มีภาพผุดขึ้นมา จากหนังสือที่ว่างเปล่า
ตอนนี้หนังสือนั้นมีตัวหนังสือปรากฏ

อัตตวาทุปาทาน ที่เคยเขียนไว้นั้น จะว่าใช่ก็ไม่เชิง จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง
คือต้องละพยัญญชนะ ตัวหนังสือ ความรู้เห็นต่างๆที่มีเกิดขึ้น
สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ผุดขึ้นมา
เมื่อจิตละความยึดมั่นถือมั่น
ด้วยเหตุนี้ ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงปรากฏ คือ
เป็นเรื่องสภาวะต่างๆที่เคยพบเคยเจอขณะทำกรรมฐาน
และสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่ปรากฏตามความเป็นจริง
เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร


ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
เปรียบเสมือนแผนที่ จะได้ไม่ดำเนินผิดทาง
เมื่อไม่ติดอุปกิเลส ๕ ประการ
ทำให้การปฏิบัติไม่เนิ่นนาน

๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน
คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้
เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้
ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทอง ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ
เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด
อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน

อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน
คือ กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑
อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ

แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้
ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน
ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย
เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน


อัตตวาทุปาทาน
ได้แก่

อัตตานุทิฐิ
ละด้วยการเห็นอนัตตาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน เวทนากล้าสุดๆ แล้วดับ
บางคน มีเวทนากล้าสุดๆ อดทน จนรูปและนามแยกออกจากกัน ไม่ป่ะปน
รู้เวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่ ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะเวทนาที่มีเกิดขึ้น
แล้วจางคลายหายไปเอง บางคนใช้คำว่ามันซ่าๆแล้วหายไป
ตราบใดที่สภาวะจิตดวงสภาวะจิตดวงสุดท้ายยังไม่ปรากฏ
เวทนากล้าก็ยังปรากฏอยู่
อุปมาเหมือนคนป่วย ป่วยซ้ำซาก ไม่หายสักที

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระสูตร
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นพระสกทาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง
พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


สักกายทิฏฐิ
ละด้วยการละกามฉันทะ
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
อัปปณิหิตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

วิชชา ๑ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ


สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ
ละด้วยภวตัณหาหมดสิ้นไป
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
สุญญตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

วิชชา ๒ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ


ทิฏฐุปาทาน
ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ ประการ
ละอวิชชา
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
อนิมิตตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

ทิฏฐิปาริสุทธิ
ได้แก่ การแจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๓ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ

สภาวะจิตดวงสุดท้าย

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า … ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ
เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔
นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ
รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้
ตลอดกาลช้านานฉะนั้น
ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน
ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ
แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ
ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดี ถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม
ในร่างกายและจิต
ที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า
เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ


คือ ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
สภาวะไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จากนั้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปรากฏ แล้วดับ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
จะรู้ชัดสภาวะทุกขังและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ผัสสะและเวทนา
เวทนากล้า เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ต่อจากนั้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)

อนาคามิมรรค อนาคามิผล
จะรู้ชัดสภาวะอนัตตาและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะมีสภาวะสองอย่างมีเกิดขึ้น
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
คือรูปและนามขาดออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้ามีเกิดขึ้นกับใจรู้อยู่ แต่ใจไม่ได้เจ็บปวดตามเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
ผัสสะและเวทนา
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ยังมีอยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)

อรหัตมรรค อรหัตผล
จะรู้ชัดสภาวะอนิจจังและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)
ผัสสะและเวทนา
เวทนาที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
เมื่อสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ตาย)ปรากฏ จะรู้สึกแน่นๆแล้วดับ

เมื่อรู้ชัดสภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จึงจะเข้าใจพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้กามฉันทะ
ได้แก่ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงในคำว่า อุปาทานขันธ์ ๕
ซึ่งมีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง
คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในนิมิต(ผัสสะ)และพยัญชนะ(ตัวหนังสือและบัญญัติ คำเรียกต่างๆ)
ไม่ใช่มีสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น แต่ไม่มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
เป็นเรื่องของความตายคนทั่วๆไป เป็นภพชาติของการเกิดที่ยังมีอยู่

เมื่อยังไม่รู้แจ้งด้วยตนเอง ต้องอาศัยการฟังและการศึกษา
สีลปาริสุทธิ จิตตปาริสุทธิ ทิฏฐิปาริสุทธิ วิมุตติปาริสุทธิ

ทำให้ไม่เนิ่นนาน ที่เกิดจากอุปกิเลสจิต
กามฉันทะที่ยังละไม่ได้ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕


กามฉันนะ กับ กามตัณหา
คนละตัวสภาวะกัน

ครั้งที่ ๑ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

กามตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะกามตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับกามตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

ครั้งที่ ๒ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

ภวตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะภวตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับภวตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

ครั้งที่ ๓ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

วิภวตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะวิภวตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับวิภาวตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ


วิมุตติญาณทัสสนะ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ
นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน
สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้
เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทอง ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด
อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน
คือ กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑
อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในอิทธิวิธีนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงฟังเสียง ๒ อย่าง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในทิพโสตนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ ร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในบุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ
ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฐิ
ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นๆ โดยแน่นอน ฯ

บุคคล ๗ จำพวก

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ


ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่

ปุคคลสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๗ จำพวกเป็นไฉน
คือ อุภโตภาควิมุติ ๑
ปัญญาวิมุติ ๑
กายสักขี ๑
ทิฐิปัตตะ ๑
สัทธาวิมุติ ๑
ธัมมานุสารี ๑
สัทธานุสารี ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

เวทนา นิวรณ์ อวิชชา

เวทนา นิวรณ์ อวิชชา

เวทนา ๓
นิวรณ์ ๕
อวิชชา

คำเรียกเหล่านี้
จะเข้าใจได้ต้องเริ่มจากฟังก่อน
ว่าด้วยเรื่อง ผัสสะ เวทน าตัณหา อุปาทาน ภพ

โดยเฉพาะโมหะ รู้ได้ยาก


อาวรณานีวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต
[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม
เป็นอุปกิเลสของจิตทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้

๕ อย่างเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้นเป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม
พยาบาท …
ถีนมิทธะ …
อุทธัจจกุกกุจจะ …
วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม.

[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้ามไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ.

[๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.


อกุสลราสิสูตร
กองอกุศล ๕
[๖๙๖] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน
คือกามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาบาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน.


๔. โมหสูตร
[๑๙๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนนิวรณ์ คือ อวิชชานี้เลย

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน
เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์
คืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ

ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ(แห่งสงสาร) ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

“หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คืออวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ”
คำว่า นิวรณ์
ได้แก่
กามฉันทะ(กามฉันทนิวรณ์)
พยาบาท(พยาบาทนิวรณ์)
ถีนมิทธะ(ถีนมิทธนิวรณ์)
อุทธัจจกุกกุจจะ(อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์)
วิจิกิจฉา(วิจิกิจฉานิวรณ์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้
เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.

“อวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ฯ”
คำว่า อวิชชา
ได้แก่ ไม่แจ้งอริยสัจ ๔

“ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ(แห่งสงสาร) ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น ฯ”
คำว่า โมหะ
ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ ทำให้เกิดสักกายทิฏฐิ เกิดจากยังไม่แจ้งอริยสัจ ๔(อวิชชา)


สัลลัตถสูตร
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก
เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐานฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ ฯ

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพันไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน
เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ


[๓๗๓]อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้แล เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น
ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดีและไม่ยินร้าย
อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้ ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ


ปหานสูตร
[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงละราคานุสัยในสุขเวทนา
พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา
เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา
ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด
เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

[๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนา ไม่รู้สึกตัวอยู่
มีปรกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก

ปฏิฆานุสัย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว
มีปรกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก

บุคคลเพลิดเพลิน อทุกขมสุขเวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์เลย
เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียรละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ

เธอชื่อว่าเป็นบัณฑิต ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท
เมื่อตายไป ย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลง ดังนี้ ฯ

คำว่า กำหนัด
ได้แก่ กามราคะ

คำว่า ขัดเคือง
ได้แก่ ปฏิฆะ

คำว่า หลง
ได้แก่ โมหะ


อธิบายแบบละเอียด

สังโยชนสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ สักกายทิฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลพัตตปรามาส ๑
กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้

สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน
คือ รูปราคะ ๑
อรูปราคะ ๑
มานะ ๑
อุทธัจจะ ๑
อวิชชา ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล ฯ


อธิบายแบบย่อ

ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์
คือ ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


“กามุปาทาน”

คำว่า กามุปาทาน
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่

กามตัณหา(ความอยากได้)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ภวตัณหา(ความอยากได้)
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน

วิภาวตัณหา(ความไม่อยากได้ทางโลก แต่อยากได้ทางธรรม เป็นโสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
นิมิต(ผัสสะ)และพยัญชนะ
ให้ดูตย.พระสุสิม ที่บวชเพราะอยากได้ลาภสักการะ
คิดว่าเป็นพระอรหันต์ ทำให้ลาภสักการะมีเกิดขึ้นกับตัวมากมาย

กามฉันทะ(ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕)
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ
สภาวะตรงนี้ ต้องศึกษาเรื่องขันธ์ ๕และอุปทานขันธ์ ๕ อริยสัจ ๔

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน
สักกายสมุทัยนั้นคือ
ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


๙. ตัณหาสูตร
[๒๓๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน
คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยตัณหาเครื่องประกอบสัตว์ไว้ มีจิตยินดีแล้วในภพน้อยและภพใหญ่
ชนเหล่านั้นประกอบแล้วด้วยโยคะ คือ บ่วงแห่งมาร เป็นผู้ไม่มีความเกษมจากโยคะ
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใดละตัณหาได้ขาด ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
สัตว์เหล่านั้นแล ถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

นิพพาน

๑๐. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยเถระ
๑๐. พาหิยสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด
ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี
ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ รู้แล้วด้วยตน
เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้น จากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ


.
“เพราะรู้ รู้แล้วด้วยตน”

คำว่า เพราะรู้
ได้แก่ แจ้งนิพพานที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
คือจะรู้ได้ต้องปฏิบัติกรรมฐาน ให้ได้วิโมกข์ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
จนกว่าได้มรรคผลตามความเป็นจริง แจ้งประจักษ์นิพพาน ด้วยตนเอง
วิชชา ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิชชา ๒ อนาคามิมรรค อนาคามิผล
วิชชา ๓ อรหัตมรรค อรหัตผล
.
“สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า สมาธิ
ในที่นี้หมายเฉพาะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

คำว่า ยถาภูตญาณทัสนะ
ได้แก่ ผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัยให้การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และเป็นลักษณะเฉพาะสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
และเห็นความเกิดและความดับ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คือการที่จะรู้เห็นว่าปฏิบัติถึงวิโมกข์ ๘
ต้องเห็นความเกิด(ขณะกำลังเกิด)และความดับ(ขณะกำลังดับ) ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
คือ สัมมาสมาธิ มีเกิดขึ้นก่อน
จะรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

เห็นความเกิด ความดับ ในรูปนาม
เห็นความเกิดและความดับ ที่มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม
ทุกย่างก้าวในแต่ละขณะ( มี ๖ ระยะ) ขาดออกจากกันเป็นต่อนๆ
ทุกย่างก้าวในแต่ละขณะ ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ขาดออกจากกันในแต่ละขณะ

เห็นความเกิดและความดับ ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
เวทนากล้า เห็นความเกิดขึ้นตั้งแต่กแรก จนกายแตก กายระเบิด แล้วดับ


.
คำว่า รู้แล้วด้วยตน
ได้แก่ แจ้งประจักษ์นิพพาน ด้วยตนเอง
.

ผัสสะ เวทนา(๓) ตัณหา(๓) อุปาทาน(๔) ภพ(๓)

“หลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ”

คำว่า รูป
ได้แก่ รูปภพ
หลุดพ้นจากผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน
.
คำว่าอรูป
ได้แก่ อรูปภพ
หลุดพ้นจากผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน
.
คำว่า สุขและทุกข์
ได้แก่ ที่มีเกิดขึ้นในกามภพ
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้น) ที่มีเกิดขึ้นขณะที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
หลุดพ้นจากผัสสะ เวทนา
เพราะผัสสะ จึงมีเวทนา
เพราะผัสสะดับ เวทนาดับ

อวิชชาและวิชชา

ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒
ชนเหล่าใดไม่รู้
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง
และไม่รู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์
ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

ส่วนชนเหล่าใดรู้
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
และรู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์
ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ

อริยมรรคมีองค์ ๘ และลักษณอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

ปัจจัยแห่งความเกิด

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้

ปัจจัยแห่งความดับ

เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

แล้วทรงแสดงธรรมแบบย่อ

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป …
ดังนี้เวทนา …
ดังนี้สัญญา …
ดังนี้สังขารทั้งหลาย …
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่
เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย


ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน ดับภพ(ดับตัณหา ๓)

แจ้งอริยสัจ ๔ ๔ รอบ และความรู้ความเห็นที่เกิดจากการแจ้งอริยสัจ ๔ ๔ รอบ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมการละ
กามโยคะ
ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ
และอวิชชาโยคะ


ทรงแสดงธรรมแบบขยายแบบย่อ

๙. นิพเพธิกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูล รับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ
กาม
เหตุเกิดแห่งกามความต่างแห่งกาม
วิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกาม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม

เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา
ความต่างแห่งเวทนา
วิบากแห่ง เวทนา
ความดับแห่งเวทนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา

เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา
เหตุเกิดแห่งสัญญา
ความต่างแห่งสัญญา
วิบากแห่งสัญญา
ความดับแห่งสัญญา
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา

เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ
เหตุเกิดแห่งอาสวะ
ความต่างแห่งอาสวะ
วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ

เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม

เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกามนั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ
รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู …
กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก …
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม
สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ไม่ชื่อว่ากาม
ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน
ส่วนว่าธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม ทั้งหลาย

ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน
คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง
กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม

วิบากแห่งกามเป็นไฉน
คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม

ความดับแห่งกามเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกาม เพราะผัสสะดับ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ
.
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ ประการนี้ คือ
สุขเวทนา
ทุกขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนา

ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุ เกิดแห่งเวทนา

ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่
อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
นี้เรียกว่าความต่างแห่งเวทนา

วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา

ก็ความ ดับแห่งเวทนาเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนาปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้ นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ
รูปสัญญา
สัททสัญญา
คันธสัญญา
รสสัญญา
โผฏฐัพพสัญญา
ธรรมสัญญา

เหตุเกิดแห่ง สัญญาเป็นไฉน
คือผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา

ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่งสัญญา
ในรสเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่า ความต่างแห่งสัญญา

ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่า มีคำพูดเป็นผล
บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ
ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆว่า เราเป็นผู้มีความ รู้สึกอย่างนั้น
นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา

ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งสัญญาย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง สัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งสัญญานี้


ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ
.
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายอาสวะ ๓ ประการ คือ
กามาสวะ
ภวาสวะ
อวิชชาสวะ

ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ

ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน
คืออาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี
ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตวดิรัจฉานก็มี
ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี
ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี
ที่เป็นเหตุให้ ไปสู่เทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ

ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือ การที่บุคคล มีอวิชชา
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆให้เกิดขึ้น
เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ
นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ

ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน
คือความดับแห่งอาสวะย่อมเกิด เพราะความดับแห่งอวิชชา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัด
อาสวะเหตุเกิดแห่งอาสวะ
ความต่างแห่งอาสวะ
วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ
.
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เรา ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่ เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด แห่งทุกข์

ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ทุกข์มากก็มี
ทุกข์น้อยก็มี
ทุกข์ที่คลายช้าก็มี
ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์

ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ
มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง
ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอก ว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ ว่ามีความหลงใหลเป็นผล
หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง ทุกข์ภายนอกเป็นผล
นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์

ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ความดับแห่ง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับ แห่งทุกข์ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ

ทรงแสดงธรรมแบบขยาย
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ประกอบด้วยพระสูตร
๑. วิมุตติญาณทัสสนะ
๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ … เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ

๒. วิชชา ๑(โสดาปัตติผล) วิชชา ๒(อนาคามิผล) วิชชา ๓(อรหัตผล)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงคือ

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ
ศีล ๑
จิต ๑
ทิฐิ ๑
วิมุตติ ๑

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…ทุติยฌาน…ตติยฌาน…จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิ เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
สีลปาริสุทธิ…
จิตตปาริสุทธิ…
ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ
นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ

.
๓. การละอาสวะ
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑
ทิฏฐิโยคะ ๑
อวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่ากามโยคะ

ก็ภวโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ

ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการ เป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ

ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ

ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ

ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
ความพรากจากกามโยคะ ด้วยสีลปาริสุทธิ
ความพรากจากภวโยคะ ด้วยจิตตปาริสุทธิ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ด้วยทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ด้วยวิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร
ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวงเป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ

กรกฎาคม 2021
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ