อุปกิเลส

26 ธันวาคม 60

สภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สำคัญมาก
หัวเลี้ยวหัวต่อระหว่าง การที่จะเห็นตามความเป็นจริง(ไตรลักษณ์) กับอุปกิเลสนั้น เนียนและละเอียดมาก แทบจะแยกไม่ออก เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

คือ พลิกนิดเดียวจริงๆ
หากรู้จักโยนิโสมนสิการ ไตรลักษณ์ย่อมปรากฏ

หากน้อมใจเชื่อ กิเลสลากไปกิน ติดกับดักหลุมพรางกิเลส จมแช่อยู่แค่นั้น เมื่อปักใจเชื่อ นำไปสอนคนอื่นๆ สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก กรรมซ้ำกรรมซ้อน

.

รู้ว่าทางหรือไม่ใช่ทาง ต้องรู้จักโยนิโสมนสิการ

เมื่อใดเจอสภาวะที่สุดแสนจะอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
กายแตก กายระเบิด อสุภะละเอียด เหมือนโลกถล่มถลายฯลฯ
สภาวะอันใดที่ดูสุดแสนอัศจรรย์ใจยิ่งนัก

แม้กระทั่งความตาย หรือรอยต่อระหว่างความเป็นกับความตาย
คิดว่ามีเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วจบ

หากน้อมใจเชื่อ คิดว่าเข้าสู่ความมี ความเป็น
โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ หรือบรรลุธรรมก็ตาม
ล้วนไม่ใช่ทาง อุปกิเลสจึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนี้

จะบอกว่า อย่าไปเอาเล๊ย บรรดาความมีความเป็นทั้งหลาย
เพราะขึ้นชื่อว่าการเกิด ล้วนเป็นทุกข์ จะบอกแบบนี้ ก็คงบอกไม่ได้
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยในแต่ละคน

.

ปฏิบัติถูกทาง ย่อมลงรอยเดียวกัน “เบื่อหน่าย คลายกำหนัด”

.

จาก

คนเคยหลงทาง แล้วกลับตัวกลับใจได้ “โยนิโสมนสิการ”

ตูม บรรลุธรรม

27 ธันวาคม 60

ช่วงนี้เจ้านายเปิดฟังเทศน์บ่อย
เราก็พลอยได้ฟังไปด้วย

เมื่อวานนี้มีเอ๊ะ ให้เขากลับไปที่เริ่มต้นใหม่ แล้วบอกเขาว่า ฟังสิ
สภาวะที่ท่านพูดมา ตรงกับสภาวะที่เราเขียนไว้ เหมือนกันเลย
เรื่องเกี่ยวกับอาการที่มีเกิดขึ้นกับหัวใจ

เราบอกเขาว่า เสียดายนะ ที่หนีอารมณ์กรรมฐาน
ไม่กำหนดสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะไปเอาทำไมความโล่ง เบา สบาย น่าจะกำหนดรู้ให้ถึงที่สุด

เราคิดนะว่า คงสร้างเหตุมาดี สมัยทำความเพียรหนัก
จนถึงปัจจุบัน แทบจะไม่เคยฟังพระเทศน์เรื่องสภาวะต่างๆ

ที่เคยฟังจริงๆ คืออาศัยกระตุ้นให้เกิดการทำความเพียร
เป็นสถานีหลวงตามหาบัว

ที่ได้กำลังใจทำความเพียร ก็จากสถานีหลวงตานี่แหละ
เหมือนมีคนมาคอยกำหราบ คอยดุให้ตั้งใจทำความเพียร
เลือกฟังเฉพาะที่ท่านเทศน์เรื่องการปฏิบัติ
เรื่องสภาวะหรือปริยัติ แม้กระทั่งเรื่องอื่นๆไม่ฟัง

ถ้าถามว่า ทำไมถึงไม่ฟังเกี่ยวกับสภาวะหรือปริยัติ
ตอนนั้น ไม่รู้สินะ รู้แต่ว่า สนใจเรื่องการปฏิบัติอย่างเดียว
เรื่องอื่นๆไม่สนใจ และไม่ได้มีความอยากรู้อะไรด้วย

ถ้าถามว่า ความสงสัยมีมั๊ย
ตอนนั้นยังมีนะ คือมี แต่ไม่ได้ใส่ใจ
ที่ไม่ใส่ใจ เพราะไม่รู้จะไปถามใคร
ตั้งหน้าตั้งตา ทำความเพียรอย่างเดียว

แต่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม
เพราะเชื่อในคำสอนของหลวงพ่อจรัญ ท่านเทศน์อะไร ฟังหมด
เพราะโดยส่วนมาก ท่านจะเทศน์เรื่องกฏแห่งกรรม

.
เกี่ยวกับการกำหนดนี่ เรียนรู้ด้วยตนเองทุกอย่าง
คือ เชื่อหลวงพ่อจรัญแบบหมดใจ ท่านให้กำหนดให้ถึงที่สุด
ไม่ให้ถอย ตายเป็นตาย ทำตามที่ท่านเทศน์ทุกอย่าง

ที่รู้ชัดสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
ก็เพราะการกำหนดนี่แหละ

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็รู้ชัดจากการกำหนด

เวทนาหนักๆ เวทนากล้า
หลังนี่เหมือนถูกจับฉีกออกจากกัน ครั้งที่ ๑
กายแตก กายระเบิด ครั้งที่ ๒
แหม่นับครั้งเลยนะ จะเหลืออะไรล่ะ
ตู้ม บรรลุธรรม

ทั้งๆที่สภาวะเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่จะต้องเจอ
ที่มีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกำหนดไม่มีถอยนี่แหละ

มียิ่งกว่านี้อีกนะ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต และขณะกำลังทำความเพียร

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น สักแต่ว่า ยิ่งกว่าคำว่า ว่าง
กระทบ ดับ กระทบ ดับ กิเลสนิดเดียว ไม่มีเลย
รู้จิต รู้ใจ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ระลึกชาติได้หลายชาติฯลฯ
หุหุ อรหันต์เลยสิ
นี่ก็เป็นเรื่องของสมาธิ
เพียงแต่ตอนนั้น ยังไม่รู้

เพราะสมัยก่อน กำลังสมาธิอลังการ บานเว่อร์
โอภาสระเบิดระเบ้อ โลกทั้งใบ เหมือนอยู่คนเดียวประมาณนั้น
กิเลสไม่ต้องผุดต้องเกิดขึ้นมาเลย
พอมีเหตุให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ตาสว่าง หลุดจากอุปกิเลส ความมี ความเป็นทั้งหลายทันที

.
ที่สำคัญ การได้พบกับพระครูภาวนานุกูล
คำสอนที่ท่านสอน ทำให้หลุดจากอุปกิเลส
กับดักหลุมพรางของกิเลสที่เคยติด
และเป็นเหตุปัจจัยให้ รู้ชัดใน “โยนิโสมนสิการ”

.

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องเหตุและปัจจัยของแต่ละคน
ใครเชื่อใคร ล้วนเกิดจากกรรมที่เคยกระทำร่วมกันมา
เคยสร้างเหตุให้มาเชื่อกัน จึงมาเชื่อกันอีก

ไม่สะดุ้ง หวาดกลัว

2 มกราคม

จิตที่ถูกฝึกมาอย่างต่อเนื่อง
เวลาเจออุบัติเหตุแบบไม่คาดคิด ความสะดุ้ง หวาดเสียว หรือตกใจ เพราะอุปทาน จะไม่มีเกิดขึ้น

.

ขากลับ ช่วงรถจะเข้าอู่ เรากับเจ้านายนั่งอยู่บนชั้น ๒ ของรถทัวร์ ทั้งชั้น เหลือเราอยู่แค่ ๒ คน

เขาบอกว่า เห็นเราหลับอยู่ จึงไม่ปลุก ปล่อยให้นอน

เราบอกว่า ลงไปข้างล่างเหอะ ถ้าพนง. ไม่รู้ว่ามีคนเหลืออยู่บนชั้น ๒ เวลารถจอด ต้องเดินไกล

สองมือเราถือของพะรุงพะรัง คือ ประมาทอ่ะนะ ช่วงรถเลี้ยวโค้ง จะเหลืออะไรล่ะ คิดว่ามือคล้องที่เหล็ก น่าจะอยู่ ผลคือ ร่วงตรงบันไดจากชั้นบนลงชั้นล่าง ความรู้สึกตอนนั้น ขาดการรับรู้นอกตัวไปชั่วขณะ สองว่างไปหมด ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเกิดขึ้น จนกระทั่งตกลงมาที่พื้นด้านล่าง

ที่ด้านล่าง พนง. กับคนที่นั่งอยู่ตกใจ ส่งเสียงถามว่า เป็นอะไรหรือเปล่า แล้วเข้ามาดู

เราถามว่า เราร่วงลงมาแบบไหน

เขาบอกว่า ไหลลงมา ดีนะไม่เป็นไร เคยมีแบบนี้ หัวแตกต้องไปรพ.

ระหว่างที่พูดคุย เกิดความรู้ชัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายใน สุขเกิด สมาธิเกิด

.

วันนี้ถามเจ้านายว่า เห็นตอนเราร่วงลงมามั๊ย
เขาบอกว่า ไหลลงไปเลย

เราเล่าให้เขาฟังถึงสภาวะที่มีเกิดขึ้น บอกกับเขาว่า ช่วงนั้น ความรู้สึกใดๆไม่มี ทั้งไม่รู้กายด้วย มันว่างไปหมด สมองนี่ว่างไปหมด ความรู้สึกนึกคิดใดๆไม่มี

เขาถามว่า ใช่ที่เรียกว่า สุญญตามั๊ย
เราบอกว่า ไม่รู้สิ แล้วบอกเขาว่า จำได้มั๊ย ที่เคยเล่าให้ฟัง ตอนที่เจออุบัติเหตุเฉียดตาย ข้ามถนน มองไม่เห็นรถ เราหยุดยืนบนถนน เพราะได้ยินเสียงแตร เสียงรถวิ่งเฉียดไปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อาการ ความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น เวลาที่ดับ(ความรู้สึก) แบบเดียวกันเลย หลังจากนั้น จะรู้ชัดจิตตั้งตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่

 

11 มกราคม

วันนี้ตะคริวเล่นงานเป็นระยๆ
สาเหตุจากภาวะกระดูกพรุน ร่างกายขาดแคลเซี่ยม
ช่วงไหนกินแคลเซี่ยม ตะคริวจะไม่เป็น

.

นึกถึงคำที่หมอเตือนไว้ ตอนที่ตรวจมวลกระดูก
เราอยู่ในภาวะเสี่ยงกระดูกแตกหักง่าย ให้ระวังการลื่นล้ม

มีภาพเหตุการณ์ในอดีตผุดขึ้นมา
ที่โดนคนเมาผลัก ล้มหงายหลังแบบไม่รู้ตัว
หัวฟาดพื้นเต็มๆ พื้นถนนเป็นพื้นลาดยางมะตอย มีหินหยาบๆ

ตอนที่ล้มลงไป ตอนนั้นเหมือนเวลาหายไปชั่วขณะ
รู้สึกตัวอีกที นอนกองอยู่กับพื้น
คลำหัว หัวโนบวมปูด ไม่ไปหาหมอ
ต่อมาอาการบวยุบลง หายเป็นปกติ

นึกถึงคำที่หทอเตือน
แปลกใจเหมือนกัน หัวฟาดกับพื้นแรงขนาดนั้น กลับแค่บวม ไม่มีแตก

.

ครั้งล่าสุด ตกลงจากชั้น ๒ ตรงบันไดข้างบน
ลงมาคลุกเข่าอยู่ที่พื้นด้านล่าง

ความรู้สึกครั้งสุดก่อนตกบันได ที่จำได้
คือ รู้สึกรถเหวี่ยง(โค้ง)

ยืนแขนไปคล้องไว้กับเสาข้างบันไดโดยอัตโนมัติ
ตอนนั้นความรู้สึกนึกคิดใดๆไม่มี กระทำไปโดยสัญญา

รู้สึกถึงแรงเหวี่ยงของรถ
ถ้าคล้องแขนไว้แบบนั้น กระดูกมีโอกาสหัก
ปล่อยแขนออกจากเสา แล้วความรู้สึกต่างๆหายไปชั่วขณะ
รู้สึกตัวอีกที อยู่ในท่าคลุกเข่าอยู่ที่พื้น

พอกลับมา เจ้านายบอกว่า ดีนะที่ไม่โดนแง่งบันได
เราบอกว่า ไม่รู้หรอกนะตอนนั้น ลงมายังไงยังไม่รู้เลย
พนง.บอกว่า ไถลลงมา ก็ไม่รู้ไถลแบบไหนนะ

.

ลักษณะ ๒ สภาวะนี้ แตกต่างในรูปแบบ
ที่มีอาการเหมือนๆกัน ช่วงประสพอุบัติเหตุ
ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเกิดขึ้น ความตกใจไม่มี
และเหมือนช่วงเวลาตรงนั้นขาดหายไปชั่วขณะ

พอพิจรณา ทำให้นึกถึงสภาวะเฉียดตาย
ตอนข้ามถนนหน้าวัดตาลเอน
มองไม่เห็นรถที่วิ่งมาทั้งขามาและขาไป
ที่รู้ว่ามีรถวิ่งมา ได้ยินเสียงบีบแตรดังมาก
ตัดสินใจหยุดเดิน เฉียดเส้นยาแดง
ข้างหน้ารถกระบะ วิ่งแบบเฉียดหน้า
ข้างหลังรถเมล์ วิ่งแบบเฉียดหลัง

ช่วงที่หยุดเดิน ความรู้สึกตอนนั้น ไม่มีอาการตกใจใดๆ
เหมือนเวลาช่วงนั้น หายไปชั่วขณะ

ถ้าถามว่า ทำไมไม่รีบวิ่งข้าม ทำไมจึงหยุดเดิน
เป็นเรื่องของสัญญาที่สะสมไว้
หมาถูกรถชนเพราะอะไร
เวลาคนกดแตร หมาจะตกใจ
ไม่รู้จะวิ่งไปทางไหน

เหมือนมีคนสองคนเดินสวนกัน ปะหน้ากัน
อีกคนจะก้าวเดิน แต่เกือบจะชนกับอีกคนที่จะเดินเหมือนกัน
เป็นแบบนี้หลายครั้ง จนคนหนึ่งตัดสินใจหยุดเดิน ให้อีกฝ่ายไปก่อน

กรณีนี้ก็เหมือนกัน ไม่อาจรู้ได้ว่า วิ่งไปข้างหน้า
หรือถอยกลับมาด้านหลัง จะรอดจากรถชน
จึงหยุดเดินเพราะเหตุนี้ คือ คนขับจะได้วิ่งทางที่ปลอดภัย
สามารถหักหลบเราได้ แต่ถ้าเราไม่หยุดเดิน มีโอกาสโดนชนสูง

ตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่า รถที่วิ่งมา วิ่งสวนกันทั้งหน้าและหลัง
ถ้าความซวยมีมากกว่านั้น หากมีรถคันที่ ๓ ที่วิ่งแซงขึ้นมา

จึงมีเหตุผลมีเพียงข้อเดียว

ไม่ถึงคราวตาย ก็ไม่วายชีวาวาตม์
ใครพิฆาตเข่นฆ่า ไม่อาสัญ
ถึงคราวตายก็วายชีวาวัน
ไม้จ้ำฟันแทงเหงือก ยังเสือกตาย

.

ส่วนที่บอกว่า เหมือนช่วงเวลาหายไปนั้น
อาการเหมือนเวลาที่กำลังสมาธิที่เกิดขึ้นมีกำลังมาก
แล้วเข้าสู่ความดับ

เพียงแต่จากเหตุการณ์เหล่านั้น
เกิดสภาวะดับในระยะเวลาสั้นๆ

ส่วนที่เจ้านายเคยถามว่า ใช่สุญญตามั๊ย?
ตอนนี้มีคำตอบละ ไม่ใช่เลย คนละเรื่อง คนละสภาวะกัน

สภาวะสุญญตา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) กับใจที่รู้อยู่
มีแค่สองสิ่งนี้เกิดขึ้น โดยปราศจากตัวตนเข้าแทรกแซงสภาวะ
หรือจะกล่าวทำนองว่า สักแต่ว่าผัสสะที่เกิดขึ้น ทำนองนั้นก็ได้

สำรอกราคะ

สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องความว่าง หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ที่รู้สึกว่ามันว่างจากตัวตน กล่าวคือ อุปทานขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีเกิดขึ้นชั่วขณะ

จะอนิมิตตะ อัปณิหิตะ สุญญตะ ใช้ได้หมด
จะเรียกชื่อว่าอะไรก็ได้ ตามความรู้ความเห็นของผู้นั้น

.

ปัจจุบัน(ผัสสะ) ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัยให้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ส่วนจะรู้ชัดสภาพธรรมใด ที่ทำให้จิตเกิดการปล่อยวางจากผัสสะ ที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

จะอนิจจัง แล้วปล่อยวาง(ว่าง)
จะทุกขัง แล้วปล่อยวาง(ว่าง)
จะอนัตตา แล้วปล่อยวาง(ว่าง)

อนิจจัง ไม่เที่ยง แปรปรวนตามเหตุและปัจจัย ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้
ทุกขัง เป็นทุกข์ เพราะถือมั่น
อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ของเขา หรือของใคร

หรือเกิดจากการดลบันดาลจากสิ่งใด ล้วนยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้

เพราะเป็นเรื่องของเหตุและปัจจัย เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ

เพราะท้ายสุด ธรรมทั้งหลายทั้งปวง จบลงที่ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด

เป็นเหตุปัจจัยให้
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปณิหิตสมาธิ
มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
สุญญตสมาธิ ๑
อนิมิตตสมาธิ ๑
อัปปณิหิตสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะฯลฯ
เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ
เพื่อความสละ เพื่อความสละคืนราคะ
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ
เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะมักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะอติมานะ ทมะ ปมาทะ

จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ ฉะนี้แล ฯ

ปัจจุบันธรรม

2 มกราคม

บางสิ่งบางอย่าง สามารถใช้เหตุผลในการปฏิเสธได้
แต่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถใช้เหตุผลในการปฏิเสธได้
แต่ธรรมมะ จัดสรรให้เอง คือ ส่งผลกระทบน้อยมาก

กรรมเป็นเรื่องละเอียด
บางสิ่งหลีกเลี่ยงได้
บางสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ปราบความเห็นผิด
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕

ว่างจากอะไร ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นใน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

 

5 มกราคม

คาดเดาไม่ได้เลย
เพราะเป็นเพียงแค่ ความรู้สึกนึกคิด

ชีวิตดีมาก จนรู้สึกดีกับชีวิต
แต่กลับไม่ปรารถนาการมีชีวิตอยู่

ทุกครั้งที่รู้สึกดีกับชีวิตที่สงบ ราบเรียบ
จิตจะเกิดการคิดพิจรณา ดีแล้วยังไง
ภาพต่างๆ จะผุดขึ้นมาทันที “ภพชาติของการเกิด”
ทำให้ความเบื่อหน่ายมีเกิดขึ้นทันที

มีเกิดขึ้นแบบนี้เนืองๆ

 

เล่าเรื่องราวกับการเขียนออกมา ไม่เหมือนกัน มีรายละเอียด ข้อปลีกย่อย แตกต่างกัน

.

บอกเจ้านายว่า เวลาเล่าสภาวะให้ฟัง ให้กดบันทึกไว้ เพราะที่เขียนๆน่ะ ไม่ละเอียดเหมือนกับที่เล่าให้ฟัง

เขาบอกว่า กลัวเราพูดไม่ออก
เราบอกว่า เมื่อก่อนน่ะเคยเป็น เดี่ยวนี้ไม่ละ
และ ให้ทำ you tube ส่วนตัว

เขาบอกว่า เดี๋ยวลองดู

.

วันนี้เรื่องที่เล่าให้ฟัง เกิดจากคำถามของเขา ที่ถามเกี่ยวกับพระอรหันต์ ประเภทสอุปาทิเสนิพพานธาตุและอนุปาทานิพพานธาตุ ทำให้จิตเกิดการคิดพิจรณา ทบทวนสภาวะต่างๆ ไล่มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบที่สภาวะจิตดวงสุดท้าย ที่เคยมีเกิดขึ้น ๒ ครั้ง

ตอนที่จิตเสื่อม สมาธิเสื่อม เพราะรู้ชัดด้วยตนเองว่า ทำยังไงจิตจึงตั้งมั่นเป็นสมาธิ พยายามทำความเพียรต่อเนื่อง จนปัจจุบัน กำลังสมาธิเริ่มกลับมามีกำลังมากขึ้น ถึงไม่มากเท่าเมื่อก่อนก็ตาม

ทำให้รู้ชัดว่า ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ไม่ต้องไปรู้ว่า ละกิเลสไปมากน้อยแค่ไหน แค่ให้รู้ว่าละไปแล้วเท่านั้นพอ

เพราะกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้บางส่วน กิเลสที่มีเกิดขึ้น จึงไม่ใช่ตามความเป็นจริง

ทำให้รู้ว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงแยกปถุชนกับอริยะ ไม่ใช่แค่เรื่องสังโยชน์ แต่เป็นเรื่องของ จิต ความรู้ชัดในจิต จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง บุคคลที่รู้ชัดดังนี้ จะให้หวนหลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมที่เคยเป็น ไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ เพราะจิตนั้นเปลี่ยนไปแล้ว ภายในเปลี่ยน ภายนอกกลับเป็นปกติ

จากที่กิน ด้วยความอยาก เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง พิจรณาก่อนที่จะกิน กินเพื่ออยู่ กินง่าย เลี้ยงง่าย กินตามสัปปายะ กินเพื่อหล่อเลี้ยงธาตุขันธ์ ไม่ได้กินเพื่อสนองกิเลส ตัณหาแต่อย่างใด

จากที่เคยขับถ่ายเพราะต้องขับถ่าย เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง พิจรณาทุกครั้งที่ขับถ่าย ขับถ่ายเพราะอะไร ทำไมถึงต้องขับถ่าย

สี่(เซ็กส์) จากในอดีตที่เคยมี กลับกลายเป็นละขาด ความเป็นสามีภรรยา ล้วนทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ นี่สามี นี่ภรรยา แสดงความเป็นเจ้าของ ผิดลูก ผิดเมีย ตามใจตัณหา

นอน จากที่เคยนอนแบบถูกโมหะครอบงำ กลับกลายเป็นนอนทุกครั้ง รู้ชัดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ คำว่า หลับ จึงหายไปจากชีวิต

ที่สำคัญ การให้อภัย เริ่มเป็นอัตโนมัติ ให้อภัยได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่รู้เขาจึงทำ ถ้าเขารู้ เขาจะไม่ทำ เราเขาล้วนไม่แตกต่างกัน แตกต่างกันตรงที่ รู้ กับ ไม่รู้

ความเป็นกลาง เริ่มมีมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากแบบก่อนๆ

นอกตัว คนทุกคนแตกต่างกันไป ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงกระทำตามโลภะ โทสะ โมหะ ได้อย่างง่ายดาย โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อน

 

สภาวะที่พบเจอ เป็นการสั่งสมประสพการณ์
สัญญาต่างๆที่มีเกิดขึ้น เป็นตัวถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่

.

สำหรับผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน
เรื่องราวของกิเลส แรกๆเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจมาก

นิพพาน คือ ความสิ้นกิเลส อย่างงั้นรึ
พระอรหันต์ คือ ผู้ที่หมดกิเลส อย่างงั้นรึ
สุญญตา อย่างงั้นรึ

ล้วนเกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่
จึงตีความหมายตามความเห็นของตน
เป็นเหตุปัจจัยให้โฟกัสผิดจุด

เมื่อโฟกัสผิดจุด จึงติดกับดักความมี ความเป็นไปโดยไม่รู้ตัว

.

โสดาบัน
สกิทาคา
อนาคามี

โดยเฉพาะ อรหันต์
ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

และ
ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

.

อ่านแล้วแปลกใจมั๊ย ทำไมอรหันต์ จึงยังมีความยินดี ยินร้าย
และมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

.

เพราะที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็น ปัจจุบันธรรม

 

 

 

8 มกราคม

วันก่อนเขียนเรื่อง โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ ว่าเป็นเรื่องของปัจจุบันธรรม แต่ยังขาดรายละเอียดที่จะนำมาอ้างอิงได้ ถึงแม้จะมีพระธรรมคำสอนบางพระธรรมคำสอน ที่ทรงตรัสไว้ก็ตาม

วันนี้อ่านเจอในหนังสือ อังคีรสปุตฺโต เกี่ยวกับสัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้า

.
นำมาหาในพระไตรปิฎก ในกูเกิ้ล

.

๕. จูฬสัจจกสูตร

เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ
เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอนและเป็นพระอรหันต์

.
[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
ทั้งหมดก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจ
อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
อยู่ในคำสอนของศาสดาตน.

.

[๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?

 

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
ทั้งหมดก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์
มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ
มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ
ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑
ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑
ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.

เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้
ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อข้ามพ้น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท.

.

หมายเหตุ;

ปัจจุบันธรรม

“สาวกของพระโคดม จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน”

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.

.

ขณะทำกาละ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.

.

หากยังไม่ทำกาละ เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ของสภาวะ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

ทำกาละ

8 มกราคม

ถ้าไม่ได้ทำกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง

และถ้าไม่เคยรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะทำกาละถึง ๒ ครั้ง
คงไม่รู้ชัดในข้อปฏิบัติ เจริญสมถะและวิปัสสนา
คงไม่รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า สมถะ และ วิปัสสนา
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

.

ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นแบบนี้ คงไม่ปรากฏแจ่มแจ้งในจิต

“ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุเป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้

เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.

เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

.

การทำกาละ หรือ ความตาย เป็นเพียงภาษาสมุตติ ที่บัญญัติขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร

ตัวสภาวะตามความเป็นจริงของการทำกาละหรือความตาย เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

๑. ยังมีสังโยชญ์ ที่ยังละภพของการเกิด ยังไม่ได้

๒. มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ

.

อ่านตัวออก ได้แก่ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บอกตัวได้ ได้แก่ รู้แล้วหยุด มากกว่าสานต่อ

ใช้ตัวเป็น ได้แก่ เจริญสติปัฏฐาน ๔

เห็นตัวตาย ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย
(อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)

คลายทิฏฐิ ได้แก่ มีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น

 

 

๒๖ มค.

ประสพการณ์เกี่ยวกับ “ความตาย”

.

เฉียดตาย ๒ ครั้ง

๑. เกือบโดนรถชนตาย
รอดมาได้ เพราะสติดี สมาธิดี และอาจยังไม่ถึงคราวตายด้วย

๒. ประจำเดือนมามากผิดปกติ เหมือนคนตกเลือด
ไม่ไปหาหมอ ไม่กินยา ใช้สมาธิรักษา

.

.

เวทนากล้า มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
กายแตก กายระเบิด ๒ ครั้ง

.

.

เห็นตัวตาย ๑ ครั้ง
มีเกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น
อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ
แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ
สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน
เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว

เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน
รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ความรู้สึกดับลงไป

ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล
สองข้างทางที่ผ่านเข้าไป มีภาพในอดีตชาติแต่ละชาติ
ผ่านไปไวมาก ดูไม่ทัน จึงไม่รู้ว่าเป็นชาติไหนบ้าง

เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ของสภาวะจิตดวงสุดท้ายก่อนทำกาละ

“รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์”

ผัสสะและอริยสัจ ๔

[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่าฯลฯ

ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.

หัวใจวายตาย ๑ ครั้ง
ขณะที่เกิดอาการหัวใจวาย มีสติรู้ตัวตลอด
กำหนดรู้ไปตามอาการตามความเป็นจริง
เจ็บหัวใจมากจนทนไม่ไหว กำหนด รู้หนอๆๆ
เห็นกายและจิตแยกขาดออกจากกัน
(สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่)

ความรู้สึกดับลงไป
รู้สึกตัวอีกที รู้ทั้งตัว รู้กายที่นอนอยู่

สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งนี้
เป็นการตอกย้ำ ความรู้ชัดในสภาวะจิตดวงสุดท้าย

เมื่อความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ไม่มี
ที่ตั้งของวิญญาณ ย่อมไม่มี

“รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์
แต่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตามากกว่า”

ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔
อวิชชา สังขาร วิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน

ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้

อุปทานขันธ์ ๕

อุปทานขันธ์ ๕
ความยึดมั่นถือมั่นในรูป
ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา
ความยึดมั่นถือมั่นในสัญญา
ความยึดมั่นถือมั่นในสังขาร
ความยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณ

ภาษาชาวบ้าน ตัวกู ของกู

.

ทั้งหมด เป็นตัวแปรของเรื่องราวที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ตอนมีชีวิตอยู่)
หมายถึง ภพชาติของการเกิด ที่มีเกิดขึ้นในปัจจุบัน

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(มโนกรรม)

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ(กายกรรม วจีกรรม) จึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ(เกิด-เสื่อม/โลกธรรม ๘) จึงมี
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อมหน้า
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

 

ก็โสกะเป็นไฉน
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ

ก็ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ

ก็ทุกข์เป็นไฉน
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ

ก็โทมนัสเป็นไฉน
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ

ก็อุปายาสเป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้นภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ

ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ประสบความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ

.

และเป็นตัวแปร ขณะทำกาละ(ตาย)
หมายถึง ภพชาติในสังสารวัฏ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ

.

๕. มาคัณฑิยสูตร
มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
[๒๘๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรคให้เห็นนิพพานได้.
ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้นได้ทำยารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุให้ใสไม่ได้
ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นสักเพียงไรมิใช่หรือ?
อย่างนั้น ท่านพระโคดม.
ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้น คือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มีโรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้ อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลำบากแก่เรา.
[๒๙๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.
ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.
แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง
บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด. เขารับผ้านั้นมาห่ม
มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก
อนึ่งเขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่าความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้. ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น
อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๒๙๑] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.
ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้
เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

.

หมายเหตุ;

นิพพาน คือ ความดับภพ

๑. ภพชาติของการเกิด ที่มีเกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ละขณะๆๆ
กล่าวโดยย่อ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
๒. ภพชาติของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
กล่าวโดยย่อ อวิชชา สังขาร วิญญาณ

สติ สัมปชัญญะ สมาธิ

11 มกราคม

เรียนมาแล้ว ถึงจะเรียนเก่งแค่ไหน
ถ้าไม่ได้นำมาใช้ประจำ ความจำเรื่องนั้น จะค่อยๆ เลือนหายไป

.

while you were sleeping

รู้สึกศัพท์คุ้นๆ แต่ดันแปลความหมายรวมไม่ออก
ถามเจ้านายว่า แปลว่าอะไร

เขาบอกว่า ขณะที่กำลังหลับ

เราถามว่า were ตัวนี้ แปลว่าอะไร ทำไมหลังเวิบตัวนี้ ลงท้ายด้วย ing
เขาบอกว่า ยังไม่คุยด้วย เดี่ยวงานไม่เสร็จ เพราะไม่มีสมาธิ

.

ก็นำไปแปลในกูเกิ้ลอีก
ก็ใช่ตามที่เขาแปลมา แต่เรายังตะหงิดๆกับคำว่า were

วันนี้ ลืมเรื่องนี้ไปแล้วนะ มัวแต่วุ่นๆ ฝึกเย็บกระเป๋าใช้เอง

ตอนเย็น กำลังนั่งล้างชาม จู่ๆมีคำผุดขึ้นมา
is am are was were

ตอนนั้นยังงงอยู่นะ คืออะไร?
แถมยังมโนไกล อ่อ you were I was งั้นเหรอ

ก็มีคำนี้ผุดขึ้นมา
while you were sleeping

อ้าวนี่มันประโยคของ tense นี่นา

นี่นะ อะไรที่เรียนมาแล้ว ถึงจะเรียนเก่งแค่ไหน
ถ้าไม่ได้ใช้ ลืมไปเกือบหมด

.

มันต่างกับสภาวะนะ จำได้ไม่เคยลืม
เหมือนครั้งก่อน น้องนัดไปกินข้าว
เขาถามถึงความหมายของ สติ สัมปชัญญะ

เราบอกว่า

สติ รู้ตัวก่อนทำ

สัมปชัญญะ รู้สึกตัว ขณะกำลังทำ

สติ + สัมปชัญญะ ผลคือ สมาธิ
ทำให้เกิดความรู้ชัด ขณะที่กำลังทำ

สภาวะตรงนี้ เป็นเรื่อง การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
คือ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เกิดที่หลัง
เป็นการละอัตตาอุปทานขันธ์ ๕ อย่างหยาบ

.

ก็ยังมีบุคคลอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่รู้ชัดด้วยตนเอง
ให้ความหมายเกี่ยวกับสติ สัปชัญญะ สมาธิ ไปอีกทาง

เช่น นิกายตันตระ การเสพกาม เพื่อเข้าสู่สุญญตา และหลุดพ้น
ตามความเป็นจริงแล้ว กดข่มไว้ด้วยอำนาจของสมถะ

ตรงนี้เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยในแต่ละคน
จุดเริ่มต้นจึงแตกต่างกัน

ทุกอย่างไม่เที่ยง ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้
ถึงแม้นิกายตันตระ จะเป็นเพียงสมถะก็ตาม
ตัวประเมินภพชาติของการเกิด ไม่ใช่ปัจจุบัน

เช่น สามารถเดินเท้าเปล่าอยู่บนหิมะได้ทั้งวัน
หรือนั่งสมาธิบนภูเขาหิมะได้ตลอดเวลาเป็นปีๆ
โดยมีความต้องการอาหารและน้ำดื่มเพียงเล็กน้อย
และนุ่งแค่ผ้าเตี่ยวผืนเดียว
แม้กระทั่งได้สมาบัติ ๘ รู้เห็นวิเศษมากมาย

.

ตัวบ่งบอกภพชาติของการเกิดที่อยู่แท้จริง
เป็นสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้น
หากยังไมาทำกาละ เป็นสภาวะของ
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างละเอียด
.

สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
นี่คือ จิตภาวนา ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นเหตุปัจจัยให้มีวิญญาณ/ธาตุรู้เกิดขึ้น
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ในวิโมกข์ ๘

กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกายเนืองๆ
เวทนาในเวทนาเนืองๆ
จิตในจิตเนืองๆ
ธรรมในธรรมเนืองๆ

เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างกลาง

สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

13 มกราคม

รายละเอียดของคำเรียกต่างๆ สัญญาจะมีเกิดขึ้นได้
เกิดจากการถูกกระตุ้น เช่น จากการอ่าน การสนทนา
และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
หรือหลังจากจิตคลายตัวออกจากสมาธิ

สัญญาจะกลายเป็นปัญญาได้ต่อเมื่อ รู้แล้วหยุด
กล่าวคือ การดับเหตุแห่งทุกข์

หากคิดว่ารู้ แต่มีสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก(กายกรรม วจีกรรม)
ล้วนเป็นเพียงสัญญา หาใช่ปัญญาไม่

.

เดี๋ยวนี้ จิตดับในสมาธิมากขึ้น

การดับในสมาธิ เป็นเพียงเครื่องมือพักผ่อนของจิต
วันนี้ดับตั้งแต่ ๙ โมงเช้าถึง ๑๗ น.

 

14 มกราคม

อ่านเจอเรื่อง ขโมยธรรม
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

“สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน
ญาณในพระนิพพานเกิดภายหลัง ฯ

.

ทำให้เกิดการทบทวนสภาวะ และสิ่งที่เคยเขียนไว้
ไล่ทบทวนแต่ละสภาวะที่มีเกิดขึ้น

เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้ชัดสิ่งที่เรียกว่า กิเลส
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เมื่อไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ทุกๆการกระทบ จะรู้ชัดมาก
เปรียบเหมือนหนามทิ่มแทงลงในเนื้อ

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ ทำให้รู้ชัดใน ปัจจเวกขณะญาณ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

ปฏิจจสมุปบาทในส่วนที่เหลือ รู้แบบคลุมเครือ ไม่ชัดเจน

.

ต่อมา มีสัญญาเกิดขึ้น
นิพพานคือ ความดับภพ ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ภพ หมายถึงสิ่งใด
กำหนดรู้มาเรื่อยๆ สัญญามีเกิดขึ้นเนืองๆ เขียนออกมาเรื่อยๆ

จนกระทั่งรู้ชัดว่า ภพ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
เป็นเรื่องของ มโนกรรม

ต่อมา เริ่มแยกแยะได้ว่า คำว่า ดับภพ หมายถึงสิ่งใด
หมายถึง การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
และการดับเหตุปัจจัยภพชาติของการเกิดเวียนว่ายในสังสารวัฏ

จนกระทั่งมาแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับ

ผัสสะกับอริยสัจ ๔(ตัณหา)

ปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ ๔(อวิชชา)

.

สรุปจากสภาวะทั้งหมด ที่รู้ชัดด้วยตนเอง
ตรงกับคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ คือ
ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน(ความรู้ชัดในผัสสะ/ปัจจเวกขณญาณ)
ญาณในนิพพานเกิดทีหลัง(นิพพานคือความดับภพ)
เป็นเหตุปัจจัยให้ รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาทส่วนที่เหลือ
ค่อยๆชัดมากขึ้น จนกระทั่ง รู้ชัดแบบแจ่มแจ้งในที่สุด

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต คือ กามภพ
เป็นเรื่องของ มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น)

มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน คือ รูปภพ
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน คือ อรูปภพ

ชาติ การเกิด การได้ครบแห่งอายตนะ
หมายถึง กายกรรม วจีกรรม
กล่าวคือ กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น

ชรา มรณะ ความเสื่อม
หมายถึง โลกธรรม ๘

โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปยาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

.

ทำไมอริยสัจ ๔ จึงเป็นหัวใจพระธรรมคำสอน
เพราะ อินทรีย์ ๕ ประการ ได้แก่
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์

จะบรรลุเร็ว(รู้เร็ว) หรือบรรลุช้า(รู้ช้า)
ตัวแปรคือ ปัญญินทรีย์ ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

 

 

สิ่งที่ขีดเขียนมาตลอด เป็นระยะๆ
เป็นการรู้ โดยตามลำดับ
ทำให้เกิดการละ โดยตามลำดับ
ตอกย้ำ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดที่หลัง

การได้อัตตา

๙.โปฏฐปาทสูตร

การได้อัตตา ๓ ประการ

ความได้อัตตาที่หยาบเป็นไฉน
คือ อัตตาที่มีรูป
ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร
นี้ความได้อัตตาที่หยาบ

[๓๐๔]ดูกรโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า
สังกิเลสธรรมเราจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.

ดูกรโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ที่แท้สังกิเลสธรรมพวกท่านจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์
ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมีได้

[๓๐๖] ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะพึงถามเราอย่างนี้ว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่หยาบ

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้น ว่าพวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละ ความได้อัตตาที่หยาบ

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น.

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน
คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
นี้ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

[๓๐๗] ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะถามเราว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละ ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น.
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และ ความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ความได้อัตตาที่หารูปมิได้ เป็นไฉน
คือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา
นี้ความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะพึงถามเราว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

หมายเหตุ:

“อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร
นี้ความได้อัตตาที่หยาบ”

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กามภพ

“อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
นี้ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ”

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน ได้แก่ รูปภพ

“อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา
นี้ความได้อัตตาที่หารูปมิได้”

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน ได้แก่ อรูปภพ

“โวทานิยธรรม”
สมถะ วิปัสสนา

Previous Older Entries

มกราคม 2018
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031  

คลังเก็บ