แสดงความคิดเห็น

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=42261&p=295947#p295947

“พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติธรรมนะ เราจะวาดภาพว่า ต้องไปนั่งสมาธิ ต้องไปเดินจงกรม จะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ต้องช้าๆ ต้องนุ่มนวล ต้องช้าๆ ค่อยๆขยับ ยกตัวอย่างจะเดินก็ต้องช้าๆนะ จะทำอะไรทุกอย่างต้องช้าๆ แล้วจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งก็ต้องหลับตา ถึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งลืมตาก็ไม่ได้ ต้องนั่งในท่านี้ด้วย ต้องเดินในท่านี้ด้วย ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ”

บุคคลที่มีความยึดติดเหนียวแน่น ชอบกล่าวทำนองเดียวกับคุณวังโพธิฯ เหตุเพราะ ทำได้แบบไหน จะพูดหรืออธิบายได้แค่แบบที่ตัวเองทำอยู่ และมีการยึดติดในรูปแบบ

 

ใครจะเดินเร็วหรือเดินช้าหรือเดินแบบไหนๆก็ตาม จะยืน จะนอน หรือนั่ง หรือทำในรูปแบบอื่นๆ จะลืมตาทำ หรือหลับตาทำก็ตาม จะมีคำบริกรรมหรือไม่มีคำบริกรรมก็ตาม หรือไม่ว่าจะทำในรูปแบบอื่นๆก็ตาม ที่อาจจะแตกต่าง ผิดแผกแหวกแนว ไปจากคนอื่นๆก็ตาม

ทุกๆคนสร้างเหตุมาแตกต่างกันไป เหตุหรือรูปแบบของการปฏิบัติก็เหมือนกัน ย่อมแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

รูปแบบของการปฏิบัติ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ใครจะปฏิบัติแบบไหน นั่นก็เหตุของคนๆนั้น แต่เพราะความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ เป็นเหตุให้กล่าวเพ่งโทษการปฏิบัติของผู้อื่น ดังเช่นคำที่กล่าวมานั้น

“หลวงปู่มั่นท่านสอนไว้ดีมากเลย ท่านบอกว่า ถ้าเราทำสมาธิมาก จะเนิ่นช้า”

ดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจากความถูกใจกับไม่ถูกใจเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริง เป็นเรื่องเหตุของคนๆนั้น

ยึดติดกับครูบาฯมากไป ต้องดูด้วยว่า ท่านพูดกับใคร ที่ไหน อย่างไร คนๆนั้นมีสภาวะอะไรอยู่ ไม่ใช่ไปหยิบยกคำพูดบางส่วนของท่านมาพูด เพื่อสนับสนนุคำพูดหรือตามความเข้าใจของตัวเอง ที่คิดเข้าข้างว่าสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วนั้น มันถูกต้อง

“ใครจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คนไหนเจริญสติในชีวิตประจำวันไม่ได้เนี่ย โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้นะ ยังห่างไกลเหลือเกิน”

ทุกอย่างไม่เที่ยงนะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ดูเรื่องขององคุมาลเป็นตัวอย่าง เหตุมี ผลย่อมมี

“มันยากมากเลยที่คนๆ หนึ่งจะมีสติขึ้นมา สติที่แท้จริง แต่ไม่ยากเลยที่คนที่มีสติที่แท้จริงแล้ว จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ มรรค ผล นิพพาน มีจริง”

ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของคนๆนั้นต่างหาก

สิ่งที่ผู้เขียน เขียนลงไปนั้น เป็นมุมมองอีกหนึ่งมุมมอง ส่วนใครที่มีมุมมองแตกต่างออกไปอีก อันนี้ก็เหตุของแต่ละคน

สติปัฏฐาน ๔-มหาสติปัฏฐาน ในปัจจุบัน

สติปัฏฐานสูตร

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ.

๔ ประการเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

ดูเนื้อความทั้งหมดที่

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p … 754&Z=2150

มหาสติปัฏฐานสูตร

[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

๔ ประการ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

ดูเนื้อความทั้งหมดที่

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p … 257&Z=6764

หมายเหตุ:

ไม่แตกต่างกับคำเรียก วิปัสสนากับวิปัสสนาญาณ ที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

กาวช่างซันนิค

นักพ้ฒนา

ผลของการเจริญสติ มีประโยชน์เกิดขึ้นหลายๆอย่างในชีวิต ที่เหHนได้อย่างชัดเจน ความเป็นนักพัฒนาทั้งตัวเองและคนในครอบครัว ทำให้ความเป็นอยู่และคุณภาพของชีวิตทั้งภายในและภายนอกดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน

กาวช่างซันนิค

เมื่อก่อนชอบซื้อกาวตาช้าง พอแกะใช้แล้ว ต้องใช้ให้หมด ถ้าไม่หมด นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น ถ้าเก็บไว้นานเกินไป เนื้อกาวที่เหลือจะแห้งแข็ง นำมาใช้ไม่ได้อีก

มีอีกหนึ่งตัวเลือก กาวช่างซันนิค เป็นกาวสำหรับติดซ่อมแซมงานไม้ พลาสติก เมลามีน

รีไซเคิ้ล

ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าทั้งเก่าและไม่เก่า จัดเป้นเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ผู้เขียนจะนำมารีไซเคิ้ลใหม่ ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ เช่น ทำผ้าขี้ริ้ว ทำผ้าเช็ดมือ ทำผ้ารองนั่ง ฯลฯ หลากหลายวิธีที่จะนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการใช้งาน

กางเกงยีนส์ขายาว

กางเกงยีนส์ขายาวที่ใส่ไม่ได้ นำมาตัดดัดแปลง เป็นขาสั้นบ้าง เป็นกระโปรงบ้าง เป็นกระเป๋าบ้าง

วิธีเพิ่ม-ลดขนาดเอวกางเกง ถ้าใหญ่เกิน(ของเจ้านาย) เลาะขอบเอวออก แล้วเย็บด้านหลังเข้า โดยไม่ใส่เอว

การเพิ่มขนาดเอว เลาะขอบเอวออก ตัดขายาว ให้เป็นขาสั้น ตัดด้านข้างแยกออกจากกัน นำเศษขาที่ตัดออกมา เย็บติดด้านข้างทั้งสอง เป็นกางเกงยีนส์ขาสั้นใส่สบายๆ

เป็นคนไม่ชอบใส่กางเกงมีขอบเอว ถ้าชอบแบบมีขอบเอว เพียงนำขอบเอวที่เลาะไว้ นำเศษผ้ายีนส์ที่เหลือมาเย็บต่อ แล้วนำไปใส่ขอบเอว เท่านี้ก็เป็นกางเกงยีนส์มีขอบเอว

อุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ เข็มเล่มใหญ่ เพราะเนื้อยีนส์จะมีเนื้อหนากว่าผ้าธรรมดาๆโดยทั่วๆไป เป็นการเย็บมือ ไม่ได้ใช้จักร ใครมีจักร ใช้ได้ตามสะดวก

๗ พค.๕๕ (สูตรความสำเร็จ/แนวทาง ๗ ประการ)

ทำตามสภาวะ

เมื่อยังมีกิเลส เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ ถึงแม้จะรู้ล่วงหน้า แต่ไม่สามารถช่วยใครๆได้ เพราะเป็นเหตุของแต่ละคนที่ทำมา ทุกคนต้องช่วยตัวเอง

ได้แค่แนะแนวทางให้ ไม่มีการบังคับให้มาเชื่อกัน ไม่มีทั้งการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน เพียงแต่บอกว่า อยู่ที่การตัดสินใจของคนๆนั้น ว่าจะเลือกเดินเส้นทางแบบไหน ทางมีหลายทางตามเหตุที่ทำมาและที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ของแต่ละคน

ขนาดป่วย กายป่วย แต่จิตไม่ป่วยตาม บทจิตจะคิดพิจรณา จะคิดขึ้นมาเอง ช่วงไหนไม่มีบันทึก นั่นคือ ไม่มีสภาวะจิตคิดพิจรณา มีแต่เรื่องราวในชีวิต ขี้เกียจเขียน เพราะไม่แตกต่างจากคนอื่นๆหรอก กิเลสยังมี แต่ไม่หลงสร้างเหตุนอกตัว

วันนี้จิตคิดพิจรณาถึงเรื่องการปฏิบัติ ดูท่าบทความที่เขียนค้างทิ้งๆไว้ น่าจะเขียนได้ใกล้จบแล้ว ที่ยังมีติดๆอยู่บ้าง คือ หลักฐานจากพระไตรปิฎก เป็นพุทธวจนะ ที่กำลังหาเพิ่มเติมอยู่

สภาวะที่ควรรู้ก่อนการปฏิบัติหรือหลังการปฏิบัติหรือจะศึกษาหรือไม่ศึกษา อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน ไม่สามารถเจาะจงลงไปได้ ว่าควรรู้หรือไม่จำเป็นต้องรู้ หรือควรศึกษาหรือไม่จำเป็นต้องศึกษา แล้วแต่เหตุนะ ไม่มีการว่ากัน รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

สูตรความสำเร็จ

๑. ปฏิจจสมุปปบาท มี ๒ เหตุ รวมกันอยู่ในสภาวะของปฏิจจสมุปปบาท ได้แก่ ต้นเหตุของการสร้างเหตุ ของการเกิดเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร ๑ ต้นเหตุของการสร้างเหตุ ของการเกิดในปัจจุบันขณะ หรือปัจจุบันอารมณ์ หรือภพชาติปัจจุบัน ๑

๑. ต้นเหตุของการสร้างเหตุ ของการเกิดเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร เริ่มต้นที่ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด จนถึงชาติ(ชรา มรณะฯลฯ) แล้ววนกลับไปเริ่มต้นที่อวิชชา

๒. ต้นเหตุของการสร้างเหตุ ของการเกิดในปัจจุบันขณะ หรือปัจจุบันอารมณ์ หรือภพชาติปัจจุบัน เริ่มต้นที่ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด จนถึงภพ (เหตุ) ชาติ (ผล/วิบาก) ตราบใดที่ยังไม่สิ้นชีวิต(มรณะ) ตราบใดที่ยังไม่สามารถรู้เท่าทันผัสสะที่เกิดขึ้น ยังมีหลงสร้างเหตุตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ภพชาติเกิดอยู่อย่างนั้น

๒. โยนิโสมนสิการ นำบทความเรื่องโยนิโสมนสิการที่เขียนไว้ มาขยายใจความอีกทีเพื่อความเข้าใจรายละเอียดทั้งปริยัติ, ปฏิบัติและปฏิเวธ(ศิล)

ได้แก่ การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น (เหตุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละขณะในชีวิตและทั้งการปฏิบัติเต็มรูปแบบ)

รู้ตามความเป็นจริง ได้แก่ ขณะผัสสะเกิด รู้สึกนึกคิดอะไรยังไง รู้ไปตามนั้น

๓. สัมมาสติ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม (ปัจจุบันขณะ, ปัจจุบันธรรม, สิ่งที่เกิดขึ้น, ผัสสะที่มากระทบ ทั้งหมด เป็นสภาวะเดียวกัน แตกต่างเพียงชื่อ) หรือที่นำมาเรียกว่า สติปัฎฐาน ๔ หรือวิปัสสนาในปัจจุบัน

๔. วิธีการหรือแนวทางการปฏิบัติ ได้แก่ การเจริญอิทธิบาท ๔ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) นำรายละเอียดต่างๆของสภาวะ มาขยายใจความอีกที เพื่อความเข้าใจรายละเอียดทั้งปริยัติ, ปฏิบัติและปฏิเวธ

ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตสมาธิ วิมังสาสมาธิ

๕. การปรับอินทรีย์

๖. สัมมาสมาธิ (ปัญญา) ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม สภาวะนี้เป็นสภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป หรือที่นำมาเรียกว่า มหาสติปัฏฐาน หรือวิปัสสนาญาณในปัจจุบัน

๗. สัมมาทิฎฐิ(โลกียะ) หรือสุญญตา เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะในสภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ(ปรมัตถ์) จนถึงสังขารุเปกขาญาณ (ถ้าไม่ติดอุปกิเลส สภาวะจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง) สภาวะญาณที่เหลือ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน

ถ้ายังใช้บัญญัติเป็นอารมณ์ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะในสภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น ตั้งแต่ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ จนถึง จนถึงสังขารุเปกขาญาณ (ถ้าไม่ติดอุปกิเลส สภาวะจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง) สภาวะญาณที่เหลือ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน

๖ พค.๕๕ (เริ่มกินโจ๊กได้)

After

This slideshow requires JavaScript.

ทำตามสภาวะ

วันนี้เริ่มดีขึ้น กินโจ๊กได้ ทำเอง โจ๊กปลาอิทรีย์ พอดีต้มข้าวต้มหมูสับให้เจ้านาย แยกข้าต้มกับน้ำซุปคนละหม้อ ตามด้วยหมูทอดกระเทียมพริกไทยผสมกับเม็ดผักชี (พริกไทยอย่างเดียว ยังมีกลิ่นหอมไม่พอ เจ้านายชอบสมุนไพรเยอะๆ) และปลาอินทรีย์ทอด

ทอดปลาก็ใช้น้ำมันที่เหลือจากทอดหมู ทีนี้เป็นปลาอินทรีย์แช่น้ำปลา เคล้าเกลือเล็กน้อย ประกอบกับน้ำมันที่ใช้ด้วย เนื้อปลาไม่กรอบเหมือนใช้เกลืออย่างเดียว

เอาน้ำซุปที่เหลือมาทำโจ๊ก ใส่ไข่ลงไป เอาเนื้อปลาที่ทอดแล้วมายีๆให้กระจาย ใส่ลงไปในโจ๊ก เป็นมื้อแรกที่กินข้าวได้ โดยไม่ทรมาณมาก ต้องกินคำเล็กๆ กลืนช้าๆ ไม่งั้นทั้งเจ็บทั้งแสบอีก อาศัยเทคนิคในการกิน

เมื่อเช้าอยากกินขนมปังมาก เอาขนมปังแช่ลงไปในกาแฟผสมนมสด ชงกาแฟแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พอดีทำเสต็กปลาแซลม่อนกับขนมปังและกาแฟให้เจ้านายกินตอนเช้า

๕ พค.๕๕ (แสบภายในปาก)

ทำตามสภาวะ

สัปปายะที่เหมาะสำหรับตัวเอง คือ การเย็บผ้า ตลอดทั้งทำงานบ้าน จิตเป็นสมาธิได้ง่าย พักในสมาธิเป็นระยๆ บางครั้งหลายชม.

กินข้าวไม่ได้เลย แม้แต่ข้าวต้ม ทั้งเจ็บทั้งแสบที่เพดาน แม้แต่นมยังแสบ แต่รู้สึกดีขึ้น ตั้งแต่ป้ายยาและกินยาแก้อักเสบช่วย

แปรงฟันก็ต้องระวัง ไม่ให้เกินขอบฟัน เพราะรอบๆขอบเหงือกยังอักเสบ ถ้าไม่ได้น้ำยาบ้วนปาก คงลำบากพิลึก

๓ – ๔ พค.๕๕(เริ่มกินอาหารแข็งๆไม่ได้)

๓ พค.๕๕(เริ่มกินอาหารแข็งๆไม่ได้)

ทำตามสภาวะ

อาการเริ่มเป็นมากขึ้น กินอาหารแข็งๆยังไม่ได้ กินได้เพียงข้าวต้ม ยังคงแสบที่เพดานเป็นระยะๆ

หาข้อมูลทางเน็ท ดูว่าใครมีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง บางที่แนะนำใช้น้ำเกลือบ้วนปาก แสบตายเลยนะนั่น ก็รู้นะว่า น้ำเกลือมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในปาก แต่ยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสำหรับเรา สุดท้ายอ่านหลายๆวิธี ยังไม่ได้คำตอบ

๔ พค.๕๕ (กินอาหารได้ยากมากขึ้น)

ทำตามสภาวะ

ไปร้านขายยาหน้าน้อมจิต อยู่ติดกับร้าน 7-11 ร้านนี้เป็นร้านที่ไปใช้บริการประจำ เพราะเคยเห็นคนที่เข้าไปซื้อยา มักจะแชร์เรื่องยาที่ใช้รักษา ซึ่งได้ผลสำหรับคนๆนั้น

ส่วนตัวเอง เล่าเรื่องให้คนขายยาฟัง (ไม่แน่ใจว่าเป็นเภสัชไหม เพราะไม่มีป้ายติดบอกและไม่ได้เสื้อกราวน์ ตอนแรกเขาแนะนำยา ไตรโนโลน เราบอกว่าไม่เอา มียาที่ดีกว่านี้ไหม เขาแนะนำให้อีกตัว ชื่อยา lonnagel กลิ่นมินท์

อันนี้พอรับไหว ที่ไม่เอาไตรโนโลน เพราะเคยใช้แล้ว หายช้า (ปากนกกระจอก) พร้อมทั้ง cloxacillin 500 mg 1 แผง (10 เม็ด) brufen (10)

หมายเหตุ

Trinolone Oral Paste กับ Lonna Gel (ลอนนา เจล) แตกต่างแค่ชื่อ ส่วนประกอบตัวยามีเหมือนๆกัน คือ Triamcinolone Acetonide 1 mg. แต่ผลในการใช้การรักษา มีผลรับแตกต่างกัน คงเหมือนยาอื่นๆ

การดูแลรักษา

สิ่งที่สำคัญขาดไม่ได้ คือ น้ำยาบ้วนปาก ต้องบ้วนปากหลังอาหารทุกมื้อ แล้วตามด้วยการป้ายยาที่เพดานปาก

ขอบคุณ น้ายาบ้วนปากและยาสีฟันกลิสเตอร์ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการดูแลรักษา

มีภาพการรักษามาให้ดู อย่าตกใจนะ เป็นคนฟันเสียมาตั้งแต่เด็ก เพราะชอบอมลูกอม และไม่เคยแปรงฟันก่อนนอน (ห้ามว่าพ่อแม่) ฟันที่เห็นทั้งหมดยังเป็นฟันจริง แต่สภาพตามอัตภาพ

ดีนะที่มีสมาธิมาช่วยอีกแรง ไม่งั้นคงทรมาณน่าดู คงนอนไม่หลับ อาศัยพักในสมาธิเป็นระยะๆ บางคืนดิ่งทั้งคืน นี่คือประโยชน์ของสมาธิที่นำมาช่วยในการรักาาสุขภาพทั้งทางกายและจิต

๒ พค.๕๕ (เพดานปากเป็นแผล)

Before

This slideshow requires JavaScript.

ทำตามสภาวะ

ไปบ้านเจ้านายมา (darling) ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมย. รถออก เกือบ 3 ทุ่ม ถึงจ.แพร่ ตี 5 นิดๆ การเดินทาง หลับบ้าง ตื่นบ้าง รู้สึกตัวเป็นระยะๆ

กลางวัน อากาศร้อนมากๆ แต่ก็ทำสมาธิได้เป็นบางช่วง

กลางคืน ฝนตกทุกคืน สัปปายะเหมาะแก่การทำสมาธิ มีโอกาสได้นั่งก่อนนอนทุกคืน เป็นเหตุให้เกิดความต่อเนื่องของจิตเป็นสมาธิในตอนนอน

เหตุของเพดานปากเป็นแผล

ตอนเช้า มีกาแฟเสริฟ เป็นคนดื่มกาแฟร้อนทีไร ข้างในพองทุกที แต่ครั้งนี้ลืม ดันไปแปรงเหงือกและเพดานปากในตอนเช้า เมื่อพองอยู่แล้ว เนื้อเยื่อเหมือนถูกขูดออกมา ตอนนั้นยังไม่รู้ แค่รู้ว่าเจ็บๆ

อยู่ที่แพร่มาหลายวันก็ยังไม่รู้ รู้แต่ว่ากินอาหารรสเผ็ดไม่ค่อยได้ ส่วนอาหารอื่นๆยังคงกินได้ปกติ ยังมีกินกาแฟร้อนเข้าไปอีก โดยเฉพาะวันเดินทางกลับ ช่วงเช้าก่อนถึงกทม. เหมือนแผลในปากโดนกระตุ้นอย่างแรง

กลับมาถึงห้อง อาหารแข็งๆเริ่มกินไม่ได้ เจ็บแสบในปาก ให้คุณสามีถ่ายภาพในปาก เห้นภาพครั้งแรกตกใจมากๆ น่ากลัวมากๆ มิน่า ถึงกินอะไรเข้าไปก็แสบไปปหมดแม้กระทั่งน้ำเปล่า

คืนนั้น ปวดแผลมาก เหงือกบวม คงจะเกิดการอักเสบ กินbrufen 400 mg. (เม็ดสีชมพู สีขาวเคยกินแล้ว ไม่ได้ผล) brufen มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ

๒๗ เมย.๕๕(สติปัฏฐาน ๔-มหาสติปัฏฐาน)

๒๖-๒๗ เมย.๕๕(สติปัฏฐาน ๔-มหาสติปัฏฐาน)

ทำตามสภาวะ

สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ คือ สภาวะของสัมมาสติ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม (ปัจจุบันธรรม)

เกิดจากการเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นการสร้างเหตุของการตัดภพชาติปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถทำลายอนุสัยกิเลสหรือสังโยชน์ ๑๐

ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔ คือ สมถะ

แนวทางการปฏิบัติ

เมื่อผัสสะเกิด

ผัสสะที่เกิดขึ้น เป็นเหตุที่เคยกระทำไว้ในอดีต ส่งมาให้รับผลในรูปของผัสสะหรือเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต

โยนิโสมนสิการ

การดูตามความเป็นจริง คือ ดูผัสสะที่มากระทบ ได้แก่ ดูสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

รู้ตามความเป็นจริง คือ รู้ตามความเป็นจริงของกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นณ ปัจจุบันขณะ เช่น ความรู้สึกยินดี ยินร้าย ฯลฯ

สภาวะขันธ์ ๕ เกิดขึ้น ขณะผัสสะเกิด ได้แก่

รูป ได้แก่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นรู้รส จมูกรู้กลิ่น กายสัมผัส ธรรมารมณ์

เวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนา สุขเวนาท อุเบกขาเวทนา เช่น ความรู้สึกยินดี ยินร้าย เฉยๆ

สัญญา ได้แก่ ความจำได้หมายรู้

ความรู้สึกยินดี เกิดจากสัญญาเป็นเหตุ เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน เหตุมี ผลย่อมมี

ความรู้สึกยินร้าย เกิดจากสัญญาเป็นเหตุ ได้แก่ เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน เหตุมี ผลย่อมมี

อุเบกขา เกิดจากสัญญาเป็นเหตุ ได้แก่ ไม่เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

สังขาร การปรุงแต่ง ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

วิญญาณ/มโน ได้แก่ จิต

มโนกรรม ได้แก่ การสร้างเหตุทางความคิด การปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ

วจีกรรม ได้แก่ การสร้างเหตุทางวาจา ที่เกิดจากความคิด ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ เป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำออกมาทางวาจา

กายกรรม การสร้างเหตุทางกาย ที่เกิดจากความคิด ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ เป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำออกมาทางกาย

มหาสติปัฏฐาน

มหาสติปัฏฐาน คือ สภาวะของ สัมมาสมาธิ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

เกิดจาก การปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้สภาวะสัมปชัญญะเกิด

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ ในที่นี้หมายถึงอัปปนาสมาธิ หรือตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป เป็นการสร้างเหตุของการตัดภพชาติในการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะสัมมาสมาธิ ได้แก่ ญาณ ๑๖ เป็นเพียงกิริยาของจิต เป็นสิ่งที่รู้ได้ แต่ไม่ควรยึด สักแต่ว่ารู้ เมื่อใดเกิดการยึด จากสภาวะกิริยาของจิตปกติ จะกลายเป็นอุปกิเลสไปทันที

๒๕ เมย.๕๕ (ฌาน)

ทำตามสภาวะ

หลังจากเสร็จงาน เมื่อนั่งสมาธิต่อ จิตจะเป็นสมาธิอย่างง่ายดาย เนื่องจากการสะสมของกำลังสมาธิที่เกิดจากการทำงานต่อเนื่อง สมาธิที่เกิดขึ้นจะมีกำลังแนบแน่น เป็นเหตุให้สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้นาน

ปล่อยจิตเป็นอิสระ ดำเนินไปตามสภาวะ หรือที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ ซึ่งจะเกิดเฉพาะในสภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น มิจฉาสมาธิจะเกิดไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นสมาธิที่มีกำลังมากแต่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อาจจะมีแค่โอภาส
หรือนิ่งหรือดับ ขาดความรู้สึกตัว

เรื่องสภาวะของญาณ ๑๖ เมื่อก่อนก็เข้าใจผิดเหมือนหลายๆคนที่เข้าใจผิด ไปยึดติดในสิ่งที่บอกต่อๆกันมาว่า ญาณ ๑๖ ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นของวิเศษ ต้องหาครูบาอาจารย์สอบอารมณ์
เพื่อจะได้รู้ว่าปฏิบัติถูกทางหรือไม่ อยู่ญาณไหน เรียกว่าอะไร

ต้องโง่มาก่อนคือ ไม่รู้ก่อนที่จะรู้

แท้จริงแล้ว สภาวะของญาณ ๑๖ เป็นสภาวะที่เกิดเฉพาะในสัมมาสมาธิเท่านั้น เป็นเพียงสภาวะของจิตที่รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง
ไม่ใช่เกิดจากการนำความมีตัวตนหรือทิฏฐิของตนที่มีอยู่เข้าไปแทรกแซงสภาวะ อันนั้นเรียกว่า จงใจหรือเจตนาทำให้เกิดขึ้น

การที่รอให้สมาธิคลายตัว จึงนำความรู้ที่เเกิดจากการฟัง หรือศึกษามา ยกธรรมหรือสิ่งที่รู้ นำมาคิดพิจรณาหาเหตุและผล อันนี้เรียกว่า จงใจหรือเจตนาทำให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด

บางคน ด้วยเหตุที่ทำมา ผลจึงทำให้สภาวะเป็นเช่นนั้น บางครั้งเกิดการน้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดจากความคิดพิจรณา ถ้านำไปสร้างเหตุนอกตัว เหตุเกิดจากคิดว่าสิ่งที่ถูกรู้หรือที่คิดพิจรณานั้นถูกต้อง นี่ทิฏฐิแทรกแต่ยังไม่รู้

นำสิ่งที่คิดว่ารู้ไปสร้างเหตุนอกตัว เป็นวิวาทะต่อผู้อื่น เพราะทิฏฐิหรือความคิดเห็นของผู้อื่นแตกต่างไปจากตนเอง เหตุมี ผลย่อมมี ไม่มีอะไรเหนือกฏแห่งกรรมหรือกฏแห่งการกระทำ

เมื่อสร้างเหตุแล้ว ผลย่อมมีอย่างแน่นอน เมื่อเกิดวิวาทะหรือมีความคิดแตกต่างจากผู้อื่น ย่อมนำรู้นั้นๆมาขบคิดหาเหตุหาผลเพื่อต้องการรู้ว่าถูกตามที่ตนเองคิดหรือไม่ ผลตามมา คือ ความฟุ้งซ่าน แต่ไม่รู้ว่าฟุ้งซ่าน
นี่คือเหตุของสภาวะนิวรณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เมื่อยังมีความคิดค้างอยู่ พอไปนั่งสมาธิ จิตย่อมตั้งมั่นได้ยาก หรือจิตที่ถูกฝึกมาดีแล้ว เกิดความชำนาญในการเข้าออกสมาธิได้ดี เมื่อนั่งสมาธิ จิตอาจจะตั้งมั่นได้ปกติ เพียงแต่กำลังของสมาธิไม่แนบแน่น เป็นเหตุให้ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้นาน
เป็นเหตุให้มีแต่ความคิด นี่แหละถึงได้บอกว่า การกระทำภายนอก ส่งผลกระทบต่อสภาวะภายใน ได้แก่ สภาวะสัมมาสมาธินี่เอง

เหตุเนื่องจาก หากกำลังสมาธิไม่มีกำลังมากพอ ความแนบแน่นของสมาธิย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จึงเกิดขึ้นไม่ได้ อย่างมากเพียงขณิกสมาธิสั้นๆเท่านั้นเอง

หยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่ว่าจะชอบหรือชัง ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆ แค่รู้ไป แต่อย่านำไปสร้างเหตุกับผู้อื่น จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่าย สมาธิที่เกิดขึ้นย่อมมีกำลังมาก มีความแนบแน่นมาก ย่อมรู้ชัดในกายและจิตได้ต่อเนื่อง ภพชาติสั้นลง

เรามาปฏิบัติเพื่อการตัดภพตัดชาติ หรือที่เรียกตามบัญญัติว่า พระนิพพาน คือ ความดับภพ ดับภพชาติปัจจุบันและภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

พระผู้มีพระภาค จึงทรงวางแนวทาง เริ่มต้นจากศิล รู้แบบชาวบ้าน คือ การทำความดี การรักษาศิล เมื่อศิลสะอาด สมาธิย่อมเกิด ซึ่งสภาวะแท้จริง คือ การสำรวม สังวร ระวังในเรื่องการสร้างเหตุ การไม่สร้างเหตุนอกตัว
เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย

เมื่อสมาธิเกิดแล้ว ยังไม่ถูกขัดเกลา ยังเป็นมิจฉาสมาธิ ต้องปรับอินทรีย์ระหว่างสสมาธิกับสติให้สมดุลย์ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ซึ่งเป็นสภาวะสัมปชัญญะ คือตัวปัญญา เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ จิตสามรถรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย
เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมตามความเป็นจริง

สภาวะที่เกิดขึ้นจากการรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตขณะจิตเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นี่แหละคือ ที่มาของสภาวะสมถะและวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงนำแนวทางทิ้งไว้ให้ ทางไปสู่พระนิพพาน ความดับภพ
ดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบันและการเกิดเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

มีทางนี้ทางเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ ทำจริง คือ ทำต่อเนื่อง ย่อมได้ผลจริง ที่ไม่ได้ผล เพราะทำเหยาะแหยะ ทำไม่ต่อเนื่อง ทำแล้วชอบเปรียบเทียบ มีแต่วิจิกิจฉา นี่คืออะไร ใช่ญาณนั้นญาณนี้หรือเปล่า บรรลุแล้วหรือยัง เป็นโสดาหรือยัง
ทำเพราะความอยากรู้ อยากมี อยากได้ ออยากเป็นอะไรๆในบัญญัติ รู้มากจึงยากนานเพราะเหตุนี้

ถ้าแค่รู้ ยอมรับไปว่ายังมีการให้ค่า เป็นเรื่องปกติ ยังมีกิเลส ทำต่อเนื่อง ไปต้องไปให้ใครรับรองหรือยืนยันสภาวะ ไม่ต้องหาใครหรือครูอาจารย์ไหนมาสอบอารมณ์ ครูอาจารย์ไม่แตกต่างจากทุกๆคนหรอก รู้แค่ไหน ย่อมวิาพกย์วิจารณ์
หรือแนะนำเรื่องสภาวะได้แค่นั้น

เมื่อเกิดการน้อมใจเชื่อ เกิดจากความศรัทธา มีการนำสิ่งที่คิดว่าใช่ คิดเป็น ไปสร้างเหตุ ภพชาติถึงเกิดต่อเนื่อง แทนที่จะดับที่ต้นเหตุ ได้แก่ ใจทะยานอยากของตนเอง เหตุมี ผลย่อมมี อันนี้ไปว่ากันไม่ได้ มีเยอะแยะมากในปัจจุบัน

บางคนสร้างเหตุของการเกิด แต่ดูไม่ออก เพราะอวิชชาครอบงำอยู่ วิพากย์วิจารณ์เหตุของผู้อื่น ที่เกิดจากความยินดี ยินร้าย เหตุจากอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดว่ารู้ คิดว่าถูก เมื่อมีผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตนเองมองว่าผิด
มองว่าไม่ควรทำ ไปวิพากย์วิจารณ์

หารู้ไม่ว่า สิ่งที่มองเห็นหรือผัสสะที่เกิดขึ้น นั่นแหละเหตุของตนเองที่มีอยู่ ส่งมาให้ได้รับในรูปของผัสสะที่เกิดขึ้น เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงไปวิพากย์วิจารณ์ว่า ถูกบ้าง ผิดบ้าง โดยการเอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง

เมื่อก่อน ผู้เขียนก็เคยเป็นเช่นนั้น จึงเข้าใจในสภาวะของบุคคลเหล่านั้น นั่นคือ เหตุของเขาที่ยังมีอยู่ เมื่อเขาไม่รู้ เขาจึงไม่หยุด ชีวิตเขาจึงเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในเปลือกแบบไหน สภาวะไม่แตกต่างกันหรอก

แนวทางการปฏิบัติในปัจจุบัน จึงมีคำว่า วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ สติปัฏฐาน มหาสติปัฏฐาน จากการยึดสิ่งที่เรียกว่า สมถะ วิปัสสนา ยึดโดยบัญญัติ ไม่ใช่จากสภาวะตามความเป็นจริง

บ้างก็กล่าวตามทิฏฐิของตนว่า การทำสมาธิให้ได้ฌาน เป็นการปฏิบัติแบบฤาษี ไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ เพียงแต่กดข่มกิเลสไว้ชั่วคราวตามกำลังของสมาธิ ต้องวิปัสสนาเท่านั้น หารู้ไม่ว่า วิปัสสนาที่นำมากล่าวกันในปัจจุบันนี้
ส่วนมากยังเป็นเพียงการทำสมาธิ ผลที่ได้รับก็คือ สมาธิ แต่ก็เป็นเหตุของสภาวะสัมมาสติให้เกิด

เพราะการทำสมาธิ ไม่ว่าจะเกิดจาก การเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แก่

ฉันทสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำตามเหตุปัจจัย(สัญญา) คือ ทำตามความถนัด ความสะดวก เป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ เกิดจากสัปปายะที่ถูกจริต ไม่ว่าจะอากาศ บรรยากาศ สถานที่ อาหาร อิริยาบทฯลฯ
ทำแบบไหนๆก็ได้ ทำแล้วสะดวก เวลาสะดวก สถานที่สะดวก อากาศถูกใจ บรรยากาศถูกใจ ทำตามถนัด ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวแน่นอน เป็นการทำตามลักษณะการดำรงชีวิต ตามเหตุปัจจัยของตนเอง

วิริยสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากความเพียร ความเพียรเป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง

จิตสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากจิต การกำหนดต้นจิตเป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ การเจริญสติ ,การกำหนดต้นจิต เช่น การใช้หนอกำกับลงไปในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น การดูจิต ,การนิ่งรู้ นิ่งดู นิ่งสังเกตุ ,การใช้รูปนามเป็นอารมณ์ (เป็นคำเรียกแทนกายและจิต) ฯลฯ สภาวะใดก็ตามที่จิตเป็นเหตุของการให้เกิดความรู้ชัด ล้วนเป็นสภาวะจิตสมาธิ

วิมังสาสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากการใช้ความคิดพิจรณา ขณะที่คิดพิจรณา เป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) เช่น คิดพิจรณาหาเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตน การคิดพิจรณาเรื่องปฏิจจสมุปบาท

การคิดพิจรณาเรื่องขันธ์ ๕ หรือการยกธรรมะที่เกิดจากการอ่าน การฟัง แม้กระทั่งได้ศึกษา นำธรรมนั้นๆมาคิดพิจรณา

การเจริญอิทธบาท ๔ ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะแบบไหนๆก็ตาม ผลที่ได้ คือ สมาธิหรือสมถะ แต่เป็นเหตุของการสร้างสติมีกำลังมากขึ้น เป็นการสะสมสติ

เมื่อปฏิบัติต่อเนื่อง สติมีกำลังมากขึ้น สภาวะสัมมาสติย่อมเกิด การที่เอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิย่อมเกิด

สติ ตัวระลึก ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนทำกิจ

สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่

เมื่อวิตก (สติ) วิจาร (การเอาจิตจดจ่อหรือสัมปชัญญะ) สมาธิย่อมเกิด เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ ความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่(อดีต)และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่(ปัจจุบัน)

ฌาน

แท้จริงแล้ว ทุกคนทำฌานให้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่อยู่ในท้องของมาดา ได้ฌานกันมาตั้งแต่เริ่มมีจิตเกิดขึ้นในอัตภาพร่างกายนั้นแล้ว เมื่อเกิดมาแล้ว ยังไม่รู้ชัดในสภาวะสมาธิที่นำมาเรียกๆกัน
จึงมีคำอธิบายในสภาวะของจิตขณะเป็นสมาธิ มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสภาวะ

เหมือนเวลาที่กำลังหลับ นั่นก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง แต่ยังเป็นมิจฉาสมาธิ เวลานอนหมั่นรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก จนกระทั่งหลับ นั่นเป็นการฝึกสติเหมือนกัน หมั่นรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกทุกๆวัน สติจะมีกำลังมากขึ้นเอง
ต่อมา เมื่อสภาวะพร้อม สภาวะสัมปชัญญะย่อมเกิดขึ้น ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจึงเกิด ฝึกได้นะ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ที่ทำได้หรือไม่ได้ อยู่ที่สัปปายะของคนๆนั้น อยู่ที่เหตุที่ทำมา

วิปัสสนาหรือการเจริญสติปัฏฐาน ที่นำมาเรียกว่า วิปัสสนาในปัจจุบัน ล้วนเป็นสภาวะของการเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้สภาวะอิทธิบาท ๔ สมาธิเกิด เป็นสภาวะจิตสมาธิ คือ มีจิตเป็นประธานของเหตุทำให้เกิดสมาธิ

ผลที่ได้รับ ได้แก่ สมถะในสติปัฏฐาน ๔ ที่มีปรากฏอยู่ในพุทธวจนะ ซึ่งปัจจุบันนำเรียกว่า วิปัสสนา หรือสติปัฏฐาน ๔

เมื่อสมาธิเกิด สมาธิในที่นี้ หมายถึงอัปปนาสมาธิ คือ สภาวะดับขณะสมาธิเกิด เนื่องจากกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นมีกำลังมากและแนบแน่น เป็นเหตุให้ขาดความรู้สึกตัวหรือที่เรียกว่า ดิ่งหรือดับ เป็นสภาวะของ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

สมาธิที่เกิดขึ้น เป็นสมาธิที่ยังไม่ได้ขัดเกลา เป็นมิจฉาสมาธิ เหตุจาก มีสติ รู้ว่าสมาธิเกิดแล้ว รู้ว่าเกิดแล้วดับหายไป งุบลงไป ดิ่งลงไป เหมือนเวลาหายไป ขาดความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

คำเรียกของสภาวะฌานต่างๆ ให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตเป็นหลัก เช่น ปีติ สุข อุเบกขา จริงๆแล้วก็แค่คำเรียก สิ่งที่สำคัญ คือ ความรู้สึกขณะจิตเป็นสมาธิ

ส่วนอุปจารสมาธิ มีนิมิตต่างๆเเกิด ได้แก่ นิมิตภาพ แสง สี เสียง กลิ่น หากสภาวะวสียังไม่เกิด คือ ความชำนาญในเข้าออกสมาธิ ยังทำไม่ได้ เป็นเหตุให้ ติดอยู่สภาวะนิมิต

วิธีปรับอินทรีย์ ทั้งที่มีนิมิต และที่ไม่มีนิมิต อาจจะดับ ดิ่ง นิ่งหรือว่าง แต่ขาดความรู้สึกตัว ให้เดินก่อนที่จะนั่ง เพิ่มเดินไปจนกว่านั่งแล้วนิมิตไม่เกิดในสมาธิ ยกเว้นโอภาส แสงสว่าง เป็นนิมิตหรือเครื่องหมายของสภาวะอัปปนาสมาธิ

แต่ถ้าเกิดโภาส รู้ได้แค่แสง ไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะทั้งหมดได้ คือ ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็ต้องปรับอินทรีย์เช่นกัน จนกว่าสมาธิกับสติสมดุลย์ มีโอภาสเกิด และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดร่วมด้วย

เหตุนี้ จึงต้องปรับอินทรีย์ ระหว่าง สมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์ ส่วนวิริยะ/ความเพียร ความศัรทธา ปัญญา เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ใช่การเจาะจงทำให้เกิดขึ้น

เมื่อสมาธิกับสติเกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิด สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ นี่คือเหตุของการเกิดสภาวะสัมมาสมาธิ

สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นที่มาของวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ ที่มีปรากฏอยู่ในพุทธวจนะ ซึ่งปัจจุบันนำมาเรียกว่า วิปัสสนาญาณ(ญาณ ๑๖) หรือมหาสติปัฏฐาน

สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่คำเรียก อยากจะเรียกว่าอะไรก็เรียกได้ตามสบาย เพราะยังมีกิเลส เป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญของสภาวะ คือ ความรู้สึกขณะจิตเป็นสมาธิ เมื่อสภาวะนี้เกิดแล้ว จะรู้ชัดในสภาวะอื่นๆตามความเป็นจริง รวมทั้งการสร้างเหตุใหม่ด้วย

สร้างเหตุภายนอก ย่อมมีผลกระทบกับสภาวะภายใน นิวรณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากการสร้างเหตุ จึงเป็นที่มีของคำว่า นิวรณ์ เป็นเหตุของจิตไม่ตั้งมั่น หรือเป็นตัวปิดกั้นสมาธิไม่ให้เกิด

นี่แหละเหตุของการกล่าวโทษนอกตัว ไปโทษนิวรณ์ ที่เป็นเพียงสภาวะ เป็นผลของการสร้างเหตุภายนอก นั่นถูก นี่ผิด จริง ไม่จริง ทำได้ ไม่ได้ ฯลฯ มีแต่เหตุที่ทำกันขึ้นมาเองน่ะแหละ ไม่ใช่ใครที่ไหนทำให้เกิดขึ้นเลย

เรื่องสภาวะเป็นเรื่องละเอียด จะรู้แบบหยาบๆ จะค่อยๆรู้ชัดรายละเอียดของสภาวะมากขึ้นเรื่อยๆ แบบทะยอยรู้ ไม่ใช่รู้ทีเดียวแล้วจบ เหมือนเรื่องสภาวะต่างๆที่เขียนบันทึกไว้

สภาวะเหล่านี้ เป็นสภาวะของสัญญา ที่เกิดจากสติเป็นตัวขุดคุ้ยขึ้นมา เกิดขึ้นขณะที่จิตเป็นสมาธิ กำลังของสมาธิจึงสำคัญมาก ต้องมีกำลังมาก แนบแน่นมาก เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นอยู่ได้นาน เหตุของสัมปชัญญะเกิด

เป็นเหตุให้ สติสามารถขุดคุ้ยสัญญาต่างๆเหล่านั้นขึ้นมาได้ ทั้งๆที่ ผู้เขียนไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาก่อน ไม่เคยรู้เรื่องปริยัติมาก่อน แต่มารู้ได้เพราะสภาวะ

การที่ได้มาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริยัติ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ล้วนเกิดจากสภาวะทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากการคิดจะนำไปสอนใครหรืออะไรแต่อย่างใด

เหตุนี้ สภาวะจึงปรากฏตั้งแต่หยาบ เหมือนคนเขียน ก.ไก่ แรกๆฝึกเขียนโดยมีแค่ภาพ ไม่มีรอยปะ พอมีรอยปะในการเขียน เขียนได้ง่ายขึ้น พอเขียนชำนาญ เริ่มไม่ใช้รอยปะในการเขียน สภาวะรู้ที่เกิดจากขณะจิตเป็นสมาธิก็เช่นเดียว
ล้วนเกิดจากสัญญาที่มีอยู่ เพียงแต่ต้องอาศัยกำลังของสมาธิ สติ สัมปชัญญะ (สัมมาสมาธิ) เป็นหลัก จึงจะไปรู้สิ่งต่างๆเหล่านั้น

รู้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยังเป็นเพียงสัญญา สักแต่ว่ารู้ เขียนบันทึกไว้เรื่อยๆ เมื่อสัญญาปรากฏชัดเต็มที่ จึงจะเป็นปัญญา ไม่ใช่เกิดจากยึด คือให้ค่าในสิ่งที่เกิดขึ้น(ทิฏฐิ)

ปัญญาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีแต่เหตุของการดับเหตุของการเกิด ไม่ใช่เกิดจาก คิดว่ารู้ ซึ่งเป็นเพียงสัญญา มีแต่การนำไปสร้างเหตุของการเกิด

เหตุนี้ ที่มาของคำกล่าวว่า ทุกข์มีไว้ให้กำหนดรู้ เหตุเพราะ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดจากผัสสะเป็นเหตุ)และภายใน(เกิดจากการปฏิบัติเป็นเหตุ) ล้วนเกิดจากความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้นในจิต ที่มีผัสสะทั้งรูปและอรูปเป็นเหตุปัจจัย

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2012
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

คลังเก็บ