จิ๊กซอว์

การเขียนรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ
เช่น เรื่องการได้มรรคผล
จะรู้ว่าได้มรรคผลตามจริง
จะเริ่มจากบุคคลมีโคตรภูญาณ(มุดรู) ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เพราะมีเรื่องสภาวะจิตดวงสุดท้าย
คือความตายมาเกี่ยวข้อง
หรือที่เรียกว่ามรณสัญญา

ฉะนั้นตัวสภาวะที่สำคัญมากที่สุด
ก่อนที่จะได้มรรคผลตามจริง(โสดาปัตติผล)
คือ โคตรภูญาณ(มุดรู)

บางคนเจอความตายหลายครั้ง ไม่กลัวตาย
สภาวะต่างๆเหมือนคนที่ไม่มีกิเลส
เกิดจากกำลังสมาธิบดบังผัสสะ เวทนา
จึงทำให้เข้าใจผิดว่าตนเข้าถึงอรหัตผล
เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่
คนทั่วไป เวลาตาย จะไปเห็นเรื่องนรก สวรรค์ ยมทูต ทำนองนี้
แล้วฟื้นกลับมาอีก คือไม่ตาย
บางคนก็เรียกว่าสัญญามรณะ

ตัวสภาวะสัญญามรณะจะมีหลายแบบ
คนที่ยังไม่ได้มรรคผล
เวลามีความตายมีเกิดขึ้น ก็มีสภาวะเกิดขึ้นตามที่ได้ยกมาเป็นตย.เมื่อกี้

บางคน เวลามรณสัญญามีเกิดขึ้น(รู้เฉพาะตน)
จะเหมือนคนหลับ คือดับสนิท ไม่มีการไปเห็นนรก สวรรค์ ยมฑูต
ความไม่รู้ที่มีอยู่ ทำให้เข้าใจว่าตนได้มรรคผลตามที่ตนอยากเป็น

การที่ได้โสดาปัตติผลตามจริง
จะปฏิบัติได้รูปฌานหรือรูปฌานก็ตาม
ทุกคนต้องมีโครภูญาณมีเกิดขึ้นก่อน
ต่อให้แจ่มแจ้งไตรลักษณ์ด้วยตนก็ตาม
จะมีไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นเนืองๆก็ตาม
หากยังไม่มีโคตรภูญาณมีเกิดขึ้น
นั่นหมายถึงยังไม่ได้มรรคผลในโสดาปัตติผลตามจริง

เวลาเราพูดเรื่องโคตรภูญาณ
หลายๆคนไม่เข้าใจ
พอพูดธิบายลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
บุคคลที่มีเกิดขึ้นกับตนแล้ว จะร้องอ๋อทันที

ครั้งที่ ๒(วิชชา ๒)
จะเป็นเรื่องมรณสัญญา คือความตาย
สติปัฏฐาณ ๔

อาจจะมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
หรือมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ไม่มีนิมิต ไม่ไปสวรรค์ ไม่ไปนรก

ครั้งที่ ๓(วิชชา ๓) ก็เช่นกัน
จะเป็นเรื่องมรณสัญญา คือความตาย
สติปัฏฐาณ ๔

อาจจะมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
หรือมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ไม่มีนิมิต ไม่ไปสวรรค์ ไม่ไปนรก

พอมาครั้งที่ ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามขึ้นตามจริง
นี่คือความสำคัญของโคตรภูญาณ(โสดาปัตติผล)
และวิชชา ๓(อรหัตผล)

หากยังไม่มีวิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะไม่มีเกิดขึ้น

บางครั้งก็ขี้เกียจเหมือนกัน
ที่จะมาต้องแก้ไขในสิ่งที่เคยเขียนตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
แล้วหากไม่แก้ไข
สิ่งที่มีเกิดขึ้นคือ
จิตจะวิตกวิจารณ์ในสิ่งที่ไม่แก้ไขในสิ่งที่เขียนอธิบายไว้
พอจิตเป็นสมาธิ สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้นแหละ
หลังแก้ไขเสร็จ สภาวะนั้นๆที่เคยมี จะหายไป

นี่แหละความหมายที่เราเขียนไว้ว่า มันคือจิ๊กซอ
ครั้งนี้รู้แบบนี้ๆ วันต่อๆไปจะรู้รายละเอียดมากขึ้น
ได้ไปดูปกที่เคยเขียนไว้เรื่องโสดาบัน
19 กุมภาพันธ์ 2022 ·
พระโสดาบันมีหลายประเภท
สมัยนั้นจะรู้แบบนั้น

ปัจจุบัน ได้เพิ่มเติมรายละเอียดตัวสภาวะลงไปอีก
เรื่องวิธีการทำกรรมฐาน ต้องเขียนออกออกจากกัน
ใส่ไว้ในจิตปาริสุทธิ เป็นเรื่องสมาธิ
อันนี้ก็ต้องแก้อีก ต้องใส่รายละเอียดลงไปอีก

เวลามีความขี้เกียจเกิดขึ้น ไม่อยากเขียน
จะหยุดไว้ก่อน ไม่ฝืนใจ
เวลาใจสบายๆ ก็มีแก้ไขสภาวะที่เขียนไว้ในอดีต

นึกถึงเจ้านาย
เขาถามว่าสัมมาทิฏฐิเล่มที่ ๑ เมื่อไหร่จะเขียนเสร็จ
เราบอกว่า รอก่อน เพราะไม่ใช่แค่การรักษาศิล
ต้องรวบรวมพระสูตร
เมื่อคนที่ได้อ่าน จะค่อยๆรู้จักการพิจรณาตามลำดับ
เช่น การรักษาศิล ๕
ทำไมต้องรักษา
ผลของการรักษาศิลและการไม่รักษาศิล
อันนี้พูดแบบย่อ

หากให้พูดรายละเอียด
เมื่อนำมาขยาย จะมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าย่อ

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ค่อนข้างละเอียด
จะสักแต่ว่าเขียนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้เวลา

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

“(๖) ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ

(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุไม่ได้
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อนาคามิมรรค

๕. ประเภทสุขาปฏิปทา บรรลุช้า(อนาคามิมรรค)

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่
คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก
จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ

อธิบาย

อนาคามิมรรค
บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล

ถ้าในปัจจุบัน ก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ

(๑) ในปัจจุบัน
จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อนาคามิมรรค

๕. ประเภทสุขาปฏิปทา บรรลุช้า(อนาคามิมรรค)

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่
คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก
จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล

อธิบาย

อนาคามิมรรค
บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อรหัตมรรค

อนาคามิผล(วิชชา ๒)

๔. ประเภททุกขาปฏิปทา บรรลุเร็ว(อนาคามิผล)

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่
เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

อธิบาย

อนาคามิผล

วิชชา ๒
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ดังนี้
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.

“เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน”
ปัจจุบันเป็นบุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
เมื่อทำกาละ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

“เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน”
ปัจจุบันเป็นบุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
เมื่อทำกาละ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ

(๑) ในปัจจุบัน
จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อรหัตมรรค

อนาคามิผล(วิชชา ๒)

๓. ประเภทสุขาปฏิปทา บรรลุเร็ว(อนาคามิผล)

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป
ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

อธิบาย

อนาคามิผล

วิชชา ๒
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ดังนี้
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.

“เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน”
ปัจจุบันเป็นบุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค

ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
เมื่อทำกาละ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อรหันตผล

อรหัตผล

“(๑) ในปัจจุบัน
จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย”

สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน
จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

อรหัตผล(วิชชา ๓)

“(๑) ในปัจจุบัน
จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย”

อธิบาย

คำว่า อรหัตผล
ได้แก่ วิชชา ๓

๖. สันทกสูตร
เรื่องสันทกปริพาชก
วิชชา ๓
[๓๑๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
ดูกรสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด
วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว
และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ดังนี้
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.
ดูกรสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด
วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว
และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ดูกรสันทกะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด
วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว
และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.


ปัญญาวิมุตติ
บุคคลที่มีศิล
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน ใช้ได้ทุกรูปแบบ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน 1 2 3 4 ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งได้อรหัตผลตามจริง

อุภโตภาควิมุตติ
บุคคลที่มีศิล
เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ
ทำกรรมฐาน ใช้ได้ทุกรูปแบบ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในอรูปฌาน 5 6 7 8 ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งได้อรหัตผลตามจริง

๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี
ก็สมัยนั้นแล มีภิกษุมากรูปด้วยกันทูลพยากรณ์อรหัตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

[๖๘] พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร
ได้ทราบข่าวว่า มีภิกษุมากรูปด้วยกันได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า มีภิกษุมากด้วยกันได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคดังนั้น
ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลโดยชอบหรือ
หรือว่าภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ ฯ

[๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุนักขัตตะ
พวกภิกษุที่พยากรณ์อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นั้น
มีบางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้
แต่ก็มีภิกษุบางเหล่าในที่นี้ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุบ้าง

ดูกรสุนักขัตตะ ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้นั้น ย่อมมีอรหัตผลจริงทีเดียว
ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้นตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ

ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้
แต่ถ้าธรรมวินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต
ข้อที่ตถาคตมีความดำริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป ฯ

พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ขณะนี้เป็นกาลสมควรแล้วๆ
ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ฯ
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

[๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ

[๗๑] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนคนที่จากบ้านหรือนิคมของตนไปนาน
พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไปใหม่ๆ
ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย
บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา

ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ คบบุรุษนั้นและถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ฯ

[๗๒] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิสของปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในโลกามิส ฯ

[๗๓] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออกเป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของปุริสบุคคล
ผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น
พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ฯ

[๗๔] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
พึงเป็นผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก
ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย

ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เขาจะพึงมีความปรารถนาในภัตนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. นั่นเพราะเหตุไร ฯ
สุ. เพราะว่าภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น
พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯ

[๗๕] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น
ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ
คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไ
ม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัดขาดแล้ว
ถอนรากขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุตั้งอยู่ได้ดังต้นตาล
ถึงความเป็นไปไม่ได้แล้ว มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯ

[๗๖] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท
เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว
จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ
เธอประกอบเนืองๆซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
ได้แก่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน

เมื่อเธอประกอบเนืองๆ
ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว
ราคะพึงตามกำจัดจิต
เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว
มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา
หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา
ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร แล้วถอนลูกศรออก
กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่
จึงบอกอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ
เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว
ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้
เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้องกำเริบ
และท่านต้องชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
เมื่อท่านชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ
เมื่อท่านเที่ยวตากลม ตากแดดไปเนืองๆ แล้ว
ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลายปากแผลได้
ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว
โทษคือพิษหมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว
เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง
เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลงอยู่ แผลก็กำเริบ
และไม่ชะแผลทุกเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
เมื่อเขาไม่ชะแผลทุกเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
น้ำเหลืองและเลือดก็รัดปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ไปเนืองๆ
เมื่อเขาเที่ยวตากลม ตากแดดไปเนืองๆ แล้ว
ปล่อยให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลายปากแผลได้
ไม่คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลประสานกันไม่ได้
เพราะเขาทำสิ่งที่แสลงนี้แล
แผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ
ไม่กำจัดของไม่สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่
เขามีแผลถึงความบวมแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท
เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว
จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
นั่นเป็นฐานะที่มีได้
สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ
เธอประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
ได้แก่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน

เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะ คือ
รูปอันไม่เป็นสบายด้วยจักษุ
ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว
ราคะพึงตามกำจัดจิต
เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว
พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย

ดูกรสุนักขัตตะ ก็ความตายนี้ในวินัยของพระอริยะ
ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุบอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ
ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง ฯ

[๗๗] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท
เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว
จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบนั่นแล
เธอไม่ประกอบเนืองๆซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว
ได้แก่
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ไม่ประกอบเนืองๆซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน
เมื่อเธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน
ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต
เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว
ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรมียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว
มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา
หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา
ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร แล้วถอนลูกศรออก
กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลืออยู่
จึงบอกอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ
เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว
โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว
ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้
เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้องกำเริบ
และท่านต้องชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
เมื่อท่านชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลา
อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้
และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ
เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ แล้ว
ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลายปากแผลได้
ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน

บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว
โทษคือพิษหมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย
เขาจึงบริโภคโภชนะที่สบาย เมื่อบริโภคโภชนะที่สบายอยู่ แผลก็ไม่กำเริบ
และชะแผลทุกเวลาทายาสมานปากแผลทุกเวลา
เมื่อเขาชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุกเวลาน้ำเหลืองและเลือดก็ไม่รัดปากแผล
และเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ
เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนืองๆ
ละอองและของโสโครกก็ไม่ติดตามทำลายปากแผล
เขาคอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน
เพราะเขาทำสิ่งที่สบายนี้แล แผลจึงหายได้ด้วย ๒ ประการ คือ
กำจัดของไม่สะอาดและโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว
เขามีแผลหาย ผิวหนังสนิทแล้ว จึงไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใด

ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา
ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท
เราละลูกศรคือตัณหาได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว
จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้
เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล
เธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว
ได้แก่ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน
เมื่อเธอไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งทัสสนะคือ
รูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ
ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสต
ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ
ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย
ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว
ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต
เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย

ดูกรสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความ เนื้อความในอุปมานี้
คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ โทษคือ
พิษ เป็นชื่อของอวิชชา
ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา
เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ
ศาตรา เป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ
หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว

ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็นกระทบ ๖ อย่าง
รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่
ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น
ด้วยรส แต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข
เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๘] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง
รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ
จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง
เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย
ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า
ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น
ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๙] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง
รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ
จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
พระสุนักขัตตะลิจฉวีบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

อธิบาย

คำว่า โลกามิส
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น คือ ผัสสะ

“ฉันทราคะและพยาบาท”
คำว่า ฉันทราคะ
ได้แก่ อุปาทาน ๔


กึสุกสูตร
[๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่
ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ

[๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว
ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล
ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล
ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล
ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้
ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ
ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก
ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่
แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร
ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการใดๆ
เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ

[๓๔๒] ดูกรภิกษุ
เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชา
เป็นเมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู
นายประตูเมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไปในเมืองนั้น

ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา
พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ
เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ
นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล
ราชทูตคู่นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว
พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม…
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร…
ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ
แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน
นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ
นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล
ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว
พึงดำเนินกลับไปทางตามที่มาแล้ว

ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้
คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔
ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์
มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

คำว่าประตู ๖ ประตู
เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖

คำว่านายประตู
เป็นชื่อของสติ

คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน
เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา

คำว่าเจ้าเมือง
เป็นชื่อของวิญญาณ

คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง
เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง
เป็นชื่อของนิพพาน

คำว่าทางตามที่มาแล้ว
เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ

อธิบาย

ความรู้ความเห็นแตกต่างกันของพระอรหันต์
เกิดจากอินทรีย์ ๕ แตกต่างกัน
ทำให้ความรู้ความเห็นในเรื่องการแจ้งอริยสัจ ๔ จึงแตกต่างกัน

อรหัตมรรค-อรหัตผล

ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)

สังโยชนสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล ฯ

= อธิบาย =

ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
เกิดจาก กามตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๑

คำว่า ความกำหนัดในภพ
เกิดจากภวตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๒

คำว่า อวิชชา
เกิดจากวิภวตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๓

.
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ


อังคสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑
ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
บัณฑิตเรียกว่าผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ฯ
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว

ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์ล้วด้วยองค์ ๕
ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ

อธิบาย

“เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑
ละพยาบาทได้แล้ว ๑”
ได้แก่ มีเกิดขึ้นในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ละสักกายทิฏฐิตามจริง
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
โคตรภูญาณมีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑ เกิดตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
ละกามตัณหาและวิธีการการดับกามตัณหา
สีลปาริสุทธิ

“ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑”
ได้แก่ อนาคามิมรรค อนาคามิผล
ไตรลักษณ์(อนัตตา/สุญญตวิโมกข์ )
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
วิชชา ๒ เกิดตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
ละภวตัณหาและทำให้รู้วิธีการดับภวตัณหา
จิตตปาริสุทธิ

“ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑”
ได้แก่ อรหัตมรรค อรหัตผล
ไตรลักษณ์(อนิจจัง/อนิมิตตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ละอัตตวาทุปาทานตามจริง
วิมุตติปาริสุทธิเกิดตามจริง
วิชชา ๓ เกิดตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
ละวิภวตัณหาและวิธีการดับอวิชชา
ทิฏฐิปาริสุทธิ


สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔)ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

อธิบาย

จะอธิบายแบบนี้ก็ได้(ย่อ)
ได้แก่ พระอรหันต์(อรหัตผล) วิชชา ๓
ประเภทสุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทา

หรืออธิบายแบบนี้ก็ได้

คำว่า ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
ได้แก่ วิชชา ๓
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)

คำว่า ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
ได้แก่ วิชชา ๓
มีเกิดขึ้นขณะใกล้ตาย
เป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”

ประเภทสุขาปฏิปทา บรรลุเร็ว

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป
ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

อธิบาย

อนาคามิผล
“เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน”
ปัจจุบันเป็นบุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
เมื่อทำกาละ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”

ประเภททุกขาปฏิปทา บรรลุเร็ว

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่
เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

อธิบาย

อนาคามิผล
“เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน”
ปัจจุบันเป็นบุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ(อรหัตผล)
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
เมื่อทำกาละ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลปฏิบัติได้อนาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ประเภทสุขาปฏิปทา

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลปฏิบัติได้อนาคามิคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ประเภททุกขาปฏิปทา

ต้องแก้ไขใหม่อีก ยังไม่เสร็จ


วิตถารสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์

เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เป็นอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

เป็นพระสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

เป็นพระโสดาบัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.


ปฏิปันนสูตร
ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

เป็นพระอนาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี
เป็นพระสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.


ตรงนี้เป็นสภาวะก่อนจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์
อรหัตมรรค
อรหัตผล

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

อธิบาย

“บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

คำว่า โลก
ได้แก่ ผัสสะ
โลกสูตร

ตัวสภาวะหมายถึงเมื่อได้โสดาปัตติผล
ปัจจุบันจะเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
นี่เป็นความหมายของคำว่า “กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว”
ปัจจุบัน หากไม่สามารถบรรลุอรหันตผลได้
เมื่อทำกาละไปเกิดที่สุทธาวาสแล้วปรินิพพานบนโน้น


สอุปาทิเสสสูตร
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ฯ

ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี
ท่านพระสารีบุตรมีความคิดดังนี้ว่า
การเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถียังเช้าเกินไป
ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุม
สนทนากันในระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี
ไม่คัดค้านถ้อยคำที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว
ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า
ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี
ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
การเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป
ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด
ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
กำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ในระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ
ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี
เพราะสังโยชน์สิ้นไป
บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ … ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ

ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ

ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้ง
แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความอธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ

อธิบาย

“บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

คำว่า โลก
ได้แก่ ผัสสะ
โลกสูตร

ตัวสภาวะหมายถึงเมื่อได้โสดาปัตติผล
ปัจจุบันจะเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
นี่เป็นความหมายของคำว่า “กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว”
ปัจจุบัน หากไม่สามารถบรรลุอรหันตผลได้
เมื่อทำกาละไปเกิดที่สุทธาวาสแล้วปรินิพพานบนโน้น

พระอนาคามีและพระอรหันต์

สุทธาวาส

พระอนาคามี

๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายกายนี้ของคนพาล
ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้
กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้
เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ
ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องคนพาล
เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์

กายนี้ของบัณฑิตผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้วประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้
กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้
เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะสฬายตนะ
ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องบัณฑิต
เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ ฯ

[๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร
จะมีอธิบายอย่างไร จะต่างกันอย่างไร ระหว่างบัณฑิตกับพาล

พวกภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ธรรมของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นเดิม
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้
แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์เดียว
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแต่พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

[๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กายนี้ของคนพาล
ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้น คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย
เมื่อเขาเข้าถึงกาย
ชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์

กายนี้ของบัณฑิต
ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้น บัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย
เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย
ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์

อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย
อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๙

อธิบาย

ในพระสูตรนี้

คำว่า คนพาล
ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่ไม่ได้เคยสดับพระธรรม
จากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรุษ มาก่อน
ทำให้ไม่สามารถบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ที่มีเกิดขึ้น
มักกระทำตามตัณหาที่มีเกิดขึ้น
ที่เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

คำว่า บัณฑิต
ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตามลำดับ

คำว่า ไม่เข้าถึงกาย
ได้แก่ ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
ไปเกิดบนสวรรค์ แล้วปรินิพพานบนนั้น

นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

อธิบาย

คำว่า พระอรหันต์ในปัจจุบัน
อธิบายได้ ๒ แบบ
๑. สอุปาทิเสส
๒. อนุปาทิเสส

ประเภท สอุปาทิเสส
ได้อนาคามิผล
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหัตมรรค)
ยังไม่ได้อรหัตผลตามจริง
เวลาตาย จะเป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

ประเภทอนุปาทิเสส
ได้แก่ อรหันต์(อรหัตผล)
ละตัณหา ๓ ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ละอุปาทาน ๔


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่
เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่
และเธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏอ่อน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้วเป็นอย่างนี้แล

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป
ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
ย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานฯลฯ อยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏอ่อน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี หลังจากตายแล้ว
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างนี้แล

อธิบาย

ทุกขาปฏิปทา
บรรลุเร็ว(อนาคามิผล)
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหัตมรรค)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน

ทุกขาปฏิปทา
บรรลุช้า(อนาคามิผล)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว

สุขาปฏิปทา
บรรลุเร็ว(อนาคามิผล)
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหัตมรรค)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน

สุขาปฏิปทา
บรรลุช้า(อนาคามิผล)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี หลังจากตายแล้ว

พระอรหันต์(อรหัตมรรค)

ทุกขาปฏิปทา
บรรลุช้า(อรหัตผล)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว

สุขาปฏิปทา
บรรลุช้า(อรหัตผล)
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน
เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว


สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี
แต่ละอย่างๆเรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑
หลีกออกด้วยจิต ๑
เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว
ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔)ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

อธิบาย

” ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย “
ได้แก่ พระอรหันต์(อรหัตผล) วิชชา ๓
ประเภทสุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทา

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค
ประเภทสุขาปฏิปทา
แล้วกาละก่อนจะได้อรหัตผล

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลที่ปฏิบัติในอรหัตมรรค
ประเภททุกขาปฏิปทา
แล้วกาละก่อนจะได้อรหัตผล

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลปฏิบัติได้อนาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ประเภทสุขาปฏิปทา

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลปฏิบัติได้อนาคามิคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ประเภททุกขาปฏิปทา

“ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป”
ได้แก่ บุคคลปฏิบัติได้โสดาปัตติผล
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ประเภทสุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทา


วิตถารสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์

เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เป็นอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

เป็นพระสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

เป็นพระโสดาบัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน กว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.


ปฏิปันนสูตร
ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

เป็นพระอนาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง

เพราะอินทรีย์๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี
เป็นพระสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
เพราะอินทรีย์ ๕ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.


สังโยชนสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล ฯ

= อธิบาย =

ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
เกิดจาก กามตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๑

คำว่า ความกำหนัดในภพ
เกิดจากภวตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๒

คำว่า อวิชชา
เกิดจากวิภวตัณหาที่มีอยู่
ละด้วยวิชชา ๓

.

.
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน
คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑
ความยินร้าย ๑
ความเห็นผิด ๑
ความสงสัย ๑
มานะ ๑
ความกำหนัดในภพ ๑
อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ
เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ
ความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ความยินดี ความยินร้าย ความเห็นผิด
เป็นเรื่องของสภาวะเวทนา(๓)ที่มีเกิดขึ้น
สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
ราคะ โทสะ โมหะ

ครั้งแรก ละด้วยการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปปุรุษ

ครั้งที่สอง เกิดจากการทำกรรมฐาน
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะ ปรากฏตามจริง
ทำให้รู้ชัดความเกิดและดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ครั้งที่สาม เกิดจากการได้มรรคผลตามจริง
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓
การที่จะเข้าใจในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ต้องอาศัยจากพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ (จากพระสูตร)
ต้องอาศัยจากสาวก ที่แทงตลอดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ คือ
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓
เมื่อวิชชา ๓ ปรากฏตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏตามจริง
จะแทงสภาวะเหล่านี้ที่มีเกิดขึ้น
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ตามลำดับ

๖. วิมุตติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ

.
มหาวรรคที่ ๕
ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
สีลปาริสุทธิ…
จิตตปาริสุทธิ…
ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ
นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ

.
โยคสูตร
สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่สงสาร

ส่วนสัตว์เหล่าใด
กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอกอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง
เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ

แจ้งฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้แจ้งอุปาทาน ๔ ตามจริง

อุปาทาน ๔
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้.
๔ อย่างเป็นไฉน?
คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด
ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ
ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว
ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.


ได้ที่ละนิด
จึงมาเป็นของคำว่า จิ๊กซอ

ค่อยๆเขียนมาเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดว่าคืออะไร
เขียนตามสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ที่ประจักษณ์ด้วยตน
พร้อมๆกับได้ทบทวนตัวสภาวะอะไรที่ได้พบกับตน
ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ขณะทำกรรมฐาน
ขณะจิตดวงสุดท้าย

ซึ่งพูดได้เต็มปากว่า
หากเรานอนเหมือนคนทั่วๆไป
เราคงไม่ได้มาเขียนเรื่องราวสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น

ที่ยังอยู่ได้เกิดจาก
๑. ยังไม่ถึงเวลา
๒. เกิดจากจิตที่ฝึกไว้ดีในสติปัฏฐาน ๔
และความรู้ความเห็นที่มีเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติ
สุญญตา
มหาสุญญตา
อนิมิตตเจโตสมาธิ
อริยสัจ ๔ ๔ รอบ
นิพพาน ดับภพ ดับตัณหา ๓

ไตรลักษณ์และอริยสัจ ๔

ผัสสะ(กามคุณ ๕)และเวทนา (ราคะ โทสะ โมหะ)

ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้

ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ


ไตรลักษณ์และอริยสัจ ๔

ปัญญาไตรลักษณ์(ทุกขัง/อัปปณิหิตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
โคตรภูญาณ(มุดรู) มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ละความเห็นผิด ๑
ละความสงสัย ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

สกทาคามิผล
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้
คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบๆ
กามราคะและพยาบาทให้เบาบาง
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ปัญญาไตรลักษณ์(อนัตตา/สุญญตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
วิชชา ๒(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสส
สอุปาทิเสสนิพพาน

ปัญญาไตรลักษณ์(อนิจจัง/อนิมิตตวิโมกข์)
ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เกิดขึ้นต่อ
แล้วดับ
วิชชา ๓(สัมมาสมาธิเท่านั้น) เกิดขึ้นต่อ

อรหัตมรรค อรหัตผล
วิมุตติปาริสุทธิ มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ละอัตตวาทุปาทานตามจริง เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตผล)
อนุปาทิเสส
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

วิมุตติญาณทัสสนะปรากฏตามจริง

.

นี่คือความแตกต่างระหว่าง
ปัญญาไตรลักษณ์กับปัญญา แจ้งอริยสัจ ๔

ไตรลักษณ์เกิดขึ้นก่อน
แจ้งอริยสัจ ๔ เกิดที่หลัง

ไตรลักษณ์ ละตัวตน ของตน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งหมด
อริยสัจ ๔ ละตัณหา ๓ ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

อุทายีสูตร
[๓๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้พระนครโกสัมพี
ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่พักผ่อนแล้ว
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์
กายนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตาดังนี้ ฉันใด
แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้นหรือ ฯ

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรท่านพระอุทายี
กายนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด
แม้วิญญาณนี้ ผมอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตาฉันนั้น ฯ

[๓๐๑] ดูกรท่านพระอุทายี จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปหรือ ฯ
อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ
อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น
พึงดับไปหมดสิ้น หาส่วนเหลือมิได้ จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ
อา. แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเปิดเผย ประกาศแล้วว่า
แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฯลฯ
ดูกรท่านพระอุทายี มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์หรือ ฯ
อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ
อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยมโนวิญญาณเกิดขึ้น
พึงดับไปหมดสิ้น หาส่วนเหลือมิได้ มโนวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ
อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย
ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฯ

[๓๐๒] ดูกรท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้
เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า
พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ไม่รุงรัง ในป่านั้น
พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย
ครั้นแล้วลอกกาบออก
แม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด

ดูกรท่านพระอุทายี ภิกษุจะพิจารณาหาตัวตน
หรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดในโลก
เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน
เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ปรินิพพานโดยแน่แท้
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

ผัสสะ เวทนา

ผัสสะ กามคุณ ๕
เวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

หากไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ทำให้ไม่สามารถไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้
และไม่สามารถกระทำเพื่อดับทุกข์ได้

อริยสัจ ๔ ในที่นี้หมายถึงการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เป็นตัวปัญญา ไม่ใช่สัญญา

กามคุณ ๕ และเวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้

ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

Previous Older Entries

กุมภาพันธ์ 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728  

คลังเก็บ