ทุกข์,เหตุแห่งทุกข์,วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

๑๖ มิย.๕๗

ทุกข์

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า

“ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง” ดังนี้ :

นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิ ที่ถือว่าเที่ยง).

 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบ ให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า

“ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว

 

เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า

“ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้” ดังนี้:

นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).

 

กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า

 

“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;

….ฯลฯ….ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย,

ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

 

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

 

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,

จึงมีความดับแห่งสังขาร;

 

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;

…. ฯลฯ…. ฯลฯ….ฯลฯ….

 

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล,

ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

 

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐.

 

 

 

 

 

 เหตุแห่งทุกข์

 

อุปวาณะ! เรากล่าวว่า

ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น(ปฏิจจสมุปปันนธรรม).

 

ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ?

อุปวาณะ ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ….

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

 

ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ ก็หามิได้

ก็เป็นทุกข์ที่อาศัย ผัสสะเกิดขึ้น.

– นิทาน. สํ. ๑๖/๔๙/๘๗.

 

 

 

หมายเหตุ:

 

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ)

และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(สักแต่ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น/ผัสสะ)

 

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่

เป็นเหตุให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

 

 

เป็นเหตุปัจจัยให้ เกิดการสร้างเหตุออกไป/ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป(ชาติ/วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ภพ/มโนกรรม)

 

ชรามรณะ(โลกธรรม ๘)

โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส  จึงมีบังเกิดขึ้น

 

 

เมื่อยังมีการเกิด ได้แก่ นามรูป สาฬยตนะ ย่อมมี ผัสสะ ย่อมมี

ตราบใด ที่ยังมีชีวิต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผัสสะต่างๆได้

 

 

 

วิธีดับเหตุแห่งทุกข์

 

จึงควรศึกษาผัสสะให้ถ่องแท้ ว่าทำไม

เมื่อผัสสะเกิด จึงมีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้น แม้กระทั่ง ไม่รู้สึกอะไรเลย(เฉยๆ)

ทุกขสมุทยอริยสัจ

เมื่อคืน ถามเจ้านายว่า ทุกขสมทัยอริยสัจ คืออะไร ระหว่างตัณหา กับ อวิชชา

เจ้านายตอบว่า อวิชชาสิ

เราถามว่า ทำไมจึงเป็นอวิชชา ถ้ามีคนมาบอกว่า แล้วในพระไตรปิฎก บางพระสูตร พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา และมีบางพระสูตร พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุยอริยสัจ คือ อวิชชา

เป็นแบบนี้ จะอธิบายว่าอย่างไร

เจ้านายตอบว่า ก็ให้ไปดูปฏิจจสมุปบาทสิ ตัณหาอะไรเป็นแดนเกิด สุดท้ายก็ไม่พ้นอวิชชา

เราบอกว่า ตอบง่ายดี อ้างอิงปฏิจจสมุปบาทเป็นหลัก แล้วรู้ไหมว่า ทำไมบางพระสูตร พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อวิชชา

เจ้านายตอบว่า แล้วมันเป็นยังไงล่ะ

เราบอกว่า พระพุทธเจ้า ทรงให้ธรรมะแต่ละคน ตามเหตุปัจจัยของคนๆนั้น

เพราะ ทรงหยั่งรู้ว่า ควรให้ธรรมะข้อใด จึงจะทำให้ ผู้นั้น รู้แจ้งในสภาวะข้อธรรมนั้นๆได้

เป็นเหตุให้ การละอาสวะ จึงมีหลากหลายรูปแบบ เพราะเหตุนี้
อันนี้ วลัยพรนำเรื่อง ทุกขสมุทัย ที่เกี่ยวกับตัณหาและอวิชชา มาเขียนรายละเอียดอีกที

เพื่อชี้ให้เห็นถึง ความแตกต่างเกี่ยวกับทุขสมุัทยอริยสัจ ที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

และ ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

 

 ทุกขสมุทยอริยสัจ

บางพระสูตร พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา
บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อวิชชา

พระองค์ ทรงให้ธรรมะแต่ละคน ตามเหตุปัจจัยของคนๆนั้น
เพราะ ทรงหยั่งรู้ว่า ควรให้ธรรมะข้อใด จึงจะทำให้ ผู้นั้น รู้แจ้งในสภาวะข้อธรรมนั้นๆได้
เป็นเหตุให้ การละอาสวะ จึงมีหลากหลายรูปแบบ เพราะเหตุนี้

ว่าด้วย การละอาสวะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v … =238&Z=384

ความแตกต่างเกี่ยวกับทุขสมุัทยอริยสัจ ที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

และ ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

เวลาพระองค์ทรงแสดงธรรม จะทรงแสดงความแตกต่างของสภาวะนั้นๆไว้

เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก อวิชชา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกอง
ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

หมายเหตุ:

ตรงนี้ ทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาท ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย
เป็นเรื่องของ เหตุของการเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสาร

กล่าวคือ ในปฏิจจสมุปบาท ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งปวง

ทรงหมายเอา ตัณหา ที่เป็นเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน(ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)
และอวิชชา ที่เป็นเหตุของการทำให้เกิด การเวียว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร รวมเข้าด้วยกัน

เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทัยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก ตัณหา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ตัณหานี้ใด ทำความเกิดอีก เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจ แห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
(ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ?

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ?

สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ;
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น,

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น.
ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ… มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย… เสียงทั้งหลาย…. กลิ่นทั้งหลาย…. รสทั้งหลาย…. โผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย….ธรรมารมณ์ทั้งหลาย….

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา….ความรู้แจ้งทางหู….ความรู้แจ้งทางจมูก….ความรู้แจ้ง
ทางลิ้น….ความรู้แจ้งทางกาย….ความรู้แจ้งทางใจ….

มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา…การกระทบทางหู… การกระทบทางจมูก…การกระทบ
ทางลิ้น…การกระทบทางกาย…การกระทบทางใจ…

มีภาวะ เป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป… ความจำหมายในเสียง… ความจำหมายในกลิ่น…
ความจำหมายในรส… ความจำหมายในโผฏฐัพพะ… ความจำหมายในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป…ความนึกถึงเสียง… ความนึกถึงกลิ่น… ความนึกถึงรส…
ความนึกถึงโผฏฐัพพะ….ความนึกถึงธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป…ความอยากในเสียง… ความอยากในกลิ่น…. ความอยาก
ในรส…. ความอยากในโผฏฐัพพะ… ความอยากในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความตริหารูป…ความตริหาเสียง… ความตริหากลิ่น… ความตริหารส…
ความตริหาโผฏฐัพพะ… ความตริหาธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)…ความไตร่ตรองต่อเสียง…
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น… ความไตร่ตรองต่อรส… ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..
ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น.
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.

หรือ แบบนี้

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน?
ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน?

ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก?

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

หมายเหตุ:

เหตุของอวิชชา ที่มีอยู่

ตรงนี้ ทรงแสดงเรื่อง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก ตัณหา เป็นเหตุปัจจัย
โดยมีเวทนา และ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

กล่าวคือ หมายถึง เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดการ สร้างเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน ให้บังเกิดขึ้น
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(ผัสสะ)

เหตุเนื่องจาก อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
โดยที่สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น(ผัสะ)ทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

เพราะ ความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป(ชาติ หมายถึง การเกิด กำเนิด การปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

จึงเป็นเหตุให้ เหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน เกิดขึ้นทันที
เหตุจากตัณหา เป็นเหตุปัจจัย และ จากอวิชชา ที่มีอยู่

สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆๆ มีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

คำสอน ที่พระองค์ทรงสอน จึงมีหลากหลายเพราะเหตุนี้
มีทั้งเหตุของฝ่ายเกิด และเหตุของฝ่ายดับ
เพียงแต่ จะรู้ชัดในสภาวะที่พระองค์ ทรงตรัสไว้ไหม

การที่จะรู้ชัด ในสภาวะต่างๆเหล่านี้
ต้องแจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(แบบหยาบ)

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะนิพพาน ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุให้ แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(ที่ละเอียดมากขึ้น)

และสามารถนำความรู้ชัด ในสภาวะเหล่านี้ มากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุด แห่งทุกข์ได้(นิพพาน)

กล่าวคือ กระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ คือ การกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน

และการกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด เวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร
สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะ จิตภาวนาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง

ส่วนผู้ที่รู้บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา) ล้วนเกิดจาก สัญญา
เพราะ ยังไม่สามารถ นำสิ่งที่รู้ มากระทำเพื่อ ให้เกิดการ หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้

และมีผู้รู้ บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา)
ถึงแม้จะเกิดจาก สัญญา แต่ได้มีการสร้างเหตุมาดังนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร ของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แมสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรม
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ”

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it … agebreak=0

เมื่อสร้างเหตุมาดังนี้ ย่อมสามารถนำสิ่งที่รู้(ถึงแม้ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง)
ที่เกิดจาก การศึกษา หรือ ได้ฟังมาก็ตาม

ก็สามารถนำสิ่งที่รู้(สัญญา) นำมากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

ทุกขสมุทัยอริยสัจ

แต่ที่สำคัญ อวิชชา หรือ โมหะ ความไม่รู้นั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง และ

เป็นมูลเหตุของตัณหา และโลภะด้วย  เพราะ  มีอวิชชา    จึงมีตัณหา ความติดข้อง

พอใจ  เมื่อมีความไม่รู้ กิเลสประการต่างๆก็เจริญขึ้น    เพราะฉะนั้นเหตุแห่งทุกข์

โดยละเอียด แท้จริง ก็ไม่พ้นไปจากอวิชชา ความไม่รู้เลย และ อวิชชายังเป็นสมุทัย

สัจจะ เหตุแห่งทุกข์ โดยนัยปฏิจจสมุปบาท เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎก ครับ

อวิชชาเป็นมูลเหตุของโลภะ

       พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑– หน้าที่ 146

                               อรรถกถาจตุจักกสูตร

         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

                             ตัดความผูกโกรธด้วย     กิเลสเป็น

                   เครื่องร้อยรัดด้วย       ความปรารถนาและ

                   ความโลภอันลามกด้วย    ถอนตัณหาอันมี

                   อวิชชาเป็นมูล(เหตุ)เสียแล้วอย่างนี้  ความ

                   ออกไป  (จากทุกข์)  จึงมีได้.

          บทว่า  สมูล  ตณฺห   ได้แก่ ตัณหาอันมีมูล   โดยมีอวิชชาเป็นมูล(เหตุ).

*******************************

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓– หน้าที่ 272

         ทุกขสมุทัยอริยสัจ   เป็นอย่างไร.

อวิชฺชาปจฺจขา  สงฺขารา       เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย        จึงมี  สังขาร

สงฺขารปจฺจยา  วิญฺาณ     เพราะสังขารเป็นปัจจัย        จึงมี  วิญญาณ

…………………………….

ภวปจฺจยา  ชาติ                 พราะภพเป็นปัจจัย              จึงมี  ชาติ

ชาติปจฺจยา   ชรามรณ       เพราะชาติเป็นปัจจัย            จึงมี  ชรามรณะ

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุ-   โสกะ  ปริเทวะ  ทุกขะ  โทมนัส  อุปายาล

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นเกิดขึ้น  ด้วยประการอย่างนี้

         นี่  ภิกษุทั้งหลาย  เราเรียกว่า  ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

*************************************

                    เพราะอวิชชา ความไม่รู้มี กิเลสต่างๆจึงมีด้วย

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ – หน้าที่ 988

ฉะนั้น      พึงทราบว่า     อวิชชาในที่นี้     แม้เมื่อเป็นเหตุแห่งสังขารอันมีวัตถุ

เป็นอารมณ์  และธรรมเกิดร่วมกันเป็นต้นเหล่าอื่น    ท่านก็แสดงโดยความเป็นเหตุแห่ง

สังขารทั้งหลาย      เพราะความเป็นประธานในบทว่า       อวิชชาเป็นเหตุแห่งเหตุของ

สังขารมีตัณหาเป็นต้น   แม้เหล่าอื่นเพราะบาลีว่า    ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็นความชื่น

ชม    และว่า อวิชฺชา สมุทยาอาสวสมุทโย  เพราะอวิชชาเป็นสมุทัย   อาสวะ(กิเลส)จึง

เกิด.

เพราะปรากฏในพระบาลีว่า         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ผู้ไม่รู้ไปสู่อวิชชา

ย่อมปรุงแต่ง  แม้ปุญญาภิสังขาร(การทำกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม)

หมายเหตุ:

ปฏิบัติ ให้ได้ผล

การปฏิบัติ ที่ให้ผล เห็นเป็นรูปธรรมแบบชัดเจน รู้ชัดอย่างแจ่มแจ้ง ด้วยตนเอง ในสภาวะทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ สุข ที่เกิดขึ้นในชีวิต(ภพชาติปัจจุบัน) และ ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์(การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสาร)

เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น(เป็นเหตุให้ เกิดการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)

ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพาน คือ ความดับภพ การดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน และ การดับเหตุของการเกิด เวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร

และ วิธีการกระทำ เพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สภาวะมรรค หรือ อริยมรรค มีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

การจะรู้ชัดแบบนี้ได้ ต้องทำ ๒ สิ่งนี้ จึงจะได้ผลเร็ว คือ การดับเหตุของการเกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย(การเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ)

ควบคู่กับ การทำความเพียรต่อเนื่อง(สมถะ-วิปัสสนา)

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ ประการ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ว่าจะเกิดขึ้น กับบุคคลที่อยู่ใน ยุคไหน สมัยไหนก็ตาม สภาวะนี้ไม่มีแปรเปลี่ยน ตามยุค ตามสมัย เพราะ ธรรมนี้ อกาลิโก คือ อยู่เหนือกาลเวลา

ทุกข์ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ

ลักษณะของ ทุกข์ รู้แบบหยาบๆ ได้แก่ ความรู้สึกถูกบีบคั้น การทนอยู่ได้ยาก

รู้ แบบละเอียดมากขึ้น ได้แก่ การเกิด ทุกๆการเกิด ล้วนเป็นทุกข์

เมื่อรู้ชัดในทุกข์ รู้ว่า ทุกข์ที่บีบคั้น ล้วนเป็นแดนเกิด ของการสร้างเหตุ ให้เกิดภพชาติใหม่เนืองๆ(ปัจจุบัน ขณะ) ย่อมแสวงหา วิธีดับทุกข์

ความศัรทธา เป็นเหตุให้ เกิดการทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลา เป็นเหตุให้ รู้วิธีการดับทุกข์ ที่เกิดจาก ปัจจุบัน ขณะ(ผัวสสะ) เป็นเหตุปัจจัย

สิ่งนอกตัว ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ไม่สามารถน้อมเอา คิดเอาเองได้ เมื่อรู้ได้ดังนี้ จึงเกิดการปล่อยวาง ลงไปเรื่อยๆ

จึงมุ่งดับเหตุที่ตนเอง มากกว่า คิดดับนอกตัว เพราะ ตราบใด ที่ยังมีลมหายใจอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้น ทุกๆขณะ ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด นั่นแหละเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่

นี่แหละ วิธีตัดหรือการสร้างเหตุของการดับเหตุภพชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการสร้างเหตุออกไป ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ หรือ รู้แล้ว อดทนกดข่ม ไม่ไหว นั่นแหละ เหตุปัจจัย ที่มีเกิดขึ้นใหม่อีก

การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

วิธีการ ต้องมีองค์ประกอบสองอย่างรวมกัน ไม่งั้น ได้ผลช้า

๑. หยุดสร้างเหตุนอกตัว ณ ปัจจุบัน ขณะ(ผัสสะเกิด) ที่เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ซี่งเป็นการ สร้างเหตุของ การดับภพชาติปัจจุบัน ส่วนจะดับสนิทหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างอยู่

๒. ทำสมถะ ควรหาพี่เลี้ยง ที่รู้เรื่องสภาวะจิตเป็นสมาธิ บางคนนั่งแล้วหลับทุกครั้ง นั่นแหละ จิตเป็นสมาธิ แต่สติด้อยกว่า กำลังสมาธิมีมากกว่า สภาวะสัมปชัญญะ จึงเกิดขึ้นไม่ได้

เป็นเหตุให้ ขาดความรู้สึกตัว ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่ วิธีแก้ คือ การปรับอินทรีย์ เดินมากกว่านั่ง สังเกตุสภาวะตัวเองไปเรื่อย จนปรับอินทรีย์เกิดความสมดุลย์

เป็นเหตุให้ สติกับสมาธิ มีกำลังไม่เหลื่อมล้ำมากน้อยไปกว่ากัน เมื่อสภาวะสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุสภาวะสัญญาเกิด สำหรับผู้ที่ไม่รู้ จะเรียกว่า ปัญญา ให้ใช้หลักโยนิโสมนสิการ กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น สงสัย สักแต่ว่า สงสัย ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวมีเหตุ ให้รู้เอง จะรู้ทีละนิดๆ รู้แบบหยาบๆ

สภาวะที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ อาจมีโอภาสเกิดร่วมหรือไม่เกิดก็ได้ โอภาสจะเกิดตามกำลังของสมาธิ ยิ่งสมาธิมีกำลังแนบแน่นมากๆ โอภาสจะมีแสงสว่าง ตามกำลังของ สมาธิ ณ ขณะนั้นๆ

สภาวะที่เอ่ยมานี้ มีชื่อเรียกว่า สัมมาสมาธิ หมายถึง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตั้งแต่ ปฐมฌาน เป็นต้นไป

การจะรู้แจ้ง อริยสัจ ๔ ก็ตาม นิพพานก็ตาม จะเกิดจากการทำความเพียรต่อเนื่อง เกิดกับผู้ที่มีสภาวะ สัมมาสมาธิ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง จากตำราที่ได้ร่ำเรียนมา อันนั้นเป็นเพียง สภาวะอุปกิเลส ที่เกิดขึ้น

ส่วนขณิกสมาธิ ที่นำมาสอนกันแพร่หลาย ล้วนเป็นเพียงอุบาย ของท่านผู้รู้ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติ ไม่ลำบากยากนัก จะได้ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติ

ขณิกสมาธิ ทำได้เพียง ดับภพชาติปัจจุบัน เพราะ สังโยชน์ ยังไม่ถูกทำลายลงเป็น สมุจเฉทประหาน อนุสัย จึงเนืองนองอยู่ในขันธสันดาน อย่างมาก แค่เบาบางลงไป แต่ยังไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จึงมีชื่อเรียกว่า มรรค มีองค์ ๘

สภาวะ สมุจเฉทประหาน ของสังโยชน์ต่างๆ ที่จะเกิด ในขณะที่เป็น สภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกตามสภาวะที่เกิดขึ้นว่า อริยมรรค มีองค์ ๘

ทุกขสมุทยอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกอง
ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ตัณหานี้ใด ทำความเกิดอีก เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจ แห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
(ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ?

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ?

สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ;
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น,

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น.
ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ… มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย… เสียงทั้งหลาย…. กลิ่นทั้งหลาย…. รสทั้งหลาย…. โผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย….ธรรมารมณ์ทั้งหลาย….

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา….ความรู้แจ้งทางหู….ความรู้แจ้งทางจมูก….ความรู้แจ้ง
ทางลิ้น….ความรู้แจ้งทางกาย….ความรู้แจ้งทางใจ….

มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา…การกระทบทางหู… การกระทบทางจมูก…การกระทบ
ทางลิ้น…การกระทบทางกาย…การกระทบทางใจ…

มีภาวะ เป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป… ความจำหมายในเสียง… ความจำหมายในกลิ่น…
ความจำหมายในรส… ความจำหมายในโผฏฐัพพะ… ความจำหมายในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป…ความนึกถึงเสียง… ความนึกถึงกลิ่น… ความนึกถึงรส…
ความนึกถึงโผฏฐัพพะ….ความนึกถึงธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป…ความอยากในเสียง… ความอยากในกลิ่น…. ความอยาก
ในรส…. ความอยากในโผฏฐัพพะ… ความอยากในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความตริหารูป…ความตริหาเสียง… ความตริหากลิ่น… ความตริหารส…
ความตริหาโผฏฐัพพะ… ความตริหาธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)…ความไตร่ตรองต่อเสียง…
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น… ความไตร่ตรองต่อรส… ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..
ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น.
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ