การดับรอบเฉพาะตน

รู้ชัดใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

การสำรวม สังวร ระวัง ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ

เป็นเหตุปัจจัยให้ รู้ทัน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ มากขึ้น

เมื่อรู้ทัน ย่อมหยุดทัน หยุดได้โดยไม่ต้องคิดที่จะหยุด
คือไม่เอามาเป็นอารมณ์ถึงขั้นสร้างเหตุใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

เป็นการดับรอบเฉพาะตน

สิ้นชาติจบพรหมจรรย์

อุทายิสูตร

[๔๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชนชาวสุมภะ ชื่อเสตกะ
ในแคว้นสุมภะ ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า.

[๔๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา มีขึ้น
ความรัก
ความเคารพ
ความละอายใจ
และความเกรงกลัว

ของข้าพระองค์ซึ่งมีอยู่ในพระผู้มีพระภาคมากเพียงไร
ด้วยว่า ข้าพระองค์เมื่อเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
ก็มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระธรรมมากนัก
มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระสงฆ์มากนัก

ข้าพระองค์เห็นความรัก
ความเคารพ
ความละอายใจ
ความเกรงกลัว ในพระผู้มีพระภาค จึงออกบวชเป็นบรรพชิต

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า
อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป
อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา …
อย่างนี้สัญญา …
อย่างนี้สังขาร …
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความ
เกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ.

[๔๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง
พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ได้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๔๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่ข้าพระองค์บรรลุแล้วและมรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น
อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
จักน้อมนำ ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป
เพื่อความเป็นอย่างนั้น

โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี คือ
สติสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น

โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ
ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนี้แล อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๔๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้วนั้นแล
อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=2749&Z=2791

หมายเหตุ;

มรรค-อริยมรรค

การเจริญโพธิปักขิยธรรม

วิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

อุปัชฌายสูตร
[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

ครั้งนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิต
ของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่
ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และเธอมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้

ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียรเป็ นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญ โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน ทุกคืน

ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดังนี้ ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป

ภิกษุนั้นหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่ ไม่นานเท่าไร ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่ง ในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย

ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ได้บรรลุอรหัตแล้ว จึงเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

ครั้งนั้น ภิกษุนั้น พาภิกษุผู้สัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมไม่
หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถิ่นมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่เธอ ถิ่นมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของเธอ เธอยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้

ย่อมมีได้แก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

หมายเหตุ:

การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ขณะที่ผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างนานา

ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(หยุดสร้างเหตุนอกตัว) ชั่วขณะที่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สภาวะโพธิปักขิยธรรม จึงเกิดขึ้น ชั่วขณะ

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

การหยุดสร้างเหตุนอกตัวเนืองๆ เป็นการเจริญโพธิปักขิยธรรม

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=1603&Z=1648

ปรุงแต่ง

สิ่งใดเกิดขึ้น แล้วเกินจาก รู้

คือ รู้ว่า มีสิ่งเกิดขึ้น

เกินจากรู้ คือ เกินจาก รู้ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น

 

ลักษณะเกินจากรู้ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ต้องเป็นอย่างงั้น อย่างงี้

ล้วนเกินจากรู้ คือ การปรุงแต่ง ที่เกิดขึ้นจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่

 

รู้ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น เมื่อเกินจากรู้ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น

จะเกิด หรือ จะดับเหตุของการเกิด ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เกินจากรู้

ฝึกไปเรื่อยๆ ฝึกที่จะหยุดแค่รู้ ฝึกเพื่อที่จะละ ละสิ่งปรุงแต่งที่มีอยู่

 

ถ้าคิดว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น คือ บททดสอบ

เมื่อคิดแบบนั้น พยายามที่จะดู พยายามที่จะรู้ พยายามที่จะหยุด

ยังดีกว่า คิดว่า รู้ แต่ไม่ยอมหยุด

 

ถ้าคิดว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น คือ เหตุปัจจัยที่มีอยู่

เมื่อคิดแบบนั้น ย่อมพยายามที่จะหยุด มากกว่า ไม่ยอมหยุด

ดูจิต

ดูตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้นที่จิต เช่น

เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

เมื่อจิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

เมื่อจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านฯลฯ

สภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นความปกติของจิต

 

 

ดูความสิ้นกิเลส

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ

รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.

หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า
ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น

จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้
สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย
คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา

ความลึกซึ้งของสภาวะ เป็นเรื่องที่เรียนแล้ว มีแต่การดับเหตุของการเกิด

เป็นเหตุให้ การสร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน สั้นลง

เป็นเหตุปัจจัยให้ ภพชาติการเวียว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสารสั้นลง

กรรมใหม่ ตัดรอนกรรมเก่า

ปกติ ชอบพูดคำว่า แล้วแต่เหตุปัจจัย

ทำไมจึงชอบพูดแบบนั้น เพราะ มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้เคยกระทำไว้(อดีต)
และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ(ปัจจุบัน)

กรรม(เหตุ) ที่เคยกระทำไว้ในอดีต กรรมนั้นๆ สามารถล่วงตกไปได้
ขึ้นอยู่กับ กรรม(เหตุ) ที่ทำขึ้นในปัจจุบัน

เช่น สามเณร ที่อยู่กับพระสารีบุตร ที่จะต้องหมดอายุไข เหตุจาก วิบากกรรมที่ทำไว้

ระหว่างที่สามเณร กำลังเดินกลับบ้าน ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้(กรรม/เหตุ ณ ปัจจุบัน)

แทนที่สามเณรจะหมดอายุไข ตามเหตุปัจจัยที่ได้เคยกระทำไว้

กลับกลายเป็นว่า โดนกรรมใหม่ตัดรอน ให้ตกสิ้นไปทันที

จริงแล้วจะต้องตาย(เหตุจากกรรมเก่า) กลับไม่ตาย(เหตุจากกรรมใหม่)

การกระทำทุกชนิด ไม่สามารถคาดเดาผลที่เกิดขึ้นนั้นๆได้

เพราะทุกสรรพสิ่ง แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
ที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ ทุกๆขณะ ของการกระทำ

สิ่งที่พระองค์ทรงสอนไว้ ที่ควรนำมาเป็นแนวทาง เพื่อดับเหตุของการเกิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

อะไรที่พูดแล้ว ไม่ใช่การดับเหตุของการเกิด(มีแต่การสร้างเหตุของการเกิด) พระองค์ไม่ทรงสอน

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น นำเขาไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย…

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า
คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า
คนทำกรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ
ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ติก. อํ. ๒๐/๓๒๐/๕๔๐.

โยนิโสมนสิการ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ

รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.

 

หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น เหตุของการเกิด ย่อมยังมีอยู่

จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา

ภายนอก-ภายใน

สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี

เรื่องราวทางโลก เรียนเท่าไหร่ ยิ่งเรียน ยิ่งออกจากฝั่งไปไกล(มีแต่เหตุของการเกิด) เรียนไม่จบสักที ตัวนี้ไป ตัวนั้นมา เวียนวนอยู่อย่างนี้(ผัสสะ)

สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นย่อมไม่มี

เรื่องราวภายในกายและจิต ยิ่งเรียน ยิ่งจบ(ดับเหตุของการเกิด-ดับผัสสะ)

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่เรียนหรือจะรู้ ถึงจะมามีชีวิต เช่นวันนี้ได้
ต้องผิดพลาดมาก่อน ที่จะรู้

รู้แล้ว การทำผิดพลาดย่อมลดน้อยลงไป
ภพชาติย่อมสั้นลง ตามเหตุปัจจัย

 

หยุดสร้างเหตุนอกตัว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย;
จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่เธอ
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มโน ก็ได้ตรัสต่อไป ด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน อะไร ๆ ในแคว้นนี้
ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้
ที่คนเขาขนไปทิ้ง หรือ เผาเสีย หรือทำตามปัจจัย;

พวกเธอรู้สึก อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป
หรือเผาเรา หรือ ทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ?

“ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า
ตัวตน (อตฺตา)
ของตน (อตฺตนิยา)
ของข้าพระองค์ ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
จักษุ…โสตะ…ฆานะ…ชิวหา…กายะ…มโน
ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย

สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.

หมายเหตุ:

ตัวตน (อตฺตา) หมายถึง ความมีตัวตน ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นถือมั่น ในความมีตัวตน ที่มีอยู่(ตัวกู)

เช่น เมื่อผัสสะเกิด เสียงด่ากระทบหู อุปทาน/ความยึดมั่นถือมั่นในตัวกู เกิดขึ้นทันที

มันด่ากู กูต้องด่าตอบกลับมัน เพราะ กูไม่ผิด เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่

ของตน (อตฺตนิยา) หมายถึง ความมี ความเป็น ได้แก่ มานะ คือ ความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่ตนคิดว่ามี คิดว่าเป็นเป็น(ของตน/ของกู)

มานะ เป็นกิเลสในใจตน, กิเลสอย่างละเอียด. กิเลสในชั้นนี้ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น

ถ้ามีตัวเรา มีตัวเขา, สิ่งนั้นไม่ใช่มานะ แต่มันคือ สักกายทิฎฐิ

ทันทีที่เรารู้สึกว่า เราเก่งกว่าเขา, เรามีฌาณวิเศษกว่าเขา หรืออะไรๆ ที่ มากกว่าเขา น้อยกว่าเขา, สิ่งนั้นไม่ใช่มานะ แต่เป็น สักกายทิฎฐิ

มานะ คือการเห็นว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่, เราเป็นพระ, เราเป็นอุบาสก อุบาสิกา, เราเป็นผู้ชาย ผู้หญิง ฯลฯ

สังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
ทั้ง 5 ประการ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น

ทุกบุคคลตัวตน เขา, เรา ที่มองเห็น ล้วนเป็นเพียงเปลือกที่เกิดจากเหตุที่ทำไว้ เป็นเปลือกที่ใช้อาศัยชั่วคราว ตามเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่ และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ เปลือกจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหยุดสร้างเหตุของการเกิด

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น เมื่อยังมีการสร้างภพชาติอยู่ เปลือกหรือร่างที่ใช้อาศัยชั่วคราว ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ทำไว้

เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงของเรื่องเหตุการกระทำและผลที่ได้รับ เป็นเหตุให้เกิดการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นเลวบ้าง สิ่งนั้นดีบ้าง สิ่งนั้นเสมอตนบ้างฯลฯ

ทุกรูปทุกนามล้วนไม่มีความแตกต่างกัน ล้วนเป็นเพียงรูปนามที่เสื่อมสลายไปตามเหตุปัจจัย

ได้แก่ การยึดติดกับสิ่งที่คิดว่าตนมีและตนเป็น แล้วนำสภาวะที่ตนเองมีและเป็นอยู่ไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น แล้วคิดเอาเองว่าตนดีกว่าเขาบ้าง ตนเลวกว่าเขาบ้าง ตนเสมอกับเขาบ้าง

เหตุเนื่องจากอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ

เป็นเหตุให้เกิดการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นให้ค่า ตามเหตุปัจจัย ที่มีอยู่ กับสิ่งที่เกิดขึ้น (ต่อเปลือกหรือสิ่งที่มองเห็น)

ตลอดจนการใช้ชีวิต และสภาวะแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย ที่มีอยู่และที่กระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบัน

เพราะไม่รู้ขัดตรงนี้ จึงยึดติดกับสิ่งที่ตนมีและที่คิดว่าตนเป็น เป็นเหตุให้ เกิดการสร้างเหตุของการเกิด ภพชาติใหม่ให้ เกิดขึ้นเนืองๆ

หยุดสร้างเหตุนอกตัว(การดับภพชาติปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 265

เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ

ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมนี้แล ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว

เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคคติและวินิบาต สิ้นแล้ว

ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า ดังนี้.

หมายเหตุ: 

แนวทางการปฏิบัติ การดับภพชาติปัจจุบัน โดยการ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ที่เกิดจาก ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น) เป็นเหตุปัจจัย

ขณะที่หยุดสร้างเหตุนอกตัว ชั่วขณะนั้น สภาวะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เกิดขึ้นเอง ตามความเป็นจริง ของเหตุปัจจัย ที่ได้กระทำลงไป ได้แก่ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล.

เมื่อหยุดสร้างเหตุเนืองๆ สภาวะเหล่านี้ จึงเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ – หน้าที่ 3

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์.

พ. ดูก่อนอานนท์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ ความเห็น ตามความเป็นจริง)เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์

นิพพิทาวิราคะ(ความคลายกำหนัด) มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)  มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้

ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ
ด้วยประการดังนี้แล.

วิธีนี้ เป็นการสร้างเหตุของการดับเหตุ ของการเกิดภพชาติปัจจุบัน เป็นวิธีลัดสั้นสุด เห็นผลเร็วสุด

 

 

สิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ เหตุจาก ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น) เป็นเหตุปัจจัย

หากไม่สานต่อ สิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย
ผลที่ได้รับ ความสงบสุข ที่เกิดขึ้นในชีวิต และทุกข์น้อยลง

หากสานต่อ(สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)
ผลที่ได้รับ ความวุ่นวายในชีวิต จึงเกิดขึ้นเนืองๆ
ตามเหตุปัจจัยที่กระทำลงไป เหตุจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่

หยุดสร้างเหตุนอกตัว

ขณะที่ผัสสะเกิด สิ่งนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา แค่รู้ ไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไป

หากมีสติ สัมปชัญญะดี สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายใน กาย ลักษณะอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ภายในกาย

รู้ชัดในเวทนา ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น

รู้ชัดในจิต รู้ชัดในควาามคิดที่เกิดขึ้น(มโน)

รู้ชัดในธรรม พูดแบบบ้านๆนะ รู้ว่ามีสิ่งเกิดขึ้น ที่กำลังเกิดอยู่ตรงหน้า เมื่อไม่ไปข้องเกี่ยวด้วย ไม่สร้างเหตุอกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ย่อมดับหรือจบลงไปเอง หากเราไม่ไปสานต่อ

การไม่สร้างเหตุออกไป สภาวะที่รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้นนี้ เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี … ๕ ปี … ๔ ปี … ๓ ปี …
๒ ปี … ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ เดือน … ๕ เดือน … ๔ เดือน … ๓ เดือน … ๒ เดือน … ๑ เดือน … กึ่ง
เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
พระอนาคามี ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล
คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

เหตุของการเกิดโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

สภาวะ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ได้แก่ ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น สภาวะนี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

ผลของการหยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ ขณะนั้น รู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม สภาวะนี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุของการเกิดสภาวะ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สภาวะสติปัฏฐาน ๔ ที่เกิดขึ้น เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

ถึงแม้จะเกิดโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่เกิดขึ้น ชั่วขณะนั้น จะเป็นการดับเหตุของการเกิด(นิพพาน) ในระยะสั้นๆก็ตาม

ผลของเหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้นตามมา คือ ภพชาติใหม่ที่จะเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ในแต่ละขณะนั้น เกิดสั้นลง หรือที่เรียกว่า การเกิดของภพชาติใหม่ สั้นลง ณ ปัจจุบันนี้ ไม่ต้องรอจนกว่าจะตาย ถึงจะรับผล

หมายเหตุ:

บางเรื่อง อาจจะเขียนรวบรัดไปหน่อย จึงมาขยายความหมายของสภาวะนั้นอีกครั้ง ต้องขออภัยสำหรับหลายๆคน ที่ติดตามอ่านอยู่

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ