ปัจจุบันกับผัสสะ

ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ในชีวิต

ผัสสะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน กับ ผัสสะ ตัวเดียวกัน

ปัจจุบัน เป็น ผลอดีต หมายถึง เหตุที่กระทำไว้ ในอดีต ส่งผลมาให้ได้รับ คือ เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ

เป็นเหตุของอนาคต หมายถึง เหตุหรือสิ่งที่กระทำ ณ ปัจจุบัน เป็น เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ได้รับผล ในอนาคต

โยนิโสมนสิการ

โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ/ผัสสะ

มนสิการ หมายถึง การทำ(อารมณ์)ในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น กระทำไว้ในใจ

ภาษาชาวบ้าน

ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น/เหตุ รู้สึกนึกคิดยังไง ยอมรับไปตามความเป็นจริง แต่ไม่กระทำสิ่งใดลงไป ตามความรู้สึกนึกคิด(ยินดี ยินร้าย)ที่เกิดขึ้น

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดีหรือยินร้าย (ชอบ/ชัง) ให้รู้ไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุ(กายกรรม วจีกรรม) ออกไป ตามความรู้สึกยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น

ในเมื่อยังมีกิเลส อนุสัยกิเลสยังไม่ถูกทำลายไปหมดสิ้น ความคิดย่อมเกิด ความรู้สึกยินดี ยินร้ายย่อมเกิดขึ้นได้ ห้ามความคิดหรือความรู้สึกไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่สามารถอาศัยการโยนิโสมนสิการเป็นหลัก

สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับลงไปเป็นธรรมดา

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย คือ เหตุที่ยังมีอยู่

เมื่อโยนิโสมนสิการบ่อยๆ การสำรวม สังวรระวังอายตนะย่อมเกิดมากขึ้น เป็นเหตุให้สภาวะของศิลปรมัตถ์ปรากฏ สมาธิย่อมเกิดตามเหตุ ปัญญาที่เกิดจากภาวนามยปัญญาย่อมเกิด

เมื่อยังไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นหรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเป็นหลัก และอาศัยการอ่านหรือการสดับ รับฟังจากผู้ที่ผ่านสภาวะนั้นๆมาแล้ว
จงอย่าเชื่อไปจากการอ่านและการฟังทั้งหมด เพียงแค่รู้และทำความเพียรต่อเนื่อง

มรรค มีองค์ ๘ และ อริยมรรค มีองค์ ๘

เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

พยายามระวังมากขึ้น แต่ไม่เครียด

นอกนั้น ไม่มีอะไร ไม่ได้อยากได้อะไรเป็นอะไร เพราะ ไม่อยากเกิด การเกิดน่ากลัวมากๆ

รู้แล้ว จึงไม่อยาก ไม่รู้จะอยากไปทำไม เพราะรู้ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม จะรู้เอง

หัวใจของการปฏิบัติ

จิ.เจ.รุ.นิ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพาาน

รู้ชัดเรื่องจิต รู้ชัดเรื่องเจตสิก สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต บางคนเรียก กิริยาของจิต หมายถึง ฝ่ายกุศลและอกุศล และอุเบกขา ที่เกิดขึ้นกับจิต

รู้ชัดในเรื่องรูป ย่อมรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือที่เรียกว่า ผัสสะ

รู้ชัดเรื่องนิพพาน ย่อมรู้วิธีการดับเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ เหตุของการเกิดทั้งนอกและใน หมายถึง ภพชาติปัจจุบัน และการเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร

นั่นคือ มรรค มีองค์ ๘ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ปัจจุบัน ขณะ หรือ เมื่อผัสสะเกิด ทุกๆขณะ หมายถึง สัมมาสติ ขณะผัสสะเกิด สามารถรู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม คือ รู้ชัดทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้นนอกตัว) ภายใน(สิ่งที่เกิดขึ้นในตัว)

เป็นเหตุของ ฝ่ายดับ การเกิดภพชาติปัจจุบัน(ปัจจุบัน ขณะ) เนื่องจาก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ(มรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ)

เหตุของฝ่ายเกิดภพชาติ ได้แก่ การสร้างเหตุทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึกยินดี/ยินร้าย/กิเลส(โลภะ โทสะ โมหะ) ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ โดยมีผัสสะ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ เป็นเหตุปัจจัย

อริยมรรค มีองค์ ๘ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ปัจจุบันธรรม หมายถึง สัมมาสมาธิ หรือ ขณะจิตตั้งมั่นอยู่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

เป็นเหตุของ ฝ่ายดับ การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

เหตุของฝ่ายเกิด ได้แก่ มิจฉาสมาธิ หมายถึง ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สัมปชัญญะ) ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(อัปปนาสมาธิ/ฌาน)

กายในกาย หมายถึง ขณะจิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกายได้ เช่น รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ชัดที่จมูก โพรงจมูก ที่จมูก ปลายจมูก ท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก รู้ชัดที่ลิ้นปี่ กำลังเคลื่อนไหว ตามลมหายใจเข้าออก รู้ชัดที่ชีพจรตามส่วนต่างๆของร่างกาย รู้ชัดที่กายนั่งอยู่ฯลฯ

หมายถึง ไม่ว่า มีอะไรเกิดขึ้นกับกาย จะรู้หมด อากาศร้อนเย็น ก็รู้ ลมพัดถูกกายก็รู้ ขึ้นอยู่กับ กำลังสมาธิและสติ ที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ

เมื่อมีความสมดุลย์ ระหว่าง สมาธิกับสติ เป็นเหตุให้ สัปมชัญญะ หรือความรู้สึกตัวย่อมเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ขณะจิตตั้งมั่นอยู่

เวทนาในเวทนา หมายถึง ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นกับกาย เช่น ความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

จิตในจิต หมาถึง ขณะจิตเป็นสมาธิ กิเลส ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ความกำหนัดในกาม เกิดเอง ดับเอง ไม่ต้องไปกำหนดเพื่อให้หายแต่อย่างใด กิเลสนี้ เป็นสภาวะที่ละเอียด

ธรรมในธรรม หมายถึง ขณะจิตเป็นสมาธิ ความคิด ก็สามารถเกิดขึ้นได้ สุดแต่ว่า มีเหตุปัจจัยอะไรอยู่ ขณะความคิดเกิด รู้ว่าคิด แต่ไม่รู้สึกรำคาญแต่อย่างใด เกิดเอง ดับเอง ไม่ต้องไปกำหนดเพื่อให้หายแต่อย่างใด

เมื่อมีมิจฉาสมาธิ เป็นเหตุให้ สัมมาทิฏฐิ(อริยมรรค) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้ มีการเกิด เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

ถ้าหมั่นสร้างเหตุของการดับ ณ ปัจจุบันขณะ หมายถึง มรรค มีองค์ ๘

อริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

หยุดสร้างเหตุนอกตัว ทำความเพียรต่อเนื่อง นี่คือ หัวใจของการปฏิบัติทั้งในและนอก

นอกนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

พึงสำรวม สังวร ระวัง เพราะ ชีวิตนี้ น้อยนัก จงใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเอง ก่อนที่จะหมดลมหายใจ โดยไม่คิดทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

การทำบุญ ทำทาน ให้ประโยชน์สูงสุดแค่ สวรรค์ แต่เป็นเหตุของการลดความตระหนี่ถี่เหนียวของตนเอง

การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่ยอมทำตามกิเลสที่เกิดขึ้น และทำความเพียรต่อเนื่อง มากน้อย ตั้งใจทำ นี่คือ ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ นิพพาน ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ให้ทุกข์อยู่ร่ำไป

ไม่ต้องใช้เงิน ใช้แค่กายที่มีอยู่และใช้ใจที่อดทน กดข่ม ไม่สร้างเหตุตามกิเลสที่เกิดขึ้น

ปริยัติ

ปริยัติ เกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย ไม่ได้อยากรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียง สภาวะสัญญา ที่ใช้ในการถ่ายทอดออกไป

เวลารู้ ไม่ใช่รู้ครั้งเดียวจบ จะค่อยๆรู้แบบตัวต่อ ต้องทำความเพียรต่อเนื่อง สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถเจาะจงได้ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด

เหมือนเรียนหนังสือ เรียนไปทีละบท ทีละตอน หนังสือสามารถเปิดอ่านล่วงหน้าได้ แต่สภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิต คาดเดาไม่ได้ เปิดอ่านก็ไม่ได้ มีความอยากรู้ก็ไม่ได้ เรียกว่า มีกิเลสแทรกไม่ได้ ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัยจริงๆ

ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับการทำความเพียรต่อเนื่อง และการหยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย

 

สภาวะปัญญา รู้แล้ว จบจริงๆ จบภพ จบชาติ(ปัจจุบัน ขณะ)

ส่วนอยู่จบพรหมจรรย์ สังโยชน์ ๑๐ ต้องถูกประหานหมดสิ้น ที่เกิดจาก สภาวะสมุจเฉทประหาน ซึ่งเกิดขึ้นใน สภาวะสัมมาสมาธิิเท่านั้น

เกิดขึ้นใน ปัจจุบันธรรม ไม่ใช่ใน ปัจจุบัน ขณะ

 

หากยังไม่เบื่อการเกิด สร้างเหตุของ การดับภพชาติปัจจุบัน ได้แก่ ปัจจุบัน ขณะ

หากไม่อยากเกิดอีกต่อไป ต้องสร้างทั้งเหตุของปัจจุบัน ขณะ และ ปัจจุบันธรรม ขาดอย่างใด อย่างหนึ่ง สภาวะย่อมย่อหย่อน สภาวะสมุจเฉทประหาน ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก

 

แก้ที่เหตุ ที่ตัวเองยังมีอยู่และเป็นอยู่
เมื่อแก้ได้ ใจย่อมสงบ ไม่ว่อกแว่ก ทางย่อมตรง ไม่คดเคี้ยว ไม่วกวน

รู้ที่จิต จบที่จิต

 

 

ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้า สอนคนทั่วไป สอนแต่สติปัฏฐาน ๔(ดับภพชาติปัจจุบัน)

สอนภิกษุ สอนให้อยู่แต่สุญญตา/สุญญคารเนืองๆ แต่ใช้คำเรียกโดยรวมว่า สติปัฏฐาน ๔ ปัจจุบันเรียก มหาสติปัฏฐาน(ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร)

เป็นที่มาของ สติปัฏฐาน ๔ ฝ่ายสมถะ และ สติปัฏฐาน ๔/มหาสติปัฏฐาน ฝ่าย วิปัสสนา

ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919#102

ปัจจุบันขณะ กับปัจจุบันธรรม

การดำเนินชีวิต

ปัจจุบันขณะ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต

ปัจจุบัน ขณะ ได้แก่ สัมมาสติ  หมายถึง เมื่อทำกิจใดๆอยู่ก็ตาม แม้กระทั่งผัสสะเกิด เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แต่ไม่ได้สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดถึง ขณะนั้น เป็นเหตุให้เกิดการรู้ชัดอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม(สติปักฐาน ๔/มรรค มีองค์ ๘)

 

 

การปฏิบัติ 

ปัจจุบันธรรม เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่(ทำสมาธิ)

ปัจจุบันธรรม ได้แก่ สภาวะที่เกิดขึ้น ในสัมมาสมาธิ หมายถึง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ เป็นเหตุให้รู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม จิตในจิต(มหาสติปัฏฐาน/อริยมรรค มีองค์ ๘)

ยุคของ ปัจจุบัน ขณะ

ยุคนี้ เป็นยุคของ ปัจจุบัน ขณะ

ไม่ใช่ยุคของ ปัจจุบันธรรม ดั่งสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่อง สุญญาคาร/สุญญตา ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นของ สัมมาสมาธิ

ปัจจุบัน ขณะ(สัมมาสติ) ตัดภพชาติใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน ปัจจุบันชาติ(ยังต้องเกิด)

ปัจจุบันธรรม(สัมมาสมาธิ) ตัดภพชาติในวัฏฏสงสาร(ไม่เกิดอีกต่อไป)

แต่จะให้ผลสูงสุด ปัจจุบัน ขณะ ต้องควบคู่กับปัจจุบันธรรม แล้วอริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องถูก/ผิด ไม่ว่าใครจะปฏิบัติแบบไหน ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละคน และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

 

เมื่อยังต้องเกิด สิ่งที่เคยกระทำไว้ ถูกสะสมไว้ในจิต เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม สิ่งที่เคยรู้ สติจะขุดแคะงัดแงะขึ้นมาเอง ในรูปของ สัญญา

 

สภาวะปัญญาที่แท้จริงคือ รู้แจ้งอริยสัจ ๔ และนิพพาน รู้แล้ว จบภพ จบชาติ 

ส่วนรู้อื่นๆ เป็นเพียงสัญญา เหตุเพราะ รู้แล้ว ยังไม่จบ ยังคงสร้างเหตุของการเกิด

กรรมเก่า (ปุราณกัมม)

ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) ….ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า เป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)

อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้ เกิดความรู้สึกขึ้น)

เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ปฏิจจสมุปบาท
ว่าด้วย ผัสสะ เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ขันธ์ ๕
ว่าด้วย รูป(ผัสสะ) เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ภาษาชาวบ้าน
ว่าด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (ณ ปัจจุบัน ขณะ)

สิ่งนั้นๆ(ผลของเหตุ ได้แก่ กรรม หรือ การกระทำในอดีต ส่งผลมาให้ได้รับ ในรูปของเหตุ/สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)

ทำให้มี ( เป็นเหตุให้เกิด) ความรู้สึกยินดี(ถูกใจ/ชอบ) ยินร้าย(ไม่ถูกใจ/ชัง) เกิดขึ้น

ปัจจุบันขณะ

การดูปัจจุบันขณะ หรือ ปัจจุบันอารมณ์ หรือ สภาวะที่เกิดขึ้นขณะนั้น หรือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ขณะที่ผัสสะเกิด เขียนคนละแบบ แต่ทั้งหมดคือ ความหมายเดียวกัน

การดูปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ดูความรู้สึกหรือกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส ความคิด ณ ขณะนั้นๆ

ได้แก่ เมื่อเกิดผัสสะ มีความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่จิต รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น ดูตามความเป็นจริง เช่น มีชอบก็ยอมรับว่าชอบ มีไม่ชอบก็ยอมรับว่าไม่ชอบ ดู,รู้ไปตามนั้น

การดูปัจจุบันอารมณ์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตปกติ เพียงแต่ เหตุสร้างมาแตกต่างกันไป วิธีการ อาจแตกต่างกันไป    เนื่องจากเหตุ แล้วก็เหตุ

เหตุเพราะผู้ที่นำมาพูดทำได้แบบไหน  จึงนำมาถ่ายทอดในลักษณะเช่นนั้น

บางคนปฏิบัติด้วยความสะดวก

บางคนปฏิบัติด้วยความยากลำบาก

ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น

ดูตรงๆธรรมดาๆนี่แหละ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทไหนๆล้วนดูได้หมด เพียงแต่จะดูหรือรู้ทันไหม หรือผ่านไปแล้วถึงจะรู้ตัว หรือทำเกินดู เช่น เกิดผัสสะ คือ กระทบปั๊บ ตอบโต้ทันที แบบนั้นหรือเปล่า

บางคนยอมเพราะเข้าใจ บางคนไม่ยอมเพราะยึดติด บางคนไม่ยอมเพราะยังไม่รู้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ยังคงมีอยู่

เรียกว่าสติยังไม่ทันปัจจุบันธรรมหรือยังอยู่กับปัจจุบันยังไม่ทัน จึงแค่ดู แค่รู้ยังไม่ได้ จึงมีการเฝ้าตามดูไปก่อนเพราะเหตุนี้

การฝึกเจริญสติ ทำอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้ดี บางคนอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ บางคนอธิบายไม่ได้ ซึ่งแล้วแต่เหตุที่ทำมาด้วย

ผู้ที่ฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง จะเห็นสภาวะของการเกิดของสภาวะตัวสติได้ชัด เพราะเมื่อถึงสภาวะของสติที่เป็นมหาสติ ตรงกับปริยัติ จะมีตัวสภาวะสติคอยกำกับก่อนที่จะลงมือกระทำ ไม่ว่าจะทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม

สติ ตามปริยัติหมายถึง ความระลึกรู้

สภาวะคือ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ

หากมีสติที่เป็นมหาสติ จะรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ สติเป็นความรู้ตัว รู้ก่อนที่จะลงมือกระทำกิจใดๆก็ตาม

ส่วนความรู้สึกตัว เป็นเรื่องของสัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังกิจนั้นๆอยู่

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเรื่องการทำงานของสติ สัมปชัญญะ ( สัมมาสติ ) และสมาธิเกิด ( สัมมาสมาธิ ) เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ รู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น หรือรู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

การกำหนดต้นจิต

ประโยชน์ของการฝึกกำหนดต้นจิต คือ เป็นการฝึกให้เกิดสติหรือ เกิดความรู้ตัวในทุกอิริยาบท รู้ตัวก่อนที่จะลงกระทำกิจใดๆก็ตาม

เป็นเหตุให้เกิด สัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัว ขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่

เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ เพราะ เมื่อเอาจิตจดจ่อ รู้อยู่กับกิจที่กำลังทำอยู่ สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย เพียงแต่ กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำอยู่

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ