About

This is an example of a WordPress page, you could edit this to put information about yourself or your site so readers know where you are coming from. You can create as many pages like this one or sub-pages as you like and manage all of your content inside of WordPress.

41 ความเห็น (+add yours?)

  1. อิศราวดี วิเศษศิริ
    ส.ค. 03, 2023 @ 11:00:21

    ขออนุญาติทำความรู้จักท่านผู้เขียนได้ไหมคะ
    พี่เองอายุ65ปีใฝ่ศึกษาธรรมะมานานแต่ยังไม่เคยเจอใครตรงใจเท่าท่านเลยค่ะ

    ตอบกลับ

  2. sunchino
    ธ.ค. 14, 2015 @ 18:21:59

    ช่วงนี้การปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้างครับ คุณวรัยพร ยังเขียนตามสภาวะอยู่มั้ยครับ ขออนุโมทนาด้วยนะครับผม

    ตอบกลับ

  3. venerable
    ธ.ค. 10, 2013 @ 08:38:28

    บังเอิญ เข้ามาหรือว่าอาจจะเป็นกุศล ก็ว่าได้ พอดี ผมเคยได้ ว่าเคยไม่ว่ากันนะครับผม เคยปฏิบัติอย่างนี้มาครั้งหนึ่ง เลยอยากจะสอบถาม หรือจะแลกเปลี่ยนก็ได้ครับ
    เกี่ยวกับการปฏิบัติ ฯ ผมว่าพี่แปลกตรงหนึ่ง คือ…บอกสภาวะตัวเองฯ คือปกติแล้ว เท่าที่ผมได้รู้มาฯ เค้าไม่ให้บอกสภาวะฯตัวเอง มิใช่หรอ? แต่ของพี่ ในสายตาของผมนะ…ก็ดีนะครับ และก็มากด้วย ขนาดผมยังแอบชมพี่ในใจเลยว่า ฯ โห พี่ ไปหลายขั้นแล้้วนะ…(ขั้นบันได ในความคิดของตัวพี่นั่นแหล่ะ) ผมว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้เริ่มต้น …และผู้ที่กำลังก้าวล่วง อะไรอีกหลากๆอย่าง คงต้องพอแค่นี้ก่อนนะครับผม เดี๋ยวผมจะเมล์ไปสอบถามดีกว่า…วันนี้ โรงเเรียนใกล้เลิกแล้ว คงไม่รบกวนเวลาทำงานหรอกนะครับผม…
    ด้วยจิตคารวะ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ธ.ค. 14, 2013 @ 14:08:32

      การที่ห้ามบอกสภาวะกัน คงหมายถึง เวลาไปปฏิบัติ ตามสถานที่ต่างๆมังคะ?

      เพราะ การพูดคุยกัน เป็นเหตุของการเกิด นิวรณ์ต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสภาวะ ขณะที่ปฏิบัติ เป้นเหตุให้ จิตตั้งมั่นได้ยาก เพราะไปเก็บเรื่องที่พูดคุย มาคิด

      สิ่งที่เขียนในบล็อกนี้ เหมือนการเขียนบันทึกสภาวะการปฏิบัติ ไม่ได้เป็นความลับอะไร เหมือนเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วๆไป

      หากมีผู้ปฏิบัติ ติดขัดสภาวะตรงไหนอยู่ เวลาเข้ามาอ่าน อย่างน้อยๆ เป็นหนึ่งตัวช่วย ในเรื่องแนวทางการปฏิบัติ ที่ติดขัดอยู่ หรือ คิดว่า ควรจะทำยังไงต่อไป

      เพราะว่า การปฏิบัติ หากทำต่อเนื่องจริงๆ สภาวะที่ต้องพบเจอ เจอเหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่าง ที่แตกต่างกันไป ล้วนเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น สภาวะเลยจมแช่ เดิมๆซ้ำๆอยู่แค่นั้น

      อ่านดูนะคะ เรื่อง หลวงพ่อเยื้อน ท่านเล่าสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะปฏิบัติ ได้ชัดมากๆ ทุกคนต้องเจอสภาวะนี้เหมือนกันหมด ขณะที่ปฏิบัติอยู่ คือ สภาวะ “ความตาย”

      ตอบกลับ

  4. วรรณี ควรสถาพร
    พ.ค. 08, 2013 @ 00:43:16

    ด้วยจิตที่เป็นกุศล ขอร่วมโมทนาบุญกับกุศลดีที่คุณวราพรทำกุศลด้วยนะค่ะ

    ตอบกลับ

  5. นิรนาม
    ธ.ค. 13, 2012 @ 04:23:13

    เวลาสงสัย แล้วเข้ามาหาข้อมูล ส่วนใหญ่ก็เป็นคุณwalailoo ที่ตอบทุกที
    ขอบคุณครับ

    ตอบกลับ

  6. tharnasorn
    ก.ย. 25, 2012 @ 09:25:19

    สวัสดีค่ะ คุณWalailoo’s ค้นหาชื่อหนังสือของพระอาจารย์ใหญ่ แล้วว่ามีจำหน่ายที่ไหน แต่ไม่พบข้อมูลแต่เจอ Block ของคุณ ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก อยากได้ไว้ศึกษา เนื่องจากดิฉันเองก็ปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน 4 ไม่ทราบว่าคุณWalailoo’s พอจะทราบไหมค่ะว่าที่ไหนมีจำหน่าย

    ตอบกลับ

  7. Nuchjaree Kaothunthong
    ส.ค. 28, 2012 @ 13:09:15

    อย่าหยุดเขียนนะคะ อธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่ายดีค่ะ

    ตอบกลับ

  8. nook
    มี.ค. 14, 2012 @ 09:07:35

    สวัสดีค่ะ คุณ Walailoo ได้อ่าน Blog โดยบังเอิญ และตัวเองได้สนใจและฝึกดูจิตมาสักระยะแล้วค่ะ ซึ่งอยู่ในช่วงที่บางครั้ง เบื่อ ๆ สับสน สภาวะต่าง ๆ ค่ะ แล้วได้มาอ่านประสบการณ์ของคุณแล้วทำให้เข้าใจสภาวะที่เกิดขึ้นได้ดีเพิ่มขึ้น อนุโมทนา สาธุ ..และจะขอโอกาสซักถามบ้างนะคะในคราวหน้า… เป็นประโยชน์มาก ๆๆๆ
    ขอบพระคุณค่ะ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      มี.ค. 15, 2012 @ 05:37:41

      ยินดีค่ะ

      ตอบกลับ

    • nook
      ส.ค. 23, 2012 @ 09:30:32

      สวัสดีค่ะ มีโอกาสได้อ่านบันทึกของคุณเสมอทางเมล อยากบอกว่าเป็นประโยชน์ต่อดิฉันมาก ๆค่ะในการได้รับรู้ถึงประสบการณ์ และสภาวะธรรมของผู้ปฏิบัติธรรม จากการถ่ายทอดทางบันทึก ตอนนี้นะคะฝึกปฏิบัติแนวดูจิตค่ะ โดยยึดหลักว่า “มีสติ รู้กาย รู้ใจตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง”อยากเรียนถามค่ะว่าไอ้ความเป็นกลางนี่อย่างไรคะ ขั้นไหน ใช่ประเภทที่ใจจืด ไม่รู้สึกอะไร ต่อสภาวะ มันจะเหมือนคนผิดปกติไหมคะที่ไม่รู้สึกรู้สาอะไร ขอรบกวนหน่อยนะคะ เพราะรู้สึกว่าเท่าที่อ่านจากบันทึกของคุณแล้ว get ดีค่ะ
      ขอบพระคุณล่วงหน้า อนุโมทนา สาธุ ในความกรุณาค่ะ

      ตอบกลับ

      • walailoo
        ส.ค. 30, 2012 @ 02:55:04

        ตอนนี้นะคะฝึกปฏิบัติแนวดูจิตค่ะ โดยยึดหลักว่า “มีสติ รู้กาย รู้ใจตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง”

        ต้องขออภัยด้วยค่ะ ถ้าต้องการทราบว่า “มีสติ รู้กาย รู้ใจตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง” ผู้ใดเป็นผู้พูดรปะโยคนี้ คุณต้องไปถามโดยตรงกับผู้พูด เหตุเพราะ ถ้าวลัยพรพูดไป เป็นเพียงข้อคิดเห็นโดยส่วนตัว ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของผู้ที่พูดประโยคนี้ไว้น่ะค่ะ

        อยากเรียนถามค่ะว่าไอ้ความเป็นกลางนี่อย่างไรคะ ขั้นไหน ใช่ประเภทที่ใจจืด ไม่รู้สึกอะไร ต่อสภาวะ มันจะเหมือนคนผิดปกติไหมคะที่ไม่รู้สึกรู้สาอะไร

        ความเป็นกลาง มีหลายระดับนะคะ มีตั้งแต่หยาบ จนกระทั่งละเอียด

        แบบหยาบ คือ พยายามทำให้เกิดความเป็นกลาง

        แนวทางการปฏิบัติ ใช้หลัก โยนิโสมนสิการ

        แบบละเอียด คือ การปฏิบัติภาวนาถึงสภาวะอนุสัยกิเลสถูกทำลายไปหมดสิ้นน่ะค่ะ

        แนวทางปฏิบัติ ใช้หลักสมถะ-วิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔

  9. อธิธัช
    ม.ค. 04, 2012 @ 06:30:55

    ขออนุญาติ อีเมล์ไปถามด้วยนะครับ

    ตอบกลับ

  10. ขุนจิตราวรพานิช
    พ.ย. 19, 2011 @ 12:35:03

    “…โมทนาสาธุ ธรรมปฏิบัติ…”

    และสิ่งที่ได้นำมาเขียนเรียบเรียงให้ได้ศึกษากัน
    คงจะได้มีโอกาสสอบถามการปฏิบัติบ้างเพื่อความถูกต้องในโอกาสต่อไปครับ…

    ตอบกลับ

  11. taekrab
    ก.ย. 14, 2011 @ 01:11:55

    อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติครับ ขออนุญาติ add contact ใน MSN นะครับ

    ตอบกลับ

  12. Aqueous
    ก.ย. 11, 2011 @ 17:06:45

    สวัสดีครับผมเคยฝึกปฏิบัติแนวยุบหนอพองหนอที่วัดหลายครั้งและเคยปฏิบัติติดต่อกันที่บ้านประมาณ 1 เดือน (กลางคืนเดิน 1 ชม.นั่ง 1ชม. เช้าปฏิบัติเหมือนกลางคืน) โดยการสอบอารมณ์กับผู้ที่ผ่านการปฏิบัติแล้ว แต่ทิ้งการปฏิบัติไปนานเนื่่องจากเวลาปฏิบัติจะเจอเวทนาทุกครั้งและกำหนดไม่หายเลยจึงเกิดอาการเบื่อไม่อยากทำต่อ ปัจจุบันก็แทบไม่ค่อยได้ปฏิบัติเลย อยากจะขอคำแนะนำว่าผมควรทำอย่างไรต่อไปครับ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ก.ย. 13, 2011 @ 17:08:11

      ขอถามรายละเอียดของการปฏิบัติได้หรือเปล่าคะ?

      ตอบกลับ

      • Aqueous
        ก.ย. 14, 2011 @ 13:20:48

        ช่วงที่ปฏิบัติตอนนั้น การยืนก็กำหนดจะยืนหนอก่อนแล้วกำหนดยืนหนอโดยใช้จิตวาดมโนภาพจากกระหม่อมถึงปลายเท้าขวาและจากปลายเท้าซ้ายขึ้นไปที่กระหม่อม 5 ครั้งโดยใช้ลมหายใจเดียวแต่ละครั้ง การยืนตอนนั้นเดินถึงระยะที่ 4 โดยกำหนดจะเดินแต่ละระยะก่อนทุกครั้งใช้ลมหายใจเดียวในแต่ละครั้ง การนั่งโดยนั่งขัดสมาธิเพ็ชรกำหนดยุบหนอพองหนอไปจนหมดเวลา ถ้ามีเวทนาหรือความคิดแทรกก็กำหนดจนหายแล้วกำหนดรู้หนดที่ลิ้นปี่ 6 ครั้งแล้วจึงปฏิบัติเดิน ยืน หรือนั่งต่อ ตอนที่ปฏิบัตินันนั่งประมาณครึ่งทางก็จะเจอเวทนาทุกครั้งจนต้องมากำหนดเวทนาจนหมดเวลาก็ยังไม่หาย สภาวะที่เจอตอนปฏิบัตินั้นก็มีทั้งจะล้มตอนยืน เจ็บลิ้นปี่ คลื้นใส้อาเจียน เหมือนมีมดไต่ตามตัว รู้สึกเบื่อเนือยๆ ฯลฯ ผมก็เคยถามคนสอบอารมณ์นะว่าถึงญานใหนแต่เขาก็ไม่บอกให้ผมปฏิบัติไปเรื่่อยๆ แต่ีผมเดาว่าประมาณญาณ 9 ตอนนี้ผมก็เริ่มมาปฏิบัติใหม่พยายามจะยืนเดิน 30 นาที นั่ง30 นาที ในแต่ละวัน

      • walailoo
        ก.ย. 16, 2011 @ 17:37:04

        ขออภัยนะคะที่ต้องพูดตรงๆ ไม่ใช่ญาณอะไรหรอกค่ะ ขนาดรูปนาม คุณยังไม่สามารถรู้ชัดโดยสภาวะ ยังมีการใช้บัญญัติเป็นอารมณ์อยู่เลย อีกอย่าง ถ้าห้ามได้ อยากจะบอกว่า อย่าไปให้ค่าในเรื่องญาณเลยค่ะ สนใจเรื่องการทำต่อเนื่องดีกว่า ในเมื่อคุณกลับมาเริิ่มปฏิบัติใหม่แล้ว ช่วยนำสภาวะมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะว่าปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

  13. Poonae Phantipa
    ก.ย. 05, 2011 @ 09:18:05

    สวัสดีค่ะ…^^ ปูมารบกวนพี่อีกแล้วนะคะ…^^ ตอนนี้ไปลงเรียนโยคะมาค่ะ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย ฝึกสมาธิ ฯลฯ พอดีเจอครูคนหนึ่งสอนดีมากเลยค่ะ ท่านแทรกเรื่องการทำสมาธิเจ้ามาด้วย แต่ไม่เยอะ..เพราะท่านเข้าใจดีว่าบางคนไม่ชอบ …(น่าแปลกใจดีค่ะ)

    ส่วนใหญ่ ปูก็ฝึกสมาธิทุก ๆ เวลาของระหว่างวัน เท่าที่จะทำได้ ฝึกรู้ มีสติ อยู่กับตัว ลมหายใจตามแต่โอกาศค่ะ บางวันก็ไม่ได่้เลย จิตตก ฟุ้งซ่าน ปัญหาสารพัดรุมเร้า….แต่ก็ผ่านมาได้ มีปัญหาก็ฝึกไปด้วยค่ะ ^^

    มาติด ๆ ตอนนั่งสมาธิกลางคืน (ทำได้ไม่กี่ครั้งเองค่ะ 2 เดือนที่ผ่านมา ประมาณ 6 ครั้ง) 3-15 นาทีใน 3 ครั้ง แรก 40-1 ชม. ในครั้งถัด ๆ มา ( ตอนเลิกนึกว่าได้เท่าเดิม 10-15 นาที แต่พอดูนาฬิกา ก็ประหลาดใจเหมือนกันค่ะ ) ในแต่ละครั้งหลัง ๆ ที่เริ่มนานขึ้น เหตุที่เลิกก่อน ไม่ใช่เพราะทนนั่งไม่ไหวนะคะ ( ครั้งแรก ๆ มีอาการเหน็บชา ก็เรียนรู้ว่าเหน็บชา ตรงไหน ผ่อนคลายหายใจสบาย สักแป๊ป ก็หายค่ะ เบาโล่งไปค่ะ) แต่เพราะมีเสียง และ ภาพ ที่ ตนเองไม่สามารถผ่อนคลายได้ค่ะ …และมีความกลัวเข้ามาแทนที่ค่ะ ดังนี้ค่ะ
    *** พอกราบหมอนนอน หลับตาเห็นแสงระยิบ เหมือนดาว ไกลๆ มองเห็นหมอนที่หนุนนอน ลาง ๆ ในความมีด ลองจับตา ว่าหลับอยู่ ลุกขึ้นมาดูลูกสาวที่นอนข้าง ๆ ก็ ok ไม่ได้ฝัน
    จึงนอนหลับตา ก็เหมือนเดิม ก็ท่องพุทธโธหลับไป ค่ะ …..( อันนี้ไม่กลัว แสงสวยดี )

    **** รู้สึกเหมือนเหวี่ยงลงไปด้านขวา ในขณะนั่งสมาธิอยู่ และมีเสียงดังก๊อก ๆ ในตู้เสื้อผ้า…จิตเริ่มกลัว ใจเต้นแรง ขนลุก หายใจเข้าสบาย ออกสบาย อยู่สักครู่ก็ไม่หาย เลยหยุดค่ะ

    ***** ตกใจ เพราะได้ยินเสียงคุณพ่อ (นอนอยู่อีกห้อง) ตะโกนไล่ “ไป ” เสียงดังมาก เลยเป็นห่วงท่าน ว่ามีอะไรหรือเปล่า ( ประมาณเกือบตี 1 ) ลุกไปดู สำรวจบ้าน ก็ปรกติดีอยู่ ไฟห้องท่านก็ปิด ..เลยเข้านอน เช้ามาถาม..ว่าเมื่อคืนนี้ได้ยินเสียงพ่อ ท่านบอกว่าฝันว่า ขี่มอเตอร์ไซด์อยู่แล้วมีหมาดำ กระโจนเข้ามากัด… ท่านเอามือปัดเต็มแรง และไล่มันไปค่ะ…

    ***** นั่งได้สักแป๊ป เห็นแสงเล็ก ๆ ไกล ๆ สักแป๊ป ก็ขุ่น ๆ ใกล้ ๆ ใหญ่ขึ้น แล้วแหวกออกตรงกาง มีภาพเหตุการณ์เคลื่อนไหวอยู่ในนั้น วิ่งไปทางด้านขวา ( ก็เห็นแล้ววาง ๆ ) ก็หายไป แล้วก็มาใหม่ ก็ทำซ้ำเดิม ๆ สักพักรู้สึกไม่มีสมาธิ เพราะฟุ้งไปถึงโทรศัทพ์ใหม่ที่ซื้อมา อยากเล่น ก็เลย …ระลึกถึงองสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ หลวงปู่ หลวงพ่อ ที่พอนึกได้ ขอน้อมรับพระธรรม มาใส่ตน เพื่อพบทางสว่างแห่งธรรมะ ที่แท้จริง เคารพในพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติดีแล้ว….ยังไม่ทันจบดี ได้ยินเสียงสวดมนต์ ของคนจำนวนมาก แว่วเข้าหูซ้ายมา ….ขนลุก ใจเต้นแรง ตกใจ…..ทำสมาธินิ่ง ๆ ก็ไม่นิ่ง แต่เสียงสวดมนต์นั้นก็หายไปแล้ว ….ก็เลยกราบหมอน แล้วเข้านอน….ค่ะ

    สำหรับตอนนี้ ก็ตั้งมั่นในการพบทางสว่างที่แท้จริง ต่อไปค่ะ .. ถ้ามีโอกาศในชาตินี้ ก็ดีใจ แต่ถ้าไม่ได้ ก็ไม่บังคับตนเองค่ะ …ทำไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ ไม่หวังจนเกินไป ^^ สวดมนต์ก่อนนอน นั่งสมาธิบ้างมีโอกาส สะดวกค่ะ….เพราะบางทีงานเยอะ กลับบ้านดึก….หรือพาลูกเข้านอนพร้อมกัน สวดมนต์แล้ว พาเค้านอน แล้วหลับตามกันไปค่ะ ^^….

    จากเรื่องที่เล่า ๆ มานี้ พี่มีความคิดเห็น หรือ แนะนำอย่างไร ยินดีนะคะ….จะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ไม่หลงทิศทางค่ะ……^^ .ขอบคุณมาก ๆ นะคะ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ก.ย. 05, 2011 @ 18:12:31

      ปรับอินทรีย์ค่ะ นอกนั้นไม่มีอะไร ส่วนเรื่องสภาวะต่างๆที่คุณนำมาเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องปกติของสมาธิ ที่บางคนอาจจะเจอ บางคนอาจจะเจอ บางคนเจอแต่ไม่รู้ว่าเจอก็มี เพราะไม่ได้ใส่ใจ

      ตอบกลับ

  14. Poonae Phantipa
    ก.ย. 01, 2011 @ 08:35:01

    เข้ามาอ่านเนื้อหาในนี้แล้วประทับใจ ได้ความรู้ สว่างขึ้นอีกหลายระดับเลยค่ะ
    ขอบคุณมาก ๆ นะคะ ที่แบ่งปันสิ่งดี ๆ เหล่านี้ ไว้ให้ได้มีโอากาสเรียนรู้่และศึกษาด้วยค่ะ

    ชื่อ ปู นะคะ (ปัจจุบันอายุ 36 ปี) ^^ เริ่มแก่ละ …ส่วนตัว เพิ่งจะได้มีโอกาสรู้จักธรรมะ
    ที่แท้จริง ธรรมะ ธรรมดา ธรรมชาติ….มองข้ามสิ่งนี้ไปนาน เข้าใจแต่ว่า เป็นคนดี คิดดี
    ทำดี …ทำบุญตามโอากาสสะดวก อยู่ในศีลธรรมอันดี แค่นั้น ก็เพียงพอแล้ว ….ใช้ชีวิตลั้นลา
    พอสมควรค่ะ …^^ …พอมาพบทางสงบ สุขที่แท้จริง ( ด้วยเหตุบังเอิญ หลาย ๆ อย่างประกอบกันค่ะ ) วันวันเกิดครบรอบ 36 ปี พอดีในปีนี้ 4/7/2554 ….วิถีการดำเนินชีวิต ค่อย ๆ ปรับสู่ความเรียบง่ายขึ้นตามลำดับค่ะ ….แต่เป็นการยากมาก สำหรับเปลี่ยนคนในครอบครัว โดยเฉพาะลูก ๆ ที่ปูเอง เลี้ยงเค้ามาแบบ สุขสบาย จนเคยตัวกันไปแล้ว….แต่ก็ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปค่ะ เพราะปรกติ ก็ทำบุญ ไปวัด เป็นปรกติ เค้าก็จะอยู่ในทางธรรม อยู่แล้ว ….เพียงแต่ส่วนอื่น ๆ ค่อนข้างฟุ้งเฟ้อ พอสมควร (55++) ………..เด็ก ๆ เค้าเข้าใจง่าย และ น้อมรับไปปรับปรุงตนเอง ทีละนิด ละน้อย …ตามสภาวะเด็ก ๆ อ่ะค่ะ …^^

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ก.ย. 01, 2011 @ 14:39:45

      อนุโมทนาค่ะ

      ในโลกของตามความเป็นจริง ทุกรูปทุกนาม หรือที่เรียกว่าทุกสรรพสัตว์ ไม่มีคำว่าเพศ, วัย มาเป็นเหตุปัจจัยในการเห็นตามความเป็นจริง มีแต่เหตุที่เราทำขึ้นมานี่แหละค่ะ ที่ทำให้ได้เห็นตามความเป้นจริงช้าเร็วแตกต่างกันไป เพราะเหตุที่ทำมา

      ตอบกลับ

  15. Poonae Phantipa
    ก.ย. 01, 2011 @ 08:16:44

    สวัสดีค่ะ …คุณ walailoo ….
    ปู นะคะ ….ได้รับการแนะนำจากคุณสมิทธ์ค่ะ

    ตอบกลับ

  16. สมิทธ์ สุขขี
    ส.ค. 13, 2011 @ 03:41:26

    ขอบคุณมากครับ ที่สละเวลามาตอบ ผมจะลองไล่อ่านตามที่คุณบอกมาละกันนะครับ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ส.ค. 14, 2011 @ 06:35:15

      เราทุกรูปทุกนาม ล้วนเป็นเพื่อนพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่การที่จะรู้รู้ตามความเป้นจริงได้ ต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเอง

      แรกเริ่มเรียนรู้เรื่องกาย เวทนา จิต ธรรม ย่อสั้นๆเหลือกายและจิต สุดท้ายเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ เราต้องรู้จักจิตที่ถ่องแท้ของตนเองก่อน แล้วเรื่องวิธีการต่างๆ ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เคยยึดติดอยู่จะค่อยๆปล่อยวางลงไปเอง

      เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้จิตแบบหยาบๆก่อนนะคะ โดยต้องอาศัยจิตที่ตั้งมั่น คือ สมาธิ แต่เป้นสมาธิที่มีความรู้สึกตัว

      อิริยาบทหลักที่ขาดไม่ได้เลย คือ เวลาที่ทำเต็มรูปแบบ ปรับอินทรีย์โดยการเดินก่อนที่จะนั่ง แล้วหมั่นสังเกตุดูสภาวะที่เกิดขึ้น หากจิตยังติดอยู่ในความสงบแบบที่เคยเป็น ให้เพิ่มอิริยาบทเดิน จนกว่าจะสามารถรู้ชัดที่กายส่วนอื่นๆได้

      ทำไปก่อนนะคะ แล้วค่อยมาถามใหม่ หากยังมีข้อสงสัยอยู่

      ตอบกลับ

      • สมิทธ์ สุขขี
        ส.ค. 22, 2011 @ 00:47:11

        ขอบคุณมากเลยครับ ตอนนี้พยายามเดินให้มากขึ้น รู้สึกว่าดีมากขึ้นจริงๆครับ มีสมาธิมากกว่าเดิม จะพยายามเดินให้มากขึ้นอีกครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ ถ้าปฏิบัติก้าวหน้าติดขัดอย่างไร ผมขออนุญาตมาถามอีกนะครับ

      • walailoo
        ส.ค. 22, 2011 @ 15:04:10

        อนุโมทนาค่ะ ทำทุกวันนะคะ แล้วจะเห็นผลชัดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วคุณจะขอบคุณในเหตุใหม่ของการเจริญสติที่กำลังเริ่มทำอยู่ค่ะ

  17. สมิทธ์ สุขขี
    ส.ค. 11, 2011 @ 00:54:58

    ก็ตามหลักอานาปานสติ เป็นส่วนใหญ่ คำภาวนาก็ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ไม่ทราบว่าจะเป็นไรไหมครับ ส่วนใหญ่จะอ่านจากอานาปาสติสูตร แล้วก็หนังสืออานาปานสติของท่านพุทธทาส ครับ ดูท้องยุบเข้าออก นี่ก็ใช้เป็นบางครับ เพราะบางทีตามลมไม่ทัน ก็ดูท้องครับ ทำแบบหลายสายมากเลยครับ แต่เน้นอานาปานสติเป็นหลัก

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ส.ค. 12, 2011 @ 11:04:40

      สภาวะทั้งหมดที่คุณถามมา คุณเพียงใช้การปรับอินทรีย์เข้าช่วยเท่านั้นเองค่ะ

      คือ เดินก่อนที่จะนั่ง ถ้าดูลมหายใจ แล้วลมหายใจหายไป ต่อจากนั้น ให้ดูเรื่องการรู้กายและจิตเป็นหลัก

      มีสภาวะอะไรเกิดขึ้น ให้รู้ไปตามนั้น

      จริงๆแล้ว สิ่งที่คุณถามมา มีคำตอบอยู่ในบล็อก เพียงแต่คิดว่า คุณคงเลือกอ่านแค่เพียงหัวข้อที่ต้องการอ่านเท่านั้นเอง

      ข้อแนะนำ ขอให้คุณไล่อ่านไปทีละเรื่อง เช่น สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ , จิตที่ตั้งมั่น , การกำหนด , การเดินจงกรมฯลฯ

      ลองไล่อ่านไปเรื่อยๆนะคะ หัวข้อจะอยู่ด้านทางขวามือของหน้า

      อ่านแล้วสงสัยตรงไหนถามได้ค่ะ

      ตอบกลับ

  18. สมิทธ์ สุขขี
    ส.ค. 10, 2011 @ 00:48:25

    เท่าที่ฝึกมาส่วนใหญ่ก็มีความรู้ตัวดี แต่พอรู้สึกว่าจิตรวมแล้ว ก็ไม่รู้จะพิจารณาอะไรต่อครับ หรือปล่อยไว้เฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ส.ค. 10, 2011 @ 17:44:18

      ตรงนี้ต้องขอถามกลับนะคะ

      การปฏิบัติ ทำแบบไหนคะ กรุณาช่วยบอกรายละเอียดด้วยต่ะ เช่น ใช้พุทโธตามลมหายใจเข้าออก หรือรู้ไปตามลมหายใจเข้าออกโดยไม่ได้ใช้คำภาวนา

      หรือใช้พองหนอยุบหนอตามลมหายใจเข้าออก หรือดุท้องพองยุบตามลมหายใจเข้ออกโดยไม่ต้องใช้พองยุบกำกับ

      หรือว่าปฏิบัติแบบอื่นๆ ช่วยบอกรายละเอียดด้วยค่ะ

      ตอบกลับ

  19. สมิทธ์ สุขขี
    ส.ค. 08, 2011 @ 02:46:00

    ขอคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติหน่อยครับ จำเป็นไหมครับ ที่เราต้องรู้ว่าสมาธิของเรา อยู่ในองค์ฌาณใด หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ การที่จะรักษาสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น เวลารู้สึกว่าจิตสงบแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความลังเลสงสัย สมาธิเลยไม่ต่อเนื่อง ต้องเริ่มต้นใหม่บ่อยๆ เราควรจะวางจิตเราอย่างไรครับ ที่จะทำให้เราอยู่ในสมาธิได้นานๆ

    ตอบกลับ

    • walailoo
      ส.ค. 09, 2011 @ 16:50:54

      คำถาม

      จำเป็นไหมครับ ที่เราต้องรู้ว่าสมาธิของเรา อยู่ในองค์ฌาณใด หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ

      ตอบ ไม่จำเป็นค่ะ

      คำถาม

      การที่จะรักษาสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น เวลารู้สึกว่าจิตสงบแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความลังเลสงสัย สมาธิเลยไม่ต่อเนื่อง ต้องเริ่มต้นใหม่บ่อยๆ

      คำตอบ

      สมาธิก็ไม่เที่ยงค่ะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะไปยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ค่ะ

      คำถาม

      เราควรจะวางจิตเราอย่างไรครับ ที่จะทำให้เราอยู่ในสมาธิได้นานๆ

      คำตอบ ฝึกทำต่อเนื่องค่ะ

      คำตอบที่ตอบไป ตอบแค่ตามสภาวะที่ถามมา จริงๆแล้วต้องคุยรายละเอียดมากกว่านี้ค่ะ

      เพราะสภาวะของสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญา เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัวค่ะ ไม่ใช่แค่ความสงบอย่างเดียว

      ตอบกลับ

  20. ปัจจัตตัง
    ก.ค. 05, 2011 @ 01:13:20

    เขียนบล๊อกได้ดีมากครับ เนื้อหาแต่ละเรื่องไม่มาก ไม่น้อย ทุกเรื่องน่าสนใจ บออนุโมนาด้วยครับ

    ตอบกลับ

  21. อนัตตา
    ก.ค. 02, 2011 @ 15:12:54

    หนูเบื่อตัวเองและเบื่อการปฏับัติ เวลาปฏิบัติแล้วมันฟุ้ง พยายามดึงจิตกลับมาแล้ว มันก็ออกไปอีก ทำได้ไม่นานก็เลิก มันเลยทำให้ไม่อยากปฏิบัติ หนูพยายามไม่อยากให้ตัวเองสงบแล้วนะ มันก็ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่ทำให้หายไปเลยค่ะ เบื่อตัวเองจริง ๆ ทำยังงัยถึงจะหายค่ะ

    ตอบกลับ

  22. ik
    มิ.ย. 24, 2011 @ 10:12:41

    บลอกดีมากเลยค่ะ ละเอียดแล้วก็เนื้อหาเยอะ น่าสนใจ อ่านเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ ขอบคุณนะคะ

    ตอบกลับ

  23. ตั้น
    มิ.ย. 23, 2011 @ 04:46:37

    พี่ถ้ารู้สึกเบื่อเวลาฝึกสติปัฎฐาน4 ต้องทำอย่างไร ถ้าผมเปลี่ยนเป็นดูจิตแทนไปเรื่อยๆได้ไหม เราดูความเบื่อมันไปเรื่อยๆเหรอครับ ไม่ต้องไปตั้งความหวังกับมัน แต่ดูมันเป็นไปตามธรรมชาติของมันเรื่อยๆอย่างนั้นเหรอ

    ตอบกลับ

ใส่ความเห็น

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ