๒๖ ธค.๕๔ (การตรวจสอบ ทบทวนดูมรรค)

สบายใจ …

รอบแรก เดิน ๒ ๑/๒ ชม. นั่ง ๑ ๑/๒ ชม.

เรื่องชวนะจิตต่างๆที่มีการจดบันทึกไว้ของครูอาจารย์ต่างๆ

ขณะที่รู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ขณะที่รู้แจ้ง จะไม่มีคำเรียกใดๆ ชวนะจิตต่างๆที่ตำราเขียนไว้ เพียงสักแต่ว่า … ตามความรู้ของอาจารย์ท่านนั้นๆ แต่สภาวะที่กล่าวตรงกันคือ อาศัยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือ สังขารุเบกขาญาณ

ไตรลักษณ์

สภาวะไตรลักษณ์มี ๒ สภาวะ ได้แก่ แบบหยาบ ๑ แบบละเอียด ๑

แบบหยาบ ได้แก่ สภาวะไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้จิตเกิดการปล่อยวาง (จากสังขาร ได้แก่ สภาวะอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตตั้งแต่อุทยัพพยญาณอย่างแก่ ตามลำดับ ก่อนจะเกิดสภาวะสังขารุฯ)

แบบละเอียด ได้แก่ สภาวะไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นขณะจิตอยู่ในสภาวะสังขารุฯ ก่อนจะรู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔

หมายเหตุ ต้องแยกแยะสภาวะระหว่าง สภาวะจตุถฌาน กับสภาวะสังขารุเบกฯให้ออกด้วย บางคนหลงสภาวะเพราะเหตุนี้ก็มี การเกิดขึ้นของสภาวะจตุถฌาน เกิดจากกำลังของสติ, สัมปชัญญะและสมาธิเป็นหลัก จิตจึงเกิดสภาวะอุเบกขา

ส่วนสภาวะสังขารุฯ เกิดจากสภาวะไตรลักษณ์ คนละลักษณะและเหตุที่ทำให้ที่เกิดขึ้นคนละอย่างกัน ดูผิวเผินอาจจะทำให้คิดว่าทั้ง ๒ สภาวะนี้ เป็นสภาวะเดียวกัน

จุดเด่นโดยเนื้อแท้ของสภาวะสังขารุฯ คือ จะมีสภาวะทิศากากะ(จิตสัปหงก) เกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้ง

จุดเด่นของสภาวะจตุถฌาน คือ สภาวะอุเบกขาที่เกิดขึ้น

ส่วนเรื่องไตรลักษณ์แบบหยาบนั้น เป็นเหตุของจิตเกิดการปล่อยวางจากสังขาร หรือ สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ว่าจะเป็นสภาวะ ภยญาณ, นิพพิทาญาณ ฯลฯ จิตจะเกิดสภาวะต่างๆเหล่านี้ ซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งจิตเกิดความเบื่อหน่ายในสภาวะที่เป็นอยู่

ปัญญาที่เกิดขึ้น จะเห็นแต่เหตุของการเกิด และผลที่ได้รับ คือ ภัยของการเกิด ทุกข์และโทษของการเกิด เป็นเหตุให้ จิตเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เป็นเหตุให้ เกิดวิริยะ คือความเพียร มุ่งปฏิบัติต่อเนื่องไม่ท้อถอย

เกิดเป็นทุกข์เพราะเกาะเกี่ยวอารมณ์นั้นๆอยู่ ดูบ่อยๆ รู้ลงไปบ่อยๆ (ที่มาของคำว่า “ทุกข์มีไว้ให้กำหนดรู้”) แล้วจะเห็นความไม่เที่ยงของสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตเกิดการปล่อยวางในที่สุด
สภาวะสังขารุเบกฯจึงเกิดขึ้น สภาวะนี้จะเกิดขณะจิตเห็นตามความเป็นจริง โดยตัวของจิตเองเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจากการน้อมเอา คิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวางแต่อย่างใด

เมื่อสภาวะสังขารุเบกขาฯ เกิดขึ้น เมื่อพละ ๕ พร้อม สภาวะการเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ จะเกิดขึ้นเอง หากพละ ๕ ยังไม่มีกำลังมากพอ สภาวะจะวกกลับลงไปที่สภาวะอุทยัพพยญาณใหม่อีกครั้ง วกวน กลับวนไป วนมาอยู่แบบนี้ สภาวะที่เกิดขึ้นจะเดิมๆซ้ำๆ เหมือนย่ำอยู่กับที่

โดยเฉพาะ ความอยากรู้ อยากเห็น อยากมี อยากเป็น อยากได้ ความทะยานอยาก อยากพ้นทุกข์ ตลอดจนความยินดีพอใจที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวปิดกั้นสภาวะการเห็นแจ้งไม่ให้เกิดขึ้น เรียกว่า สภาวะการเห็นแจ้ง จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ จิตนี้ปราศจากกิเลสต่างๆ

การตรวจสอบ ทบทวนดูมรรค

การรู้ปริยัติ ก็มีความสำคัญ ไม่ใช่ไม่สำคัญ เมื่อมีคิดว่าตัวเองได้อะไร เป็นอะไร หรือคิดว่า รู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง จำเป็นต้องอาศัยปริยัติ สำหรับผู้ไม่รู้ปริยัติ ก็ควรรับฟังจากผู้ที่เคยผ่านสภาวะนั้นๆมาแล้ว

ในการทบทวนที่สำคัญ ตัวสภาวะที่แท้จริงจะเป็นตัวบ่งบอกสภาวะเอง ว่าที่ผ่านมาได้นั้น จนกระทั่งเห็นแจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ได้ ผ่านทางไหน เพราะสภาวะนี้จะเกิดเพียงชั่วเสี้ยววินาที รู้แล้วรู้เลย เปรียบประดุจสายฟ้าฟาดลงมา

การที่ครูอาจารย์ท่านบันทึกไว้ว่า บางคนผ่าน(เห็นแจ้ง) ทาง ทุกข์ขัง บางคนผ่านทางอนิจจัง บางคนผ่านทางอนัตตา สภาวะนี้หมายถึง ขณะที่สภาวะอริยัสจ ๔ กำลังจะเกิดขึ้น ในช่วงเศษเสี้ยววินาทีนั้น ไม่ใช่เกิดจากการคิดพิจรณา หรือเกิดจากการปล่อยวาง

สภาวะจะเกิดที่สภาวะยอดสังขารุฯ หรือที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ว่า เป็นสภาวะจิตสัปหงก เรียกว่า สภาวะทิศากากะ ที่เกิดขึ้นในสภาวะสังขารุฯ ที่สำคัญ จิตขณะนั้น ต้องปราศจากกิเลสต่างๆ โดยเนื้อแท้ของจิตเอง สภาวะนี้จะเกิดคั่นกันอยู่

ไม่ใช่การเห็นโดยนิมิตต่างๆ ไม่ว่า จะนิมิตรูป, แสง, สี, เสียงต่างๆ นิมิตเหล่านั้น ล้วนเกิดขึ้นจากตัณหาความทะยานอยากที่อยู่ในจิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของนิมิต ทำให้หลงสภาวะ คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร

ในเมื่อเหตุมี ผลย่อมมี ย่อมมีวิธีตรวจสอบว่า ที่ผ่านนั้น ผ่านจริงหรือไม่ ที่ว่ารู้นั้น รู้จริงหรือไม่ เหตุเพราะบางทีมียึดแต่ไม่รู้ว่ายึด จึงต้องมีการตรวจสอบตัวเองเพราะเหตุนี้ หรือไม่ตรวจสอบ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่

๑. สำรวจทบทวนดูมรรค

สำรวจทบทวนดูมรรค “ข้าพเจ้ามาด้วยมรรคนี้แน่นอน”

การตรวจสอบว่าผ่านทางไหน ผู้ที่ผ่าน จะจดจำสภาวะขณะที่เกิดขึ้นได้แม่นยำ เพราะจะเกิดเพียงครั้งเดียว เหมือนตายทันทีขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเกิดมีชีวิตใหม่ทันที โดยที่ยังอาศัยอยู่ในเปลือกหรือร่างเดิมอยู่ แต่จิตที่เกิดขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนไป

เช่นตัวผู้เขียน ผ่านทางทุกข์ขัง จดจำสภาวะได้แม่นยำ จำได้ทุกขณะที่เกิดสภาวะนั้น จะไม่มีคำเรียก ไม่มีคำว่าได้อะไร เป็นอะไร หรือเรียกว่าอะไร นั่นคือ ครั้งแรกของการได้รู้จักกับคำว่า “สภาวะ, รูปนาม และสมมุติ” โดยไม่ต้องรู้ปริยัติ คือจะรู้เอง แต่ไม่มีการบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร นี่คือ การทบทวนดูมรรค ว่าผ่านทางไหน

๒. สำรวจทบทวนดูผล

สำรวจทบทวนดูผล “ข้าพเจ้าได้อานิสงส์นี้แล้ว”

การจะรู้แน่ชัดว่า ได้อานิสงส์นี้จริงหรือไม่ ให้ดูสภาวะสำรวจทบทวนพระนิพพาน นั่นคือสภาวะที่สำคัญที่สุด การรู้แจ้งในสภาวะพระนิพพานตามความเป็นจริง ที่สามารถนำมาอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำตามได้ เพียงแต่ใครจะเชื่อหรือ ไม่เชื่อ นั่นคือเหตุของแต่ละคน

ไม่ใช่พระนิพพานตามบัญญัติที่นำมากล่าวต่อๆกัน เช่น นิพพานเป็นวิมุติบ้าง นิพพานเป็นเมืองแก้วบ้าง นิพพานเป็นโน่นเป็นนี่บ้าง เรียกว่านำมาอธิบายตามบัญญัติ ลักษณะแบบนั้น ยังไม่ใช่การเห็นสภาวะพระนิพพานตามความเป็นจริง
แต่เป็นการเห็นโดยสัญญา ที่เกิดจากการอ่าน, ฟังเขาเล่าว่ามา หรือแม้กระทั่งจากการเรียนรู้

๓. สำรวจทบทวนดูกิเลสข้อนี้ๆ ได้แล้ว

สำรวจทบทวนดูกิเลสข้อนี้ๆ ได้แล้วว่า “ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ๆ ได้แล้ว

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะอรยิสัจ ๔ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ เป็นเหตุให้ รู้ชัดว่า สภาวะผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดจากเหตุปัจจัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้สภาวะ
สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพตปรามาส ๑ อปายคมนียกามราคะ ๑ อปายคมนียปฏิฆะ ๑ ถูกประหานลงไป

๑. สักกายทิฏฐิสังโยชน์ คือ ความเห็นที่ว่ามีอัตตา ได้แก่ ความเห็นที่มีอัตตา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเอาความมีตัวตนที่มีอยู่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือผัสสะที่เกิดขึ้น

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีผัสสะต่างๆเกิดขึ้น เหตุจาก ไม่รู้ในเหตุปัจจัยของผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ใช้ความรู้สึกนึกคิด ตัดสินลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ถูก, ผิด, ดี, ชั่วตามความรู้สึกชอบ,ชัง ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มีกับสิ่งๆนั้น

๒. วิจิกิจฉาสังโยชน์ คือ ความสงสัยลังเลใจ ได้แก่ ความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยว่าที่นำมากล่าวๆกัน หรือจากทีได้อ่าน ได้ฟัง ได้เรียนรู้มานั้น มีจริงไหม สงสัยในพระนิพพานว่ามีจริงไหม และมีลักษณะอย่างไร

๓. สีลัพตปรามาสสังโยชน์ สามารถแยกแยะสภาวะได้ว่า การปฏิบัติเช่นใด จึงเป็นเพียงสภาวะลูบคลำศิล

๔. อปายคมนียกามราคะ คือ ความกำหนัดในกาม ชนิดที่ทำให้ไปเกิดในอบาย (แบบหยาบ) ได้แก่ มีผัสสะภายนอกเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

เมื่อสามารถแยกแยะความรู้สึกนึกคิด และรู้ชัดในสภาวะกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม เป็นเหตุให้สามารถแยกแยะรายละเอียดของสภาวะต่างๆได้
เช่น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น ตากระทบรูปฯลฯ ก่อให้เกิดความกำหนัดในกาม หรือกามราคะเกิดขึ้นในรูปนั้นๆ

เมื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงของผัสสะได้ว่า เหตุของการเกิดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อผัสสะนั้นๆ เกิดขึ้นจากอะไร ความรู้สึกจะหยุดอยู่แค่นั้น เพียงมนสิการไว้ในใจ คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต

ได้แก่ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต แต่ไม่ปล่อยให้ล่วงละเมิดทั้งมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม เช่น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น ตากระทบรูปฯลฯ ก่อให้เกิดกามราคะหรือความความกำหนัดในกามขึ้นในรูปนั้นๆ

เหตุเพราะ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงแล้วว่า เหตุของการเกิดผัสสะที่แท้จริงเกิดจากอะไร และรู้ว่า เหตุของการเกิดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อผัสสะนั้นๆ เกิดขึ้นจากอะไร ความรู้สึกจะหยุดอยู่แค่นั้น
เพียงมนสิการไว้ในใจ คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต แต่ไม่ปล่อยให้ล่วงละเมิดทั้งมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม

สภาวะที่เกิดขึ้น

ไม่ล่วงละเมิดทางมโนกรรม คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามความคิด จนกลายเป็นสร้างจินตนาการขึ้นมา ได้แก่ มนสิการไว้ในใจว่ามีกิเลสชนิดนี้เกิดขึ้น แต่ไม่จินตนาการต่อ

ไม่ล่วงละเมิดทางวจีกรรม คือ ไม่ปล่อยออกไปทางคำพูด ได้แก่ ใช้คำพูดในทางแทะโลม หรือใช้คำพูดเกี้ยวพาราสี พูดจาเชิงชู้สาว ฯลฯ

ไม่ล่วงละเมิดทางกายกรรม คือ ไม่ปล่อยออกไปทางกายกรรม ได้แก่ ถึงขั้นเสพกามร่วมกันกับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ของตน หรือแม้กระทั่งบุคคลอื่นที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองหรือแม้กระทั่งคู่ครองของผู้อื่น ฯลฯ

๕. อปายคมนียปฏิฆะ คือ ความโกรธเคืองขัดแค้น ชนิดที่ทำให้ไปเกิดในอบาย (แบบหยาบ) ได้แก่ ผัสสะภายนอก เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

เมื่อสามารถแยกแยะความรู้สึกนึกคิด และรู้ชัดในสภาวะกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม เป็นเหตุให้สามารถแยกแยะรายละเอียดของสภาวะต่างๆได้
เช่น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น ตากระทบรูปฯลฯ ก่อให้เกิดความขัดเคืองใจให้เกิดขึ้น หรือโทสะเกิดขึ้นในรูปนั้นๆ

เมื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงของผัสสะได้ว่า เหตุของการเกิดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อผัสสะนั้นๆ เกิดขึ้นจากอะไร ความรู้สึกจะหยุดอยู่แค่นั้น เพียงมนสิการไว้ในใจ คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต

ได้แก่ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต แต่ไม่ปล่อยให้ล่วงละเมิดทั้งมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม เช่น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น ตากระทบรูปฯลฯ ก่อให้เกิดกามราคะหรือความความกำหนัดในกามขึ้นในรูปนั้นๆ

เหตุเพราะ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงแล้วว่า เหตุของการเกิดผัสสะที่แท้จริงเกิดจากอะไร และรู้ว่า เหตุของการเกิดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อผัสสะนั้นๆ เกิดขึ้นจากอะไร ความรู้สึกจะหยุดอยู่แค่นั้น
เพียงมนสิการไว้ในใจ คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต แต่ไม่ปล่อยให้ล่วงละเมิดทั้งมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม

สภาวะที่เกิดขึ้น

ไม่ล่วงละเมิดทางมโนกรรม คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามความคิด จนถึงขั้นคิดว่า อยากให้ผู้นั้นเป็นอย่างเช่นตนบ้าง อยากให้ผู้นั้น พบเจอเหตุการณ์อย่างเช่นตนบ้าง ฯลฯ
สภาวะเช่นนี้ เป็นสภาวะของความโกรธที่แฝงด้วยความพยาบาท

ไม่ล่วงละเมิดทางวจีกรรม คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามความคิด จนกระทั่งนำความรู้สึกนึกคิดนั้นๆก่อให้เกิดเป็นการกระทำออกมาทางวจีกรรม ได้แก่ การสาปแช่งอีกฝ่ายหนึ่ง
ขอให้เป็นไปต่างๆนานา หรือก่อให้เกิดการกระทำทางวาจาต่างๆนานา ขณะที่เกิดความคับแค้นใจ ฯลฯ

ไม่ล่วงละเมิดทางกายกรรม คือ ยอมรับตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามความคิด จนกระทั่งนำความรู้สึกนั้นๆ ก่อให้เกิดเป็นการกระทำออกมาทางกายกรรม ได้แก่ การเขียนสาปแช่งอีกฝ่ายหนึ่ง
ขอให้มีอันเป็นไปต่างๆนานา ฯลฯ

๔. สำรวจดูกิเลสที่ต้องถูกฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๓ เบื้องสูง

สำรวจดูกิเลสที่ต้องถูกฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๓ เบื้องสูงว่า กิเลสข้อนี้ๆ ของข้าพเจ้ายังเหลืออยู่

เมื่อสภาวะสมุจเฉทประหานเกิดขึ้น สมาธิที่มีอยู่จะหายไปหมดสิ้น เป็นเหตุให้ เวลาผัสสะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม จะเห็นกิเลสต่างๆหรือความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตได้อย่างชัดเจน เหตุเพราะ ไม่มีสมาธิเหลืออยู่
จึงไม่มีอะไรมากดข่มกิเลสที่มีอยู่ มีแต่สติที่เหลืออยู่ตามความเป็นจริง

๕. สำรวจทบทวนดูพระอมตะนิพพาน

สำรวจทบทวนดูพระอมตะนิพพานว่า “ธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงทะลุโดยอารมณ์แล้ว”

สภาวะพระนิพพานนี้ จะหลอกตัวเองไม่ได้เลย เพราะผู้ที่รู้แล้ว จะรู้เหมือนๆกัน รู้โดยสภาวะ ไม่ใช่รู้โดยบัญญัติ หรือคำเรียกต่างๆ ถ้าบอกว่า “รู้” แต่ยังต้องนำสภาวะนิพพานเปรียบเทียบกับสิ่งโน้นสิ่งนี้ นั่นคือ รู้ตามสัญญา

รู้พระนิพพาน รู้แล้วต้องดับ ดับที่ต้นเหตุอันเป็นแดนเกิดของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่ใช่บอกว่า “รู้” แต่ยังมีการสร้างเหตุที่เป็นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร นั่นคือ ยังรู้ไม่จริง

รู้จริงต้องแจ้งในสภาวะของพระนิพพานตามความเป็นจริง ส่วนเรื่องอภินิหารต่างๆนั้น การเห็นโน่น เห็นนี่ รู้โน่นรู้นี่ เป็นเรื่องของสมาธิ เมื่อรู้แล้ว จะรู้ว่าเป็นผลพลอยได้จากสมาธิ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องวิเศษอะไร

ผิดกับสภาวะการละสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา ผู้ที่รู้ปริยัติ จะโดนกิเลสหลอกได้แบบเนียนสนิท เกิดเนื่องจากวิปัสสนูกิเลสที่เกิดขึ้น เกิดจากความศัรทธาที่มีอยู่

เป็นเหตุให้หลงยึดสภาวะสัญญาที่เกิดขึ้น ปัญญาการเห็นตามความเป็นจริง หรือสภาวะการรู้แจ้งแทงตลอด จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะเหตุนี้ รู้มากจึงยากนานเพราะเหตุนี้ เพราะยึดติดในรู้ที่มีอยู่

ในแนวทางการปฏิบัติ ตลอดเส้นทางเดินนี้ กับดักของกิเลสเกิดตลอดทาง เมื่อใดที่เกิดการยึดติดในสภาวะที่เกิดขึ้น จงรู้ไว้เถิดว่า นั่นคือ ตกหลุมกับดักกิเลสเข้าแล้ว ของจงมีสติ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น รู้ได้ แต่อย่ายึด

ที่สำคัญที่สุด คือ เหตุนอกตัว ยิ่งสร้างเหตุนอกตัวมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นตัวอุปสรรคในการเห็นแจ้งตามความเป็นจริงของสภาวะ ถึงแม้คิดว่า เป็นการกระทำด้วยความปรารถนาดีก็ตาม อย่าลืมว่า ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง

ความปรารถนาดีเหล่านั้น ล้วนเกิดจากกิเลสในใจ เกิดจากอุปทานที่มีอยู่ ความปรารถนาดีต่างๆนั้น ล้วนเกิดจากความรู้สึกนึกคิด เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่มีอยู่ หนทางเนิ่นช้า ยืดยาวเพราะเหตุนี้ จงวางความปราถนาดีต่อผู้อื่น

หันกลับมาสร้างความปรารถนาดีให้กับตัวเองก่อน ไม่งั้น จะพากันจมน้ำตายทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่ทั้งนี้เหตุมี ผลย่อมมี ห้ามใครไม่ได้เลย เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างหรือทำขึ้นมาใหม่

……………………………………………………………………………………..

“ปัจจเวกขณะ คือ การสำรวจทบทวนของของอริยบุคคล มี ๕ ข้อ

ปัจจเวกขณญาณของพระโสดาบันเป็นอย่างใด แม้ปัจจเวกขณะของพระสกทาคามีและพระอนาคามี ก็เป็นอย่างนั้น แต่ของพระอรหันต์ ไม่มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่เหลืออยู่ (เพราะ ท่านละกิเลสได้หมดแล้ว ไม่มีเหลือ)

เพราะฉะนั้น ที่เรียกว่า ปัจจเวกขณะ คือ การสำรวจทบทวนดู (ของพระอริยเจ้าทุกชั้น) และนี้เป็นการกำหนดอย่างสูง แม้พระเสขบุคคลทั้งหลายเอง
ท่านก็มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่ท่านละได้แล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่บ้าง ไม่มีการสำรวจทบทวนดูบ้าง

เช่น เจ้าศากยะ มหานาม (ซึ่งเป็นพระสกทาคามี อริยบุคคล) ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“ยังมีธรรมชื่ออะไรอีกหรือ ที่หม่อมฉันมิได้ละแล้วภายในตน ซึ่งเป็นเหตุให้สิ่งที่เรียกว่า โลภะทั้งหลาย ครอบงำจิต ของหม่อมฉันในกาลบางคราว?” ดังนี้
ม. มู. ๑๒/๑๗๙

ก็เพราะ เจ้าศากยะมหานามนั้น ไม่มีปัจจเวกขณะ คือ การสำรวจทบทวนดูนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ พึงทราบโดยพิศดารต่อไป”

จาก วิปัสสนานิยม นายธนิต อยู่โพธิ์ ป.ธ. ๙ ผู้เรียบเรียง

หมายเหตุ เรื่องเจ้าศายวงศ์ ทุกสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัย เพราะเจ้าศายวงศ์ไม่รู้ปริยัติ แต่เชื่อในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคสอน และทำตามทุกอย่าง เมื่อผ่านสภาวะนั้นๆมา จึงเล่าสภาวะให้พระผู้มีพระภาคฟัง และสอบถามถึงสภาวะกิเลสที่รู้ชัด ที่ยังมีอยู่

เพราะผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะนั้นๆแล้ว จะทบทวนกิเลสที่เหลืออยู่ทุกๆคน แม้กระทั่งไม่รู้ปริยัติก็ตาม เหตุจากสภาวะปัจจะเวกที่เกิดขึ้น คือมี แต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร จึงกล่าวว่าไม่มี

เมื่อสภาวะปัจจเวกขณะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ รู้ชัดในสภาวะกิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ตามความเป็นจริง ถ้าไม่ผ่าน จะไม่มีทางรู้ชัดในสภาวะกิเลสต่างๆทั้งหมดได้ เหตุเพราะ กำลังของสมาธิที่มีอยู่ กดข่มกิเลสเอาไว้ส่วนหนึ่ง และประกอบด้วยสติ ทีมีอยู่ รู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เป็นเหตุให้ ไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะกิเลสที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

๒๕ ธค.๕๔

วันหยุด แต่ไม่หยุด เพราะทุกเวลา ทุกๆวัน ทุกลมหายใจเข้าออก นับวัน สภาวะสามธิที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นธรรมชาติมากขึ้น เหมือนหนึ่งทุกลมหายใจเข้าออก มีบางครั้งที่หนักหน่วง แนบแน่น รู้ขึ้นมาเองทุกระยะ

วันนี้ทำงานบ้านไปด้วย สมาธิเกิดตลอด พักในสมาธิบ้างเป็นระยะๆ แต่ไม่ค่อยแนบแน่นมากเท่าที่ทำงาน อาจเพราะงานบ้านมีเรื่อยๆทั้งวัน ทำๆหยุดๆ ขี้เกียจก็หยุด นึกอยากจะทำก็ทำ คุณสามีไม่ต้องพูดถึง ฟังเทศน์ทั้งวัน

เขามันพวกสมาธิเยอะ ที่ห้องเราจัดที่ให้เหมาะสมกับสภาวะของเขา อย่างที่เคยเล่า สัปปายะเขาคือโซฟา นั่งทีไร ดิ่งทุกครั้ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะนั่งหรือนอนของเขา ล้วนเป็นการทำสมาธิตลอด เขาไม่นอนพื้น แต่กึ่งนั่งกึ่งนอนอยู่บนโซฟา

ปล่อยให้เขาทำตามสภาวะของตัวเขาเอง วันใดเมื่อถึงเวลา เขาจะทำเหมือนที่เราทำ ทางมีทิ้งไว้ให้แล้ว ที่เหลือ ทำเอาเอง

การปฏิบัติของเขา อยู่ในคำเรียกว่า “ฉันทสมาธิ” คือ ทำตามสภาวะของตัวเอง ไม่มีรูปแบบ เพียงแต่ฝึกจิตให้รู้รสชาติสภาวะของสมาธิ ชีวิตคู่ของเราทั้งสองคน จึงดูเหมือนสะดวกสบายไปทุกอย่าง และเหมาะกับสภาวะของเราทั้งสองคน

เขาอายุ ๓๔ ปี ยังมีสภาวะได้ขนาดนี้ เป้าหมายที่เขาวางไว้คือ การออกบวช และมุ่งปฏิบัติเพื่อการไม่เกิดอีกต่อไป เพียงแต่ตอนนี้ เขายังสนุกและชอบเรียนรู้กับงานที่เขากำลังทำอยู่

คู่ครอง

เล่าเรื่องคู่ครองในฟังสักนิด ว่าเจอกันได้อย่างไร เหตุมี ผลย่อมมี เรื่องบังเอิญไม่มีในโลก

เขาเป็นคนสนใจธรรมะ ตอนที่เคยบวช เจอประสบการณ์แปลกๆ เป็นเหตุให้ เขาหันหาทางธรรมมากขึ้น เขาตั้งใจว่า ต่อไปจะบวชเพื่อมุ่งปฏิบัติ เขามาหาข้อมูลในเน็ต ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นเรื่องของหลวงปู่เณรคำ พอดีเสริธ์ทเจอบล็อกของเรา

เขาคือ คนที่เราตั้งฉายาว่า “คนขี้สงสัย”ในอดีต เพราะเขามีสิ่งที่สงสัยมากมาย นับว่าเป็นเหตุดีของเขาอีกอย่าง เขาไม่เคยเข้าไปสนทนาธรรมตามเว็บบอร์ดต่างๆ เขาชอบทำสมาธิและทำงาน ชอบดูหนัง ชอบฟังเทศน์ เรื่องเว็บบอร์ดจบไปได้เลย

นิสัยเขาเหมือนเราในอดีตแบบแฝดคนละฝา เหมือนกันมากๆ สภาวะที่เขาเป็นอยู่ เหมือนเราในอดีต เขาก็เลยสบาย เพราะรู้ว่า ไม่ต้องไปอยากรู้อะไรเลย แค่ทำตามสภาวะของตัวเขาเอง ไม่ต้องไปวัดไหนๆ ชอบฟังเทศน์ก็ฟังทางเน็ตเอา

ตัวเขา เป็นเหมือนครูคอยสอบอารมณ์เรา มีปริ๊ดหลายครั้ง แต่สั้นๆ เพราะไม่ถูกใจ ฮ่าๆๆๆๆๆ ก็เล่าสู่กันฟังตลอด ว่าที่ปริ๊ดเขาน่ะ ปริ๊ดเพราะอะไร นี่เห็นไหม เพียงยอมรับตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปหาใครที่ไหนมาสอบอารมณ์หรอก

ที่ไปๆหากันน่ะ เพราะยังหาจิตที่แท้จริงของตัวเองยังไม่เจอ เจอแล้วจะหยุดหานอกตัว สิ่งเหล่านั้น ล้วนเกิดจากความทะยานอยากเป็นเหตุ ทุกคนเหมือนๆกันหมด อยากรู้แจ้งเห็นจริง อยากพ้นทุกข์

การที่จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ ต้องรู้ชัดในกายและจิต ความมีตัวตนที่แท้จริงของตัวเองให้ได้ก่อน หยุดสร้างเหตุภายนอกให้ได้ก่อน หยุดกล่าวโทษนอกตัวให้ได้ก่อน ที่สำคัญที่สุด ย่อมรับในความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นของตัวเองแต่ละขณะให้ได้ก่อน

๒๒-๒๔ ธค. ๕๔

๒๒ ธค.

เบื่อ ….

รอบแรกเดิน ๒ ๑/๒ นั่ง ๕ ๑/๒ ชม.

๒๓ ธค.

นิ่งๆ ….

ตอนเช้า … อารมณ์ ความรู้สึกแต่ละวันแตกต่างกันไป ช่วงนี้เจอสภาวะเบื่อ บางครั้งยาวติดต่อหลายวัน บางครั้งแค่วันเดียว ไม่แน่นอน

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๑ ชม. ๕๐ นาที

รอบ ๒ เดิน ๓ ชม. นั่ง ๒๐ นาที

รอบ ๓ เดิน ๑ ชม. นั่ง ๓๐ นาที

ชีวิต … มีแค่นี้เอง น่าเบื่อมากๆ ต่อให้มีความสุขแค่ไหน สุดท้าย มันก็แค่นั้นเอง ไม่ไปหลงไหลกับความสุขทั้งภายนอกและภายในที่เกิดขึ้น มันแค่นั้นจริงๆ

ตอนที่ยังไม่รู้ มีแต่ความสงสัย มีแต่ความทะยานอยาก อยากรู้สารพัด อยากรู้ว่าแต่ละสภาวะของญาณ ๑๖ นั้นเป็นยังไง มีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นเป็นยังไง พอรู้แล้ว นี่แหละหนา ต้องโง่มาก่อน

พอมารู้คำศัพท์ต่างๆมากขึ้น ที่แท้มันก็แค่สภาวะ ที่เกิดขึ้นดำเนินไปตามสภาวะนั่นเอง มันแค่อาการของจิตที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะ แต่สิ่งที่เคยได้ยิน ได้อ่านมา ล้วนดูช่างน่ามหัศจรรย์

จิตต่างหากที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก หากสภาวะดำเนินไปตามความเป็นจริง อย่าไปสร้างเหตุภายนอก ไม่ต้องไปอวดรู้อะไรๆกับใคร พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทองจะดีกว่า เพราะว่าจะมีแต่เหตุให้เนิ่นนาน ปิดกั้นสภาวะ

สิ่งที่ควรทำและต้องทำมีอยู่ตลอดเวลา เรื่องภายนอก ปล่อยให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย อย่าไปพยายามสร้างเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก สภาวะจะดำเนินไปอย่างสะดวก ทางจะตรงแน่ว แต่ที่เขวออกไป เพราะวิจิกิจฉาที่มีอยู่ รู้บัญญัติมากไป

ไฟ

ความทุกข์ เปรียบเหมือนไฟ เมื่อยังไม่รู้ชัดในสภาวะของไฟที่แท้จริง ย่อมคาดเดาไปต่างๆนาๆ เขาว่าไฟนั้นร้อน มันจะร้อนจริงหรือ ร้อนมากแค่ไหน

เบื่ออออ….

เขียนมาถึงตรงนี้ ความรู้สึกเบื่อตีกลับขึ้นมาทันที ความรู้สึกที่ว่านิ่งๆหายไป การเกิดมันน่าเบื่อ ให้มีความสุขในชีวิตมากแค่ไหน ก็ไม่อยากเกิดอีกเลย เกิดอีก ก็ต้องไม่รู้ก่อนที่จะรู้ แล้วกว่าจะรู้ล่ะ ต้องเผชิญอะไรๆอีกมากมาย มีแต่เหตุไม่รู้จบ

ตอนนี้ไม่ค่อยอยากจะบอกอะไรกับใครมากมาย รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยที่จะอธิบาย มีแต่เรื่องของความอยาก ตัววิจิกิจแานี่มันร้ายนะ ตัวปิดกั้นสภาวะ มีแต่ให้ค่า เพราะรู้มากไป รู้มากไม่พอ ยึดติดอีกต่างหาก ผู้ปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเพราะเหตุนี้

เจอสภาวะอะไร ต้องให้ค่า ต้องมีคำเรียก ต้องอย่างงั้นอย่างงี้ เท่านั้นยังไม่พอ ยังนำไปสร้างเป็นเหตุนอกตัวอีก อยากพูด อยากสอนในสิ่งที่คิดว่ารู้ คิดว่าใช่ พูดไปพูดมา เหมือนใครกันหนอออออา … เอออ…. ฉันเองแหละ ผ่านมาแล้ว จึงเข้าใจ

เหตุมี ผลย่อมมี

หนทางยาวไกล มีแต่ความเนิ่นนาน มีแต่ลองผิดลองถูก จะโทษใครล่ะ ตัวเรานี่แหละ เป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง จากการทำกุศลหรืออกุศล ถูกหรือผิด ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ สภาวะที่พบเจอจึงเป็นเช่นนั้น เส้นทางจึงเป็นเช่นนั้น ไม่แตกต่างกัน

เราเองกว่าจะรู้ กว่าจะเข้าใจ ก็เนิ่นนานเหมือนกัน เพราะหาคนนำทางไม่ได้ ที่ไหนใครว่าดี ไปหมด สุดท้าย ต้องกลับมาทำเอง งมหาทางต่อไป ติดอยู่นิดเดียวเท่านั้นเอง ความสงสัย ที่เกิดจากความอยากรู้สภาวะ ว่าคืออะไร เรียกว่าอะไร

ถึงแม้ครูอาจารย์จะบอกว่า แค่รู้ไปสิ ทำไปเดี๋ยวก็รู้เอง นอกนั้นไม่อธิบายอะไรเลย จิตก็ยังมึนๆอยู่อย่างนั้น มึนด้วยความอยากรู้นับนานาประการ ทำไป เดาไป ทุกข์ไป สุขไป เฉยไป วนไปก็วนมา สภาวะมีแค่นี้เอง นอกนั้นไม่มีอะไร สุดท้ายเบื่อ

เบื่อมากๆ เลิกทำ ไปเที่ยวดีกว่า พอการเงินติดขัด ทุกข์อีก หวนกลับมาเริ่มต้นใหม่ๆ ล้มๆลุกๆ คลุกคลานตลอดทาง ทำแล้วเลิก เลิกแล้วกลับมาทำใหม่ ยังไม่ทุกข์ ไม่คิดทำ พอทุกข์หนัก กลับมาทำใหม่ ปัดโถชีวิต มีแค่นี้เอง สุขกับทุกข์

พอสุขก็หลงระเริง สนุกจริงเฟ๊ยชีวิต มีความสุขจริงๆ พอทุกข์มาเยือน น้ำตากลบหน้า หาทางล่ะ อะไรช่วยให้หายทุกข์ หนีให้ตายก็หนีไม่พ้น มองเห็นทางเดียว ต้องปฏิบัติ ใครๆก็ช่วยให้พ้นทุกข์ตลอดไปไม่ได้ สุขแค่ไหน สุดท้ายต้องทุกข์อยู่ดี

สองสถานะ

ผลของการเจริญสติ จะกลายเป็นคนที่มีความอิสระในการกระทำ แต่ไม่ไปสร้างเหตุนอกตัว ความอิสระในที่นี้หมายถึง จิตที่เป็นอิสระจากบ่วงของการยึดติด ไม่ว่าจะเป็นอะไรหรือสิ่งใดก็ตาม

งานบ้าน เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบทำ แต่เวลาลงมือทำจริงๆ จะกลายเป็นว่า ชอบทำในสิ่งที่คิดว่าไม่ชอบ ขณะที่ทำ ความชอบและไม่ชอบจะหายไปหมด มีแค่รู้อยู่กับงานที่ทำ เริ่มเป็นคนทำงานบ้านไม่เป็นเวลา นึกจะนอนก็นอน ตื่นมาเมื่อไหร่ก็ทำ

อย่างเมื่อคืน นอนไวมาก ตื่นมา ตี ๓ มาซักผ้าที่แช่ทิ้งไว้ ซักเสร็จ ตี ๔ แช่น้ำยาปรับผ้านุ่มทิ้งไว้ ตื่นอีกที ตื่น ตี ๕ ๑/๒ บิดผ้าขึ้นตาก ไม่ต้องปั่นแห้งก่อนตาก เพราะไม่ใช่หน้าฝน ตากผ้าทิ้งไว้ตอนกลางวันได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องผ้า

ชีวิตคู่

ขอบคุณเรื่องความเพียร ที่ทำมาต่อเนื่อง ท้อก็ทำ ไม่ท้อก็ทำ ทำมาเรื่อยๆ ไม่ได้หวังผลอื่นๆ ไม่หวังว่าจะได้อะไรเป็นอะไรในบัญญัติ เพราะไม่เคยได้ยิน หรือได้ฟังมาก่อน นับว่านั่นคืออีก ๑ เหตุที่ดีสำหรับตัวเอง เลยไม่หลงสภาวะในด้านบัญญัติ

ที่ทำ คิดแค่อย่างเดียว ไม่อยากทุกข์ เจอทุกข์จนแทบกระอัก ทุกข์ตั้งแต่เด็กๆจนกระทั่งโต ทุกข์ แต่ไม่รู้ถึงเหตุของทุกข์ว่าเกิดจากอะไร ทำไมชีวิตจึงเป็นแบบนั้น แบบที่ผ่านๆมา ต้องขอบคุณ สิ่งที่เคยคิดว่าไม่ดีในชีวิต นั่นคือ บทเรียน

สิ่งต่างๆเหล่านั้น มาถึงวันนี้ กลับสร้างประโยชน์ให้คนอื่นๆอีกมากมาย สำหรับคนที่คิดว่าล้มเหลวและผิดพลาด ซึ่งต่างคิดเอาเองว่า ชีวิตไม่มีอะไรดีเลย ทำดีไม่เห็นได้ดี ทีคนอื่นๆทำชั่ว เห็นมีความสุข ได้ดีกว่าตน

สิ่งที่ผ่านมาในชีวิตของเรา เป็นเหมือนยาชั้นดี ที่ช่วยเยียวยาจิตคนเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญ เขาต้องช่วยตัวเอง หยุดสร้างเหตุกันเสียที พูดได้ แต่ทำยาก เพราะกิเลสครอบงำอยู่ จึงต้องปล่อยไปตามเหตุปัจจัย ไม่ทุกข์ ไม่มา เจอทุกข์ มาทันที

แม้กระทั่งชีวิตคู่ บางคนอาจจะคิดว่ามีผลต่อการปฏิบัติ นั่นให้ค่าไปกันเอง จากการได้ยิน ได้ฟัง จากการบอกต่อๆกันมา แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะใช้ชีวิตแบบไหนๆ ล้วนแตกต่างไปตามเหตุปัจจัย อุปสรรคไม่ใช่อยู่นอกตัว อยู่ในตัวเราเองนี่แหละ

ชีวิตคู่ไม่ได้มีผลใดๆหรือแม้กระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติเลย สักนิดเดียวก็ไม่มี เพราะทุกอย่างคือการเรียนรู้ เป็นผลดีซะด้วยซ้ำ ทำให้เห็นกิเลสต่างๆได้อย่างชัดเจน มีคนคอยสอบอารมณ์แบบตัวต่อตัว ไม่ต้องไปหาครูที่ไหนมาสอบเลย

ถ้าบวชเป็นพระ ต้องเก็บกด ต้องยกธรรมข้อนั้นข้อนี้มาเป็นตัวช่วย ในการกดข่มอารมณ์กิเลสที่เกิดขึ้น ชีวิตคู่ไม่ต้องเลย รู้ไปตามนั้น ยอมรับไปตามนั้น นี่คือความอิสระ ที่เห็นจิตได้อย่างชัดเจน ในดีมีเสีย ในเสียมีดี สุดแต่จะให้ค่ากันเอง

หากสร้างเหตุในการดับเหตุ จะเจอคู่ที่เหมาะสมกับสภาวะของตัวเอง จะเจอคนที่เข้าใจในสภาวะ เหมือนคนๆเดียวกัน เพราะสื่อสารภาษาเดียวกัน รู้เหมือนๆกัน แตกต่างแค่เหตุ

๒๔ ธค.

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๖ ชม.

ระยะนี้ สภาวะรวมมิตร แต่เจอสภาวะเบื่อบ่อยมากที่สุด พอผัสสะเกิด เห็นแต่โทษ ภัย ทุกข์ของการเกิด คือ การเกิดไม่มีดีเลยแม้แต่สักนิดเดียว ที่ยังต้องเกิด เพราะยังมีความหลงอยู่ เวลามีคนเข้ามาปรึกษา ยิ่งมองเห็นแต่โทษของการเกิด
ยิ่งตอกย้ำให้รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต มากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เพียงแต่ แม้กระทั่งความไม่เที่ยงตอนนี้ก็เอาไม่อยู่

มีคนถามเรื่องปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ เรื่องราวต่างๆที่เขียนเป็นบทความเกี่ยวกับสภาวะ ไม่ได้กลับไปแก้ไขสิ่งที่เขียนไปแล้ว เมื่อสภาวะละเอียดมากขึ้น สภาวะที่เคยเขียนจะกลายเป็นอดีตไปทันที เป็นเพียงสภาวะหยาบๆ ไม่ละเอียด แม้กระทั่งเรื่องปัญญาในการเห็นไตรลักษณ์

ปัญญาตัวนี้ (การเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง) ยังไม่ใช่สภาวะแท้จริงที่ทำลายอนุสัยกิเลสหรือสังโยชน์ต่างๆให้หมดสิ้นไป เพียงแต่ สภาวะไตรลักษณ์ เป็นทางที่จะต้องผ่าน เพื่อเข้าสู่สภาวะสังขารุเปกขาญาณ ได้แก่ ความวางเฉยในสังขารต่างๆ

ต้องเกิดสภาวะไตรลักษณ์หลายครั้ง เรียกว่า ตลอดเส้นทางก็ว่าได้ การเห็นไตรลักษณ์ ทำให้จิตเกิดการปล่อยวางต่อสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ใช่เห็นไตรลักษณ์ นั่นคือ เห็นพระนิพพาน นั่นเป็นเพีบงอุปมาอุปมัย เป็นแค่การเปรียบเทียบ แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริง เพราะสภาวะไตรลักษณ์กับสภาวะพระนิพพาน คนละสภาวะกัน

ไตรลักษณ์ เป็นสภาวะแค่ปล่อยวางจากเหตุนั้นๆชั่วคราว แต่สภาวะพระนิพพาน คือ ดับถาวร ไม่มีเหตุที่จะต้องให้เกิดการเวียนว่ายในวักสงสารต่อไป เพราะหมดสิ้นเชื้อของอนุสัยกิเลสที่มีอยู่

จะรู้เห็นสภาวะพระนิพพพานตามความเป็นจริงได้ ต้องรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ สักกายทิฏฐิสังโยชน์, วิจิกิจฉาสังโยชน์และสีลพตปรามาสสังโยชน์ ถูกทำลายลงเพราะเหตุนี้

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดว่า สิ่งที่เรียกว่าผัสสะ หรือสภาวะ หรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เกิดจากอะไร เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ย่อมยอมรับได้ทุกๆเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยไม่มีข้อสงสัย ไม่ว่าเหตุนั้นๆจะเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม

มีผลที่ได้รับเพิ่มมาอีก ได้แก่ อปายคมนียกามราคะ คือ ความกำหนัดในกาม ชนิดที่ทำให้ไปเกิดอบาย และ อปายคมนียปฏิฆะ คือ ความโกรธเคืองขัดแค้น ชนิดที่ทำให้ไปเกิดในอบาย จะสามารถรู้ชัดในสภาวะต่างๆเหล่านี้ได้ เนื่องจากสักกายทิฏฐิที่ถูกทำลายลงไป

สักกายทิฏฐิสังโยชน์ ตามคำแปลที่เขียนไว้ คือ ความเห็นว่ามีอัตตา

สภาวะ คือ ความเห็นที่ประกอบด้วยอัตตา ลักาณะอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความเห็นที่มีความมีตัวตนอยู่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งภายนอก และภายในกายและจิต

เมื่อสักกายทิฏฐิยังมีอยู่ ยังไม่ได้ถูกประหานให้หมดสิ้นไป เมื่อผัสสะเกิดขึ้น ย่อมมีความรู้สึกชอบ ชัง หรือเฉยๆต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ ซึ่งเป็นเหตุให้ สร้างเหตุลงไปด้วยความไม่รู้ ตอบโต้ออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ภพชาติในปัจจุบันไม่จบสิ้นเพราะเหตุนี้ ซึ่งเหตุเหล่านี้ ล้วนเป็นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสารต่อไป

หากแจ้งอริยสัจ ๔ ย่อมแจ้งในสภาวะพระนิพพาน ย่อมหมดสิ้นสงสัยในเรื่องราวของสมมุติบัญญัติต่างๆ และเมื่อรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร แท้จริงแล้ว ต้นเหตุเกิดจากอะไร

หากรู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว การกระทำต่อๆไป ย่อมมุ่งกระทำโดยดับที่ต้นเหตุของเหตุของการเกิดเวียนว่ายในวัฏสงสาร ได้แก่ ดับที่ต้นเหตุ คือ ความมีตัวตนที่ยังหลงเหลือเป็นเชื้ออยู่ (มานะกิเลส)

ผิดกับการเห็นสภาวะไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง สภาวะนั้นเป็นเพียงเหตุให้จิตเกิดการปล่อยวางจากสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่ไม่สามารถประหานอนุสัยกิเลสที่มีอยู่ ให้หมดสิ้นลงไปได้

และไม่สามารถรู้แจ้งในสภาวะของพระนิพพานตามความเป็นจริงได้ จะรู้แค่เพียงบัญญัติ เวลานำมาอธิบาย จึงอธิบายเป็นรูปธรรมให้เห็นไม่ได้ อธิบายได้แค่บัญญัติที่มีอยู่เท่านั้น ไม่ก็ใช้การอุปมาอุปมัยหรือการเปรียบเทียบขึ้นมาอธิบาย

พระนิพพาน จึงไม่ใช่อนัตตา (ไตรลักษณ์) และอัตตา (ความมีตัวตนที่มีอยู่) แต่สภาวะพระนิพพานนั้นมีอยู่จริง อยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้าหรือไม่มีพระพุทธเจ้าปรากฏขึ้นก็ตาม ซึ่งเป็นอมตนิพพานตลอดไป

จะรู้ได้ ต้องอาศัยสมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ (มรรค) ไม่ใช่รู้ได้โดยไตรลักษณ์ สภาวะไตรลักษณ์เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางของมรรค

พุทธดำรัสตอบ

“…..ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว

เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

ส่วนธรรมเหล่าใด…. เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว…. นี้

เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา”

——————————————————————————–

ปัญหา ธรรมข้อไหนจำเป็นในการปฏิบัติธรรมเบื้องต้น ?

พุทธดำรัสตอบ

“…..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์.. เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรีย์สังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรีย์สังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์…

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์ …. เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อวามีเหตุสมบูรณ์…. เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์….

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ฉะนั้น ฯ”

๑๙ – ๒๑ ธค.๕๔ (จากความไม่เที่ยง … เอาไม่อยู่)

๑๙ ธค.

เบื่อ…

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๓ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๓ ๑/๒ ชม. นั่ง ๒๐ นาที

อะไรเกิดขึ้นก็ตาม ถึงแม้จะเกิดโดยตัวสภาวะก็ตาม เช่น ความเบื่อหน่าย ส่วนความทุกข์ ตัดทิ้งไปได้เลย เพราะจะเหลือแค่รู้สึกจุกจิกอยู่ในใจ ทุกข์ใดๆไม่สามารถมากัดกร่อนใจได้ เหตุมี ผลย่อมมี จิตรู้จักจิตมากขึ้น

เมื่อรู้เท่าทันสภาวะทุกข์ ย่อมรู้ทันสภาวะสุข สักแต่ว่ารู้ ถึงแม้จะสุขโดยสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน ไม่ใช่ผลที่เกิดจากเหตุความยินดีหรือพอใจในภายนอกก็ตาม สุขที่เกิดขึ้น จะมีแต่ความเบื่อหน่าย สุขก็งั้นๆ เพราะมันก็แค่นั้นเอง จิตวางเฉย

เหลือสภาวะเบื่อ การนำกิเลสมาช่วย แรกๆจะช่วยได้ในระยะหนึ่ง เมื่อสภาวะเบื่อมีกำลังมากกว่า กิเลสที่นำมาใช้ ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ชอบก็ตาม ช่วยได้น้อยลง กำลังของสภาวะเบื่อมีมากกว่า ถึงแม้จะเจอความไม่เที่ยงบ่อยๆก็ตาม

สุดท้าย ความไม่เที่ยงก็ไม่สามารถทำให้ปล่อยวางลงไปได้ทันทีทันใดแบบก่อนๆ เหมือนสภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ ไตรลักษณ์ก็สักแต่ว่าสภาวะ ไม่แตกต่างกับสภาวะสุขที่เกิดขึ้นในจิต ไม่แตกต่างกับการนำกิเลสมาช่วยชั่วคราว แค่ดับไปชั่วคราว

แต่การเกิดของสภาวะเบื่อระยะหลังๆ มีความเด่นชัดในตัวสภาวะมากๆ มันเบื่อ มองอะไรก็เห็นแต่เหตุ จิตไม่ได้เกิดความรู้สึกหดหู่หรือท้อถอยแต่อย่างใด แต่เหมือนจิตมันคายเจ้าความเบื่อนี่ออกมาให้เห็นชัดมากขึ้น ไม่ว่าจะดับด้วยอะไรก็ตาม

มันก็แค่ดับได้ชั่วคราว แล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่เป็นระยะๆ ปัญญาที่เกิดขึ้น มีแต่สภาวธรรมต่างๆ มองโลกเห็นธรรม มองธรรมเห็นโลก แตกต่างแค่การมองเห็นเพียงเปลือก เมื่อมารู้ชัดภายในล้วนไม่แตกต่างเลย แค่ภาพมายาลวงตา

ยิ่งจดจ้องมากเท่าไหร่ ยิ่งถูกลวงได้ง่ายมากขึ้น เหตุเพราะอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่เป็นเหตุ ย่อมก่อเชื้อจากความอยาก จุดให้ติดขึ้นได้อย่างง่ายดาย นั่นก็คิดว่าใช่ นี่ก็คิดว่าใช่ แท้จริงมีแต่ความอยากบดบังสภาวะ อยากมี อยากได้ฯลฯ

ยิ่งไปเจอผู้มีเหตุร่วมมาชี้นำ นั่นก็ใช่ นี่ก็ใช่ ยิ่งยึดติดอย่างง่ายดาย เวลามองภายนอก จึงแต่การเพ่งโทษต่อผู้อื่น ทำไมไม่ทำแบบนั้น ทำไมจึงทำเช่นนี้ แท้จริงแล้ว โลกแม้กระทั่งสรรพสิ่งล้วนเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ว่าจะมองเห็นด้วยตาหรือด้วยใจ

ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อไม่ได้ดั่งใจของตัวเอง มีแต่การเปรียบเทียบ เปรียบเปรย เมื่อได้ดั่งใจ มีแต่ความพยอง ความลำพอง คิดว่าตนทำดีแล้ว การกล่าววาจาออกมาจึงมีแต่เนื้อแท้ของตัวตนล้วนๆที่มีอยู่ คิดว่าดับ กลายเป็นสร้าง กิเลสทั้งนั้น แต่มองไม่เห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต เพราะมัวไปมองนอกตัว เหตุมี ผลย่อมมี

๒๐ ธค. (รู้ชัดรายละเอียดของจิตเป็นสมาธิแต่ละขณะ)

เบื่อ…

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๒ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๒ ชม. ๔๕ นาที นั่ง ๑ ๑/๒ ชม.

เมื่อก่อนนี้ก็จับรายละเอียดขณะจิตเป็นสมาธิได้มากขึ้น วันนี้ รู้ชัดในรายละเอียดแต่ละขณะที่จิตเป้นสมาธิ นับตั้งแต่ เริ่มต้นขณะที่จิตรวมตัวเป็นสมาธิ ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิ จนกระทั่งจิตที่เป็นสมาธิอยู่ เริ่มคลายตัวลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งสมาธิหายไปหมดสิ้น

เมื่อสมาธิหายไปหมด ระหว่างนั้น จะเห็นสภาวะของนิวรณ์ คือ ความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น จะเกิดระยะสั้นๆ แล้วจิตเริ่มรวมตัวเป็นสมาธิใหม่อีกครั้ง จะเห็นอย่างนี้ตลอด จนกว่าจะเลิกนั่ง คือ สามารถนั่งได้ทั้งวัน ถ้าต้องการจะนั่งจริงๆ

แต่ทีนี้ มีจุดเด่นอีกอย่างของจิตที่มองเห็น คือ เวลาที่จิตมีความอิ่มตัวในสมาธิ เหมือนชาร์ทแบตจนเต็ม จิตจะไม่เอา ต่อให้ลองนั่งต่อ มันจะไม่อยากนั่ง เหมือนคนที่กินข้าวอิ่มจนไม่รู้จะอิ่มยังไง ต่อให้พยายามเอาหารอย่างดีมาให้กิน ก็กินไม่ลง ต้องลุกเปลี่ยนอิริยาบทสักพัก ส่วนจะนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง

จิตเวลาอิ่มตัว จะสดชื่น แจ่มใส ความคิดจะแจ่มใสมากๆ ช่วงในสภาวะนี้ ถ้าจะคิดพิจรณาอะไร ความคิดจะพุ่งปรู๊ดปร๊าดดี

ส่วนโอภาส ยังคงมีรายละเอียดเหมือนเดิม ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตา โอภาสเกิดได้ตลอดเวลา เพราะว่าเดี๋ยวนี้ แม้กระทั่งลืมตาดูอะไรอยู่ ถ้าเอาจิตจดจ่อรู้อยู่ ขณะที่ลืมตานี่แหละ จิตก็เป็นสมาธิได้เหมือนกับเวลาที่หลับตา โอภาสก็มีได้

โอภาสที่เกิดขึ้น จะสว่างมากน้อยไม่แตกต่างเลย เหมือนกันทุกอย่าง คือ มีความสว่างตามกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น กำลังสมาธิมากเท่าไหร่ โอภาสยิ่งสว่างมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคใดๆกับการรู้ชัดอยู่ในกายและจิต ยังคงรู้ชัดได้ปกติ

๒๑ ธค. (เหรียญมี ๒ ด้าน และ ๓ ด้าน)

เบื่อ ….

รอบแรก เดิน ๒ ๑/๒ ชม. นั่ง ๒ ชม.

มุมมองเหรียญมี ๒ ด้านและ ๓ ด้าน

เหรียญมี ๒ ด้าน

ที่มาของคำกล่าวว่า “เหรียญมี ๒ ด้าน” เป็นคำเปรียบเทียบอุปมาอุปมัยว่า คนเราล้วนมีดีและชั่วอยู่ในตัว เปรียบเสมือนเหรียญที่มี ๒ ด้าน

เมื่อไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า คน, สัตว์ ตลอดจนสิ่งของทั้งหลายว่า ทุกๆสรรพสิ่งล้วนมี ๒ ด้านอยู่ในตัวเอง คือ ดีกับไม่ดี แม้กระทั่งตัวเราเองก็ไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด

เป็นเหตุให้

เวลามองผู้อื่น เหตุที่มองว่าดี ดีเพราะถูกใจตัวเอง
เหตุที่มองว่าไม่ดี ไม่ดี เพราะไม่ถูกใจตัวเอง

เหตุเนื่องจากสักกายทิฏฐิที่มีอยู่ จึงยึดในความเห็นของตนเป็นหลัก ไม่ใช่ตามความเป็นจริง ที่มีอยู่จริงของสภาวะนั้นๆ หรือของสิ่งๆนั้น ความรู้สึกหรือกิเลสที่เกิดขึ้น เป็นตัวบดบังสภาวะที่มีอยู่จริงของสภาวะนั้นๆ

เหรียญมี ๓ ด้าน

ที่มาของคำกล่าวว่า “เหรียญ มี ๓ ด้าน” เป็นเรื่องความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่รู้ว่าสิ่งที่มากระทบ (สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต) หรือผัสสะที่เกิดขึ้น ทำไมมีผลให้จิตกระเพื่อม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกชอบ, ชัง หรือเฉยๆ (อุเบกขา) ไม่ว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้นๆ หรือสิ่งที่มากระทบ เป็นสิ่งที่รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม

เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อมีสิ่งที่มากระทบ หรือผัสสะเกิดขึ้น เหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกชอบ, ชัง หรือเฉยๆ (อุเบกขา) มี ๒ สาเหตุ ได้แก่

๑. เนื่องจากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกชอบหรือชัง

๒. เนื่องจากไม่มีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น จึงไม่มีความรู้สึกชอบและชัง (อุเบกขา)

เมื่อไม่รู้ชัดในเรื่องของเหตุและผลตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้เกิดการกระทำลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

เหตุมี ผลย่อมมี ภพชาติเกิดขึ้นเนืองๆเพราะเหตุนี้ เพราะความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น การเวียนว่ายในวัฏสงสารจึงไม่มีที่สิ้นสุด

เรื่องเหรียญ มี ๒ ด้าน เป็นเรื่องของดีและไม่ดี ที่มีอยู่ในตัวของทุกๆคน และทุกๆสรรพสิ่ง เป็นเหตุที่มาของคำว่า “ในดีมีเสีย ในเสียมีดี”

เรื่องเหรียญ มี ๓ ด้าน เป็นเรื่องของ เหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

๑๖ – ๑๘ ธค. ๕๔ (มีนิพพานเป็นแดนเกิด)

๑๖ ธค.

รอบแรก เดิน ๓๐ นาที นั่ง ๕ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๒ ชม. นั่ง ๕๐ นาที

เหตุที่พระผู้มีพระภาค ทรงให้ครองผ้า ๓ ผืน ทรงสอนให้เป็นผู้มีความสันโดษในการใช้ชีวิต แม้กระทั่งความเป็นอยู่ แค่มีผ้าไว้ปกปิดร่างกายกันอุจจาดตาก็พอแล้ว

ไม่ควรสร้างถาวรวัตถุใดๆ ให้เป็นเครื่องกังวลและถ่วงเวลาปฏิบัติ แค่มีที่พักพิงกันแดด กันฝน มีห้องน้ำแค่พออาศัยขับถ่ายจัดการกับกิจส่วนตนตามเหตุปัจจัยก็พอแล้ว

ไม่ควรสะสมวัตถุใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงชีพ เพราะพระภิกษุขึ้นชื่อว่า มีอาชีพเป็นผู้ขออยู่แล้ว ขอแค่พอเลี้ยงชีพตน เพื่อมีชีวิตอยู่ประกอบกิจในกิจที่ควรทำ เรื่องทางโลก ปล่อยให้เป็นเรื่องของทางโลก

ไม่คลุกคลีหมู่คณะ จะมีแต่ทิฏฐิเป็นเหตุ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ทิฏฐิย่อมเป็นทิฏฐิวิปลาสอยู่ เนื่องจากยังมีอุปทานขันธ์ ๕ เป็นเครื่องอาศัยอยู่

ทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยง ล้วนแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย

ภายนอก ไม่ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นก็ตาม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เพราะสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น มีเกิด ย่อมมีดับไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆเอง จงอย่าได้นำทิฏฐิที่มีอยู่ลงไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ผู้ใดมีทิฏฐิอย่างไร นั่นคือเหตุของเขา หน้าที่เรามีเพียงแก้ที่ตัวเอง ไม่ใช่ไปแก้นอกตัว เพราะตราบใดที่ยังไม่แจ้งในอริยสัจ ๔ ทิฏฐิที่มีอยู่ ยังเป็นทิฏฐิวิปลาส เนื่องจากยังมีความเป็นตัวตนของตนอยู่(สักกายะทิฏฐิ)

หากแม้นรู้แล้ว ต้องรู้ให้จบสิ้น เพราะที่ว่ารู้แล้วยังมีเชื้อของความวิปลาสอยู่ ยังไม่หมดสิ้น(มานะกิเลส) นี่คือกิจที่ควรรู้และควรทำ

ภายใน หมั่นเจริญสมถะ(การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ) – วิปัสสนา (สัมมาสมาธิ ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม) ในสติปัฏฐาน ๔ (มรรค)

เมื่อดำเนินตามมรรคได้ตามมรรควิถี ย่อมมีพระนิพพานเป็นแดนเกิด นั่นคือ การรู้แจ้งในอริยสัจ ๔

การรู้แจ้งอริยสัจ ๔

เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะของพระนิพพานที่มีอยู่จริง ย่อมรู้แจ้งเหตุที่เป็นต้นเหตุของแดนเกิดในวัฏสงสาร คือ สภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่จริง

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ว่าผัสสะต่างๆนั้นเกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะผัสสะ เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะสังขาร เป็นเหตุให้รู้ว่าเหตุที่ทำให้มีการเวียนว่ายตาย-เกิดในวัฏสงสาร เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะสังขาร เป็นเหตุรู้แจ้งในสภาวะเวทนา เป็นเหตุให้รู้ว่า ความยินดี ยินร้าย หรืออุเบกขา เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะเวทนา เป็นเหตุรู้แจ้งในสภาวะสัญญา เป็นเหตุให้รู้ว่า บัญญัติต่างๆ เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะสัญญา เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะปัญญา เป็นเหตุให้รู้ว่า ปัญญา เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

จึงเป็นที่มาของคำกล่าวว่า พระะอรหันต์เป็นผู้มากด้วยปัญญาเพราะเหตุนี้ เนื่องจากสภาวะที่เหลืออยู่เป็นเรื่องของสภาวะปัญญาล้วนๆ

เพียงแต่กิจที่ทำอยู่ปกติ ได้แก่ สมถะ(การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ) – วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ จนกว่าจะสิ้นภพ จบพรหมจรรย์

ส่วนคำกล่าวที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งด้วยปัญญา หรือ พระอรหันต์รู้แจ้งด้วยปัญญา หรือจะรู้ด้วยอะไรๆก็ตาม ล้วนกล่าวตามทิฏฐิที่มีอยู่

เหตุของการเกิดทิฏฐิวิปลาส

เกิดเนื่องจากมีสัญญาวิปลาสเป็นเหตุ ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิดว่ารู้ (ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกรู้หรือสิ่งที่เกิดขึ้น)

สภาวะที่แสดงออกของทิฏฐิวิปลาส

การยึดมั่นถือมั่นแนวทางการปฏิบัติ มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเป็นเช่นนี้ๆจึงจะถูกต้อง การแสดงออกจึงมีลักษณะการโน้มน้าว ชักชวน โฆษณาชวนเชื่อสารพัดทุกวิธีการและทุกรูปแบบที่มุ่งพยามจะทำให้เชื่อในสิ่งที่ตนยึดติดอยู่
ย่อมมีการแสดงออกถึงการกล่าวเบียดเบียนแนวทางปฏิบัติอื่นๆที่ผิดไปจากสิ่งที่ตนรู้ ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางความรู้สึกนึกคิดบ้าง

การยึดมั่นถือมั่นในครูอาจารย์ มีความยึดมั่นถือมั่นว่า คำสอนเช่นนี้ๆจึงจะถูกต้อง แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น

การยึดมั่นถือมั่นในคำเรียกต่างๆ มีความยึดมั่นว่า คำเรียกเช่นนี้ๆ คือสภาวะที่เกิดขึ้น(สิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ถูกรู้) เช่นนี้ๆ แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น

การยึดมั่นถือมั่นในสัญญา มีความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่รู้นี้ๆเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น

การสร้างเหตุเช่นนี้ ล้วนเป็นการสร้างเหตุที่เป็นแดนเกิดของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่ใช่การสร้างเหตุของพระนิพพานเป็นแดนเกิด

๑๗ ธค.

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๔ ๑/๒ ชม.

๑๘ ธค.

ทำงานบ้าน พักในสมาธิเป็นระยะๆ

ทิฏฐิวิปลาส

วิปัลลาสสูตร

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑
ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑
ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ

 

เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
และสำคัญในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร

ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์
ชนเหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ได้จิตของตน
ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้

จบสูตรที่ ๙

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1410&Z=1433

 

หมายเหตุ;

“ชนเหล่านั้น ผู้มีปัญญา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้จิตของตน”

มนสิการโดยแยบคาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า
หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

 

 

แก้ไข 13/07/2019

๑๓-๑๕ ธค.๕๔ (พระอรหันต์กับพระนิพพาน)

๑๓ ธค.๕๔ (พระอรหันต์กับพระนิพพาน)

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๓ ชม.

ช่วงนี้เหมือนถูกทำข้อสอบในข้อบังคับของการปล่อยวางที่วางยิ่งๆลงไปอีก วางยิ่งกว่าวาง

หลายวันมานี่ จิตวุ่นวาย ผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ชี้ไปทางเดียวกันหมด ชีวิตมีแค่นี้เอง เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ปล่อยวาง เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นเช่นนั้นเอง ตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น แม้กระทั่งตัวเราเองทุกวันนี้ ยังอยู่ภายใต้กฏสัจธรรมข้อนี้

ทุกข์นะ แต่ทุกข์นั้นอยู่ไม่นาน ทุกข์เพราะไปยุ่งกับโลกภายนอกมากไป ทุกข์เพราะดูหนังเรื่องแทกิล ดูหนังเรื่องนี้ได้เห็นสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนชี้ไปทางเดียวกันหมด โทษของความไม่รู้ โทษของการเกิด แม้กระทั่งทุกข์ในเรื่องความรัก

เคยคิดว่า น้ำตาคงไม่มีไหลอีกแล้ว ยังมีอยู่ จากการดูหนังเรื่องนี้ เห็นทุกข์ในมุมต่างๆ น้ำตาไหลตลอด ชีวิตมีแค่นี้จริงๆ คำพูดของตัวละครที่แทรกเข้ามาเป็นระยะๆ ล้วนเป็นสัจธรรม ฟังแล้วเข้าใจง่าย มองเห็นแต่ทุกข์จริงๆ สัจธรรมแห่งทุกข์

มีเรื่องหลายเรื่องในที่ทำงาน ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง แต่เป็นเรื่องของคนอื่นๆ ฟังเขาพูดมา แล้วไปรู้สึกทุกข์แทนเขา ทุกข์เพราะเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดระบายออกมา คนเราทุกคนล้วนมีความเห็นแก่ตัวเป็นพื้นฐาน จ้องเอาผลประโยชน์ใส่ตัวเองมากกว่าที่จะคิดให้กับผู้อื่น ไปที่ไหนๆจะเจอแต่เรื่องแบบนี้

ไปโทษใครได้ล่ะ ต้องโทษที่ตัวเราเอง เหตุมี ผลย่อมมี เหตุเกิดตรงไหน ดับที่ตรงนั้น ไม่ใช่ไปวิจารณ์นอกตัว ไม่ใช่ไปมุ่งคิดดับนอกตัว ในตัวมีทั้งไฟโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากต่างๆเต็มไปหมด มองเห็นมั่งไหม ใส่ใจมั่งไหม

มีแต่กล่าวโทษนอกตัว คนนั้นเห็นแก่ตัว คนนี้เห็นแก่ได้ ไอ้นั่นไม่ดี ไอ้นี่ก็เลว ฯลฯ ทำดีแทบตาย แต่ทำไมมีแต่คนเอาเปรียบ ถ้าทุกคนเข้าใจในเรื่องของกฏแห่งกรรม ในเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ทุกคนย่อมหยุดและจบลงที่ตัวเอง ย่อมไม่คิดจะสร้างเหตุนอกตัวอีกต่อไป

แล้วหมั่นรู้ชัดในกายและจิตให้มากขึ้น ทำให้พอดี อย่าตึงเกินไปจะกลายเป็นเครียด อย่าหย่อนเกินไป นั่นคือยังประมาท

สิ่งๆต่างๆเหล่านี้ เจอมาหมดแล้ว ทั้งตึงและหย่อน ทุกคนต้องเรียนรู้ทุกๆสภาวะด้วยตัวเอง ถึงจะรู้ชัดและเข้าใจในสภาวะต่างๆเหล่านี้ การเรียนรู้มีเยอะแยะ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำมา ตราบจนสิ้นอาสวะจริงๆ จนอุปทานขันธ์ ๕ หมดไป

ตำรามีไว้ให้ศึกษา มีไว้ให้รู้เป็นแนวทาง ไม่ใช่มีไว้ให้ยึดติด ยึดไม่พอ ยังนำไปสร้างเป็นเหตุ เพราะหลงคิดว่าที่รู้นั้นๆคือปัญญา เนื้อแท้จริง ล้วนเป็นเพียงสัญญา ที่สติเป็นตัวขุดคุ้ยขึ้นมา ทั้งแคะๆๆๆ แงะๆๆๆ ขึ้นมา ทำมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ สะสมไว้ในจิต

เมื่อสภาวะสัมปชัญญะเกิด สติย่อมมีกำลัง มีสมาธิเป็นกำลังหนุนให้เกิดพลังอันเข้มแข็ง ทั้งขุดทั้งแงะความรู้ต่างๆขึ้นมา ความรู้นั้นๆล้วนเป็นสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง

จงอยู่ในความนิ่งสงบ ไม่ว่าจิตจะรู้สึกนึกคิดอะไรยังไง มีอาการอะไรๆเกิดขึ้นบ้างในกายและจิต ให้แค่ดู แค่รู้ไปตามความเป็นจริง อย่าไปหาบัญญัติเทียบให้เสียเวลา เป็นเหตุให้จิตว่อกแว่กตามกิเลสที่เกิดขึ้นไปเปล่าๆ กิเลสที่เกิดจากอุปทาน

เมื่อนำสภาวะที่เกิดขึ้นไปเทียบกับบัญญัติ เห็นสภาวะคล้ายคลึงกัน ไม่แตกต่างกับคำสรรเสริญเยินยอ จิตฟูด้วยกิเลส แต่มองไม่เห็น ทิฏฐิมานะทำงานตามกำลังของการยึดติด เกิดจากอุปทานที่ให้ค่าในบัญญัตินั้นๆ เรียกโน่นเรียกนี่ให้วุ่นวาย

สภาวะแท้จริงมองไม่เห็น กิเลสทั้งนั้น กิเลสที่เกิดจากสัญญาที่จะพยายามทำให้เป็นปัญญา จะเป็นไปได้อย่างไร เมื่อมีการให้ค่าตามบัญญัติว่าเรียกนั่น เรียกนี่ลงไป จากสภาวะปัญญาแท้ๆ กลับกลายเป็นสัญญาไปเพราะเหตุนี้

ปัญญาที่เกิดจากตัวสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ หลงนำไปเทียบกับบัญญัติ จากสัญญาที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นตัวรู้หรือตัวปัญญา กลับกลายเป็นสภาวะสัญญาซ้อนสัญญาไปทันที เหตุจากการให้ค่า

พระอรหันต์กับพระนิพพาน

พระอรหันต์ คือ ผู้สิ้นกิเลส ได้แก่ เป็นผู้รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ เป็นเหตุให้รู้แจ้งสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ทั้งหมดตั้งแต่หยาบ จนกระทั่งละเอียด

วิถีแห่งการรู้แจ้ง

การรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ เป็นเหตุให้ รู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ เป็นเหตุให้ รู้แจ้งในพระนิพพานที่เป็นสภาวะปรมัตถ์

สภาวะพระนิพพาน รู้ครั้งเดียวแล้วจบ แต่สภาวะในอุปทานขันธ์ ๕ จะรู้ตั้งแต่สภาวะหยาบจนถึงละเอียด เป็นลำดับๆไป

สภาวะอริยสัจ ๔ รู้แจ้งครั้งเดียวแล้วจบ เนื่องจาก การรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ได้แก่ รู้แจ้งในสภาวะทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์

สภาวะนิโรธหรือพระนิพพาน รู้ครั้งเดียวแล้วจบ ไม่มีรู้แบบหยาบหรือละเอียด

คำว่า “พระนิพพานเที่ยง” มาจากความหมายตรงตัวของสภาวะนิพพาน ได้แก่ การดับที่ต้นเหตุของการเกิด ของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร พระนิพพานไม่มีการแปรเปลี่ยนสภาวะ ไม่มีหยาบ ไม่มีละเอียด รู้แจ้งครั้งเดียว รู้แล้วจบ

การเกิดของสภาวะพระนิพพาน เกิดจากการดับแบบหยาบ ๑ ดับแบบละเอียด ๑

ดับแบบหยาบ

ได้แก่ การดับเหตุของการเกิดในภพชาติปัจจุบัน(นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้) ได้แก่ การล่วงละเมิดทาง มโนกรรม, กายกรรมและวจีกรรม

ทางมโนกรรม ได้แก่ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ห้ามความคิดปรุงแต่งไม่ได้ รู้สึกชอบชัง รู้สึกนึกคิดอะไร รู้ไปตามนั้น ยอมรับไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในจิต ความรู้สึกนึกคิดห้ามไม่ได้ แต่ห้ามการกระทำได้

กรรมที่สำเร็จโดยมโนกรรม ได้แก่ การคิดร้ายต่อผู้อื่น เช่น การอยากให้ผู้อื่นประสบกับสภาวะที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเกิดจากความชอบหรือชัง เช่น ถ้าไม่มาเป็นชั้นมั่งก็แล้วไป หรืออยากรู้นัก ถ้ามาเป็นชั้นแล้วจะรู้สึกยังไง
หรือแม้กระทั่งการสาปแช่งต่างๆ ที่เกิดจากความคับแค้นใจต่อการกระทำของผู้อื่น ฯลฯ

กรรมที่สำเร็จทางวจีกรรม ได้แก่ แค่คิดยังไม่พอ ยังนำความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้น สร้างเหตุของการเกิดเหตุใหม่ด้วยการเปล่งวาจาออกมา เช่น การใช้ถ้อยคำติติง กล่าวเพ่งโทษต่อผู้อื่น ฯลฯ

กรรมที่สำเร็จทางกายกรรมได้แก่ แค่รู้สึกนึกคิดยังไม่พอ ปล่อยให้เกิดการกระทำทางวาจายังไม่พอ ยังเข้าประทุษร้ายผู้อื่นด้วยมือบ้าง เท้าบ้าง ฯลฯ

ดับแบบละเอียด

ได้แก่ การดับที่ต้นเหตุของการเกิดในภพชาติต่อๆไป คือ สิ้นสุดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ได้แก่ การดับที่ต้นเหตุ ที่เป็นเหตุของการก่อให้เกิดการกระทำ ได้แก่ อนุสัยกิเลส ที่เกิดจากการไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔
เป็นเหตุให้ ไม่รู้แจ้งในอุปทานขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์

การกระทำให้เกิด ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ (รู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ) หรือที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณในปัจจุบัน หรือสมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔

ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ทั้งภายนอกและภายใน สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น มีสติรู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในกายและจิตทั้งขณะที่จิตเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ

สภาวะทุกข์กับสภาวะสมุทัย ล้วนเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕

สภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ จะรู้แจ้งถึง ๔ ครั้ง จะรู้ตั้งแต่สภาวะหยาบๆ จนถึงละเอียด

รู้แจ้งครั้งแรก รู้แจ้งในรูปนาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ เป็นเหตุให้รู้ชัดสภาวะกิเลส (คือ สภาวะสังขาร ได้แก่ การปรุงแต่งของจิต) ที่เกิดขึ้นในจิต เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะของกิเลส ที่เกิดจากผัสสะภายนอกเป็นเหตุ

เป็นเหตุให้รู้แจ้งว่า ผัสสะภายนอกที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย เป็นเหตุให้สามารถแยกแยะถูก, ผิด ดีชั่วออกจากกันได้ เป็นเหตุให้เป็นผู้ไม่ยึดติดในโลกธรรม ๘

หลังการรู้แจ้ง เกิดสภาวะปัจจเวกขณญาณ สมาธิที่มีอยู่จะหายไปจนหมดสิ้น เหลือแต่สติเพียงตัวเดียวล้วนๆ เป็นเหตุให้รู้ชัดในกิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตตามความเป็นจริงที่มีอยู่

รู้แจ้งครั้งที่ ๒ รู้แจ้งในรูปนาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก เป็นเหตุให้ สามารถแยกแยะสภาวะวิญญาณ สัญญา และปัญญาที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ ออกจากกันได้ และรู้แจ้งในสภาวะของกิเลสที่ละเอียดภายใน ซึ่งเกิดเอง เป็นเอง ไม่ใช่เกิดจากสภาวะภายนอกเป็นเหตุปัจจัย

๑๔ ธค. (แค่รู้ .. รู้ที่หาค่าประมาณมิได้)

เบื่อหนออออ … ชีวิตมีแค่นี้เอง เกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิด ตราบใดที่จิตยังมีอวิชชา ไม่รู้แจ้งแทงตลอดในอุปทานขันธ์ ๕ ชีวิตต้องเวียนวนเกิดๆดับๆไปตามเหตุปัจจัย

พอรู้แล้ว ชีวิตยังน่าเบื่ออยู่อย่างนั้น เพราะยังรู้ไม่หมด รู้หมดเมื่อไหร่ ภพชาติไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป การเวียนว่ายในวัฏสงสารย่อมสั้นลง จะรู้ได้ต้องแค่รู้ไปก่อน แค่รู้ในรู้ในสิ่งที่คิดว่ารู้ เพราะโดยเนื้อแท้สิ่งที่คิดว่ารู้นั้น ล้วนยังเป็นเพียงสภาวะของสัญญา

รอบแรก เดิน ๓๐ นาที นั่ง ๒ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๒๐ นาที

รอบ ๓ เดิน ๑ ชม. นั่ง ๑ ๑/๒ ชม.

แค่ดู แค่รู้ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง บัญญัติต่างๆมีไว้เพื่อศึกษา หากยังชอบศึกษา แต่ไม่นำบัญญัติไปสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นกับผู้อื่นโดยตรง ใครจะมีข้อคิดเห็นอย่างไร นั่นคือเหตุของผู้นั้น

เพราะสิ่งที่คิดว่ารู้ อาจจะมีสภาวะที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงหรือเหมือนกับคำเรียกต่างๆก็ตาม สิ่งที่รู้ต่างๆเหล่านั้น ล้วนไม่เที่ยง เพราะสภาวะจะเปลี่ยนไป ไม่คงที่หรือแน่นอน จะมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยของสภาวะต่างๆปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆ

จุดประสงค์ที่แท้จริง คือ การสร้างเหตุของการไม่เกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป เมื่อไม่คิดจะสร้าง บัญญัติต่างๆจึงสักแต่ว่ารู้เท่านั้นเอง ค่อยๆศึกษาไป

๑๕ ธค.

รอบแรก เดิน ๑ ชม. นั่ง ๑ ๑/๒ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๓๐ นาที นั่ง ๑ ชม. ๔๕ นาที

รอบ ๓ เดิน ๒ ชม. นั่ง ๓๐ นาที

ช่วงนี้เจอสภาวะเบื่อ เพราะมองไปทางไหน เห็นสภาวะทุกข์, โทษและภัยของการเกิด เป็นเหตุให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย กับแค่รู้

๑๐-๑๒ ธค.๕๔

๑๐ ธค.

ยืนกับเดิน ๘ ชม. นั่ง ๑ ชม.

๑๑ ธค.

วันหยุด พักในสมาธิเป็นระยะๆ

ตัวรู้ กับ ความรู้ตัว คนละสภาวะกัน แต่ตัวพยัญชนะที่เขียนมองผ่านๆจะคล้ายคลึงกัน

ตัวรู้ ได้แก่ ความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้น ขณะที่จิตคิดพิจรณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ อาจจะเกิดจากสภาวะการคิดพิจรณาของจิตเอง หรือ อาจจะเกิดจากการหยิบยกธรรมะข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาคิดพิจรณา หรือ อาจจะครุ่นคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดขัดอยู่

ขณะที่ครุ่นคิดพิจรณาอยู่นี้ เป็นสภาวะของการเอาจิตจดจ่ออยู่กับความคิดนั้นๆอยู่ ขณะนั้นจิตย่อมเป็นสมาธิ ความคิดที่เกิดขึ้นจึงแจ่มใสชัดเจน หากหมดกำลังของสมาธิ จิตจะมีแต่ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นแทน

ความคิดแจ่มใส

ชั่วขณะที่จิตคิดพิจรณาอยู่นั้น อาจจะมีความรู้เกิดขึ้น อาจจะมีทั้งความรู้จากเคยอ่านหรือเคยฟังมา หรือแม้กระทั่งความรู้แปลกๆที่ไม่เคยได้ฟังหรือได้อ่านจากที่ไหนมาก่อน
ความรู้หรือตัวรู้ที่เกิดเช่นนี้ เกิดจากตัวสติไปขุดคุ้ยสัญญาต่างๆที่สะสมไว้อยู่ในจิต สภาวะเช่นนี้ เรียกว่า ตัวรู้เกิดขึ้น คือ ตัวปัญญานั่นเอง

ความรู้ตัว ได้แก่ รู้ตัวก่อนที่จะลงมือทำในกิจนั้นๆ สภาวะที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า สติ

สติ แปลว่า ความระลึก

ตัวอย่างเช่น ขณะที่มีผัสสะมากระทบ จิตมีการปรุงแต่ง มีความรู้สึกนึกคิดไหลไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ไหลไปตามผัสสะที่กำลังเกิดขึ้น

จิตมีโลภะ โทสะ โมหะ หรือกิเลสต่างๆเกิดขึ้น

เมื่อเกิดสภาวะเช่นนี้ แล้วกำหนดรู้ลงไปตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ เช่น คิดหนอๆๆๆ โกรธหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆฯลฯ การกำหนดเช่นนี้ จะทำให้มีสติกลับมารู้อยู่ที่ปัจจุบันชั่วขณะ หรือแม้กระทั่ง บางคนอาจจะนี้มือไขว้ไปมาแบบเดินจงกรม หรือดีดนิ้วก็ตาม

สภาวะเช่นนี้ เรียกว่า ความรู้ตัว คือ มีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ไหลไปตามผัสสะที่เกิดขึ้น

ความรู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่ สภาวะนี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่ หรือแม้กระทั่งปัญญาที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากสภาวะสัมปชัญญะ หากขาดสัมปชัญญะ สติจะทำหน้าที่งัดแงะตัวสัญญาขึ้นมาไม่ได้เลย

ฉะนั้น ผู้ที่มีตัวสัมปชัญญะเกิดขึ้นแล้ว จะมีสภาวะจิตคิดพิจรณาเนืองๆทั้งขณะที่จิตเป็นสมาธิไม่ว่าจะระยะสั้นหรือยาว หากยังมีข้อติดขัดสภาวะใดอยู่ สติจะเป็นตัวงัดแงะสัญญาหรือเรื่องราวต่างๆนั้นขึ้นมาคิดพิจรณาเอง ขณะที่จิตคิดพิจรณา จะมีสภาวะงบนิ่ง ไม่มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นแต่อย่างใด ความคิดที่เกิดขึ้นจะแจ่มใส ชัดเจน

ความรู้ชัด ได้แก่ รู้ชัดลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น สภาวะนี้เกิดจากจิตเป็นสมาธิ ที่เกิดจาก การทำงานร่วมของสติกับสัมปชัญญะ ผลที่ได้รับคือ สมาธิ

ที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง หรืออาจจะเกิดนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้นั้นด้วย

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ได้แก่ สภาวะสัมมาสมาธิ เกิดจากการปรับอินทรีย์ระหว่าง สติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์ เพราะถ้ามีสมาธิมากไป จิตไม่สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมได้ คือ จิตไม่สามารถคิดพิจรณาได้ ไม่สามารถรู้ชัดสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิตขณะที่เป็นสมาธิได้

นี้คือสภาวะของวิปัสสนา ในสมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔

๑๒ ธค. (โลกวุ่นวายเพราะมีเหตุ)

มองไปรอบๆตัว ผัสสะต่างๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะทางไหนๆก็ตาม หากสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น จะไม่ไปรู้สึกวุ่นวายกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งต่างๆเหล่านั้นเกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่

เมื่อใดก็ตาม ที่เราเอาความเป็นเรา(การยึดติดในอุปทาน คือ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง)ที่มีอยู่ นำลงไปเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ เราจะรู้สึกวุ่นวายไปทันที ส่วนจะเกิดมากหรือน้อย อยู่ที่ว่ามีสติแล้วหยุดได้ทันไหม หยุดได้ไว ย่อมวุ่นวายน้อยลง หยุดได้ช้า มากเรื่องก็มากความ

ชีวิตมีแค่นี้เอง เกิดแล้วก็ตาย เกิดแล้วก็ตาย เกิดตามเหตุที่ทำไว้ ตายตามเหตุที่ทำไว้ การเกิดทุกๆครั้ง นับหนึ่งใหม่ทุกๆครั้ง กว่าจะระลึกได้ กว่าจะรู้ กว่าจะเข้าใจ หลงสร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้ สร้างเหตุที่เกิดจากการยึดติด อีกนานเท่าไหร่จึงจะรู้

สุข,ทุกข์ล้วนเกิดจากอุปทาน ได้ดั่งใจก็ว่าสุข ไม่ได้ดั่งใจนั่งจมทุกข์ แม้กระทั่งนั่งหัวเราะด้วยสุข ยังขาดใจตายไปทันทีขณะนั้นก็มี แต่ไปอบาย แทนที่จะไปตามสิ่งที่คิดว่าสุข ล้วนเป็นแค่ภาพมายาของกิเลส

สมถะในปัจจุบัน (ตอนที่ ๘)

การเจริญสมาธิภาวนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยหัวข้อว่า จิตฺตํ โดยพระบาลีว่า

สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ

ดังนี้ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสมาธิไว้อย่างย่อสั้นมาก ไม่ต้องกล่าวถึงที่จะเจริญภาวนา แม้แต่เพียงจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะกระทำได้ง่ายเลย

แต่อย่างไรก็ดี ขึ้นชื่อว่าภาวนาฝ่ายกุศลแล้ว ที่จะไม่มีกำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น หรือที่ไม่เป็นอุปการะแก่คุณธรรม มีศัรทธาเป็นต้น เป็นอันไม่มี ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ซึ่งมีในเมฆิยสูตรว่า

พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งๆ ขึ้นไป คือ พึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานทั้งหลาย เพื่อประหานเสียซึ่งราคะ

พึงเจริญเมตตา เพื่อประหานเสียซึ่งพยาบาท

พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อกำจัดเสียซึ่งมิจฉาวิตก

พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนซึ่งอัสมิมานะ
อง. นวก. (ไทย) ๒๓/๓/๔๓๔, ขุ. อุ. (ไทย) ๒๕/๓๑/๒๓๕-๒๓๖

แม้ในราหุลสูตร พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงพระกัมมัฏฐาน ๗ ประการ โปรดพระราหุลเถระเพียงองค์เดียว โดยมีนัยอาทิว่า

ราหุล เธอจงเจริญซึ่งภาวนา อันมีเมตตาเป็นอารมณ์ …. ม. ม. (ไทย) ๑๓/๑๒๐/๑๓๐

เพราะเหตุฉนี้ นักศึกษาจงอย่าได้ทำความยึดถือเพียงแต่ในถ้อยคำแถลงที่แสดงไว้ว่า กัมมัฏฐานอย่างโน้นเหมาะสมแก่จริตบุคคล ประเภทโน้น พึงค้นคว้าแสวงหาอรรถาธิบายในคัมภีร์ต่างๆ ทั่วไปเถิด

การวินิจฉัยกัมมัฏฐานกถาโดยพิศดาร ในหัวข้อสังเขปว่า เรียนเอาเฉพาะพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาพระกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ ยุติเพียงเท่านี้

จากคัมภีร์วิสุทธิมัรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) แปลและเรียบเรียง

หมายเหตุ:-

จากเรื่องการเจริญสมาธิภาวนานั้น ส่วนมากจะกล่าวไว้เพียงเรื่องพระกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ

พระอาจารย์ได้อธิบายเรื่องจริตต่างๆ และกรรมฐานทั้ง ๔๐ รวมทั้งเรื่องของสมาธิต่างๆไว้อย่างพิศดารและแยบคาย ทั้งเรื่องของจริยา และจริตต่างๆว่าเหตุแท้จริงมาจากไหน

ซึ่งบทความอาจจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีเหตุร่วมกัน และอาจจะไม่มีประโยช์แก่ผู้ที่ไม่มีเหตุร่วมกัน เมื่อเห็นในเรื่องของเหตุและผลเช่นนี้แล้ว จึงไม่ได้นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้

เนื่องจาก ผู้เขียนต้องการอรรถสำคัญในเรื่องที่มาของคำเรียก สมถะ-วิปัสสนาในปัจจุบัน ว่ามีที่มาอย่างไร

แม้กระทั่งเรื่องของคำเรียกวิปัสสนาญาณที่มีปรากฏขึ้นในปัจจุบัน มีที่มาอย่างไร ซึ่งจะนำมาแสดงในหัวข้อเรื่อง วิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖

ส่วนเรื่องการเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวถึงไว้บ้างนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเนื้อหาเพียงดังนี้ว่า มีปรากฏอยู่ในพระสูตร โดยยึดหลักของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสมาธิ โดยแยกเป็นอธิบดีทั้ง ๔ ได้อรรถาอธิบาย โดยมีพระบาลีสมอ้างดังนี้ คือ :-
(คำว่า “สมอ้าง” พระอาจารย์ท่านบันทึกไว้เช่นนั้น)

ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า ฉันทาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำวิริยะให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า วีริยาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า จิตตาธิปติสมาธิ

ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นอธิบดีแล้ว ได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สมาธินี้เรียกว่า วิมังสาธิปติสมาธิ

๗ – ๙ ธค. ๕๔

๗ ธค.๕๔

รอบแรก เดิน ๒ ชม. ๑๕ นาที นั่ง ๓ ชม.

๘ พย.

รอบแรก เดิน ๒ ชม. นั่ง ๓ ๑/๒ ชม.

รอบ ๒ เดิน ๒ ชม. นั่ง ๓๕ นาที

๙ พย.

รอบแรก เดิน ๑ ๑/๒ ชม. นั่ง ๓ ๑/๒ ชม.

ชีวิตมีแค่นี้เอง ไม่ถูกทำลายเพราะพวกเดียวกัน ก็ถูกทำลายเพราะภัยธรรมชาติ ถึงไม่มีภัยต่างๆเหล่านี้ สักวันสังขารก็ย่อมร่วงโรยไปตามกาลเวลา ไหนจะโรคภัยไข้เจ็บอีก เห็นแต่ทุกข์ โทษ ภัย แล้วไฉนจึงขยันสร้างแต่เหตุของการเกิดอยู่ร่ำไป

จะโทษใครที่ไหน นอกจากความไม่รู้ที่มีอยู่ เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดแต่ละชาติสะสมเป็นสัญญา พฤติกรรมสะสมจนเป็นอนุสัย นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

เหตุ-ผล

ในดีมีเสีย ในเสียย่อมมีดี ทุกสรรพสิ่งล้วนถูกมีความสมดุลย์ไว้ มีเหตุ ย่อมมีผล ฉากเปลี่ยนไป เปลือกเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย มีแต่จิตดวงเดิมที่นับวันสะสมสัญญาต่างๆไว้มากมาย ทั้งกุศล อกุศล และเป็นกลาง

การเกิดแต่ละครั้งคือบททดสอบ ระลึกไม่ได้ จำไม่ได้ ย่อมหลงทางก่อน จนกว่าจะระลึกได้ จดจำได้ เริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง นับหนึ่งแต่ละชาติมานับครั้งไม่ถ้วน เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำเดิมๆซ้ำๆแต่จำไม่ได้

Previous Older Entries

ธันวาคม 2011
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ