ดีมั๊ย

ถามเจ้านายว่า หากถูกหวยทุกงวด มีรายได้เพิ่ม เดือนละหมื่น เป็นการถูกหวย แบบไม่ต้องลงทุนเล่นหวย แบบนี้ดีมั๊ย

เจ้านายบอกว่า ดีนะ จะได้มีเงินลงทุนเพิ่ม(เล่นหวย)

อ่ะจ๊ากกกกก ช่างเหมือนเรื่องราวในฝันซะจริงๆ เรื่องฝันนี่ เคยเล่าให้เขาฟังนะ ฝันว่า อยู่ในที่ไหนกันก็ไม่รู้ เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อย

ในฝันแต่ละครั้ง เราชวนเขาไปที่แห่งหนึ่ง แต่เขาไม่ยอมไปด้วย เดินหนีขึ้นบ้านเฉยเลย บางครั้งก็เดินหนีเรา ในฝัน ทิ้งเขาไม่ลง ต้องเดิมตามเขาไปอีก

คงเรื่องหวยนี่แหละ อุตส่าห์ช่วยเก็บเงิน ไม่อยากให้เขาเล่นหวย ที่ไหนได้ เขากลับคิดไปอีกอย่าง

คำว่า ทิ้งไม่ได้ ไม่ใช่หมายถึง ทิ้งกันไปอะไรแบบนั้น

เป็นเพราะว่า วลัยพรรู้ดีว่า ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ต่อให้เลิกกับเขา ก็ต้องเจอเหตุใหม่ หนีไม่พ้นเหตุปัจจัยที่ตนยังมีอยู่กับคนอื่น ที่มีเหตุปัจจัยต่อกัน เบื่อทุกข์ ไม่อยากหาทุกข์ใหม่มาเพิ่มอีก

เมื่อรู้ชัดในเรื่องของเหตุปัจจัย แล้วจะไปเริ่มต้นอีกทำไม เบื่อเดินเวียนวน อยู่ในเขาวงกต

นิยาย

เวิร์ดเพรสเปลี่ยนไป ใส่หัวข้อแบบเมื่อก่อนไม่ได้ นับวันเหมือนไดอารี่มากขึ้น

ชีวิตนี่ ขีดเขียนออกมาแล้ว จากที่เริ่มต้นเขียน จนถึงปัจจุบัน นิยายดีๆนี่เอง มีความแตกต่างจากนิยายทั่วๆไป ที่เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา

นิยายชีวิต ที่วลัยพรขีดเขียนออกมานี่ ทั้งหมด เป็นเรื่องจริง ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เส้นทางที่เรียกว่า หาทางออกจากทุกข์

การเริ่มต้นทำความเพียร เริ่มจากถูกความทุกข์ทับถม ความทุกข์บีบคั้น ไม่มีทางไหนช่วยได้ นอกจากสิ่งที่เรียกว่า การทำความเพียร

ที่ขีดเขียนออกมานี่ เพื่อดูจิต ดูใจ ดูเหตุปัจจัย ที่ยังมีความหลง สร้างเหตุแห่งทุกข์ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

จุดดีของการที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่เห็นเด่นชัดมากก็คือ ได้ชดใช้(ทางใจ แค่ทุกข์จร แป๊บๆ ไม่ตายหรอก การเกิด น่ากลัวกว่า) ในสิ่งที่เคยกระทำไว้กับผู้อื่น

ทั้งที่รู้จักและไม่เคยรู้จัก(พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว) อย่างน้อยๆ เป็นปัจจัยให้ เหตุปัจจัยของการเกิด ภพชาติใหม่ สั้นลง เหมือนคนมีหนี้ ทะยอยใช้ไปเรื่อยๆ สักวัน ย่อมหมดหนี้

ส่วนเรื่องที่ว่า ยังมีโอกาสกระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์(การไม่เกิด) ตอนนี้รู้สึกเฉยๆ ไม่กระตือรือร้นกับการทำความเพียรตามรูปแบบ แต่ทำตามสัปปายะ ณ ขณะนั้นๆมากกว่า

ที่สำคัญ เห็นวิธีการที่ทำให้เกิดผล ที่เร็วกว่า คือ การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว นี่แหละหัวใจที่แท้จริงของสิ่งที่เรียกว่า การทำความเพียรทั้งหมด เพราะ ยอมลำบากใจ อดทน อดกลั้น กดข่มใจ กับทุกการกระทำที่เกิดจากผู้ที่มีเหตุปัจจัยต่อกัน

ทั้งการทำความเพียร ตามสัปปายะ ตามเหตุปัจจัยของตน ไม่ว่าจะทำในรูปแบบใดๆก็ตาม ต้องประกอบด้วย การปฏิบัติสมควรแก่ธรรม คือ การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ที่กำลังจะทำให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่เอาทุกข์ ที่ยังไม่มีเกิดขึ้น ทำให้มีเกิดขึ้นมา ทับถมตนอีก กล่าวคือ เพียรละเหตุแห่งทุกข์(การเกิด) ได้แก่ การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว

การกระทำทั้งสองสิ่งนี้(การทำความเพียร และ การพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว) ต่างเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน ในการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์(การเกิด) ที่ยังมีอยู่

ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล

เทวทหวรรค๑. เทวทหสูตร (๑๐๑)

             [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สักยนิคม อันมีนามว่า เทวทหะ
ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
             [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะ
เหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่
จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะ
สิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้น
เวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกนิครนถ์มักมีวาทะอย่างนี้ ฯ
             [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้แล้ว
ถามอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกท่านมีวาทะอย่างนี้
มีทิฐิอย่างนี้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็น
ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้
ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับ
ต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความ
สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวง
จักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วย่อมยืนยัน
เราจึงถามพวกนิครนถ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า
เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ฯ
             นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำ
บาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำ
บาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัด
ได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว
จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญ
กุศลธรรมในปัจจุบันละหรือ ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             [๔] เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่าน
ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลาย
ได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม
อย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้อง
สลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด
ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้
พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็น
เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำ
กรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ
สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
             ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน
มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้
ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์
เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เรา
สลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด พึงทราบการละอกุศลธรรม
การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ควรจะ
พยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็น
ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้
ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูก
บังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม
จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์
ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
             [๕] ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษ
อาบไว้อย่างหนาแล้ว พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบ เพราะเหตุการ
เสียดแทงของลูกศร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาพึงให้หมอผ่าตัดรักษา
หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า
เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศาตราชำแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้น
หาลูกศร เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่อง
ตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า
เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เขา
พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล
สมัยต่อมา เขามีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี เป็น
อยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้ จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกยิงด้วย
ลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนา ได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้
เพราะเหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเราให้หมอผ่าตัด
รักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผล เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า
เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศาตราชำแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้น
หาลูกศร เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูก
เครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่
ปากแผล เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยา
ถอนพิษที่ปากแผล เดี๋ยวนี้ เรานั้นมีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค
มีความสุข เสรี เป็นอยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้ ฉันใด ฯ
             ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เรา
ทั้งหลาย ได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้
ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม
อย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้
เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์
ได้ทั้งหมด พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็น
เช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ควรจะพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด
เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่
ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ
สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
             ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้
มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน
มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า
ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้
เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ไม่ทราบการละอกุศลธรรม
การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน ฉะนั้น พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ จึงไม่บังควรจะ
พยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์
ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน
ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป
เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์
เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของ
อันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
             [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ พวกนิครนถ์นั้นได้กล่าว
กะเราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้
เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะตลอดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินก็ดี ยืนก็ดี
หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะได้ปรากฏติดต่อเสมอไป ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรพวกนิครนถ์ผู้มีอายุ บาปกรรมที่พวกท่านทำไว้ในก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัด
บาปกรรมนั้นเสีย ด้วยปฏิปทาประกอบด้วยการกระทำที่ทำได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้
ข้อที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในบัดนี้นั้น เป็นการ
ไม่ทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมี
ความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะ
สิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะ
สิ้นเวทนา จักเป็นอันพวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ก็แหละคำนั้นถูกใจและควร
แก่พวกข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม ฯ
             [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวแล้วอย่างนี้  เราได้กล่าว
กะพวกนิครนถ์นั้น ดังนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบาก
๒ ทางในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจ การฟัง
ตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ
เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕ ประการนั้น
พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมาอย่างไร
ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฐิอย่างไร ในศาสดาผู้มี
วาทะเป็นส่วนอดีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการ
โต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ
             [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า
ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกท่าน
มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยเวทนา
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวก
ท่านไม่มีความความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น  พวกท่าน
ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ
             นิครนถ์รับว่า พระโคดมผู้มีอายุ สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม
แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้าไม่มี
ความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่
เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ
             [๙] พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวก
ท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวย
เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด
พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน
ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อม
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า
ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป
จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ
สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัด
ได้แล้ว ฯ
             ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความ
เพียรแรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม
พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียร
แรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม
พึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควรพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคล
นี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า
ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป
จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ
สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัด
ได้แล้ว ฯ
             ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายาม
แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า
เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายาม
แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยเวทนา
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไป
เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด
เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ
ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ
สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุ
อะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ
             [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า
ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนา
ได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล
ในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล
ในชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลในปัจจุบันด้วยความพยายามหรือด้วย
ความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก
ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้น
จงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล
เป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วยความ
เพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก
ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรม
นั้นจงเป็นของให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล
ยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วย
ความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก
ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็น
ของให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้
ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความ
เพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก
ท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็น
ของอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดเป็นของไม่ให้ผล
ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด ฯ
             นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย ฯ
             [๑๑] พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านจะ
พึงปรารถนาไม่ได้ดังนี้ว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็น
ของให้ผลในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด
เป็นของให้ผลในชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความ
พยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้น
จงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด
เป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายาม
หรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้น
จงเป็นของให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่า
กรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น
ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรม
นั้นจงเป็นของให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด
เป็นของให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือ
ด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของอย่าให้ผล
ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรม
นั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้
ความพยายามของพวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ไร้ผล ความเพียรก็ไร้ผล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการ
กล่าวตาม ๑- ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง
@๑. คือวาทะของพวกครู และอนุวาทะของศิษย์ที่ว่าตามกัน
กรรมที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ทำกรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัดนี้
พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อม
เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ถูกอิศวร
ชั้นเลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ
เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวก
นิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความบังเอิญชั่วแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง
อภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย
เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความพยายามใน
ปัจจุบันเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบเห็น
ปานนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม
ที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์
ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ
ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ก็
ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวก
นิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความ
บังเอิญ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ
เหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและ
ทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้า
หมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน พวก
นิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าว
ก่อนและการกล่าวตาม ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามไร้ผล ความ
เพียรไร้ผล อย่างนี้แล ฯ
             [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความ
เพียรจึงจะมีผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่
ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความ
สุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้ง
ความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่ง
ทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอพึงเริ่มตั้งความ
เพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ
เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่ง
ทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์
เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็
เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่
วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว ฯ
             [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์
พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจา
กระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้
ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ
             พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
             ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์
พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก
ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่
เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้นมีความดำริอย่างนี้ว่า เรา
กำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าใน
หญิงคนโน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้
ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้น
ที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมา
เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคน
โน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ
             ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ฯ
             ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้น
แล้ว ฉะนั้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความ
คับแค้นใจ จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดกระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่
กับชายอื่น ฯ
             [๑๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไม่เอาทุกข์
ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้
หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จะยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง
ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้
เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมี
วิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมี
เหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้
ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญ
อุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ
             [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่ม
ตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่า-
*กระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก
เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้อง
เริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างศร ย่างลน-
*ลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอัน
ช่างศรย่างลนบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศร
นั้นไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะช่างศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน
ดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาเป็นอันสำเร็จ
แล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้องย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้
ตรงจนใช้การได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรม
ย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม
กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึง
เริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อม
เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความ
ลำบากได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อ
ความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว
ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ
             [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนเกิด
ภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความ
เชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่
ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขา
ขัดแล้วนี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละ
โภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง ละเครือญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึง
พร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ ละอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจาก
อทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด
ไม่ใช่ขโมยอยู่ ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกล เว้นเมถุนอันเป็นธรรมดาของชาวบ้าน ละมุสาวาท เป็นผู้เว้น
ขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์ เป็นหลักฐานเชื่อถือได้
ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่าย
นี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่
บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกแยกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน
หรือเมื่อเขาดีกันอยู่ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อม-
*เพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน
ละวาจาหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ
เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา
และชอบใจ ละการเจรจาเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าว
ถูกกาล กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย เป็นผู้
กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล
เธอเป็นผู้เว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลา
ราตรี เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง
และตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่ง
ตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เป็นผู้เว้นขาด
จากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ ๑- เป็นผู้เว้นขาด
จากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและกุมารี เป็นผู้เว้นขาดจาก
@๑. ข้าเปลือกชนิดที่เขาใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินและทองกันในสมัยนั้น
การรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลา เป็นผู้เว้น
ขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการ
รับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วย
ตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาด
จากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด
การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษด้วย
จีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปที่ใดๆ
ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใดๆ ย่อมมีแต่ปีก
ของตัวเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฯ
             [๑๗] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต
และโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ได้ดมกลิ่น
ด้วยฆานะ ... ได้ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... ได้รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม
อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวม
ในมนินทรีย์ ฯ
             [๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อม
เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอย
กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรง
สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ
และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง ฯ
             [๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย
อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ
เช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหาร
แล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ

การพัฒนาของสติ

เมื่อก่อนไม่รู้หรอกนะว่า ทำไมระหว่างวัน เวลาทำอะไรก็ตาม จะต้องมีจิตวิตก วิจารณ์ตลอด

กินก็คิด เดินก็คิด เข้าห้องน้ำก็คิด ทำงานบ้านก็คิด ซื้อของก็คิด แม้กระทั่งเวลานอนก็คิด ขนาดฝัน ก็ยังรู้ว่าฝัน ก็รู้ว่าคิด

พอรู้สึกตัวว่ากำลังฝัน จะมีสติบอกว่า กลับมาๆ นี่กำลังฝัน
จะกลับมารู้สึกตัวที่กายทันที

คือ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด หรืออยู่ในอิริยาบทใด มักมีวิตกวิจารณ์(ครุ่นคิดของสิ่งที่กำลังทำอยู่)เกิดขึ้นเนืองๆ

เมื่อมีวิตกวิจารณ์เกิดขึ้น การทำกิจนั้นๆ ย่อมช้าลง การตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งใด ย่อมช้าลง แม้กระทั่งเวลากิน

เมื่อก่อน เป็นคนกินข้าวหรือกินอะไรก็ตาม กินไวมาก
ตอนนี้เห็นความแตกต่าง ตอนที่ออกไปกินข้าวนอกบ้านกับน้องๆ จะเห็นว่า เป็นคนกินช้าลง ตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ไม่รู้

ไม่ใช่กินนับคำ บด ขยี้อาหาร รู้ว่ามี แต่ไม่ต้องกำหนดนับอะไรทั้งสิ้น เหมือนกินเรื่อยๆ ภายในเหมือนจะเร็ว แต่ภายนอก กลับดูช้า

การทำงานต่างๆ มีความละเอียด มีรายละเอียดของเนื้องานที่ทำมากขึ้น
จะค่อยๆรู้ชัดในรายละเอียดเหล่านั้น ค่อยๆรู้ ไม่ใช่รู้ทันที

การทำความเพียร

ขณะทำความเพียร ก็เช่นกัน บางครั้ง นั่งลง จิตเข้าสู่ความสงบ มีสมาธิเกิดขึ้นทันที บางครั้ง จิตจะคิดๆๆๆ สารพัดคิด แค่รู้ว่าคิด ปล่อยให้คิดไป

ถ้าเป็นเมื่อก่อน ตอนนั้นยังไม่รู้ว่า ความคิดที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของกิเลสที่มีอยู่

หากมีติดใจสิ่งใดอยู่ สติจะเป็นตัวจะขุดคุ้ยขึ้นมาคิด เมื่อไม่รู้ จึงทำให้เกิดความทุกข์ ทุกข์เพราะคิด อยากให้ความคิดที่เกิดขึ้นหายไป จะได้ทำสมาธิ
นี่หวังผล ทุกข์เพราะคิด จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ เหตุจากความไม่รู้

พอรู้แล้ว ไม่ทุกข์ ไม่ต้องกำหนด คิดหนอ รู้หนอ เมื่อก่อนไม่รู้ กำหนดใหญ่เลย พอความคิดดับหายไป โอ๊ยดีใจ วิธีนี้ได้ผล

ที่ไหนได้ เดี๋ยวมีเกิดขึ้นอีกแล้ว เกิดอีก กำหนดอีก ใครเหนื่อยล่ะ ตัวเองแหละเหนื่อย เหนื่อยใจกับการที่ต้องกำหนดซ้ำซาก เพื่อให้ความคิดที่เกิดขึ้น หายไป

พอรู้แล้ว เลิกกำหนด ไม่สนใจ มันก็แค่ความคิด ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่

เมื่อไม่ใส่ใจ แล้วความคิดเหล่านั้น จะหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร จิตเป็นสมาธิเอง

เวทนา

เวทนา ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ โดยเฉพาะความทุกข์กาย ความเจ็บปวด ความปวดเมื่อย อาการปวดขา ที่เกิดขึ้น

แรกๆที่ยังไม่รู้ ทุกข์มาก ยิ่งกำหนด ยิ่งปวด ปวดแทบจะขาดใจตาย น้ำตาเล็ด น้ำตาร่วง การปฏิบัติ ทำไมช่างยากลำบาก อย่างนี้หนอ
คิดๆๆ เจอทุกข์บ่อยๆ เลิกทำ ทำไปทำไม ยิ่งทำยิ่งปวด ไหนใครว่า ทำแล้วสบาย ทรมาณเป็นบ้า

พอเจอทุกข์(ในชีวิต) วิ่งหางจุดตูด ต้องเจอทุกข์ จนทนไม่ไหว นั่นแหละจึงหันกลับมา เริ่มต้นใหม่ ตายเป็นตาย ทุกข์ทางกายแค่นี้ ไม่ตายหรอก ทุกข์ทางโลก หนักยิ่งกว่า

พอลืมทุกข์(ทางโลก) เริ่มทำจ้ำจิ้ม กลับมาใช้ชีวิตปกติ ทุกข์มาก ทุกข์น้อย เริ่มเคยชิน

เพราะยังไม่เจอทุกข์ถึงที่สุด กรรมฐานจ้ำจิ้ม ย่อมมี เป็นเรื่องธรรมดาๆ ของสัตตานัง(ผู้ที่ยังมีเหตุให้ต้องเกิด) ที่ถูกอวิชชา ห่อหุ้มอยู่

ผลของทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงจุดๆหนึ่ง สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เกิดความสมดุลย์ การทำงานของจิต ขณะเป็นสมาธิอยู่

กระบวนการความรู้ชัด ย่อมเห็นได้ชัดเจนขึ้น รู้ชัดในแต่ละขณะของสิ่งที่เกิดขึ้น มากขึ้น

ทำให้เห็นการทำงาน กายส่วนกาย(สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย)
จิตส่วนจิต(กระบวนการรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น) แยกออกจากกัน
กายส่วนกาย จิตส่วนจิต

จิตเป็นเพียงกระบวนการของการรับรู้ถึงสิ่งที่มีเกิดขึ้น การรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ เป็นกระบวนการของความรู้สึกตัวหรือสัมปชัญญะ

สติเหมือนเชือก ที่ผูกจิตไว้ ให้รู้อยู่กับกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหมด ไม่มีซัดส่าย ไปหาอดีต ไปหาอนาคต ที่ยังไม่เกิด

มาถึงตรงนี้แล้ว การทำความเพียร เริ่มสบายขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบทได้ตามใจชอบ ไม่ต้องสนใจอาการต่างๆที่เกิดขึ้น

เมื่อยก็เปลี่ยน ปวดก็เปลี่ยน ไม่ต้องนั่งทนทุกข์ทรมาณ ไม่ต้องนั่งทรมาณสังขาร โดยการถือเนสัชชิก(ไม่นอน หลังไม่แตะพื้น)

เรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ต่างๆ ยังมีอยู่ แต่ไม่เอามาเป็นอารมณ์ และไม่นำไปสร้างเหตุนอกตัว(คุยโม้ โอ้อวด)

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆนี้ เป็นเรื่องปกติ เรื่องธรรด๊า ธรรมดา ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ไม่ใช่เรื่องคุณวิเศษอันใด

หากไม่รู้ ย่อมนำไปสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่(คุยโม้ โอ้อวด เป็นที่มาของอามิสบูชา จากผู้ที่มีเหตุปัจจัยร่วม) จมแช่กับสังสารวัฏต่อไป

เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นการรู้นอกตัว ไม่สามารถนำมากระทำ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

หากรู้แล้ว มีบ้างที่ยังนึกถึง แต่ไม่ติดใจ ไม่มีทั้งอยากให้เกิดขึ้นและไม่อยากให้มีเกิดขึ้นอีก

อยู่ที่บ้าน ทำยังไงก็ได้ อยากนอนก็นอน อยากนั่งก็นั่ง อยากทำอะไรก็ทำ ไม่เคร่งเครียดแบบก่อนๆ
พยายามละเหตุนอกตัว ไม่คลุกคลีตีโมงกับใครๆ ไม่มีสังคม ทำตัวเหมือนเต่าหดหัวอยู่ในกระดอง

การทำความเพียร จึงกลายเป็นเรื่องปกติ ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้น หากมีสติรู้เท่าทัน ไม่สร้างเหตุออกไป ตามแรงผลักดันของกิเลส ก็เป็นการทำความเพียร ในรูปแบบหนึ่ง ที่ให้ผลไว เช่นกัน

การทำความเพียร ในรูปแบบ ยืน เดิน นั่ง นอน
ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะไหน หากรู้แล้ว ทุกข์น้อยลง ไม่ยึดติดรูปแบบ

ไม่กระทำเพื่อเพิ่มตัณหา ทะยานอยาก ในความมี ความเป็น แม้กระทั่งสิ่งที่ถูกเรียกว่า เพื่อบรรลุธรรม เป็นเรื่องของกิเลส เรื่องของเหตุปัจจัย

ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่(สิ่งที่เคยทำไว้และอวิชชา) ของแต่ละคน และที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆๆ ของแต่ละคน

การดำเนินชีวิต และการทำความเพียร ของแต่ละคน จึงมีความแตกต่างกันไป เพราะเหตุนี้

ใช้ตัณหา เพื่อละตัณหา(ใช้ความอยากในสิ่งที่เรียกว่า บรรลุธรรม กระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ใช้ความอยาก ในความอยากเป็น สิ่งที่เรียกว่า โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์) เป็นเรื่องของ อวิชชา หรือความไม่รู้ที่มีอยู่

เมื่อรู้ชัดในทุกข์ สุข ทั้งที่รู้ด้วยตนเอง และรู้จากคำบอกเล่า ว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตว่า เพราะอะไรเป็นเหตุปัจจัย ทำให้มีเกิดขึ้น

ความหลง การจมแช่(ความติดใจ) อยู่กับทุกข์ สุข ความลุ่มหลง ในความอยากมี อยากเป็น ที่เกิดขึ้น ย่อมเบาบางลงไปตามเหตุปัจจัย
แต่ก็ยังมีหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่

จนกว่ารู้ชัดว่า ทุกข์ที่แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องของ การเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ฐานะใด มีเงินมากมายมหาศาลแค่ไหน ล้วนเป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
การสำรวม สังวร ระวัง ในการสร้างเหตุทางกาย วาจา ย่อมระวังมากขึ้น ที่ระวัง เพราะ ไม่อยากทุกข์(ไม่อยากเกิด)

ความเพียร เพียรไม่พัก เพียรทุกขณะ เพียรแบบธรรมดา
ไม่เพียรแบบผิดปกติ หามรุ่งหามค่ำ ไม่หลับไม่นอน(ผู้ทำแบบนี้ ไม่ได้ผิดปกติอะไร เป็นเรื่องของความไม่รู้ที่มีอยู่)

เพียรไม่พัก คือ มีสติ เวลาจะทำอะไร จิตจะคิดพิจรณาก่อนลงมือทำ การตัดสินใจทำสิ่งใด ช้าลง

การเพียรตามรูปแบบ ปรับเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของตน ไม่เคร่งครัด ไม่มีกฏตายตัว

นั่งๆอยู่ นึกอยากจะนอน ก็นอน ไม่สนใจว่า คืออะไร เป็นอย่างไร ถือว่า เพียรเหมือนกัน

เวลานอน สมาธิที่เกิดขึ้น มีกำลังมาก โอภาสย่อมมีเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา

แสงสว่างที่เกิดขึ้นมากน้อย แค่ไหน เป็นเรื่องของกำลังสมาธิ ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ ไม่ใช่คุณวิเศษอันใด

หากรู้ชัดเกี่ยวกับสภาวะขณะจิตเป็นสมาธิ อุปทาน การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ หรือความติดใจ อยากให้มีเกิดขึ้นอีก ย่อมไม่มี เพราะรู้แล้วว่า เป็นเรื่องปกติของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
หากรู้ชัดในเรื่องของเหตุแะลปัจจัย จะไม่เสียเวลาไปกับการเที่ยวชักชวน โน้มน้าวใครๆ ว่าจะต้องทำแบบนั้น แบบนี้ หากมีเหตุปัจจัยต่อกัน อยู่สุดหล้าอีกฟากฟ้า ก็มาหากันเอง ที่ชวนกันแทบตาย แล้วไม่มา เพราะไม่ได้สร้างเหตุ ให้มาเชื่อกัน

ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

รู้เห็น นึกคิด เห็นเช่นไร หรืออย่างไร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แต่ที่คิดว่ารู้ คิดว่าเห็น สามารถนำไปกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ (หยุดสร้างเหตุนอกตัว) ทำได้บ้างหรือยัง

นี่ต่างหาก ที่เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับสิ่งที่คิดว่า รู้ คิดว่าเห็น

ความสำคัญของหลักพระธรรมคำสอนทั้งหมด อยู่ตรงนี้

“รู้แล้วหยุด หยุดได้ จึงจะรู้ ”

สองสภาพธรรมนี้ ต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

นอกตัว เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

ในตัว เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของการสร้างเหตุแห่งทุกข์ ที่ยังมีอยู่

นอกตัว ดับไม่ได้หรอก

ในตัว ดับได้ หยุดได้ ก็จบ ที่ไม่จบ เพราะคิดดับผิดที่

กรรม

๒๗ ตค.๕๗

ขึ้นชื่อว่า “กรรม” หรือการกระทำ พึงระวังไว้บ้าง

บทความทุกบทความ ถ้อยคำที่วลัยพรขีดเขียนทั้งหมด ไม่ได้หวง ใครจะหยิบไปใช้อย่างไรได้หมด

เพียงแต่ อย่าพยายามนำข้อความไปดัดแปลง แปรรูป เที่ยวนำไปปนเปกับบทความอื่นๆ และโดยเฉพาะไม่ควรทำเนียน ทำเหมือนกับว่า เป็นคนขีดเขียนขึ้นมาเอง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

ไม่ได้อยากรับรู้อะไร แต่มีเหตุปัจจัย ที่จะต้องให้รู้ทุกที น่าเบื่อจริงๆ พวกที่ขยันสร้างเหตุไม่รู้จบ เอาตัวเองให้รอดก่อนเถอะพ่อเจ้าประคุ๊นนน ไอ้ที่นำมาโพสๆน่ะ ทำได้หรือยัง หากยังทำไม่ได้ วิบากส่งผล ใครรับผลล่ะ คนที่กระทำน่ะแหละที่รับผล ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย

นี่แหละเหตุของความไม่รู้ จึงขยันสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ

๒๘ ตค.๕๗

ความไม่รู้

กรรม หรือการกระทำ หากปฏิเสธเรื่องกรรม เท่ากับไม่ยอมรับกับการกระทำ ของตนเอง ที่ได้กระทำทั้งทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม

เมื่อก่อน คำนี้ฮิตมาก “ฤามี ให้หนีกรรม” เคยคิดนะว่า ใครล่ะ จะหนีพ้นกรรม ที่ตนเองเคยกระทำไว้ได้ ทำอย่างไร ย่อมรับผลเช่นนั้น

พอเห็นรายละเอียดเกี่ยวกับ “กรรม” มากขึ้น ทำให้รู้ว่า กรรมหรือการกระทำนี้ หนีได้นะ หนีได้โดย ไม่สานต่อ เหตุมี ผลย่อมมี หากไม่มีเหตุ ผลจะมาจากไหน ที่ยังผลให้ได้รับอยู่ ล้วนเกิด กิเลสที่ครอบงำ หลงกระทำกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆๆ

เกิดมาก็เพราะ กรรม เกิดเป็นอะไร ก็เพราะ กรรม ขึ้นอยู่จิตสุดท้าย ระลึกถึงสิ่งใด ภพชาติใหม่ เกิดขึ้นทันที

ทำไมจึงบอกว่า เกิดมาก็เพราะ กรรม กรรมคือ การกระทำ การกระทำคือ เหตุ เหตุของการเกิด ที่ยังมีอยู่

หิริ โอตัปปะ

ความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

ความละอายใจ เป็นเรื่องที่บอกกันได้ยาก เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และเคยกระทำมาของแต่ละคน

พูดเรื่อง กรรม หิริ โอตัปปะ จะพูดให้เข้าใจได้นี่ ต่อให้ชักแม่น้ำมาทั้งหมด หากไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน พูดยังไงก็ไม่เชื่อ ยังคงหลงกระทำ สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นมาใหม่ อยู่ร่ำไป

หากเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน ไม่ต้องโน้มน้าว ไม่ต้องชักแม่น้ำ แค่สะกิดนิดเดียว เชื่อกันทันที พยายามที่คิดจะหยุด มากกว่ากระทำให้มีเกิดขึ้นอีก

ก็มีเหมือนกันนะ กับบุคคลที่ชอบพูดกับวลัยพรว่า เคารพพี่นะ เชื่อพี่ทุกอย่าง แต่พฤติกรรม คนละเรื่อง ช่างขยันสร้างเหตุซะจริงๆ เพราะความโลภ แค่การกดไลค์ แค่คำอนุโมทนาของคนอื่น ขยันหาเรื่องนั้น เรื่องนี้ เกี่ยวกับธรรมะมาโพส แต่ชีวิตจริง คนละเรื่อง พฤติกรรม หน้ามือกับหลังมือ นี่แหละ เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

สุดท้ายหนีไม่พ้นกรรมที่ตนเองกระทำลงไป พอมีเรื่องทุกข์ใจขึ้นมา หาที่ระบายไม่ได้ มาละ โอ๊ยพี่อย่างงั้น พี่อย่างงี้ และกลับไปกระทำเหมือนเดิม ถึงไม่อยากรับฟังไง

เรื่องพวกนี้ ทำให้นึกถึงคำของอาจารย์ ท่านเคยใช้คำพูดนี้กับวลัยพร ตอนที่เริ่มจะผละออกจากท่าน ท่านพูดว่า ต้องกลับไปกินอาจมเหมือนเดิม

ตอนที่ได้ยิน โกรธท่านมาก แหมมาว่าเราได้ไง มาตอนนี้เข้าใจละ คำว่ากลับไปกินอาจม คือ การอยู่กับโลกเหมือนเดิม กินอยู่กับกาม เสพกาม หนีไม่พ้นกาม ตอนนั้นชีวิต สุดๆเลยนะ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่ เพียงแต่จะรู้หรือยังเท่านั้นเอง

เออนะ แต่ก็ถือว่า ท่านไล่ให้เรามาได้ดี ดีกว่าเดิม ไม่ติดนิมิต ไม่ติดอภินิหารย์ ไม่ติดอยู่กับกาม ไม่ติดอยู่กับโลกอย่างหนาแน่น อย่างที่เคยเป็น

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต ตราบใดที่ยังไม่สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ยังไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริง ไม่รู้ชัดในเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ที่ส่งผลมาให้ได้รับในรูปของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ) ย่อมหลงกระทำสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ที่เกิดจาก อวิชชา/ความไม่รู้ที่มีอยู่นั่นเอง

กรรม=สิ่งที่กระทำ วิบากกรรม=ผลที่ได้รับจากการกระทำ

เรื่องเหตุและผล ตามกฏแห่งการกระทำ เที่ยงตรงเสมอ

สิ่งที่เขาว่าเรา กล่าวเพ่งโทษเรา เรารู้ เรายอมรับ แค่ดู ไม่ตอบโต้ ปรับเปลี่ยนที่ตัวเอง พยายามงดเว้น ที่จะเข้าข้องเกี่ยวด้วย ค่อยๆละ

วิบากกรรม/ผลของการกระทำที่เขาได้รับ เขาผู้ซึ่งยังไม่รู้ ถึงได้รับผลกรรมนั้นๆ ก็ยังไม่รู้ เป็นปัจจัยให้ หลงกระทำเหตุใหม่ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ กับผู้ที่มีมีเหตุปัจจัยต่อกัน ต่างคนต่างสร้างกลับไปกลับมา วังวนแห่งความหลง มีแค่นี้เองหนอ

คำติหนิ ดีกว่าคำยกยอ

เมื่อก่อน เวลาเจอคำชม ไปหมดแล้วใจ ติดใจในคำชม ยิ่งเขายอมา ยิ่งทำงานเพื่อให้ได้คำชม ยิ่งใครเรียกอาจารย์ ตัวยิ่งพอง ฉันนี้แน่ ฉันเป็นอาจารย์ พอโดนสะกิดต่อม(ตำติ) แหม่ ของขึ้นทันที ยอมรับไม่ได้

จากหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ผ่านมาเข้ามาในชีวิต ตอนนี้ คำชม ยกย่อง สรรเสริญ ยกยอปอปั้นต่างๆ ใช้ไม่ได้กับเราหรอก หลงคำชม ย่อมมองไม่เห็นตัวเอง ทำงานเพิ่มมากขึ้น ก็มองไม่เห็น บ้าโพสธรรมะ ก็มองไม่เห็น จิตหมกมุ่น ก็มองไม่เห็น กิเลสบดบังหมด นี่แหละ อวิชชา จึงจมแช่อยู่กับคำชม

ปัจจุบัน ไม่ว่าใครจะพูดชื่นชมแบบไหน หรือเรียกว่าอะไร ใจไม่มีฟู หูไม่กระดิกไปกับคำชม คำยกยอเหล่านั้น ฟังแล้วผ่านหูไป ไม่ได้ช่วยให้รู้ชัดในเหตุปัจจัย(มโนกรรม) ที่ยังมีอยู่

คำติ

เรื่องปกติ ที่คนส่วนมาก ไม่ชอบให้ใครมาติ เพราะ ตัวกรู ของกรู มากล้น ยิ่งถ้ามีหัวโขนสวมออยู่ ยิ่งติไม่ได้ ติเป็นหายาก ติแล้วต้องตาย หาง่าย

หากรู้ตามความเป็นจริงว่า คำตินั้น มีค่ามากมายมหาศาล คงรับฟังคำติกันมากขึ้น ต่อให้คิดว่า ตัวเองทำดีมากแค่ไหน หากยังมีคำติ นั่นแหละ ขุมทรัพย์ ที่ไม่ทำให้หลงกับคำยกยออื่นๆ

เวลาดูตัวเอง มักดูคำติ มากกว่าคำสรรเสริญ เขาติเราน่ะดี เรายังมีโอกาสแก้ไข ในเหตุปัจจัยที่มีอยู่ได้(กับผู้อื่น) เขาไม่ชอบเราเพราะอะไร เราก็แค่ละเหตุตรงนั้นเสีย ไม่เข้าไปข้องเกี่ยว เป็นการดับเหตุที่จะทำให้เกิดขึ้น เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

ตราบใดที่ยังมีเหตุ(สิ่งที่เคยกระทำไว้) ผลย่อมมี(สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ) เป็นเรื่องปกติของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ต่อให้หนีไปอยู่สุดหล้า ใครๆตามหาไม่พบ ก็หนีไม่พ้น(ใจตัวเอง) ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่(กิเลส)

ทุกๆการกระทำของผู้อื่น ที่กระทำกับเรา เป็นปัจจัยให้เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ ไม่ชอบใจก็เหตุปัจจัยที่มีอยู่ ชอบใจก็เหตุปัจจัยที่มีอยู่

การเรียนรู้ ที่จะทำให้ใจยอมรับทุกๆสิ่ง(นอกตัว) ที่เกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลา แรกๆกดข่มใจ เกิดความรู้สึกบีบบังคับตัวเอง ทำให้เกิดทุกข์ นี่เป็นเรื่องธรรมดา

เจอบ่อยๆ ทำแบบเดิมๆ กดข่ม ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกบีบคั้นที่เคยมี เบาบางลง เหลือความรู้สึกเจ็บใจตัวเองแทน

เจ็บใจในสิ่งที่ตัวเองกระทำลงไปด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ ตายแล้วเกิดเกิดแล้วตาย เวียนว่ายในแม่น้ำตัณหา เพราะความไม่รู้

พอรู้แล้ว รู้สึกเข็ดขยาด ต่อให้เกิดสวรรค์ชั้นฟ้า เกิดมาร่ำรวยมหาศาล ให้เป็นหนึ่งในแผ่นดิน ก็ไม่เอา ไม่อยากเกิด เกิดแบบไหน ล้วนมีทุกข์ ทุกข์มาก ทุกข์น้อย ล้วนชื่อว่า ทุกข์

การทำความเพียร เหตุจากความไม่รู้ชัดเกี่ยวกับการทำความเพียร เพียรเพื่ออะไร เพียรแบบไหน อิริยาบทใด สถานที่แบบไหน

เหตุจากความไม่รู้ที่มีอยู่ แรกเริ่มการทำความเพียร จึงวิ่งแสวงหานอกตัวก่อน ปัจจัยจากชอบทำบุญ ก็วิ่งเร่ทำบุญ ช็อปบุญกระจาย ช็อปจนหมดตัว ก็เคย เพราะไม่รู้ จึงทำ แม้กระทั่งเบียดเบียนผู้อื่น ก็ยังไม่รู้

บางคนไม่ยอมส่งเงินให้พ่อแม่ บ้าบุญ ผ่อนบุญ พ่อแม่เลี้ยงไม่ได้ ทำบุญเพื่ออะไร นี่แหละความไม่รู้

สำนักไหนเขาว่าดี ปฏิบัติดี วิ่งเร่หาทันที เข้าสำนักนั้น ออกสำนักนี้ วิ่งวุ่นไปทั่ว สถานที่ใกล้บ้านไม่เอา ทั้งๆที่เสียค่าเดินทาง เสียค่าใช้จ่ายน้อย ก็ไม่เอา กล่าวโทษว่า สอนไม่ดี สถานที่ไม่ดี ต้องวิ่งไปเสียเงินที่อื่น เพราะไม่รู้ จึงวิ่ง

การสเดาะเคราะห์ เข้าองค์ ทรงเจ้า ร่างทรง เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของตัวเอง และเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งนั้น เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ ยังคงสร้างเหตุเดิมๆซ้ำๆ ให้มีเกิดขึ้นอีก

ปลุกเสก เครื่องรางของขลัง อภินิหาร ปาฏิหารย์ อวดอิทธิฤทธิ์ ปล่อยข่าวลือ เข้านิโรธ เข้าสมาบัติ มีแต่ความลุ่มหลงงมงาย ล้างผลาญเงินทอง ทำบุญแบบขาดปัญญา เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ ยังคงสร้างเหตุเดิมๆซ้ำๆ ให้มีเกิดขึ้นอีก

สังสารวัฏ ก็เป็นแบบนี้แหละ จนกว่า อวิชชา ที่ถูกทำให้เบาบางลงไป จึงคลาดแคล้วบ่วงมาร(กิเลส) ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องเกิด หากอวิชชาหรือความไม่รู้ ยังไม่ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น

เมื่อคืนคุยกับเจ้านายว่า พระพุทธเจ้านี่สุดยอดเลยนะ วลัยพรน่ะ พอรู้แล้ว ไม่เอาเลย แต่พระพุทธเจ้านี่ ช่วยทั้งๆที่รู้ว่า ต้องพบเจออะไรบ้าง นี่แหละความยากลำบาก ของผู้ที่ปรารถนาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระคุณมากมายมหาศาล ประมาณมิได้

นับว่ายังดี ที่ยังเกิดในสมัยที่มีพระธรรมคำสอน ปรากฏร่องรอยไว้บ้าง หากไม่มีเลย ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป หรือ ถึงจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป จะโทษใครเล่า ตัวเองทำขึ้นมาเองทั้งนั้น ตามแรงตัณหาความทะยานอยาก เหตุจากความไม่รู้ที่มีอยู่

คำติ หากรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในความมีตัวตน ที่ยังมีอยู่ มากขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดการสำรวม สังวร ระวัง มากขึ้น กระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ มากกว่า การสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่

คำชม หากไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้ มีแต่ความหลงการสร้างเหตุนอกตัว มีแต่การสร้างเหตุของการเกิด มากกว่าการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

หวยคร้าบบบบ

20ตค.57

สภาพธรรม เกี่ยวกับ “หวย” แรกพบเจอ จนถึงวันนี้ แรกๆทุกข์ ทุกข์เพราะ ไม่ชอบใจ มองว่า เสียเวลา ไม่มีประโยชน์แก่นสารใดๆ

ตอกย้ำ

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งชอบใจ ไม่ชอบใจ ล้วนเป็นธรรมะ เป็นเรื่องธรรมดา เป็นความปกติของเหตุปัจจัยที่มีอยู่

เมื่อลงไปเล่นด้วย การเข้าร่วมสังคม จะทางไหนๆ ไม่แตกต่างกัน เหมือนกันหมด แต่เราจะรู้ทันหรือยัง

การลงไปเล่นด้วย ย่อมถูกกิเลสครอบงำ เป็นปัจจัยให้ ไม่เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น

ความกลัว

ปัจจัยจาก เจ้าตัววายร้าย(กิเลส) ที่คอยกระซิบอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะใกล้วันหวยออก(ถูกแดร๊ก แน่ๆเลย)

แรกๆเป็นทุกข์ เพราะ กลัวเจ้านายเสียทรัพย์ ความทุกข์เกิด ย่อมมองอะไรไม่ออก ไปชั่วขณะ

ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง จิตมีคิดพิจรณาตลอด ความกลัวเริ่มเบาบาง ไม่ยี่หระต่อเสียงกระซิบ

เจ้านายจะได้หรือเสีย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา เรามีหน้าที่อะไร ควรทำหน้าที่ของตัวเอง ให้เหมาะให้ควร

ช่วงหลังฝันบ่อย มักฝันว่า เราชวนเจ้านายให้ไปสถานที่แห่งหนึ่ง ชวนเท่าไหร่ เขาก็หนีขึ้นบ้าน ไม่ไปด้วย เราห่วงเขา ทิ้งไม่ได้ ตามขึ้นบ้านไปด้วย ฝันเดิมๆซ้ำๆ เปลี่ยนแค่สถานที่ แต่เรื่องราวเดิมๆ

เล่าเรื่องความฝันให้เขาฟัง เขาถามว่า รู้มั๊ยว่าชวนไปไหน

เราบอกว่า ในฝันไม่รู้หรอก รู้แค่ว่า ความฝันนี้ เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก เป็นเรื่องของความห่วง ที่เรามีกับเขา

ส่วนเรื่องหวย เป็นเรื่องของ ความติดใจ ที่เรายังมีอยู่ ซึ่งที่สงบเงียบ ดูเหมือนจะไม่มี เพราะไม่มีเหตุจูงใจ ไม่มีแรงกระตุ้น ยังไม่ถึงเวลา เงียบสงบชั่วคราว

คงถึงเวลามั๊ง เจอแรงกระตุ้น แรกๆไม่ชอบใจ ไปๆมาๆ กลายเป็นหลงเสพเข้าไป

เรื่องราวของสภาวะ หากวิชชาเกิดขึ้นแล้ว(ความรู้ชัดในผัสสะ) ความหลงที่เกิดขึ้น จะครอบงำอยู่ได้ไม่นาน

เมื่อมีเหตุปัจจัย ให้ความหลงจางคลาย การดำเนินชีวิต กลับมาเป็นปกติ เหตุของใคร ก็เหตุของคนนั้น

คุยกับเจ้านายว่า เรื่องตัวเลข เราจะช่วยเท่าที่ช่วยได้ ตอนนี้เขามีตัวช่วยละ แหล่งหาข้อมูล ที่เราให้ไป คือ ตัวเราเอง เหมือนคนหาวิธีการให้กับเขา พอเจอแล้ว ก็จบ ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเต็มตัว แบบเมื่อก่อน

สำหรับสูตรที่ใช้อยู่ ตรงไหนรู้แล้วว่า ใช้แบบไหน ใช้ตรงไหน แค่เขียนให้ชัดๆ(ลงสมุด) หากเราไม่อยู่ เขาจะได้หาข้อมูลได้สะดวก

แค่รู้

20 ตค.57

คำว่า ” แค่รู้” กว่าจะทำใจให้ แค่รู้ได้ ต้องเจอทุกข์ก่อน

เมื่อเจอทุกข์เนืองๆ ความเบื่อหน่าย(ทุกข์) ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นความปกติของเหตุและปัจจัย

เมื่อความเบื่อหน่าย(ทุกข์) มีเกิดขึ้น การสำรวม สังวร ระวัง จิตเกิดการคิดพิจรณา ก่อนลงมือกระทำ(สร้างเหตุ) ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

ความเบื่อหน่าย มีหลายรูปแบบ บ้างเบื่อ เพราะการดำเนินชีวิต บ้างเบื่อ เพราะสถานะที่ตนเป็นอยู่ บ้างเบื่อ เพราะไม่ได้ดั่งใจ สารพัดเบื่อ เหมือนลมพัดมา พอเจอความถูกใจ ความเบื่อหายไป

ลักษณะอาการเบื่อแบบนี้ เป็นเรื่องของ โลกธรรม ๘ เป็นเพียง ทุกข์จร ทุกข์มาก ทุกข์น้อย ขึ้นอยู่กับความติดใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

การทำความเพียร มีจ้ำจิ้ม ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา เพราะ ยังทุกข์ไม่จริง

ทุกข์จริงนั้น เป็นอย่างไร

ทุกข์จริง มีแต่เรื่องของการเห็นทุกข์ โทษ ภัย ของการเกิด

หากรู้ชัดในทุกข์(การเกิด) จะเพียรไม่พัก เพียรทุกขณะจิต แม้กระทั่งเวลานอน ไม่นอนเสียเปล่า จนกระทั่ง นอนหรือไม่นอน มีค่าเท่ากัน แตกต่างตรงสภาพภายนอกที่มองเห็น ภายในไม่แตกต่าง

หากรู้ชัดในเหตุแห่งทุกข์ จะเพียรละในเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว ตามกำลังสติ สมาธิ ปัญญา ที่มีอยู่

เมื่อกระทำลงไปแล้ว ผลส่งมาให้รับ จะยอมรับโดยสงบเงียบ ไม่มีกล่าวโทษนอกตัว เหตุมี ผลย่อมมี

การอยู่ร่วมกัน

สังคม ไม่ใช่ตัวกำหนดวัดค่าของผู้ใด ผู้หนึ่งได้

ไม่มีใครที่คิดตัดสินใครได้

การกระทำ ทุกๆการกระทำ ที่กระทำลงไป และที่แอบกระทำ(ในใจ)

เหตุเป็นอย่างไร ผลย่อมเป็นเช่นนั้น

ส่วนผลของเหตุไหน จะส่งให้ได้รับได้เร็วกว่ากัน
ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เคยกระทำไว้ และสิ่งที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละขณะๆๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะ ของแต่ละคน
ล้วนเกิดจาก เหตุ(สิ่งที่เคยกระทำไว้)

ต้นเหตุของ อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ก่อให้เกิดการกระทำลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

การเรียนรู้ มีอยู่ทุกขณะๆๆ
เรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ โดยใจเป็นทุกข์ น้อยลง ตามอุปทาน ที่ยังมีอยู่

ยึดมาก ทุกข์มาก

ที่ไม่ยึดเลย มีแต่ผู้ปราศจากกิเลสเท่านั้น

Previous Older Entries

ตุลาคม 2014
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ