ทำด้วยใจ

วันก่อน เจ้านายกลับมา ตี ๒ กว่าๆ ซึ่งเป็นวันที่ คนทำงานส่วนมากจะหยุด(วันเสาร์)แต่เจ้านายต้องไปทำงาน

เหตุที่กลับดึก เนื่องจาก เซิฟเวอร์ ที่เขาดูแลอยู่ มีปัญหา

เคยถามเขาว่า ทำงานดึกแบบนี้ ได้โอทีไหม 

เขาบอกว่า แผนกเขา ไม่มีโอที 

บางครั้ง วันหยุดอยู่บ้านแท้ๆ ขออภัย นั่งทำงานทั้งวัน เหมือนไม่ได้หยุด โทรฯเข้ามาเนืองๆ(ติดต่อเรื่องงาน)

มีความสุขกับการทำงาน

เจ้านายเป็นคนที่ มีความสุขกับการทำงาน ไม่เคยเรียกร้องผลประโยชน์จากที่ทำงาน คือ ทำเกินค่าแรง ที่ตัวเองได้รับ

เคยถามเหมือนกันว่า ทำไมแผนกเขา จึงไม่มีโอที

เขาบอกว่า งานแผนกเขา เป็นงานที่ไม่แน่นอน บางครั้งต้องอยู่ดึก หรือถ้าไม่มีงาน บางคนก็กลับก่อนเวลา

เราบอกว่า เป็นแบบนี้นี่เอง ไม่ซื่อสัตย์

งานที่เจ้านายทำเป็นปกติทุกวัน ทุ่มนึงโทรไปนี่ ยังอยู่ที่ทำงานอยู่เลย

นี่แหละงาน ที่ทำด้วยใจรัก ประกอบกับเจ้านาย รู้จักบริหารการเงิน จึงไม่เคยบ่นใดๆ เกี่ยวกับเงินที่ได้รับอยู่ ที่บางคนอาจคิดว่า ไม่คุ้มกับค่าจ้าง เจ้านายไม่เป็นแบบนั้น

บางวันเขาออกต่างจังหวัด หากงานยุ่งมา โทรไปหานี่ บ่ายโมง ยังไม่ได้กินข้าวเลย

ฉะนั้น หากเป็นวันหยุด แล้วเขาต้องออกไปดูงานที่ต่างจังหวัด วลัยพรจะเตรียมของกินแบบง่ายๆ ให้ไว้สำหรับช่วง งานยุ่ง จนไม่มีเวลากินข้าว ได้กินแซนวิช(บลูเบอร์รี่ชีส) ก็ยังดี

และทำไปเผื่อรุ่นน้องของเขา ที่ไปด้วยกัน มีคำชมกลับมา บอกว่า อร่อยมาก เรารู้ดีว่า หากหิว ต่อให้อาหารห่วยขาดไหน ก็อร่อยได้ แต่ที่เขาชมมา อันนี้อร่อยจริงๆ เพราะที่ห้องชอบทำกินกันประจำ

เจ้านายจะชอบแซนวิช ไส้บลูเบอร์รี่ชีส มากกว่า ไส้มายองเนสหมูหยอง หรือมายองเนสทูน่า แต่กินได้หมดทุกไส้

แปลกแต่จริง

เป็นเรื่องแปลก แต่จริง สำหรับวลัยพร มีอยู่เรื่องเดียว สังเกตุเห็นมาหลายปีแล้ว ทำให้เกิดความทุกข์ตลอด เมื่อเข้าถึงเดือนเมษายน

ไม่เกี่ยวกับปีชง หรืออะไรชง แต่มีเกิดขึ้นแบบนี้ทุกปี ในช่วงของเดือนเมษายน จะต้องติดขัดเรื่องเงิน ทำให้เกิดอุปสรรค ในการดำเนินชีวิต

เพิ่งนึกออก เมื่อกี้เอง คือ จิตมันคิดๆขึ้นมาเอง เกี่ยวกับเดือนพิเศษสำหรับตัวเอ

มาปีนี้ก็เจออีก แต่ไม่ทำให้ทุกข์ และไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต เพราะอีกไม่กี่เดือน สภาพทุกอย่างของการดำเนินชีวิต จะกลับมาเป็นปกติ

แต่สิ่งที่ตั้งใจไว้ไม่เคยเปลี่ยน คือ ตั้งใจให้เจ้านายเก็บเงิน เพื่อต่อเติมบ้านให้กับยาย จึงไม่มีการขอเงินเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว คือ มีแค่ไหน ใช้จ่ายให้เหมาะสม

อยากให้ยายของเจ้านาย อยู่อย่างมีความสุข มีความสุขกับชีวิต เมื่อมีความสุขแล้ว ต่อให้มีใครมาพูดอะไร ยายจะได้ไม่สนใจ เพราะคนที่มาพูด ไม่มีอะไรที่เหนือกว่ายาย ไม่ว่าจะบ้าน และฐานะความเป็นอยู่ การมีกินแบบสุขสบาย ซึ่งน้อยคน ที่จะมีได้แบบยายของเจ้านาย แบบที่ยายเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ต่อให้คนมาพูด มีรถขับ แต่ความเป็นอยู่ ตลอดทั้งสภาพบ้านเสื่อมโทรม ไม่มีการปรับแต่ง การกินอยู่ ไม่ได้สะดวกสบายแบบยาย

พวกที่มีความทะยานอยากมาก ดูออกง่ายมาก คนพวกนี้ มีแต่ความขี้โม้ ตราบใดที่ยังมีความละโมบ ยังมีความอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น นี่รวยไม่จริง คนรวยจริง ไม่อยากได้ของใคร และจะเงียบ เพราะ กลัวขโมย

ต่อไป คนเหล่านี้ จะมาพูดให้ยายหวั่นไหวไม่ได้อีก มีแต่พวกขี้โม้ พวกอวดร่ำอวดรวย แต่สภาพแท้จริง ไมไ่ด้มี(ห่าอะไรเลย) แหกขี้ตาโม้ไปวันๆ ฐานะความเป็นอยู่ กระจอกกว่ายายของเจ้านายอีก

หัวข้อธรรมพระไตรปิฎก

รวมพระสูตร หัวข้อธรรมพระไตรปิฎก

 

http://www.tripitaka91.com/tripitaka91_1.php?book_code=35

ภัทเทกรัตตสูตร (ผู้มีราตรีเดียว)

๑. ภัทเทกรัตตสูตร (๑๓๑)

[๕๒๖]
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี สมัย
นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระด�ารัสแล้ว พระผู้มี พระภาคได้
ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้ง
หลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

 

 

[๕๒๗]
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่ง
นั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่ง
เถิด พึงท�าความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยน
กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่
อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
[๕๒๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ ร�าพึงถึงความเพลิดเพลิน
ในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้วได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ ล่วงแล้ว ได้มี
สัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาล
ที่ล่วงแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

 

๕๒๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่ค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ ไม่ร�าพึงถึงความ
เพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วง
แล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่าง
นี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไรคือ ร�าพึงถึงความเพลิดเพลิน
ในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญา
อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาลอนาคต ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่ง
หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๓๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ ไม่ร�าพึงถึงความ
เพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาล
อนาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

 

[๕๓๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
แล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม
เล็งเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในรูป บ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็ง
เห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็น
สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในสังขารบ้างย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า
ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันฯ

 

[๕๓๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับ
แล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วใน ธรรมของ
พระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เล็ง
เห็นรูปโดยความ เป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้างไม่เล็ง
เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
บ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตา
ในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่
เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตา
ในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

 

[๕๓๔]
บุคคลไม่ควรค�านึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
แล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน
ในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
ให้ปรุโปร่งเถิด พึงท�าความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยน
กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ค�าที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๑

 

Click to access buddha2010-05-28_14-02-36.pdf

สิ่งที่ทำให้ เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย

เหตุของ ความเบื่อหน่าย มีหลายเหตุ

เท่าที่เจอกับตัวเอง คือ

๑. เห็นทุกข์ โทษ ภัย ของการเกิด 
(เมื่อยังมีหลงสร้างเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

๑. การใช้ชีวิตเดิมๆซ้ำๆ
(เหตุปัจจัยของกิเลส ที่มีอยู่ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

๒. ความเจ็บป่วย เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย
(ความเจ็บป่วย ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

๓. ถึงเวลากิน ก็ทุกข์ ถึงเวลานอน ก็ทุกข์ ถึงเวลาที่ต้องลุก ก็ทุกข์
(กิจวัตร ที่ทำเดิมๆซ้ำๆ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

๔. อยู่เฉยๆ ไม่มีอะไร จู่ๆจิตก็คิดพิจรณาขึ้นมาเอง
(เห็นแต่ทุกข์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

เท่าที่คิดออกในตอนนี้ คิดได้แค่นี้

วิธีรับมือกับความเบื่อหน่าย ของตัวเอง

๑. แค่รู้ว่า มีเกิดขึ้น

๒. หากทนไม่ไหว ออกนอกห้อง เปลี่ยนบรรยากาศ

๓. เบื่อมากๆ ไปเดินห้าง

๔. เปลี่ยนสถานที่ ไปวัดบ้าง

สุดท้าย กลับมาตายรัง(ห้อง)

ทำความเพียรอยู่ที่ห้อง น่ะเสียเงินน้อยที่สุด
การสร้างเหตุนอกตัว ก็น้อยที่สุด

นี่แหละ เหตุปัจจัยของกิเลส ที่ยังมีอยู่
ก็หาทางปรับเปลี่ยนสถานะตัวเอง ทำแบบนี้ไป
จนกว่าจิตจะเกิดการปล่อยวาง จากผัสสะที่เกิดขึ้นได้เอง ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุให้ ทำให้อยู่กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ด้วยใจปกติ
เพียงทำความเพียรต่อเนื่อง พยายามไม่หลงสร้างเหตุกับใครๆ

ถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม คงได้เจอกับ สภาวะความตาย อีกครั้ง
แต่ถ้าเจอกิเลสดักหน้าอีก คงแป่กไปก่อน

ผัสสะที่ทำให้เกิดทุกข์

สิ่งที่ทำให้รู้สึกทุกข์ ได้มากที่สุด คือ ความเบื่อหน่ายใน อัตภาพร่างกายนี้

(ต้องกิน ต้องขับถ่าย ต้องนอน ต้องตื่น ต้องดูแลรักษา ให้เกิดความเจ็บป่วย เท่าที่ทำได้)

และความเบื่อหน่าย ต่อการมีชีวิตอยู่ ชีวิตน่าเบื่อมากกก เหตุจาก เห็นวงจรชีวิต ตั้งแต่ลืมตา จนกระทั่งถึงเวลานอน เดิมๆซ้ำๆ 

ส่วนเรื่องนอกตัว ยอมรับ(ทำใจ)ได้มากขึ้น

ผัสสะที่เกิดขึ้นนี้(เบื่อหน่าย)
ยอมรับว่า ยังทนได้ยาก สำหรับตัวเอง แค่รู้ว่า มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

เวลาที่มีผัสสะนี้ เกิดขึ้นแต่ละครั้ง รู้สึกบีบคั้น ทนได้ยาก

แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง มีเกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง

เกิดขึ้นนานบ้าง แค่แปบบก็หายไป ก็มีบ้าง

มีแต่การเรียนรู้กับผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น
นอกนั้นไม่มีอะไร

ที่ยังมีอยู่
ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และเหตุใหม่ ที่หลงสร้างออกไป

การทำความเพียร และ การดำเนินชีวิต

ในแง่ของ สิ่งที่เกิดขึ้นในจิต อาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า การคิดพิจรณา หรือ เรียกว่าอะไรก็ตาม

หากสักแต่ว่า รู้ รู้ว่ามีเกิดขึ้น ไม่ต้องไปถามใครๆ

แค่รู้ว่า เป็นความปกติของความคิด รู้แค่ว่า มีเกิดขึ้น 

การที่ไม่นำไปถามใครๆ เหตุของการสร้างเหตุ ของความเกิด ย่อมไม่มี

แต่เมื่อนำไปถามใครๆ ความบังเกิดขึ้น ของการสร้างเหตุขึ้นมาใหม่ ย่อมมี

อันดับแรก คือ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ต่อคำตอบที่ได้รับ

ชอบใจก็เพราะเหตุ

ไม่ชอบใจก็เพราะเหตุ

ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

ผู้ที่สร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย
ตัวเอง เป็นผู้กระทำขึ้นมาเองทั้งนั้น

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เมื่อเจอความเกิดขึ้นของโลกธรรม ๘

ย่อมทนอยู่ได้ยาก
เป็นเหตุให้ หลงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

นี่แหละ แรงของกิเลสตัณหา เหตุของอวิชชาที่มีอยู่
(เมื่อไม่รู้ จึงหยุดไม่ได้ หลงสร้างเหตุให้เกิดขึ้นทันที)

ที่ผูกร้อยรัด ทุกรูปทุกนามไว้
ให้ติดอยู่กับสังสารวัฏ เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด
เนิ่นนานในสังสาวัฏ เพราะเหตุนี้

ยังมีอยู่นะ

หลายครั้ง ที่ขีดเขียนเกี่ยวกับภาคปริยัติ


สิ่งที่วลัยพร ยังมีอยู่คือ การเปรียบเทียบ เปรียบเปรย เกี่ยวกับ ความไม่รู้ชัดในอาการที่เกิดขึ้น ของผู้อื่น 

หมายถึงทั่วๆไป ไม่ได้เจาะจงถึงผู้ใด เป็นกรณีพิเศษ
แต่ก็ยังมีอยู่ บางครั้ง ที่มีภาพผุดขึ้นมา(บุคคลที่มีเหตุต่อกัน)

ที่เป็นแบบนี้ รู้ดีว่า ยังมีความไม่ชอบใจกับการทำสัทธรรมปฏิรูปของในแต่ละยุค ในแต่ละสมัย ที่กระทำการเผยแผ่ คำเรียกนั้นๆ จนแทบจะนำพระธรรมคำสอน มากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ กลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ในการหาคำแปลมากขึ้น

เหตุเพราะ คำที่นำมาพูดๆกันนั้น ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะจากคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และคำสอนของพระอัครสาวก

ก้รู้นะว่า เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย จะกล่าวโทษกันไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องคิดแทนกัน แต่ก็ยังอดเขียนกระทบกระเทียบ(แขวะ) ยังไม่ได้

เพียงแต่ แค่เขียนทางตัวหนังสือ
ส่วนในชีวิตจริง ไม่เคยนำไปสร้างเหตุนอกตัวกับใครๆแบบตัวต่อตัว

ใครจะสอน ใครจะพูดอย่างไร
ฟังแล้ว ไม่ชอบใจ จะหลีกเลี่ยงออกไป

เช่น หากไปปฏิบัติที่วัด ช่วงมีการเทศน์
หากได้ยินผู้มาเทศน์ เทศน์ไม่ตรงกับสภาวะ

จะใช้วิธี ทำสมาธิซะ เมื่อจิตเป็นสมาธิ เสียงจะสักแต่ว่าเสียง บางครั้งเสียงที่ได้ยินดับหายไป รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง จนหมดเวลาไปเอง

หากจิตไม่แนบแน่นพอ ได้ยินเสียงชัด ความไม่ชอบใจเกิดแรง
จะใช้วิธีลุกออกจากตรงนั้น ไปหาที่เดินจงกรม เพื่อละจากเหตุที่มีอยู่

ประมาณนี้แหละ การเขียนของวลัยพร ที่ยังมีอยู่

แกะรอยคำเรียก

ผู้ปฏิบัติ ที่จอสภาวะ ที่ตนอาจสงสัยว่า คืออะไร เรียกว่าอะไร และควรทำอย่างไรต่อไป

เมื่อนำไปสอบถามกับผู้ที่คิดว่า สามารถให้คำตอบกับตัวเองได้

มักเจอคำตอบแบบนี้เสมอๆ เช่น เป็นปัจจัจตัง หรือ ทำไปเดี๋ยวก็รู้เอง

เคยชิมเกลือไหม หรืออุมาอุปมัย เกี่ยวกับการทำอาหารบ้าง แกงบ้าง มะม่วงบ้าง

คือ สุดแต่จะหยิบยกมากัน แต่ไม่สามารถอธิบาย
หรือแนะนำ ตามคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้ได้

ไม่ก็ พอเจอผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนมา นำมาถาม

มักจะตอบว่า ปริยัติให้โยนทิ้งไปบ้าง ให้ตั้งใจทำความเพียรอย่างเดียวบ้าง รู้ต่างๆ ให้ทิ้งไปให้หมด

ไม่ก็ รู้มากจะยากนาน ไม่ก็ ไม่จำเป็นต้องใช้คำบาลีฯลฯ

แท้จริงแล้ว ตามสภาพตามความเป็นจริง ของผู้ให้คำตอบนั้น
คือ รู้แค่ไหน ย่อมใช้อุมาอุปมัย ไปตามนั้น

แต่ตัวผู้พูด ไม่ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ของตนนั้นว่า
ตนรู้แค่ไหน ย่อมนำมาอธิบาย ได้แค่นั้น

เมื่อเกิดการไม่ยอมรับ ในสิ่งที่ตนเป็นอยู่
เหตุของตัณหา ความอยากสอน อยากแสดงว่าตนรู้ จึงมักชอบใช้สำนวนอุปมาอุปมัยแทน

ซึ่งคำแนะนำนั้นๆ ไม่สามารถ นำไปกระทำเพื่อ
ดับเหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุของความบังเกิดขึ้นแห่งภพได้

คำพูดยอดฮิต

คำที่มักได้ยินกันบ่อยๆ เช่น ปัจจุบัน ขณะ หรือ ปัจจุบันธรรม
หรือปัจจุบันอารมณ์ หรือรู้อยู่กับปัจจุบัน หรือ สภาวะ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

คำเหล่านี้ ล้วนเกิดการให้ค่า ให้ความหมาย สำทับลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น
ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(อวิชชา) และที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่ ของผู้นั้น(นำไปสร้างเหตุนอกตัว)

พอถูกถามย้อนกลับไปว่า คำเรียกเหล่านี้ คืออะไร ไม่เห็นมีในพระไตรปิฎก
ไม่ว่าจะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ จากอัครสาวก ก็ไม่มีปรากฏ

กลับได้รับคำตอบมาประมาณว่า ให้เรียนรู้ในกายและจิต ไม่ก็แค่ดู แค่รู้
เดี๋ยวรู้เอง คือ ตอบแบบขอไปที(รู้แค่ไหน อธิบายได้แค่นั้น)

ที่หากันไม่เจอ ไม่มีในพระไตรปิฎก ไม่ใช่อะไรหรอก

เพราะสำนวน หรือคำเหล่านี้ เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ตามเหตุปัจจัยของผู้นั้น

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่ กิเลสบดบัง เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดใน สิ่งที่เรียกว่า “ผัสสะ”

หุหุ อันนี้ ขณะที่เขียนอยู่ ในตอนนั้น เขียนด้วยอารมณ์ประมาณว่า มีภาพในอดีต ที่เคยถามผู้อื่น ภาพการสนทนากัน การเขียนจึงออกมาแบบนี้

ประมาณว่า ถ้ารู้แค่ไหน ควรจะบอกว่า รู้แบบนี้ ไม่รู้แบบอื่น ไม่ใช่พูดเพราะ กลัวขายขี้หน้าผู้มากับตน

เรื่องนี้ เกิดขึ้นนานมาหลายปีแล้ว

ตอนนั้น วลัยพรติดสภาวะบางอย่างอยู่ แล้วไปถามคนที่ถูกเรียกว่า อจ.(คำนี้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนที่ถูกเรียกว่า อจ. มักจะรู้อะไรๆ ที่มากกว่า คนที่ไม่ถูกเรียกว่า อจ. ตอนนั้นคิดแบบนั้น เจอกันตอนวลัยพร ไปวัด)

ถามเขาว่า เมื่อเจอสภาวะนี้แล้ว ควรทำยังไงต่อ

หนอย ดันมาบอกว่า เคยกินต้มยำไหม ต้มยำใส่อะไรบ้าง มีรสชาติเป็นอย่างไร มันเป็นปัจจัตตังนะ อะไรประมาณนี้แหละ

ตอนนั้นจำได้ดี เราทำหน้ามึนใส่ อะไรวะ ถามเรื่องการปฏิบัติ มันบอกให้ไปกินต้มยำ แมร่งบ้าไปแล้ว(คิดแบบนั้นจริงๆนะ)

มีอีกนะ อันนี้กับพระที่เคยเคารพ ท่านจบเปรียญ ๙ ประโยค เคยไปขอรับหนังสือกับท่าน ถามท่านว่า พระอาจารย์ สังขาร ที่หมายถึงการปรุงแต่ง ทำไมจึงมีการนำมาอธิบายว่า สังขารขันธ์ คือ การปรุงแต่งทางคิด

ท่านตอบว่า ถามแบบนี้ วิจิกิจฉายังมีอยู่นะ ยังไม่ใช่โสดาบัน

เราก็คิด อ้าว ถามเรื่องหนึ่ง ไหงตอบอีกเรื่อง เราไปพูดตอนไหนว่า เป็นโสดาบัน พอฟังคำตอบท่าน เลิกคุยด้วยเลยนะ เดี๋ยวจะพาเราบ้าเรื่องโสดาบัน

นักอภิธัม

แวะไปที่สอนอภิธัม เจออจ.สอนอภิธัมมาอธิบาย เขาพูดประมาณว่า อยากรู้ต้องมาเรียนอภิธัม จะได้เห็นการเกิด ดับของจิต เป็นโสดาบันเลยนะ

เราบอกแค่ว่า ขอบคุณค่ะ ไม่คุยต่อ ก็มีคิดนะ นี่ก็บ้าโสดาอีก คิดเอาเรื่องโสดาบันมาหลอก เพื่อให้เรียนอภิธัม

เรื่องพวกนี้เกิดมานานหลายปีแล้ว ตอนนั้น วลัยพรตกหลุมพรางของสัญญา แต่ตอนนั้น ยังแยกแยะไม่ได้ว่า สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเพียงสัญญา บางคนอาจจะเรียกว่า ความรู้ หรือ ปัญญา แล้วแต่เหตุปัจจัยนะ

เพราะสำหรับวลัยพร ปัญญามีเพียงหนึ่งเดียว คือ รู้นั้นๆ ต้องสามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ หรือการดับเหตุ ของการสร้างเหตุนอกตัวได้

สถานที่ มีผลกระทบต่อการทำความเพียร

หากสถานที่นั้น มีงานทำเรื่อยๆ ยากที่จะอยู่ลำพังได้


สิ่งนี้มี สิ่งนั้นมาอยู่เรื่อยๆ

จิตย่อมสงบลงได้ยาก นิวรณ์ต่างๆ เล่นงานได้ง่าย 
ยิ่งสภาวะสัญญา ที่เรียกว่า ความรู้ต่างๆ ไม่มีเลย(ไม่เกิด) 

มองเห็นแต่เหตุปัจจัย ที่ยังมีอยู่ ซะมากกว่า เรื่องอื่นๆ
เป็นเหตุให้ คิดขยาด กับ การเกิด ยิ่งนัก

หลบหลีก

ต้องรู้จักหาวิธีหลบหลีกจากสภาพแวดล้อมนั้นๆ หาที่ ที่คิดว่าเหมา นั่งสงบจิตสักพัก จะได้มีกำลัง รู้อยู่กับสภาพแวดล้อม ที่เป็นอยู่ได้ โดยไม่ทุกข์

ไม่มีอะไร ที่จะได้ดั่งใจ ไปทุกอย่าง

ในดี มีเสีย ในเสีย มีดี มาเป็นคู่

แก้ต้องแก้ที่ตัวเอง นอกตัว แก้ไม่ได้

 

 

ที่คิดไว้

วันก่อน คุยกับเจ้านายว่า ทางบ้านเจ้านาย ยังไม่ค่อยมีการสนับสนุนเรื่อง การมีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน เอาแค่ กิจกรรมสวดมนต์ ยังไม่ค่อยมีการสนับสนุนเลย 

เจ้านายเห็นเราเคยคุยกับตุ๊นุ(เจ้าอาวาส) เขาบอกว่า ลองเริ่มจากตุ๊นุดูสิ เรื่อง จัดกิจกรรม สวดมนต์ข้ามปี แล้วค่อยๆ เข้าเรื่อง การแนะนำให้รู้จักวิธี เจริญสติ

ถ้าหากการเจรจาในครั้งนี้ สำเร็จ วลัยพร จะนำเงินที่โอนเข้ามา ซึ่งมีหลายอยู่ และมีทะยอยเข้ามาเรื่อยๆ

นำไปตั้งกองทาน น้ำปานะ และอาหาร (ขนมจีน น้ำเงี้ยว น้ำใส) สนับสนุนผู้ที่มาร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี

แค่คิดไว้ สำเร็จหรือไม่ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน ไม่คาดหวัง

หากไม่ได้ทำทานครั้งนี้ เก็บไว้ สำหรับทำทาน ครั้งอื่นๆได้

ยิ่งให้ยิ่งได้ จึงไม่เคยยินดี กับเงินที่งอกเงยเข้ามา

เพราะ เหตุมี ผลย่อมมี

มีแต่การต่อยอดไปเรื่อยๆ อนุโมทนา กับผู้ที่ตั้งใจทำทานทุกท่าน จะด้วยตามกำลังทรัพย์ หรือ ด้วยใจก็ตาม ล้วนเป็นการฝึก เพื่อละออก เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม จะรู้เองว่า อะไรๆ ก็ไม่มีเป็นของตน สักอย่างเดียว

อนุโมทนา สาธุการกับทุกรูปทุกนาม

ขอให้ทุกรูป ทุกนาม จงมีความสุข

Previous Older Entries

เมษายน 2014
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

คลังเก็บ