กามคุณ ๕-โลกามิส

กามคุณ ๕-โลกามิส

คำเป็นมาของคำเรียกเหล่านี้
กามคุณ ๕
โลกามิส
โลกธรรม ๘
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงผัสสะ


คำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
ด้วยการสร้างเหตุไว้ดังนี้มาก่อน
๑. ศิล สมาธิ ปัญญา เข้าถึงธรรมมรรคผล ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
๒. การแจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน
๓. อาศัยการสดับพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ

ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ละฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕
ละตัณหา ๓ ลงไปได้ ไม่มีกำเริบกลับขึ้นมาอีก
อาศัยการสดับพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ
แจ้งลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่าอุปาทาน ๔
และวิธีการดับอุปาทาน ๔ ลงไปได้
สามารถอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆได้
เพราะสิ่งเหล่านั้นมีเกิดขึ้นมาตอน จากประสพการณ์
ขณะดำเนินชีวิต
ขณะทำกรรมฐาน
ขณะสภาวะกาละ จิตดวงสุดท้ายที่ปรากฏตามจริง

หลายวันนี้หมกมุ่นกับพระไตรปิฎก
เกิดจากมีการพิจรณาในสิ่งที่เคยมีเกิดขึ้นในตนแล้วเขียนออกมาเรื่อยๆ

ผัสสะ
เมื่อยังละฉันทะราคะอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้นอัตโนมัติ

.
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
อาศัยศรัทธาและปฏิบัติตาม
เป็นการเข้าสู่เส้นทางสัมมาทิฏฐิ
ผลของการปฏิบัติตาม ทำให้ปิดอบาย
เวลาตายจะเกิดในมนุษย์และสวรรค์
ส่วนจะเกิดที่ไหน ก็ต้องอาศัยอ่านพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
และบางคนที่เพิ่มการทำกรรมฐาน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
อาศัยศรัทธาและปฏิบัติตาม จะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม
เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. ทำทุกวัน
อินทรีย์ ๕ ที่ถูกอบรมต่อเนื่อง
หากจิตเป็นสมาธิจะเป็นรูปฌานหรืออุรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง ทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน

ส่วนตรงนี้ เวลาสิ้นชีวิต จะไปเกิดสุทธาวาส และปรินิพพานบนโน้น
ไม่ต้องกลับมาเกินเป็นมนุษย์อีก
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ ด้วย
ก็ต้องอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงิน
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงเขียนแผนที่ไว้ให้
ผ่านทางการอ่านหรือฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้

.
๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
การเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๑
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงครั้งที่ ๑
ละสักกายทิฏฐิ ละสีลลัพตปรามาส ละวิจิกิจฉา

แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงครั้งที่ ๒
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทุกๆที่กระทำตามใจตัวเองในแต่ละขณะๆ
สิ่งที่กระทำลงไปทางกาย วาจา ความคิด
เรียกว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ผลที่ได้รับของการกระทำ มาให้รับผลรูปแบบของเวทนาที่มีเกิดขึ้น
ผัสสะ เวทนา
ผัสสะ
กรรมเก่า กรรมใหม่ วิบากกรรม ดับกรรม
โลกธรรม ๘ มีเกิดขึ้น
เวทนามีเกิดขึ้น ชอบใจ ไม่ชอบใจ
ความรู้สึกนึกคิด
การที่จะรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
หากยังไม่มีความรู้เห็นเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สับุรุษ สัปบุรุษ
เพราะบุคคลเหล่านั้นได้ผ่านเส้นทางนั้นมาก่อน

.
การเข้าถึงธรรมอนาคามมรรค อนาคามิผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๒
จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนๆกัน
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
เป็นลักษณะ วิชชา ๒ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ต้องตายก่อน จึงจะเข้าใจความตายที่มีเกิดขึ้นของคนอื่น
ไม่ต้องมีเจโต ไม่จำเป็นต้องรู้ใจของคนอื่น
อาศัยจากการสนทนากัน ภพชาติของการเกิดอยู่ตรงนี้
หากไม่เคยตายมาก่อน จะเข้าใจได้อย่างไรล่ะ
นี่คือใจสำคัญของวิชชา ๒
เป็นการแจ้งอริยสัจ ๔ เป็นครั้งที่ ๓
ยิ่งกว่าการมีฤทธิ์จะทางใจ เหาะเหินเดินอากาศ หายตัวได้ ย่นทางได้ฯลฯ

ขณะวลาสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามจริง
สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นชัดเจน แล้วดับ
มโนกรรมไม่มี ไม่มีไปสวรรค์หรือนรก

บุคคลที่มีวิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง
ความกำหนัดในผัสสะที่มากระทบ จะน้อยลงไปเอง ไม่ต้องพยายาม
พรหมจรรย์เริ่มสมบูรณ์มากขึ้น
ละกามคุณ ๕ เด็ดขาด
ไม่มีการลูบคลำแม้กระทั่งกอดด้วยความเสน่หากับต่างเพศและเพศเดียวกัน
ไม่มีการเปรียบเทียบสิ่งที่มากระทบ
ทุกคนจะแตกต่างแค่เปลือกที่ห่อหุ้มไว้
เนื้อในภายในของทุกคนไม่แตกต่างกัน
เวลาตาย จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ

.
การเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๓
จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนๆกัน
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะ
โลกามิส มีเกิดขึ้นปราศจากตัณหาและทิฏฐิ
พรหมจรรย์สมบูรณ์

“รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

คำว่าพรหมจรรย์ในที่นี้
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘

เมื่อยังมีชีวิตอยู่
โลกธรรม ๘ ยังคงมีอยู่เป็นเรื่องปกติ แต่ทำอะไรดวงใจนี้ไม่ได้อีกต่อไป

.
เมื่อมีเหตุให้กำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไป มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
แจ้งอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
รูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่ใช่จากการท่องจำมา
ละราคะในรูปฌานและอรูปฌาน ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป
ไม่มีเสียใจ ไม่มีโอดครวญอีกเพราะเสียดายสมาธิที่มีอยู่

ขณะวลาสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามจริง
สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นชัดเจน
มโนกรรมไม่มี แล้วดับ

.
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
กระบวนการความรู้เห็นจะค่อยๆมีเกิดขึ้น
เริ่มจากรู้ชัดของคำว่า วิมุตติ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
แจ้งอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
ความรู้เห็นที่มีเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕

กามคุณ ๕ และสักกายะ

กามคุณ ๕ และสักกายะ

ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขนัธ์ ๕ ที่ยังละไม่ได้
ทำให้กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
ที่เกิดจากกามราคะ ที่ยังละไม่ได้
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

เรื่องกามราคะ เวลาอธิบายรายละเอียดของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ต้องอธิบายแยกออกจากกัน ไม่งั้นจะงง

กามราคะ อยู่ในกลุ่มกามุปาทาน คืออุปาทาน ๔
อุปาทาน ๔ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานเกิดจากตัณหา
ตัณหาเกิดจากเวทนา
เวทนาเกิดจากผัสสะ
ผัสสะเกิดจากขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
เมื่อฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
อุปาทาน ๔ จึงมีเกิดขึ้น

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้แหละภิกษุ.

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้
และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน

.
ผัสสะ เวทนา
เพราะผัสสะมี เวทนาจึงมี

ผัสสะ มากระทบ
เวทนา ๓
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ
ราคะ ปฏิฆะ โมหะ
ราคะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อภิชฌา พยาบาท

สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกคือ โมหะ
บุคคลที่ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลมาก่อน
เมื่อผัสสะมากระทบ สักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
เมื่อสักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้น ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ย่อมมีเกิดขึ้น

ผัสสะ

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

.
การที่ผู้คนทะเลาะกัน
เกิดจาก กามราคะ ทิฏฐิราคะ
ที่เกิดจากยังละกามคุณ ๕ ยังไม่ได้

กามคุณ ๕ ที่ยังละไม่ได้
เกิดจากสักกายทิฏฐิ

สักกายทิฏฐิที่ยังละไม่ได้
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ยังละไม่ได้

.
๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงสักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน?
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน?
สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน?
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน?
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้
กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

อธิบาย

คำว่า สักกายะ
ได้แก่ สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ อัตตวาทุปาทาน
เกิดจากตัณหา ๓
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

ผัสสะ เวทนา ตัณหา

ดีใจ สิ่่งที่เขียนอธิบายไว้เรื่องกามในกามคุณ ๕
ที่ประกอบด้วยกาม ว่าเป็นกามราคะ
เมื่อเจอพระสูตร จึงทำให้รู้สึกใจ
ทำนองว่า การพิจรณานั้น ถูกต้องตัวสภาวะ
“เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า”


ภยสูตร
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่า ภัย เป็นชื่อของกาม
คำว่า ทุกข์ เป็นชื่อของกาม
คำว่า โรค เป็นชื่อของกาม
คำว่า หัวฝี เป็นชื่อของกาม
คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกาม
คำว่า ความข้อง เป็นชื่อของกาม
คำว่า เปือกตม เป็นชื่อของกาม
คำว่า การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น
คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า ทุกข์ ฯลฯ
โรค ฯลฯ หัวฝีฯลฯ ลูกศร ฯลฯ ความข้อง ฯลฯ
เปือกตม จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม
เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ พัวพันในฉันทราคะ
ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น
คำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
ภัย ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์
นี้เรียกว่ากามที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว อันกามสุขครอบงำแล้ว
ย่อมไปเพื่อเกิดในครรภ์อีก
ก็เพราะภิกษุมีความเพียร ยินดีด้วยสัมปชัญญะ
ภิกษุเห็นปานนี้นั้น ก้าวล่วงทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยากนี้ได้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่ ฯ


๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕
คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก
เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

อธิบาย

คำว่า ประกอบด้วยกาม
ได้แก่ กามราคะ

คำว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ได้แก่ ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ความกำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า รัก
ต้องใช้อีกพระสูตรมาอธิบายเกี่ยวกับ
ความรักเกิดจากตัณหาและทิฏฐิ

ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการเที่ยวไปผู้เดียว
[๖๗๑] ชื่อว่า ความรัก
ในอุเทศว่า อาทีนวํ เสฺนหชํ เปกฺขมาโน ดังนี้
ความรักมี ๒ อย่าง คือ
ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา. ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.

หรือพระสุตรนี้
ผัสสะ เวทนา ตัณหา

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย
ท่องเที่ยวไปแผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้

เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม
เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้นเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้
อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้
อาศัยขันธบัญจกภายนอก

ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมีความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น
เราไม่เป็นอยู่
เราพึงเป็นอย่างนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้น
เราพึงเป็นอย่างอื่น
แม้ไฉนเราพึงเป็น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น
เราจักเป็น
เราจักเป็นอย่างนี้
เราจักเป็นอย่างนั้น
เราจักเป็นอย่างอื่น
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการ
นี้อาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้
รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้
ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖
รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป
แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้
ซึ่งนุงเหมือนด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม
เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง
ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาตและสงสารไปได้ ฯ

[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้
ย่อมเกิด ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑
โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก ๑
ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑
โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร
บุคคลในโลกนี้ เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้น
ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติ
ต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดความรักในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร
บุคคลในโลกนี้
เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลนั้น
ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติ
ต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร
บุคคลในโลกนี้
ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ
มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ
มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา
ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เขาย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก
เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก…
แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ…
แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีสังขาร เห็นสังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ
ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป
ไม่เห็นเวทนา…
ไม่เห็นสัญญา…
ไม่เห็นสังขาร…
ไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ
ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าตน
ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธตน
ย่อมไม่โต้เถียงตอบผู้โต้เถียงตน
ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมบังหวนควันอย่างไร
เมื่อมีความถือว่าเราเป็นอย่างนี้
เราเป็นอย่างนั้น
เราเป็นอย่างอื่น
เราเป็นอยู่
เราไม่เป็นอยู่
เราพึงเป็น
เราพึงเป็นอย่างนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้น
เราพึงเป็นอย่างอื่น
แม้ไฉนเราพึงเป็น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น
เราจักเป็น เราจักเป็นอย่างนี้
เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น
ภิกษุชื่อว่าย่อมบังหวนควันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บังหวนควันอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีอยู่
ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ …
เราจักเป็นอย่างอื่น
ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่บังหวนควันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุลุกโพลงอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ลุกโพลงอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้
ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้…
เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่ลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังละอัสมิมานะ ตัดรากขาด
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ไม่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล ฯ


มีความรู้สึกคุ้นๆว่าน่าจะเคยเขียนอธิบายไว้แล้ว แต่นึกไม่ออก
ก็ไม่เป็นไร ถือเสียว่าได้ทบทวนอีก
อาจจะเขียนถึงบ่อยๆก็ไม่เป็นไร
จนกว่าจะจำขึ้นใจได้

ก็เหมือนการทำกรรมฐาน
กว่าจะทำได้ผล ต้องทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่อง
กำหนดต่อเนื่อง ตั้งใจกำหนดเนืองๆ กำหนดช้าๆ ไม่รีบ
เมื่อยังมีพลั้งเผลอในเรื่องการกำหนด
จะใช้คำบริกรรมถี่ๆมาช่วยให้จิตอยู่ปัจจุบัน
เมื่อจิตกลับมาอยู่ปัจจุบันได้ เริ่มต้นใหม่
อาจจะเริ่มใหม่หลายครั้ง ก็ไม่เป็นไร
ผู้ที่ยังฝึก ต้องเป็นแบบนี้
เมื่อทำบ่อยๆ
นิวรณ์ย่อมถูกทำลายลงไปได้
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอัตโนมัติ
เพราะผ่านจากจากกำหนดเนืองๆ
เริ่มจากกำหนดยืนหนอ
ต่อมาด้วยเดินจงกรม
ต่อมาด้วยนั่ง
ทำต่อเนื่อง
อินทรีย์จากยังไม่มั่นคง สติยังไม่มั่นคง
เมื่อทำบ่อยๆ ทำต่อเนื่อง เบื่อก้ทำ
ทำเพื่อตัวเอง รักตัวเอง ต้องทำ
ทำเพื่อไม่ต้องมาเวีนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป


กามโยค เกิดจากอวิชชา ความไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
กามราคะ เป็นกามที่ประกอบในกามคุณ ๕
กามตัณหา ความเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจในเวทนาที่มีเกิดขึ้น
กามาสวะ เป็นอนุสัย ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำออกไป


หน้าปก ที่เขียนไว้ 7 กันยายน 2022 ·
ต้องลบทิ้ง
เพราะสมัยนั้นเข้าใจผิดเรื่องคำเรียกในกามต่างๆ
แม้กระทั่งเรื่องการละอาสวะในกามาสวะ เขียนผิด
นี่ ๒ ปีน่ะเนี่ย ถ้าไม่ตั้งค่าเขียนไว้ที่หน้าปก จะจำไม่ได้เลย
รวมทั้งคำเรียกกามคุณ ๕

เรื่องการละอาสวะ เราคงงง
เพราะเห็นเขียนวิธีการดับตัณหา ๓
กลับเขียนสภาวะถูกต้อง
เหมือนเรางงๆกับตัวเอง
ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆแก้

อันนี้เขียนไว้ถูก

คำเรียกว่า กามตัณหา
ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ในสกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามตัณหา
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

อันนี้เขียนถูก

คำเรียกว่า กามราคะ
ละด้วยการแจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามราคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

โดยรวม กามุปาทาน จะเข้าใจในลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น
หากดับเฉพาะตน คือ วิชชา ๑ ดับกามตัณหา

ดับด้วยสมาธิ ในสุขาปฏิปทา
ดับด้วยปัญญา(อริยสัจ ๔) ในทุกขาปฏิปทา
ส่วนจะรู้ชัดสภาวะคำเรียกของกามต่างๆ ต้องได้วิชชา ๓ ตามจริง
และการศึกษาในพระสูตรด้วย ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

กามุปาทาน

กามุปาทาน
เรียบเรียงตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕
คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก
เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

อธิบาย

คำว่า ประกอบด้วยกาม
ได้แก่ กามราคะ

คำว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ได้แก่ ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ความกำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

กามโยค เกิดจากอวิชชา ความไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
กามราคะ เป็นกามที่ประกอบในกามคุณ ๕
กามตัณหา ความเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจในเวทนาที่มีเกิดขึ้น
กามาสวะ เป็นอนุสัย ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำออกไป

กามุปาทาน

กามุปาทาน
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่
ตัณหา ๓

กามตัณหา
กามาสวะ
กามโยคะ
กามราคะ

ภวตัณหา
ภวาสาวะ
ภวโยคะ
ภวราคะ

วิภวตัณหา
อวิชชา
อวิชชาสวะ
อวิชชาโยคะ

คำว่า ตัณหา ๓ ทำไมจึงมีคำเรียกแตกต่างกัน ดังนี้
กามตัณหา กามาสวะ กามโยคะ กามราคะ
ภวตัณหา ภวาสาวะ ภวโยคะ ภวราคะ
วิภวตัณหา อวิชชา อวิชชาสวะ อวิชชาโยคะ

เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่
ไม่แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ไม่แจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

ผู้ใดละได้

กามตัณหา
ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ในสกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นอนาคามี(อนาคามิมรรค)
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามตัณหา
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

กามาสวะ
ละด้วยอรหันตผล( วิชชา ๓ )
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามาสวะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

กามโยคะ
ละด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ( วิชชา ๓ )
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามโยคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

คำเรียกว่า กามราคะ
ละด้วยการแจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
ทำให้รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำว่า กามราคะ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

การละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะวิมุตติปาริสุทธิปรากฏตามจริง
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง
โสดาปัตติผล(วิชชา ๑)
สกทาคามิผล
อนาคามิผล(วิชชา ๒)
อรหัตผล(วิชชา ๓)


กามตัณหา
การละกามตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๑
ผู้ที่บรรเทากามตัณหาลงไปได้
คือ โสดาปัตติผล(วิชชา ๑)
กายสักขี
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)

ละราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
ได้แก่ พระสกทาคามี

แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๒
ละราคะ โทสะ
ได้แก่ สกทาคามิผล
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ภวตัณหา
การละภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๓
ผู้ที่ละภวตัณหาลงไปได้
ได้แก่ อนาคมมิผล(วิชชา ๒)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ละราคะ โทสะ โมหะ
ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌานฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

วิภวตัณหา
การละวิภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง ครั้งที่ ๔
ผู้ที่ละวิภวตัณหาลงไปได้
ได้แก่ อรหัตผล(วิชชา ๓)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

= อธิบาย =

ก่อนจะเป็นพระอรหันต์(วิชชา ๓)
ต้องผ่านสภาวะต่างๆที่ละขั้น
จนถึงวิภวตัณหา ท้ายที่สุด
วิมุตติญาณทัสสนะจึงมีเกิดขึ้นตามจริง
แจ้งนิพพาน แจ้งอริยสัจ ๔ แจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง มหาสุญญตา

ฉันทราคะและกามฉันทะ

ฉันทราคะกับกามฉันทะ
คนละตัวกัน คนละสภาวะกัน
ความมีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

เดิมเขียนไว้แบบนี้ คือเขียนมาเรื่อยๆเรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
ตั้งแต่ปีที่แล้ว เขียนมาเรื่อยๆ

“กามฉันทนิวรณ์ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ และสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ”

เขียนผิด เพราะเข้าใจผิดว่ากามฉันทะ
เป็นการความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้นผัสสะ

พอมาได้พระสูตรใหม่มาเพิ่ม
ทำให้รู้ว่า ฉันทราคะกับกามฉันทะ
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นคนละตัวกัน

ฉันทราคะ มีเกิดขึ้นก่อน
ฉันทราคะ ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
จากอุปาทานขันธ์ ๕ มาเป็นอุปาทาน ๔

กามฉันทะ เกิดที่หลัง
ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,
ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ปฏิฆะ ความไม่พอในในกามคุณ ๕

ผัสสะมากระทบ เวทนาจึงมี
ผัสสะมากระทบ ทำให้เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ

๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนปฏิฆนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี
ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่สงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่สงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนอศุภนิมิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย
กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนเมตตาเจโตวิมุติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตาเจโตวิมุติโดยแยบคาย
พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้
เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วอันบุคคลย่อมละได้ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ


พูดตามความเป็นจริง เรื่องการปฏิบัติ เมื่อรู้แล้วไม่ยากเลย
แต่การเขียนอธิบายรายละเอียดในคำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ที่ว่าทำได้ยากกว่า คือต้องเขียนออกมาเรื่อยๆ
แม้จะคิดว่าจบแล้วนะในคำเรียกนี้ๆ ที่ไหนล่ะ ยังไม่จบ
จนกว่าจะมีเหตุให้เจอพระสูตรมาขยายใจความ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้
เราจึงบอกว่ามันยากนะ ปฏิบัติง่ายกว่า รู้แล้วรู้เลย จบแค่นั้น

ที่บอกว่ายาก เพราะเวลาจิตวิตกวิจารณ์
แบบจิตมันจะพิจรณาของมันเอง มาในรูปเสียงมาบอกเล่า
เราจะอยากฟังหรือไม่อยากฟัง เสียงเล่านั้นยังคงดำเนินต่อเนื่อง
จิตจะเป็นสมาธิเพียงอุปจารสมาธิ ไม่ยอมดิ่ง
ด้วยเหตุนี้ กลางดึกจะมีอุปจารสมาธิมีเกิดขึ้นสลับกับรูปฌาน
บางคืนไม่หลับไม่นอน อาการเหมือนคนฝัน
แต่เช้ามาไม่มีอาการเหมือนคนอดนอน

ด้วยเหตุนี้แรกๆจึงทำไมเรารำคาญ
ทีนี่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงฟังไปเรื่อยๆ
พอมีเกิดขึ้นบ่อยๆ ต่อมเริ่มเอ๊ะมีเกิดขึ้น
ก็นำคำที่ได้ยินไปเสริชในกูเกิ้ล คำเรียกในพระไตรปิฎก
ทำให้เจอพระสูตรมาขยายใจความของคำเรียกนั้นๆ
แบบแค่เพียงบางส่วน ไม่ใช่สภาวะเต็มๆ
เราจึงบอกว่าเหมือนจิ๊กซอ แค่เขียนออกมาเรื่อยๆ

สาเหตุนี่ทำไมสภาวะนี้จึงมีเกิดขึ้นบ่อยๆ
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีอยู่นั้น มีแค่รูปฌาน น้อยครั้งที่มีเกิดขึ้นอรูปฌาน
แต่เราไม่สนใจเรื่องสมาธิมานานแล้ว
จะมีแค่ไหนก็แล้วแต่ไม่เอามาเป็นสาระ
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า มีวิมุตติเป็นสาระ
คือการดับภพชาติของการเกิดเป็นหลัก

หากมีกำลังสมาธิในอรูปฌาน สิ่งเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้น(เสียงเล่า)

หากมีกำลังสมาธิในอรูปฌาน สิ่งเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้น(เสียงเล่า)

สรุป อุปาทานขันธ์ ๕ และอุปาทาน ๔ ต้องเขียนใหม่
ของเก่าที่เคยเขียนไว้ เรื่องกามุปาทาน ต้องแก้ใหม่ในส่วนที่เขียนไว้ผิด
หมวดอื่นๆไม่ต้องแก้ใหม่ ถูกตรงตัวสภาวะแล้ว

ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะ
ผัสสะ
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
และมีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ

กามุปาทาน
คำว่า กามุปาทาน
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕(ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕) ได้แก่

กามตัณหา (สกาทาคามิผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

ภวตัณหา (อนาคามิผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)
สอุปาทิเสส สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

วิภวตัณหา (อรหัตผล ละได้)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชชา ๓(อรหัตผล)
อนุปาทิเสส อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

เฉพาะกามุปาทาน แก้ไขใหม่ 26 กย. 65


ไปค้นหาในบล็อกเรื่องเกี่ยวกับคำว่า กาม
ที่เคยเขียนไว้ เจอเรื่องกามคุณ ๕
10 ต.ค. 2021
กามคุณ ๕
คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก
เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต …
กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ …
รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น …
โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

๕. สุนักขัตตสูตร (๑๐๕)
[๗๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล
๕ อย่างเป็นไฉน คือ

(๑) รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๒) เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๓) กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ

นึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ ในพระสูตร
๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕

มาเจอพระสูตรนี้
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

นึกถึงพระสูตรนี้
เวทนา ๓
ปฏิปทาวรรคที่ ๒

นึกถึงตอนหัวใจวาย
นึกถึงป่วยเข้ารพ.ไทรอยด์เป็นพิษ
หัวใจเต้นๆหยุดๆ
กำหนดตามความเป็นจริง
แน่นหน้าอก แล้วหมดสติ
ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าคืออะไร
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

ต่อมามีสิ่งที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ เรื่องห้องสมุด หนังสือมีเสียงได้
ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร
ต่อมากำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น อีกครั้ง
ความรู้สึกแปลกๆเกิดขึ้น

ต่อมาเจอพระสูตรนี้
๖. วิมุตติสูตร

หลังจากนั้นมีอาการหัวใจเต้นๆหยุดๆบ่อย
ไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิดตามความเป็นจริง
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
กำหนดตามความเป็นจริง
ทุกครั้งที่มีอาการหัวใจเต้นๆหยุดๆ
มักจะมีพระสูตรผุดขึ้นมา
จิตพิจรณาเนืองๆ
เหมือนได้ทบทวนสภาวะต่างๆที่เคยผ่านมา
ก็เขียนมาเรื่อยๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ที่เห็น

ต่อมาเจอพระสูตรนี้
ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าสภาวะมาบอกอะไร
ซึ่งก็รู้อยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ
เพราะรู้ว่า หากหัวจใจหยุดอีก ไม่ต้องเกิดอีกแล้ว
เกิดจากไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ฯลฯ

ตรงนี้สนใจแต่เรื่องการดับภพ
ยังไม่ได้เขียนเรื่องกามฉันทราคะ
และยังแยกเรื่องกามคุณ ๕ ออกมาจากกันยังไม่ได้
ตอนนั้นยังเข้าใจผิดว่ากามฉันทะกับฉันทราคะเป็นสภาวะเดียวกัน

สิ่งที่เขียนไว้ ตอนนั้นยังไม่เจอพระสูตรเต็มเรื่องกามคุณ ๕
วันนี้เจอละ
๓. มหาทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
เรื่องอัญญเดียรถีย์

กามคุณ ๕ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ตอนนนั้นถึงเจอพระสูตร ก็ยังคงยังไม่เข้าใจหรอก
เพราะยังเข้าใจผิดอยู่ว่ากามฉันทะกับฉันทราคะเป็นสภาวะตัวเดียวกัน
ตอนนี้สามารถแยกแยะสภาวะกามฉันทะกับฉันทราคะออกจากกันได้
ทำให้รู้ชัดว่า กามคุณ ๕ คืออะไร
และอะไรที่ทำให้เกิดกามคุณ ๕ มีเกิดขึ้น

ทุกชีวิตเมื่อมีเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ยังมีอวิชชาติดตัวมา
เมื่อมีสิ่งมากระทบ(ผัสสะ) ทำให้อุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
ทำให้กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้น

เขียนแล้ว ทำให้นึกถึงการสิกขา ๓
ศิล สมาธิ ปัญญา
ปัญญาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอริยสัจ ๔
แต่หมายถึงไตรลักษณ์ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
จึงมาเป็น
ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
คำว่าวิมุตติญาณทัสสนะ
ไม่ได้หมายถึงแจ้งอริยสัจ ๔ เพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึงการแจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง

สรุปแล้ว เข้าใจมากขึ้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก

ตอนนั้นจำได้ว่า เราบอกว่ากับคนอื่นว่า หากแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ใช่เรื่องยาก
เพราะมีเรื่องการได้มรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติให้ได้วิโมกข์ ๘
เวลาได้มรรคผลตามจริง จะตรงกับพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระะรรมไว้เรื่องโสดาปัตติผลตามจริง
เป็นบันไดแรก ที่เหลือ 2 3 4
หากปฏิบัติต่อเนื่อง 2 3 4 จะมีเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องอยาก
ส่วนมากติดเรื่องโอภาสกับไตรลักษณ์ และความอยากเป็นพระอรหันต์
ความอยากมีเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าอยากเป็น เพราะตัณหาครอบงำไว้
อวิชชาที่มีอยู่ บดบังไม่ให้เห็นความอยากที่มีเกิดขึ้น

ที่ยากจริงๆที่สุดคือเรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕
กว่าจะเจอพระสูตรต่างๆ ยากกว่านะ แบบต้องรอเวลา ใช่ว่าจะเจอทันที
คือต้องรู้สภาวะที่มีเกิดขึ้นก่อน จึงจะเข้าใจในพระสูตรต่างๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระะรรมคำเรียกนั้นๆไว้
นี่แหละที่เราบอกว่ายาก

แล้วไปเจอก็อปบทความในอภิธรรมเรื่องกามราคะสังโยชน์
24 ต.ค. 2011

นั่งอ่านแล้ว จึงลบทิ้ง
ที่ลบทิ้งจะทำให้การตีความผิดเรื่องกามฉันทะ และพยาบาท

แก้ไขใหม่ 26 กันยายน 65

ฉันทราคะ

ฉันทราคะ


คำว่า ฉันทราคะ
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทาน

ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน
ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน
ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน
ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร
โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน
ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน
หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน
หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน
หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน
หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

= อธิบาย =

การสดับธรรม
ทำให้ละวิจิกิจฉาที่มีอยู่ ให้บรรเทาลง
ทำให้ละพยาบาทที่มีอยู่ ให้บรรเทาลง

ศึกษาในสีลปาริสุทธิ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

กามุปาทาน

กามุปาทาน มีเกิดขึ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มี ๔ ประเภท
ได้แก่
กามฉันทะ
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา

กามฉันทะ
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
การละกามฉันทะ
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง(วิมุตติ)
มีเกิดขึ้น ๓ ครั้ง
โสดาปัตติผล(วิชชา ๑)
อนาคามิผล(วิชชา ๒)
อรหัตผล(วิชชา ๓)

กามตัณหา
การละกามตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละกามตัณหาลงไปได้
คือ
กายสักขี
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุต

ละราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
คือ พระสกทาคามี

ภวตัณหา
การละภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละภวตัณหาลงไปได้
คือพระอนาคามี(วิชชา ๒)
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌานฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

วิภวตัณหา
การละวิภวตัณหา ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่ละวิภวตัณหาลงไปได้
คือ พระอรหันต์(วิชชา ๓)
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ปัญญาวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้รูปฌาณ)
อุภโตวิมุตติ(ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ได้อรูปฌาณ)

= อธิบาย =

ก่อนจะเป็นพระอรหันต์(วิชชา ๓)
ต้องผ่านสภาวะต่างๆที่ละขั้น
จนถึงวิภวตัณหา ท้ายที่สุด

สภาวะจิตดวงสุดท้าย

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า … ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ
เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี
ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔
นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ
ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ
รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้
ตลอดกาลช้านานฉะนั้น
ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน
ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ
แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ
ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดี ถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม
ในร่างกายและจิต
ที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า
เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ


คือ ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
สภาวะไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จากนั้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปรากฏ แล้วดับ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
จะรู้ชัดสภาวะทุกขังและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ผัสสะและเวทนา
เวทนากล้า เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ต่อจากนั้นสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)

อนาคามิมรรค อนาคามิผล
จะรู้ชัดสภาวะอนัตตาและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จะมีสภาวะสองอย่างมีเกิดขึ้น
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
คือรูปและนามขาดออกจากกัน ไม่ปะปนกัน
เวทนากล้ามีเกิดขึ้นกับใจรู้อยู่ แต่ใจไม่ได้เจ็บปวดตามเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
ผัสสะและเวทนา
เวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ยังมีอยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)

อรหัตมรรค อรหัตผล
จะรู้ชัดสภาวะอนิจจังและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วหมดสติ(ตาย/ดับ)
ผัสสะและเวทนา
เวทนาที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
เมื่อสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ตาย)ปรากฏ จะรู้สึกแน่นๆแล้วดับ

เมื่อรู้ชัดสภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จึงจะเข้าใจพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้กามฉันทะ
ได้แก่ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงในคำว่า อุปาทานขันธ์ ๕
ซึ่งมีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง
คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในนิมิต(ผัสสะ)และพยัญชนะ(ตัวหนังสือและบัญญัติ คำเรียกต่างๆ)
ไม่ใช่มีสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น แต่ไม่มีเรื่องไตรลักษณ์มาเกี่ยวข้อง
เป็นเรื่องของความตายคนทั่วๆไป เป็นภพชาติของการเกิดที่ยังมีอยู่

เมื่อยังไม่รู้แจ้งด้วยตนเอง ต้องอาศัยการฟังและการศึกษา
สีลปาริสุทธิ จิตตปาริสุทธิ ทิฏฐิปาริสุทธิ วิมุตติปาริสุทธิ

ทำให้ไม่เนิ่นนาน ที่เกิดจากอุปกิเลสจิต
กามฉันทะที่ยังละไม่ได้ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕


กามฉันนะ กับ กามตัณหา
คนละตัวสภาวะกัน

ครั้งที่ ๑ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

กามตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะกามตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับกามตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

ครั้งที่ ๒ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

ภวตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะภวตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับภวตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

ครั้งที่ ๓ กามฉันนะ
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดสวงสุดท้าย
จะเข้าใจต่อเมื่อมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

วิภวตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะเข้าใจสภาวะวิภวตัณหาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และรู้วิธีการกระทำเพื่อดับวิภาวตัณหา(มรรคมีองค์ ๘)
เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ


วิมุตติญาณทัสสนะ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ
นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน
สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้
เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทอง ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด
อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน
คือ กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑
อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในอิทธิวิธีนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงฟังเสียง ๒ อย่าง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในทิพโสตนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ ร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในบุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ
ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฐิ
ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นๆ โดยแน่นอน ฯ

วิชชา ๒

สัมมาทิฏฐิ
ความรู้ความเห็นมีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒(วิชชา ๒)

๑๒. ทิฏฐิสูตร
[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฐิ ๒ อย่างพัวพันแล้ว
บางพวกย่อมติดอยู่
บางพวกย่อมแล่นเลยไป
ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ
เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ
จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไรเล่า
ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล
ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า
เมื่อใด ตนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียดนี้ประณีต นี้ถ่องแท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง
ย่อมน้อมไปในนิพพานตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้นไป

ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่แล้วไซร้
ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ภพใหม่
เพราะความไม่เกิดแห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

.

๑๐. ภวสูตร
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภพ ๓ นี้ควรละ ควรศึกษาในไตรสิกขา
ภพ ๓ เป็นไฉน
คือ
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ
ภพ ๓ นี้ควรละ.

ไตรสิกขาเป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา
ควรศึกษาในไตรสิกขานี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแลภพ ๓ นี้ เป็นสภาพอันภิกษุละได้แล้ว
และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้

เมื่อนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ได้ทำที่สุดทุกข์ เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ

.

๗. ธาตุสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ