โลกทั้งปวง

“มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง”

คำว่า โลก
ได้แก่ ผัสสะ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
โลกามิส

คำว่า โลกามิส
ได้แก่ เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
กว่าจะรู้ความหมายและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของแต่ลำเรียก ใช้เวลานะ
รู้แค่ไหน เขียนเรื่อยๆ เดี๋ยวจะมีเหตุให้เจอพระสูตรใหม่มาขยายใจความ
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ

คำว่าโลก ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต้องแจ้งอริยสัจ๔ ก่อนจึงจะเข้าใจได้และวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริงในตน
และอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ
เพราะบุคคลเหล่านี้ผ่านมาก่อน สภาวะเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตนมาก่อน

โลกสันนิวาสและสักกายทิฏฐิ

โลกสันนิวาสและสักกายทิฏฐิ อะไรเกิดก่อน

ผัสสะ เวทนา
ผัสสะ โลกสันนิวาส
เวทนา กามฉันทะ

“อธิบายเรื่องโลกหรือผัสสะ สภาวะค่อนข้างซับซ้อน
ตอนแรก โลกสันนิวาส มีเกิดขึ้นจากตัณหา(๓)
ตัวหลักๆคือ อวิชชา
เมื่ออวิชชาที่มีอยู่
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ จะมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
ทิฏฐิ ๖๒ จึงมีเกิดขึ้นทันที
สักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้นทันที”

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.
[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ?
ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้มิใช่หรือว่า
แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่

ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต
เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.
ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.
ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.
ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้
อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้
อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้
อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้
อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก
ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด
ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา
อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก
ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด
ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา
อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.
ดูกรอานนท์
เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย
หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา
ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด
เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า
เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา
ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด
ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน
จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.


มีคำถามว่า โลกสันนิวาสกับสักกายทิฏฐิ
มีเกิดขึ้นหรือแตกต่างกันตรงไหนก็เมื่อเป็นเรื่องของผัสสะ
คำตอบ โลกสันนิวาสกับสักกายทิฏฐิ
เวลาอธิบาย ต้องแยกสภาวะออกจากกัน
หากนำมาอธิบายรวมกัน คนที่เข้ามาอ่าน ยังไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ จะงงๆ
ด้วยเหตุนี้การอธิบายเรื่องโลก
จะใช้อธิบายเรื่องผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต จะมองเห็นภาพรวมง่าย

สักกายทิฏฐิ เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
จะใช้อธิบายเรื่องผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

ใช้ไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้น จะยึดมั่นมากหรือน้อยในอุปาทานขันธ์ ๕
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงนี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
เมื่อเห็นว่าร่างกายนี้เป็นตัวตน เป็นของตน
เวลาไตรลักษณ์มีเกิดขึ้น ซึ่งมาในรูปของเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
พอบอกว่านี่คือสักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้นตามจริง
เวลาสภาวะมีเกิดขึ้นในตนขณะทำกรรมฐาน จะเข้าใจง่ายกว่าน่ะ

ส่วนอธิบายเรื่องโลกหรือผัสสะ สภาวะค่อนข้างซับซ้อน
ตอนแรก โลกสันนิวาส มีเกิดขึ้นก่อน
มีเกิดขึ้นจากตัณหา(๓)
ตัวหลักๆคือ อวิชชา
เมื่ออวิชชาที่มีอยู่
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ จะมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
ทิฏฐิ ๖๒ จึงมีเกิดขึ้นทันที
สักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้นทันที
รูปที่ปรากฏ เห็นเป็นตัวตน เป็นชาย เป็นหญิง
หล่อ ไม่หล่อ สวย ไม่สวย
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนา กามฉันท์จึงมีเกิดขึ้น ความพอใจ มีเกิดขึ้น
ตัณหา ความกำหนัดจึงมีเกิดขึ้น หมายถึงความติดใจ อยากได้
จึงบอกว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นค่อนข้างซับซ้อน

หากแยกอธิบายสภาวะที่มีเกิดขึ้นออกจากกัน
สิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตกับสิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จะสามารถเข้าใจเรื่องคำว่าสักกายทิฏฐิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น


นานมาแล้วไม่ได้เขียนเรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์
สักกายทิฏฐิ และมานะ
อยู่ในกลุ่มของสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำที่เรียกว่าอัตตวาทุปาทาน
ช่วงหลังจะเขียนเรื่องฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ซะมากกว่า

เมื่อกี้ นั่งที่โซฟาไปสักพัก
มีพิจรณาเรื่องสักกายทิฏฐิที่เขียนไว้ รู้สึกว่ายังตกหล่น
กลับไปย้อนอ่านสิ่งที่เพิ่งเขียนไว้
ได้มีแก้ไขในสิ่งที่เขียนไว้เป็นบางส่วน

คำว่า มีเกิดขึ้นในตน มีเกิดขึ้นของคนอื่น
ทำให้นึกถึงคำว่า สังโยชน์ภายในและสังโยชน์ภายนอก ซึ่งเคยเขียนไว้
หากรู้ชัดสภาวะที่มีเกิดขึ้นภายในของตน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นภายนอกของคนอื่น ย่อมไม่แตกต่างกัน
ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะเขียนอธิบายสักกายทิฏฐิ
จะเน้นสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน

ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในตน
สังโยชน์ภายใน มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

ผัสสะที่มากระทบภายนอก
สังโยชน์ภายนอก มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

การอธิบายเรื่องสักกายทิฏฐิ ให้เห็นสภาวะมีเกิดขึ้นตามจริง
สามารถอธิบายได้ ๓ แบบ
๑. มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ผัสสะ(อายตนะ) เวทนา
๒. มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน ผัสสะ เวทนา ไตรลักษณ์
๓. มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ก็ต้องอธิบายเริ่มจากขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทาน ๔
จำได้ว่าเคยเขียนอธิบายไว้

ความรู้ความเห็นอะไรก็ตามที่ไม่ได้นำมาใช้ ก็ลืมๆไปเหมือนกัน
อ่านเจอมามีบางที่จะนำเรื่องภพมาอธิบายเรื่องสังโยชน์ไว้แบบนี้
“กามภพจึงชื่อว่า ภายใน รูปภพและอรูปภพจึงชื่อว่า ภายนอก”
ที่ผู้ได้เขียนอธิบายไว้แบบนี้ เกิดจากผู้นั้นรู้เห็นแค่ไหน ย่อมอธิบายไว้แค่นั้น
ยังไม่แทงตลอดเรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
ทั้งๆที่สังโยชน์ ล้วนมีเกิดขึ้นในตน ไม่ใช่มีเกิดขึ้นกับคนอื่น
การกระทำเพื่อดับ ดับที่ตน ไม่ใช่ไปดับของคนอื่น
ภายนอก ดับไม่ได้หรอก ดับได้เฉพาะตนเท่านั้น
ภายนอก สิ่งที่มีเกิดขึ้น ที่มองเห็นจะดีหรือไม่ดี
จะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของคนนั้นๆ
จะเรามีชีวิตอยู่หรือไม่มีชีวิตอยู่ก็ตาม
สิ่งที่มีเกิดขึ้นจะดำเนินของตัวสภาวะของมันเอง

คำว่าสังโยชน์ภายในและสังโยชน์ภายนอก
การที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
เริ่มจากขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
เมื่อรู้ชัดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน
ย่อมสามารถเข้าใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับคนอื่น
ไม่แตกต่างกันเลย

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ(กามภพ)
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ความยึดมั่นถือมั่นในผัสสะที่มากระทบ
ความกำหนัด(ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕)ในอายตนะมีเกิดขึ้นในตน
ทำให้เกิดความยินดี พอใจ ความติดใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ(รูปภพ)
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน
ความกำหนัด(ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕)ในรูปฌาน
ทำให้เกิดความยินดี พอใจ ความติดใจ
ในสภาวะที่มีเกิดขึ้น และสมาธิไม่เสื่อม
เวลาตาย จะไปเกิดชั้นพรหม

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ(อรูปภพ)
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในอรูปฌาน
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขณะจิตเป็นสมาธิในอรูปฌาน
ความกำหนัด(ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕)ในอรูปฌาน
ทำให้เกิดความยินดี พอใจ ความติดใจ
ในสภาวะที่มีเกิดขึ้นและสมาธิไม่เสื่อม
เวลาตาย จะไปเกิดชั้นพรหม
.
จะเขียนรวมๆก่อนที่เขียนอธิบายแยกออกจากกัน
เวลาอ่านจะทำให้เข้าใจในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ
คือรู้จากสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนก่อน
เมื่อรู้ชัดสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตนแล้ว
ย่อมรู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคนอื่น ไม่แตกต่างกัน

อย่าไปยึดติดที่ตัวหนังสือ แล้วไปตีความเอาเอง
“อายตนะภายในและภายนอกเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์”
แล้วนำไปแยกออกเป็นสังโยชน์ภายในและสังโยชน์ภายนอก
เมื่อเข้าใจผิด ย่อมทำให้เกิดความสำคัญผิดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นแบบนี้
“กามภพจึงชื่อว่า ภายใน รูปภพและอรูปภพจึงชื่อว่า ภายนอก แล.
ฉันทราคะในกามภพกล่าวคือภายในชื่อว่า สังโยชน์ภายใน.
ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพกล่าวคือภายนอกชื่อว่า สังโยชน์ภายนอก”

เวลาอ่าน ต้องอ่านรายละเอียดว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องใด
อย่าอ่านเพียงบางประโยคตามที่ตนอยากให้เป็นตามที่ตนคิดว่าเป็นตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเต็มๆ
ของประโยคคำนี้”อายตนะภายในและภายนอกเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์”
เป็นเรื่องของสภาวะที่มีเกิดขึ้น ผัสสะ เวทนา ตัณหา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สังโยชนสูตร
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์เป็นไฉน
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น
เป็นสังโยชน์ในจักษุนั้น ฯลฯ
ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์ในใจนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์

  • ส่วนพระสูตรนี้เรื่องอุปาทาน
    การที่จะเข้าใจได้สภาวะที่มีเกิดขึ้น
    ข้อแรก อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล
    ข้อที่ ๒ ต้องปฏิบัติให้เข้าถึงวิชชา ๓ มีเกิดขึ้นในตนก่อน
    จึงจะแจ่มแจ้งแทงตลอด
    เรื่องขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
    เพราะละตัณหา ๓ เป็นสมุจเฉท ไม่มีกำเริบขึ้นมาอีก
    วิมุตติญาณทัสสนะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
    ทำให้แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
    แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทาน ๔

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
อุปาทานสูตร
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานเป็นไฉน
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุนั้น ฯลฯ
ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นอุปาทานในใจนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทาน ฯ

อุปัสสุติสูตร
[๑๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนัก
ซึ่งมุงด้วยกระเบื้อง ของหมู่พระประยูรญาติ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับพักผ่อนอยู่ในที่สงัด
ได้ทรงภาษิตธรรมปริยายนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
[๑๖๔] อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ตรัสถามเธอว่า ดูกรภิกษุ
เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วหรือ
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ เธอจงเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้เถิด
เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ

อธิบาย

การที่จะเข้าใจในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ต้องอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ


2 วัน

เมื่อวานคิดว่าโดนแค่บ่าและแขน
เมื่อค่ำ ลูบๆหน้าจะเหมือนเป็นสิวตรงคาง
ไม่เคยเป็นสิวแบบจริงจัง
ส่องกระจก ไม่แน่ใจ คล้ายสิว เม็ดสีแดงๆ
เช้านี้ล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ
ส่องกระจกอีกที อ้าว ..นึกว่าเป็นแค่บ่ากับแขน
ที่หน้าตรงคางก็โดนแมลงก้นกระดกเดินผ่านหน้า หน้าจะโดนตอนตากผ้า
ที่ไม่รู้สึกอะไร น่าจะเกิดจากการเจ็บป่วยทางสมองน่ะ
บางครั้งจะไม่ค่อยรู้สึกความเจ็บปวด

เจ้านายถามว่าเหมือนเนวสัญญาไหม
เราบอกว่ามีเกิดขึ้นคนละอย่าง
เนวสัญญาฯ เวลามีเกิดขึ้น ผัสสะมากระทบ
เช่นตามองเห็น ไม่มีคำเรียก จะเห็นความเกิดและความดับ
ยกตย.เห็นภูเขา หรือคนเดินผ่านหน้า
จะรู้ว่าสิ่งมีเกิดขึ้นและดับ จะเป็นแบบนี้นะ
ร่างกายเหมือนไม่ใช่ของเรา เกิดจากไม่สามารถเคลื่อนไหวอะไรได้ แค่มอง
มีเกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ จนสมาธิคล้ายตัว จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
ประมาณว่าร่างกายยืนอยู่ ได้แค่มองไปข้างหน้า ขยับตัวไม่ได้
ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นเกิดและดับอยู่อย่างนั้น ไม่มีคำเรียก
พอสมาธิคลายตัว จึงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

ส่วนอาการสมอง ลิ่มเลือดที่อุดในเส้นเลือดของสมอง
ไปอุดตรงด้านสัญญา จะเหมือนความจำเสื่อมไปขณะ
สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ แต่สิ่งที่มีเกิดขึ้นสักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
เสียงที่ได้ยิน แต่ไม่เข้าใจในคำพูดของคนที่คุยด้วย ฟังไม่รู้เรื่อง
เหมือนสัตว์คุยกัน แต่เราไม่สามารถรู้ว่าสัตว์คุยอะไรกัน
อาการสมองเวลามีเกิดขึ้นจะเป็นแบบนั้น
กระไรมากระทบโดนร่างกาย แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น ความเจ็บปวดจะไม่มีเกิดขึ้น
หรือเวทนาทางกายจะไม่เกิดขึ้น

เนวสัญญาฯเวลามีเกิดขึ้นจะรู้ชัดความเกิดและความดับของรูปนามตามจริง
ไม่มีคำเรียก ไม่มีชายหญิง ไม่มีอะไรทั้งสิ้น เข้าสู่ความว่างตามจริง
ผัสสะเกิดดับอยู่อย่างนั้น เหมือนหุ่นยนต์ จะว่าตัวแข็งก็ไม่ใช่
แค่มองเห็น แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

มีคำถามว่า สักกายทิฏฐิ มีความแตกต่างหรือเหมือนสภาวะเป็นสมาธิเนวสัญญาฯไหม
คำตอบ แตกต่างกันนะ
สักกายทิฏฐิ ลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เห็นขันธ์ ๕ เป็นตัวตน เรา เขา
มีเกิดขึ้นภายใน และภายนอก
ภายใน มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ภายนอก มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้น) มากระทบ เช่นตามองเห็น
เมื่อสักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้น เห็นเป็นตัวตน เรา เขา
จากเป็นเพียงผัสสะมากระทบ
มาเป็น เห็น(ผัสสะ) เป็นผู้ชาย ผู้หญิง
นี่คือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของของการถูกสักกายทิฏฐิครอบงำไว้
เกิดจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ ปุริสบุคคลมาก่อน

ส่วนขณะเป็นสมาธิในเนวสัญญาฯ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะมากระทบ ตามองเห็น เกิดดับอยู่อย่างนั้น
จะไม่สามารถบังคับร่างกายได้ นิดเดียวก็ไม่ได้ เหมือนคนที่เป็นอัมพาต
หากมีเกิดขึ้นขณะยืนอยู่ ก็ยืนอยู่อย่างนั้นแหละ
รอจนสมาธิคลายตัว จึงเคลื่อนไหวได้

นี่เป็นการอธิบายการละสักกายสักกายทิฏฐิ
สภาวะสักกายทิฏฐิ
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตน เรา เขา
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะมีเพียงแค่นี้
ซึ่งเกิดจากอวิชชาที่มีอยู่

ผัสสะ

ผัสสะ

โลกสันนิวาส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับอวิชชา สังขาร วิญญาณ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

กามคุณ ๕
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรม ๘
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกามิส
แจ้งอริยสัจ ๔ ความเกิดและความดับ อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
มรรคมีองค์ ๘
ดับตัณหา
ดับฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
ให้สังเกตุคำเรียก “เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา”
ให้ย้อนกลับไปดูคำเรียก กามคุณ ๕

เมื่อยังไม่เคยสดับธรรมมาก่อน
ทำให้เข้าใจผิดตัวในหนังสือของคำว่า พอใจ ไม่พอใจ เป็นสภาวะของเวทนา

โลก
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕
โลกธรรม ๘
โลกามิส
คำเรียกทั้งหมด เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่า ผัสสะ

ส่วนตรงนี้
“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่”
โลกธรรม ๘ เป็นสภาวะของผัสสะ
ไม่ได้เป็นสภาวะของเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
ทำให้เกิดการกระทำตามความรู้สึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ให้เป็นการสร้างกรรมกรรมใหม่มีเกิดขึ้นทันที
โดยการปล่อยล่วงออกไปทางกายให้เป็นกายกรรม
ทางวาจา ให้เป็นวจีกรรม
เรียกว่า ชาติ

พอตีความผิด ในอรรถ (สภาวะที่มีเกิดขึ้น) พยัญชนะ (ตัวหนังสือ)
ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ มาก่อน
การเขียนอธิบาย แทนที่จะเป็นเรื่องผัสสะ
กลายเป็นเรื่องเวทนาเพียงอย่างเดียว

“โลกธรรม8คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่
มีตั้งต้นจากหนึ่ง และแปรเปลี่ยนตามกันไป ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น
อันอุปนิสัยสันดารของมนุษย์ มีตั้งอยู่ในความรู้สึกนั่นเองว่าอาการอันมีแรกเริ่ม ก่อนและตาม
ติดต่อกันมาจาก1-8โดยอาการแรกเริ่มที่1คือตั้งต้นของอาการต่อๆไป
วกวนสับกันไปมาในอาการต่างๆและวนมายังอาการแรกมีดังนี้
1.รัก อาการที่สัตว์โลกมีแรกเริ่มความรู้สึกแรก “(และจะตามติดต่อกันมาดังนี้)”
2.โลภ อยากได้ไม่รู้พออยากมีไว้ครอบครองเพียงแค่ตนเองเท่านั้น
3.โกรธ ความไม่พึงใจ ในสิ่งอื่น
4.หลง ความเข้าใจที่ไม่ถูก หักเห โลเล งมงาย
5.ลาภ. ล้วนได้มาจากไม่รู้ แต่รู้แล้วยังพึงเอามาแก่ตน
6.ยศ ถานันดรยกขึ้นมาว่าเหนือกว่าให้ผู้อื่นเกรงกลัว
ในฐานันดรสูงกว่าไห้ผู้อื่นสักการะ หยิ่งยโสยกยอตนก็มีนั่นเอง
7.สรรเสริญ การถูกยกย่องโดยร่วมตามมาจากยศ สร้างให้มี ทั้งอีกหลายๆอย่างมารวมเข้าด้วย
8.ติฉินนินทา ติ. การว่ากล่าวในสิ่งที่ตนเองผู้อื่นกระทำแล้วดูไม่เหมาะไม่ควรเกิดความไม่พึงใจ ในสิ่งนั้น ฉิน.
การดูถูกเหยียดหยาม ว่าร้าย ไม่พึงใจกับการที่ตนมีนั้นว่าน้อยกว่า ด้วยอาการต่างๆ
เช่นสายตา ปาก ใบหน้า(สบัดหันหน้าไปทางอื่น)และทางวาจาการพูด นินทา.
การพูดคุยกันหลายคนและต่อๆกันไปเรื่อยๆในทุกๆทางทุกอย่างทุกด้านของผู้อื่น
และมีเพิ่มเติมลดลงบ้างในเรื่องนั้นที่พูดกัน. ก็มีพอใหสังเขปดังนี้”

กามฉันทะกับกามราคะ

ตอนนี้พอจะเขียนได้คร่าวๆ

“กามฉันทะ” กับ “กามราคะ” นี่แตกต่างกันอย่างไร

  • กามฉันทะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของเวทนา
  • กามราคะ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของตัณหา

กามุปาทาน
กามโยค กามตัณหา กามราคะ กามาสวะ
เขียนแตกต่างกัน สภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นสภาวะตัวเดียวกัน
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ผัสสะ เวทนา ตัณหา
ผัสสะ โลกสันนิวาส
เวทนา กามฉันทะ
ตัณหา
สามารถละให้บรรเทาได้จากการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
และการเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
วิชชา ๑
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ ทุกขลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละสักกายทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
แจ้งอริยสัจ ๔
ละสักกายทิฏฐิ ละสีลลัพพตปรามาส ละวิจิกิจฉา
ได้แก่
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ปัจจุบันเป็นพระสกทาคามี(สกทาคามิมรรค)


แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกสันนิวาส มาเป็นกามคุณ ๕
เวทนา ละกามฉันทะ มาเป็นราคะ
ปัจจุบันเป็นพระอนาคามี(อนาคามิมรรค)

สรทสูตร
[๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนในอากาศที่ปราศจากวลาหกในเมื่อสรทสมัยยังอยู่ห่างไกล
อาทิตย์ส่องแสงเงินแสงทองขึ้นไปยังท้องฟ้า
ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศเสียทั้งหมดแล้ว
ส่องแสง แผดแสงและรุ่งโรจน์อยู่ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่อริยสาวก
อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ อย่าง
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสเสียได้เด็ดขาด
พร้อมกับเกิดขึ้นแห่งทัศนะ
เมื่อนั้น ธรรมจักษุชนิดอื่นอีก ไม่ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
คือ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑
อริยสาวกนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงทำกาละในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ยังประกอบ พึงกลับมายังโลกนี้อีก ฯ


วิชชา ๒
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนัตตลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตานุทิฏฐิตามจริง(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากกามคุณ ๕ มาเป็นโลกธรรม ๘
เวทนา จากราคะ มาเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ละราคะ โทสะ โมหะ เป็นสมุจเฉท
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหัตมรรค)

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกวิปัตติสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร
เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ … ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้
แม้ความเสื่อมลาภ …แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ … แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้
เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์
เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด
ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ … ยศ …ความเสื่อมยศ … นินทา … สรรเสริญ … สุข …
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
แม้ความเสื่อมลาภ … แม้ยศ … แม้ความเสื่อมยศ …
แม้นินทา … แม้สรรเสริญ … แม้สุข …
แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์
ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศกเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โลกธรรมสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉน
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑
ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดาธรรมอันน่าปรารถนา
ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ


วิชชา ๓
สัมมาสมาธิ
ยถาภูติญาณทัสสนะ
สติปัฏฐาน ๔
ไตรลักษณ์ อนิจจลักขณะมีเกิดขึ้นตามจริง
ละอัตตวาทุปาทาน(สมุจเฉท)
สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
อรหัตมรรค อรหัตผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะจากโลกธรรม ๘
มาเป็นสภาวะของขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ฉันทราคะในขันธ์ ๕
เวทนา จากสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
มาเป็นชอบใจ พอใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ มีเกิดขึ้นพอประมาณในใจ
ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก
ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปหานสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ
ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑
มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์คือความยินดีเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์คือความยินร้าย ฯลฯ
สังโยชน์คือความเห็นผิด ฯลฯ
สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ
สังโยชน์คือมานะ ฯลฯ
สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯลฯ
สังโยชน์คืออวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

โลกสันนิวาสและกามคุณ ๕

โลกสันนิวาสและกามคุณ ๕

หลงทางไปนาน ไปสนใจเรื่องคำว่ากามคุณ ๕
ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โลกสันนิวาส
ต้องเจอพระสูตรก่อน แล้วพิจรณาจากผลของการปฏิบัติ
การแจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน จึงสามารถเข้าใจได้
ต้องละที่ละอย่าง
ละโลกสันนิวาสก่อน
ตามมาด้วยละกามคุณ ๕
ด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อรู้แล้วจะเป็นเรื่องของโลกธรรม ๘
ที่มีเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
ผลที่ได้รับ มาในรูปของเวทนาที่มีเกิดขึ้น

สัตบุรุษ(สกทาคามี) ประเภททุกขาปฏิปทา
จะพูดเรื่องกรรมและผลของกรรมเนืองๆ ที่มีเกิดขึ้นกับตน
หากเข้าถึงธรรมอนาคามิผล ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)

สัปบุรุษ(อนาคามี) ประเภททุกขาปฏิปทา
จะพูดเรื่องการแจ้งอริยสัจ ๔ โลกธรรม ๘ ที่มีเกิดขึ้นกับตน
หากเข้าถึงธรรมอนาคามิผล ปัจจุบันเป็นพระอรหันต์(อรหันตมรรค)

ทุกขาปฏิปทา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง
เข้าถึงอนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)

สุขาปฏิปทา
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
วิชชา ๒ ปรากฏตามจริง
ได้อนาคามิผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
ได้แก่ พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ปัจจุบันเป็นอรหันต์(อรหันตมรรค)


โลกกามคุณสูตรที่ ๑
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก
ถือว่าโลก ด้วยจักษุ …ด้วยหู… ด้วยจมูก… ด้วยลิ้น… ด้วยกาย… ด้วยใจ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด
ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ

.
๑๓. เตวิชชสูตร
[๓๗๗] ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป
เขามัดแขนไพร่หลังอย่างแน่น ด้วยเชือกอย่างเหนียวที่ริมฝั่งนี้
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้แลหรือ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง
กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง
พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา กำหนัดสยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ
ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้อยู่

ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย
สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่
กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ
ไม่มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภคกามคุณ ๕ พัวพันในกามฉันท์อยู่
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๘] ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี
น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป
เขากลับนอนคลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝั่ง
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือหนอ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.
ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์
นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ในวินัยของพระอริยเจ้า
เรียกว่าเครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง.

[๓๗๙] ดูกรวาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา
ถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตราแล้ว
ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย
สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่
ถูกนิวรณ์ ๕ ปกคลุม หุ้มห่อรัดรึง ตรึงตราแล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

.
ผัสสะ
โลกสันนิวาส
วิธีการดับ ด้วยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ละสักกายทิฏฐิ จะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

๑. ละด้วยศิล
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จตุตถเปยยาลที่ ๔
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๖๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีอยู่เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.
เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ฯลฯ
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด ฯลฯ เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.

[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๔๖๕] พ. เพราะเหตุนั้นแหละ
ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

.
๒. ละด้วยการทำกรรมฐาน
๒.๑ ละด้วยรูปฌาน ละด้วยอรูปฌาน
๒.๒ ละด้วยปัญญาไตรลักษณ์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๙. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดและความดับทุกข์
[๖๖] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป
นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
เวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ
แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป
นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่งโรค
เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.
ความดับ ความเข้าไประงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้
แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ
แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความเข้าไประงับแห่งโรค
เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ.

๓. ละด้วยการเข้าถึงธรรมโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลตามจริง
ละสักกายทิฏฐิเป็นสมุจเฉท ไม่มีกำเริบกลับมาอีก

.

กามคุณ ๕ ละด้วยการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ผู้ที่สามารถละได้ คือ พระอนาคามี หรือสัปบุรุษ ประเภททุกขาปฏิปทา
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะฯลฯ
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ.
[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
มหาวรรคที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
ย่อมหมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
หมุนเวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย… คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ


กว่าจะรู้จะเห็นจะเจอพระสูตร
การสดับธรรมพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
อาศัยความเพียรต่อเนื่อง เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้น ใจเด็ด
ปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมตามลำดับก่อน
โสดาบัน
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามี
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามี
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหันต์
อรหัตมรรค อรหัตผล
วิชชา ๓ มีเกิดขึ้นตามจริง
วิมุตติญาณทัสสนะจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง

.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปัญจสิขสูตร
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตรผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี
อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี
ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน
ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

[๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่
วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี
ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน
ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล
เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

กามคุณ ๕-โลกามิส

กามคุณ ๕-โลกามิส

คำเป็นมาของคำเรียกเหล่านี้
กามคุณ ๕
โลกามิส
โลกธรรม ๘
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นตรงผัสสะ


คำเรียกที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
และลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
ด้วยการสร้างเหตุไว้ดังนี้มาก่อน
๑. ศิล สมาธิ ปัญญา เข้าถึงธรรมมรรคผล ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
๒. การแจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตน
๓. อาศัยการสดับพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ

ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ละฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕
ละตัณหา ๓ ลงไปได้ ไม่มีกำเริบกลับขึ้นมาอีก
อาศัยการสดับพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล ตามลำดับ
แจ้งลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำว่าอุปาทาน ๔
และวิธีการดับอุปาทาน ๔ ลงไปได้
สามารถอธิบายรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆได้
เพราะสิ่งเหล่านั้นมีเกิดขึ้นมาตอน จากประสพการณ์
ขณะดำเนินชีวิต
ขณะทำกรรมฐาน
ขณะสภาวะกาละ จิตดวงสุดท้ายที่ปรากฏตามจริง

หลายวันนี้หมกมุ่นกับพระไตรปิฎก
เกิดจากมีการพิจรณาในสิ่งที่เคยมีเกิดขึ้นในตนแล้วเขียนออกมาเรื่อยๆ

ผัสสะ
เมื่อยังละฉันทะราคะอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้
กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้นอัตโนมัติ

.
การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
อาศัยศรัทธาและปฏิบัติตาม
เป็นการเข้าสู่เส้นทางสัมมาทิฏฐิ
ผลของการปฏิบัติตาม ทำให้ปิดอบาย
เวลาตายจะเกิดในมนุษย์และสวรรค์
ส่วนจะเกิดที่ไหน ก็ต้องอาศัยอ่านพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
และบางคนที่เพิ่มการทำกรรมฐาน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
อาศัยศรัทธาและปฏิบัติตาม จะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม
เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. ทำทุกวัน
อินทรีย์ ๕ ที่ถูกอบรมต่อเนื่อง
หากจิตเป็นสมาธิจะเป็นรูปฌานหรืออุรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง ทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน

ส่วนตรงนี้ เวลาสิ้นชีวิต จะไปเกิดสุทธาวาส และปรินิพพานบนโน้น
ไม่ต้องกลับมาเกินเป็นมนุษย์อีก
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕ ด้วย
ก็ต้องอาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงิน
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงเขียนแผนที่ไว้ให้
ผ่านทางการอ่านหรือฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้

.
๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

.
การเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๑
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงครั้งที่ ๑
ละสักกายทิฏฐิ ละสีลลัพตปรามาส ละวิจิกิจฉา

แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริงครั้งที่ ๒
รู้ชัดผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทุกๆที่กระทำตามใจตัวเองในแต่ละขณะๆ
สิ่งที่กระทำลงไปทางกาย วาจา ความคิด
เรียกว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ผลที่ได้รับของการกระทำ มาให้รับผลรูปแบบของเวทนาที่มีเกิดขึ้น
ผัสสะ เวทนา
ผัสสะ
กรรมเก่า กรรมใหม่ วิบากกรรม ดับกรรม
โลกธรรม ๘ มีเกิดขึ้น
เวทนามีเกิดขึ้น ชอบใจ ไม่ชอบใจ
ความรู้สึกนึกคิด
การที่จะรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
หากยังไม่มีความรู้เห็นเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตน
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สับุรุษ สัปบุรุษ
เพราะบุคคลเหล่านั้นได้ผ่านเส้นทางนั้นมาก่อน

.
การเข้าถึงธรรมอนาคามมรรค อนาคามิผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๒
จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนๆกัน
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
เป็นลักษณะ วิชชา ๒ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
ต้องตายก่อน จึงจะเข้าใจความตายที่มีเกิดขึ้นของคนอื่น
ไม่ต้องมีเจโต ไม่จำเป็นต้องรู้ใจของคนอื่น
อาศัยจากการสนทนากัน ภพชาติของการเกิดอยู่ตรงนี้
หากไม่เคยตายมาก่อน จะเข้าใจได้อย่างไรล่ะ
นี่คือใจสำคัญของวิชชา ๒
เป็นการแจ้งอริยสัจ ๔ เป็นครั้งที่ ๓
ยิ่งกว่าการมีฤทธิ์จะทางใจ เหาะเหินเดินอากาศ หายตัวได้ ย่นทางได้ฯลฯ

ขณะวลาสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามจริง
สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นชัดเจน แล้วดับ
มโนกรรมไม่มี ไม่มีไปสวรรค์หรือนรก

บุคคลที่มีวิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามจริง
ความกำหนัดในผัสสะที่มากระทบ จะน้อยลงไปเอง ไม่ต้องพยายาม
พรหมจรรย์เริ่มสมบูรณ์มากขึ้น
ละกามคุณ ๕ เด็ดขาด
ไม่มีการลูบคลำแม้กระทั่งกอดด้วยความเสน่หากับต่างเพศและเพศเดียวกัน
ไม่มีการเปรียบเทียบสิ่งที่มากระทบ
ทุกคนจะแตกต่างแค่เปลือกที่ห่อหุ้มไว้
เนื้อในภายในของทุกคนไม่แตกต่างกัน
เวลาตาย จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
ศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ

.
การเข้าถึงธรรมมรรคผลตามจริงเป็นครั้งที่ ๓
จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเหมือนๆกัน
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง
สภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นต่อ แล้วดับ
แจ้งอริยสัจ ๔
ผัสสะ
โลกามิส มีเกิดขึ้นปราศจากตัณหาและทิฏฐิ
พรหมจรรย์สมบูรณ์

“รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

คำว่าพรหมจรรย์ในที่นี้
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘

เมื่อยังมีชีวิตอยู่
โลกธรรม ๘ ยังคงมีอยู่เป็นเรื่องปกติ แต่ทำอะไรดวงใจนี้ไม่ได้อีกต่อไป

.
เมื่อมีเหตุให้กำลังสมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไป มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
แจ้งอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
แจ้งขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
รูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่ใช่จากการท่องจำมา
ละราคะในรูปฌานและอรูปฌาน ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป
ไม่มีเสียใจ ไม่มีโอดครวญอีกเพราะเสียดายสมาธิที่มีอยู่

ขณะวลาสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามจริง
สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นชัดเจน
มโนกรรมไม่มี แล้วดับ

.
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นโดยตัวของสภาวะเอง
กระบวนการความรู้เห็นจะค่อยๆมีเกิดขึ้น
เริ่มจากรู้ชัดของคำว่า วิมุตติ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ
แจ้งอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นอีกครั้ง
ความรู้เห็นที่มีเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕

กามคุณ ๕ และสักกายะ

กามคุณ ๕ และสักกายะ

ขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕
ฉันทราคะในอุปาทานขนัธ์ ๕ ที่ยังละไม่ได้
ทำให้กามคุณ ๕ มีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
ที่เกิดจากกามราคะ ที่ยังละไม่ได้
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

เรื่องกามราคะ เวลาอธิบายรายละเอียดของสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ต้องอธิบายแยกออกจากกัน ไม่งั้นจะงง

กามราคะ อยู่ในกลุ่มกามุปาทาน คืออุปาทาน ๔
อุปาทาน ๔ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานเกิดจากตัณหา
ตัณหาเกิดจากเวทนา
เวทนาเกิดจากผัสสะ
ผัสสะเกิดจากขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
เมื่อฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น
อุปาทาน ๔ จึงมีเกิดขึ้น

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้แหละภิกษุ.

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้
และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน

.
ผัสสะ เวทนา
เพราะผัสสะมี เวทนาจึงมี

ผัสสะ มากระทบ
เวทนา ๓
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ
ราคะ ปฏิฆะ โมหะ
ราคะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อภิชฌา พยาบาท

สภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกคือ โมหะ
บุคคลที่ไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคลมาก่อน
เมื่อผัสสะมากระทบ สักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
เมื่อสักกายทิฏฐิมีเกิดขึ้น ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ย่อมมีเกิดขึ้น

ผัสสะ

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

.
การที่ผู้คนทะเลาะกัน
เกิดจาก กามราคะ ทิฏฐิราคะ
ที่เกิดจากยังละกามคุณ ๕ ยังไม่ได้

กามคุณ ๕ ที่ยังละไม่ได้
เกิดจากสักกายทิฏฐิ

สักกายทิฏฐิที่ยังละไม่ได้
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ยังละไม่ได้

.
๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงสักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน?
คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูปฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน?
สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้น.
กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน?
คือความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน?
คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้
กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

อธิบาย

คำว่า สักกายะ
ได้แก่ สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ อัตตวาทุปาทาน
เกิดจากตัณหา ๓
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

โลกสันนิวาส,กามคุณ ๕และสัพพโลเกอนภิรตสัญญา

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
ความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

ละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์
ดับตัณหา ๓
ผัสสะ
โลกามิส

ผัสสะ
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕
โลกสันนิวาส
กามคุณ ๕


อายตนสูตรที่ ๗
[๔๖๔] ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ฯ
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยผัสสายตนะ ๖ ฯ
ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์
น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้
มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยผัสสายตนะ ๖
และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์
น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่
ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
เพื่อการกำบังตาเถิด ฯ

[๔๖๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว ได้ร้องเสียงดังพิลึกพึงกลัว
ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ฯ
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุ ภิกษุ
แผ่นดินนี้เห็นจะถล่มเสียละกระมัง ฯ
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ แผ่นดินนี้ย่อมไม่ถล่ม
ดูกรภิกษุ นั่นมารผู้มีบาปมาแล้ว เพื่อกำบังตาพวกเธอ ฯ

[๔๖๖] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบว่า นี้เป็นมาร ผู้มีบาป
จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น
นี้เป็นโลกามิสอัน แรงกล้า
โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ เหล่านี้
ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า มีสติก้าวล่วง โลกามิสนั้น
และก้าวล่วงบ่วงมารแล้ว รุ่งเรื่องอยู่ดุจพระอาทิตย์ ฉะนั้น
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์
เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ


สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
ความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

สัญญาสูตรที่ ๒
ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย และอุปาทานในโลก
อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจ อันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ
ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันเราไม่เจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น
ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

อธิบาย

“ละอุบาย และอุปาทานในโลก”

คำว่า ละอุบาย
ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ ปุริสบุคคล

“อุปาทานในโลก”
คำว่า อุปาทาน
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕

คำว่า โลก
ได้แก่ โลกสันนิวาส

คำว่า ความวิจิตรแห่งโลก
ได้แก่ กามคุณ ๕


อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


สังคัยหสูตรที่ ๑
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน
คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ
เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น
บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่

บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารักของเรา

ได้ยินเสียงที่น่ารักและเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก
และพึงบรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา

ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่
พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่

ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว
ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย

ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว
ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย

เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่

ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว
ย่อมรักษาใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ

ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น
จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ

อธิบาย

“บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง”

สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
กล่าวคือ มีความศรัทธาในพระธรรมคำสอนและปฏิบัติตาม
ผัสสะ เวทนา
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ทำให้เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ

โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

คำว่า ราคะ
ได้แก่ ความกำหนัดในผัสสายตนะ ๖


มหาวรรคที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย…
คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์
หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น
ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ
ลาภ ๑
ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑
ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑
สรรเสริญ ๑
สุข ๑
ทุกข์ ๑
ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก
และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้

บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์
หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ
ถึงความหลงใหล

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์
หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น
ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ
ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑
หมุนเวียน ไปตามโลก
และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ
กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์
หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความหลงใหล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย…
คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ


๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
แสดงญาณในมหากรุณาสมาบัติ
[๒๘๕] มหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
พระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นอยู่ด้วยอาการ
เป็นอันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือพระผู้มีพระภาคทั้งหลาย
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาสอันไฟติดโชนแล้ว จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาส
ยกพลแล้ว … โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว … โลกสันนิวาสเดินทางผิดแล้ว …
โลกอันชรานำเข้าไป มิได้ยั่งยืน … โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่ … โลกไม่มี
อะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป … โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม
เป็นทาสแห่งตัณหา … โลกสันนิวาสไม่มีที่ต้านทาน … โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น …
โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง … โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร … โลกสันนิวาส
ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ … โลกสันนิวาสมีลูกศร ถูกลูกศรเป็นจำนวนมากเสียบแทงแล้ว
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะถอนลูกศรทั้งหลายของโลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลก-
*สันนิวาสมีความมืดตื้อคืออวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกใส่เข้าไปยังกรงกิเลส ใครอื่นนอกจาก
เราซึ่งจะแสดงธรรมเป็นแสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลกสันนิวาส
ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา เป็นผู้มืด อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดังเส้นด้าย พันกันเป็น
กลุ่มก้อน นุงนังดังหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสาร คือ อบาย
ทุคติและวินิบาต … โลกสันนิวาสถูกอวิชชามีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่แล้ว มีกิเลส
เป็นโทษ … โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะโทสะและโมหะ ใครอื่นนอกจากเรา
ผู้จะช่วยสางรกชัฏให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสถูกกองตัณหา
สวมไว้ … โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้ … โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหา
พัดไป … โลกสันนิวาสถูกตัณหาเป็นเครื่องคล้องไว้ … โลกสันนิวาสซ่านไป
เพราะตัณหานุสัย … โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา …
โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะตัณหา … โลกสันนิวาสถูกกองทิฐิ
สวมไว้ … โลกสันนิวาสถูกข่ายทิฐิครอบไว้ … โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฐิพัดไป
… โลกสันนิวาสถูกทิฐิเป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้ … โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ
ทิฏฐานุสัย … โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะทิฏฐิ … โลก-
*สันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ … โลกสันนิวาสไปตามชาติ …
โลกสันนิวาสซมซานไปเพราะชรา … โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ …
โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น … โลกสันนิวาสตกอยู่ในกองทุกข์ … โลกสันนิวาส
ถูกตัณหาซัดไป โลกสันนิวาสถูกกำแพงคือชราแวดล้อมไว้ … โลกสันนิวาส
ถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้ … โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็นอันมาก คือ
เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฐิ กิเลส ทุจริต ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลก-
*สันนิวาสเดินไปตามทางแคบมาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่
โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพัวพันไว้
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี …
โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้น
ให้ขึ้นพ้นจากเหว เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก ใครอื่นนอกจาก
เราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดารได้ เป็นไม่มี … โลกสันนิวาส
เดินทางไปในสังสารวัฏใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้น
จากสังสารวัฏได้ เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยู่ในหล่มใหญ่ ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้น ให้พ้นจากหล่มได้ เป็นไม่มี …
โลกสันนิวาสร้อนอยู่บนเครื่องร้อนเป็นอันมากถูกไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟ
คือโมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ครอบงำไว้ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้
เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มีอะไรต้านทาน
ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา … โลกสันนิวาสถูกผูกด้วยเครื่องผูกในวัฏฏะ
ปรากฏอยู่ที่ตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยโลกสันนิวาสนั้นให้หลุดพ้นได้
เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจาก
เราผู้จะช่วยต้านทานให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสถูกทุกข์
เสียบแทงบีบคั้นมานาน … โลกสันนิวาสติดใจกระหายอยู่เป็นนิตย์ … โลก
สันนิวาสเป็นโลกบอด ไม่มีจักษุ … โลกสันนิวาสมีนัยน์ตาเสื่อมไป ไม่มีผู้นำ
… โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยพาโลก
สันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะ เป็นไม่มี … โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ห้วงโมหะ
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้ขึ้นจากห้วงโมหะ เป็นไม่มี …
โลกสันนิวาสถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม … โลกสันนิวาสปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ อย่าง …
โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลสเครื่องประกอบ ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่าง
ประกอบไว้ … โลกสันนิวาสถูกกิเลสเครื่องร้อยกรอง ๔ อย่างร้อยไว้ …
โลกสันนิวาสถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔ … โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ … โลกสันนิวาส
กำหนัดอยู่ด้วยกามคุณ ๕ … โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้ … โลกสันนิวาสวิวาท
กันอยู่ด้วยมูลเหตุวิวาท ๖ อย่าง … โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา ๖ …
โลกสันนิวาสถูกทิฐิ ๖ กลุ้มรุมแล้ว … โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะอนุสัย ๗ …
โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ เกี่ยวคล้องไว้ … โลกสันนิวาสฟูขึ้นเพราะมานะ ๗
… โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม ๘ … โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลงเพราะ
มิจฉัตตะ ๘ … โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘ … โลกสันนิวาส
มุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๙ … โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙ อย่าง …
โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ … โลกสันนิวาสย่อม
เศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐ … โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๑๐ …
โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ … โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐
เกี่ยวคล้องไว้ … โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ ๑๐ … โลกสันนิวาส
ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิมีวัตถุ ๑๐ … โลกสันนิวาสประกอบด้วยสักกายทิฐิมีวัตถุ ๑๐
… โลกสันนิวาสต้องเนิ่นช้าเพราะตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า ๑๐๘ พระผู้มีพระภาค
ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า โลกสันนิวาสถูกทิฐิ ๖๒ กลุ้มรุม
จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปให้หมู่สัตว์ว่า ส่วนเราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่สัตว์โลก
ยังข้ามไม่ได้ ส่วนเราเป็นผู้พ้นไปแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้นไป ส่วนเราทรมาน
ได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังทรมานไม่ได้ ส่วนเราสงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ
ส่วนเราเป็นผู้เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ ส่วนเราเป็นผู้ดับรอบแล้ว
แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ ก็เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย
เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นไปด้วย เราทรมานได้แล้ว จะช่วย
ให้สัตว์โลกทรมานได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกสงบด้วย
เราเป็นผู้เบาใจแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกเบาใจด้วย เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว จะช่วย
ให้สัตว์โลกดับรอบด้วย พระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นดังนี้
จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ นี้เป็นมหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคต ฯ

ผัสสะ

ผัสสะ
กามคุณ ๕
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่
ผัสสะ เวทนา

เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง สภาวะของผัสสะจะเปลี่ยนไป
ผัสสะ
กรรมและผลของกรรม
ผัสสะ เวทนา
ชรา มรณะ ฯลฯ
สภาวะที่มีเกิดขึ้นได้แก่ โลกธรรม ๘
ผัสสะ เวทนา

เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง สภาวะของผัสสะจะเปลี่ยนไป
ผัสสะ
ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
ผัสสะ เวทนา

พูดตรงๆ สมัยก่อน ถ้าได้อ่านหรือได้ฟังมาก่อน
จะตั้งใจทำกรรมฐานต่อเนื่อง ทางโลกจะเว้นไว้ก่อน
ตัวสภาวะจะดำเนินด้วยตัวของสภาวะเอง
อย่างว่าแหละ ใครจะไปรู้ล่ะ
จึงใช้ชีวิตปกติ การใช้ชีวิตเพลิดเพลินดูหนัง ฟังเพลง ติดซีรีย์
ตามมามาด้วยป่วย
ประกอบกับวิบากที่มีอยู่

ถ้าถามว่าเสียใจไหม
คำตอบ ไม่เสียใจ เพราะถือว่าในอดีตได้ใช้ชีวิตคุ้มและการปฏิบัติเต็มที่
อย่างน้อยสิ่งที่รู้ที่เห็นจะเป็นการเข้าโสดาปัตติผลตามจริง ก็ตาม
เมื่อถึงเวลาตาย ก็ไม่ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
ต่อให้ร่ำรวยในฐานะอะไรก็ตาม ก็ไม่สามารถพ้นจากทุกข์ ไม่พ้นจากชรามรณะ
มีเกิดขึ้นเดิมๆซ้ำๆ แต่ไม่รู้เลยว่าใช้ชีวิตเดิมๆซ้ำๆ จะเปลือกอะไรก็ตาม(ชาย หญิง)

การศึกษาพระธรรมทำให้ถ่ายถอนในสิ่งความเป็นต่างๆลงไปหมดสิ้น
คือไม่ต้องมีความอยาก ขอให้เห็นทุกข์ที่มีเกิดขึ้นในตน
เมื่อเห็นทุกข์ ประกอบกับการได้สดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษ
เราคงสร้างกรรมไว้ดีมาก จึงมาเจอหลวงพ่อจรัญ ท่านเป็นสัตบุรุษ
อีกอย่างเคยสร้างกรรมในอดีตร่วมกับหลวงพ่อจรัญ เชื่อกัน
มาในชาติปัจจุบัน เมื่อมาเจอท่านอีก ทำให้เจอเชื่อท่านอีกครั้ง
รวมทั้งอจ.ทั้งหมดที่เคยสร้างกรรมมาร่วมกันในอดีต
สภาวะการปฏิบัติตั้งแต่เด็กจนมาถึงเจอหลวงพ่อจรัญ
ทางที่ปกปิดอยู่ ถูกเปิดเผยออกมา
พระพุทธเจ้าจะเรียกว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นกับเรา เรียกว่า ธัมมานุสารี
คือเชื่ออาจารย์และปฏิบัติตาม

ใครที่ได้อ่านพระธรรมที่เรานำมาเรียบเรียงเขียนตามลำดับการได้มรรคผลตามจริง ตามลำดับ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ ที่เรียกว่า พระสูตร
เมื่ออ่านแล้วเกิดความเชื่อในพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้และปฏิบัติตาม
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า สัทธานุสารี

คำว่า พระโสดาบันและตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
จะเริ่มจากสัทธานุสารีและธัมมานุสารี
ก่อนปฏิบัติตามจนได้มรรคผล(โสดาปัตติผล) ตามจริง


ผัสสมูลกสูตร
[๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้
เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น
ชื่อว่า สุขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น
ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ความเสวยอารมณ์ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น
ชื่อว่าทุกขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น
ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป

อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
ความเสวยอารมณ์อันเกิดแก่ผัสสะนั้น
ชื่อว่าอทุกขมสุขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น
ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ฯ

[๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน
เพราะการเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ
เพราะแยกไม้สองอันนั้นแหละออกจากกันไออุ่นที่เกิด
เพราะการเสียดสีนั้น
ย่อมดับไป สงบไป ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น
ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับไป ฯ


รโหคตวรรคที่ ๒
รโหคตสูตร
[๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาสความปริวิตกแห่งใจ
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่าง
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้
ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
ทรงหมายเอาอะไรหนอ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ
ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
เรากล่าวเวทนา ๓ นี้

ดูกรภิกษุเรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
ดูกรภิกษุก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้
เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นแหละ
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ

[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ
คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ

[๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ
คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมสงบ ฯลฯ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ ฯ

[๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้
คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อมระงับ ฯ

สุดท้าย บุคคลที่ติดอุปกิเลส
เกิดจากไม่เคยสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
เมื่อไม่เคยฟังมาก่อน

เมื่อจิตเสพสมาธิเนืองๆ
ผัสสะมากระทบ สักแต่ว่าสิ่งที่มีเกิดขึ้น
ความคิดไม่มี
เมื่ออวิชชาที่มีอยู่
ย่อมสำคัญผิดในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
น้อมใจเชื่อว่าตนเข้าถึงสภาวะของอรหันต์

ปัจจุบันมีเยอะมาก
ประกอบกกับการทำนาย ผู้ปฏิบัติสภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นนี้ๆ
ด้วยเหตุนี้ทำให้บุคคลนั้นสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นในตน
ทำให้ผู้อื่นหลงทาง
ตัวเองย่อมรับผล สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นั้น

ผัสสะ เวทนา

ผัสสะ กามคุณ ๕
เวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

หากไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ทำให้ไม่สามารถไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงของคำเรียกเหล่านี้
และไม่สามารถกระทำเพื่อดับทุกข์ได้

อริยสัจ ๔ ในที่นี้หมายถึงการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เป็นตัวปัญญา ไม่ใช่สัญญา

กามคุณ ๕ และเวทนา ราคะ โทสะ โมหะ

ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้

ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ
ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของเล็กน้อย
ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป
ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง
จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ
ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน
บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง …
ในกลิ่น …
ในรส …
ในโผฏฐัพพะ …
ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง
ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย
จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ