ธรรมที่ค้านไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้นี่แล อันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้
ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็ นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้
ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
…. (ทรงแสดง ธาตุ หก) ….
…. (ทรงแสดง ผัสสายตนะ หก) ….
…. (ทรงแสดง มโนปวิจาร สิบแปด) ….

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้

เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้
ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.
….ฯลฯ…. ….ฯลฯ….

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.

ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้
เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ?

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี;

เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่ นามรูปย่อมมี ;

เพราะมี นามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;

เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

ภิกษุ ท. ! เ ราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ;

ว่า “นี้ เป็นทุกขสมุทัย” ดังนี้ ;

ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ;

ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์,
แม้โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์,
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์,
ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ : กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเ ป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว. จึงมีความดับแห่งสังขาร ;
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ;
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ;
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ;
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ;
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ ;
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่ว่า “ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า ‘เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ’ ดังนี้

เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้
คัดง้างไม่ได้” ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ;

ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าวมานี้ แล.
– ติก. อํ. ๒๐/๒๒๕/๕๐๑.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ว่า

“นี้เป็น ทุกข์.., นี้เป็น เหตุให้เกิดทุกข์.., นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์.., และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง
ความดับไม่เหลือของทุกข์..,” ดังนี้,

เป็นสิ่งที่เราได้บัญญัติแล้ว : แต่ในความจริงนั้น การพรรณาความ การกำหนดบทพยัญชนะ และการจำแนก
เพื่อพิสดาร มีมากจนประมาณไม่ได้ (อปริมาณา วณฺณา อปริมาณา พฺยญฺชนา อปริมาณา สงฺกาสนา) : ว่าปริยายเช่นนี้ๆ เป็นความจริงคือทุกข์ ถึงแม้เช่นนี้
ก็เป็นความจริงคือทุกข์ ฯลฯ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า

“นี้เป็นทุกข, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.
– มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๙/๑๖๙๖.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ
ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์,
ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์,

กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้า ที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา
อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ,

ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มี ไม่เป็น.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์
คือความดับสนิท เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง

คือความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ ของความทุกข์

คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้
ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง
การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง.
– มหา.วิ. ๔/๑๘/๑๔.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สี่ประการคืออะไรเล่า ?

สี่ประการคือ ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ; ธรรมที่ควรละด้วย ปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ;

ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ;

ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
อวิชชา และ ภวตัณหา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำ ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
วิชชา และ วิมุตติ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล มีอยู่.
– จตุกฺก.อํ. ๒๑/๓๓๓/๒๕๔.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, – เหตุให้เกิดทุกข์, – ความดับไม่เหลือของทุกข์, – และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ก็มี,
ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ก็มี, และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ก็มี.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์,

ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์,

ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์,

และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

“นี้เป็นทุกข, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ