สุกขวิปัสสิโก

ตอนที่ ๑

เกี่ยวกับ พระอรหันต์ สุกขวิปัสสิโกนั้น ไม่มีอยู่จริง
แต่เป็นคำเรียกที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ตามทิฏฐิของผู้นั้น

พอจะสรุปได้ว่า ผู้ที่อธิบายความนั้น
ไม่รู้ชัดในเรื่องสมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ

ไม่รู้ว่า เจโตวิมุติ หมายถึง สมถะ

มีเกิดขึ้นได้ ก็เสื่อมได้ และสามารถกระทำให้มีเกิดขึ้นอีกได้
จะอธิบายทีละส่วน คิดว่า น่าจะชัดเจนกว่านะ

 

ตอนที่ ๒

จากที่เคยสัมผัสวิโมกข์ ๘ หลังจากเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑ แล้วมีเหตุปัจจัยให้กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น

เมื่ออยากให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม จึงทำความเพียรหนัก ตอนเริ่มต้นใหม่ การทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ทำได้ยากมาก แต่ไม่ท้อถอย

เดินจงกรม ๔ ชม. จิตเป็นสมาธิแค่แว๊บเดียว ดีใจมาก
ทำให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียร

ช่วงนั้นเพียรหนักมาก
เพราะอยากให้สภาวะกลับมาเหมือนเดิม

การที่ไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
จึงทำให้ รู้ชัดในกิเลสที่เกิดขึ้นแบบคมชัดมาก
เหมือนมีเข็มแหลมคม ทิ้มแทงเนื้อทุกครั้งที่มีเกิดขึ้น
ช่วงนั้น เป็นทุกข์มาก

.

สภาวะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เริ่มกลับมาเกือบจะเหมือนเดิม นั่งทุกครั้ง มีโอภาสเกิดขึ้นทุกครั้ง แต่กำลังสมาธิที่มีอยู่ ไม่มากเท่าเมื่อก่อน

ตอนที่เกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒

เหมือนตอกย้ำอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นในสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๑ เพียงแต่การรู้เห็นครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งแรก

ครั้งที่ ๑ ขณะเกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
ความรู้สึกเหมือนกำลังจมน้ำตาย ขาดอากศหายใจ แรกๆดิ้นรน พยายามสูดอากาศหายใจ ก่อนขาดใจ ใจคิดว่า ตายก็ดีเหมือนกัน ปล่อยไปเลย

ครั้งแรกนี่ ยังไม่รู้หรอกนะว่าคืออะไร
และก็มีคำเรียกด้วย

สภาวะตรงนี้มีชื่อเรียกว่า อัปณิหิตวิโมกข์
หลุดพ้นจากอาสวะบางส่วน ได้แก่ อุปทานขันธ์ ๕

เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ อัปณิหิตวิโมกข์

ขณะเกิดเกิดสภาวะนี้ ก่อนเกิด ภายนอกยังรู้อยู่
พอมีเกิดขึ้น ภายนอกดับหมด จะรู้ชัดอยู่ภายใน

ครั้งที่ ๒ ขณะเกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

จู่ๆ รู้สึกเจ็บหัวใจ เจ็บมาก จึงล้มตัวลงนอนราบ หายใจยาวๆลึกๆ ความรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง ปลายเท้าสั่นระริก ตอนนั้นใจก็คิดว่า ตายก็ดีเหมือนกัน ปล่อยไปเลย

มีสภาวะที่เกิดขึ้นเด่นชัด กายและจิต แยกขาดออกจากกัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย กับใจที่รู้อยู่

รู้ชัดในทุกขัง(ก่อนขาดใจ) ก็จริงอยู่
แต่มีสภาวะหนึ่งปรากฏขึ้นเด่นชัดกว่า
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอนัตตา
ที่เรียกว่า สุญญตวิโมกข์

กล่าวคือ กายและจิต แยกขาดออกจากกัน
มีแค่สองสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่

หลุดพ้นจากอาสวะบางส่วน ได้แก่ อุปทานขันธ์ ๕

เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ สุญญตวิโมกข์

ขณะเกิดเกิดสภาวะนี้ ก่อนเกิด ภายนอกยังรู้อยู่
พอมีเกิดขึ้น ภายนอกดับหมด จะรู้ชัดอยู่ภายใน

จึงสรุปได้ว่า

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
จะมีเกิดขึ้นได้ ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

ทีนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะมีเกิดขึ้นตอนไหน

ทำความเพียรต่อเนื่องไปนี่แหละ
บทจะเกิด ก็เกิดขึ้นทันที แบบไม่ทันตั้งตัว

กว่าจะรู้ตัว ก็หลังจากผ่านสภาวะนั้นมาแล้ว

สภาวะนี้ เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ได้แก่ สังโยชน์กิเลสที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

และจากสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่มีเกิดขึ้น
รูปแบบหรือลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น อาจเปลี่ยนไป

ไม่จำเป็นต้องมีเกิดขึ้น ขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่
อาจมีเกิดขึ้น ขณะกำลังดำเนินชีวิตอยู่ก็ได้

จึงบอกว่า ไม่สามารถคาดเดาได้เพราะเหตุนี้

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมจิต

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละราคะได้

วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมปัญญา

ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้
จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ

เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

 

ตอนที่ ๓ จบ

ที่มาของพระอรหันต์ทั้งหมด

พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท(รวมพระพุทธเจ้าอีก ๑)

๑. บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

.

๒. บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

.

๓. บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ?
อนึ่ง เราได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อัน เป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพปัจจุบัน เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะเรียกโดยชอบ จะพึงเรียกบุคคลใดว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ ก็พึงเรียกเรานี้แหละโดยชอบว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

.

.

หมายเหตุ;

พระอรหันต์ สมณะบุณฑริก เริ่มต้นมาจาก
สกทาคามี ผู้เป็นสัทธาวิมุติ และ ทิฎฐิปัตตะ
โสดาบัน ผู้เป็น สัทธาวิมุติ และ ทิฎฐิปัตตะ

.

กรณีกายสักขี มีข้อยกเว้น หากไม่มีเหตุปัจจัยให้สมาธิเสื่อมจนกว่าทำกาละ
จะเป็นอุภโตภาควิมุตบุคคล โดยอัตโนมัติ

กรณีที่ วิโมกข์ ๘ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
เริ่มต้นทำความเพียรใหม่ จนกระทั่งได้รูปสมาบัติ
เมื่อ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ มีเกิดขึ้นครั้งที่ ๒
จึงเรียกว่า สกทาคามี เป็นสมณะบุณฑริก

และผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง
ทำให้วิโมกข์ ๘ มีเกิดขึ้นได้อีก
เมื่อ อนุโลมญาณ มรรค ญาณ ผลญาณมีเกิดขึ้น
จะเป็นสมณะปทุม(พระอรหันต์)

.

กรณีอนาคามี ในข้อนี้ สรุปไม่ได้จริงๆ

เพราะบางพระสุตร ทรงตรัสไว้ว่า
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ

บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุติ และถูกต้องวิโมกข์ ๘ด้วยนามกายอยู่
บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างนี้แล ฯ

สังโยชนสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างนี้แล ฯ

.

.

ก็ดูจะไปขัดกับพระอรหันต์ประเภท สมณะบุณฑริก

ถ้าให้คาดเดา พอจะคาดเดาได้ว่า อนาคามี มี ๒ ชนิด
คือ ได้วิโมกข์ ๘ หมายถึง ได้สมาบัติ ๘ และเข้านิโรธสมาบัติได้

กับอนาคามี ที่ไม่ได้วิโมกข์ ๘
แต่ได้รูปสมาบัติ และได้อรูปฌานด้วย แต่ไม่ได้อรูปสมาบัติ
คือ ทำเต็มที่ในส่วนสมาธิ(อันนี้ตามความเข้าใจในตอนนี้นะ)

.

.

เมื่อเป็นดังที่่พระสูตรต่างๆ ที่นำมาอธิบาย
พระอรหันต์ จึงมี ๒ ประเภท ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๑. สมณณะบุณฑริก ไม่ได้วิโมกข์ ๘ แต่ได้รูปสมาบัติ

๒. สมณะปทุม ได้วิโมกข์ ๘

.

ก็พอจะอธิบายได้ว่า พระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสิโก ที่หมายถึง บุคคลที่ทำวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว พอจะบรรลุมรรค ผล จึงจะได้ฌาน อธิบายแบบนี้ ข้อนี้ตกไปได้

เพราะอนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
จะมีเกิดขึ้นได้ ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา

วิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

.

.

ด้วยเหตุและปัจจัยทั้งหมดนี้ พอจะอธิบายได้ว่า คำที่เรียกว่า พระอรหันต์สุกขวิปัสสิโก นั้นไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงคำของสาวก ที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่ยุคสมัยใด ข้อนี้ไม่อาจรู้ได้

พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

เจาะลึก พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

.

เริ่มจับทาง พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
มีลักษณะเด่นเฉพาะว่าอย่างไร

หรือจะเป็นผู้ไม่ได้ฌาน หลุดพ้นด้วยปัญญาล้วนๆ
ตามที่มีนำมากล่าวอ้างในปัจจุบัน

.

วันนี้มีเหตุให้ เจอพระสูตร ที่เกี่ยวพระอรหันต์ ๔ ประเภท
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ในปวารณาสูตรที่ ๗

พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป
ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด

บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้

ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ

ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ ฯ

.
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=6170&Z=6223

.

ขณะกำลังเขียนๆอยู่
สภาวะต่างๆในอดีต วิโมกข์ ๘ ที่เคยมีเกิดขึ้นมาแล้ว
และมีเหตุปัจจัยให้ วิโมกข์ ๘ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ได้ลิ้มรสชาติที่เรียกว่า จิตที่ไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ความรู้สึกต่างๆ(กิเลส) รู้เห็นเด่นชัดมาก

เป็นครั้งแรกในชีวิต ที่รู้จักกับคำที่เรียกว่า กิเลส
ที่ว่า กิเลสนั้น มีลักษณะอาการเกิดขึ้นอย่างไร

ครั้งแรกที่สัมผัส ความคมชัดของ ความรู้สึกนึกคิด
ที่มักเขียนถึงประจำว่า ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น คมชัดมาก
ตอนนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก ทุกข์อย่างสาหัส
ความรู้สึกเสียดายกำลังสมาธิ ที่เคยมีเกิดขึ้นมากมายมหาศาล
ความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าชอนไชไปทั่วร่างกาย ทุกรูขุมขน
ที่เคยมีตอนจิตเป็นสมาธิ ที่มีโอภาสสว่างจ้า สว่างมากๆ

ช่วงนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก โหยหาสภาวะเก่าๆมาก
ทุกสิ่งที่เคยเกิดขึ้น สักแต่ว่า หายไปหมดเกลี้ยง

นี่แหละ อวิชชา

ซึ่งในตอนนั้น ยังไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ความไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต
ความชอบใจ ไม่ชอบใจที่มีเกิดขึ้น

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหา เป็นเหตุ อยากให้สภาวะเดิมๆ(วิโมกข์ ๘) กลับมา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เมื่อความอยากให้กำลังสมาธิที่เคยมีอยู่(วิโมกข์ ๘) กลับคืนมา

เพราะถือมั่น(อุปทาน) จึงเป็นทุกข์

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
มโนกรรมย่อมเกิด กล่าวโทษนั่นนี่ละ
ถ้าไม่ทำแบบนั้น(ถูกถ่ายเทสมาธิผ่านการพูดคุย)
สมาธิคงไม่หายไปหมดเกลี้ยงแบบนี้

คือ แค่กล่าวโทษนอกตัว
แต่ไม่มีการด่าทอหรือกล่าวคำสาปแช่ง
ไม่มีใจประทุษร้ายต่อผู้นั้น

.

เรื่อง สมาธิที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิโมกข์ ๘ ถึงจะเป็นสัมมาสมาธิก็ตาม
สามารถเสื่อมหายไปหมดสิ้นได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น
(เคยมีเกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต)

คือ เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท
อริยสัจ ๔

และเป็นปัจจัยให้รู้ชัดใน ผัสสะ
จึงเป็นปัจจัยให้ รู้ชัดใน

อริยสัจ ๔-ผัสสะ
อริยสัจ ๔-ปฏิจจสมุปบาท

และรู้ชัดในปัจจเวกขณญาณ ในที่สุด

นี่แหละที่เรียกว่า ปัญญาวิมุติ
เพราะรู้ชัดในวิญญาณ ฐีติ ๗และอายตนะ ๘

หากไม่เคยหยั่งลงหรือไม่เคยสัมผัส(กายสักขี) วิโมกข์ ๘ มาก่อน
จะมารู้ชัดในวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ จะเป็นไปได้อย่างไร
ลองคิดพิจรณากันเองแล้วกัน

.

สำหรับเรื่องนี้

“ผู้ได้วิโมกข์ 8 เมื่อตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธานุสารี หรือ ธัมมานุสารี อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต่อจากนั้นเป็นกายสักขี เมื่อสำเร็จอรหัตตผล เป็น อุภโตภาควิมุต”

ตรงนี้เป็นเรื่องเหตุปัจจัย ไม่เหมือนกันหมดทุกคน
ดูจากตัวเองเป็นตัวอย่าง

.
ตอนที่เกิดสภาวะ วิโมกข์ ๓(จิตดวงสุดท้าย) ครั้งแรก
ตอนนั้น สมาธิยังไม่เสื่อม
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น สักแต่ว่า
เหมือนหุ่นยนต์ ไร้ความรู้สึก
เข้านิโรธสมาบัติได้
(เรื่องสมาธิที่เขียนมาตลอด
เป็นสภาวะที่รู้ชัดจากการทำความเพียร
ไม่เคยลอกของใครมา)

เรียกว่า วิโมกข์ ๘ มีเกิดขึ้นครบถ้วนกระบวนความ
ไม่มีขาดไปแม้สักส่วนเดียว

ตอนนั้นหลงนะ หลงคิดว่า เป็นอรหันต์
ก็ความรู้สึกใดๆ ไม่มีเกิดขึ้นสักนิด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น กระทบปั๊บ ดับทันที
สักแต่ว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

.
ขนาดร่างกายที่เคยคิดว่า เป็นของตัวเองแท้ๆ
เวลาสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิด
(สภาวะนี้ เราตั้งฉายาเองว่า สภาวะ หุ่นยนต์
สามาถมีเกิดขึ้นได้ทุกอิริยาบท)

ร่างกายสักแต่ว่าร่างกาย บังคับให้ทำอะไรไม่ได้เลย
มันเป็นอัตโนมัติของมันเอง ควบคุมไม่ได้

ขับๆมอไซค์อยู่ เวลาสภาวะนี้กิด
รถเกือบคว่ำนะ ต้องค่อยๆประคองให้รถหยุด ไม่ขับต่อ
ความรู้สึกตอนนั้น ส่วนต่างๆของร่างกาย เริ่มบังคับไม่ได้
ทุกอย่าง สักแต่ว่า ต้องอยู่นิ่งๆ ปล่อยให้สภาวะนั้นดำเนินต่อไป
จนกระทั่งสมาธิคลายตัว ร่างกายจึงกลับมาปกติ ใช้งานได้ปกติ
หุห ช่วงนั้น ไปทำงานสายตลอด
เพราะต้องจอดรถเป็นระยะๆ

.

นึกถึงทีไร โอ๊ย!!!! ในความโชคร้าย(สมาธิเสื่อม)
มีความโชคดีเกิดขึ้นแทน(หลุดจากความหลง)
แหม่ อรหันต์ เกือบไปแล้ว

.

เกี่ยวกับพระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
คงจะมีสภาวะแบบที่เราเคยเจอมานี่แหละ

ทำไมจึงพูดแบบนี้
เพราะดูจาก ปัญญาวิมุติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับปัญญาวิมุติว่า

“อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ”

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ