นับ 1 ใหม่

04 ก.ค. 2008นับตั้งแต่ฟังครูบาฯท่านพูดและได้แนะนำมา เราไม่ได้คิดจะค้านหรือว่าขัด เพียงแต่เรามองว่าครูบาฯแต่ละท่าน ท่านทำได้แบบไหนท่านก็จะสอนแบบนั้น เหมือนกับที่เราได้ปฏิบัติผ่านมา
เรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำนี้มันดีกว่าที่เราต้องมานั่งพิจรณา ทำโดยไม่ต้องไปรู้อะไร ทำโดยวิธีดูสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆอย่างเดียวโดยไม่ไปแทรกแซงความคิดหรืออย่างที่พระครูภาวนานุกูลท่านบอก
อย่าไปชอบ อย่าไปชัง อย่าไปให้ค่าความหมายใดๆกับสิ่งที่เห็นหรือสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดอย่างเดียว

ปัญญาที่เกิดจากการพิจรณามันแค่ทำให้เกิดความเข้าใจ ทำให้ดับความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆได้ชั่วคราว
แต่ปัญญาที่เกิดขึ้นในสมาธิภาวนามันตัดได้ทันทีเลย มันไม่เอา พอเข้าใจแล้วจบเลย ไม่ต้องมาต่อความยาวสาวความยืด ไม่ต้องไปถามใคร

การที่เห็นผลที่เกิดขึ้นทำให้มองไปถึงเหตุที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้ เราเข้าใจนะที่พระอาจารย์ปรีชาท่านพูด
มันก็เหมือนยาหอมชั่วคราวที่ทำให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่มันยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง

มันใช่จริงๆ เมื่อปัญหาแต่ละอย่างเกิดขึ้นมาอีก มันก็จะต้องไปมองไปยังเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นอีก
แต่ถ้าปัญญาที่เกิดในสมาธินี่มันตัดทันทีเลย กระทบปั๊บ ดับได้ทันที โดยไม่ต้องไปคิดอะไรหรือพิจรณาอะไร มันมองด้วยความเข้าใจ

นี่เราเอาปัญญาสองอย่างมาเปรียบเทียบกัน เพราะเราผ่านมาแล้วทั้งสองสภาวะ
เราจะทำแบบเดิมเพราะเรารู้แล้วว่าปัญญาที่เกิดจากการภาวนา(สมาธิ) นี่ดีที่สุด เหมาะสำหรับตัวเรา
เพราะตัวเราเองไม่ได้ร่ำเรียนด้านปริยัติมาเลย เบื่อการอ่านหนังสือ ค้นคว้าหาความรู้ คือแบบว่าเราไม่ชอบ
มันเหมือนเราต้องไปตะเกียกตะกายเพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา มันสู้รู้ที่เกิดในสมาธิไม่ได้ รู้สั้นๆแล้วจบ ไม่ต้องไปปรุงแต่ง ไม่ต้องไปพิจรณา

เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ คือทำแบบที่เคยทำ เดิน 1 ช.ม. นั่ง 1 ช.ม. วันละกี่ครั้งกี่รอบก็ได้ วันใดพละ 5 มันพร้อมวิปัสสนาญาณย่อมเกิดขึ้นเอง
ไม่ต้องมาตะเกียกตะกายอะไรแบบนี้ มันทำให้เราสับสน เหนื่อยใจ ทำแบบธรรมดาของเรา ไม่ต้องไปรู้อะไรมากมาย ทำแบบไม่รู้อย่างนี้แหละ ขอนำเอาสมาธิกับสติเป็นที่ตั้งอย่างเดิมดีกว่า

ส่วนที่ว่าดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เราก็ทำแบบที่ครูบาฯท่านบอก
ไม่ต้องไปรู้อะไรละว่าไอ้ที่เกิดขึ้นนี่เขามีคำเรียก มันก็แค่สมมุติบัญญัติที่เขาเรียกและนำมาคุยกัน มันไม่ได้ช่วยให้เราพ้นทุกข์เลย ดีไม่ดีมันก็กลายเป็นอัตตา
เลยมาทำให้มานะกิเลสเกิดขึ้นอีก ไม่มีประโยชน์เลย ทิ้งมันให้หมด ไม่ต้องไปรู้อะไรเลย ทิ้งมันให้หมด  ไม่ต้องไปรู้อะไรเลย

ปัญญาที่เกิดในสมาธิภาวนาน่ะดีที่สุด รู้แล้วจบ ไม่ต้องไปพิจรณาอะไรให้มันมาก ไม่ต้องไปรู้อะไร
ไม่ต้องไปค่านิยามความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมันเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ

 
30 ก.ค.’51
มันเป็นขั้นเป็นตอนของมันเองนะการปฏิบัตินี่ ยิ่งมีสติ สัมปชัญญะมากเท่าไหร่ จิตยิ่งพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ
วันก่อน ปฏิบัติช่วงเย็น ขณะที่นั่งจิตรวมตัวเป็นสมาธิ ทุกทีจะจับไม่ได้เลยเวลามันดับ  จะได้ไม่หลงไปกับสิ่งที่ แต่ตั้งแต่สติดี มันจับได้ทันทีตอนมันดับ มันดับหมดเลย ไม่รับรู้อะไรเลย เหมือนหนังกำลังฉายแล้วดับไปเดี๋ยวนั้น
สติมันจับได้ทัน ซึ่งเกิดดับกับตัวเราหลายครั้ง เพียงแต่เมื่อก่อนสติมันยังด้อย มันเลยจับไม่ทัน ดับไปตอนไหนก็ไม่รู้ รู้แต่ตอนที่กำลังคลายตัวออกมา เที่ยวนี้จับได้เลย ดับปั๊บ สติจับไทนทีว่ามันดับ ขาดวั๊บไปเลย

.

31 ก.ค.
เป็นมา 2 วันแล้ว สมาธิมันมากเกิน นอนไม่หลับเลย พอหลับตาลง สว่างวาบทันที โอภาสเต็มๆ ลุกขึ้นเดินจงกรม แล้วก็นั่งสมาธิต่อ นั่งจนถึงตี 2 ถึงกำหนดนอนได้ ไม่งั้นทำยังไงก็ไม่หลับ ไม่กำหนดก็ไม่หลับ

เมื่อคืนก็เป็นอีก ก็ทำแบบเดิมถึงตี 2  สมาธิแบบนี้ไม่ดีเลย เพราะพอนั่งมันจะดิ่งขาดวั๊บไปเลย สติไม่ทัน จริงๆแล้วครูบาฯส่วนมากท่านจะบอกว่า ถ้าสมาธิมากเกินไปมันไม่ง่วง ไม่ให้นังแต่ให้หาอะไรทำเพื่อเจริญสติ
3 วันเต็มๆแล้ว  มันไม่หลับไม่นอน  เมื่อคืนก็นั่งพิจรณาถึงเรื่องการทำงานของขันธ์ 5 (คิดเพื่อไม่ให้สมองมันไปคิดในเรื่องไร้สาระ) แล้วเราก็คิดว่าการทำงานของขันธ์ 5 มันไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย แต่สิ่งที่สำคัญคือจิตต่างหากที่เกิดอุปทานไปยึดมั่นถือมั่นเอง ตรงนี้ต่างหากที่ควรจะแก้ไข
วิธีการแก้ไขก็คือการเจริญสติให้มากขึ้นเท่านั้น เมื่อมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ความยึดมั่นถือมั่นในสมมติบัญญัตินั้นๆก็ยิ่งน้อยลง จากยึดมากก็ยึดน้อยลง สุดท้ายก็จะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดๆเลย จะกลายเป็นเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงสักแต่ว่าได้ยินเสียงฯลฯ
ความคิดที่เกิดขึ้นก็จะรู้ทันว่าเป็นกุศลหรืออกุศลมันจะแยกแยะได้ทัน

กรกฎาคม 2008
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

คลังเก็บ