ไม่ได้รู้สึกอะไรๆ

บางคน สำคัญผิด เรื่อง การขออโหสิกรรม

การขออโหสิกรรม เป็นเรื่องของ การสำนึกผิด ในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป(สร้างเหตุนอกตัว)
ไม่ได้เป็นการถ่ายบาป หรือ เป็นการทำให้ กรรมที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทำให้กรรมนั้นๆ ตกสิ้นไป คือ ไม่ส่งผล

กรรมหรือการกระทำทุกๆชนิด ไม่ว่าจะคิดเอาเองว่า บาป บุญ คุณ โทษ กุศล อกุศล ถูก ผิด ดี ชั่ว แม้กระทั่ง การกระทำที่คิดว่า เป็นการปรามาสกัน
สิ่งต่างๆ ที่เป็นคำเรียกเหล่านี้ ล้วนเกิดจาก ความถูกใจ ไม่ถูกใจ จากสังโยชน์กิเลส ที่มีอยู่
เมื่อกระทำลงไปแล้ว กรรมนั้นๆ ส่งผลกลับมาที่ผู้กระทำทั้งหมด ไม่มีข้อยกเว้น

ถ้ามีคำพูดทำนองว่า ต้องเป็นพระอรหันต์(หมดกิเลส) กรรมนั้นจะตกสิ้นไป
จงดูพระพุทธเจ้า ตลอดทั้งพระอัครสาวก เป็นตัวอย่าง พระโมคคัลลานะ ทำไมต้องยอมถูกทุบตี หลายครั้ง ทำไมไม่เหาะหนี
พระพุทธเจ้า ทำไมไม่หนี กับทุกๆกากรระทำ ที่พระเทวทัต ทำกับพระองค์

ฉะนั้น การกล่าวขออโหสิกรรม และ การกล่าวอดโทษ ไม่ล่วงเกินต่อกัน
เป็นการไม่ผูกพยาบาทต่อกัน ไม่ใช่เป็นการกระทำ แบบพิธีกรรม ตามความเชื่อ ที่บอกเล่าต่อๆกันมา

มีนะ บางคนมาขออโหสิกรรมต่อการกระทำ ที่เขาได้กระทำกับวลัยพร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
วลัยพรจะบอกว่า คุณไม่ต้องมาขออโหสิกรรมหรอก เพราะ กรรมที่คุณได้กระทำลงไป เป็นกรรมที่สำเร็จแล้ว เหตุมี ผลย่อมมี

การกล่าวคำขอโหสิกรรม เป็นเรื่องของ การฝึกละความมีตัวตน ที่มีอยู่(ความยึดมั่นถือมั่น)
ฝึกที่จะไม่พยาบาท ที่เกิดจากการผูกใจเจ็บ ต่อการกระทำของอีกฝ่าย

หากมุ่งทำความเพียรต่อเนื่อง พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว
เวลากรรมส่งผล(ทุกๆขณะที่ผัสสะเกิด) จะได้มีสติ มีสมาธิ มีสมัปชัญญะ(ความรู้สึกตัว)
จะได้ไม่ก้าวล่วงออกไปทางวจี ให้เป็นวจีกรรม
ไม่ก้าวล่วงออกไปทางกาย ไม่ให้เป็นให้เป็นกายกรรม
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่มีเกิดขึ้นอีก

ส่วนความรู้สึกนึกคิด ห้ามไม่ได้ เพราะ ยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีอยู่ แค่รู้ แค่ยอมรับ ต่อผัสสะนั้นๆ(ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด) ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดขึ้นอย่างมาก แค่ทุกข์ใจ ทุกข์กาย

ผลของการไม่สานต่อ(ไม่ตอบโต้) เป็นเหตุให้ เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน สั้นลง
และส่งผลให้ ภพชาติ การเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏกสงสาร สั้นลง

จึงไม่ควรมาพร่ำกล่าวคำขออโหสิกรรม แต่จงแก้ที่ตัวเอง ในสิ่งที่ยังมีอยู่และเป็นอยู่
โดยการทำความเพียรต่อเนื่อง(แบบไหนก็ได้) และ พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว(เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)

จงรู้ไว้ว่า วลัยพร ไม่ได้รู้สึกโกรธ หรือเกลียด แต่ที่ไม่คิดข้องเกี่ยว
เพราะ มองเห็นเหตุของการเกิดภพชาติ ที่เกิดขึ้นเนืองๆหากยังเกี่ยวข้องอยู่ เลี่ยงได้ จึงเลี่ยง เลือกที่จะไม่เกี่ยวข้องด้วย

เหมือนการพูดคุย มักพูดคุยเกี่ยวกับการทำความเพียรเป็นหลัก ปัญหาทางโลก เหตุใคร เหตุมัน แก้กันเอาเอง
เมื่อก่อนเคยยุ่งเหมือนกัน ให้คำแนะนำว่า ต้องทำอย่างงัน้อย่างงี้( การทำความเพียร)
แต่คนที่ได้รับคำแนะนำ บางคนเชื่อ และนำไปปฏิบัติ ผลคือ ทุกข์มีอยู่ แต่น้อยลง(ยึดน้อยลง) อันนี้เขามาเล่าให้ฟังกัน

ผิดกับคน ที่แค่ต้องการมาระบาย แต่ไม่คิดทำความเพียร และไม่พยายามระงับตัวเอง ในเรื่องการสร้างเหตุนอกตัว
ผลคือ จมแช่อยู่กับความทุกข์ แล้วมาพูดทำนองว่า ทำไมทำความเพียรแล้ว เจอแต่ทุกข์

แทนที่จะกลับไย้อนทบทวนพฤติกรรมของตนเองว่า ทำไมชีวิตจึงเป็นแบบนี้
กลับมากล่าวโทษวลัยพรแทนว่า เป็นเพราะเชื่อวลัยพร ทำความเพียร จึงมีแต่ทุกข์
กับคนประภทนี้ วลัยพรจะตัดทิ้ง แรกๆ อาจยังให้คำแนะนำอยู่ ยังเปิดโอกาสให้อยู่
แต่ทุกๆครั้ง ที่เขาเจอทุกข์ กลับโยนมาที่วลัยพรทุกครั้ง ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนา
ที่เขาเป็นแบบนี้ เกิดจาก อวิชชา ที่หนาแน่น และ เขาสร้างเหตุร่วมกับวลัยพรมาน้อย
จึงทำให้ ไม่เกิดความศรัทธา ในการตั้งใจทำความเพียร และ หยุดตัวเอง ในการสร้างเหตุนอกตัว เพื่อเป็นการช่วยตัวเอง ให้อยู่กับทุกข์ ที่เกิดขึ้นได้

เมื่อเป็นแบบนี้ เกิดซ้ำซาก วลัยพรเห็นแต่เหตุ เห็นสิ่งที่ควรทำ จึงหันมามุ่งเน้น สำหรับผู้ที่คิดกระทำ
เพื่อ ดับเหตุของการเกิด(นิพาาน) จริงๆ มากกว่า ให้คำแนะนำแบบกระเรี่ยกระรราด(ไม่เลือก) เหมือนเมื่อก่อน

การที่ให้คำแนะนำต่อผู้อื่น ครั้งละ ๑ คน แนะนำหลายๆคน
เวลากรรมส่งผล ไม่ได้เจอแค่ครั้งละหนึ่ง มาแบบรวมมิตร เหมาเข่ง ต้นทุน สติ สมาธิ มีเท่าไหร่ พอรับมือได้ไหม พอรับมือได้ไหม หากรับมือไม่ไหว ใครทุกข์ล่ะ ตัวเองทั้งนั้น ไหนจะสภาวะขณะทำความเพียรอีก โดนนิวรณ์ต่างๆ เล่นงาน แล้วมันคุ้มไหมล่ะ

เลือกสร้างเหตุกับคนที่กระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด
อย่างน้อยๆ คนกลุ่มนี้ ไม่ค่อยมีเรื่องคุย หรือ จะต้องแนะนำอะไรมากมาย คือ ช่วยตัวเองกันได้

ผิดกับกลุ่มตนอีกกลุ่ม ที่เอาแต่เรียกร้อง มีแต่การกล่าวโทษนอกตัว ที่สำคัญ ไม่พยายามทำความเพียรอีกต่างหาก

การพูดคุยแต่ละครั้ง มีแต่เรื่องทางโลก เรื่องเดิมๆ ซ้ำซาก พูดไปแล้ว เหมือนเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา ไม่เคยจำ
พอพูดคุยอีก มีแต่เรื่องเดิมๆซ้ำซาก ไม่มีเรื่องของการทำความเพียร คนประเภทนี้ วลัยพรจะให้โอกาส ในระยะแรกๆ
จนกระทั่ง มีตัวแปรของสภาวะเข้ามาแรกแซง(เขาทำเอง เราไม่ต้องทำ) จะทำให้ คนๆนั้น กระเด็นออกไปเอง จากสภาพแวดล้อมของวลัยพร โดยที่วลัยพร ไม่ต้องคิดทำการสิ่งใด

สภาวะของวลัยพร จึงไปข้างหน้า มากกว่าถอยหลังเข้าคลอง(วังวนวัฏฏะ) เพราะ เหตุนี้

การกล่าวคำขออโหสิกรรม

การกล่าวคำขออโหสิกรรม

เราต้องเป็นฝ่ายกล่าว ขอการอโหสิกรรมต่อผู้อื่นก่อน
แล้วจึงกล่าว การให้คำให้การ อโหสิกรรม ต่อผู้อื่น
ทำแบบนี้ได้ ความทุกข์ใจที่มีอยู่ จะเบาบางลง
เหตุเพราะคำกล่าวขออโหสิกรรมนี้ เป็นอุบาย ให้รู้จักขออโหสิกรรมต่อผู้อื่น และตนเอง
ทำให้รู้จักให้การอโหสิกรรม ต่อผู้อื่น

แต่ไม่ว่า จะเป็นแบบไหน ใช้ได้หมด
เพราะทำให้ใจเบาบางลง จากความยึดมั่น ถือมั่น ที่มีอยู่
การให้อภัย/อโหสิกรรม ต่อผู้อื่น
เป็นการทำทานอย่างหนึ่ง ที่สามารถให้เห็นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี มันจะรู้ด้วยตนเอง
เป็นเหตุให้ ทิฏฐิกิเลสหรือสังโยชน์ สักกายทิฏฐิ ที่มีอยู่ ถูกขัดเกลาให้ เบาบางลง ได้ชั่วคราว แต่ยังมีเกิดขึ้นได้เนืองๆ
เนื่องจาก สังโยชน์นั้น ยังไม่ถูกประหาน เป็นสมุจเฉทประหาน

ทำได้ ดีกว่า ไม่ได้ทำ

การอธิษฐาน(ทำบุญ)

เวลาทำบุญ ตั้งจิต อธิษฐานว่า ขอให้ร่ำวย สวย ดี เกิดมามีปัญญา สุขภาพแข็งแรงฯลฯ

หากขอแบบนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีคำตอบไว้ให้แล้ว

ปุณณกปัญหาที่ ๓
[๔๒๗] ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มีความหวั่นไหว
ผู้ทรงเห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้
คือ ฤาษี กษัตริย์พราหมณ์ เป็นอันมาก
อาศัยอะไร จึงบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดูกรปุณณกะ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากในโลกนี้
คือ ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น
อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ฯ
 
.
ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์
บูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น
เป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชราได้บ้างแลหรือ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พ. ดูกรปุณณกะ สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง
ย่อมชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพันถึงกาม ก็เพราะอาศัยลาภ
เรากล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบการบูชา
ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้ ฯ
 
.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ถ้าหากว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการบูชา
ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญญวิธีทั้งหลายไซร้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้ามพ้นชาติและชราไปได้ในบัดนี้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
 
พ. ดูกรปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความหวั่นไหว(ดิ้นรน) ในโลกไหนๆ
เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก
ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะทำให้มัวหมองดุจควันไฟ
ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต หาความ (ปรารถนา)หวังมิได้
เรากล่าวว่า ผู้นั้นข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว ฯ
 
.
หมายเหตุ:
 
อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยนะ
เพราะเหตุของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามการกระทำของตน
 
พระองค์ไม่ได้ตรัสห้าม เรื่อง การอธิษฐานจิต
เพียงแต่บอกว่า อธิษฐานแบบนั้น ผลที่ได้รับ เป็นเช่นไร
และทรงชี้ แนวทางไว้ว่า ทำอย่างไร จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์

ปฏิบัติ ไม่ควรกล่าวเบียดเบียนกัน

แนวทางปฏิบัติ ไม่ควรกล่าวเบียดเบียนกัน

เมื่อจะพูดรูปแบบของตน ก็ควรพูดเรื่องของตน ลักษณะการปฏิบัติและวิธีการของสำนักนั้นๆ

ไม่ควรยกตน ข่มท่าน โดยแสดงออกหรือใช้คำพูด ที่มีลักษณะ มีการนำมาเปรียบเทียบ หรือเหน็บแนมวิธีการหรือแนวทางการปฏิบัติอื่นๆ

เหตุของแต่ละคน สร้างมาไม่เหมือนกัน การปฏิบัติของงแต่ละคน จึงแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่อีก

เมื่อคุณพูดทำนองว่า ทุกคนต้องรู้จักหน้าที่ของตนเอง

เมื่อผู้พูด ยังไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง เมื่อไปพูดให้อื่นฟัง เขาย่อมคิดเป็นธรรมดาว่า ขนาดตัวเอง ยังไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เที่ยวมาพูดให้คนอื่น เขารู้จักหน้าที่ของเขา ใครเขาจะเชื่อ

ประเทศชาติ จะไปได้ดี หมู่คนจะพบแต่ความสุข ข้าวจะยาก หมากจะแพง เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของแต่ละคน ที่มีอยู่ ไปห้ามให้เกิดขึ้น ห้ามไม่ได้หรอก

เรื่องนอกตัว ไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องแก้ที่ตัวเองก่อน โดยการเจริญจิตภาวนา ภาวนาแบบไหนก็ได้ ใช้ได้หมด

หลังการภาวนาทุกๆครั้ง แผ่เมตตา ให้ทุกรูปทุกนาม ที่ล้วนเกิดมา เป็นเพื่อนเวียนว่าย ในวัฏฏสงสารกันทั้งสิ้น และกรวดน้ำเจาะจงชื่อ เป็นการให้แบบเจาะจง จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ข้าพเจ้า ทำมาตลอด

ให้กับพ่อและน้องๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว ให้กับแม่และน้องๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ เอ่ยชื่อแม่และครอบครัว(หมายถึงน้องๆและญาติที่มีชีวิตอยู่) จงมีความสุข

ทำแบบนี้ได้ผลจริงๆ พ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว ยังมาบอกกล่าว มาแสดงให้เห็นว่า ได้รับผลบุญที่อุทิศไปให้ มาแสดงตนว่า ไปเกิดที่ภพภูมิไหน

ส่วนน้องๆ มาแสดงตนว่า ได้มาทำกรรมฐานอยู่ด้วย ตามที่ได้ชักชวนมา แม้กระทั่งผีบ้านผีเรือน และสิ่งที่มองไม่เห็นอื่นๆ ก็มาทำกรรมฐานด้วยยกัน

บางครั้ง กำลังเริ่มปฏิบัติ มีสัมผัสเกิด ลืมตาขึ้นมา มีบางสิ่ง มานั่งขัดสมาธิ อยู่ตรงหน้า ถ้าสติไม่ทัน ตกใจแน่นอน

สำรับตัวเอง ไม่ตกใจ มีสติรู้อยู่ เพราะพบเห็นสิ่งต่างๆแบบนี้ มาตั้งแต่เด็กๆ ก็หลับตาต่อ ไม่สนใจ

หากทำแบบนี้เนืองๆ หมายถึง การภาวนา และแผ่เมตตา กรวดน้ำ ไม่ต้องไปกล่าวโทษใครหรืออะไร ชีวิตแต่ละชีวิต จะดีขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

หยุดกล่าวโทษหรือหยุดว่านอกตัว มากเท่าไหร่ ชีวิต ดีขึ้นจริงๆ ถึงแม้จะข้าวยาก หมากแพงก็ตาม ไม่ว่าจะมีสถานะใดเกิดขึ้น ๆก็ตาม จะอยู่ได้ทุกสถานะ

เพราะ เหตุเกิดจาก ใจที่รู้จักคำว่า พอ ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ปฏิบัติตามกำลัง ทำทุกวัน มากน้อย ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเหตุสร้างมาไม่เหมือนกัน

ภาวนา ครั้งละ ๕ นาที หากมีฟุ้งซ่าน รำคาญ รู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น ถ้าไม่เรียนรู้ จะรู้จักไหม สภาวะของคำที่เรียกว่า ฟุ้งซ่าน

ความคิด มีเรียกหลายแบบ เรียกตาม ลักาณะอาการที่เกิดขึ้น

เรียกว่า ความคิด คือ มีคิด แต่ไม่รำคาญ รู้ว่า กำลังคิดอยู่ รู้ว่าคิดอะไรอยู่ แล้วความคิดนั้น ก็หายไปเอง

เรียกว่า ฟุ้ง คือ มีความคิดเกิดขึ้นมากมาย แต่ไม่รำคาญ รู้ว่ามีเกิดขึ้น แล้วก็หายไปเอง

เรียกว่า ฟุ้งซ่าน คือ มีความคิดเกิดขึ้นมากมาย แล้วทำให้รู้สึกรำคาญมากๆ ทำให้รุ้สึกหงุดหงิด อยากให้ความคิดหายไป แต่ไม่ยอมหาย บางครั้งใช้คำบริกรรมกดข่ม หายไปแปบบนึง ก็เกิดขึ้นอีก

หากรู้สึกว่า ทำได้ยาก เหตุเพราะ มุ่งหวังมาก ให้ใช้อิริยาบทนอนได้ เวลานอน รู้ลมหาใจเข้าออกปกติ สักพัก จะรู้ชัดอาการท้องพองขึ้น ยุบลง ตามลมหายใจเข้าออก ให้รู้ที่อาการท้องพองยุบ นั้น รู้แบบปกติ ไม่ต้องบังคับท้อง ให้พองขึ้น ยุบลง

หากหลับ ก็ปล่อยให้หลับ ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบท ทำได้ หรือรู้ได้ในอาการที่เกิดขึ้นแบบนี้เนืองๆ จะรุ้ชัดในสภาวะของจิตตั้งมั่น หรืออาการจิตเป็นสมาธิมากขึ้น

อย่ากังวล เรื่องรูปแบบของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะทำรูปแบบไหน ใช้ได้หมด เพราะเหตุสร้างมาไม่เหมือนกัน

การทำบุญและทำทานเหมือนกัน ทำพอประมาณ อย่าทำด้วยความโลภ ทำแล้ว หวังโน่นหวังนี่ แทนที่จิตจะได้กุศลแบบสะอาด กลับกลายเป็น สะสมกิเลสเพิ่มมากขึ้นแทน

ทีนี้พอจะทำอะไร ความโลภนำหน้า เพราะคิดว่า ทำแล้วได้ผล จริงๆแล้ว ไม่ว่าจะโลภหรือไม่โลภ มีหวังหรือทำด้วยความตั้งใจ มีพระนิพพาน เป็นที่ตั้ง ยังไงๆ ผลที่ได้รับ คงเหมือนเดิม แล้วจะทำเพื่อสนองความโลภ ไปเพื่ออะไร

เวลาทำบุญ ทำทานสร้างกุศล หมั่นอธิษฐานจิต มีพระนิพพาน เป็นที่ตั้ง ทำแบบนี้ได้ ภพชาติวัฏฏสงสาร สั้นลงอย่างแน่นอน ดีกว่า ทำเพื่อสนองความโลภ มีแต่เหตุของการเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร

แม้กระทั่งการทำบุญ โดยคิดว่า นั่นอริยะ นี่อริยะ ทำกับอริยะ ได้บุญมาก เอาตรงไหนมาวัดว่า ใครเป็นอริยะ

มีแต่เอาความถูกใจเป็นที่ตั้ง เมื่อทำแบบนี้ จึงได้ความโลภหรือกิเลสโลภะ เป็นของแถม

สร้างเหตุของการไม่เกิด โดยการอธิษฐานจิต

การสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป มีหลายวิธีการ แม้กระทั่งการอธิษฐานจิตก็เป็นอีกหนึ่งเหตุ ในการสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป

ในแนวทางการปฏิบัติ ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไร เพียงตั้งจิตอธิษฐานหลังการทำกรรมฐาน หรือ หลังการทำบุญ ตลอดจนการให้ทานต่างๆ สามารถตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเป็นการสร้างเหตุของการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

วิธีการอธิษฐาน

ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญถวายปัจจัยไทยทานต่างๆ หรือการให้ทาน บริจาคทานก็ดี แม้กระทั่งการทำกรรมฐาน ถึงแม้จะใช้เวลาตามสะดวกที่แต่ละคนจะทำได้ ทุกๆหลังการสร้างเหตุนี้ ให้อธิษฐานทุกครั้งว่า

“ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำกรรมฐานหรือถวายปัจจัยไทยทานหรือการให้ทานตลอดจนสร้างถาวรวัตถุต่างๆในครั้งนี้

ขอผลบุญกุศลหนุนนำ ให้ข้าพเจ้าปฏิบัติ ได้เกิดปัญญญาณ บรรลุมรรค,ผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งพระนิพพาน ในปัจจุบันธรรมนี้ด้วยเทอญ”

จงหมั่นอธิษฐานเช่นนี้ทุกๆครั้งหลังจากที่ได้ทำบุญต่างๆ แม้กระทั่งหลังจากการทำกรรมฐาน ทำแล้วได้ผลจริงๆ  

แล้วแต่เหตุ

มีคำถาม ถามมาว่า การที่เราแผ่เมตตาว่า ที่มีความสุขขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ที่มีความทุกข์ ขอให้ความทุกข์จงหมดสิ้นไป ขอแบบนี้ไม่ได้หรือ

ตอบไปว่า ขอได้นะ แต่ตามความเป็นจริงมันไม่ใช่ เราจะไปขอแบบนั้นไม่ว่าจะให้กับใครหรือขอให้กับตัวเอง ขอแบบนั้นจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่แต่ละคนกระทำทางกาย วาจา ใจ  ไม่ใช่ขอแล้วจะได้ตามนั้น สุขหรือทุกข์ล้วนเกิดจากอุปทานที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่มากระทบ แล้วเราไปให้ค่ากันเอง

แต่การที่แผ่เมตตาว่า ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ใครๆก็ตาม ขอให้เขาเหล่านั้นจงมีความสุข เพราะว่าตามความเป็นจริง ความสุขใครๆก็อยากได้ ส่วนจะสุขแบบไหนนั้น นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป สุขของเขา อาจจะไม่ใช่สุขในแบบของเรา หรือทุกข์ของเขา อาจจะไม่ใช่ทุกข์ในแบบของเรา

บทแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล และการกล่าวขออโหสิกรรม

บทแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล และการกล่าวขออโหสิกรรม

หลังจากนั่งสมาธิจนครบเวลาแล้ว อย่าเพิ่งลืมตา ให้นั่งหลับตาในท่าขัดสมาธิ
ถ้านั่งบนเก้าอี้ ก็หลับตายังไม่ลืมตา มือประสานบนหน้าตัก ตั้งจิตแผ่เมตตา

แผ่เมตตาให้กับตัวเอง
อะหังสุขิโตโหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพพะยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งหลายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเทอญ

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

**** เสร็จแล้ว ยังหลับตาอยู่  ตั้งใจกล่าวขออโหสิกรรม
“ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่านไว้
ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ไม่ว่าท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม
ขอให้ท่านทั้งหลายได้รับผลบุญนี้ และได้โปรดงดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ
และด้วยกรรมอันใดที่ท่านทั้งหลายได้ล่วงเกินแก่ข้าพเจ้า ไว้ ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม
ข้าพเจ้าของดโทษและอโหสิกรรมให้แก่ท่านทั้งหลาย ขอเราอย่าได้มีเวรแก่กันและกันและกันอีกเลย อย่าได้ก่อภพก่อชาติกันอีกเลย ข้าพเจ้าขออนุโมทนา”

**หลังจากนั้นจะเอ่ยเจาะจงชื่อให้กับใครๆ ต่อก็ได้ค่ะ
ขอส่วนผลบุญนี้จงสำเร็จแด่ …
ขอให้ … จงมีขอมีแต่ความุข

***ยังหลับตาอยู่ อยู่ในอิริยาบถเดิมตั้งใจอุทิศส่วนกุศล***
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาและบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาและบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้าจงมีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข”
“ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข”

**เสร็จแล้ว หลับตาลงตั้งใจน้อมจิตอธิษฐาน**

“ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ขออนุภาพบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว ณ.วันนี้
ขอผลบุญกุศลหนุนนำ ให้ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ
ได้เกิดปัญญาญาณ บรรลุมรรคผล ล่วงพ้นบ่วงมาร
เห็นแจ้งในพระนิพพาน ในปัจจุบันธรรมนี้ด้วยเทอญ”

***เสร็จแล้วลืมตาได้ นั่งคุกเข่าในท่านเทพธิดา พนมมือ **
กราบพระพุทธ (พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พี่งของข้าพเจ้า)
กราบพระธรรม (ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า)
กราบพระสงฆ์ (สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า)
พ่อแม่ ( มาตาปิตุคุณัง อะหังวันทามิ )
ครูบาอาจารย์ (ครูอุปัชฌาย์อาจาริยะคุณัง อะหังวันทามิ )

การขอขมาโทษลับหลัง และการอธิษฐานจิต

เรียงตามลำดับไปเลยค่ะ
เวลาสวดมนต์จบทุกครั้ง  ควรจะสวดบทนี้เสริมท้าย ( เพราะเป็นการอธิษฐานจิตเสริมเข้าไปก่อน )   แล้วเราจึงค่อยอธิษฐานจิตอีกครั้ง     แล้วจึงค่อยกล่าวขอขมากรรม   แล้วจึงค่อยปฏิบัติ
อิจเจวเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง  วัตถุตตยัง  วันทะยะตาภิสังขะตัง  ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัมพพุปัททะวา  มา โหนตุ  เว  ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม  คือ พระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งด้วยส่วนเดียว  ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้  ขออุปัทวะ ( ความชั่ว ) ทั้งหลาย  จงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย  ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น

                                               การอธิษฐานจิต

                    ยังมีคนอีกมากที่เข้าใจผิดคิดว่า  การอธิษฐานคือการขอเพื่อที่จะได้ในสิ่งที่หวังเอาไว้  ( อันนี้คือการขอพร )  การอธิษฐานจิตจริงๆแล้ว  คือ อธิษฐานเพื่อตั้งใจทำ   ควรอธิษฐานให้ติดเป็นนิสัย  อธิษฐานเวลาหลังสวดมนต์  หรือ ทำบุญใส่บาตร  หรือทำทานต่างๆ  และหลังทำกัมมัฏฐานแล้วทุกครั้ง
                ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน  ขออนุภาพบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ …. ( สวดมนต์ , ทำสังฆทาน , ทำบุญ , ปฏิบัติ ฯลฯ ) แล้ว ณ วันนี้  ขอผลบุญกุศลหนุนนำให้ข้าพเจ้า ปฏิบัติ  ได้เกิดปัญญาญาณ  บรรลุมรรคผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งในพระนิพพาน ในปัจจุบันธรรมนี้ด้วยเทอญ ฯ
                         การที่เราตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้า  … คำว่า ขอให้นี้ คือตัวกิเลส คือความอยากมี อยากได้ อยากเป็น  การอธิษฐานเช่นนี้จะมีกำลังส่งผลให้น้อย      แต่ถ้าเราตั้งจิตน้อมระลึกถึงผลบุญกุศลที่เราได้กระทำมา  แล้วอธิษฐานให้บุญกุศลเหล่านั้นเป็นตัวมาช่วยหนุนนำเพิ่ม  ตัวนี้คืออธิษฐานเพื่อจะทำ  ไม่ใช่เพื่อจะอยากได้   ในการปฏิบัติ  พึงระวังความทะยานอยากให้ดีๆ  ถ้าทำเพราะอยากจะได้ อยากจะเป็น  สภาวะจะติด จะไปไม่ได้ไกล จะวนๆอยู่อย่างนั้น  ความอยากจะได้ อยากจะเป็น จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นร้อนรนทุรนทุราย  เพราะทำแล้วไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองหวังหรือปรารถนาเอาไว้
เวลาอธิษฐานต้องรู้จักฉลาดในการอธิษฐาน   ไม่งั้นเสร็จกิเลสมัน  กิเลสมันเอาเราไปกินหมด
                                                           ให้กล่าวก่อนที่จะปฏิบัติ
กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้พลาดพลั้งสบประมาทตือบิดามารดา  ครูอุปัชฌาย์อาจารย์  ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลาย  ต่อหน้าก็ดี  ลับหลังก็ดี  เจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม   ระลึกได้ก็ดี  ระลึกไม่ได้ก็ดี  บัดนี้ข้าพเจ้าได้กระทำการขอขมาลาโทษลับหลัง  ต่อหน้าพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ขอบิดามารดา  ครูอุปัชฌาย์อาจารย์  ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลาย  จงงดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า  ไม่ให้เป็นบาปเป็นเวรเป็นกรรมต่อไปในภายภาคหน้า   สาธุ  สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
ต่อจากนั้นเริ่มต้นจงกรม ตามเวลาที่กำหนดไว้
เมื่อเดินจนครบเวลา จึงนั่ง

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ