อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ ประการ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ว่าจะเกิดขึ้น กับบุคคลที่อยู่ใน ยุคไหน สมัยไหนก็ตาม สภาวะนี้ไม่มีแปรเปลี่ยน ตามยุค ตามสมัย เพราะ ธรรมนี้ อกาลิโก คือ อยู่เหนือกาลเวลา

ทุกข์ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ

ลักษณะของ ทุกข์ รู้แบบหยาบๆ ได้แก่ ความรู้สึกถูกบีบคั้น การทนอยู่ได้ยาก

รู้ แบบละเอียดมากขึ้น ได้แก่ การเกิด ทุกๆการเกิด ล้วนเป็นทุกข์

เมื่อรู้ชัดในทุกข์ รู้ว่า ทุกข์ที่บีบคั้น ล้วนเป็นแดนเกิด ของการสร้างเหตุ ให้เกิดภพชาติใหม่เนืองๆ(ปัจจุบัน ขณะ) ย่อมแสวงหา วิธีดับทุกข์

ความศัรทธา เป็นเหตุให้ เกิดการทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลา เป็นเหตุให้ รู้วิธีการดับทุกข์ ที่เกิดจาก ปัจจุบัน ขณะ(ผัวสสะ) เป็นเหตุปัจจัย

สิ่งนอกตัว ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ไม่สามารถน้อมเอา คิดเอาเองได้ เมื่อรู้ได้ดังนี้ จึงเกิดการปล่อยวาง ลงไปเรื่อยๆ

จึงมุ่งดับเหตุที่ตนเอง มากกว่า คิดดับนอกตัว เพราะ ตราบใด ที่ยังมีลมหายใจอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้น ทุกๆขณะ ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด นั่นแหละเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่

นี่แหละ วิธีตัดหรือการสร้างเหตุของการดับเหตุภพชาติปัจจุบัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการสร้างเหตุออกไป ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ หรือ รู้แล้ว อดทนกดข่ม ไม่ไหว นั่นแหละ เหตุปัจจัย ที่มีเกิดขึ้นใหม่อีก

การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

วิธีการ ต้องมีองค์ประกอบสองอย่างรวมกัน ไม่งั้น ได้ผลช้า

๑. หยุดสร้างเหตุนอกตัว ณ ปัจจุบัน ขณะ(ผัสสะเกิด) ที่เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ซี่งเป็นการ สร้างเหตุของ การดับภพชาติปัจจุบัน ส่วนจะดับสนิทหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างอยู่

๒. ทำสมถะ ควรหาพี่เลี้ยง ที่รู้เรื่องสภาวะจิตเป็นสมาธิ บางคนนั่งแล้วหลับทุกครั้ง นั่นแหละ จิตเป็นสมาธิ แต่สติด้อยกว่า กำลังสมาธิมีมากกว่า สภาวะสัมปชัญญะ จึงเกิดขึ้นไม่ได้

เป็นเหตุให้ ขาดความรู้สึกตัว ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่ วิธีแก้ คือ การปรับอินทรีย์ เดินมากกว่านั่ง สังเกตุสภาวะตัวเองไปเรื่อย จนปรับอินทรีย์เกิดความสมดุลย์

เป็นเหตุให้ สติกับสมาธิ มีกำลังไม่เหลื่อมล้ำมากน้อยไปกว่ากัน เมื่อสภาวะสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เป็นเหตุให้ รู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุสภาวะสัญญาเกิด สำหรับผู้ที่ไม่รู้ จะเรียกว่า ปัญญา ให้ใช้หลักโยนิโสมนสิการ กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น สงสัย สักแต่ว่า สงสัย ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวมีเหตุ ให้รู้เอง จะรู้ทีละนิดๆ รู้แบบหยาบๆ

สภาวะที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ อาจมีโอภาสเกิดร่วมหรือไม่เกิดก็ได้ โอภาสจะเกิดตามกำลังของสมาธิ ยิ่งสมาธิมีกำลังแนบแน่นมากๆ โอภาสจะมีแสงสว่าง ตามกำลังของ สมาธิ ณ ขณะนั้นๆ

สภาวะที่เอ่ยมานี้ มีชื่อเรียกว่า สัมมาสมาธิ หมายถึง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ตั้งแต่ ปฐมฌาน เป็นต้นไป

การจะรู้แจ้ง อริยสัจ ๔ ก็ตาม นิพพานก็ตาม จะเกิดจากการทำความเพียรต่อเนื่อง เกิดกับผู้ที่มีสภาวะ สัมมาสมาธิ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง จากตำราที่ได้ร่ำเรียนมา อันนั้นเป็นเพียง สภาวะอุปกิเลส ที่เกิดขึ้น

ส่วนขณิกสมาธิ ที่นำมาสอนกันแพร่หลาย ล้วนเป็นเพียงอุบาย ของท่านผู้รู้ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติ ไม่ลำบากยากนัก จะได้ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติ

ขณิกสมาธิ ทำได้เพียง ดับภพชาติปัจจุบัน เพราะ สังโยชน์ ยังไม่ถูกทำลายลงเป็น สมุจเฉทประหาน อนุสัย จึงเนืองนองอยู่ในขันธสันดาน อย่างมาก แค่เบาบางลงไป แต่ยังไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จึงมีชื่อเรียกว่า มรรค มีองค์ ๘

สภาวะ สมุจเฉทประหาน ของสังโยชน์ต่างๆ ที่จะเกิด ในขณะที่เป็น สภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกตามสภาวะที่เกิดขึ้นว่า อริยมรรค มีองค์ ๘

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง, กล่าวคือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย๔ ประการ” ดังนี้

เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้
คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ;

ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าวมานี้, ดังนี้ แล.
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗-๒๒๘/๕๐๑.

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ หนทางอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนี้เอง,

องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,

นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ความดำริใน การออก (จากกาม) ความดำริในการไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน,

นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน
การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,

นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,

นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,

นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ

ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิด ;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อการบังเกิดขึ้น แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด ;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ

ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.

เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม

อัน เป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน
เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์.
– มหา. ที. ๑๐/๓๔๐-๓๕๐/๒๙๔-๒๙๙.

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ