โยนิโสมนสิการ

5-03

ติดกับดักคำเรียก

บางครั้ง สุตตะ
มีผลกระทบต่อสภาวะเช่นกัน

.
หากติดอยู่แค่คำว่า โสดาบัน สกทาคา อนาคามี พระอรหัต์
หรือแม้กระทั่งคำว่า อริยบุคคล และบรรลุธรรม
ย่อมเป็นอุปสรรคต่อสภาวะที่ยังมีอยู่ขึ้นไปอีก

.
เหมือนกับคำว่า เจโตวิมุติ ถึงจะเป็นอริยะ(สัมมาสมาธิ)
หากขาดการศึกษาพระธรรมคำสอน ขาดกัลยาณมิตรแนะนำ
ลูบคลำอยู่กับเรื่องสังโยชน์ ไม่ต่างกับสีลัพพตปรามาส

เป็นเหตุปัจจัยให้ไม่สามารถรู้ชัดถึงแก่นของเจโตวิมุติอันเป็นอริยะ
ได้แก่ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ที่เป็นแก่นของโจโตวิมุติทั้งหมด

.
เจโตวิมุติ ถึงจะเป็นอริยะ ก็มีข้อแตกต่างเช่นกัน

.
ส่วนปัญญาวิมุติ ที่เป็นอริยะ
เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ธรรมฝ่ายเสื่อม ไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้
เพราะมีปัญญินทรีย์ ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ เป็นตัวแปร

.

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน
แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในปัจจุบัน โดยการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในปฏิทาวรค

๑.
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
โดยมีโยนิโสมนสิการ เป็นตัวแปร

.
๒.
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
โดยมีโยนิโสมนสิการ เป็นตัวแปร

.
๓.
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป
โดยมีปัญญินทรีย์ เป็นตัวแปร

.
๔.
อุปกิเลส สามารถละได้โดย โยนิโสมนสิการ

 

6-06

ถ้าถามข้าพเจ้าว่า การปฏิบัติแบบไหนดีที่สุด

.
คำตอบคือ ไม่มีรูปแบบไหนดีที่สุด
มีแต่รูปแบบไหน ถูกจริตใคร
รูปแบบนั้น เป็นสัปปายะเหมาะแก่คนนั้น

.
ถ้าถามว่า ปฏิบัติแล้ว ทำให้รู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ
รูปแบบไหนจึงจะสมเหตุสมผล

คำตอบ สำหรับคนทั่วไป แล้วแต่เหตุปัจจัยในแต่ละคน

สำหรับวลัยพร การเจริญสมถะและวิปัสสนา
ที่ประกอบด้วย โยนิโสมนสิการ

วิโมกข์ ๘

4-03

วิโมกข์ ๘

ถ้าไม่นำเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์
เนื่องด้วยอำนาจแห่งสมาธิของสมาบัติ ๘ มาเกี่ยวข้อง

คุณของวิโมกข์ ๘ มีนานานับประการ โดยเฉพาะ
ศิลอันเป็นอริยะ
สมาธิอันเป็นอริยะ
ปัญญาอันเป็นอริยะ
เจโตวิมุติ อันเป็นอริยะ
ปัญญาวิมุติ อันเป็นอริยะ

หากบุคคลนั้น ละความปรารถนาต่างๆ ลงไปได้
สภาวะเหล่านี้ สามารถรู้ชัดได้ด้วยตนเองทั้งหมด
เพราะจะมีเกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติ มีเกิดขึ้นปกติ

เหมือนวิปัสสนาญาณ ที่มีเกิดขึ้น
เป็นเรื่องปกติของ สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

 

5-05

อันเนื่องมาจากสอุปาทเสนิพพานธาตุและอนุปาทานิพพานธาตุ
ทำให้เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดที่มีมากขึ้นของเจโตวิมุติ อันเป็นอริยะ

และทำให้แยกแยะรายละเอียดได้ตามลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของบุคคลบัญญัติว่าเกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย

.
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ
บุคคล ๗ พวกเหล่านี้ คือ

อุภโตภาควิมุตติ ๑
ปัญญาวิมุตติ ๑
กายสักขิ ๑
ทิฏฐิปัตตะ ๑
สัทธาวิมุตติ ๑
ธรรมานุสารี ๑
สัทธานุสารี ๑

.

โสดาปัตติมรรค
ธรรมานุสารี
สัทธานุสารี

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

อุภโตภาควิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ
กายสักขิ
ทิฏฐิปัตตะ
สัทธาวิมุตติ

.

สมณะ ๔ จำพวก

๑. สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
พระเสขะทั้งหมด

.

๒. สมณะบุณฑริก
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

.
๓. สมณะสระปทุม
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายด้วย
อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

.
๔. สมณะผู้ละเอียดอ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างนี้แล

ก็บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก
ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ฯลฯ

หมายถึง พระพุทธเจ้า

.

เจโตวิมุติของพระอรหันต์ขีณาสพ
กับอุภโตภาควิมุตติบุคคล

ถึงจะเป็นเจโตวิมุติอันเป็นอริยะ
แต่ก็มีมีความแตกต่างกัน

.
กล่าวคือ เจโตวิมุติใน
สมณะบุณฑริก สมณะสระปทุม สมณะผู้ละเอียดอ่อน
เป็นเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ

.
ส่วนเจโตวิมุติในอุภโตภาค มีเรื่องของวิบากกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
สามารถทำให้สมาธินทรีย์ที่มีอยู่ มีเหตุปัจจัยให้เสื่อมลงไปได้
ถึงจะมีเกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ไม่มีการเสื่อมซ้ำซากแบบเจโตวิมุติที่เป็นโลกียะก็ตาม

เมื่อมีการเสื่อมได้ ราคะ โทสะ โมหะ ย่อมมีเกิดขึ้นได้

.
คำว่า เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
หมายถึง ราคะ โทสะ โมหะ อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว
ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

 

ระวังมากขึ้น

4-03

ความนึกคิดที่กลายเป็นจริง
ทำให้เกิดการระวังความคิดมากขึ้น

แม้กระทั่งคำพูด ก็ต้องระวัง
เพราะจะเป็นไปตามวาจาที่ลั่นออกไป

เรื่องจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ทำให้เกิดความประหลาดใจหลายๆอย่าง
สิ่งใดก็ตาม แค่ปรารภ ขณะนั้นๆ ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ
มักกลายเป็นจริง คำพูดก็เช่นกัน ที่กลายเป็นจริง

จิตใต้สำนึก มีบทบาทลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

แม้กระทั่งความฝัน ถึงขั้นมีคนจะเอาชีวิต
ใจกลับปกติ ไม่มีสะดุ้งหรือกระเพื่อมใดๆ
กลับพูดถึงธรรมได้อย่างไม่สะทกสะท้าน
ธรรมที่หยั่งลงแล้ว ฝังแน่นในจิตเป็นแบบนี้นี่เอง

จะคิดสิ่งใด ธรรมก็ผุดขึ้นมา
จะพูดสิ่งใด ธรรมก็ผุดขึ้นมา
จะทำสิ่งใด ธรรมก็ผุดขึ้นมา

การแว่บไปนอกตัว จึงไม่ค่อยมี

 

สัญญาต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ทำให้เกิดความหงุดหงิดได้เหมือนกัน

เพราะเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน
ทำให้ไม่สามารถข่มจิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึกได้
บางคืน จิตคิดพิจรณาทั้งคืน กำลังสมาธิที่เกิดขึ้นจะอ่อนๆ
ทำให้ไม่มีการดิ่ง หรือกิริยาภายนอกที่คนทั่วไปเรียกว่า หลับ

เมื่อเกิดการคิดพิจรณาว่า
ควรพูดแค่สิ่งที่ควรรรู้ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงลึกในรายละเอียด
หรือข้อปลีกย่อยๆของสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น

คือมองว่า ขนาดเราเอง ไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
ปฏิบัติอย่างเดียว ปริยัตินี่ไม่รู้สักอย่าง ยังรู้ได้ขนาดนี้
คนอื่นๆก็เช่นกัน ก็สามารถรู้ชัดได้ด้วยตนเอง
หากผู้นั้นตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง ตายเป็นตาย
สภาพธรรมต่างๆ ผู้ปฏิบัติจะประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

เมื่อคิดแบบนี้ มีหลายครั้งต่อหลายครั้ง
ที่ทำให้ไม่ได้นอนมาหลายคืน จึงทำให้เกิดความหงุดหงิด

การเจ็บป่วย มีประโยชน์เหมือนกัน
ทุกครั้งที่ป่วย สังเกตุเห็นอยู่อย่างหนึ่ง
สัญญาต่างๆ ไม่ค่อยมีเกิดขึ้น จิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึกได้ปกติ

พอร่างกายเริ่มฟื้นคืนกลับมาปกติ
สัญญาเรื่องใดที่ติดค้างอยู่ ยังไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง
จะมีเกิดขึ้นเป็นปกติ

สัญญาละได้ยาก
เกิดจากเป็นคนชอบอ่าน อ่านทุกเรื่องราว
โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติ และคำเรียกต่างๆ

เมื่อยังชอบอ่าน สัญญาต่างๆที่มีอยู่
ย่อมถูกกระตุ้นให้มีเกิดขึ้น

“เบื่อ” ถึงจะมีเกิดขึ้น เดี่ยวก็หายไปเอง
เป็นความปกติของอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

เป็นคนชอบเขียน ไม่ชอบเก็บไว้ในใจ
เขียนไปเรื่อยๆ ความคมชัดของสภาวะ
เกี่ยวกับคำเรียกนั้นๆ ย่อมกระชับมากขึ้น

 

 

ยิ้ม

6-02

เมื่อคืน เข้าออกสมาธิทั้งคืน ตั้งแต่สี่ทุ่ม จนถึงเก้าโมงเช้า
เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ได้เจตนาทำให้มีเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ
เสพสุขที่เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

.

เริ่มกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึกได้เหมือนก่อนๆมากขึ้น
ทำไมจึงชอบกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึก
เหตุผลไม่มีอะไรมาก ชอบเล่นกับสมาธิ

มีครั้งหนึ่ง ตอนที่โอภาสสว่างมาก
มีความรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าดูด สะดุ้งทั้งตัว
พอสะดุ้ง จิตกลับเข้าสู่สมาธิทันที

อาการไฟดูดครั้งนี้
แรงกว่าเกิดไฟฟ้าสถิตย์

.

รู้สึกดีใจเหมือนกัน ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง
ที่ทำให้กำลังสมาธิฟื้นคืนกลับมา ถึงจะยังไม่คืนมาทั้งหมดก็ตาม

ถ้าถามว่า ทำไมต้องดีใจด้วย
คำตอบ ดีใจสิ อย่างน้อย กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น
ช่วยกดข่มกิเลสไว้ส่วนหนึ่ง จึงไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
ในการหยุดสร้างเหตุนอกตัว

.
เวลาที่จิตจะเป็นสมาธิ จะรู้สึกวูบลงไป แล้วสว่าง
บางครั้ง รู้สึกวาบขึ้นมาในใจ แล้วสว่าง
หลับตาลงทุกครั้ง สว่างทุกครั้ง

บางครั้ง มองเห็นภาพภายนอกได้ชัดเจน
เหมือนลืมตามอง ทั้งที่ยังหลับตาอยู่

.
วิธีการพักผ่อน จะอาศัยถีนมิธะ จวนเจียนเหมือนอยากหลับ
คือ ถ้ามีอาการเหมือนง่วงนอน จะใช้ช่วงเวลานั้นเป็นประโยชน์
ไปนั่งทันที พอนั่งลง จะรู้สึกวูบลงไป แล้วโอภาสมีเกิดขึ้นทันที
หมายถึง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

 

 

7-02
ตั้งแต่เมื่อคืน จนถึงวันนี้
ทำสมาธิรวมทั้งหมด ๑๐ ชม.

ชอบนำไปเปรียบเทียบกับอดีต
สมัยก่อนน่ะ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ๑๐ ชม.นี่จิ๊บๆ

.
เดี่ยวนี้ไม่ต้องเจาะจงเดินจงกรมก่อนนั่ง เหมือนแต่ก่อน
คือ โน่นทำนี่ พอนั่งลง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิทันที
รู้สึกตัว รู้ชัดก่อนจิตเป็นสมาธิ
รู้สึกตัว รู้ชัดขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
รู้สึกตัว รู้ชัดขณะกำลังสมาธิคลายตัว
เมื่อจิตเข้าสู่ความดับในสมาธิ ก็รู้ชัด

.
เพียงแต่สภาวะแต่ละวันไม่เหมือนกัน
เช่นวันนี้ ก็ไม่เหมือนเมื่อวาน
เมื่อวานรู้ชัดทุกขณะ วันนี้ดับไปในสมาธิหลายชม.

สภาวะก็เป็นแบบนี้แหละ เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้
เมื่อวานนี้สุขเกิดตลอด วันนี้มีแต่ความสงบ

เวลาต่อวันมีทั้งหมด ๒๔ ชม.
มโนกรรมไม่เกิด ๑๐ ชม.
กายกรรม วจีกรรมย่อมดับสนิท

 

6-02

 

 

เมื่อคืน เข้าออกสมาธิทั้งคืน ตั้งแต่สี่ทุ่ม จนถึงเก้าโมงเช้า
เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ได้เจตนาทำให้มีเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ
เสพสุขที่เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

.

เริ่มกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึกได้เหมือนก่อนๆมากขึ้น
ทำไมจึงชอบกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิส่วนลึก
เหตุผลไม่มีอะไรมาก ชอบเล่นกับสมาธิ

มีครั้งหนึ่ง ตอนที่โอภาสสว่างมาก
มีความรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าดูด สะดุ้งทั้งตัว
พอสะดุ้ง จิตกลับเข้าสู่สมาธิทันที

อาการไฟดูดครั้งนี้
แรงกว่าเกิดไฟฟ้าสถิตย์

.

รู้สึกดีใจเหมือนกัน ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง
ที่ทำให้กำลังสมาธิฟื้นคืนกลับมา ถึงจะยังไม่คืนมาทั้งหมดก็ตาม

ถ้าถามว่า ทำไมต้องดีใจด้วย
คำตอบ ดีใจสิ อย่างน้อย กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น
ช่วยกดข่มกิเลสไว้ส่วนหนึ่ง จึงไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
ในการหยุดสร้างเหตุนอกตัว

.
เวลาที่จิตจะเป็นสมาธิ จะรู้สึกวูบลงไป แล้วสว่าง
บางครั้ง รู้สึกวาบขึ้นมาในใจ แล้วสว่าง
หลับตาลงทุกครั้ง สว่างทุกครั้ง

บางครั้ง มองเห็นภาพภายนอกได้ชัดเจน
เหมือนลืมตามอง ทั้งที่ยังหลับตาอยู่

.
วิธีการพักผ่อน จะอาศัยถีนมิธะ จวนเจียนเหมือนอยากหลับ
คือ ถ้ามีอาการเหมือนง่วงนอน จะใช้ช่วงเวลานั้นเป็นประโยชน์
ไปนั่งทันที พอนั่งลง จะรู้สึกวูบลงไป แล้วโอภาสมีเกิดขึ้นทันที
หมายถึง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ความตาย

28-02-18

คำว่า ตายแล้วเกิด ไม่ได้หมายถึง
การตาย และเกิดใหม่ ในสังสารวัฏ เพียงอย่างเดียว

แต่หมายถึง การตายและเกิดใหม่ในภพชาติปัจจุบันนี้
กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสติ สัมปชัญญะ ขณะทำกาละ
เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ ขณะกำลังเกิด

ขณะที่กำลังเขียนเรื่องนี้
ก็ค้นหาคำเรียกที่มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
ไปๆมาๆ เจอพระสูตรที่เนื่องด้วยพระอรหันต์ “ชราสุตตนิทเทสที่ ๖.”

อ่านไป อ่านมา คิดพิจรณาถึงสอุปาทิเสนิพพานธาตุ
ที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับ อุภโตภาควิมุติ ปัญญาวิมุติ
สมณบุณฑริก สมณสระปทุม สมณะผู้ละเอียดอ่อน
ซึ่งในตอนนั้น ที่เขียนๆไป ยังออกจะมีงงๆ เกี่ยวกับคำเรียก
คือ ยังไม่สามารถแยกแยะสภาวะ รายละเอียดออกมาเฉพาะได้

แค่รู้ว่ามาตลอด ไม่ค้นหา
เพราะสภาวะที่ผ่านๆมา สอนให้รู้ว่า
เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม เดี่ยวมีเหตุปัจจัยให้รู้เอง

.

เมื่อวาน นั่งอ่านเรื่องพระสุสิมะขโมยธรรม
อ่านไปพิจรณาไปด้วย อ่านแล้วมีแปลกใจเหมือนกัน
ตอนที่พระสุสิมะ ได้ถามกับพระภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ว่า

สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ

ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่ผมทั้งหลายก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ฯ

.

ที่ว่าแปลกใจ คือ สภาวะต่างๆ ไม่จำเป็นต้องรู้เห็นเหมือนกันหมด
เป็นเรื่องเหตุปัจจัยของผู้นั้น แต่ทำไมภิกษุเหล่านั้น จึงพูดทำนองว่า
“ผมทั้งหลายหลุดพ้นด้วยปัญญา” นี่แหละที่แปลกใจ

และที่ทำให้แปลกใจยิ่งขึ้นไปอีก ตอนที่พระสุสิมะนำไปสอบถามกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอบอารมณ์พระสุสิมะ คำที่ทรงตรัสเหมือนกับที่ภิกษุพูดกับพระสุสิมะ และที่ทำให้แปลกใจยิ่งขึ้น ตรงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “พ. ดูกรสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้มีอยู่ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่ ฯ”

คำตรงนี้ที่ทำให้แปลกใจมาก รู้สึกฉงนว่าพลาดตรงไหนไป
ย้อนกลับไปอ่าน ก็ไม่มีตรงไหนพลาด

.
มาวันนี้ ได้คำตอบทั้งหมด ก็จากการที่ได้อธิบายในสอุปาทิเสสะนิพพานธาตุนี้แหละ ที่เขียนไว้มีอุภโตภาควิมุติมาเกี่ยวข้อง

จากที่เคยอ่านๆมา เข้าใจว่า อภโตภาควิมุติบุคคล หมายถึงพระอรหันต์
จุดสังเกตุ ตรงคำว่า บุคคล ซึ่งมีอยู่ในบุคคลบัญญัติ

เออหนอ เป็นอย่างนี้เองหนอ
บุคคลบัญญัติ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นจาก
มรรคญาณ ผลญาณ
จึงมีชื่อเรียกว่า บุคลบัญญัติ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

จาก อุภโตภาควิมุติบุคคล เมื่อเป็นพระอรหันต์เต็มตัว
จะเป็นสมณะสระปุทม

จากปัญญาวิมุติบุคคล เมื่อเป็นพระอรหันต์เต็มตัว
จะเป็นสมณะบุณฑริก

พระอรหันต์ ที่เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อน
หมายถึง พระพุทธเจ้า

ความปรารถนา

27-02-18

ความปรารถนา

ตั้งแต่เด็กจนโต เป็นคนที่แทบจะไม่มีความทะเยอทะยานเลยก็ว่าได้
ยิ่งปัจจุบันแล้วใหญ่ ความปรารถนาใดๆ ยิ่งไม่มี

เดี๋ยวนี้ เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งคือ
ไม่ว่าจะอ่านอะไร จะคิดพิจรณาตลอด

เหมือนเรื่องการทำความเพียร ไม่ว่าใครจะแสดงความเห็นอย่างไร
เราจะมีมุมมองประมาณว่า หากแม้นสัญญาเหล่านี้
ถูกสะสมจนฝังแน่ในจิต เกิดอะไรขึ้น สัญญาเกิดปั๊บ
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ
ถ้าเป็นดังนี้ หากมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ
ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ที่พูดแบบนี้ได้ เพราะสภาวะจิตดวงสุดท้าย
เคยมีเกิดขึ้นมา ๒ ครั้ง ถึงจะ ๒ ครั้ง ก็ตอกย้ำว่า
ที่ตั้งของวิญญาณไม่มี การมาและการไปย่อมไม่มี

.
เราไม่มีความคิดเห็นอื่นๆทำนองว่า
ทำไมไม่แนะนำแบบนี้ หรือสอนแบบนี้
ตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงตัสสอนไว้

ทำไมถึงไม่มีความคิดแบบนั้น
เพราะเหตุปัจจัยกระทำมาไม่เหมือนกัน
รู้นั้นๆ จึงแตกต่างกัน อุบายและวิธีการจึงไม่เหมือนกัน
รู้แค่ไหน ย่อมพูดหรือแนะนำหรือสอนได้แค่นั้น
ตามความรู้ ตามความเห็นของตน

เห็นอะไร ก็มองมากขึ้น พิจรณามากขึ้น
กระทบปั๊บ ความชอบใจ หรือไม่ชอบใจมีเกิดขึ้น
จิตจะหาเหตุผลมาชี้แจงเพื่อถ่ายถอนความถือมั่นที่มีอยู่
มันจะเป็นของมันเอง มีเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ นิวรณ์ต่างๆจึงไม่ค่อยมี
หรือถึงแม้มีเกิดขึ้นบ้าง ก็ตั้งอยู่ได้ไม่นาน

สมถะและกำลังสมาธิ

26-02-18

ความแตกต่างระหว่างกำลังของสมาธิที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

กับ

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เรียกว่า สมถะ

.

กำลังของสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ

๑. ขณิกสมาธิ เป็นกำลังของสมาธิที่มีเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ
อาจจะเป็นอุปจาร หรือ อัปปนาก็ได้

.
อุปจารสมาธิ มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว
ได้แก่ นิมิตต่างๆ สามรถมีเกิดขึ้นได้ขณะลืมตาและหลับตา

.
อัปปนาสมาธิ มีลักษณะเด่นเฉพาะ
ได้แก่ โอภาสหรือแสงสว่าง

.

.

จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เรียกว่า สมถะ
มี ๒ ชนิด

๑. มิจฉาสมาธิ มีเกิดขึ้นได้ด้วยการกดข่มแห่งจิต
ได้แก่ คำบริกรรมต่างๆ

ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัว

.
๒. สัมมาสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์

“ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต
มีปฏิปัสสัทธิอันได้แล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
และมิใช่ข่มขี่ห้ามด้วยจิตเป็นสสังขาร”

.
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ สามารถมีเกิดขึ้นได้
เป็นเหตุปัจจัยให้สามารถรู้ชัดในผัสสะ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

“โมคคัลลานสังยุตต์”

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน

เราก็สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน

สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่าสาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ
ฯลฯ

ความคิด

26-02-18

มีคำถามว่า ขณิกสมาธิ เข้าสู่ความเป็นพระอริยะได้มั๊ย?

ถ้าให้ตอบตามความเป็นจริง
จะตอบว่า อย่าทำตัวบ้าหอบฟาง แบกไว้ทำไมให้มันหนัก
ทีนี้ เขาไม่รู้เขาจึงถาม ถ้าเขารู้ เขาคงไม่ถาม

.
เราก็จะตอบบแบบกลางๆ ขอตอบว่า
ตกลงแล้ว คุณต้องการเรียนรู้เรื่องสมาธิ
หรือเรื่องของพระอริยะ

เพราะเวลาอธิบาย ต้องแยกออกจากกัน

.
ส่วนที่คุณถามว่า เข้าสู่ความเป็นพระอริยะได้มั๊ย
คำตอบคือ เรื่องการเป็นอริยบุคคลในประเภทต่างๆ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้อย่างชัดเจน ควรศึกษาพระธรรมคำสอน
และปฏิบัติตาม

ถ้าต้องการตรวจสอบว่า หลงหรือไม่หลง
ให้ดูพระธรรมคำสอนเป็นหลัก การปฏิบัตินั้นๆ
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

สังเกตุใจตนเองดู ปฏิบัติแล้ว ความโกรธ ยังรุนแรงมั๊ย
ที่ว่ารุนแรงคือ ผูกโกรธ ผูกใจเจ็บต่ออีกฝ่าย จนถึงขั้นจองเวรกัน
หรือต้องการให้ชีวิตของอีกฝ่ายมีอันเป็นไปต่างๆนานา อะไรทำนองนี้

ความโลภ ก็เช่นกัน

.
เริ่มต้นสังเกตุแค่สองตัวนี้ก่อน

การสังเกตุ คือ ปล่อยใจให้เป็นอิสระ อย่าไปกลัว
อย่าไปอายในความไม่ดีที่มีอยู่ อย่าไปจดจ้องเพื่อจะรู้ เพื่อจะดู
ให้รู้แบบปกติ ปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นปกติ แค่ในใจ ไม่เป็นไรหรอก

ความคิดน่ะ คิดมากมันก็ฟุ้ง แล้วซ่านไปในอารมณ์
มันก็จะรำคาญโดยตัวของมันเอง ไม่ต้องรำคาญ
คิดก็ปล่อยให้คิด เหมือนถอนรากถอนโคน
พอไม่มีอะไรให้คิดต่อ ก็จะหยุดคิดไปชั่วขณะ

ยังดีกว่าสร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เช่น เราว่าเขา เขาย่อมว่าเรา เรื่องราวไม่จบไม่สิ้น

ส่วนจะรู้เร็วหรือรู้ช้า
เหตุปัจจัยสร้างมาไม่เหมือนกัน

ขึ้นชื่อว่าปฏิบัติ
ยังไงก็จะมีเหตุให้เกิดความรู้ชัดอย่างแน่นอน

.

ถ้าไม่ชอบแบบนี้ มีอีกวิธีหนึ่ง
ให้ทำกรรมฐาน ถ้าทำไม่เป็น ให้ปฏิบัติที่วัดสอนกรรมฐาน
ก็ทำให้เกิดความรู้ชัดได้เช่นกัน

.

ทั้งหมดที่พูดมานี่ แค่จุดเริ่มต้นเล็กๆเองนะ
เอาแค่ตรงนี้ก่อน

 

27-02-18

เกี่ยวกับสภาวะเหล่านี้ การละความยึดมั่นถือมั่น
รวมทั้งวิธีการละความยึดมั่นถือมั่น เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง

กิเลส ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

คิดดีก็ตาม คิดชั่วก็ตาม เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่อยู่
ถ้ารู้เท่าทัน ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
กายกรรม วจีกรรม ย่อมไม่มี สภาวะนั้นๆก็จบลงแค่นั้น

จบเรื่องนี้ไป เรื่องใหม่เกิดต่อ หมุนเวียนไปแบบนี้
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย
ได้แก่ กรรม และการให้ผลของกรรม
ของเก่าไม่ยอมใช้(สานต่อ)
ของใหม่ก็ทำให้มีเกิดขึ้นอีก

เอาแค่ชาตินี้ ชาติเดียวพอ ระลึกได้มั๊ย ตั้งแต่วัยเด็ก
เคยทำอะไรไว้บ้าง ทั้งดีและไม่ดี นับประสาอะไรกับชาติอื่นๆ ในแต่ละชาติ
กี่กัปป์ กี่กัลป์ ที่เคยกระทำมา

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ สมาธิจึงเข้ามามีบทบาท

ขณะอดทน อดกลั้น กดข่มใจ
ไม่ให้สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิชั่วขณะ
กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้ส่วนหนึ่ง

ถ้าไม่มีสมาธิช่วยน่ะเหรอ
ความคมชัดของกิเลส ไม่ต่างกับโดนเข็มจิ้มไปตามตัว
รู้สึกชัดเจนแบบนั้นเลย มันไม่ได้ทำให้เจ็บปวด แต่ยิ่งกว่าเจ็บปวด
เหมือนคนที่ไม่มีที่จะอยู่ อะไรทำนองนั้น

สภาวะเหล่านี้ ต้องลิ้มรสชาติด้วยตนเอง จึงจะเข้าใจ

“ขึ้นชื่อว่าการเกิด ล้วนเป็นทุกข์”

สะพานลอย

25-02-18

เนื่องมาจากสะพานลอย

เมื่อก่อน เดินข้ามสะพานลอยได้ปกติ
จะสูงแค่ไหน จะยาวแค่ไหน ก็เดินได้

ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้น กลายเป็นกลัวการข้ามสะพานลอย
เพราะหัวใจจะวายตอนข้ามสะพานลอย

เรื่องของเรื่อง วันนั้นขึ้นรถผิด รถไปเกือบถึงบางโฉลง
พอรถลงทางด่วน ขอคนขับลง ตรงที่รถจอด มีสะพานลอย

ตอนขึ้นสะพานลอย แรกๆรู้สึกเหนื่อย จะสูงอะไรขนาดนั้น
พอขึ้นไปถึงข้างบน เดินตอนแรก พอจะเดินได้อยู่ เดินไปนิดเดียว
รู้สึกถึงสะพานมันแกว่ง ทั้งๆที่สะพานเป็นปูน มองไปสุดทาง
ประมาณขอบสนามฟุตบอลอีกฝั่ง ใจก็คิดว่า จะเดินไหวมั๊ย
ตอนนั้นหัวใจเต้นแรงมาก เหงื่ออกทั้งสองฝ่ามือ

พอจะก้าวเดิน ก้าวขาแทบไม่ออก ต้องยืนตัวงอ
เพราะรู้สึกว่าสะพานมันแกว่งแรงมาก เห็นว่าเดินไม่ได้แน่ จึงหยุด
มองไปข้างหลัง ที่เพิ่งเดินมา ใจก็คิดว่า น่าจะเดินกลับไป
ยอมเสียค่าแท็กซี่ดีกว่าจะเดินข้ามไปแบบนี้
ดีไม่ดี หัวใจวายขึ้นมาจะทำยังไง

คิดจะเดินกลับ ก็เดินไม่ดีอีก เพราะรู้สึกเหมือนสะพานไม่หยุดแกว่ง
ยืนอยู่ตรงนั้น คิดแค่ว่า รอให้ใจสงบกว่านี้ ค่อยเดินย้อนกลับไปทางเก่า
แปบนึง มีผู้ชายวัยรุ่นเดินมาถึงตรงที่เรายืน และกำลังจะเดินผ่านไป
เราเรียกเขา พร้อมกับบอกว่า ขอเดินไปด้วยคน

เขาบอกว่า เห็นยืนอยู่ เขาก็แปลกใจว่าทำไมถึงไม่เดิน
เราบอกว่า รู้สึกสะพานมันแกว่งได้ ทำให้ก้าวขาไม่ออก

เขาช่วยถือกระเป๋าและให้เราจับมือเขาไว้ พาเราเดินไปด้วย
ขนาดเดินจับมือเขา ขายังสั่นทุกย่างก้าวที่เดิน
เดินด้วยกันจนถึงทางลง ขอบคุณเขา และบอกเขาว่า ลงเองได้
เขาเดินนำหน้าพร้อมๆกับชะลอคอยมองเราตลอด
เราเกาะราวด้านข้างระหว่างเดินลง

เขาถามว่า ไม่เคยเดินขึ้นสะพานลอยเหรอ
เราบอกว่า เคยนะ แต่ไม่ไกลขนาดนี้ คือยาวมาก

.
ตอนอยู่ปากน้ำ เคยเดินข้ามสะพานลอยหน้าบิ๊กซี เดินได้ปกติ
ไปรอบนี้ เดินแทบไม่รอด ความรู้สึกเหมือนพื้นมันแกว่ง
ทั้งๆที่พื้นที่ดูแข็งแรง(บีทีเอส)

ตอนที่เดินข้ามที่แรก คิดว่าคงไม่เป็นไร
พอเดินไปถึงด้านบน เกิดอาการขาสั่น ขาอ่อน เดินหลบเข้าด้านใน
ค่อยๆก้าว ขาสั่นไปหมด ใจก็คิด ทำไมเป็นแบบนี้ ทั้งที่เคยเดิน
มาคราวนี้ ไหงมีอาการแบบนี้

.
ทุกวันนี้ อาการที่ยังเป็นอยู่
คือ ถ้านั่งอยู่ จะรู้ชัดที่หัวใจ มากกว่ารู้ชัดในส่วนอื่นๆ
เหมือนหัวใจงออกออกมาแขวนอยู่ด้านนอกตัว

วิบากแห่งสังขาร

25-02-18

ถ้าไม่ได้สมาธิคงจะแย่

วันก่อนฝนตก ได้กลิ่นฝุ่นละอองคละคลุ้งอยู่ในอากาศ

ใจก็คิดว่า ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะอยู่ในห้อง
ที่ไหนได้ ตกบ่ายเริ่มไอ แล้วก็ไอหนักขึ้น จิบน้ำเป็นระยะๆ

เมื่อทำสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ช่วงนั้นไม่มีอาการไอแต่อย่างใด
พอกลับมารู้สึกตัว อาการไอเริ่มกลับมา
ไอแต่ละครั้ง รู้สึกกระเทือนที่ต้นคอ เจ็บต้นคอ
ค่อยๆลามขึ้นไปบนหัว อาการเหมือนไมเกรน
หัวใจเต้นกระะหน่ำ รู้สึกเจ็บที่หัวใจเป็นระยะๆ

ทั้งๆที่รู้ว่า ถ้ากินยา จะช่วยบรรเทาได้เยอะ
แต่ที่ไม่กินยา เพราะเห็นว่า ยังไม่ถึงขั้นหอบมาก
แค่หายใจดังวิ๊ดๆ มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย

เราเป็นโรคกระดูกพรุน อยู่ในระยะอันตราย
เพราะกินยาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ที่เป็นอยู่ กินมาตั้งแต่เด็ก
ยาแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดไข้ ยาแก้ไอนี่แหละ
ไม่คิดว่าการกินยาระยะยาว จะส่งผลกระทบได้ขนาดนี้

ดีอย่างที่มีสมาธิเป็นตัวช่วย
ถ้าไม่ได้สมาธิ ก็ต้องกินยา

“วิบากแห่งสังขาร”

Previous Older Entries

มีนาคม 2018
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

คลังเก็บ