วิมุตติญาณทัสสนะ

ประโยชน์ของการศึกษาและการท่องจำ
“ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ”


มีเกิดขึ้น ตอนมีชีวิต
ได้แก่
นิฏฐาสูตร
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ

เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ …
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ
ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี
ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ


มีเกิดขึ้น เมื่อทำกาละ
ได้แก่
นิฏฐาสูตร
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม

เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ …
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อน
เตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้
หรือว่าเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

กว่าจะเขียนออกมาได้เป็นหมวดๆ
ต้องใช้เวลาเหมือนกัน แบบนึกไม่ออก(อาการทางสมอง)
บางครั้งนึกออก แต่ยังไม่ใช่สภาวะทั้งหมด
เหมือนเรื่องที่เพิ่งเขียนไป

ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


เมื่อเรียบเรียงตัวสภาวะต่างๆเข้าหากันได้
ความรู้สึกที่มีเกิดขึ้นคือ ดีใจ
กว่าจะรวบรวมเข้ามาเป็นหนึ่งด้วยกันเองได้
ทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้า
นึกถึงพระอานนท์ ความจำเป็นเลิศ
ถ้าไม่ได้พระสูตรต่างๆ
ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติ แต่ขาดการศึกษา
ที่สำคัญไม่จดจำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ข้อปฏิบัติต่างๆ
สาเหตุนี้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมหายไป


นึกถึงเกี่ยวกับกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
สามารถทำให้เวลาตาย ไปอบาย หรือไปสวรรค์
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง
ที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำออกมาทางกาย วาจา
ให้กลายเป้นการสร้างกรรมใหม่ กายกรรม วจีกรรม


อทุกขอสุขเวทนา โมหะ ความหลง สักกายทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ
ผัสสะ มากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
ทำให้เกิดการทำผิดศิล ๕
คือไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม


วิชชา ๑

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรก
เป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า
ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ
อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี
เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้
ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้ว
ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


หลังได้มรรคผล ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กำลังสมาธิที่มีอยู่(วิโมกข์ ๘) เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
จะมีความรู้ความเห็นปรากฏ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

มรรคมีองค์ ๘
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


สกิทาคามรรค
หลังสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น(โสดาปัตติผล)
รู้ชัดกรรมและผลของกรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยตน
ภพชาติของการเกิด

ภพ
ได้แก่ มโนกรรม

ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม

ผลของกรรม มาให้รับผลในรูปแบบของผัสสะ เวทนา
ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ได้แก่ ชรา มรณะ(โลกธรรม ๘)

และมีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง
เมื่อปฏิบัติในสีลวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ(สัมมาสมาธิ)
ทิฏฐิวิสุทธิ(ผัสสะ)
สภาวะที่มีเกิดขึ้น(ผลของการปฏิบัติตาม)

สกิทาคามิผล

ปฏิปทาวรรค ๒
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
.
คำว่า มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เป็นสภาวะของโสดาบันที่ได้โสดาปัตติผล(สภาวะจิตดวงสุดท้าย)

อุทธัจจะ

ประโยชน์ของการศึกษา การอ่าน และการท่องจำ
แม้ว่าเราไม่สามารถท่องจำได้(เกิดจากอาการสมอง)
แต่ธรรมจะผุดขึ้นมา เวลาจิตเป็นสมาธิ
อาศัยที่เคยอ่านผ่านตา แบบคุ้นตาา
ทำให้กลับไปอ่านพระสูตรนั้นๆ
เท่ากับได้การทบทวนตัวสภาวะต่างๆ
ได้ทบทวนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
.
จิตพิจรณา คำว่า ราคะ โทสะ โมหะ
แบบผุดขึ้นมาเอง ทำให้นึกถึงพระสูตร
เกี่ยวกับคำว่า วิตก คือความคิด
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ มักจะเป็นคู่
ค่อยๆสังเกตุเห็น มีพระสูตรหนึ่ง จะมีอีกพระสูตรมาอธิบายตัวสภาวะ
ก่อนจะมาเป็นตัวสภาวะที่มีปรากฏเรื่องนิวรณ์ ๕
ต้องศึกษาตัวสภาวะที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้

๑.
สคารวสูตร
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
.
๒.
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
.
๓.
ปฏิปทาวรรคที่ ๒


สคารวสูตร
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
[๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า.
[๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์
สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดแล้ว ตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๔] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ เป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๕] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๖] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๗] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๘] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๐๙] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …
[๖๑๐] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง …

[๖๑๑] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
ในสมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๒] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคลวางไว้ในที่มืด
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๓] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน
ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๔] ดูกรพราหมณ์
ส่วนสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๑๕] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ
ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๖] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๗] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำที่ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่านไม่เกิดไอ
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๘] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๙] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันสาหร่ายและจอกแหนไม่ปกคลุมไว้
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไปและย่อมรู้
ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๐] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความจริง ฯลฯ

[๖๒๑] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ
อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๒] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะ
ใส่น้ำอันใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
อันบุคคลวางไว้ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ
เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ย่อมแจ่มแจ้งได้
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๔] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน
ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว
ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๕] ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้
มิใช่เป็นธรรมกั้น
มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล
มิใช่เป็นธรรมกั้น
มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุติ.

[๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ส
คารวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว
มนสิการนิมิตใดอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น
อันประกอบด้วยกุศล
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่นในภายในนั้นแล

เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา
โทษของวิตกเหล่านั้นอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก
ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

คำว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

คำว่า อุทธัจจะ
ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน
ที่เกิดจากนิวรณ์ ๕

วิชชา ๑

ความรู้ความเห็นของผู้ปฏิบัติได้อรูปฌานเฉพาะเนวสัญญาฯ
ขณะได้มรรคผล(โสดาบัน) ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง


วิชชา ๑

อาหุเนยยสูตรที่ ๑
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรกเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่


ลักษณะที่มีเกิดตามความเป็นจริง พระโสดาบันกายสักขี
ปฏิบัติในสมถะและวิปัสสนา ได้วิโมกข์ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้มรรคผลตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องเชื่อใคร
โดยฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้
หลังได้มรรคผลตามความเป็นจริง
ครั้งแรกความรู้ความเห็นจะมีเกิดขึ้นแบบนี้

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า
ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว
ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …

บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด
ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี
ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ …
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


หลังได้มรรคผล ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กำลังสมาธิที่มีอยู่(วิโมกข์ ๘) เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
จะมีความรู้ความเห็นปรากฏ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

มรรคมีองค์ ๘
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ

“ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้ “

หมายถึง ไม่ได้มรรคผลตามความเป็นจริง
โดยอาศัยอริยสัจ ๔ เป็นพื้นฐาน

หากได้มรรคผลตามความเป็นจริง
เมื่อมีเหตุให้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
พูดง่ายๆ กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ความรู้ความเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ จะไม่เสื่อมหายไป
แม้ความจำเสื่อม อริยสัจ ๔ ยังจำได้

คือต้องอาศัยการศึกษาเกี่ยวกับจิตตปาริสุทธิ ตามลำดับ
จะทำให้เข้าใจมากขึ้นในพระธรรม
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เมื่อยึดมั่นถือมั่นในพยัญชนะ
ทำให้เข้าใจคำว่า เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เพี้ยนไปจากตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง


สมถะ
ทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์
บริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เอกัคคตา
จะมีชื่อเรียกว่า เจโตสมาธิ
เวลาได้มรรคผลตามความเป็นจริง
จะมีชื่อเรียกว่า เจโตวิมุตติ


วิปัสสนา
ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เอกัคคตา
จะมีชื่อเรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิ
เวลาได้มรรคผลตามความเป็นจริง
จะมีชื่อเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ


สมถะและวิปัสสนา

สมถะ
ทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์
บริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เอกัคคตา
ทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
เวลาได้มรรคผลตามความเป็นจริง
จะมีชื่อเรียกว่าเจโตสมาธิและปัญญาวิมุตติ


คำว่า วิมุตติ
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย

๓. อินทรียสูตร
[๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ ๑
อัญญินทรีย์ ๑
อัญญาตาวินทรีย์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้วในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในเพราะโสดาปัตติมรรค
อันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป
แก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง
ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (อัญญินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น
ปัจจเวกขณญาณ (อัญญาตาวินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ
แก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คงที่
ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลส
เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

ถ้าว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรีย์
ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้
บุคคลนั้นชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว
ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


ความแตกต่างระหว่างอุภโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ
เกิดจากอินทรีย์ ๕

พระอรหันต์อุภโตวิมุตติ ได้อรูปฌาน(๕ ๖ ๗ ๘)
พระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ ได้ฌาน ๔


ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒
ชนเหล่าใดไม่รู้
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง
และไม่รู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์
ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

ส่วนชนเหล่าใดรู้
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
และรู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์
ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
เป็นผู้ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ

แจ้งอริยสัจ ๔ ครั้งที่ ๑

แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
.
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
.
สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่


เมื่อปฏิบัติในสัมมาทิฏฐิ
สีลปาริสุทธิ
จิตตปาริสุทธิ
ทิฏฐิปาริสุทธิ
วิมุตติปาริสุทธิ
รู้ตามลำดับ ความรู้ ความเห็น
เมื่อแจ้งอริยสัจ ๔
และปฏิจจสมุปบาท(มรรคมีองค์ ๘)
สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้น ย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ(กามภพ)
ได้แก่ วิธีการดับกามตัณหา

ความรู้ความเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตัวเองว่า
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ


๓. อุปนิสสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธา
ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา
ควรกล่าวว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์
ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์
ควรกล่าวว่าชาติ


คำว่าทุกข์

๙. นิพเพธิกสูตร
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว

แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้พยาธิก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส
อุปายาสก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ทุกข์มากก็มี
ทุกข์น้อยก็มี
ทุกข์ที่คลายช้าก็มี
ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์

ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ
มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง
ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว
ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอก
ว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ ว่ามีความหลงใหลเป็นผล
หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้อง ทุกข์ภายนอกเป็นผล
นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์

ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน
คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งตัณหา
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัด
ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว


คำว่า ภพชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

๙. นิพเพธิกสูตร
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เรา ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม


ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น อริยสาวก นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

พระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ ได้ฌาน ๔

วิชชา ๓

ชานุสโสณีสูตร
[๔๙๙] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ใดมียัญสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา
อาหารที่จะพึงให้แก่คนอื่น หรือไทยธรรม
ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรพราหมณ์
ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างไร

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ในโลกนี้
เป็นอุภโตสุชาติ ทั้งข้างฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ สะอาดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ
เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท
พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกฏุภะ
พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท
เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างนี้แล ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลาย
ย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างหนึ่ง
ก็แหละผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง ฯ

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย ย่อมมีอย่างไร
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ตามที่ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้ากระนั้นจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ชานุสโสณีพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานอยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก ฯลฯ
วิชชาข้อแรกเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
วิชชาข้อที่สองย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
วิชชาข้อที่สาม ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้
อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น
เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ฯ

ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีลวัตร ส่งตนไปแล้ว
มีจิตเป็นสมาธิ
ผู้ใดมีจิตมีความชำนาญ เป็นเอกัคคตา ตั้งมั่นดีแล้ว
ผู้ใดตรัสรู้ปุพเพนิวาสญาณ
เห็นสวรรค์และอบาย
บรรลุถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ
เป็นมุนี
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
และเป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
เราย่อมไม่กล่าวถึงคนอื่นตามถ้อยคำที่คนอื่นกล่าวว่าได้วิชชา ๓ ฯ
ดูกรพราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล ฯ

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง
ก็แหละผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖
ซึ่งจำแนกเป็น ๑๖ ครั้ง ของผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

๑. ชนสูตรที่ ๑ ๒. ชนสูตรที่ ๒ ๓. พราหมณสูตร ๔. ปริพาชกสูตร
๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลภสูตร ๗. ชัปปสูตร ๘. ติกรรณสูตร ๙. ชานุสโสณีสูตร ๑๐. สังคารวสูตร ฯ

อธิบาย
ตอนได้มรรคผลตามความเป็นจริง

ครั้งแรก ต้องปฏิบัติทำกรรมฐาน(สมถะและวิปัสสนา)
ให้ถึงวิโมกข์ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ คือทำให้ได้ก่อน
เวลาได้มรรคผลตามความเป็นจริง
จะเข้าใจสภาวะต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับวิชชา ๓ ตามลำดับ

วิชชา ๑ ต้องปฏิบัติทำกรรมฐาน(สมถะและวิปัสสนา) ให้ถึงวิโมกข์ ๘

วิชชา ๒ ต้องปฏิบัติ(ทำกรรมฐาน(สมถะและวิปัสสนา)
ไม่จำเป็นให้ถึงวิโมกข์ ๘ แต่ไม่ต่ำกว่าฌาน ๔

วิชชา ๓ ต้องปฏิบัติทำกรรมฐาน(สมถะและวิปัสสนา)
ไม่จำเป็นให้ถึงวิโมกข์ ๘ แต่ไม่ต่ำกว่าฌาน ๔

ส่วนพระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ

เริ่มจาก
ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีลวัตร ส่งตนไปแล้ว

“ผู้ใดมีจิตมีความชำนาญ เป็นเอกัคคตา ตั้งมั่นดีแล้ว”
ปฏิบัติทำกรรมฐาน(สมถะและวิปัสสนา) ได้ฌาน ๔
(รวมทั้งผู้ปฏิบัติได้อรูปฌานแต่ไม่ถึงเนวสัญญาฯ)
แล้วมรรคผลมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“ผู้ใดตรัสรู้ปุพเพนิวาสญาณ”
ความรู้ความเห็นในวิชชา ๑ จะไม่มีเกิดขึ้น
ต้องอาศัยผลที่ได้รับ โดยตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
และอาศัยการศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้

“ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์”
เมื่อมีวิชชา ๒ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะเข้าใจมากขึ้น

“บรรลุถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ”
วิชชา ๓ หากได้ผลตามความเป็นจริง
จะแจ่มแจ้งสภาวะต่างๆนั้น

“เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง”
เมื่อมีวิมุตติญาณทัสสนะ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง


เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขยายคำอธิบายด้วยพระสูตร

๑๐. สุสิมสูตร

นำมาใช้ไม่ได้

ของเก่าที่เคยเขียนไว้ได้ลบออก แล้วแก้ไขใหม่

26 สค. 2019 สมาบัติ(เกิด) ผลสมาบัติ(ดับ)
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ที่เคยเขียนไว้นั้น ใช้ไม่ได้

ต้องอธิบายเกี่ยวกับการเห็นความเกิดและความดับในรูปนาม
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ซึ่งได้เขียนจิตตปาริสุทธิ ยังไม่จบ
ที่เคยเขียนไว้ ยังไม่สมบูรณ์
ต้องเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการทำกรรมฐานก่อน
ว่ามี ๓ แบบ
จะมีทำกรรมฐานกี่แบบก็ตาม จะจบลงที่ ๓ แบบเท่านั้น
๑. สมถะ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
๒. วิปัสสนา มีรูปนามเป็นอารมณ์ จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
๓. สมถะและวิปัสสนา มีบัญญัติเป็นอารมณ์
จนกระทั่งจิตตั่งมั่นเป็นสมาธิ ละทิ้งคำกรรมบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์

ส่วนได้มรรคผลตามความเป็นจริง
มีทั้งหมด ๔ แบบ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒

รายละเอียดทั้งหมด จะเขียนไว้ในจิตตปาริสุทธิ์
ซึ่งเคยเขียนไว้ แต่ใช้ไม่ได้
ไม่เป็นไปตามสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

อีกอย่างวิมุตติหรือสภาวะจิตดวงสุดท้าย
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน ๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น
เพราะสัมมาสมาธิ ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ทำให้เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้น
ฉะนั้น การเห็นความเกิดและความดับในรูปนาม
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สำคัญมาก

คำว่า สมาบัติ(เกิด) ผลสมาบัติ(ดับ) ที่เคยเขียนไว้
สมัยนั้น ยังป่วยทางสมอง การแยกแยะสภาวะต่างๆออกจากกันยังไม่ได้
แค่เขียนตามที่เห็น รู้แค่ไหนจะเขียนแค่นั้น เกิดจากความจำเสื่อม
ก็เขียนมาเรื่อยๆ

ส่วนคำว่า สมาบัติ(เกิด) ผลสมาบัติ(ดับ)
ก็เป็นเพียงจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ แล้วดับ
สภาวะมีแค่นี้ สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
แต่ตัวปัญญา ความรู้ความเห็นแตกต่างกัน

ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

2 กย. 64

ในดีมีเสีย ในเสียมีดี
มีแต่เรื่องของเหตุปัจจัย
ทำไมเราต้องพิการทางสมอง
เกิดจากในอดีต ความไม่รู้ทำให้ใช้ชีวิตทางโลก เพลิดเพลินทางอายตนะ


ไม่รู้ว่า หากเราตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง
จะมีสภาวะอีกหลายสภาวะที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน จะปรากฏ
ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แล้วไม่ต้องพิการทางสมองที่เป็นปัจจุบันนี้
กรรมและผลของกรรม ละเอียดยิ่งนัก
ไม่สามารถรู้ได้ว่ากรรมตัวไหน ส่งให้ผลเกิดก่อน

ถ้าย้อนกลับเวลาไปได้ จะไม่ใช้ชีวิตเหมือนสมัยก่อนโน้น
เพราะมันย้อนไปไม่ได้ จึงนำเรื่องประสพการณ์การปฏิบัติมาเขียนเรื่อยๆ

เมื่อผู้ใดที่เคยสร้างกรรมไว้กับเรามาก่อนในอดีต
มาในชาตินี้ จะทำให้เขาเหล่านั้น ดำเนินชีวิตตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เราเป็นเพียงผู้นำพระธรรมต่างๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ประสพด้วยตัวเองจากการทำกรรมฐาน
และสิ่งที่รู้เห็น ผลของการแจ้งอริยสัจ ๔

ต่อให้เป็นสมอง ความจำเสื่อม ธรรมะอัศจรรย์ยิ่งนัก
ความจำเสื่อม เสื่อมสมมุติ คำเรียกต่างๆ จำไม่ได้
จำได้ว่า พอความจำเริ่มกลับมา อริยสัจ ๔ เป็นสิ่งแรกที่ผุดขึ้นมา


นับว่าเคยสร้างกรรมไว้ดี มีมาก จึงทำให้เจอสัตบุรุษ เชื่อและปฏิบัติตาม
เมื่อเชื่อกรรมและผลของกรรม ตามที่เทศนาท่านพูดเรื่องกรรมและผลของกรรม ที่ท่านประสพเจอกับตัวเอง แล้วนำมาสอนทุกคน
เมื่อทำตาม ทำให้ต้องเจอทุกขเวทนาทางใจมากมาย แต่อดทน อดกลั้น ตามคำสอน
น้ำตานองหน้าบ่อยๆ ไหว้พระก็น้ำตาร่วง เดินจงกรม น้ำตาร่วง
ชีวิตทำไมต้องเป็นแบบนี้ แมร่งทุกข์สุดๆ ทุกข์ก็อดทน เพราะเชื่อว่า แล้วทุกสิ่งจะผ่านไปได้

จำได้ว่า สมัยนั้นมีความสงสัยว่า ทำไมเราต้องอดทนให้คนอื่นว่า ถูกด่าทอ
ถูกใส่ร้าย โดนสารพัด แต่อดทน เพราะเชื่อคำสอนจากสัตบุรุษ ที่เทศนาเนืองว่า แล้วจะผ่านไปได้ ให้อดทน อย่าตามใจ
ตอนนั้นไม่เข้าใจ แต่เชื่อ ตั้งใจทำกรรมฐาน ดึกๆดื่น ยังเดินจงกรม สลับการนั่ง
บางคืนฟุบไปกับพื้น รู้สึกตัวเช้า ยังฟุบอยู่กับพื้น เหตุนี้ ทำให้เราเป็นคนมีสมาธิมาก
ปริยัติไม่รู้อะไรสักอย่าง อาศัยศรัทธา ตั้งใจทำกรรมฐาน กว่าจะทำได้ เดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม. ตามพื้นฐานที่ท่านสอนไว้
แรกๆทำได้ยากจริงๆ เหมือนเด็กฝึกเดิน เดินๆหยุดๆ ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง
พอเจอทุกข์ กลับมาปฏิบัติอีก เริ่มต้นใหม่ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง แต่ไม่ออกจากเส้นทางนี้
หลายปีกว่าจะมั่นคง ไม่ทำๆหยุดๆอีก เกิดจากความไม่รู้เรื่องปริยัติ ไม่รู้เรื่องอินทรีย์ ๕
ไม่รู้ว่าให้เริ่มจากทีละน้อย แล้วสะสม ให้ทำต่อเนื่อง จนกว่าสามารถเดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม.
สภาวะต่างๆจะดำเนินตามตัวสภาวะของมันเอง

เมื่อทำได้ จะไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไงอีก
เหตุมี ผลย่อมมี
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม จะเจอบุคคลที่มาแนะนำให้เราได้ไปต่อ ทำให้ไม่ติดสิ่งที่รู้เห็นเกิดจากสมาธิ
ต่อมา จะเดิน จะนั่ง โอภาสสว่าง สภาวะส่วนมากไม่รู้กาย
ท่านสอนว่า ให้เดินมากกว่านั่ง จนกว่าสามารถรู้กายได้
ท่านบอกว่าแล้วจะรู้เอง อย่าไปชอบ อย่าไปชัง ให้รู้ตามความเป็นจริง

เราก็ทำตามที่ท่านบอก แล้วสภาวะต่างๆจะดำเนินต่อเนื่อง
การเห็นความเกิดดับในรูปนามตามความเป็นจริง

สมัยก่อน ไม่รู้จักคำเรียกเหล่านี้มาก่อน ไม่รู้สักอย่างเดียว
สิ่งที่เราเขียนนั้นเกิดจากการทำกรรมฐาน
เมื่อมีเหตุให้ศึกษาพระธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
จึงทำให้เรารู้ว่า สภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะนั้นๆ มีคำเรียก
เพียงแต่สมัยนั้น เราไม่รู้ ปฏิบัติผ่านไปแล้ว จึงจะรู้ เพราะรู้ด้วยตนเอง ไม่ได้เกิดจากการท่องจำมา


8 กันยายน
ตอนนี้ความจำแย่ลง หมายถึงตัวหนังสือ
นับเลขไม่ถึง 20
เขียนตัวเลข ตามลำดับ เขียนผิด
เป็นเฉพาะทางโลกสมมุติ
ขนาดยากิน ยังต้องเขียนวันที่กำกับ ไม่งั้นจะลืมกินยาว่ากินหรือยังไม่ได้กิน จะจำไม่ได้เลย
วันที่ไหร่ ไม่รู้เลย จำไม่ได้ เปิดโบ๊ตบุ๊ค จึงจะรู้ว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร พศ.ยังลืมเลย
.
ทางธรรมปกติ ความรู้ความเห็น ละเอียดมากขึ้น
ถ้าไม่มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ความรู้ความเห็นคงรู้ดับเฉพาะตน
การเขียน แรกๆเป็นดับเฉพาะตน
มันจะรู้แบบนั้นก่อน
พอเขียนมาเรื่อยๆ จากเขียนมาก จะเขียนน้อยลง กระชับมากขึ้น เลือกที่สำคัญ
แบบหากปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ไม่หลงทาง ไม่ติดอุปกิเลส เพราะความรู้ความเห็นจะเป็นสเตป
คือต้องศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก ต้องปฏิบัติด้วย
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ จะไม่เข้าใจตัวสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น
.
มีอาการของหงุดหงิด เกิดจากสมองกระทบกระเทือน ประสาทอัตโนมัติเสียหาย
บางครั้งมีความรู้สึกตัวปกติ บางครั้งเหมือนคนบ้า หงุดหงิด รำคาญตัวเอง แบบนึกคำเรียกไม่ออก
ขึ้นรถสองแถว จะกดกริ่งกดไม่ได้เพราะนึกชื่อไม่ออก บังคับตัวเองให้กดกริ่ง ทำไม่ได้ มองภายนอกสักแต่ว่ามีเกิดขึ้น
ตั้งแต่มีโควิด อาการทางสมองแย่ลง เห็นได้ชัด แบบรู้ด้วยตัวเอง

เมื่อก่อน เจ้านายยังทำงานปกติ
อาการเรายังปกติ เพราะทำสมาธิได้ทุกวัน
ตั้งแต่เจ้านายทำงานที่บ้าน เขากินข้าวไม่เป็นเวลา เขากินยาก
ปกติเราทำสมาธิได้บ่อย กลายเป็นต้องทำกับข้าวให้เขาไม่เป็นเวลา
ทำสมาธิเหรอ ไม่แน่นอน บางวันไม่ได้
เหตุนี้เมื่อสมาธิไม่มาก ทำให้รู้ชัดผัสสะชัด เวทนาโดยเฉพาะยินร้าย ปรากฏ
หากเราไม่เคยศึกษาพระธรรมมาก่อน จะงงตัวเองว่าทำไมเป็นแบบนี้
มันไม่ใช่แค่เรื่องสมาธิ มีเรื่องอาการทางสมองที่มีเกิดขึ้นกำเริบเป็นช่วงๆ
เหตุนี้ทำให้เรารำคาญตัวเองเกิดขึ้นก่อน
ต่อมากลายเป็นหงุดหงิด มันจะมีเกิดขึ้นแค่นี้แล้วคลายหายไปเอง ไม่ถึงขั้นสร้างมโนกรรมมีเกิดขึ้น

นับว่าเจ้านายเขาทำกรรมฐานมากับเราตั้งแต่แรก มีอะไรเราเล่าให้เขาฟังทุกเรื่อง สภาวะอะไรก็เล่าให้ฟัง
ที่นี้เวลาอาการป่วยทางสมองเกิดขึ้น ทำให้เขารู้ว่าควรทำตัวยังไงเมื่อเห้นเราอาจพูดไม่ถูกหูเขา
แบบเราไม่ได้เจตนา แต่บังคับตัวเองไม่ได้
เมื่อเขาเข้าใจ เขาจะไม่ยุ่ง
เดี่ยวอาการเราจะหายไปเอง กลับมาพูดกับเขาได้ปกติ

ถ้าถามว่า รู้สึกทุกข์มั๊ย ที่มีอาการแบบนี้
คำตอบ ไม่มีเลย บังคับมันไม่ได้ มันจะเกิดก็เกิด มันจะหายไปเอง
ก็เหมือนเรื่องการจะกดกริ่งในรถสองแถว อาการแบบนั้นเลย ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ รอสักพัก จึงจะกลับมารู้สึกตัวได้
ผู้โดยสารบางคน เขาจะถามว่า จะลงรถเหรอ เราฟังรู้ แต่จะกดเองไม่ได้ เราพยักหน้า เขาจึงกดกริ่งให้ บางครั้งฟังรู้ แต่ทำอะไรไม่ได้ ก็มี

คำว่ากินยาก
หมายถึง เจ้านายกินข้าวสามมื้อ แล้วกับข้าว เขาไม่ชอบกับข้าวเก่า
ยิ่งช่วงนี้ แม้เขาจะกินกับข้าวเก่าได้ก็ตาม แต่ยังต้องทำอาหารทุกวัน
ส่วนเรากินข้าวหลักหนึ่งมื้อ อะไรก็ได้ กับข้าวเก่าก็กินได้ กินข้าวเพื่อไม่ให้กินพร่ำเพรื่อ
มื้ออื่นๆส่วนมากน้ำดื่ม ผลไม้ เราต้องควบคุมเรื่องอาหาร
เพราะโฮโมนยังไม่ปกติ หากกินข้าวบ่อย จะทำให้นน.ขึ้นง่าย


11 กย. 64

หากไม่เขียนชื่อพระสูตร
ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ประมาณว่า มีพระธรรมผุดขึ้นมา
ก็ว่าเคยอ่านผ่านตา แล้วเขียนไว้ด้วย
แต่นึกไม่ออก
เมื่อนึกไม่ออก พยายามจะหาว่าเขียนไว้ตรงไหน
ตอนนั้นหาไม่เจอ ทำให้เกิดรำคาญ แบบสมองทำให้เป็นแบบนี้ ความจำไม่ดี
.
ต่อมา ทำให้เกิดความหงุดหงิด เมื่อผัสสะมากระทบ
แบบกำลังพยายามหาพระสูตรนั้น แต่หาไม่เจอ
มาเจอเจ้านาย จะเอาโน้่นนี่ จึงทำให้เราหงุดหงิด
เพียงแค่รู้เฉพาะตน เขาไม่รู้หรอก
ภายหลังจึงอธิบายให้เขาฟัง เกี่ยวกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เขาบอกว่า น่าจะบอกกับเขาได้ว่า กำลังหาพระสูตรอยู่ เขาจะไม่ยุ่งด้วย
เราบอกว่า ตามความเป็นจริง ควรจะบอกกับเขาได้ แต่อาการสมองไม่สั่งการว่าพูดไปเลย เขาจะได้รู้
แต่ทำไม่ได้ มันไม่นึกอะไรทั้งสิ้น จะรู้เพียงผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น รู้แค่นั้น ไม่มีมโนกรรม แล้วจะคายหายไปเอง
เราเพียงเล่าสภาวะให้เขาฟัง

เมื่อมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก
ถึงแม้เราสามารถบอกเขาได้ ตามที่เขาพูดไว้
ความจำตรงนั้น จำไม่ได้ แบบจำไม่ได้เลย
มันจะรู้ผัสสะ เวทนา แค่นั้น แล้วคลายหายไปเอง

มาตอนหลัง ได้บอกกับเขาว่า
อาการที่เราเป็นอยู่นั้น ทำให้เข้าใจมากขึ้น
ในพระธรรมต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ผู้ปฏิบัติเมื่อเห็นทุกข์ พยามปฏิบัติเพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
เพื่อพยายามละ พยามอย่างหนัก สักวันย่อมสำเร็จ
เมื่อทำได้ จะมีสภาวะผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น
แบบเราแบบงงๆ ทำไมยังมีความรู้สึกแบบนี้

พอได้อ่านที่พระะรรมที่พระองค์ทรงตรัสไว้
อ่อ เกิดจากอินทรีย์ ๕
คือหากกำลังสมาธิของเราเป็นอรูปฌาน
ความรู้สึกเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้น
เมื่อรู้แล้ว ไม่สงสัยแล้วว่า ทำไมอาการความรู้สึกเหล่านี้จึงมีเกิดบางครั้ง
เพียงแต่ความรู้สึกเหล่านี้ ไม่สามารถให้เราคิดสร้างกรรมให้เกิดภพชาติการเกิดขึ้นมาอีก
ไม่ต้องใช้ความอดทน ไม่ต้องทำอะไรเลย มีเกิด มันก็คลายดับหายไปเอง

ตรงนี้ ถ้าเขียนแบบนี้ ทำให้ไม่รู้ว่า นำมาจากพระสูตรไหน

คำว่า ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน
ได้แก่
ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในเพราะโสดาปัตติมรรค
อันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป
แก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง
ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (อัญญินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น
กล่าวคือ
เมื่อมรรคญาณปรากฏขึ้นแล้ว
ผลญาณก็ปรากฏตามมาทันที ไม่มีระหว่างกลางคั่นเลย
มีข้อพึงทราบไว้ในที่นี้คือ
มรรคญาณนี้จะเป็นมรรคชั้นใดก็ตาม ย่อมปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำการประหาณกิเลสต่างๆ ตามอำนาจของมรรคนั้นๆ
เช่น ปฐมมรรคเกิดขึ้น ก็ทำการประหานกิเลสที่ปฐมมรรคมีอำนาจประหาณได้ เป็นต้น
สำหรับในที่นี้ มรรคญาณที่ปรากฏนี้ เรียกว่า ปฐมมรรค
ซึ่งทำการประหาณกิเลสได้ ๕ อย่าง
สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพตปรามาส ๑
อปายคมนียกามราคะ ๑
อปายคมนียปฏิฆะ ๑

นับว่า ได้เขียนพระสูตรกำกับไว้
เพียงแต่เมื่อก่อนเขียนกระจัดกระจาย
ไม่ได้เขียนหมวดออกจากกัน
ทำให้หาพระสูตรนั้นไม่เจอ

พระสูตรเต็ม
๓. อินทรียสูตร
[๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน คือ
อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ ๑
อัญญินทรีย์ ๑
อัญญาตาวินทรีย์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในเพราะโสดาปัตติมรรค
อันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป
แก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง
ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (อัญญินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น
ปัจจเวกขณญาณ (อัญญาตาวินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ
แก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คงที่
ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ถ้าว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรีย์ ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้นชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
.
“ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ”
คำว่า ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น
ได้แก่ ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง
กล่าวคือ แจ้งนิพพาน ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
.
คำว่า ความสิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ได้แก่
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ

ความเสื่อมในอริยปัญญา

๔. ปัญญาสูตร
[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก
ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป
เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง
ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

คำว่า อริยปัญญา
ได้แก่ เห็นความเกิดดับรูปนาม

“เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลก
ย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง”

คำว่า ความเสื่อมไปจากปัญญา
ได้แก่ สมาธิเสื่อม(เจโตสมาธิและอนิมิตตเจโตสมาธิ)

คำว่า ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ได้แก่ อริยสัจ ๔
กรณีสมาธิเสื่อม อริยสัจ ๔ แจ้งแล้วแจ้งเลย ไม่เสื่อม
ถ้าให้ป่วยด้านสมอง ความรู้ความเห็นทางโลกจำไมได้ แต่อริยสัจ ๔ จำจนตาย ไม่ต้องท่องจำ

อธิบาย ด้วยพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

๙. มหาอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
[๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสในก่อนได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น
คำว่า เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น.
ได้แก่ โอภาส สีขาว สว่างเจิดจ้า เกิดจากกำลังสมาธิที่ไม่ประมาณมีเกิดขึ้น

สำหรับบุคคลที่ขาดผู้แนะนำ
การทำกรรมฐาน แบบไหนก็ได้
ยังไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นมิจฉาหรือสัมมาสมาธิ

นั่งจนกระทั่งโอภาสเกิดขึ้น มีแสงสว่างขาว เจิดจ้า
ทำจนเสพให้มาก จนคุ้นเคย จิตจะจดจำตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น
นั่งทุกครั้ง โอภาสเจิดจ้า จะมีเกิดขึ้น

สภาวะที่สำคัญ คือ เมื่อมีแสงสว่างเจิดจ้า เหมือนกลางคืนเป็นกลางวัน
กาย(รูป) หายไปหมดสิ้น เหลือแต่ใจ(จิต)รู้อยู่ กับแสงสว่างเจิดจ้า
ผู้ปฏิบัติ จะรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

เมื่อเป็นแบบนี้ ให้ปรับอินทรีย์ ๕
โดยการเดินจงกรม ก่อนนั่ง
เคยนั่งใช้เวลาเท่าไหร่ การเดินให้ใช้เวลาเท่านั่ง

หากยังมีโอภาสสว่างเจิดจ้า ไม่สามารถรู้กายได้
ให้เพิ่มการเดิน เพิ่มไปเรื่อยๆ ส่วนการนั่งใช้เวลาเท่าเดิม
จนกระทั่ง แม้โอภาสจะมีแสงสว่างเจดจ้ามีเกิดขึ้น
และสามารถรู้กายปรากฏอยู่

นี่เป็นลักษณ์อินทรีย์ ๕ ที่สมบูรณ์
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เดินแล้วนั่ง ทำหลายรอบ ทำต่อเนื่อง อย่าหยุดทำ

เมื่อินทรีย์ ๕ มั่นคง จะเห็นความเกิดและดับในรูปนาม
ขณะเดินจงกรมและขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
จึงเป็นที่มาของคำว่า อริยปัญญา
ได้แก่ เห็นความเกิดดับรูปนาม
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

คือต้องประจักษ์ด้วยตนเอง จากการทำกรรมฐาน
ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ

นี่เป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับจิตตปาริสุทธิ์ ในสมถะและวิปัสสนา
ว่าด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา มี ๔ แบบ

Previous Older Entries

กันยายน 2021
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930  

คลังเก็บ