นิวรณ์น้อยและสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ … ถีนมิทธนิวรณ์ … อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ …
วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.


ทำกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์
ใช้คำบริกรรม เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ การเคลื่อนไหว กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ

ใช้คำบริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สามารถมีเกิดขึ้นในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ในที่นี้พูดถึงเฉพาะ สัมมาสมาธิ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา


สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิและลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กายสักขี

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

“อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ”
ได้แก่ เห็นความเกิด ความดับ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป”
ได้แก่ ละอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้าย(วิมุตติ) มีปรากฏ

“และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา”
ได้แก่ วิโมกข์ ๓


ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร
[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าชื่อ สีตะวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และพึงทำบุญเถิด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบปริวิตกแห่งใจของท่านพระโสณะด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ ที่ป่าสีตะวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้มิใช่หรือว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ มิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด
ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยังอยู่ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใดสายพิณของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ฯ
ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ความเพียรที่ปรารภมากเกินไปย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
ท่านพระโสณะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทนี้
แล้วทรงหายจากป่าสีตวันไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ

ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะ ได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
ได้ตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น

ต่อมา ท่านพระโสณะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย
ได้ทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แลท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่าไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบในภพ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ ๖ ประการ คือ
เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสงัด ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล ๑ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภ สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปยังความสงัด แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่พรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสงัด
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพ ฯลฯ
เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาสกลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้
เพราะว่าภิกษุขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่พิจารณาเห็นในกิจที่ตนจะต้องทำ
หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่
ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล
เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุแม้ดีเยี่ยมมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้
รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของท่านได้จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวและท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น
เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิมฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น ฯ

ท่านพระโสณะครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปอีกว่า
จิตของภิกษุผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน และผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหลแห่งใจ
ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายตนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำและการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบมีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด
รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมยังจิตอันตั้งมั่นหลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ฉันนั้นและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ดังนี้ ฯ

.

คำว่า ได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้นต่อมา
ได้แก่ ใช้คำบริกรรม

“หนอ”

๑๒ พค.๖๑

ประโยชน์ของการใช้ “หนอ” ในการกำหนด

.

การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

การทำความเพียร เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
การใช้พองหนอ ยุบหนอ เป็นการกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของร่างกายที่มีเกิดขึ้น ขณะหายใจเข้า ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องยุบลง

แรกๆ อาจจะกำหนดไม่ค่อยได้ เพราะใจมักชอบแว่บไปโน่นนี่(คิด)
เมื่อทำบ่อยๆ จนทำเกิดเป็นวสี คือ จิตจดจำได้ คำบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ ที่ใช้กำกับ จะหายไปเอง ไม่ต้องใช้พองหนอ ยุบหนอในการกำหนดอีกต่อไป เป็นสภาวะของรูปนาม ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้น(ท้องพอง-ยุบ) กับใจที่รู้อยู่

ที่มาของปฏิสัมภิทามรรค วิปัสสนาญาณ ๙ ของพระสารีบุตร
กล่าวคือ สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์

ส่วนญาณ ๑๖ เป็นการแตกข้อปลีกย่อยออกมา
ผู้ที่ประสพพบเจอด้วยตนเอง เมื่อมาอ่าน จึงจะเข้าใจ
ภาษาชาวบ้าน หมายถึง ต้องผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว จึงจะอ่านได้อย่างเข้าใจในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามคำอธิบาย

หากไม่เคยผ่านญาณ ๑๖ (อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)
อ่านแล้ว มีแต่การคาดเดา หาใช่ตามความเป็นจริงไม่

การการอธิบายความทั้งหมด ที่ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ล้วนลงรอยเดียวกัน กล่าวคือ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ใช่เรื่องความมี ความเป็นแต่อย่างใด
มีแต่เรื่องของ อริยสัจ ๔

เหตุปัจจัยให้ความมี ความเป็นมีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากตัณหา

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

.

การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง

เป็นสภาวะของศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

การใช้หนอในการกำหนดรู้ในผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เช่น ทางตา รูปที่มากระทบ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเห็นหนอ รูหนอ

เสียงที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเสียงหนอ ยินหนอ รู้หนอ พร้อมกับหายใจยาวๆ ลึกๆ

ฯลฯ

เป็นการสำรวม สังวร ระวัง ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

การเดิน แบ่งออกเป็น ๖ ระยะ ตั้งแต่หยาบ จนละเอียด
เช่น อย่างหยาบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

กิน ดื่ม ถ่าย นอน ทุกอิริยาบาทใช้หนอกำกับทุกอย่าง
เช่น เสียงหนอ ยินหนอ เห็นหนอ กลิ่นหนอ กินหนอ ดื่มหนอ กลืนหนอ นอนหนอ รู้หนอฯลฯ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย

.

ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ

.

เมื่อมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอ่นเป็นที่พึ่ง 
มีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

สิ่งที่มีเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคิด คือ

.

๑. ไม่มีคิดถึงอนาคต การปรุงแต่งต่างๆล่วงหน้า จึงไม่มี

ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีเงินจะอย่างไร
เมื่อไม่มีเงิน ย่อมไม่มีกิน ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีกินจะทำอย่างไร

ถ้าไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จะทำอย่างไร

ฯลฯ

ความคิดเกี่ยวกับอนาคตทั้งหมด จะไม่มีเกิดขึ้น
เพราะทุกคำถาม มีคำตอบไว้หมดแล้วว่า ควรทำอย่างไร
คือ ความคิดเหล่านี้ หากมีเกิดขึ้น
ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนแต่อย่างใด

.

๒. คิดถึงอดีต หรือเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา มีแต่คิดพิจรณาเรื่องความผิดพลาดที่มีเกิดขึ้นจากอะไรเป็นปัจจัย ความประมาทต่างๆ การคิดพิจรณาที่มีเกิดขึ้นนี้ เป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

๓. อยู่กับปัจจุบัน
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เป็นเรื่องของ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
สงบ ระงับ มากกว่าสานต่อ
เป็นสภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

.
เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่เคียงกันไป
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ มีรูปนามเป็นอารมณ์
การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม
มีเกิดขึ้นมากกว่าแว่บออกไปนอกตัว

เริ่มต้นที่แตกต่าง

เริ่มต้นที่แตกต่าง เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ สัมมาสมาธิ

 

 

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

 

[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร

คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา

สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า

 

เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ ศิล
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

 

 

สุดท้าย ลงรอยเดียวกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
อันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในจักษุ
กำหนัดในรูป
กำหนัดในจักษุวิญญาณ
กำหนัดในจักษุสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในมโน
กำหนัดในธรรมารมณ์
กำหนัดในมโนวิญญาณ
กำหนัดในมโนสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป
ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ
ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้

จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่า
มีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญ
อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้
คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง …
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในมโน
ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ
ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส
ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่
ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป

และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ
สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗

 

จะอ่านพระธรรมคำสอนนี้ ให้เข้าถึงลักษณะอาการ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของคำเรียกต่างๆนี้ได้

ต้องรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะเหล่านี้ด้วยตนเองก่อน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท และ อริสัจ ๔
ผัสสะ และ อริยสัจ ๔

สมถะ-วิปัสสนา

ปฏิทาวรรค ๒

ปฏิทา ๔

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299

 

ขยายใจความ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=69

 

ขยายใจความอุปกิเลส ๑๐

Hello world!

 

 

 

เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ

ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ
ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ
ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ
เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่า เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ
ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย โสดาปัตติมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน …
ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด … มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8&book=9&bookZ=33

หมายเหตุ:

“ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ

สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในเฉพาะ สัมมาสมาธิ คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เกิดจาก การปรับอินทรีย์ ทำให้ กำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ไม่ล้ำหน้ามากเกินสติ
เป็นเหตุ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

สภาวะที่เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

“คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ”

เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
มีสติรู้อยู่กับสภาวะที่เกิดขึ้น(แค่รู้ ตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น)

แล้วสภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

“วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ”

ทำความเพียรต่อเนื่อง
กระทำแบบนี้เนืองๆ เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่มีคำเรียก ถึงแม้ไม่ใส่คำเรียกลงไป
หรือถึงแม้มีการคิดพิจรณว่า สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

คือ ไม่ว่าจะมีการคิดพิจรณา หรือไม่มีการคิดพิจรณา แค่รู้ แค่ดู ตามความเป็นจริง

สภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเอง(ตามความเป็นจริง) ตามเหตุปัจจัย
รวมทั้ง อุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นเหตุให้ เกิดความรู้ชัดในสภาวะ แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น ที่นิยมเรียกว่า เกิด-ดับ

สภาวะทั้งหมดนี้ ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นปกติอยู่แล้ว ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
และมีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม

เมื่อทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม
สภาวะที่เรียกว่า สมุจเฉทประหาน(ต้องตาย)
ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคตรภูญาณ

สภาวะนี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้

และหาก ขณะที่เกิดสภาวะนี้ แต่มีกิเลสเกิดแทรก(จิตใต้สำนึก)
สภาวะที่เกิดขึ้น จะดับหายไป และกลับมารู้อยู่ที่กายทันที

“คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ”

ยกตัวอย่างมาให้เห็น เป็นรูปธรรม

ให้ฟังที่ท่านเล่าเรื่อง ความตาย อย่าสนใจเรื่องคำเรียกต่างๆ

สภาวะหลวงพ่อเยื้อน สภาวะของท่าน สักแต่ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น ก็สักแต่ว่าผัสสะ

เกิดจากกำลังสมาธิที่มีมาก หลังจากผ่านสภาวะความตายมา กำลังสมาธิของท่านไม่เสื่อม

ท่านจึงสอนผู้อื่น ให้รู้ชัดในสภาวะอื่นๆได้ยาก ท่านสอนได้แค่แบบ ที่ท่านได้พบประสบมา

ฟังท่านเล่าเรื่อง สภาวะการปฏิบัติของท่านให้เยอะๆนะ เพราะผู้ที่มีจิตเข้าสู่โลกุตรธรรม(ตามคำเรียก)

ทุกคนต้องเจอสภาวะความตาย และสภาวะหลังผ่านความตายมา ต้องเจอเหมือนกับท่านทุกคน

ที่ไม่เจอกัน เพราะ ไปติดกับอุปกิเลส เหตุจาก สิ่งที่เกิดขึ้นในสมาธิ
เลยทำให้คิดว่า ได้อะไร เป็นอะไร

คนที่ผ่านได้ จะไม่ติดกับดักตรงนั้น แต่เขาจะรู้เหมือนกันหมด คือ
อาการใกล้ตาย ขณะตาย ขณะที่จิตออกจากร่าง มีอาการเป็นอย่างไร และไปที่ไหน จะรู้ตรงนี้เหมือนกันหมด

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น

นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ

แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เอง โดยชอบ ดังนี้.
นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.

 

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ