โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ/การกำหนดรู้ ตอนที่ 6

๖. เสขสูตรที่ ๑

[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระ
ผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่

เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น
กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย
ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก
เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย

ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบคาย
พึงบรรลุนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๖

 

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=4644&Z=4660

เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน

สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

การคิดพิจรณา จากประสพการณ์ที่เคยพบเจอ ขณะทำความเพียร

ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน

ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ

คำอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

เรื่องตรงนี้ เป็นเรื่องของ การเจริญสมถะ(สัมมาสมาธิ)และวิปัสสนาตวบคู่กัน

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตภาวนา โดยนับจาก ความดับ(คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ)
มามีรูปนาม เป็นอารมณ์(ภังคญาณ)

จึงเป็นที่มาของ คำที่เรียกว่า ญาณ ๑๔ ในปฏิสัมภิทามัคค วิปัสสนาญาณ ๙
วิปัสสนาญาณ ๑๐ อภิธัม วิปัสสนาญาณ ๑๖

ทั้งหมด เป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวข้องกัน

ความเบื่อหน่ายกับความตาย

พักนี้ก็มีฝันนะ

แต่เป็นความฝันเรื่องเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่
เห็นแล้ว รู้สึกเหนื่อยใจ ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย

ก็คิดนะ คิดว่า ยังดีนะ ที่ทำความเพียรต่อเนื่อง
ผลของการทำความเพียร ทำให้ละในเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่ได้เนืองๆ

คือ หยุด มากกว่า สานต่อ

ชีวิตเป็นของเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลมปากของใคร
ยิ่งรู้ชัด ยิ่งหยุด ความเบากาย เบาใจ ย่อมมีเกิดขึ้นเนืองๆ
สภาพธรรมต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
สุดท้าย มันก็แค่นั้นเอง

แต่มันทำให้ไม่หลง
ในสิ่งที่คิดว่ารู้ ว่าเห็น

เมื่อรู้เห็นด้วยตนเอง
แล้วเห็นว่า สิ่งที่ถูกรู้ มีอยู่จริงนะ
ความสงสัย ก็ค่อยๆจางหายไปเอง
จนกระทั่ง สิ้นสงสัย

เพราะได้ประสพพบเจอด้วยตนเอง
ด้วยการทำความเพียรต่อเนื่องนี่แหละ
ไม่ได้ไปฟังจากใครที่ไหนมา

ที่เขียนๆ ไม่เคยไปลอกของใครมา
เขียนจากสิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธินี่แหละ

เมื่อก่อนเคยหลงนะ เพราะเคยหลงมาก่อนจึงรู้
เมื่อรู้แล้วว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิคืออะไร
พอรู้แล้ว ไม่มีหลงสภาวะอีก
ก็บอกเจ้านายนะว่า

ตายเพราะขาดอากาศหายใจ ก็เคยได้ลิ้มลองมาแล้ว

ตายเพราะ หัวใจวาย ก็เคยได้ลิ้มลองมาแล้ว

ตายครั้งต่อไป(อนิจจลักขณะ) จะตายแบบไหนหนอ

เราก็คิดนะว่า หรือเป็นตะคริวตาย
เพราะชอบเป็นตะคริวบ่อยๆ

บางทีเป็นทั้งตัว ขยับตัวไม่ได้
ใช้การกำหนดรู้ช่วย อาการเป็นยังไง รู้ตามความเป็นจริง

สักพัก ตะคริวจะค่อยๆคลายตัว
จนกลับมาปกติ

ก็แค่คิดเอาเองนะ
สังเกตุจากทั้งสองครั้ง สภาวะความตายที่พบเจอมา

วลัยพรมีโรคประจำตัวคือ ภูมิแพ้
ถ้าเหนื่อยมาก จะมีอาการหอบ ต้องใช้ยาช่วย

มีความเสี่ยงหัวใจวาย(ตามหมอบอก)

สภาวะทั้งสองนี้ ห่างกันหลายปีเหมือนกันนะ
เพราะพักหลัง มีเหตุให้ไม่ได้ทำความเพียรต่อเนื่อง
แบบติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ได้ทำแบบเคร่งเครียด แต่ทำเป็นระยะๆ ตามสะดวก

แต่ที่แน่ๆคือ จากสภาวะความตายทั้งสองครั้ง ที่พบเจอมา
เป็นตัวบ่งบอกว่า จิตใต้สำนึกเกี่ยวกับความตายนั้น
เรามีความรู้สึกอย่างไร และหากถึงเวลาตายจริงๆ
รู้เลยว่า ไม่แตกต่างจากสภาวะความตายทั้งสองครั้ง
ที่ได้ประพบเจอด้วยตนเอง

คิดไปคิดมา ก็ทำให้ปีติ ความอิ่มเอิบใจ
ความสุขใจ ทั้งสมาธิ มีเกิดขึ้นทันที

ไม่สงสัยเลยว่า
จิตสุดท้าย ขณะกำลังจะหมดลมหายใจนั้น เป็นอย่างไร

ทรัพย์สินเงินทอง ไม่มีในหัวสมอง
ความห่วง ความอาลัย ไม่มีเกิดขึ้นเลย
จิตมันปลงตก เพราะเบื่อหน่ายในเหตุปัจจัยที่มีอยู่
เรื่องความตายนี่ เป็นเรื่องปกติสำหรับเราไปแล้วนะ

ทำตัวให้เหมือนความเคี้ยวเอื้อง

 
เมื่อมีสิ่งเกิดขึ้น(ผัสสะ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จงทำตัวให้เหมือนควายเคี้ยวเอื้อง เคี้ยวอย่างช้าๆ

การจะนึกคิดกระทำสิ่งใดก็ตาม คิดให้นานๆ
โดยมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้
เป็นตัวอย่าง ของการกระทำทุกๆการกระทำ

เหมือนการโพสบทความธรรมะ
ต้องมีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่า มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้จริงๆ

จึงเป็นการดำรงพระสัทธรรมไว้ได้นานเท่านาน
แสนนาน จนกว่า มีการสัทธรรมปฏิรูปบังเกิดขึ้น
พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้
จึงเริ่มเลือนลาง จางหายไป มีสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นแทน

การทำความเพียร

หากสิ่งที่พบประสพเจอมาตัวเอง จากการทำความเพียร
สิ่งที่ถูกรู้นั้นๆ ต้องตรงกับพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ทุกประการ

จงจำให้ขึ้นใจ

สำหรับผู้ที่มาแสดงความคิดเห็น ในบทความธรรมะที่วลัยพรได้โพสไว้

มีหลายๆคน ที่ได้นำข้อคิดเห็นั้นๆ ทิ้งลงถังขยะ เพราะเหตุอันใดงั้นรึ

เพราะบุคคลจำพวกนี้ หนานแน่นด้วยอวิชชา

ความรู้ที่นำมาบอกกับวลัยพร ก้ลอกเขามา และไม่ใช่พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้

ดังตัวอย่างนี้

==============================

เข้าใจผิดหรือเปล่า?
วิโมกข์ หมายถึง หลุดพ้น ไม่ใช่ ตาย ซึ่งในพระใตรปิฎก(ฉบับธรรมทาน) ปรากฏอยู่ในเล้มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตก-สุตตนิบาท หน้า ๑ ข้อ ๑ (และแล่มอื่นอื่นๆ อีกมาก) ซึ่งปรากฏความดังนี้

“[๑๗] ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีทางไกลอันถึงแล้ว ผู้มีความโศกปราศไปแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ผู้มีกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงอันละได้แล้ว ท่านผู้มีสติย่อมขวนขวายท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนหงส์สละเปือกตมไป ฉะนั้น ชนเหล่าใดไม่มีการสั่งสมมีโภชนะอันกำหนดแล้ว มีสุญญตวิโมกข์ …”

ส่วนที่ท่านกล่าวในรายละเอียดนั้นเป็น “ชนกกรรม”(กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ซึ่งก่อนหมดลมหายใจจะปรากฏนิมิตที่เป็น “คติ” ของเขาเมื่อหมดลมหายใจ

ที่ให้ความเห็นมาก็เพื่อให้เจ้เาใจได้ถูกต้อง หากไม่เป็นประโยขน์ก็ลบออกเสีย

===================================

เข้ามาอ่านกัน แต่สักว่าอ่าน เรื่อง ความหลุดพ้น ก็เคยนำมาโพสไว้แล้วว่า หลุดพ้นจากกิเลส ที่มีเกิดขึ้นในใจตน

ซึ่งเป็นการนำ พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับความหลุดพ้น

ต้องหมั่นฝึกตนให้มากๆ

เมื่อยังไม่แน่ใจอะไรที่แน่ชัด

จงมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นที่พึ่งที่อาศัย

จงมีตนเป็นประทีป เป็นที่พึ่งที่เกาะ
โดยการรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ

เวลาคิดทำสิ่งใด จะได้มีสติระลึกถึงคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรสไว้
จะได้มีเวลาคิดพิจรณาว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

ไม่ใช่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
โดยการประมาณในบุคคลอื่น ทำนองว่า ต้องเป็นอย่างงั้น อย่างงี้
ตามสิ่งที่ตนคิดว่าเป็น คิดว่าใช่ ในความเห็นของๆตน

ขนาด เวทนา ตัณหา อุปทาน ที่มีเกิดขึ้นในใจตน ยังไม่รู้เท่าทัน
นับประสาอะไรกับการทำนายทายทักผู้อื่นว่า จะต้องเป็นอย่างงั้น อย่างงี้

แทนที่จะเพียรละ โดยการกำหนดรู้ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา อุปทาน
กลับปล่อยใจ ปล่อยกาย ให้กระทำตามความทะยานอยาก
จึงกลายเป็น การสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก

คำที่ควรกล่าว

เมื่อเห็นผู้ใด โพสสิ่งใดก็ตาม
หากมีข้อสงสัยว่า มีอยู่ในพระธรรมคำสอนไหม

ควรจะใช้คำพูดในการถามว่า
บทความที่โพสนี้ มีอยู่ในพระธรรมคำสอนมั๊ย
หากมี ช่วยนำมาลงให้อ่านหน่อย

ผู้ฝึกตน ฝึกเพื่อละ สละออก
ไม่ใช่ฝึกเพื่อเอาเข้าหาตัว

ความมี ความเป็นอะไรๆในสิ่งที่คนกันเอาเองว่า ตนมี หรือตนเป็น
มันเป็นเพียงแค่สัญญา ไม่สามารถนำไปกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้หรอก

หากนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้
คงไม่มาใช้คำพูดเที่ยวประมาณในบุคคลอื่น

สัญญา ที่เกิดขึ้น หากอโยนิโสมนสิการ
ย่อมไม่สามารถนำสัญญาหรือความรู้ต่างๆ ที่คิดเอาเองว่าเป็นปัญญา
เมื่อนำมาเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ย่อมไม่สามารถทำได้

เพราะอะไรน่ะรึ
เหตุปัจจัยจาก ความสำคัญมั่นหมาย ในสิ่งที่ตนคิดว่ารู้
ความสำคัญมั่นหมาย ว่าตนเข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ในสมุมมติ

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ความไม่รู้ชัดใน “ผัสสะ” ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ย่อมหลงกระทำตาม เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(ความรู้สึกนึกคิด) ที่มีเกิดขึ้น

 

จิตหลุดพ้นโดยชอบ

 

 

ผัสสะ/สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะๆๆๆๆ
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

การกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่กำลังมีเกิดขึ้น
(ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางกาย วาจา)

 

จิตหลุดพ้นโดยชอบ หมายถึง หลุดพ้นจากกิเลสที่มีเกิดขึ้นในใจ เมื่อกิเลสครอบงำไม่ได้ ย่อมไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นปัจจัย

 

 ผัสสะ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อ  ภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

จบมหาวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

 

 

วิโมกฺขมุข

 

สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข

 

ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

ถ้ายังไม่ทำกาละ เป็นเรื่องของ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน

ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ

พฤศจิกายน 2016
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

คลังเก็บ