พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

เจาะลึก พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ

.

เริ่มจับทาง พระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
มีลักษณะเด่นเฉพาะว่าอย่างไร

หรือจะเป็นผู้ไม่ได้ฌาน หลุดพ้นด้วยปัญญาล้วนๆ
ตามที่มีนำมากล่าวอ้างในปัจจุบัน

.

วันนี้มีเหตุให้ เจอพระสูตร ที่เกี่ยวพระอรหันต์ ๔ ประเภท
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ในปวารณาสูตรที่ ๗

พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป
ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด

บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้

ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖

อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ

ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ ฯ

.
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=6170&Z=6223

.

ขณะกำลังเขียนๆอยู่
สภาวะต่างๆในอดีต วิโมกข์ ๘ ที่เคยมีเกิดขึ้นมาแล้ว
และมีเหตุปัจจัยให้ วิโมกข์ ๘ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ได้ลิ้มรสชาติที่เรียกว่า จิตที่ไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต
ความรู้สึกต่างๆ(กิเลส) รู้เห็นเด่นชัดมาก

เป็นครั้งแรกในชีวิต ที่รู้จักกับคำที่เรียกว่า กิเลส
ที่ว่า กิเลสนั้น มีลักษณะอาการเกิดขึ้นอย่างไร

ครั้งแรกที่สัมผัส ความคมชัดของ ความรู้สึกนึกคิด
ที่มักเขียนถึงประจำว่า ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น คมชัดมาก
ตอนนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก ทุกข์อย่างสาหัส
ความรู้สึกเสียดายกำลังสมาธิ ที่เคยมีเกิดขึ้นมากมายมหาศาล
ความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าชอนไชไปทั่วร่างกาย ทุกรูขุมขน
ที่เคยมีตอนจิตเป็นสมาธิ ที่มีโอภาสสว่างจ้า สว่างมากๆ

ช่วงนั้น รู้สึกเป็นทุกข์มาก โหยหาสภาวะเก่าๆมาก
ทุกสิ่งที่เคยเกิดขึ้น สักแต่ว่า หายไปหมดเกลี้ยง

นี่แหละ อวิชชา

ซึ่งในตอนนั้น ยังไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว
เกี่ยวกับคำเรียกต่างๆ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ความไม่รู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต
ความชอบใจ ไม่ชอบใจที่มีเกิดขึ้น

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหา เป็นเหตุ อยากให้สภาวะเดิมๆ(วิโมกข์ ๘) กลับมา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เมื่อความอยากให้กำลังสมาธิที่เคยมีอยู่(วิโมกข์ ๘) กลับคืนมา

เพราะถือมั่น(อุปทาน) จึงเป็นทุกข์

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
มโนกรรมย่อมเกิด กล่าวโทษนั่นนี่ละ
ถ้าไม่ทำแบบนั้น(ถูกถ่ายเทสมาธิผ่านการพูดคุย)
สมาธิคงไม่หายไปหมดเกลี้ยงแบบนี้

คือ แค่กล่าวโทษนอกตัว
แต่ไม่มีการด่าทอหรือกล่าวคำสาปแช่ง
ไม่มีใจประทุษร้ายต่อผู้นั้น

.

เรื่อง สมาธิที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิโมกข์ ๘ ถึงจะเป็นสัมมาสมาธิก็ตาม
สามารถเสื่อมหายไปหมดสิ้นได้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น
(เคยมีเกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต)

คือ เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน
นิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท
อริยสัจ ๔

และเป็นปัจจัยให้รู้ชัดใน ผัสสะ
จึงเป็นปัจจัยให้ รู้ชัดใน

อริยสัจ ๔-ผัสสะ
อริยสัจ ๔-ปฏิจจสมุปบาท

และรู้ชัดในปัจจเวกขณญาณ ในที่สุด

นี่แหละที่เรียกว่า ปัญญาวิมุติ
เพราะรู้ชัดในวิญญาณ ฐีติ ๗และอายตนะ ๘

หากไม่เคยหยั่งลงหรือไม่เคยสัมผัส(กายสักขี) วิโมกข์ ๘ มาก่อน
จะมารู้ชัดในวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ จะเป็นไปได้อย่างไร
ลองคิดพิจรณากันเองแล้วกัน

.

สำหรับเรื่องนี้

“ผู้ได้วิโมกข์ 8 เมื่อตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธานุสารี หรือ ธัมมานุสารี อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต่อจากนั้นเป็นกายสักขี เมื่อสำเร็จอรหัตตผล เป็น อุภโตภาควิมุต”

ตรงนี้เป็นเรื่องเหตุปัจจัย ไม่เหมือนกันหมดทุกคน
ดูจากตัวเองเป็นตัวอย่าง

.
ตอนที่เกิดสภาวะ วิโมกข์ ๓(จิตดวงสุดท้าย) ครั้งแรก
ตอนนั้น สมาธิยังไม่เสื่อม
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น สักแต่ว่า
เหมือนหุ่นยนต์ ไร้ความรู้สึก
เข้านิโรธสมาบัติได้
(เรื่องสมาธิที่เขียนมาตลอด
เป็นสภาวะที่รู้ชัดจากการทำความเพียร
ไม่เคยลอกของใครมา)

เรียกว่า วิโมกข์ ๘ มีเกิดขึ้นครบถ้วนกระบวนความ
ไม่มีขาดไปแม้สักส่วนเดียว

ตอนนั้นหลงนะ หลงคิดว่า เป็นอรหันต์
ก็ความรู้สึกใดๆ ไม่มีเกิดขึ้นสักนิด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น กระทบปั๊บ ดับทันที
สักแต่ว่า สิ่งที่มีเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

.
ขนาดร่างกายที่เคยคิดว่า เป็นของตัวเองแท้ๆ
เวลาสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิด
(สภาวะนี้ เราตั้งฉายาเองว่า สภาวะ หุ่นยนต์
สามาถมีเกิดขึ้นได้ทุกอิริยาบท)

ร่างกายสักแต่ว่าร่างกาย บังคับให้ทำอะไรไม่ได้เลย
มันเป็นอัตโนมัติของมันเอง ควบคุมไม่ได้

ขับๆมอไซค์อยู่ เวลาสภาวะนี้กิด
รถเกือบคว่ำนะ ต้องค่อยๆประคองให้รถหยุด ไม่ขับต่อ
ความรู้สึกตอนนั้น ส่วนต่างๆของร่างกาย เริ่มบังคับไม่ได้
ทุกอย่าง สักแต่ว่า ต้องอยู่นิ่งๆ ปล่อยให้สภาวะนั้นดำเนินต่อไป
จนกระทั่งสมาธิคลายตัว ร่างกายจึงกลับมาปกติ ใช้งานได้ปกติ
หุห ช่วงนั้น ไปทำงานสายตลอด
เพราะต้องจอดรถเป็นระยะๆ

.

นึกถึงทีไร โอ๊ย!!!! ในความโชคร้าย(สมาธิเสื่อม)
มีความโชคดีเกิดขึ้นแทน(หลุดจากความหลง)
แหม่ อรหันต์ เกือบไปแล้ว

.

เกี่ยวกับพระอรหันต์ ประเภทปัญญาวิมุติ
คงจะมีสภาวะแบบที่เราเคยเจอมานี่แหละ

ทำไมจึงพูดแบบนี้
เพราะดูจาก ปัญญาวิมุติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับปัญญาวิมุติว่า

“อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ”

กิเลส

ถ้าเป็นนายกิเลส ภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร ย่อมสั้นลง
เพราะรู้จักใช้กิเลสที่มีอยู่ ให้ถูกทางในการกระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

ถ้าเป็นทาสกิเลส ภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร ย่อมเนิ่นนาน
เพราะ ถูกกิเลสครอบงำ บดบังสภาวะ ไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง

เมื่อไม่เห็น ย่อมเป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิดการสร้างเหตุ
ของการเกิดภพชาติใหม่ เกิดขึ้นเนืองๆ

ภพชาติการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร
จึงเนิ่นนานเพราะเหตุนี้

โยนิโสมนสิการ

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ

รู้แต่เพียงว่า สิ้นไป ในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.

 

หมายเหตุ:

ที่พระองค์ ทรงตรัสสอนแบบนี้ เพราะเหตุว่า ตราบใด ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อวิชชา ยังไม่ถูกทำลายจนหมดสิ้น เหตุของการเกิด ย่อมยังมีอยู่

จึงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น โดยใช้หลัก โยนิโสมนสิการ ได้แก่

ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าใส่อะไรๆ ลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้น

เพราะ เมื่อใส่อะไรๆลงไป ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเหตุให้ สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่ใส่อะไรๆ ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สิ่งที่เกิดขึ้น ดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย คือ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ