มานะ

ว่าด้วยมานะลักษณะต่างๆ
[๘๒๙] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ
คือ มานะอย่างหนึ่งได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต.

มานะ ๓ อย่าง
ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑
มานะว่าเราเสมอเขา ๑
มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑.

มานะ ๔ อย่าง
ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑
ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑
ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑
ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑.

มานะ ๕ อย่าง
ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่าเราได้รสที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑.

มานะ ๖ อย่าง
ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑.

มานะ ๗ อย่าง
ได้แก่ความถือตัว ๑
ความดูหมิ่น ๑
ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑
ความถือตัวต่ำ ๑
ความถือตัวสูง ๑
ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑
ความถือตัวผิด ๑.

มานะ ๘ อย่าง
ได้แก่บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์.

มานะ ๙ อย่าง
ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑
มานะว่า เราเสมอกับคนที่ดี ๑
มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑
มานะว่า เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑
มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑
มานะว่าเราเลวกว่าผู้เลว.

มานะ ๑๐ อย่าง
ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ
เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว
ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น
มานะดังว่าธงไชย มานะอันประคองจิตไว้
ความที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้
นี้เรียกว่า มานะ.

คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ
ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓
คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญาเป็นไฉน?
นรชนย่อมรู้จักมานะ
คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง
ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิตเป็นมานะ ๒ อย่าง
ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯลฯ นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง
ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิด
เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง
นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญาเป็นไฉน?
นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ
โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์
นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน?
นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว
ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมานะ
นี้ชื่อว่าปหานปริญญา.

คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ
คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพึงกำหนดรู้มานะ.

= อธิบาย =

มานะ
เกิดจาก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหา ๓ เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

ลักษณะอาการมานะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น
เกิดจาก

สักกายทิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิิ
อัตตวาทุปาทาน

สักกายทิฏฐิ เกิดจากกามตัณหา
อัตตานุทิฏฐิิ เกิดจากภวตัณหา
อัตตวาทุปาทาน เกิดจากวิภวตัณหา

อัตตาวาทุปาทาน

๗. เขมสุมนสูตร

ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
คนที่ดีกว่าเราไม่มี
คนที่เสมอเราไม่มี
หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี
ท่านพระสุมนะได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย
ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัยเรา
จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว หลีกไป

ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป

ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
เขาเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ

พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ ฯ

.

หมายเหตุ;

คำว่า ย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง ฯ
ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

.

คำว่า โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล
ได้แก่ อวิชชาที่มีอยู่

.

คำว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
ได้แก่ ละมานะ เกิดจากละวาทะเราเป็น ตนเป็น เขาเป็น

เมื่อละอัตตาวาทุปาทานได้
ย่อมไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน
เพราะรู้ชัดประจักษ์แจ้งว่า ทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้น มีแต่เรื่องขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕

มานะกิเลส

ถูกใจ

มานะ เป็นกิเลสในใจตน, กิเลสอย่างละเอียด. กิเลสในชั้นนี้ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น

ถ้ามีตัวเรา มีตัวเขา, สิ่งนั้นไม่ใช่มานะ แต่มันคือ สักกายทิฎฐิ

ทันทีที่เรารู้สึกว่า เราเก่งกว่าเขา, เรามีฌาณวิเศษกว่าเขา หรืออะไรๆ ที่ มากกว่าเขา น้อยกว่าเขา, สิ่งนั้นไม่ใช่มานะ แต่เป็น สักกายทิฎฐิ

มานะ คือการเห็นว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่, เราเป็นพระ, เราเป็นอุบาสก อุบาสิกา, เราเป็นผู้ชาย ผู้หญิง ฯลฯ

อนึ่ง การสำคัญว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่, ไม่เกี่ยวกับการเห็นว่า เราทำอะไรได้หรือไม่ได้

สังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
ทั้ง 5 ประการ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น

หมายเหตุ:

การศึกษาปริยัติ มีได้หลายทาง ข้อเขียนนี้ คุณmurano เป็นผู้เขียนไว้

กูรู้ – รู้กู

เหตุของการเกิด อันดับแรก ได้แก่ ทิฏฐิกิเลส

ซึ่งมีผัสสะ/สิ่งที่มากระทบ/สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นปทัฏฐาน/เป็นเหตุปัจจัย

ทิฏฐิกิเลส/สักกายะทิฏฐิ มีการประพฤติออกทางด้าน วจีกรรมและกายกรรม

การกระทำภายนอก เป็นการแสดงออก ที่สามารถ จะหยุดพฤติกรรมนั้นๆได้

มานะกิเลส มีการประพฤติแสดงออกทางด้าน มโนกรรม

มโนกรรม เป็นความคิด ที่ไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถกดข่มสิ่งที่เกิดจากความยินดีและยินร้ายที่ยังมีอยู่

ตราบ ใดที่ยังมีกิเลส การห้ามไม่ให้คิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกดข่มความคิดที่ไม่ต้องการ ให้หยุดคิดได้ ชั่วครั้งชั่วคราว หรือสามารถกดข่มด้วยอำนาจของสมาธิ หรือใช้วิธีหลีกเลี่ยง โดยการหักเหความสนใจไปจุดอื่นๆแทน

กูรู้

เห็นแต่กูรู้ จึงมีแต่ “กูรู้”

รู้กู

เห็นรู้กู ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่แตกต่างกัน

ทางแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก ที่แตกแยก เพราะ กูรู้ แต่ยังไม่รู้กู

เมื่อใดที่เห็นต่าง นั่นแหละ “กู” ที่เข้าไปรู้

เหตุจาก ชอบเอา “กู” ไปรู้

ผล คือ ไม่รู้ “กู” สักที

เหตุมี ผลย่อมมี เมื่อถึงเวลา ถึงเหตุปัจจัย ย่อมรู้ “กู” เหมือนๆกันหมด

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ