อุทยัพพยญาณ

อุทยัพพยญาณ
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นได้แก่ ยถาภูตญาณ

ลักษณะที่มีเกิดขึ้นคือ รู้ชัดผัสสะ เวทนา
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง

สีลสูตร
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ


๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทา วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละความกำหนัด
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

อย่าสำคัญผิด

เมื่อเกิดสภาวะนี้ เห็นความเกิดดับของรูปนาม ชัดเจนแจ่มแจ้ง
ปราศจากการจำตามตำรา ปราศจาก การนึกคิดค้นเดาใดๆ ทั้งสิ้น
เกิดขึ้นใน ขณะปัจจุบัน เท่านั้น

เช่น เมื่อผัสสะเกิด(ตากระทบรูป) เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย
ขณะที่เรากำหนดรูปนามทางตา โดยภาวนาว่า “เห็นหนอๆ”
หรือกำหนดรู้หนอติดต่อกันไป จนกว่าเหตุจะจบสิ้น

สันตติ คือ ความสืบต่อของรูปนาม จะขาดลง
เมื่อสติ สมาธิ สัมปชัญญะ ของผู้นั้นแก่กล้าสามารถ
จะรู้ความเกิดขึ้น และดับไป ของรูปนามได้ดีทีเดียว
และรู้ได้เฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติเท่านั้น

บางครั้ง ขณะที่กำหนดรู้อยู่นั้น อาจจะมีแสงส่วางเกิดขึ้นร่วมด้วย
เหตุเพราะ ถ้าสมาธิมีกำลังมาก จะเกิดแสงสว่างจ้า
ส่วนสว่างมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

เมื่อมีสภาวะแบบนี้เกิดขึ้น อย่าไปสำคัญผิด
คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร หรือเรียกว่า ญาณใดๆก็ตาม

สภาวะที่เกิดแบบนี้ เป็นสภาวะปกติ ของผู้ที่รู้ชัดอยู่ในกาย
ขณะผัสสะเกิด อาจจะมีแสงสว่าง(โอภาส) เกิดขึ้นได้ เป็นเรื่องปกติของกำลังสมาธิที่เกิดขึ้น

ฉะนั้น เวลาพบเจอสภาวะเช่นนี้ อย่าไปตื่นเต้นดีใจ
คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร เพราะ เป็นเรื่องปกติของสภาวะ

อุทยัพยยญาณ

ไตรลักษณ์ ประตูทางเข้าของอริสัจจ์

สังขารุเปกขาญาณ ประตูทางเข้าของพระนิพพาน

สภาวะของจุตตถฌานกับสังขารุเปกฯ ๒ สภาวะนี่อธิบายได้ง่ายมากๆ สามารถจับแยกสภาวะออกจากกันให้เห็นได้ชัดเจน ถ้าไม่เคยผ่านฌานมาก่อน จะอธิบายสภาวะทั้งสองให้เห็นแตกต่างได้ยาก

เพราะทั้งสองมีสภาวะที่เหมือนกันคือ สภาวะอุเบกขา เพียงแต่แตกต่างกันที่เหตุของการเกิดสภาวะอุเบกขา

ญาณแต่ละญาณ จะเป็นทางเข้าของสภาวะแต่ละสภาวะ แม้กระทั่งสภาวะของอริยสัจ ๔ และพระนิพพานก็ไม่มีข้อยกเว้น

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงกล่าวยกย่องจตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิไว้เพราะเหตุนี้ ไม่มีใครไม่ได้ฌานยามที่ผ่านแต่ละประตู ต้องอาศัยกำลังแห่งสมาธิในองค์ฌาน

เหตุเน้นเรื่องการเจริญสติเพราะเหตุนี้ เพราะการเจริญสติให้ผลทั้งสมถะและวิปัสสนา คือได้ทั้งสติ สัมปชัญญะ( สัมมาสติ ) และสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ เน้นสภาวะยืนกับนั่งให้ทำติดไว้เป็นหลักเพราะเหตุนี้ ส่วนจะทำมากหรือน้อยแล้วแต่เหตุ

ส่วนใครไม่ชอบยืนหรือนั่งไม่เป็นไร ให้ทำในแบบที่ตัวเองชอบหรือทำแล้วถนัด ให้ทำแบบนั้นไปก่อน จนจิตสามารถตั้งมั่นได้ เพราะยังไงก็ตาม สุดท้ายหนีไม่พ้น ยืนกับนั่ง จะเป็นไปตามสภาวะเอง

เพียงแต่แรกเริ่มนั้น ทำไปตามเหตุของแต่ละคนที่เคยกระทำมา ทำแบบนั้นไปก่อน เรียกว่าทำตามกิเลส ( ความชอบ )

หนังสือหรือตำรา ที่นำมาใช้ในการหาความรู้เกี่ยวกับคำบัญญติในสภาวะต่างๆ ได้นำมามารวมๆกัน จุดเด่นของแต่ละตำราไม่เหมือนกัน

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่รจนาโดยพระพุทธโฆสเถระ ท่านย่อสภาวะเหลือนิดเดียว เรียกว่าถ้ายังไม่เห็นสภาวะตามความเป็นจริง อ่านของท่านแล้วเข้าใจได้ยาก ได้แต่คาดเดาเอาเท่านั้นเอง เพราะท่านเขียนไว้แค่เรื่องเกิดดับ แต่ไม่แจงรายละเอียดของสภาวะ มีแต่แจงรายละเอียดที่เป็นบัญญัติเอาไว้ สภาวะท่านเขียนไว้เพียงว่า

อุทยัพพยญาณ ได้เห็นแล้วซึ่งความเกิดขึ้นและดับไปของธรรมทั้งหลาย ที่มีความเกิดและความดับอยู่เป็นปกตินั่นแลหนอ

( สภาวะนี้เป็นประตูทางเข้าของอริยสัจจ์ โดยมีกำลังของฌานเป็นบาท จึงจะเห็นสภาวะอริยสัจจ์ตามความเป็นจริงได้ จะนำรายละเอียดของสภาวะมาแสดงในครั้งต่อไป )

วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ ท่านอธิบายทั้งบัญญัติและสภาวะไว้เยอะมาก ซึ่งได้นำสภาวะทั้งสองท่านมารวมเป็นในแบบของเรา

ซึ่งถ้าให้เราเขียนเอง เขียนไม่ได้แบบนี้หรอก เราไม่มีความรู้ทางด้านปริยัติ รู้แต่สภาวะ

ส่วนตำราของหลวงพ่อโชดก นำมาใช้เป็นบางส่วน เพราะส่วนมากถ้าคนที่ยังไม่เห็นแจ้งในสภาวะ อ่านแล้วอาจเป็นเหตุให้เกิดการคาดเดาสภาวะเอาเอง เราเลยนำมาเป็นบางส่วน เช่น นามรูปริจเฉทญาณ ๑ ปัจจยปริคหญาณ ๒

สัมมาสนญาณ ๓ ทั้ง ๓ ญาณนี้เป็นเพียงสภาวะของบัญญัติ ใช้การน้อมเอา คิดเอาเองได้ อาจจะเกิดจากการอ่าน จากการฟัง จากคนอื่นๆบอกอีกที ไม่ใช่รู้ด้วยตัวเอง ทั้ง ๓ ตำราจะเขียนตรงกันหมด

แก้ไข 21 พค. 65

ปัจจุบัน ความรู้ความเห็นเปลี่ยนไป
ตัดทิ้งไปได้เรื่องญาณ ๑๖ มาเขียนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับการได้มรรคผลตามจริง
อ่านที่เขียนในปัจจุบัน

https://walailoo2010.wordpress.com/

ทบทวนสภาวะ

 
สภาวะสอนอะไรให้กับเราหลายๆอย่าง ทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นมามากขึ้น
เห็นรายละเอียดหลายๆอย่าง ที่เราอาจจะเคยมองข้ามๆไป
คือรู้ เห็น แต่อาจจะมองข้าม ไม่ได้ใส่ใจอะไร
 
การผ่านสภาวะแต่ละสภาวะทำให้เราสำรวมอายตนะมากขึ้นเรื่อยๆ
มีสติรู้อยู่กับกายและจิตมากขึ้นเรื่อยๆ ใส่ใจข้างนอกน้อยลง
 
ฟังเพลงไปด้วยกัน ระหว่างเขียนบันทึก วันนี้รู้สึกบอกไม่ถูก
 
เป็นคนชอบฟังเพลงสากล มันเหมือนกับสภาวะที่เกิดขึ้นกับตัวเรา
ถ้าเราไม่ไปให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่มากระทบ เหตุใหม่ย่อมไม่เกิด
เพราะเราไปให้ค่าให้ควาหมายกับตัวสมมุติ กับตัวบัญญัติต่างๆ
ปัญหาหรือเหตุ ถึงได้มีเกิดขึ้นเนืองๆ
 
นี่คือ เรา ไม่ใช่คนอื่น
ใครเขาจะคิดว่าเรานั้นเป็นอย่างไร นั่นคือ ความคิดของเขา
แต่เราต้องเอาสติ สัมปชัญญะกลับมารู้กับกายและจิตของเราให้บ่อยๆ
เพื่อจะได้เห็นรายละเอียดของสภาวะมากขึ้น รู้เท่าทันสภาวะที่เกิดมากขึ้น
 
ความเป็นจริงที่เห็นชัดมากขึ้นคือ ใครจะเป็นอะไร เรื่องของเขา
ใครปฏิบัติอย่างไร เรื่องของเขา  ผู้แนะนำเขาเป็นอย่างไร เรื่องของเขา
ใครจะกางตำราสอนหรือจะอย่างไร นั่นก็เรื่องของเขา
ใครจะคิดอะไรยังไงเกี่ยวกับตัวเรา นั่นก็เรื่องของเขา
เหตุมี ผลย่อมมี มันเป็นสัจธรรมอยู่แล้ว
 
หน้าที่เราคือ รู้อยู่กับกายและจิต ทำในสิ่งที่สมควรทำ
อะไรที่ยังทำไม่เสร็จ ให้ทำให้เสร็จ งานของเรามี หน้าที่ของเรามี
เราเพียงตั้งใจทำงานที่เราทำอยู่นั้นให้ลุล่วงและสำเร็จพอแล้ว
นับวัน เรานับถอยหลังในการใช้ชีวิตตลอดเวลา
เวลาในชีวิตของเรานั้น ไม่รู้จะหมดลงเมื่อไหร่ เราควรตักตวงเวลาที่เหลืออยู่
 
ในแง่ของการปฏิบัติ นับวันทำเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ไปแบบสบายๆ รู้อยู่กับกายและจิตได้เรื่อยๆ บางครั้งไม่ทัน
ก็ปรับเปลี่ยนอริยาบทปเรื่อยๆ
ใช้ให้ถูกต้อง ถูกทาง และใช้ให้คุ้มค่าทุกวินาทีที่ผ่านไป
 
 
ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น นับวันเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ไม่เร่ง ไม่รีบ แต่ทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง
 
วันนี้สะสมหน่วยกิตไปได้อีก 6 ชม.
ช่วงเช้า ระหว่างนั่ง เหมือนมีกระแสไฟไหลผ่านอีกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า
รู้สึกถึงกระแสไฟได้ชัดมากๆ เหมือนโดนไฟดูดอ่อนๆ
 
เดี๋ยวนี้ มีอาการเสียวๆฝ่าเท้าตลอด ถึงแม้จะไม่เดินจงกรมก็ตาม
ความรู้สึกที่ฝ่าเท้าจะชัดกว่าเมื่อก่อนมากๆ เห็นสันตติขาดบ่อยมากขึ้น
นั่นบ่งบอกถึง การพัฒนาในด้าน สติ สัมปชัญญะที่มีมากขึ้น
 
เมื่อมีสัปชญญะมากขึ้น ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงเริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
มีความสุขนะ  แม้กระทั่งนั่งพักในสมาธิ บ่อยครั้งเจอสุข และโอภาสทำงานพร้อมๆกัน
เรารู้สึกเหมือนถูกโอบล้อมเอาไว้ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย
ตรงนี้เราทำหลังจากนั่งสมาธิเรียบร้อยแล้ว
 
คือ พอนั่งสมาธิเรียบร้อย เราจะเดินไปนั่งที่โซฟาต่อ แล้วหลับตาลง
จิตจะเข้าสู่สมาธิได้ทันที โอภาสจะสว่างทันที
บางครั้งเข้าสู่ฌาน 4 ได้ทันที บางครั้งถอยมาที่ฌาน 3 มีแต่สุข
ทุกอย่างจะแยกการทำงานออกเป็นส่วนๆ ไม่มาปะปนกัน
 
ความคิดบางครั้งมี ก็ส่วนความคิด  โอภาสส่วนโอภาส สุขส่วนสุข
เห้นการเคลื่อนไหวของกายแบบชัดเจนดี บางครั้งจับได้เบาๆไม่ชัด
ลมหายใจเบาบ้าง แรงบ้าง จับได้บ้างไม่ได้บ้าง นั่งดูแบบนี้ไปเรื่อยๆ
บางครั้งสติไม่ทับ มันจะวูบหายไป ก็ปล่อยนะ เพราะเวลาสมาธิเขาคลาย
ก็จะกลับมารู้ที่กายได้เหมือนเดิม ก็จะนั่งเล่นสมาธิแบบนี้ใช้เวลาไม่แน่ไม่นอน
วันนี้นั่งเล่นไป 2 ชม. เมื่อวานนั่งได้ 3 ชม. แต่ละวันนั่งไม่เท่ากัน
แล้วแต่กำลังของสมาธิว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน ถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีมากๆ
 
เราถึงได้คิดไปหาซื้อโซฟาแบบที่ห้องทำงานของเรา
เราจะได้เอาไว้นั่งพักเวลากลางคืน เราไม่อยากนอนยาว นอนแล้วชอบดิ่ง
นั่งแบบนี้เรากำหนดเวลาได้ว่าจะอยู่กี่ชม. หรือจะปล่อยไปเรื่อยๆก็ได้ 

เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว คงคานที ปาจีนนนฺนา

 
" จตฺตาโรเม ภิกฺขุเว สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา เอกนฺตนิพฺพิทาย
วิราคย นิโรธาย อุปสมาย อภญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพิทาย สวตฺตติ
"

:b44: ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
บุคคลที่เจริญปฏิบัติเต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพราะพระนิพพานโดยส่วนเดียว

" เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว คงคานที ปาจีนนนฺนา ปาจีนโปณา ปาจีนปพฺภารา เอวเมว โข ภิกฺขเว
จตฺตาโร สติปฏฐาเน ภาเวนฺโต สติปฏฐานเน พหุลีกโรนฺโต นิพฺพานนินฺโน โหติ
นิพฺพานโปโณ นิพฺพานปพฺภาโร
"

:b44: " ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย แม่น้ำคงคาย่อมไหลไปหลั่งไป สู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ผู้เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ปฏิบัติบัติตามสติปัฏฐานทั้ง ๔ เต็มที่แล้ว ย่อมน้อมไป
โน้มไป เงื้อมไปสู่นิพพานฉันนั้นนั่นแล "

:b39: ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ลอยมา จึงตรัสแก่เหล่าสาวกว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ขอนไม้นี้ ถ้าไม่ติดฝั่งนี้ ติดฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดค้างอยู่บนบก
ไม่ถูกมนุษย์ลากเอาไว้ ไม่ถูกอมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดลงไป ไม่ผุข้างใน
ก็จะลอยไปจนถึงทะเลหลวง เพราะกระแสน้ำมีกำลังเชี่ยว ข้อนี้ฉันใด

เมื่อบุคคลไม่ติดฝั่งนี้ ไม่ติดฝั่งโน้น ไม่จมลงท่ามกลาง ไม่ติดค้างอยู่บนบก
ไม่ถูกมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกอมนุษยลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกน้ำวนดูดลงไป ไม่ผุข้างใน
ก็ไหลไปสู่นิพพานเหมือนกัน เพราะสัมมาทิฏฐิมีกำลังแรงกล้าดังนี้ "

ฝั่งนี้ คือ อายตะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ฝั่งโน้น คือ อายตะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

จมลงในท่ามกลาง ได้แก่ ระหว่างตากับรูปกระทบกัน เช่น
เห็นรูปแล้วชอบใจ โลภะเกิดขึ้น
เห็นรูปแล้วไม่ดีไม่ชอบใจ โทสะเกิดขึ้น
เห็นแล้วไม่มีสติกำหนดรู้ โมหะเกิดขึ้น
อย่างนี้ซึ่งเรียกว่า จมลงในท่ามกลางระหว่าง อายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน
จมลงเพราะ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง

ติดค้างอยู่บนบก ได้แก่ ความเป็นคนมีทิฏฐิมานะ ( อัสมินานะ )

ถูกมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ได้แก่ คบหาสมาคมกับบุคคลไม่ดี แล้วก็เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา

ถูกอมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ได้แก่ มีความปรารถนาติดอยู่แค่กามาวจรภูมิเท่านั้น ไม่ต้องการให้ได้บรรลุมรรค
ผล นิพพาน หรือ ผู้มีเจตนาประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อไปเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง หรือ
อยากเป็นแค่เทวดา และ พรหม ติดในอิทธิฤทธิ์ ไม่มุ่งนิพพาน

ถูกน้ำวนดูดลงไป ได้แก่ ถูกกามคุณ ๕ ดูดลงไป

ผุข้างใน ได้แก่ ความเป็นผู้ประพฤติผิดศิลธรรม

" เอวเมว ภิกฺขเว อยํ อตฺตภาโว นาม ภิชฺชนตฺเถน อถาวรตฺเถน กุลาลภาชนสทิโส "

:b48: ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย อัตตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันกับภาชนะดินโดยแท้
เพราะต้องแตกสลายไปและไม่ถาวรมั่นคงอะไรเลย

" กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมิทํ จตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเธถ มารํ
ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา
"

:b40: บัณฑิตรู้จักกายนี้ว่า เปรียบเหมือนหม้อ พึงกั้นจิตไว้ให้ดี เหมือนบุคคลกั้นพระนคร
ฉะนั้น พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา ครั้นแล้วพึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะนั้นไว้ให้ดี
และอย่าให้ติดอยู่เพียงแค่นี้

คำว่ารู้จักกายนี้ ได้แก่ รู้จักกายด้วยการปฏิบัติ คอ รู้จักกายของเรานี้ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ มี
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ว่าเปรียบเหมือนกันกับหม้อที่เขาปั้นด้วยดิน
จะเป็นหม้อขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ทั้งสุก ทั้งดิบ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด
ด้วยกันทั้งนั้น ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของคนเรา ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา
ล้วนมีความแตกดับด้วยกันทั้งนั้น

โดยใจความแล้วได้แก่ รู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ผู้ที่จะรู้อย่างนี้ได้ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นต้นไป เมื่อถึงญาณนี้แล้ว
จะรู้เองว่า รูป นาม นี้ ดับไปตรงไหน เมื่อไร ขณะไหน โดยไม่ต้องไปถามใครอีก
" รู้แจ้ง " ชัด ด้วยการปฏิบัติกรรมฐานของตนเอง

เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

อาการสำรวมจิตมี ๓ อย่าง

๑. สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง
ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าปรารถนา

๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะ และกายคตาสติ
หรืออันยังใจให้สลดคือ มรณสติ

๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจรณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานให้เห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ กล่าวคือ ตัณหา ความทะยานอยาก
ราคะ ความกำหนัด อรติ ความขึ้งเคียดเป็นอาทิ จัดว่าเป็นมาร เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดี
และทำให้เสียคน

วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ
จัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดแห่งมาร

บ่วงแห่งมารนี้ ผู้ที่สำรวมระวังจิตด้วยวิธีทั้ง ๓ วิธีดังกล่าวแล้ว
จึงจะสามารถหลุดพ้นจากอำนาจของมันได้

วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆส พาลมิคนิเสวิตํ เสเว เสนาสนํ ภิกฺขุ ปฏิสลฺลาน การณา

นักปฏิบัติธรรมพึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงกึกก้องเป็นที่อยู่อาศัยแห่งพาล มฤค ทั้งหลาย
เพราะมุ่งหมายจะหลีกเร้นอยู่ในที่อันสงัด เพื่อรีบรัดปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยเร็วพลัน

กุมฺโม องฺคานิ สเกกปาเล สโมทหํ ภิกฺขุ มโน วิตกฺ เก อนิสฺสิโต
อญฺญมญฺญวิเหฐยมาโน ปรินิพฺพุโต นูปวาทเยย กญฺจิ

พระโยคี ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ พึงรักษาใจเอาไว้ให้ดี มิให้ตกไปในวิตก ไม่ติดอยู่ด้วยตัณหา
มานะ ทิฏฐิ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสรอบโดยด้าน ไม่กล่าวค้าน และค่อนขอดติเตียนใดๆ
ปานดังเต่าใหญ่รักษาตัวหดหัวและเท้าอยู่ในกระ-ดองของตน จนรอดพ้นอันตราย

ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ เมื่ออารมณ์มากระทบทางประตูต่างๆ เช่น รูปมากระทบทางตา เสียงมากระทบทางหู คือ
กระทบอายตนะไม่ว่าจะทางไหนๆก็แล้วแต่ ไม่หนี ไม่สู้ ไม่อยู่ ไม่ไป ให้อยู่ในกระ-ดองคือ สติปัฏฐาน 4
มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ รักษาสมณธรรมเอาไว้ให้ดี

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ