ปฏิบัติแนวเจริญสติ

คนส่วนมาก พอบอกว่าปฏิบัติแนวเจริญสติ จะต้องถามต่อว่าแบบหลวงพ่อองค์ไหน หรือแบบไหน พุทธโธ พองหนอ ยุบหนอฯลฯ อันนี้เป็นเรื่องปกติที่เขาจะต้องถามกันแบบนี้

เพราะคำว่าเจริญสติ ถูกให้ค่าไว้ว่า จะต้องมีรูปแบบนั้นนี้เป็นหลัก

ซึ่งตัวสภาวะของการเจริญสติที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบตายตัว เข้ากฏของไตรลักษณ์ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้

จะตอบว่า แนวเดียวหรือแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า แบบที่ครูบาอาจารย์หลายๆท่านนำมาพูดๆกัน ก็คงตอบแบบนั้นไม่ได้

เพราะพุทธเจ้าก็คือพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีกิเลสในแบบของพระองค์ ตามเหตุที่พระองค์ทรงกระทำมา พระองค์จึงทรงปฏิบัติตามสภาวะกิเลสของพระองค์เอง

เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ทรงพระสัพพัญญู รู้ว่าคนไหนควรปฏิบัติแบบไหน ให้เหมาะกับกิเลสของคนๆนั้น พระองค์จึงทรงถ่ายทอดวิธีการหลักๆไว้เพียงกรรมฐาน ๔๐ กอง ซึ่งจริงๆแล้ว รูปแบบมีมากกว่านั้น

กิเลสมีหลากหลายรูปแบบ การเจริญสติจึงไม่มีรูปแบบตายตัวเพราะเหตุนี้

แต่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะของผู้ปฏิบัติเอง โดยรู้อยู่ในกายและจิตเนืองๆ มีสติ สัมปชัญญะและสมาธิเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติจิตภาวนา

สาเหตุที่แนวทางการเริ่มต้นของแต่ละคนนั้น มีจุดเริ่มต้นอาจจะหลากหลาย ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาหรือสร้างเหตุขึ้นมาด้วยตัวเองทั้งสิ้น ผลที่ได้รับจึงมาแสดงให้เห็น แต่จุดสุดท้ายของทุกๆคนคือ เส้นทางของการเจริญสติ

เพราะเหตุของการเจริญสติ ผลที่ได้รับ คือ เป็นเหตุของการเกิดสัมปชัญญะ

ที่ใดมี สติ + สัมปชัญญะ ทำงานร่วมกันหรือเกิดขึ้นคู่กัน ที่นั้นย่อมมี สมาธิเกิดขึ้น

คือ เมื่อมีการเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับการกระทำในกิจนั้นๆอยู่ ขณะนั้นย่อมมีสมาธิเกิดขึ้นเนืองๆ

สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น คือ สภาวะของ สัมมาสติ

ถ้ามีทั้ง สติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ

เมื่อใดก็ตามที่มีสภาวะของสติ สัมปชัญญะและสมาธิ ทำงานร่วมกันหรือเกิดร่วมกัน

สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ คือ สภาวะของ สัมมาสมาธิ

การเกิดทั้งสติและสัมปชัญญะ ทำงานร่วมกัน เป็นเหตุของสภาวะสัมมาสติ สัมมาสมาธิและสัมมาทิฏฐิ

การเกิดสัมมาสติ เป็นเหตุของการเกิด สัมมาสมาธิ

การเกิดสัมมาสมาธิ เป็นเหตุของ การเห็นตามความเป็นจริง

การเห็นตามความเป็นจริง เป็นเหตุของสัมมาทิฏฐิ

เหตุของสัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุของมรรคมีองค์ ๘ ทั้งหมด

สัมมาทิฏฐิคืออะไร?

คือ ความเห็นชอบ

ความเห็นชอบคืออะไร?

คือเห็นตามความเป็นจริง

การเห็นตามความเป็นจริง คืออะไร?

เห็นตามความเป็นจริงที่มีอยู่จริงของทุกๆสรรพสิ่ง โดยสภาวะที่มีอยู่จริง
ไม่ใช่เกิดจากความคิดที่มีเราหรือตัวตนของเราเข้าไปเกี่ยวข้องในสภาวะนั้นๆแต่อย่างใด

การเห็นตามความเป็นจริงได้ เหตุเกิดจากอะไร?

เกิดจากสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน ( สัมมาสมาธิ )

จะเห็นเหตุของการเกิดสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกันได้นั้น ต้องทำอย่างไร?

ต้องเจริญสติ

เจริญสติแล้วได้อะไร?

ได้สัมมาสมติ

สัมมาสติเป็นเหตุของอะไร?

เป็นเหตุของสัมมาสมาธิ

สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ

ลักษณะอาการหรือสภาวะที่เกิดขึ้น

ความเห็นชอบ คือ ความเห็นที่เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีตัวเราเข้าไปในการตัดสินในสิ่งที่เห็นนั้นๆ
ซึ่งเป็นเหตุให้จะไม่มีคำว่าถูกหรือผิดในความเห็นนั้นๆ

การที่มีความเห็นว่า สิ่งนั้นถูกหรือผิด ล้วนเกิดจากความเห็นที่มีเราหรือตัวตนของเราเข้าไปตัดสินแทนสภาวะที่เกิดขึ้น

แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นณขณะนั้นๆแต่อย่างใด นั่นหมายถึง ตราบใดที่ความเห็นนั้นๆมีคำว่าถูกหรือผิด ย่อมไม่ใช่สภาวะของสัมมาทิฏฐิแต่อย่างใดเลย

เหตุของการเกิดสัมมาทิฏฐิ

การเกิดสภาวะของสัมมาทิฏฐิ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการเห็นตามความเป็นจริงเท่านั้น

การเห็นตามความเป็นจริงนั้นมีลักษณะหรืออาการที่เกิดขึ้นอย่างไร?

การเห็นตามความเป็นจริง คือ การเห็นว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนแปรปรวนตลอดเวลา ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มากระทบได้อย่างไร

สภาวะเกิดแล้วก็ดับ ตามเหตุและผลของตัวสภาวะนั้นๆ

สิ่งต่างๆที่มีอยู่จริง เกิดขึ้นจริงๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีเรา สิ่งเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นอยู่แล้ว มันมีและมันเป็นของมันแบบนั้นอยู่แล้วชั่วนิรันดร์ ไม่ว่าจะมีเราหรือไม่มีก็ตาม

เมื่อเห็นได้ดังนี้แล้ว ย่อมไม่เอาตัวเราที่ยังมีอยู่ลงไปตัดสินแทนสภาวะที่เกิดขึ้นณขณะนั้นๆว่าสภาวะนั้นๆหรือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นๆถูกหรือผิด

จะไปบอกว่าถูกหรือผิดได้อย่างไร ในเมื่อมันแปรปรวนตลอดเวลา ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร เพราะเหตุนี้จึงไม่มีการไปให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสิ่งนั้นถูก สิ่งนั้นผิด

จะเห็นแต่เหตุและผลว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นเรื่องธรรมดา ตามเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

แต่เพราะความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ จึงเอาตัวเรา ตัวตนของเราที่ยังมีอยู่ ลงไปตัดสิน โดยให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามกิเลสและเหตุที่มีกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลคือ เหตุยืดยาวออกไป ย่อมดับลงไปไม่ได้ ยืดยาวเพราะตัวตัณหาอุปทาน ความทะยานอยากที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดการปรุงแต่งตลอดเวลา

เหตุของการเกิดการเห็นตามความเป็นจริง

สภาวะของการเห็นตามความเป็นจริง จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสัมมาสมาธิเท่านั้น

น้อยแต่เนื้อๆ

ผู้ที่ได้มาขอคำแนะนำแนวในเรื่องการเจริญสติ ตลอดจนเกี่ยวกับสภาวะต่างๆจากเรา อาจจะมีจำนวนน้อยคน แต่ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจ อย่างน้อยกลุ่มคนที่ปฏิบัติกับเรา ส่วนมากจะมีแต่ลดการสร้างเหตุใหม่

เป็นที่น่ายินดีและอนุโมทนาอย่างยิ่งอีกเรื่องหนึ่ง พระที่ท่านส่งอารมณ์และขอคำแนะนำจากเรา ท่านปฏิบัติเอง เจอสภาวะอะไรจะนำมาถามตลอด แล้วปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงทุกวันนี้ เรารู้สึกพอใจอย่างยิ่งกับผลที่ท่านกำลังได้รับ

น่าจะเป็นเดือนที่แล้ว ที่ท่านโทรฯมาเล่าเรื่องสภาวะให้ฟัง ท่านได้รู้จักสภาวะเวทนาอย่างหนัก ทำให้ท่านใช้โยนิโสมนสิการในเรื่องการเกิด ว่าเวทนาที่ท่านได้ประสบในครั้งนี้ ยังทุกข์แทบตาย แล้วการเกิดนี่มันทุกข์มากมายขนาดไหน

ท่านพิจรณาเสร็จ ท่านน้ำตาร่วง บรรดาเพื่อนพระของท่าน ต่างถามว่า ทำไมปวดแค่นี้ต้องน้ำตาร่วง ท่านบอกว่า ไม่รู้ด้วยตัวเองย่อมไม่รู้หรอก มันต้องรู้ด้วยตัวเอง มันจะน้ำตาร่วงเลย นี่คือ สิ่งที่ท่านนำมาเล่าให้ฟังครั้งที่แล้ว

ท่านบอกว่า จะไม่ขอเกิดอีกแล้ว จะตั้งใจทำความเพียรอีกต่อเนื่อง ท่านรู้แล้วว่าการเกิดมันมีแต่ความทุกข์ ที่ยังมีการเกิดอยู่ เพราะยังมีความไม่รู้ หากรู้แล้วจะไม่ขอเกิดอีกต่อไป ขอชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

แล้วท่านได้ไปสั่งเสียผู้หญิงที่มาชอบท่านอยู่ ท่านบอกกับผู้หญิงคนนั้นว่า ไม่ต้องมารอท่านแล้ว หากพบใครที่คิดว่าให้แต่งไปได้เลย ท่านไม่ขอสึกแล้ว จะตั้งใจปฏิบัติ ฝ่ายหญิงร้องไห้

อันนี้เป็นความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวของผู้ที่พบเห็นสภาวะตามความเป้นจริงในระดับหนึ่ง จิตจะไม่ถวิลหาทางโลก จะมุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่ทุกอย่างไม่เที่ยง มีบททดสอบตลอดเวลา

จริงอยู่ สภาวะนี้ ถึงแม้จะเกิดจากการคิดพิจรณา โดยเอาตัวสภาวะที่พบเจออยู่มาพิจรณา ทำให้ถ่ายถอนอุปทานในภพชาติลงไปได้ ถึงแม้ชั่วแค่เวลานั้นๆ ย่อมดีกว่าหลงติดใจในการเกิดหรือสร้างเหตุให้เกิดภพชาติต่อๆไป

มาวันนี้ท่านโทรฯมาประมาณสี่ทุ่มกว่า ท่านเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เจอเวทนาในครั้งนั้น เดี่ยวนี้เวลาที่ท่านั่ง ท่านจะรู้สึกตัวได้ตลอด ขณะที่เกิดเวทนา จะเห้นตั้งแต่แรกเริ่มเวทนาที่เกิดขึ้น ขณะที่กำลังเกิด จนกระทั่งดับหายไปเอง

ดูวนไปวนมาแบบนี้ จะเห็นแบบนี้ตลอด บางทีมารู้ที่ท้องพองยุบบ้าง ลมหายใจบ้าง เรียกว่า รู้สึกตัวได้ตลอด

เราบอกว่า ภาษาปริยัติเขาเรียกว่า รู้ชัดในรูปนาม สภาวะจะมีแค่สองสภาวะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น กับ สิ่งที่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น มันมีแค่นี้เอง เอาไว้ท่านจะรู้ทุกๆคำตอบของตัวสภาวะเอง ว่าสภาวะไหนคืออะไร มันจะรู้เอง

มันไม่ได้มีคำเรียกใดๆ แต่จะรู้ชัดโดยสภาวะ เมื่อได้มาศึกาาพระไตรปิฎก จะเข้าใจมากขึ้น เพราะสิ่งที่ถูกรู้ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนมีคำเรียกในพระไตรปิฎก

ท่านถามว่า ท่านเดินครึ่งชม. แต่นั่งถึงสองชม. สมาธิเกิดต่อเนื่อง ท่านรู้สึกตัวตลอด ไม่มีงูบหรือง่วง ท่านถามว่า ท่านทำแบบนี้ได้ไหม เพราะพระอาจารย์ของท่านบอกว่า ต้องเดินหนึ่งชม. นั่งหนึ่งชม.

เราบอกว่า ถ้าเดินน้อย แล้วนั่งต่อ จิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง สามารถรู้ชัดในกายได้ตลอด แบบนี้ไม่เป็นไร แต่เมื่อใดมีงูบหรือง่วง ให้เพิ่มเดิน ปรับเปลี่ยนได้ตลอด ไม่มีอะไรตายตัว

ที่พระอาจารย์ท่านพูดแบบนั้น ท่านต้องการรักษารูปแบบในการปรับอินทรีย์ เพราะบางคนสมาธิมาก สติไม่ทัน แต่ในกรณีของท่าน ท่านสามารถปรับเปลี่ยนเองได้

บางคนตัวกำหนดหายไป เช่นพุทโธหรือพองหนอยุบหนอหายไป กำหนดคำบริกรรมภาวนาเท่าไหร่ๆก็ไม่ขึ้น สภาวะตรงนี้มีคนหลงทางกันเยอะ เพราะนำไปเทียบกับญาณ ๑๖ เลยเสียทีกิเลสไป

ที่มันกำหนดไม่ขึ้นมันมีเหตุ เนื่องจาก เมื่อสติ สัมปชัญญะดีในระดับหนึ่ง จิตมันจะทิ้งคำภาวนาไปเอง แต่มารู้ที่กายได้เลย เช่นรู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ รู้การเคลื่อนไหวของกาย ตลอดจนสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย

ท่านถามเราว่า เมื่อก่อนนี้ เราใช้บริกรรมแบบนี้หรือเปล่า

เราตอบว่า ใช้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้แล้ว จิตมันทิ้งคำบัญญัติไปแล้ว มารู้ตามความเป็นจริงของสภาวะแทน ตอนนี้ท่านเห็นรูปนามแล้ว แยกรูป,นามได้แล้ว เพียงแต่ท่านยังไม่รู้ในคำเรียกนั้นๆเท่านั้นเอง ขอให้ท่านตั้งใจปฏิบัติต่อไป

ท่านถามต่อว่า ต้องเรียนอภิธรรมไหม

เราตอบว่า อันนี้แล้วแต่ท่าน ถ้าอยากเรียนก็เรียน ส่วนปัญญาในการคิดพิจรณาเรื่องขันธ์ ๕ นั้น อีกหน่อยท่านจะเข้าใจมากขึ้นตามสภาวะ แล้วถ้าใครมาพูดคุยกับท่านว่า ตัวเองนั้นได้อะไร เป็นอะไร จงอย่าไปพูดคุยกับคนพวกนี้

เพราะต่างหลงกิเลสในสมมุติ แต่ไม่รู้ว่าหลงกัน หากรู้จริงเห็นจริง จะมีแต่มุ่งหน้าปฏิบัติ ไม่ไปหลงเล่นกับกิเลส เที่ยวคุยโม้โอ้อวดแบบนั้นหรอก เพราะมันมีแต่การสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น แทนที่จะดับที่เหตุ กลายเป็นสร้างเหตุแทน

ท่านบอกว่า เจอหลายคนเลย มาพูดว่าตัวเองได้อะไร เป็นอะไร ท่านไล่ตะเพิดไปหมด

เราบอกว่า นั่นแหละดีแล้ว อย่าไปหลงเล่นกับกิเลสของเขา แต่ถ้าเจอคนที่มาพูดว่า เขาปฏิบัติเพื่อดับเหตุที่ตัวเอง นั่นน่ะคุยได้เลยเป็นกัลยาณมิตรกันได้

เราได้ไล่สภาวะของอริยสัจจ์ ๔ ให้ท่านฟัง ว่าแต่ละความหมายนั้น มีตัวสภาวะแฝงอยู่

ทุกข์ คือ ความบีบคั้น ความทนอยู่ไม่ได้

สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง คือ ตัวอุปทานทั้งหลาย ที่หลงให้ค่า คาดเดาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป้นอย่างนั้น อย่างนี้ ถูก, ผิดตามความคิดของตัวเอง ตามกิเลสหรืออุปทานที่ยังมีอยู่

นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับทุกข์ทั้งปวงที่ตัวเอง ไม่ใช่ไปดับที่คนอื่นๆหรือไปดับภายนอก นิพพานแปลว่าดับ ดับอะไร ดับเหตุทั้งปวง ไม่มีการสร้างให้เกิดขึ้นอีกต่อไป

มรรค เส้นทางหรือวิธีการดับทุกข์ คือ การเจริญสตินี่แหละ

ทำให้ต่อเนื่องแล้วจะรู้ชัดทุกคำตอบเอง ด้วยตัวเอง โดยสภาวะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ท่านบอกว่า ท่านตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง ถ้ามีอะไรติดขัด จะมาขอคำแนะนำอีก

นี่แหละ เนื้อๆ เราถึงบอกว่า แม้จะน้อยคน แต่มีคุณภาพ แต่ทุกอย่างมันไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน แปรเปลี่ยนตลอดเวลา สภาวะล้วนเป็นไปตามเหตุของแต่ละคนที่ทำมา เหตุมี ผลย่อมมี

น้ำซึมบ่อทราย

อย่าดูแค่เปลือก

คนเรามองแค่เปลือกหรือสิ่งที่มองเห็นแค่ภายนอก แล้วคาดเดาเอาว่า สิ่งที่มองเห็นต้องเป็นอย่างงั้นอย่างงี้กันไม่ได้หรอก เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงของแต่ละคนนั้น บางคนภายนอกอีกอย่าง ภายในนั้นอีกอย่าง คนละเรื่องกันเลย

เรื่องนี้คนที่ทำงานได้มาเล่าให้ฟัง เขาได้พบเจอแม่บ้านสองคนที่เรียนอภิธรรมทางไปรษณีย์ แล้วไปเจอกันที่วัดยานนาวา เขาบอกว่าแต่งตัวแม่บ้านมากๆ อายุประมาณ๕๐ถึง๖๐ปี คุยกันจุ๊กๆจิ๊ก มองภายนอกเหมือนแม่บ้านทั่วๆไป แต่พอคุยด้วยที่ไหนได้

เราบอกกับเขาว่า เพราะคุณยังติดมองคนที่เปลือกไง เรื่องปกติโดยทั่วๆไปน่ะแหละ คนเรามักมองภายนอกแล้วให้ค่าตามความคิดของแต่ละคนตามสิ่งที่มากระทบ เขาบอกว่านั่นน่ะสิ

เขามาส่งการบ้านด้วยว่า ตอนนี้เขาเริ่มนั่งได้ถึงสามสิบนาทีแต่ก้รู้ตัวได้บ้าง แต่ดีกว่าเมื่อก่อน เราถามเขาว่า ได้เดินก่อนนั่งหรือเปล่า เขาบอกว่าเวลามันน้อย เลยเดินแค่เจ็ดแปดรอบแล้วนั่งต่อ เขายังชอบนั่งอยู่ ตรงนี้เราบอกเขาว่า แล้วแต่เหตุนะ เขาก็ยิ้มแล้วเล่าเรื่องแม่บ้านต่อ

( ที่เราพูดว่าแล้วแต่เหตุ แต่ไม่อธิบายอะไรต่อ เนื่องจากเห็นว่า สาภวะของแต่ลคนย่อมเป็นไปตามเหตุที่แต่ละคนทำมา เราจะไปกำหนดกฏเกณฑ์อะไรกับเขาไม่ได้ ให้เขาทำตามสภาวะของเขาดีที่สุด เรียนรู้ที่จะผิดพลาดด้วยตัวเอง เพื่อที่จะรู้แนวทางที่ถูกต้องสำหรับตัวเอง อันนี้ต้องทำเอง แล้วจะรู้เอง ไม่ใช่รู้โดยผู้อื่นมาทำให้ )

แม่บ้านเล่าให้เขาฟังว่า ตั้งแต่เรียนอภิธรรมจบมา เขาทุกข์น้อยลง คือเชื่อในเหตุ ว่าทำอย่างไร ย่อมรับผลเช่นนั้น เขาเลยไม่ไปทุกข์ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขาแบบก่อนๆ เมื่อก่อนเวลามีเรื่องอะไรก้ตาม จะทุกข์ใจมากๆ ตั้งแต่เรียนอภิธรรมจนจบมา ทำให้เขาเข้าใจเรื่องเหตุ เดี๋ยวนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เขามองแค่เหตุ มันเลยทำให้เขาทุกข์น้อยลง แล้วตัวเขาเองอยู่แถวตรอกจันทร์ เลยมาเรียนสมาธิที่วัดยานนาวา อาศัยความสะดวก ไม่ได้ไปตามวัดที่ใครๆแนะนำมา

เราบอกกับเขาว่า นี่เห็นไหม เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป บางคนทำแทบตาย ทั้งเดินจงกรม นั่งสมาธิ ยังไม่สามารถรู้ลึกซึ้งถึงเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ยังคงทุกข์เหมือนเดิมๆ เรื่องเหตุนี่สำคัญมากๆนะ ถึงบอกไงว่า จุดเริ่มต้นหลายๆคนอาจจะแตกต่างกัน แต่สุดท้ายรู้เหมือนๆกันหมด ไม่มีความแตกต่างเลย

เห็นความก้าวหน้าทางจิตของคนที่ปฏิบัติรอบๆตัว แล้วทำให้เกิดปีติมากๆ สุขไหนเล่าจะสุขเท่ากับการให้ธรรมะเป็นธรรมทาน เมื่อเราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีที่พึ่งพาสำหรับตัวเองได้อย่างมั่นคงแล้ว เราย่อมช่วยแนะนำชี้แนวทางให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ วันนี้อาจจะพึ่งพาตนเองได้แค่นี้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคนที่ทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กำลังทำอยู่

ในเมื่อปัจจุบันกำลังสร้างแต่เหตุดี เหตุดีคือการดับที่เกิดเหตุทั้งปวงคือการยึดมั่นอุทานในตัวกูของกูในรู้ที่มีอยู่ที่คิดว่ารู้ เมื่อเข้าใจถึงและเข้าใจตรงนี้ได้ เหตุใหม่จะสร้างเพราะอุปทานที่เกิดจากการให้ค่าย่อมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และเหตุทั้งหลายทั้งปวงที่จะเป็นการก่อภพชาติใหม่จะงอกเงยจากที่ไหนได้ ในเมื่อมีแต่ดับสิ้นไป ผลที่จะเกิดเพราะเหตุนั้นๆย่อมดับสิ้นตามไปด้วย ไม่มีเหตุจะมีผลไปได้อย่างไร

อีกหน่อยทีมงานที่เราทำอยู่ด้วยนี้จะเป็นทีมที่มีคุณภาพที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม มีแต่ให้กับให้คือให้ทั้งเนื้องานทางอาชีพที่ถูกต้องและให้ทั้งแนวทางการดำเนินชีวิตที่พอเพียงในเหตุที่รู้จักกับคำว่า ” เพียงพอ ”

เพียงพออะไรล่ะ เพียงพอใจในทุกสรรพสิ่งที่ตนนั้นมีอยู่ เมื่อรู้จักคำว่า ” พอใจ ” แล้ว ย่อมไม่ไปใฝ่คว้าตะเกียกตะกายหาเหตุแห่งกิเลสมาปกปิดดวงจิตให้มืดมิดอีกต่อไป

เรื่องการเจริญสติ การฝึกจิตให้รู้อยู่ในกาย สิ่งที่เราพูดๆอธิบายให้คนรอบๆตัวตลอดจนคนที่เข้ามาคุยด้วยได้ผลนะ เพราะคนเริ่มเข้าใจเรื่องการเจริญสติมากขึ้นเรื่อยๆ

การเจริญสติ การฝึกจิตให้รู้อยู่ในกายไม่ใช่แค่การเดินจงกรมกับนั่งสมาธิเท่านั้น อะไรก็ได้ที่ทำให้รู้อยู่ในกาย ทุกๆสภาวะของแต่ละคนล้วนแตกต่างกันไปตามเหตุที่กระทำมา แม้กระทั่งในเรื่องการเจริญสติ

น้องที่ทำงานไปถือศิลปฏิบัติที่วัดมา ดีนะเขารู้จักการใช้วิธีเจริญสติให้เกิดประโยชน์กับตัวของเขาตลอดจนญาติพี่น้องของเขาเอง วันนี้เขาเข้ามาหาพร้อมๆกับนำงานถักกล่องกระดาษทิชชูที่ยังถักไม่เสร็จมาด้วย เขาบอกว่านี่แหละงานเจริญสติของเขาตอนที่อยู่ที่วัด

เขาเล่าให้ฟังว่า พี่สาวเขาถามว่าทำไมถึงมาถักของพวกนี้ที่วัดทั้งๆที่มาปฏิบัติ
เขาตอบว่า นี่แหละการเจริญสติ ทำอะไรก็ได้ให้จิตรู้อยู่ในกายหรือที่กายนี้ ไม่ก็ไปสวดมนต์นั่งภาวนาก็ได้ อะไรก็ได้ที่ทำให้จิตมันอยู่กับกาย ไม่ใช่ไปนั่งพูดคุย นั่งนินทาชาวบ้านกัน ทำแบบนั้นจะเอาสติ เอาบุญมาจากที่ไหน ศิลขาดหมด มาทั้งทีต้องเอาดีกลับไป ไม่ใช่ไม่ได้อะไรกลับไปเลย

เรายิ้มเลยนะ น้องเขาเปลี่ยนไปเยอะมากๆ เข้าใจเรื่องการเจริญสติมากขึ้น สามารถอธิบายให้คนอื่นๆฟังและนำไปปฏิบัติตามกันได้ ส่วนใครจะทำแบบไหน นั่นก็แล้วแต่เหตุของคนๆนั้น ไม่ได้ไปยัดเยียดรูปแบบให้ทำ ให้ทำตามเหตุ ตามสภาวะของแต่ละคน

เหมือนตัวเราเอง วันๆ เดินสลับกับยืนเย็บผ้ามั่ง ถักโครเชท์มั่ง ใช้เวลา ๑ชม.มั่ง ๒ ชม.มั่ง ๓ ชม.มั่ง ไม่แน่นอน แล้วจึงค่อยกำหนดนั่งต่อ สมาธิที่เกิดขึ้นก็แนบแน่นดี นับวันมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ รู้อยู่ในกายได้ชัดดี ปัญญาในการคิดพิจรณาเกิดขึ้นเนืองๆ สมาธิก็ได้ สติ สัมปชัญญะก็ได้

แม้กระทั่งเวลาที่อยู่ที่บ้านเราก็ทำแบบนี้แหละ ดูเวลาเลยเวลาทำอะไรก็ตาม ให้รู้อยู่ในกาย รู้อยู่กับสิ่งที่ทำ พอใจแค่ไหน ทำแค่นั้น ตามสะดวก แม้กระทั่งรีดผ้าเราก็จับเวลา เริ่มรีดกี่โมง เสร็จกี่โมง หลังจากนั้นกำหนดนั่งต่อเลย จิตเป็นสมาธิดี แนบแน่นดี รู้กายได้ตลอด ตรงนี้เป้นการใช้เจริญสติในอิริยาบทย่อย

ส่วนอิริยาบทหลักที่จะขาดเสียไม่ได้เลยคือ เดินกับนั่ง เวลาทำเต็มรูปแบบ ให้เดินก่อนที่จะนั่ง ใช้ในการปรับอินทรีย์ เพื่อความสมดุลย์ระหว่างสติ สัมปชัญญะกับสมาธิ เพราะว่าถ้าสมาธิมากไปไม่ดี จะทำให้ขาดการรู้กาย ไปติดนิ่งในสมาธิ เรียกว่าสมาธิล้ำหน้าสติ ส่วนสติ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะเป็นเหตุให้ตัวสัมชัญญะเกิดขึ้นได้ง่ายหรือไวมากขึ้น

สติดี สมัชัญญะดี ย่อมเป็นเหตุให้สมาธิที่เกิดขึ้นแนบแน่นดี รู้ชัดอยู่ในกายได้ดี ตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ โดยไม่ต้องไปทำแบบหวังผลอันใดเลย เพราะสร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

นี่เห็นไหม งานก็ได้ ชิ้นงานก็ได้ งานประจำก็ไม่เสีย บ้านช่องก็เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนที่เคยขี้เกียจสุดๆ มาเป็นคนเริ่มรู้จักทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นคนที่มีความละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักจับจ่ายใช้สอยตามพอเหมาะพอควรในสิ่งที่มองว่าจำเป็น

ระหว่างวัน

เช้านี้เดินสลับยืน ๒ชม. แล้วนั่ง สมาธิแนบแน่นดี รู้กายได้ชัดดี ๑ ชม. ช่วงบ่ายทำไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีคนมาหาตลอด มาได้ช่วงก่อนกลับบ้านหนึ่งชม.เต็มๆ
วันนี้ขากลับขณะที่นั่งในรถรับส่งของบริษัท จิตเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง รู้ชัดในกายได้ตลอด เสียงทีวี เสียงเด็กร้อง เสียงเครื่องยนต์รถทำงาน ทุกอย่างแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ไม่ปะปนกัน จับรายละเอียดได้หมด

ทดลองลืมตาดู เพื่อจะดุว่า จิตสามารถเป้นสมาธิได้ต่อเนื่องหรือไม่ ปรากกว่า ถึงแม้จะลืมตาขึ้นมา มองไปข้างหน้า มองไปรอบๆตัว จิตยังคงเป็นสมาธิได้อย่างต่อเนื่อง นี่เป็นครั้งแรกที่เจอกับสภาวะนี้ คือสามารถลืมตาทำสมาธิ เสียงที่ดังรอบๆตัว ไม่ส่งผลต่อสภาวะที่จิตกำลังเป็นสมาธิแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าจะลืมตาทำสมาธิก็ตาม

หัวค่ำ ขึ้นไปรีดผ้า พับผ้า เสร็จแล้วต่อด้วยการนั่ง ข้างล่างเปิดเพลงเสียงดัง ยังไม่ได้ปิด เสียงได้ยินถึงในห้อง ขณะที่นั่ง จิตเข้าสู่สมาธิได้ทันที แนบแน่นดี รู้ตัวได้ตลอดจนครบหนึ่งชม. โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาแต่อย่างใด

ตอนนี้สภาวะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รู้ชัดในกายได้มากขึ้นเรื่อยๆ นานมากขึ้น สมาธิมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ จิตเริ่มเป็นสมาธิได้ทุกอิริยาบท แม้กระทั่งขณะที่ลืมตาปกติ อยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึกก็สามารถกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิได้ เรียกว่า รู้ทั้งนอกและใน แต่ทุกๆสภาวะจะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆไม่มาปะปนกันแต่อย่างใด มีบางครั้ง จิตมันติดใจกับการรู้อยู่ในกาย มันไม่อยากถอนออกจากสมาธิ อยากรู้อยู่ในกายอยู่อย่างนั้น เวลาที่กำหนดออกมาแล้ว สมาธิยังมีค้างอยู่ เวลาเคลื่อไหวกายหรือกำลังเดินนี่ รู้ชัดที่การเคลื่อนไหวของกาย ตลอดจนเท้าที่กระทบพื้น รู้สึกได้ชัดมากๆ จิตเกิดความอิ่มเอมตลอดขณะที่กำลังเดิน

แนวทางการปฏิบัติ

การปฏิบัติแต่ละแบบที่มีกล่าวๆไว้ ล้วนเป็นเพียงรูปแบบของผู้แนะนำ
ผู้แนะนำทำได้แบบไหน ก็จะแนะนำแบบนั้น ทำได้แค่ไหน จะแนะนำได้แค่นั้น

การปฏิบัติที่แท้จริง ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวหรือเที่ยงแท้แน่นอนแต่อย่างใด
ที่สภาวะการปฏิบัติของแต่ละคนแตกต่างกันไป ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมา
จากรู้แค่นี้ ทำไปๆ รู้ที่เคยรู้ จะรู้ชัด รู้ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ
สภาวะในการปฏิบัติจึงมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่โดยหลักๆในการใช้ปรับอินทรีย์คือ อิริยาบทเดินกับนั่ง
ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่ทำมาด้วย

การเดินก่อนนั่ง เป็นการปรับอินทรีย์ เพื่อให้จิตมีหลัก มีที่เกาะ
ทำให้รู้อยู่ในกายหรือรู้ชัดในกายได้มากขึ้น เมื่อต่อด้วยอิริยาบทนั่ง
จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิดขึ้นแล้ว
สมาธิที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาในการคิดพิจรณาเนืองๆ
ทำให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ และหนทางดับทุกข์ในขณะนั้นๆของเหตุแต่ละเหตุ ตามสภาวะนั้นๆ

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
เวลาที่จะมีโอกาสในการปฏิบัติของแต่ละคนจึงมีมากน้อยแตกต่างกันไป

บางคนมีเวลามาก แต่ทำได้น้อย บางคนมีเวลาน้อยแต่ทำได้มาก
หรือทำได้มากน้อยแตกต่างกันไป ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน
ทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมาทั้งสิ้น และเหตุในปัจจุบันอีก

ไม่มีคำว่า ” บังเอิญ ” ในโลกใบนี้อย่างแน่นอน
ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนล้วนเป็นเพียงผลของเหตุที่แต่ละคนกระทำมา
เหตุเกิดเพราะความรู้ชัดในผลที่ได้รับไม่เท่ากัน รู้ชัดในเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นไม่เท่ากัน

ทุกๆเรื่องราวที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเพียงสภาวะ สภาวะคือ สิ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อใดก็ตามที่มีการเกิดการกระทบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ส่วนจะให้ค่ามากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่มีต่อการกระทบนั้นๆ

เรามาเจริญสติกันเพราะเหตุนี้ เพื่อรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต
รู้เท่าทันต่อการให้ค่าที่เกิดขึ้นจากตัวอุปทาน ที่ยังมีการยึดติดในตัวตน
ในตัวกู ของกู เมื่อยังมีอุปทาน ย่อมมีการให้ค่าต่ออุปทาน ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

วิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่น

1. หาที่นั่งที่คิดว่า นั่งแล้วรู้สึกสบายที่สุด จะนั่งแบบไหนๆก็ได้ จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ ตามความสะดวกและตามความถนัดของแต่ละคน สำหรับตัวเราเองชอบนั่งโซฟา ที่มีพนักพิงหลังสูงกว่าศรีษะของเรา

แรกๆฝึก ทำตามความชอบจะได้ทำได้แบบสบายๆ แต่บางคนอาจจะทำแตกต่างกว่านี้ก็ได้ ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างอะไร เพราะเหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป ตามเหตุที่ทำมา

2. เวลานั่ง ให้นำมือทั้งสองประสานกัน คือ สอดนิ้วเข้าหากันทั้งหมด นี่ลักษณะเหมือนนั่งกุมมือไว้ หรือทำแบบมือขวาทับมือซ้าย หรือมือซ้ายทับมือขวา หรือจะนั่งแบบปล่อยตัวตามสบาย หลังพิงโซฟาได้แบบเต็มที่ หรือถ้าอยากฝึกในท่านอนก็สามารถทำได้เช่นกัน

3. หายใจเข้าออก สบายๆ หายใจไปเรื่อยๆ จะกำหนดภาวนาหรือไม่ต้องภาวนาใดๆใดๆก็ได้ เอาจิตรู้ไปพร้อมกับลมที่หายใจเข้าออก กระทบตรงไหน ให้แค่รู้ไปตามลมหายใจ เห็นท้องพองยุบ เห็นส่วนใดของกายเคลื่อนไหว ให้รู้ไปตามนั้น ดูแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่เพ่ง ไม่เกร็ง ดูแบบสบายๆ

บางครั้ง อาจจะมีอาการตึงที่บริเวณทีโซนคือ แถวๆหน้าผาก ที่ดั้งจมูก ที่แก้มทั้งสองข้าง ก็ไม่ต้องตกใจว่ากำลังเพ่ง เพราะใหม่ๆอาจจะตามลมหายใจไม่เป็นเลย อาจจะกลายเป็นเพ่งไปได้ ไม่ได้ผิดปกติอะไร ให้รู้อยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปเกร็งใดๆ ไม่ต้องไปคิดว่า นี่กำลังเพ่งแล้วนะ หายใจยาวๆสบายๆไปเรื่อยๆ แล้วอาการที่รู้สึกว่าเพ่งนั้นจะค่อยๆคลายตัวไป

4. บางครั้งอาจจะเกิดโอภาสร่วมด้วย ไม่ต้องไปชอบหรือชังใดๆ วางใจให้เป็นกลาง เอาจิตกลับมารู้ที่ลมหายใจ กลับมารู้ที่กายแทน ไม่ต้องไปใส่ใจในแสงสว่างที่มองเห็น

5. ทำแบบนี้ให้ได้ทุกวัน จนจิตเกิดความชำนาญมากขึ้น ตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้น เราจะรู้ตัวเองว่าจิตตั้งมั่น หรือเป็นสมาธินั่นเอง แรกๆอาจต้องอาศัยสถานที่เงียบๆไปก่อน พอทำได้ชำนาญแล้ว ค่อยฝึกกับเสียงในขั้นต่อๆไป

เคล็ดไม่ลับในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

 
 
เคล็ดลับในการปฏิบัติ  ไม่ได้มีอะไรมากมายเลยค่ะ ขอให้อดทนและรู้จักให้อภัยต่อคนอื่นๆ
เพราะทุกสิ่งที่เกิดการกระทบนั้น เกิดจากความไม่รู้  หากแยกแยะถูกผิดตามความเป็นจริงได้
ไม่มีใครคนไหนที่จะต้องการสร้างเหตุอันเป็นเหตุให้เกิดการก่อภพก่อชาติไปเรื่อยๆ  :b12:
เราจึงมาเจริญสติปัฏฐานกันเพราะเหตุนี้ ลำพังเพียงสติที่มีปกติในทุกๆคนนั้น ยังไม่เพียงพอ
เพราะสัมปชัญญะไม่สามารถเกิดร่วมได้ในทุกขณะ แต่ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น
จะมีตัวสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วยตลอดเวลา  ทำให้เกิดปัญญา
เหมือนมีนัยน์ตาอันวิเศษ  ทำให้สามารถแยกแยะถูกผิดตามความเป็นจริงได้
ทำให้เชื่อในเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ  เชื่อและศรัทธาในพระธรรมคำสอน
ยิ่งปฏิบัติ นับวันจิตยิ่งใฝ่แต่กุศล ใฝ่หาแต่ธรรมนำมาแสดง นำแต่สิ่งดีๆมาแบ่งปันกันและกัน
 
ในแง่ของการปฏิบัติ  จงอย่าคาดหวังผล  ว่าทำแล้วจะได้อะไร ให้ดูตัวอย่าง ตัวอย่างที่ดีมีให้ดู
ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ดูพระธรรมคำสอนที่ถ่ายทอดทิ้งไว้ให้เราได้ศึกษากัน
ดูครูบาฯทั้งหลายที่ปฏิบัติแล้วได้ผล
 
จงอย่าอยาก  ตัวความอยากนี่จะเนียนละเอียดมากๆ จนบางครั้งถ้าสติไม่ทัน
เราจะไม่รู้เลยว่า สภาวะนี้ติดอะไรอยู่  ส่วนมากคือกิเลสนี่แหละ

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ