อัตตวาทุปาทาน

04 /09/64

โมหะ เกิดจากอวิชชา
อวิชชา ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ ทำให้เกิด สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ
สักกายทิฏฐิ มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
อัตตานุทิฏฐิ มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน

เวลาเขียนแผนที่ จะเขียนแบบนี้
อวิชชา โมหะ มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ

ต้องฟัง ต้องอ่าน และศึกษาตามลำดับ จึงจะเข้าใจ

คำว่า พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ได้แก่ ศึกษาในสัมมาทิฏฐิ ๑ ๒ ๓ ๔

คำว่า หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ เจริญสติปัฎฐิ ๔

“ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร”

คำว่า ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
ได้แก่ ทำกรรมฐาน


๑. มีบัญญัติเป็นอารมณ์
(สมถะ/กายสักขี สัมมาสมาธิ)

๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์
(หลุดพ้นด้วยปัญญา/วิปัสสนา)


๓. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์
(หลุดพ้นสองส่วน/สมถะและวิปัสสนา)

คำว่า พอกพูนสุญญาคาร
ได้แก่ สัมมาสมาธิ
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง


30 กค. 64

วันก่อน เราได้เขียนแผนที่ฉบับย่อ แต่ยังไม่เสร็จ
การเขียน โดยอาศัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก
ว่าด้วยข้อปฏิบัติตามลำดับ จนถึงวิชชา ๓
และมีสภาวะที่สำคัญจำเป็นต้องรู้
ตกกลางคืน มีภาพผุดขึ้นมา จากหนังสือที่ว่างเปล่า
ตอนนี้หนังสือนั้นมีตัวหนังสือปรากฏ

อัตตวาทุปาทาน ที่เคยเขียนไว้นั้น จะว่าใช่ก็ไม่เชิง จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง
คือต้องละพยัญญชนะ ตัวหนังสือ ความรู้เห็นต่างๆที่มีเกิดขึ้น
สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ผุดขึ้นมา
เมื่อจิตละความยึดมั่นถือมั่น
ด้วยเหตุนี้ ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงปรากฏ คือ
เป็นเรื่องสภาวะต่างๆที่เคยพบเคยเจอขณะทำกรรมฐาน
และสภาวะจิตดวงสุดท้ายที่ปรากฏตามความเป็นจริง
เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร


ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้
เปรียบเสมือนแผนที่ จะได้ไม่ดำเนินผิดทาง
เมื่อไม่ติดอุปกิเลส ๕ ประการ
ทำให้การปฏิบัติไม่เนิ่นนาน

๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน
คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้
เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้
ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทอง ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ
เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด
อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน

อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน
คือ กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑
อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ

แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้
ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน
ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย
เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน


อัตตวาทุปาทาน
ได้แก่

อัตตานุทิฐิ
ละด้วยการเห็นอนัตตาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน เวทนากล้าสุดๆ แล้วดับ
บางคน มีเวทนากล้าสุดๆ อดทน จนรูปและนามแยกออกจากกัน ไม่ป่ะปน
รู้เวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่ ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะเวทนาที่มีเกิดขึ้น
แล้วจางคลายหายไปเอง บางคนใช้คำว่ามันซ่าๆแล้วหายไป
ตราบใดที่สภาวะจิตดวงสภาวะจิตดวงสุดท้ายยังไม่ปรากฏ
เวทนากล้าก็ยังปรากฏอยู่
อุปมาเหมือนคนป่วย ป่วยซ้ำซาก ไม่หายสักที

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระสูตร
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นพระสกทาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง
พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


สักกายทิฏฐิ
ละด้วยการละกามฉันทะ
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
อัปปณิหิตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

วิชชา ๑ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ


สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ
ละด้วยภวตัณหาหมดสิ้นไป
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
สุญญตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

วิชชา ๒ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ


ทิฏฐุปาทาน
ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ ประการ
ละอวิชชา
สติปัฐาน ๔ ในสมถะและวิปัสสนา
อนิมิตตวิโมกข์มีเกิดขึ้น แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏ แล้วดับ

ทิฏฐิปาริสุทธิ
ได้แก่ การแจ้งอริยสัจ ๔
วิชชา ๓ ปรากฏ จึงจะเข้าใจ

๖. อากังเขยยสูตร

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

ประกอบด้วยวิปัสสนา

พอกพูนสุญญาคาร.

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมายเหตุ;

หมายถึง การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)
สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เป็นเรื่องของ กรรมเก่า(การกระทำที่เคยกระทำไว้ในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
(วิบากกรรม /เวทนา ที่มีเกิดขึ้น)

ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง กาย วาจา(ไม่สานต่อ)
เป็นการดับรอบเฉพาะตน(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว(กรรมใหม่/วจีกรรม กายกรรม ไม่มี)

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว(มรรค-อริยมรรค มีองค์ 8)

กิจที่ควรทำ(หยุด) ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

หมายเหตุ;

ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิในระดับฌาน(มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ)

มิจฉาสมาธิ
สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้
(สมาธิบดบังกิเลส)

สัมมาสมาธิ
สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม

ประกอบด้วยวิปัสสนา

หมายเหตุ;

ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นทั้งในการดำเนินชีวิต
และขณะทำความเพียร

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ) เนืองๆ

สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนา
(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา/ไตรลักษณ์)
ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เมื่อใจน้อมลงสู่วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)เนืองๆ

หากมีผัสสะใดเกิดขึ้น
ใจย่อมน้อมลงสู่วิปัสสนาเอง โดยไม่ต้องคิดพิจรณา

เป็นเหตุปัจจัยให้จิตเกิดการปล่อยวาง จากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

พอกพูนสุญญาคาร

หมายเหตุ;

อยู่ในเรือนว่าง

สุญญตา

เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า
หมายถึง สุญญตา หรือ สภาวะที่ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เกิดขึ้น

1. ที่มีเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

2. ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ
คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

หากเป็นมิจฉาสมาธิ หรือที่เรียกว่า สมถะ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง

รูปฌานและอรูปฌาน

รูปฌาน อรูปฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

ฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ จะขาดความรู้สึกตัว

เป็นเหตุปัจจัย ทำให้ไม่สามารถรู้ชัดในผัสสะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นอยู่

 

บางที่เรียกว่า เป็นสมาธิแบบฟลุ๊กๆ คือ นั่งแล้ว สว่างวาบทันที

นั่งทุกครั้งแสงสว่างเกิดตลอด ไม่ก็มีแต่เพียงความสงบ เงียบ นิ่ง

 

ขาดความรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม ที่มีเกิดขึ้นเป็นปกติ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

บางที่นิยมเรียกว่า สมาธิหัวตอ

 

ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ จะมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้นร่วม

เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

 

ถึงมีโอภาสเกิด ยังคงรู้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกายเป็นปกติ

เช่น มีอาการปวดแข้งปวดขา ก็รู้ โอภาสเกิดขึ้นอยู่ ก็รู้

 

ถ้ากำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ล้ำหน้าสติ จะบดบังอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกาย

รู้สึกว่า กายที่มีอยู่ หายไปหมด แต่รู้ว่า กายนั้นยังมีอยู่

 

รู้ซ้อนรู้ หรือจะเรียกว่าอะไร ก็ได้ แล้วแต่จะเรียก

เพียงแต่มีสติรู้อยู่ รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นว่า

 

ในความว่างที่ปรากฏขึ้นนั้น กายนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่ปรากฏขึ้นเป็นรูป

จึงมีชื่อเรียกว่า อรูปฌาน ที่มีเกิดขึ้นในระดับต่างๆ ตามกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

 

นำมาบางส่วนจาก สันตวิโมกขสูตร

“ได้สัมผัส สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่”

จำฝังใจ

๒๓ พค.๕๗

เรื่องราวของผัสสะต่างๆ(สิ่งที่เกิดขึ้น) ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น จำฝังใจไม่รู้ลืม เพราะไม่ได้เกิดแค่ครั้งเดียว แต่เกิดเดิมๆซ้ำๆ 

ต้องอาศัยการทำความเพียรต่อเนื่อง จึงจะรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้ ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำในตำรา หรือนำตำราไปเทียบเคียง เพื่อหาคำเรียก 

แต่จะมีเหตุปัจจัย ทำให้รู้ชัดในคำเรียกต่างๆเหล่านั้นเอง ไม่ใช่เกิดจากการวิ่งหานอกตัว

ฌาน

คำเรียกของ”ฌาน” มาจากไหน

คำเรียกของ”ฌานต่างๆ” มาจากไหน

คำเรียกของ”รูปฌานและอรูปฌาน” มาจากไหน

คำเรียกของ องค์ประกอบของ สมาธิในระดับต่างๆ มาจากไหน

คำเรียกเหล่านี้ จะรู้ได้ ล้วนเกิดจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

จนกระทั่งรู้แจ้ง แทงตลอด ในสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกๆขณะ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

คำเรียกต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดจากการทำความเพียรต่อเนื่อง มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

จนกระทั่ง รุ้แจ้ง แทงตลอด ในสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

ถ้าสามารถรู้ชัดในสภาวะต่างๆเหล่านี้ได้

องค์ประกอบ ของรูปฌาน มีความเด่นเฉพาะของ ลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น หรือองค์ประกอบ ที่เป็เหตุปัจจัย ให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า รูปฌาน

องค์ประกอบ ของอรูปฌาน มีความเด่นเฉพาะของ ลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น หรือองค์ประกอบ ที่เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า อรูปฌาน

ไม่ว่าจะเป็น รูปฌาน อรูปฌาน  สภาวะเหล่านี้ ล้วนมีลักษณะที่เกิดขึ้นเฉพาะตัว ของแต่ละสภาวะ

ต้องย่ำสภาวะนั้นจนพรุน ถ้าเปรียบเทียบกับการเดิน หลับตาเดิน ก็ยังเดินได้ตรงทาง

แต่คำเรียกที่กล่าวมานี้ ยังไม่ใช่วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ วลัยพรจึงบอกว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม อย่าไปหลงติดกับดักของคำเรียกเหล่านี้

เพราะ วันใดวันหนึ่ง เพียงทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม จะทำให้รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เมื่อมีสภาวะสัมมาสมาธิ เกิดขึ้นแล้ว จะเป็นเหตุปัจจัย ให้รู้ด้วยตนเองว่า สภาวะเหล่านี้ ล้วนเป็นความปกติ เป็นเรื่องปกติ ที่มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้

เหตุเพราะ เมื่อเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ จะรู้ชัดในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่กาย(สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เช่น ขนลุก ขนพอง ขนหัวตั้ง

เวทนา ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นกับกาย

จิต กิเลสต่างๆที่เกิดขึ้น

ธรรม ความนึกคิด บ้างเรียกว่า จิตคิดพิจรณา เรียกแบบใดก็ได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิด

สิ่งเหล่านี้ จะมีเกิดขึ้น ในแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น เหตุจาก มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ เป็นเหตุปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ

ถ้ารู้ชัดแบบนี้ได้ อุปกิเลส จะทำอะไรไม่ได้เลย

สภาวะฌาน

อยากรู้เรื่อง สภาวะฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ให้ฟัง ฟังหลวงพ่อพุธ เรื่อง การฝึกสมาธิภาวนา ที่เป็นองค์ฌาน

http://www.youtube.com/watch?v=-YMGSknjYnc

๒๕ เมย.๕๕ (ฌาน)

ทำตามสภาวะ

หลังจากเสร็จงาน เมื่อนั่งสมาธิต่อ จิตจะเป็นสมาธิอย่างง่ายดาย เนื่องจากการสะสมของกำลังสมาธิที่เกิดจากการทำงานต่อเนื่อง สมาธิที่เกิดขึ้นจะมีกำลังแนบแน่น เป็นเหตุให้สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้นาน

ปล่อยจิตเป็นอิสระ ดำเนินไปตามสภาวะ หรือที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ ซึ่งจะเกิดเฉพาะในสภาวะสัมมาสมาธิเท่านั้น มิจฉาสมาธิจะเกิดไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นสมาธิที่มีกำลังมากแต่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อาจจะมีแค่โอภาส
หรือนิ่งหรือดับ ขาดความรู้สึกตัว

เรื่องสภาวะของญาณ ๑๖ เมื่อก่อนก็เข้าใจผิดเหมือนหลายๆคนที่เข้าใจผิด ไปยึดติดในสิ่งที่บอกต่อๆกันมาว่า ญาณ ๑๖ ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นของวิเศษ ต้องหาครูบาอาจารย์สอบอารมณ์
เพื่อจะได้รู้ว่าปฏิบัติถูกทางหรือไม่ อยู่ญาณไหน เรียกว่าอะไร

ต้องโง่มาก่อนคือ ไม่รู้ก่อนที่จะรู้

แท้จริงแล้ว สภาวะของญาณ ๑๖ เป็นสภาวะที่เกิดเฉพาะในสัมมาสมาธิเท่านั้น เป็นเพียงสภาวะของจิตที่รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง
ไม่ใช่เกิดจากการนำความมีตัวตนหรือทิฏฐิของตนที่มีอยู่เข้าไปแทรกแซงสภาวะ อันนั้นเรียกว่า จงใจหรือเจตนาทำให้เกิดขึ้น

การที่รอให้สมาธิคลายตัว จึงนำความรู้ที่เเกิดจากการฟัง หรือศึกษามา ยกธรรมหรือสิ่งที่รู้ นำมาคิดพิจรณาหาเหตุและผล อันนี้เรียกว่า จงใจหรือเจตนาทำให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด

บางคน ด้วยเหตุที่ทำมา ผลจึงทำให้สภาวะเป็นเช่นนั้น บางครั้งเกิดการน้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดจากความคิดพิจรณา ถ้านำไปสร้างเหตุนอกตัว เหตุเกิดจากคิดว่าสิ่งที่ถูกรู้หรือที่คิดพิจรณานั้นถูกต้อง นี่ทิฏฐิแทรกแต่ยังไม่รู้

นำสิ่งที่คิดว่ารู้ไปสร้างเหตุนอกตัว เป็นวิวาทะต่อผู้อื่น เพราะทิฏฐิหรือความคิดเห็นของผู้อื่นแตกต่างไปจากตนเอง เหตุมี ผลย่อมมี ไม่มีอะไรเหนือกฏแห่งกรรมหรือกฏแห่งการกระทำ

เมื่อสร้างเหตุแล้ว ผลย่อมมีอย่างแน่นอน เมื่อเกิดวิวาทะหรือมีความคิดแตกต่างจากผู้อื่น ย่อมนำรู้นั้นๆมาขบคิดหาเหตุหาผลเพื่อต้องการรู้ว่าถูกตามที่ตนเองคิดหรือไม่ ผลตามมา คือ ความฟุ้งซ่าน แต่ไม่รู้ว่าฟุ้งซ่าน
นี่คือเหตุของสภาวะนิวรณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เมื่อยังมีความคิดค้างอยู่ พอไปนั่งสมาธิ จิตย่อมตั้งมั่นได้ยาก หรือจิตที่ถูกฝึกมาดีแล้ว เกิดความชำนาญในการเข้าออกสมาธิได้ดี เมื่อนั่งสมาธิ จิตอาจจะตั้งมั่นได้ปกติ เพียงแต่กำลังของสมาธิไม่แนบแน่น เป็นเหตุให้ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้นาน
เป็นเหตุให้มีแต่ความคิด นี่แหละถึงได้บอกว่า การกระทำภายนอก ส่งผลกระทบต่อสภาวะภายใน ได้แก่ สภาวะสัมมาสมาธินี่เอง

เหตุเนื่องจาก หากกำลังสมาธิไม่มีกำลังมากพอ ความแนบแน่นของสมาธิย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จึงเกิดขึ้นไม่ได้ อย่างมากเพียงขณิกสมาธิสั้นๆเท่านั้นเอง

หยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่ว่าจะชอบหรือชัง ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆ แค่รู้ไป แต่อย่านำไปสร้างเหตุกับผู้อื่น จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่าย สมาธิที่เกิดขึ้นย่อมมีกำลังมาก มีความแนบแน่นมาก ย่อมรู้ชัดในกายและจิตได้ต่อเนื่อง ภพชาติสั้นลง

เรามาปฏิบัติเพื่อการตัดภพตัดชาติ หรือที่เรียกตามบัญญัติว่า พระนิพพาน คือ ความดับภพ ดับภพชาติปัจจุบันและภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

พระผู้มีพระภาค จึงทรงวางแนวทาง เริ่มต้นจากศิล รู้แบบชาวบ้าน คือ การทำความดี การรักษาศิล เมื่อศิลสะอาด สมาธิย่อมเกิด ซึ่งสภาวะแท้จริง คือ การสำรวม สังวร ระวังในเรื่องการสร้างเหตุ การไม่สร้างเหตุนอกตัว
เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย

เมื่อสมาธิเกิดแล้ว ยังไม่ถูกขัดเกลา ยังเป็นมิจฉาสมาธิ ต้องปรับอินทรีย์ระหว่างสสมาธิกับสติให้สมดุลย์ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ซึ่งเป็นสภาวะสัมปชัญญะ คือตัวปัญญา เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ จิตสามรถรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย
เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมตามความเป็นจริง

สภาวะที่เกิดขึ้นจากการรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตขณะจิตเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นี่แหละคือ ที่มาของสภาวะสมถะและวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงนำแนวทางทิ้งไว้ให้ ทางไปสู่พระนิพพาน ความดับภพ
ดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบันและการเกิดเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร

มีทางนี้ทางเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ ทำจริง คือ ทำต่อเนื่อง ย่อมได้ผลจริง ที่ไม่ได้ผล เพราะทำเหยาะแหยะ ทำไม่ต่อเนื่อง ทำแล้วชอบเปรียบเทียบ มีแต่วิจิกิจฉา นี่คืออะไร ใช่ญาณนั้นญาณนี้หรือเปล่า บรรลุแล้วหรือยัง เป็นโสดาหรือยัง
ทำเพราะความอยากรู้ อยากมี อยากได้ ออยากเป็นอะไรๆในบัญญัติ รู้มากจึงยากนานเพราะเหตุนี้

ถ้าแค่รู้ ยอมรับไปว่ายังมีการให้ค่า เป็นเรื่องปกติ ยังมีกิเลส ทำต่อเนื่อง ไปต้องไปให้ใครรับรองหรือยืนยันสภาวะ ไม่ต้องหาใครหรือครูอาจารย์ไหนมาสอบอารมณ์ ครูอาจารย์ไม่แตกต่างจากทุกๆคนหรอก รู้แค่ไหน ย่อมวิาพกย์วิจารณ์
หรือแนะนำเรื่องสภาวะได้แค่นั้น

เมื่อเกิดการน้อมใจเชื่อ เกิดจากความศรัทธา มีการนำสิ่งที่คิดว่าใช่ คิดเป็น ไปสร้างเหตุ ภพชาติถึงเกิดต่อเนื่อง แทนที่จะดับที่ต้นเหตุ ได้แก่ ใจทะยานอยากของตนเอง เหตุมี ผลย่อมมี อันนี้ไปว่ากันไม่ได้ มีเยอะแยะมากในปัจจุบัน

บางคนสร้างเหตุของการเกิด แต่ดูไม่ออก เพราะอวิชชาครอบงำอยู่ วิพากย์วิจารณ์เหตุของผู้อื่น ที่เกิดจากความยินดี ยินร้าย เหตุจากอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดว่ารู้ คิดว่าถูก เมื่อมีผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตนเองมองว่าผิด
มองว่าไม่ควรทำ ไปวิพากย์วิจารณ์

หารู้ไม่ว่า สิ่งที่มองเห็นหรือผัสสะที่เกิดขึ้น นั่นแหละเหตุของตนเองที่มีอยู่ ส่งมาให้ได้รับในรูปของผัสสะที่เกิดขึ้น เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงไปวิพากย์วิจารณ์ว่า ถูกบ้าง ผิดบ้าง โดยการเอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง

เมื่อก่อน ผู้เขียนก็เคยเป็นเช่นนั้น จึงเข้าใจในสภาวะของบุคคลเหล่านั้น นั่นคือ เหตุของเขาที่ยังมีอยู่ เมื่อเขาไม่รู้ เขาจึงไม่หยุด ชีวิตเขาจึงเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในเปลือกแบบไหน สภาวะไม่แตกต่างกันหรอก

แนวทางการปฏิบัติในปัจจุบัน จึงมีคำว่า วิปัสสนา วิปัสสนาญาณ สติปัฏฐาน มหาสติปัฏฐาน จากการยึดสิ่งที่เรียกว่า สมถะ วิปัสสนา ยึดโดยบัญญัติ ไม่ใช่จากสภาวะตามความเป็นจริง

บ้างก็กล่าวตามทิฏฐิของตนว่า การทำสมาธิให้ได้ฌาน เป็นการปฏิบัติแบบฤาษี ไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ เพียงแต่กดข่มกิเลสไว้ชั่วคราวตามกำลังของสมาธิ ต้องวิปัสสนาเท่านั้น หารู้ไม่ว่า วิปัสสนาที่นำมากล่าวกันในปัจจุบันนี้
ส่วนมากยังเป็นเพียงการทำสมาธิ ผลที่ได้รับก็คือ สมาธิ แต่ก็เป็นเหตุของสภาวะสัมมาสติให้เกิด

เพราะการทำสมาธิ ไม่ว่าจะเกิดจาก การเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แก่

ฉันทสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำตามเหตุปัจจัย(สัญญา) คือ ทำตามความถนัด ความสะดวก เป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ เกิดจากสัปปายะที่ถูกจริต ไม่ว่าจะอากาศ บรรยากาศ สถานที่ อาหาร อิริยาบทฯลฯ
ทำแบบไหนๆก็ได้ ทำแล้วสะดวก เวลาสะดวก สถานที่สะดวก อากาศถูกใจ บรรยากาศถูกใจ ทำตามถนัด ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวแน่นอน เป็นการทำตามลักษณะการดำรงชีวิต ตามเหตุปัจจัยของตนเอง

วิริยสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากความเพียร ความเพียรเป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง

จิตสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากจิต การกำหนดต้นจิตเป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) ได้แก่ การเจริญสติ ,การกำหนดต้นจิต เช่น การใช้หนอกำกับลงไปในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น การดูจิต ,การนิ่งรู้ นิ่งดู นิ่งสังเกตุ ,การใช้รูปนามเป็นอารมณ์ (เป็นคำเรียกแทนกายและจิต) ฯลฯ สภาวะใดก็ตามที่จิตเป็นเหตุของการให้เกิดความรู้ชัด ล้วนเป็นสภาวะจิตสมาธิ

วิมังสาสมาธิ เป็นสมาธิ ที่เกิดจากการใช้ความคิดพิจรณา ขณะที่คิดพิจรณา เป็นเหตุให้จิตเกิดความตั้งมั่น(สมาธิ) เช่น คิดพิจรณาหาเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตน การคิดพิจรณาเรื่องปฏิจจสมุปบาท

การคิดพิจรณาเรื่องขันธ์ ๕ หรือการยกธรรมะที่เกิดจากการอ่าน การฟัง แม้กระทั่งได้ศึกษา นำธรรมนั้นๆมาคิดพิจรณา

การเจริญอิทธบาท ๔ ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะแบบไหนๆก็ตาม ผลที่ได้ คือ สมาธิหรือสมถะ แต่เป็นเหตุของการสร้างสติมีกำลังมากขึ้น เป็นการสะสมสติ

เมื่อปฏิบัติต่อเนื่อง สติมีกำลังมากขึ้น สภาวะสัมมาสติย่อมเกิด การที่เอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิย่อมเกิด

สติ ตัวระลึก ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนทำกิจ

สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่

เมื่อวิตก (สติ) วิจาร (การเอาจิตจดจ่อหรือสัมปชัญญะ) สมาธิย่อมเกิด เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ ความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่(อดีต)และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่(ปัจจุบัน)

ฌาน

แท้จริงแล้ว ทุกคนทำฌานให้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่อยู่ในท้องของมาดา ได้ฌานกันมาตั้งแต่เริ่มมีจิตเกิดขึ้นในอัตภาพร่างกายนั้นแล้ว เมื่อเกิดมาแล้ว ยังไม่รู้ชัดในสภาวะสมาธิที่นำมาเรียกๆกัน
จึงมีคำอธิบายในสภาวะของจิตขณะเป็นสมาธิ มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสภาวะ

เหมือนเวลาที่กำลังหลับ นั่นก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง แต่ยังเป็นมิจฉาสมาธิ เวลานอนหมั่นรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก จนกระทั่งหลับ นั่นเป็นการฝึกสติเหมือนกัน หมั่นรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกทุกๆวัน สติจะมีกำลังมากขึ้นเอง
ต่อมา เมื่อสภาวะพร้อม สภาวะสัมปชัญญะย่อมเกิดขึ้น ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจึงเกิด ฝึกได้นะ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ที่ทำได้หรือไม่ได้ อยู่ที่สัปปายะของคนๆนั้น อยู่ที่เหตุที่ทำมา

วิปัสสนาหรือการเจริญสติปัฏฐาน ที่นำมาเรียกว่า วิปัสสนาในปัจจุบัน ล้วนเป็นสภาวะของการเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้สภาวะอิทธิบาท ๔ สมาธิเกิด เป็นสภาวะจิตสมาธิ คือ มีจิตเป็นประธานของเหตุทำให้เกิดสมาธิ

ผลที่ได้รับ ได้แก่ สมถะในสติปัฏฐาน ๔ ที่มีปรากฏอยู่ในพุทธวจนะ ซึ่งปัจจุบันนำเรียกว่า วิปัสสนา หรือสติปัฏฐาน ๔

เมื่อสมาธิเกิด สมาธิในที่นี้ หมายถึงอัปปนาสมาธิ คือ สภาวะดับขณะสมาธิเกิด เนื่องจากกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นมีกำลังมากและแนบแน่น เป็นเหตุให้ขาดความรู้สึกตัวหรือที่เรียกว่า ดิ่งหรือดับ เป็นสภาวะของ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

สมาธิที่เกิดขึ้น เป็นสมาธิที่ยังไม่ได้ขัดเกลา เป็นมิจฉาสมาธิ เหตุจาก มีสติ รู้ว่าสมาธิเกิดแล้ว รู้ว่าเกิดแล้วดับหายไป งุบลงไป ดิ่งลงไป เหมือนเวลาหายไป ขาดความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

คำเรียกของสภาวะฌานต่างๆ ให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตเป็นหลัก เช่น ปีติ สุข อุเบกขา จริงๆแล้วก็แค่คำเรียก สิ่งที่สำคัญ คือ ความรู้สึกขณะจิตเป็นสมาธิ

ส่วนอุปจารสมาธิ มีนิมิตต่างๆเเกิด ได้แก่ นิมิตภาพ แสง สี เสียง กลิ่น หากสภาวะวสียังไม่เกิด คือ ความชำนาญในเข้าออกสมาธิ ยังทำไม่ได้ เป็นเหตุให้ ติดอยู่สภาวะนิมิต

วิธีปรับอินทรีย์ ทั้งที่มีนิมิต และที่ไม่มีนิมิต อาจจะดับ ดิ่ง นิ่งหรือว่าง แต่ขาดความรู้สึกตัว ให้เดินก่อนที่จะนั่ง เพิ่มเดินไปจนกว่านั่งแล้วนิมิตไม่เกิดในสมาธิ ยกเว้นโอภาส แสงสว่าง เป็นนิมิตหรือเครื่องหมายของสภาวะอัปปนาสมาธิ

แต่ถ้าเกิดโภาส รู้ได้แค่แสง ไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะทั้งหมดได้ คือ ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็ต้องปรับอินทรีย์เช่นกัน จนกว่าสมาธิกับสติสมดุลย์ มีโอภาสเกิด และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดร่วมด้วย

เหตุนี้ จึงต้องปรับอินทรีย์ ระหว่าง สมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์ ส่วนวิริยะ/ความเพียร ความศัรทธา ปัญญา เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ใช่การเจาะจงทำให้เกิดขึ้น

เมื่อสมาธิกับสติเกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิด สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมขณะจิตเป็นสมาธิ นี่คือเหตุของการเกิดสภาวะสัมมาสมาธิ

สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นที่มาของวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ ที่มีปรากฏอยู่ในพุทธวจนะ ซึ่งปัจจุบันนำมาเรียกว่า วิปัสสนาญาณ(ญาณ ๑๖) หรือมหาสติปัฏฐาน

สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่คำเรียก อยากจะเรียกว่าอะไรก็เรียกได้ตามสบาย เพราะยังมีกิเลส เป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญของสภาวะ คือ ความรู้สึกขณะจิตเป็นสมาธิ เมื่อสภาวะนี้เกิดแล้ว จะรู้ชัดในสภาวะอื่นๆตามความเป็นจริง รวมทั้งการสร้างเหตุใหม่ด้วย

สร้างเหตุภายนอก ย่อมมีผลกระทบกับสภาวะภายใน นิวรณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากการสร้างเหตุ จึงเป็นที่มีของคำว่า นิวรณ์ เป็นเหตุของจิตไม่ตั้งมั่น หรือเป็นตัวปิดกั้นสมาธิไม่ให้เกิด

นี่แหละเหตุของการกล่าวโทษนอกตัว ไปโทษนิวรณ์ ที่เป็นเพียงสภาวะ เป็นผลของการสร้างเหตุภายนอก นั่นถูก นี่ผิด จริง ไม่จริง ทำได้ ไม่ได้ ฯลฯ มีแต่เหตุที่ทำกันขึ้นมาเองน่ะแหละ ไม่ใช่ใครที่ไหนทำให้เกิดขึ้นเลย

เรื่องสภาวะเป็นเรื่องละเอียด จะรู้แบบหยาบๆ จะค่อยๆรู้ชัดรายละเอียดของสภาวะมากขึ้นเรื่อยๆ แบบทะยอยรู้ ไม่ใช่รู้ทีเดียวแล้วจบ เหมือนเรื่องสภาวะต่างๆที่เขียนบันทึกไว้

สภาวะเหล่านี้ เป็นสภาวะของสัญญา ที่เกิดจากสติเป็นตัวขุดคุ้ยขึ้นมา เกิดขึ้นขณะที่จิตเป็นสมาธิ กำลังของสมาธิจึงสำคัญมาก ต้องมีกำลังมาก แนบแน่นมาก เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นอยู่ได้นาน เหตุของสัมปชัญญะเกิด

เป็นเหตุให้ สติสามารถขุดคุ้ยสัญญาต่างๆเหล่านั้นขึ้นมาได้ ทั้งๆที่ ผู้เขียนไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาก่อน ไม่เคยรู้เรื่องปริยัติมาก่อน แต่มารู้ได้เพราะสภาวะ

การที่ได้มาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริยัติ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ล้วนเกิดจากสภาวะทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากการคิดจะนำไปสอนใครหรืออะไรแต่อย่างใด

เหตุนี้ สภาวะจึงปรากฏตั้งแต่หยาบ เหมือนคนเขียน ก.ไก่ แรกๆฝึกเขียนโดยมีแค่ภาพ ไม่มีรอยปะ พอมีรอยปะในการเขียน เขียนได้ง่ายขึ้น พอเขียนชำนาญ เริ่มไม่ใช้รอยปะในการเขียน สภาวะรู้ที่เกิดจากขณะจิตเป็นสมาธิก็เช่นเดียว
ล้วนเกิดจากสัญญาที่มีอยู่ เพียงแต่ต้องอาศัยกำลังของสมาธิ สติ สัมปชัญญะ (สัมมาสมาธิ) เป็นหลัก จึงจะไปรู้สิ่งต่างๆเหล่านั้น

รู้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยังเป็นเพียงสัญญา สักแต่ว่ารู้ เขียนบันทึกไว้เรื่อยๆ เมื่อสัญญาปรากฏชัดเต็มที่ จึงจะเป็นปัญญา ไม่ใช่เกิดจากยึด คือให้ค่าในสิ่งที่เกิดขึ้น(ทิฏฐิ)

ปัญญาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีแต่เหตุของการดับเหตุของการเกิด ไม่ใช่เกิดจาก คิดว่ารู้ ซึ่งเป็นเพียงสัญญา มีแต่การนำไปสร้างเหตุของการเกิด

เหตุนี้ ที่มาของคำกล่าวว่า ทุกข์มีไว้ให้กำหนดรู้ เหตุเพราะ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดจากผัสสะเป็นเหตุ)และภายใน(เกิดจากการปฏิบัติเป็นเหตุ) ล้วนเกิดจากความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้นในจิต ที่มีผัสสะทั้งรูปและอรูปเป็นเหตุปัจจัย

การหลีกเว้นและการคบหา

โดยหลีกเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ

การหลีกเว้นเสียอย่างห่างไกล ซึ่งบุคคลทั้งหลายจำพวกที่ไม่เคยก้าวขึ้นสู่เนกขัมมปฏิปทา คือ ไม่เคยปฏิบัติปฏิปมาที่ให้ออกจากกาม มัวแต่วิ่งวุ่นอยู่ในกิจการเป็นอันมาก มีใจฟุ้งเฟ้อไปในกิจการนั้นๆ ชื่อว่า หลีกเว้นคนผู้ไม่มีสมาธิ

โดยคบหาบุคคลผู้มีสมาธิ

การเข้าไปคบหาสมาคมกับบุคลลทั้งหลาย จำพวกที่ปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทา ได้สำเร็จสมาธิโดยกาลอันควรตลอดกาล ชื่อว่า สมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ

โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น

ความน้อมจิตไปในอันที่จะทำสมาธิให้บังเกิดขึ้น คือ ความหนักในสมาธิ ความน้อมไปในสมาธิ ความทุ่มเทไปในสมาธิ ชื่อว่า น้อมจิตไปในสมาธินั้น โยคีบุคคลพึงทำอัปปนาโกศลให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้

ต้องทำให้ชำนาญด้วยวสี ๕

ก็แหละโยคีบุคคลผู้แรกทำกัมมัฏฐาน ซึ่งได้บรรลุปฐมฌาน แม้กระทั่งฌานอื่นๆตามเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมา ต้องฝึกเข้าฌานให้มากๆ แต่อย่าพิจรณาองค์ฌานให้มาก

เพราะเมื่อพิจรณามาก องค์ฌานทั้งหลายก้จะปรากฏเป็นสภาวะที่หยาบมีกำลังน้อย และเพราะเหตุปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น องค์ฌานเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ความขวนขวายเพื่อภาวนาเบื้องสูงไปเสีย

เมื่อเธอสาละวนขวนขวายอยู่ในฌานที่ยังไม่คล่องแคล่ว เธอจะเสื่อมจากฌานปฐมฌานหรือฌานที่เกิดตามเหตุปัจจัยที่เคยทำไว้ ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌานหรือแม้กระทั่งฌานอื่นๆนั้นด้วย

เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบ

แม่โคนั้น จะพึงคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอเราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคย

ครั้นแล้วมันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ทีเสียก่อน แล้วยกเท้าหลังขึ้น มันก็จะไม่พึงไปทิศที่ตนไม่เคยไป ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนยังไม่เคยกัดกิน และไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม

มิหนำซ้ำ มันยังไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิมที่มันยืนคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ฉะนี้ด้วย ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น มันโง่ มันไม่ชำนาญ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบโดยแท้ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว คือ เป็นคนโง่ เพราะ ไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต เป็นคนไม่ชำนาญ เพราะไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้นซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ได้ส้องเสพนิมิต (เครื่องหมายหรือสภาวะ คนละอย่างกับนิมิตแสง สี เสียง ภาพ) นั้น ไม่ทำให้นิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ไม่ทำให้มากๆเข้า ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี

ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุซึ่งทุติยฌานอันเป็นภายใน ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ มีภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปแล้ว มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌาน …. นั้นได้

ถึงเธอจะมีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ….. นั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง ๒ เป็นผู้เสื่อมสูญแล้ว จากฌานทั้ง ๒ เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์โง่ไม่ชำนาญ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น

เพราะเหตุฉะนี้ อันโยคีบุคคลนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้สั่งสมวสี คือ ความสามารถด้วยอาการ ๕ อย่าง ในปฐมฌานนั้นนั่นเทียวเสียก่อน

เคล็ดไม่ลับการทำสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ๒ (ใหม่ )

จากพระสุตันตปิฎก ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถ้อยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

จากข้อความตรงนี้ ปฐมฌาน หรือฌาน 1

วิตก คืออุบายในการทำให้จิตจดจ่อ อาจจะมีการบริกรรมภาวนาต่างๆ หรือไม่มีการบริกรรมภาวนา หรือดูตามอาการที่เกิดตามเป็นจริง เช่น อาการของท้องพองหรือ ยุบ ตามลมหายใจเข้าและออก หรือจะดูเพียงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอย่างเดียวก็ได้

( ธรรมชาติของร่างกาย เวลาหายใจเข้า ท้องจะพอง เวลาหายใจออก ท้องจะแฟ่บหรือยุบ ) หรือการเพ่ง จับจ้อง อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ( เช่น กสิณต่างๆ )

วิจาร คือ อาการที่จิตจดจ่อ อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง

ปีติ มีอาการที่เกิดแตกต่างกันไป

1.ขุททกาปีติ มีอาการเยือกเย็นจนขนลุกขนพอง ผู้ปฏิบัติมักมีอาการขนลุกจนซู่ซ่า ขึ้นตามตัวและศรีษะ

2.ขณิกาปีติ มีอาการคัน เหมือนมดไต่ ไรคลาน ยุบๆยิบๆ ตามหน้าและตามตัว

3.โอกกันติกาปีติ มีอาการเหมือนโต้คลื่น ตัวโยก ตัวโคลง

4.อุพเพงคาปีติ มีอาการเหมือนตัวเบา ตัวลอยสูงขึ้น บางครั้งมีอาการสัปหงก โงกข้างหน้า โงกข้างหลัง

5.ผรณาปีติ มีอาการเย็นซาบซ่าน วูบวาบไปทั่วกาย

สุข เมื่อเกิดปีติ สุข ย่อมตามมา

อุปสรรคในการฝึกสมาธิ

นิวรณ์ เป็นอุปสรรคโดยตรงของการฝึกสมาธิ เพราะจิตที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ ย่อมไม่สามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ ในอกุสลราสีสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ได้กล่าวถึงนิวรณ์ว่าเป็นกองอกุศล ดังพุทธพจน์ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง กล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?

คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิกิจฉานิวรณ์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕

( พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ ๒๕๒๕:๑๑๖ )

กามฉันทะ ความพอใจในกาม ความต้องการกามคุณ จัดเป็นโลภะ

พยาบาท ความคิดร้าย จัดเป็นโทสะ

ถีนมิธทะ ความหดหู่ ความเซื่องซึม

อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และความร้อนใจ

วิกิจฉา ความลังเล สังสัย

(อันนี้ขอเสริม จากประสพการณ์โดยตรง คือ ให้เราระลึกไว้อยุ่เสมอว่า หน้าที่เราคือทำอะไร ขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยุ่ ให้เอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำ อย่าไปส่งจิตออกนอก นอกอะไร นอกกายนั่นเอง

เพราะการทำสมาธิ เป็นเรื่องของกายและจิต ซึ่งมีสติ สัมปชัญญะ ประกอบอยู่ด้วยตลดเวลา หากบางครั้ง ขณะที่ปฏิบัติอยู่ อาจจะมีจิตฟุ้งซ่าน ไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ก็ให้เอาสติจับกลับมารู้ที่กาย ว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือกลับมาจับที่องค์บริกรรมภาวนา หรือหายใจให้ยาวๆ เพื่อจะได้สติรู้ตัว ว่ากำลังฟุ้งแล้วนะ มันออกไปนอกตัวแล้วนะ ทำบ่อยๆจิตมันจะค่อยๆสงบลงไป )

นิมิต

ขณะที่ทำสมาธิ อาจจะเห็นภาพ หรือมีภาพต่างๆเกิดขึ้น ไม่ต้องไปสนใจหรือให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่เห็น เพราะเมื่อเราไปให้ค่า ให้ความหมายในสิ่งที่เห็น ต่อมเอ๊ะ จะถูกทำงานทันที ต่อมเอ๊ะก็คือ ความสงสัย

เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นแล้ว มันจะเกิดขึ้นไม่รู้จบ จะต้องคอยเทียวไปถามหาคำตอบ ถาม 100 คนก็ได้ 100 คำตอบ เพราะคำตอบแต่ละคำตอบก็อยู่ที่คนจะให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่เห็นนั้นๆ

การปฏิบัติแทนที่จะก้าวหน้าต่อไปก็เลยสะดุด หยุดไปชั่วคราว บางคนก็หยุดยาวไปเลย เพราะมัวค้นหาคำตอบ กลับมารู้ที่กาย บางคนก็ไปสวรรค์นรกทางนิมิต สุดท้ายการปฏิบัติเลยไม่ก้าวหน้า ติดอยู่แค่นิมิต

เมื่อเกิดนิมิต

คือ ไม่ต้องไปสงสัยในสิ่งที่เห็น อาจจะกำหนดตามสิ่งที่เกิดหรือที่เห็น คือ เห็นหนอๆๆ หายใจยาวๆ รู้หนอๆๆๆ หายใจยาวๆ โดยใช้จิตกำหนด ไม่ใช้ปากกำหนด

หรือ เอาจิตปักที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ กำหนดรู้หนอๆๆๆ คือสักแต่ว่ารู้ แต่ไม่ให้ค่าหรือความหมายในสิ่งที่รู้หรือเห็น

หรือ กลับมารู้ที่กาย โดยการดูอาการของท้องพอง ยุบ หรือหายใจยาวๆเพื่อจะได้มีสติรู้ตัว นิมิตนั้นก็จะดับไป บางคนก็ไปสวรรค์นรกทางนิมิต สุดท้ายการปฏิบัติเลยไม่ก้าวหน้า ติดอยู่แค่นิมิต

โอภาส

บางคนเห็นแสงสีต่างๆ หรือความสว่างเจิดจ้ามากๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงสี หรือแม้แต่จะความสว่างมากหรือน้อย ก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้กลับมารู้ที่กาย โดยเอาสติเข้าจับความรู้สึกว่า ขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ เรากำลังส่งจิตออกนอก ไปสนใจสิ่งนอกตัว ให้กลับมารู้ที่กาย วิธีแก้ ก็ทำแบบเดียวกับการเกิดนิมิต

ปีติ สุข

ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดสมาธิ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น อย่าไปดื่มด่ำหรือซึมซับอารมณ์ตรงนั้น ให้กลับมารู้ที่กาย วิธีแก้ ก็ทำแบบเดียวกับเวลาเกิด นิมิต เกิดโอภาส เพราะสิ่งเหล่านี้ มีผลต่อการเจริญสมาธิในขั้นต่อไป

หากยังละสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ สมาธิจะก้าวหน้าถึงจตุตถฌาน ไม่ได้ เพราะแต่ละขั้น มีแต่จะละไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีแต่สภาวะปรมัติล้วนๆ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะไม่มีเหลือในจตุตถฌาน

จะมียกเว้นคือ โอภาส ที่จะเจอบ่อยมากที่สุด ยิ่งกำลังสมาธิมีมากเท่าใด โอภาสยิ่งสว่างมากขึ้นเท่านั้น

แต่ถ้า สติ สัมปชัญญะดี โอภาสจะหายไปเอง

สิ่งเหล่านี้ ถ้าสามารถผ่านไปได้ อย่างน้อยเมื่อเข้าสู่วิปัสสนาญาณบังเกิด จะได้ไม่ไปติดอยู่ที่อุปกิเลส ๑๐

วิธีปรับอินทรีย์

ไม่ต้องไปอยากให้สภาวะเหล่านี้หาย บางคนอยากให้หาย เพราะรู้ว่าเป็นอุปกิเลส ยิ่งอยากให้หายมากเท่าไหร่ ยิ่งไม่หาย

ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ให้ค่าได้ เพราะสติยังไม่ทัน ให้ค่าก็รู้ว่าให้ค่า แต่อย่าไปยึดติดในสภาวะที่เกิดขึ้น

แล้วเจริญสติต่อไป ทำต่อเนื่อง แล้วสภาวะต่างๆนี้จะหายไปเอง

ของเก่า ที่เคยบันทึกไว้

 
https://walailoo2010.wordpress.com/2008/03/22/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4-%e0%b9%81/

เคล็ดไม่ลับเรื่องสมาธิและวิปัสสนาญาณ ๑ ( ใหม่ )

ของเก่า https://walailoo2010.wordpress.com/2008/01/09/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4/

เป็นสภาวะในปี ๒๐๐๘ นำมาแก้ไขใหม่

แก้ไขข้อความทั้งหมดใหม่ เพราะที่ลงไว้คือ สภาวะเก่า ของเดือน 09 ม.ค. 2008

ที่ลงใหม่นี่ ๑ พค. ๕๔

รู้ไว้แค่ตัวเอง รู้นั้นย่อมดับสิ้นไปพร้อมกับเวลาที่ตัวเองตาย หลายๆท่านที่เราได้สนทนามา ทั้งญาติธรรมที่ได้เคยร่วมปฏิบัติกรรมฐานมาด้วยกัน และอีกหลายๆท่านที่ได้สนทนากันทางอินเตอร์เน็ต

บางคนเฝ้าค้นหาคำตอบว่านี่คืออะไร นั่นคืออะไร มันเป็นคำถามที่ได้คำตอบไม่รู้จบ เพราะต่างคนต่างรู้ ต่างก็ตอบแบบที่ตัวเองเข้าใจ แบบที่ตัวเองรู้ แบบที่ตัวเองทำแล้วทำได้ถนัด

ถาม 100 คนก็ได้ 100 คำตอบ อาจจะคล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันไปบ้าง แต่จะให้เหมือนกันที่สุดนั้นไม่มี

เมื่อสมัยที่เราได้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานตั้งแต่ตอนแรก เราทำตามครูบาอาจารย์ท่านสอนมาตลอด ท่านบอกว่า ” ไม่ต้องไปสงสัย เห็นอะไรก็กำหนดรู้ ตามรู้ ตามดูมันไป จนกว่ามันจะดับหายไปเอง สักวันหนึ่งก็จะเข้าใจเอง ในสิ่งที่เห็น

ไม่ต้องเที่ยวไปถามใคร มันจะเสียเวลาในการปฏิบัติไปเปล่าๆ เพราะมัวแต่สงสัย”

อย่างที่เราเคยได้บันทึกไว้ว่าเมื่อก่อนเราน่ะไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เราได้ผ่านจากการทำกรรมฐานแต่ละขั้นตอนนั้นมีคำเรียก ในสมัยก่อนอาจจะมีตำราเกี่ยวกับการทำกรรมฐาน

แต่เท่าที่เราเคยอ่านเจอจริงๆก็คือ หนังสือการฝึกกสิณที่หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม ท่านโยนให้มาฝึกเอง ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า นี่ก็คือการฝึกกรรมฐานอย่างหนึ่งเหมือนกัน

จะพูดถึงเรื่องสมาธิ อ่านพระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากพระสุตันตปิฎก

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถ้อยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

เพราะผู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ

การที่จะผ่านสมาธิแต่ละขั้นได้ต้องมีสติ สัมปชัญญะมากพอ จะเกิดสมาธิก็รู้ จะคลายออกจากสมาธิก็รู้ ส่วนฌาน 5 6 7 8 จะเกิดได้ง่าย ถ้าผ่านฌาน 4 แล้ว

ที่กล่าวมาแล้วนี่คือเรื่องสมาธิแต่ละขั้น

วิธีสร้างสติให้เกิด

ก็คือ การกำหนดรู้ ตามรู้ ตามดู ลงไปในสิ่งที่เกิดการกระทบ ตรงไหนเกิดชัดเจนที่สุดให้กำหนดตรงนั้น ตามรู้ ตามดูตรงนั้นไป แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

อย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยการดูเฉยๆ คือ รู้ในการเกิดกระทบนั้น แต่ไม่ไปให้ค่าในสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กำหนดรู้บ่อยๆ เมื่อกำหนดได้ชัดเจนดี สติย่อมมีมากขึ้น

เมื่อสติมากขึ้น สัมปชัญญะย่อมเกิด เมื่อมีทั้งสติ และสัมปชัญญะเกิดร่วมกัน สมาธิย่อมเกิด เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต การทำงานของขันธ์ 5 ที่เป็นการปรุงแต่ง ย่อมดับ เพราะ มีสติรู้เท่าทันจิต ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีการเข้าไปปรุงแต่ง โดยมีตัวกูของกู เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

โดยเฉพาะขณะที่เกิดสมาธิ และมีสติ สัมปชัญญะรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง มันจะรู้แล้วก็รู้ๆๆๆๆๆๆ เช่น เวทนาเกิด เรากำหนดรู้ดูลงไป จะเห็นการเกิดเวทนาและอาการที่หายไปอย่างต่อเนื่อง

ตรงนี้ถ้าคนรู้จักโยนิโสมนสิการเป็น มันจะเกิดปัญญา จะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา จะไปบังคับให้เกิดหรือไม่เกิดก็ไม่ได้ มันไม่เที่ยง มันเกิดจากอุปทานที่เรายึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

เราเองคนนึงละโยนิโสไม่เป็น ก็อาศัยกำหนดรู้ลงไปทุกๆครั้งที่เกิดตั้งแต่หยาบจนมันละเอียดขึ้น สุดท้ายพอมันเต็มที่ มันก็เกิดเป็นวิปัสสนาญาณทันที จะเห็นการเกิดดับของรูปนาม อย่างต่อเนื่อง

โดยปราศจากการกำหนด หรือความคิด มันไม่มีเลย มีแต่ตัวรู้เกิดขึ้นมาล้วนๆ สติอยู่คู่กับจิตตลอดเวลา สุดท้ายจะมีรู้ผุดขึ้นมาว่า มันไม่มีอะไรเลย มีแต่รูป นาม สมมุติแค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว สภาวะที่รู้นั้นจะไม่มีคำเรียก จะมีแค่สิ่งที่เกิดขึ้น กับ สิ่งที่รู้ มีแค่ ๒ สิ่งนี้เท่านั้น แล้วจะเข้าใจเรื่องรูป,นาม สมมุติทันที)

( ช่วงที่ปฏิบัติในช่วงนี้ จะใช้เวลาในการปฏิบัติประมาณ 10 ช.ม. ต่อวัน ถ้าวันไหนติดธุระก็ 4 ช.ม. ) แต่ละคนไม่ว่าจะปฏิบัตแบบไหน เมื่อเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ขั้นที่ 1  ภังคญาณ ทุกคนจะรู้เหมือนกันหมด

เพราะ สภาวะของภังคญาณ เป็นสภาวะก้าวล่วงจากบัญญัติ เข้าสูสภาวะปรมัตถ์แบบเต็มตัว จะไม่มีการใช้คำบริกรรมภาวนาของคำบัญญัติต่างๆ มาในการช่วยเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ แต่จะเป็นสภาวะรู้อยู่กับรูป,นาม หรือ รู้อยู่ในกายและจิต

คำว่า ” ธรรมเอกผุด หมายถึงรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ทำให้สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง

แก้ไข เรื่องธรรมเอกผุด

1 ตค. 64

ส่วนเรื่องการปฏิบัติ ให้ดูปัจจุบัน ปีพศ 64 จิตตาปาริสุทธิ

ที่เคยเขียนไว้ เป็นความรู้ความเห็นแบบคร่าวๆ ยังไม่ละเอียด

นิยามของ ฌาน

มีผู้คนมากมาย ที่ใช้การคาดเดาในสภาวะของฌาน ว่าจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ได้แต่คาดเดา รู้เพียงสภาวะที่ฉาบฉวย แต่ไม่สามารถลงลึกไปในสภาวะที่แท้จริงของฌานต่างๆได้

เรื่องที่เราเคยเขียนไว้ในบล็อกเกี่ยวกับฌาน ตอนนั้นยังแยกแยะรายละเอียดของสภาวะที่ชัดเจนยังไม่ได้หมด ใช้เวลานานมากเลยนะ กว่าจะเก็บรายละเอียดแต่ละสภาวะของฌานได้

เนื่องจากทุกๆสภาวะจะต้องเจอซ้ำแล้ว ซ้ำอีก จนกว่าจะเข้าออกสมาธิได้ตามใจนึก เข้าออกได้ทุกๆอิริยาบทตามต้องการหรือแม้กระทั่งไม่ได้ต้องการ แต่จิตเขาเป็นของเขาเอง นี่แหละสภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริงของฌาน

เราถึงบอกกับผู้ที่เข้ามาอ่านบล็อกเสมอๆว่า การอ่านบล็อก ให้อ่านที่ปัจจุบัน เพราะนี่คือ สภาวะที่แท้จริง ส่วนสภาวะในอดีต ล้วนยังมีข้อผิดพลาด แต่เราไม่ได้กลับไปแก้ไขข้อความใดๆ ปล่อยให้คงสภาพตามความเป็นจริงไว้แบบนั้น

เพื่อให้รู้ว่า ทุกๆย่างก้าว ล้วนมีความผิดพลาดมาก่อนที่จะรู้ ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก จนแม่นยำในสภาวะ แล้วความผิดพลาดในสภาวะนั้นๆจะไม่มีเกิดขึ้นอีกต่อไป ทุกๆสภาวะก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีข้อยกเว้น คือ ต้องผิดพลาดมาก่อนที่จะรู้

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ