มโนกรรม , กายกรรม , วจีกรรม

มโนกรรม , กายกรรม , วจีกรรม

ยังอยู่ในหัวข้อของ เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน

.

กรรม(การกระทำ) ปัจจุบัน

.

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

กล่าวโดยย่อ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(เวทนา ตัณหา อุปทา ภพ)

ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
เป็นเรื่องของ มโนกรรม
เรียกว่า กามภพ

.
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความยินดี พอใจ
คิดว่าเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน
เรียกว่า รูปภพ อรูปภพ

เป็นเหตุปัจจัยให้อุปกิเลสมีเกิดขึ้น

.

.

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

หมายถึง กายกรรม วจีกรรม
ไม่ได้หมายถึง การเกิดเป็นตัวตน
จากท้องแม่ที่มีพ่อเป็นเหตุปัจจัยร่วม

.
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้(อวิชชา) ที่มีอยู่
จึงกระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา

กล่าวคือ สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
หรือการนำสภาวะที่มีเกิดขึ้น ตามที่คิดว่าใช่ ไปบอกเล่าให้ผู้อื่นฟัง

จึงกลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
เป็นเรื่องของ กายกรรม วจีกรรม

.

.

กล่าวโดยย่อ

ภพ มโนกรรม

ชาติ กายกรรม วจีกรรม

.
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะมโนกรรมเป็นปัจจัย กายกรรม วจีกรรม จึงมี

.

ความรู้สึกนึกคิด ห้ามไม่ให้คิด ห้ามไม่ได้
แต่สามารถกำหนดรู้ได้ คือ รู้ว่ามีเกิดขึ้น
กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน
ที่ผลยังมีอยู่(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)
เพราะเหตุยังมีอยู่(กรรม/การกระทำ)

ชาติ

สภาวะของ ชาติในปฏิจจสมุปบาท นานแล้วนะ ที่เขียนค้างไว้ เขียนไม่จบสักที เพราะยังไม่เคลียร์ คือ รู้ แต่ยังอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้

วันนี้ จิตยังคงเป็นสมาธิเนืองๆ ทั้งวัน นั่งสมาธินานก็ไม่ไหว ชีพจรเต้นทั้งตัว แผ่นหลังตุ้บๆตลอด เปลี่ยนจากนั่ง มาเป็นเดิน แล้วยืนรีดผ้าต่อ

รีดผ้าเสร็จ นั่งสมาธิต่อ ตอนนี้นั่งได้ เพราะการเต้นของชีพจรตามจุดต่างๆ ยังคงมี แต่เบาลง

ขณะนั่งอยู่ สติขุดแคะงัดแงะสัญญาขึ้นมา เรื่อง ชาติ พอรู้รายละเอียดของสภาวะ เหมือนเส้นผมบังภูเขา คิดเท่าไหร่ไม่รู้ ปล่อยให้สภาวะดำเนินตามเหตุปัจจัยเอง ถึงเวลาจะให้รู้ สติจะขุดแคะ งัดแงะขึ้นมาเอง

ภพ หมายถึง มโนกรรม 

ชาติ หมายถึง การเกิด กำเนิด ก้าวล่วง

ถ้าไม่รู้ชัดในสภาวะ ย่อมตีความว่า ชาตินี้ หมายถึง การเกิดหรือการคลอดออกมาจากท้องแม่

เหมือนโยนิโสมนสิการ ถ้าไม่รู้ชัดโดยสภาวะ ย่อมตีความไปตามทิฏฐิที่มีอยู่

ชาติ หมายถึง ก้าวล่วง คือ ก้าวล่วงออกมาจาก มโนกรรม ได้แก่ วจีกรรม กายกรรม เหตุจาก ภพ ซึ่งเกิดจาก มโนกรรม(ภพ) เป็นเหตุปัจจัย

เหตุของอวชชาที่มีอยู่ เมื่อผัสสะเกิด แล้วสิ่งนั้นๆ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ได้แก่ วจีกรรม กายกรรม

ชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?

การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย

การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ

คำในวงเล็บ(ครรภ์) เป็น ทิฏฐิ ตามความรู้ที่มีอยู่ ของผู้แปล ขณะนั้น

 

หมายเหตุ:

คำในวงเล็บ(ครรภ์) เป็น ทิฏฐิ ตามความรู้ที่มีอยู่ ของผู้แปล ขณะนั้น

หมายถึง สภาวะของผู้ที่แปลความหรือตีความ ในพระธรรมคำสอนนั้นๆ เกิดจาก ทิฏฐิ หรือ ความคิดเห็น ที่เกิดจาก ความรู้ ที่มีอยู่ ขณะนั้นๆ ไม่ใช่เรื่อง สัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ แต่อย่างใด

คำว่า ทิฏฐิ เป็นคำกลางๆ หมายถึง ความคิดเห็น

ถ้าใส่ คำว่า มิจฉา เข้าไป เป็น มิจฉาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นผิด

ถ้าใส่ คำว่า สัมมา เข้าไป เป็น สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก

อันนี้กล่าวโดย ปริยัติ

กล่าวโดยสภาวะ

มิจฉาทิฏฐิ เกิดจาก เมื่อ ผัสสะเกิด แล้ว นำความเห็นของตนที่มีอยู่ ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตามความรู้สึกยินดี-ยินร้าย ที่เกิดขึ้น

เป็นเหตุให้ มีการสร้างเหตุออกไปทางวจีกรรมบ้าง กายกรรมบ้าง เช่น กล่าวว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นดี สิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล ฯลฯ

 
ภาษาชาวบ้าน 

มิจฉาทิฏฐิ คือ ใครเห็นไม่เหมือนตน คนนั้นผิด ใครเห็นเหมือนตน คนนั้นถูก สร้างเหตุวิวาทะให้เกิดขึ้นเนืองๆ

สัมมาทิฏฐิ เกิดจาก เมื่อผัสสะเกิด ใช้หลัก โยนิโสมนสิการ คือ ดูตามความเป็นจริงของผัสสะที่เกิดขึ้น รู้ตามความเป็นจริง คือ รู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น แต่ไม่สร้างเหตุออกไปทางวจีกรรมหรือกายกรรม

ขณะที่ โยนิโสมนสิการ มรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิด

ฉะนั้น คำถามนี้ “แต่ที่ท่านเข้าใจนั้นถูกต้องหรือครับ” คงไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะ เป็นเพียงการแสดงข้อคิดเห็น ส่วนใครจะกล่าว่าถูกหรือผิด ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยของคนๆนั้น

 

ใจความตามเดิม คือ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?

การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การบังเกิด
การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย

การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ

ชาติ(การเกิด บังเกิด) เป็นผล  ต่อเนื่องจาก ภพ (เหตุ ได้แก่ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เหตุจาก อุปทาน)

ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย

ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย ได้แก่ นับตั้งแต่ ชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ

การที่สัตว์ ได้ซึ่ง อายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ :

ล้วนเป็น ผล ที่เกิดจาก เหตุปัจจัย ของผู้ที่กระทำ

นับตั้งแต่ ผัสสะเกิด จนถึง ชาติ เป็นเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน

ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ในชีวิต

ผัสสะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน กับ ผัสสะ ตัวเดียวกัน

ปัจจุบัน เป็น ผลอดีต หมายถึง เหตุที่กระทำไว้ ในอดีต ส่งผลมาให้ได้รับ คือ เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ

เป็นเหตุของอนาคต หมายถึง เหตุหรือสิ่งที่กระทำ ณ ปัจจุบัน เป็น เหตุ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ได้รับผล ในอนาคต

ชาติ

ภิกษุ ท. ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?

ชาติ คือ การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด
การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย
ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ.

ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชาติ.

หมายเหตุ:

คำในวงเล็บ คำว่า สู่ครรภ์

คำว่า กำเนิด การเกิด การบังเกิด ไม่จำเป็นต้องหมายถึง การก้าวลงสู่ครรภ์

ตามสภาวะ ต่อจาก ภพ หมายถึง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม
ชาติ เป็นผล ได้แก่ ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย

คาดว่า คำในวงเล็บ ที่มีแสดงอยู่ เกิดจากทิฏฐิของผู้ที่นำมาบอกต่อๆกัน

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ