ความบริสุทธิ์ ๗ อย่าง

ความบริสุทธิ์ ๗ อย่าง ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๙๐ คือ

๑. สิลวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งศิล

๒. จิตตวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งจิต

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญา

๔. กังขาวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งญาณ ข้ามพ้นความสงสัยในรูปนาม ในเหตุปัจจัยของรูปนาม

๕. มัคคาญาณทัสสนวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญา พิจรณาเห็นทางถูกและผิด แล้วละทางผิด ยึดทางถูกต่อไป

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งญาณ

เป็นเครื่องพิจรณาเห็นความเกิดดับของรูปนาม

เห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม

เห็นรูปนามน่ากลัว

เห็นโทษของรูปนาม

เบื่อหน่ายรูปนาม

อยากหลุดพ้นจากรูปนาม

ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริง

ใจเฉยๆ

เห็นอริยสัจ ๔

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์แห่งญาณ เป็นเครื่องตัดกิเลส เป็นสมุจเฉทประหาน ได้แก่ มรรคญาณนั่นเอง

ความบริสุทธิ์เหล่านี้ เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งก็คือ การเจริญสมถะและวิปัสสนา แต่ถูกเรียกไปต่างๆนานา เพราะเรียกไปตามสมมุติบัญญัติของโลก แต่ตัวสภาวะแท้ๆมีเพียงรูปกับนามเท่านั้น

สมถะและวิปัสสนา เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่อรรถกถาจารย์ หรือ พระฎีกาจารย์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗๗ บรรทัดที่ ๑๙-๒๐ เป็นต้นไปว่า

เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา วิชฺชาภาคิยา กตเม เทฺว สมโถ จ วิปสฺสนา จ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการ เหล่านี้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ธรรม ๒ ประการ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

สมโถ ภิกิขเว ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ จิตฺตํ ภาวิยติ จิติตํ ภาวิตํ กิมตฺถมนุโภติ โย ราโค โส ปหียติ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย บุคคลเจริญสมถกรรมฐาน แล้วจะได้ประโยชน์อะไร? ได้การอบรมจิต? จิตที่บุคคลอบรมดีแล้ว จะได้ประโยชน์อะไรเล่า? ได้ประโยชน์คือ ละราคะได้

วิปสฺสนา ภิกฺขเว ภาวิตา กิมตฺถมุโภติ ปญฺญา ภาวิยติ ปญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ ยา อวิชฺชา สา ปหียติ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย บุคคลเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? ได้การอบรมปัญญา ปัญญาที่บุคคลอบรมดีแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? ได้ประโยชน์คือ ละอวิชชาได้

 

การเจริญสมถกรรมฐาน เพื่อต้องการให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อน แล้วจึงยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาต่อ เพื่อให้ได้มรรค ผล นิพพาน อันเป็นยอดปรารถนาที่แท้จริง เพียงสมถะอย่างเดียว ไม่สามารถถึงมรรคผล นิพพานได้

การเจริญวิปัสสนา การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในกายและนอกกาย เพื่อให้ได้ปัจจุบันธรรม เห็นรูปนาม เห็นไตรลักษณ์ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

การจะเห็นตามความเป็นจริงหรือเพื่อให้ได้ปัจจุบันธรรม ต้องมีจิตที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง จิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไปมา  จึงต้องเจริญสมถะก่อนเจริญวิปัสสนาเพราะเหตุนี้

ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา

ได้แก่ การปรับอินทรีย์ โดยใช้สมาธิที่มีอยู่ เป็นกำลังในการเจริญวิปัสสนา คือ รู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรม เป็น สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิตขณะที่จิตเป็นสมาธิ

ได้แก่การปรับสมาธิที่มีอยู่ให้เกิดความสมดุลย์ โดยการเพิ่มสติหรือใส่สติลงไป

สมาธิที่เกิดขึ้นจากหลายหลายวิธีการ แม้กระทั่งการใช้ความว่างเป็นอารมณ์  ตราบใดที่สมาธิที่เกิดขึ้น แล้วไม่สามารถรู้ชัดในภายในกาย เวทนา จิต ธรรมได้

สมาธิที่เกิดขึ้นเหล่านั้นล้วนเป็นบัญญัติ ถึงแม้จะใช้รูปนามเป็นอารมณ์ก็ตาม ก็ยังเป็นบัญญัติของคำว่ารูปนาม ยังไม่ใช่การรู้ชัดรูปนามตามความเป็นจริง ที่มีอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ